การเล่นชนไก่หรือการตีไก่หรือการชนไก่ หมายถึงการเอาไก่มาตีหรือต่อสู้กันเป็นการละเล่น เพื่อให้เกิดความสนุกสนานตามประเพณีหรือนักขัตฤกษ์ของไทยแต่โบราณ มีหลักฐานในประวัติศาสตร์รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขณะถูกนำไปอยู่ ณ กรุงหงสาวดี ที่เคยท้าชนไก่เอาบ้านเมืองเมื่อถูกพระมหาอุปราชาสบประมาทว่าเป็น "ไก่เชลย" มาแล้ว การเล่นชนไก่ได้รับความนิยมมาช้านานเพราะเป็นกีฬาพื้นบ้านที่มีการพนันขันต่อกันมาก จนต้องมีกฎหมายออกใบอนุญาตบังคับผู้เล่นจะต้องได้รับอนุญาตเสียก่อน เมื่อครั้งเจ้าพระยายมราช (ปัน สุขุม) ยังเป็นพระวิจิตรวรสาสน์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลาและพัทลุง ในปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ได้บันทึกกราบทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ความตอนหนึ่งว่า “ปอนไก่ในเมืองแถวนี้ร้ายแรงเป็นล้นเกล้าฯ จำเป็นที่จะทิ้งไวให้เล่นกันต่อไปอีกไม่ได้ โรงบ่อนในกรุงหรือหัวเมืองฝ่ายเหนือ เราเล่นละครมีเพลงล่อคนให้เล่นเบี้ย แต่พวกเมืองแถวนี้ใช้บ่อนไก่ต่างละคร บ่อนโปมืเท่าไรบ่อนไก่ก็เท่ากัน จึงกราบบังคมทูลให้เลิกบ่อนไก่เสีย แต่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงให้เหตุผลประกอบว่า “ถ้าจะให้เลิกเสียหมดทีเดียวยังไม่ควรก่อน ถึงเป็นการเล็กน้อยน่าที่จะเป็นการเดือดร้อนแก'ราษฎร เพราะเป็นความสนุกที่นิยมอยู่ทั้งพวกแขกแลไทย” สถานที่บ่อนไก่ที่จะเปิดได้ต้องมีการขออนุญาตจากอำเภอ แล้วเสนอเรื่องไปตามลำดับขั้นจนกึงผู้มีอำนาจอนุมัติตามกฎกระทรวง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งออกตาม พ.ร.บ. การพนันประเภทชนโค กัดปลา ชนไก่ พุทธศักราช ๒๔๗๘ และระเบียบกระทรวงมหาดไทย ออกตาม พ.ร.บ. พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยจะอนุญาตให้ชนไก่ได้ในวันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ ๒ และ ๔ ของเดือนเหมือนกันทั่วราชอาณาจักร ถ้าวันอาทิตย์ใดตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา ให้งดชนกัน เวลาที่ชนเริ่มได้ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐- ๑๘.๐๐ น. ในบ่อนห้ามขายของมึนเมาทุกชนิด
วิธีเล่นการเล่นชนไก่ เจ้าของไก่จะนำไก่มาเปรียบกันว่าชนกันไดใหม โดยมากจะดูที่ลักษณะ เช่น ดูเดือย หงอน ขา รูปร่าง พอจะสู้กันได้ไหม พอตกลงตีกันก็จะกำหนดยก คือกำหนดเวลา ในการชนไก่เรียกว่า อัน (ยก) แต่ละอันกำหนดเวลา ๑๕ นาที พัก ๑๕ นาที รวมคู่ละ ๘ อัน หรืออันละ ๒๐ นาที พัก ๒๐ นาที คู่ละ ๖ อัน แล้วแต่จะกำหนดการจับเวลา เครื่องมือที่กำหนดอันหรือยก แต่เดิมใช้ผ้าฟันเป็นเกลียวเชือกเรียกว่า “ชุด” โดยเอาไม้สอดไว้เป็นช่อง ๆ ช่องหนึ่งถือเป็น ๑ อัน เมื่อไก่เริ่มชนก็เริ่มจุดไฟอันแรก ต้องหยุดเพื่อให้นํ้าไก่แล้วเริ่มอันต่อไปจนแพ้ชนะกันหรือครบอันนอกจากใช้ “ชุด” ในการจับเวลาแล้วยังใช้ “อัน” ทำด้วยกะลา เจาะรูลอยนํ้าในกะละมัง หรือขวดโหลเรียกว่า “อันจม” คือเมื่อนํ้าไหลเข้ากะลาจนเต็มมันก็จะจมนับเป็น ๑ อัน ปัจจุบันมีการใช้นาฟักาจับเวลาคู่ควบกับ อันจมด้วย
เกณฑ์การตัดสินการชนไก่ มีดังนี้
- ไก่ตัวใดถูกตีจนร้อง ชถือว่าตัวนั้นแพ้
- ไก่ตัวใดถูกตีหรือถูกฝ่ายหนึ่งแทงด้วยเดือยจนตายถือว่าตัวนั้นแพ้
- ไก่ตัวใดวิ่งแล้วร้องถือว่าตัวนั้นแพ้ ถ้าวิ่งหนีแต่ไม่ร้องให้เอามาวางใหม่ ถ้าวาง ๓ ครั้ง แล้วยังไม่สู้ถือว่าตัวนั้นแพ้
- ถ้าชนกันจนครบอันยังไม่แพ้ชนะกันถือเป็นเสมอกัน
- ถ้าเจ้าของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยอมแพ้
- ทั้ง ๒ ฝ่ายยอมเสมอกัน เพราะคาดการณ์ว่าถึงข้นต่อไปก็คงไม่แพ้ชนะกัน
- ตีกันจนหมดแรงแล้วเอาอกปะทะกันไว้ เอาคอไขว้กันนึ่งอยู่ พอแยกออกก็วิ่งเข้าซุกกันอีก โดยไม่ทำร้ายกันและไม่มีฝ่ายใดหนีถือเป็นเสมอกัน กรณีนี้เจ้าของต่างได้รับเงินเดิมพันคืนนายบ่อนก็ไม่ได้ค่าน้ำ กรณีที่ไก่ข้นกันจนมีแผลฉกรรจ์ทั้งคู่ เห็นพ้องกันว่าไม่ควรชนต่อไปให้เสียเวลา เจ้าของไก่ทั้งสองและเจ้าของบ่อนจะเอากรงสำหรับขังไก่มาครอบในบ่อน ถ้าฝ่ายหนึ่งจิกตีอีกฝ่ายหนึ่งจนร้องหรือแสดงกิริยาว่าแพ้จึงจะถือเป็นแพ้ แต่ถ้าจิกตีแต่ข้างหนึ่งยังไม่ร้องให้เอาตัวที่ไม่ร้องและไม่ตีนั้นสันวางบนขาหยั่ง ถ้าฝ่ายตรงข้ามจิกตีจนตกจากขาหยั่งจึงตัดสินให้แพ้ แต่ถ้าตีแล้วยังไม่ตกก็ตัดสินเสมอกัน
ปรุงศรี วัลลิโภดม...[และคณะ], บรรณาธิการ. (2545). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสงขลา.
กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.