ภาพจาก : https://www.facebook.com/โนราละมัย-ศรีรักษา-156280067873074/photos/?ref=page_internal
คณะโนราละมัยศิลป์ มีหัวหน้าคณะคือแม่ละมัย นามสกุลศรีรักษา เกิดวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยโนราละมัยมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๔ คน และมีพี่ต่างบิดา อีก ๓ คน โดยที่ครอบครัวของโนราละมัยเป็นครอบครัวศิลปินทั้งครอบครัว โดยสืบเชื้อสายโนรามาจากทวดและปู่คือโนราช่วงและโนราเกลื้อน เมื่อโนราละมัยอายุได้ ๑๐ ขวบ บิดานําไปฝากไว้กับน้าคือโนราร่วม เกตุแก้ว ซึ่งเป็นลูกศิษย์โนราเติมจังหวัดตรัง โนราละมัยจดจําลักษณะการรําและการร้องกลอนของโนรา มาจากโนราร่วมซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าแล้วนํามาฝึกหัดด้วยตนเองจนชำชาญ มีบิดาเป็นผู้ผูกกลอนที่มีความชํานาญได้ผูกกลอนให้ในราละมัย แล้วนําไปหัดร้องหัดว่ากลอน ขณะที่ออกไปช่วยบิดากรีดยางพารา จนโนราละมัยมีความชํานาญในด้านการว่ากลอนโนรา ต่อมาเริ่มฝึกลูกกลอนด้วยตนเองจนสามารถผูกกลอนสดได้ ทําให้มีความสามารถโดด เด่นทางด้านการว่ากลอนสุดตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี ได้เข้าครอบเทริด ผูกผ้า โดยมีโนราวันเฒ่า นครศรีธรรมราช เป็นผู้ทําพิธีให้โนราละมัยอยู่กับคณะโนราร่วมจนกระทั่งโนราร่วมเสียชีวิต จึงออกมารําอยู่กับคณะโนราเจริญศิลป์ และโนราคณะอื่น ๆ อีกหลายคณะ เช่น เช่น คณะโนราเลื่อน (จังหวัดตรัง) คณะโนราแป้น เครื่องงาม (จังหวัดตรัง) คณะโนราอบอวบ (จังหวัดสงขลา) คณะโนรายก ชูบัว (จังหวัดสงขลา) ขณะที่รำอยู่กับคณะโนรายก ชูบัว ท่านได้รับการชักชวนให้ไปเป็นลูกจ้างสอนรําโนราที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยเริ่มสอนให้กับ คณะแพทย์ศาสตร์ สอนติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๗ และในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับการบรรจุให้เป็นลูกจ้างประจํา ตำแหน่งนักการที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีหน้าที่สอนรํามโนราห์ให้กับบุคลากร นักศึกษา ตลอดถึงบุตรหลานของบุคลากรในมหาวิทยาลัย และออกรำเผยแพร่เพื่อส่งเสริมกิจการของมหาวิทยาลัย หลังจากที่โนรายก ชูบัว เสียชีวิตลงและได้เข้าทํางานที่มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ ก็ได้ไปรําโนรากับคณะโนราอาจารย์สาโช นาคะวิโรจน์ ที่ วิทยาลัยครูสงขลา (มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา) ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้ตั้งคณะโนราเป็นของตัวเอง ผู้ก่อตั้งคณะคือโนราอารีย์ศิลป์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่าน ต่อมาโนราอารีย์ศิลป์ได้เลิกเล่นโนรา ท่านจึงได้ตั้งคณะเองใช้ชื่อว่าคณะโนราละมัยศิลป์
โนราละมัยศิลป์ เป็นผู้หนึ่งที่ได้ถ่ายทอดการแสดงโนราให้กับเด็กและเยาวชน โดยตัดจุกให้ลูกศิษย์ ๓-๔ คนในจํานวนนั้นผ่านพิธีกรรมครอบเทริด ผูกผ้าใหญ่ ให้หลาย ๆ คน ปัจจุบันโนราละมัยศิลป์ ได้ไปเปิดการสอนโนราให้กับเด็ก เยาวชน ที่บ้านเกิดคือจังหวัดตรัง เพื่อให้เด็ก ๆ รุ่นหลังได้อนุรักษ์สืบสานศิลปะประจำศิลปินประจำภาคใต้ให้อยู่คู่ภาคใต้ต่อไป
ความเชื่อในการแสดงโนราของคณะโนราละมัยศิลป์ มี ดังนี้
๑. ความเชื่อเรื่องตายายโนราหรือครูหมอโนรา โนราคณะละมัยศิลป์เชื่อว่าตายายโนราหรือครูหมอโนรา คือครูต้นแบบของโนราและครูโนราที่ตายไปแล้ว โดยเชื่อว่าตายายโนรามีความผูกพันกับลูกหลาน ที่มีเชื้อสายโนราหากลูกหลานที่มีเชื้อสายไม่เคารพบูชาตายาย หรือครูหมอโนราอาจจะให้โทษด้วยวิธี ต่าง ๆ เช่น ปวดท้อง ป่วยกระเสาะกระแสะ ต้องทําทิ้งบูชาตายายโนรา อาการก็จะหายป่วย |
๒. ความเชื่องเรื่องการถือเคล็ด โนราละมัยศิลป์ เชื่อว่าเคล็ดมือการกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เชื่อว่าเป็นวิธีปัดเป่า เช่น ผู้แสดงโนราที่ผ่านพิธีการครอบเทริดแล้วห้ามอาบน้ำแก้ผ้า ห้ามลอดใต้ราวแขนผู้อื่น ไม้ตีกลองห้ามเอามาเคาะเล่น เชื่อว่าคนในคณะโนราจะทะเลาะกัน |
๓. ความเชื่อเรื่องพระภูมิเจ้าที่ โนราคณะละมัยศิลป์ เชื่อว่าสถานที่ต่าง ๆ ย่อมมีเทวตารักษาคุ้มครอง เช่น ผีเรือน เจ้าที่นา เพราะฉะนั้นจะต้องบูชาเพื่อเป็นประโยชน์สุขของตน ไปแสดงที่ใดต้องมีการไหว้บูชาเจ้าที่ เพื่อไม่ให้ใครมากล้ํากรายจนกว่าคณะโนราจะแสดงแล้วเสร็จ |
อัตลักษณ์ที่โดดเด่นของโนราคณะละมัยศิลป์
๑. การแสดงโนราคณะละมัยศิลป์ เน้นการรําแบบโบราณแบบประยุกต์เข้ากับเหตุการณ์ |
๒. ท่ารําของคณะโนราละมัยศิลป์ คือมือที่รำจะไม่อ่อน มีลักษณะการทําเป็นท่าผู้ชายมากกว่าผู้หญิง |
๓. การว่ากลอนของคณะโนราละมัยศิลป์ มีความโดดเด่นที่สามารถใช้ปฏิภาณไหวพริบในการว่ากลอนโต้ตอบกัน ระหว่างผู้แสดงโดยมากนิยมใช้กลอนผูก จึงเป็นคํากลอนที่ไพเราะคมคาย สามารถสอดคล้องกับเหตุการณ์และสร้างความชอบใจให้กับคนดู |
องค์ประกอบการแสดง (ข้อมูลปี ๒๕๕๑)
๑. โรงโนรา โรงโนราหรือเวทีโนราคณะโนราละมัยศิลป์ เป็นเวทีสําเร็จรูป ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทิศใดก็ได้ ยกเว้นทิศตะวันตก ความกว้างประมาณ ๗ เมตร ความยาวประมาณ ๙ เมตร สูงจากพื้นประมาณ ๑ เมตร หลังคาทําเป็นรูปเพิงหมาแหงน แบ่งที่ออกเป็น ๒ ส่วน สําหรับการแสดง ๒ ส่วนสําหรับนักแสดงพักแต่งกายอีก ๑ ส่วน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||
๒. ลักษณะการแสดงและเรื่องที่แสดง ลักษณะการแสดงของคณะโนราละมัยศิลป์ เป็นการแสดงโนราตามแบบโบราณและนํามาประยุกต์เข้ากับเหตุการณ์ มีขั้นตอนดังนี้
เครื่องดนตรีในการแสดงโนราของคณะโนราละมัยศิลป์ ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องตีให้จังหวะ ประกอบ
นักแสดงและนักดนตรีคณะโนราละมัยศิลป์ ประกอบด้วย
|
ขนบนิยมในการแสดงโนรา
ขนบนิยมในการแสดงโนราของคณะโนราละมัยศิลป์ มีหลายอย่างและยึดปฏิบัติเป็นประเพณีสืบทอดต่อกันมา เพื่อความเป็นสิริมงคลในคณะประกอบด้วย
๑. ตั้งเครื่อง เมื่อคณะโนราทุกคนเข้าในโรงโนรา ก่อนทํากิจกรรมอื่น ๆ ลูกคู่จะบรรเลงดนตรี ๑ เพลง เพื่อบอกกล่าวครูหมอโนราให้ทราบจึงจะเสร็จพิธีตั้งเครื่อง |
๒. พิธีเบิกโรง เป็นพิธีการขอที่ตั้งโนราและขอบารมีคุณพระศรีรัตนตรัย เทวดา พระแม่ธรณี ครูโนรา มาช่วยคุ้มกันรักษาและดลบันดาล ให้ผู้ชมเกิดความรัก ความนิยมชมชอบ เริ่มด้วยการทําพิธีเบิกโรงนํา ภาชนะที่ใส่เครื่องเบิกโรง (เครื่องกํานล) ประกอบด้วยหมาก พลู ๓ คํา เทียน ๓ เล่ม ดอกไม้ ๓ ดอก กําไล ๓ วง เล็บโนรา ๓ อัน และเงินจํานวนตามที่โนรากําหนดออกมานั่งกลางโรง โดยหันหน้าไปทางหน้าโรงและนําเครื่องดนตรีประกอบด้วยกลอง ๑ ใบ ทับ ๒ ใบ โหม่ง และนิ่งวางเรียงตามลําดับจากซ้ายไปขวา โดยหันหน้ากลองและหน้าทับไปทางหน้าโรง จากนั้นผู้ทําพิธีลงอักขระที่เครื่องดนตรีแล้วพับ ใบพลูครึ่งหนึ่งม้วนเป็นรูปกรวยเอาหมากใส่ในกรวยเรียกว่าจุกอก นําหมากคําที่ ๑ วางบนทับใบที่ ๑ พร้อมปักเทียน ๑ เล่มและวางกําไล ๑ วง เล็บโนรา ๑ อัน ดอกไม้ ๑ ดอก หมากคําที่ ๒ วางบนทับใบที่ ๒ พร้อมปักเทียน ๑ เล่ม และวางกําไล ๑ วง เล็บโนรา ๑ อัน ดอกไม้ ๑ ดอก หมากคําที่ ๓ วางบนกลองพร้อมปักเทียน ๑ เล่ม กําไล ๑ วง เล็บโนรา ๑ อัน ดอกไม้ ๑ ดอก จากนั้นก็ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วกล่าวคําบูชาพระรัตนตรัย กล่าวคําชุมนุมเทวดา กล่าวคําชมนุมครูจบแล้ว ทําพิธีซัดหมาก |
๓. ไหว้ครู คณะโนราละมัยศิลป์ มีการไหว้ครูก่อนการแสดง เพื่อเป็นการขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไป และเป็นสิ่งสําคัญในการแสดงโดยมีเทริดหน้ากากพราน รูปภาพของครูโนราที่ล่วงลับไปแล้ว และเป็นที่เคารพของคณะโนราละมัยศิลป์ก่อนออกแสดงนักแสดงทุกคนต้องไหว้ครู |
๔. โหมโรง การโหมโรงคือการบรรเลงก่อนการแสดง และเรียกร้องความสนใจจาก ผู้ชมให้มาชมการแสดง เพื่อแสดงความพร้อมของคณะโนราละมัย ศิลป์ ตลอดจนเตือนให้ผู้ชมทราบว่านาจะเริ่มแสดงแล้วดนตรีจะ บรรเลงเพลงอะไรก็ได้ โดยส่วนมากดนตรีจะเป็นการให้จังหวะของโนรา ส่วนปี่จะทําหน้าที่ทําเพลงจะเล่นเพลงอะไรก็ได้ เพียงแค่ให้เข้ากับจังหวะดนตรี การบรรเลงดนตรีโหมโรงจะเล่นกี่เพลงก็ได้ แล้วแต่เวลา เมื่อเห็นว่าผู้ชมมามากแล้วก็ถือเป็นการเสร็จการ โหมโรง เริ่มเวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. |
๕. กาศครู การกาศครูคือการระลึกถึงครู โดยโนราละมัยได้ระลึกถึงครูที่ล่วงลับไป แล้ว และเชิญครูให้มาสถิตอยู่ในโรงโนรา เพื่อขอความคุ้มครองและ ช่วยในการแสดงโนราประสบผลสําเร็จ ซึ่งมีทํานองร่ายหน้าแตระและทํานองเพลงทับ เพลงโทน |
๖. โนราขับบทหน้าม่าน โดยโนราละมัยร้องบทกลอนอยู่ในม่านไม่เห็นตัวแต่จะใช้ มือดันม่านตรงทางแยกออกมา เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจจากผู้ชม และเป็นสัญญาณว่าตัวนายโรงจะออกรำ |
บุปผาชาติ อุปถัมภ์นรากร. (2553). ศิลปะการแสดงโนรา : การอนุรักษ์ การพัฒนา และการสืบสาน. นนทบุรี : สัมปชัญญะ.
โนราละมัย ศรีรักษา. (2564). สืบค้นวันที่ 13 ม.ค. 64, จาก https://www.facebook.com/โนราละมัย-ศรีรักษา-156280067873074/photos/?ref=page_internal