การละเล่นพื้นบ้านของเด็กในจังหวัดสงขลา
 
Back    27/06/2023, 11:12    16,069  

หมวดหมู่

การละเล่น


ประเภท

อื่น ๆ


ประวัติความเป็นมา/แหล่งกำเนิด

       

            การเล่นของเด็กเป็นธรรมชาติประการหนึ่ง ซึ่งเป็นการค้นหาความสนุกสนานที่สอดแทรกด้วยความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น เด็กจึงแสดงพฤติกรรมในบทบาทต่าง ๆ ที่เรียกรวม ๆ ว่าการละเล่น ซึ่งมีอยู่มากมายและหลายอย่างโดยเฉพาะการละเล่นพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านองเด็กในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดสงขลานั้นมีมากมายหลายประเภท สามารถแบ่งได้ดังนี้
         ๑. ประเภทเสี่ยงทาย เป็นการเล่นเริ่มแรกของทุกกิจกรรมเพื่อเสี่ยงทาย หาผู้เล่นก่อน-หลัง หรือหาผู้ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเช่น ผู้เป็น-ผู้ตาย ผู้รับ-ผู้ปา ผู้ช่อน-ผู้หา การเสี่ยงทายมีหลายวิธี เช่น
             - วิธีจับไม้สั้นไม้ยาว เช่นไม้สั้นได้เล่นก่อนไม้ยาวเล่นทีหลัง
              - วิธีโยนเหรียญเสี่ยงทาย เช่น ทายโยนเหรียญเป็นรูปหัวได้เล่นก่อน รูปก้อยเล่นทีหลัง - วิธีทายมือ ทำได้หลาย ลักษณะโดยจะมีบทร้องสั้นๆ ประกอบพร้อมกันกับการชี้ ไปยังตัวผู้เล่นทุกคน หรือแต่ละคนส่งมือเลียนแบบสิ่ง ต่างๆ เช่น “ลา ลา ตี๋ ตำ ปง” ทุกคนยืนล้อมเป็นวง เมื่อร้องจบหนึ่งเที่ยวแต่ละคนต้องยื่นมือหงาย หรือควํ่า เข้ามาในวง ลักษณะมือใครต่างจากเพื่อนคัดออกจนเหลือ ๒ คนสุดท้าย แล้วจึงเปลี่ยนมาร้องบท วัน ตู ล้ม หรือบทยันชี โดยมีการร้องดังนี้
              ลา ลา ตี๋ ตำ ปง  ใครผิดมนุษย์เป็น
              ลา ลา ตี๋ ตำ ปง   ส่วนน้อยออก ...
             “วัน ตู ล้ม” คล้ายกับ "ลา ลา ตี๋ ตำ ปง" แต่ใช้กับการเสี่ยงทายที่มีผู้เล่น ๓ คน โดยมีการทำมือ ๓ ลักษณะ คือ
             - มือขยุ้ม หมายถึงนก
             - กำมือ หมายถึงหิน
             - หงายมือ หมายถึงนํ้า
               โดยเมื่อร้องว่า “วัน ตู ล้ม” ก็จะแสดงมือแบบต่าง ๆ เพื่อคัดออกเหลือ มีกติกาดังนี้ มือขยุ้มรวบนิ้ว หมายถึงนก ชนะนํ้า แพ้หิน กำมือ หมายถึงหิน ชนะนก แพ้นา แบฝ่ามือหงาย หมายถึงนํ้า ชนะหิน แพ้นก
                “ชันชี” ลักษณะคล้าย "วัน ตู สม" บทร้องว่า “ชันชีเชาปักกะเป้ายิงชุบ” มีกติกาดังนิ้
               - แบฝ่ามือหงาย หมายถึงกระดาษ ชนะค้อน แพ้กรรไกร
               - ชูนิ้วชี้ นิ้วกลาง หมายถึงกรรไกร ชนะกระดาษ แพ้ต้อน
               - กำมือ หมายถึงต้อน ชนะกรรไกร แพ้กระดาษ
                “จุ้มจี้” เป็นการเลี่ยงทายคัดออกโดยการนับและใช้นิ้วชี่ไปยังมือหรือ นิ้วของผู้เล่น ผู้เล่นทุกคนนั่งล้อมเป็นวงกลม ควํ่าฝ่ามือทั้งสองข้างลงบนพื้นยกเว้นคนจี้จะควํ่า หนึ่งมือ ส่วนอีกมือหนึ่งจะใช้จี้ลงบนหลังฝ่ามือทุกมือที่วางอยู่ในวง ขณะจี้ทุกคนช่วยกันร้องเพลง ประกอบการจี้ ๑ พยางค์ต่อการจี้ ๑ ครั้งหรือ ๑ มือ เมื่อพยางค์สุดท้ายของเพลงตกตรงที่มือ ไหนนิ้วไหนต้องออก ยู่จี้จะร้องและจี๋ไปเรื่อยๆ จนเหลือมือสุดท้ายจะเป็นผู้ชนะ บทร้องมีหลาย สำเนียงอาจผิดเพี้ยนกันบ้างเล็กน้อย
            ๒. ประเภทไล่จับ เล่นกันเป็นหมู่ มีผู้เล่น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้หนี หรือซ่อนหรือเล่นเป็นคนเป็น ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเป็นยู่ไล่จับหรือคันหา หรือเล่นเป็นคนตาย มีหลายชนิด เช่น ผีเข้าขวด เก็บผักบุ้ง ยายจ๋า เข้ ตี่ บ่าวขอนาย เสือกินวัว
                 - การเล่นเข้
                   วิธีเล่น ผู้เล่นคนหนึ่งเป็นจระเข้ ส่วนคนที่เหลือเป็นยู่วิ่งหนีจระเข้
                   เก็บผักบุ้ง มายุงแม่ไก่
                   เก็บไวไว หวางเขไม่มา
                   ....ร้องชํ้า ๆ จนเข้ว และวิ่งไล่จับคนอื่นๆ วิ่งหนีขึ้นศาลาหรือบนโต๊ะ ผู้นั้นต้องมาเป็นจระเข้แทน (การเล่นเข้เป็นการฟิกความว่องไวเสริมสร้างกล้ามเนิ้อให้แข็งแรง)
             ๓. ประเภทเล่นในนํ้า เป็นการละเล่นที่เล่นกันในแม่นั้า ลำ คลองหรือทะเล เช่น ดำน้ำ แถกเหลน ตีลูกโป่ง ทุ่น ปลาลงแล ลอยตัว เรือกระดอง ปลาหมึก ค่อนโฉ่งค่อนฉ้าง
                  - ค่อนโฉงค่อนฉาง นิยมเล่นในขณะที่เด็กๆ ลงเล่นในนั้า ในแม่นั้าลำ คลอง ผู้เล่นเป็นชายหรือหญิงก็ไดไม่จำกัดจำนวนและอายุ อุปกรณ์ สะพานหรือชานบ้านที่ยื่นลงไปใน แม่นั้าลำ คลอง โดยมีวิธีเล่นดังนี้
                    วิธีเล่น ผู้เล่นทุกคนขึ้นไปบนสะพาน หรือชานบ้านที่ยื่นไปในลำคลอง ยืนเรียงกันที่ริมสะพานหรือชานบ้าน หันหลังส่แม่นํ้าลำ คลอง ทุกคนทำมือโค่นอกตัวเองใน ขณะที่ร้องเพลงพร้อม ๆ กันว่า “ค่อนโฉ้งค่อนช้างค่อนไม้ราง หักดังตูม” หรือบางแห่งว่า “ค่อนโฉ้ง ค่อนฉ้าง ค้อนไม้ยางไม่หัก ค่อนไม่รักหักวุม” พอร้องจบทุกคนก็ทำหงายหลังตกลงไปในน้ำพร้อม ๆ กัน เล่นอย่างนื้ไปเรื่อย ๆ จนเบื่อก็หยุดเล่น 
              ๔. ประเภทโยน รับ หรือขว้างปา เป็นการเล่นที่ต้องใช้ทักษะความแม่นยำโดยต้องใช้อุปกรณ์ประกอบการเล่น การละเล่นประเภทนี้มีมากมาย เช่น ไก่ขึ้นร้าน ขี่ม้าโยนรับ ซัดพรก ไม้อี้ ขัดหัวครก อีเติ้งฟัดราว โดยมีอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเล่น เป็นวัสดุที่พบได้ในท้องถิ่น เช่น ลูกยาร่วงหรือหัวครก (เม็ดมะม่วงทิมพานต์) ไม่ไผ่ ดินเหนียวปันเป็นรูปกลมเล็ก ๆ ตะกร้อที่สานจากใบมะพร้าว ผ้าชาวมัดเป็นก้อนกลม ตะเกียบ ไม้ไผ่ผ่าซีก ลูกสวาด เมล็ดมะขาม เมล็ดยางพารา เช่น
                - ไก่ขึ้นร้าน
                   มีวิธีการเล่นคือ ให้ผู้เล่นทีละคนโยนไม้ขึ้นแล้วรับด้วยหลังมือ แล้วโยนไม้ขึ้นจากหลังมือรับไม้ให้ได้ ๑ อัน ถ้ารับได้ให้แยกไว้ต่างหากเป็น ๑ คะแนน ถ้ารับบไม้ไม่ได้หรือรับได้เกิน ๑ อัน เปลี่ยนให้คู่แช่งคนอื่นเล่นต่อไป เล่นกันจนหมดไม้ จึงมานับจำนวนคนละเท่าใด คนที่ฟิงได้มากที่สุดชนะ
                - ซัดพรก
                   มีวิธีการเล่นคือให้ผู้เล่นใส่ลูกนู(ปั้นจากดินเหนียวก้อนกลม ๆ เท่าหัวแม่มือ) ไว้ในกะลามะพร้าวคนละเท่า ๆ กัน หรือใช้เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ หรือเมล็ดยางพาราก็ไต้ ผู้เล่นจะกำหนดระยะผู้เล่นกับกะลาให้ห่างกันพอสมควรประมาณ ๔-๑๕ เมตร ใครได้ก่อนจะได้ปาลูกหินให้ไปโดนกะลา ให้ลูกนูกระเด็นออกจากกะลาไว้ และเมื่อทุกคนขว้างหมดแล้ว หากมีลูกนูเหลีออยู่ในกะลาคนที่ขว้างลูกหินไปได้ไกลที่สุดจะได้เป็นผู้ขว้างกะลานั้นใหม่ ใครไต้ลูกนูมากคน นั้นชนะ 
               ๕. ประเภทล้อ-กลิ้ง
                    มีหลายลักษณะได้แก่ การเล่นล้อที่ทำจากไม้กระป้อง ล้อรถ เหรียญ ลูกบอล ดิน มีการละเล่นหลายชนิด ล้อเส้น ขนลูกบอลทราย ตีลูกล้อยางรถ ทอยเหรียญ ทอยตรอก ทอยชิต ทอยบอล ทอยเส้น ล้อตก ล้อกบ ล้อเสัน
                   - ทอยบอล
                     มีวิธีการเล่น คือให้ขุดหลุมเท่าจำนวนผู้เล่นทุกคนตรงกลางวง ขีดเส้นวงกลมล้อมรอบหลุม ผู้เล่นทุกคนยืนรอบวงกลม แต่ละคนเริ่มทอยบอล โดยโยนบอลให้กลิ้งลงหลุมที่อยู่ในวงบอล กลิ้งลงหลุมของใครให้เจ้าของหลุมรีบวิ่งมาหยิบบอลขว้างผู้อื่น ส่วนผู้อื่นต้องรีบวิ่งหนี ถ้าปาไปโดนใครต้องเอาก้อนกรวดมาวางไว้ในหลุมของคนนั้น ถ้าปาไม่โดนต้องเอาก้อนกรวดวางในหลุมของผู้ปา หลุมใดมีก้อนกรวดครบ ๕ ลูกก่อนเจ้าของหลุมนั้นแพ้
                   - ล้อตก
                     มีวิธีการเล่น คือให้แต่ละคนนำเหรียญไปล้อบนกระดานที่วางเฉียง เมื่อเหรียญไปกระทบกำแพง ข้างหน้าจะย้อนกลับออกมา คนที่ล้อต่อมาต้องพยายามล้อให้เหรียญย้อนกลับมาประกบเหรียญแรก ถ้าประกบช้อนกันได้หลายเหรียญคนล้อหลังสุดชนะเลิศ
                   - ล้อเสัน
                     มีวิธีการเล่น คือให้แต่ละคนนำเหรียญของตนล้อบนกระดาน ให้เหรียญล้อไปตกใกล้เส้นแดนมากที่สุดถ้าทับเส้นเลยยิ่งดี แต่จะเลยเส้นไปถือว่าแพ้ ใครอยู่ใกล้เส้นมากที่สุดเป็นผู้ชนะเลิศ 


             ๖. ประเภทเลียนแบบสัตว์ชนิดต่าง ๆ เป็นการละเล่นของเด็กโดยมีการตั้งชื่อและกำหนดกิจกรรมเลียนแบบสัตว์ต่าง ๆ เช่น ปูขาเก ชนไก่ ชนรัวดิน ปลาวิ่งป้อง ดีไก่ ตีกบ หมาขาเดียว เชื้อช้าง เชื้อนางแมว เสือกินวัว
                  - ปลาวิ่งป้อง
                    มีวิธีกาเล่น คือให้ผู้เล่นฝ่ายเป็นป้องนั่งถ่างขาให้ปลายเท้าชนกัน อีกฝ่ายเป็นปลาแต่ละคนวิ่งกระโดดข้ามป้อง ฝ่ายป้องคอยดูจังหวะเมื่อฝ่ายปลากระโดดต้องยกเท้าชื้นให้ปลากระทบป้อง ใครถูกกระทบป้องต้องมาเป็นป้อง ผู้เป็นป้องที่ถูกปลากระทบต้องมาเป็นปลาแทน 
                  - เชื้อนางแมว
                     การเล่นเชื้อนางแมวมีบทร้องคล้ายการเล่นของอีสาน คือการเล่นแห่นางแมว แต่มีวิธีการเล่นไม่เหมือนกัน คือแห่นางแมวจะอุ้มแมวแห่ไปรอบหมู่บ้านพร้อมกับร้องไปด้วย เมื่อผ่านบ้านใครจะหยุดร้องและคนในบ้านนั้นจะนำน้ำมารดศึรษะของแมวตัวนั้น ผู้เล่นเป็นคนทรงนางแมวนั่งบนพื้นดิน ผู้เล่นคนอื่นใช้ผ้าชาวม้าคลุมบนศีรษะของคนทรงแมว หมุนผ้าเป็นเกลียว ๒ ข้าง แล้วดึงผ้าขาวม้าให้คนทรงโยกไปมาพร้อมร้องเพลงประกอบขังหวะ
                     "นางแมวเอย ขอฟ้าขอฝน
                       ขอนั้ามนต์ มาสระหัวนางแมว
                       มาปีนี้ ไม่มีผมเลย"
                   - เชื้อช้าง
                     การเล่นเชื้อช้างในขังหวัดสงขลา คล้ายกับการเล่นแม่ศรีของภาคกลาง โดยมีผัเล่น ๓ คน คนหนึ่งสมมุติเป็นร่างทรงวิญญาณช้าง โดยนั่งบนพื้นหรือบนกันครกตำ ข้าวที่ควํ่าอยู่บนพื้นผู้เล่นอีก ๒ คน เอาผ้าขาวม้าคลุมศีรษะที่คนทรง แล้วหมุนผ้าชาวม้าให้เป็นเกลียวรัดศีรษะคนทรง แล้วช่วยกันดึงผ้าขาวม้าให้คนทรงโยกไปโยกมา พร้อมทั้งช่วยกันร้องเพลงประกอบ ซึ่งมีหลายสำนวน เช่น ช้างปัดเล่าล่าง ช้างกินไม้ไผ่ หมูกินบอน พังพอนกินไก่ ลงมาไวไวเถิดเหอนางช้าง หลังจากที่คนทรงถูกโยกหลาย ๆ ครั้ง และได้ยินคำเชื้อเชิญนานเข้าคนทรงจะรู้สีกตัวเองว่าเหมือนกำลังเป็นช้าง คนทรงจะแสดงอาการเหมือนช้าง เช่น คุกเข่าลงคลาน ๔ เท้า แล้วออกวิ่งไล่คนถ้าอยู่ใกล้ ๆ ต้นไม้คนทรงจะทำท่าหักกิ่งไม้เหมือนช้างกำลังหักกิ่งไม้มากิน
              ๗. ประเภทที่ต้องอาศัยตาราง คือการละเล่นของเด็กที่ต้องมีการขีดเส้นตารางลงบนพื้น โดยมีรูปแบบของเส้นหลายแบบแต่ละแบบจะกำหนดวิธีการเล่นบนเส้นนั้นแตกต่างกันออกไป เช่น เรือบิน เตย หยอแขก ห่วงยาง ลูกฉุด 
                  - เรือบิน
                    เรือบิน เป็นการเล่นของเด็กที่มีการขีดเส้นเป็นตาราง โดยจินตนาการมาจากลักษณะของเครื่องบินที่มีปีกบิน เล่นกันในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้แต่เป็นที่ลานกว้างโดยมีผู้เล่น ไม่จำกัดเพศและจำนวนผู้เล่น โดยมีอุปกรณ์คือกุยหรือเกย ทำจากเศษกระเบี้องทำเป็นแผ่นกลมเล็ก ๆ หรืออาจจะทำจาก้อนหินเล็ก ๆ ก็ได้
                   วิธีเล่น ให้ขีดตารางเป็นเส้นลงบนพื้นเป็นรูปเครื่องบินมีปีก ๒ ชั้น มีลำตัวทำเป็นช่อง ๆ  แต่ละช่องมีชื่อว่า “เมือง” มี ๑๐ เมือง ต่อจากเมืองสุดท้ายเป็นหัวเมือง โดยเริ่มเสี่ยงทายหาตัวผู้เล่นก่อน ผู้เล่นทุกคนผลัดกันโยนเกยโดยยืนหันหลัง ให้เส้นแรกโยนเกยไปที่ช่องหัวเมือง หากใครตกใกล้มากที่สุดจะได้เริ่ม ก่อนริ่มเล่นผู้เล่นคนแรกวางเกยของตนบนช่องเมืองที่ ๑ แล้วเริ่มกระโดดเขย่ง เท้าข้างใดข้างหนึ่งโดยห้ามเปลี่ยนเท้าที่เขย่ง กระโดดก้าวเดียวลงทุกเมืองยกเว้นเมืองที่วางเกย และเมืองที่ ๖-๗, ๙-๑๐ ให้วางเท้าได้ ๒ ข้าง แยกเท้าแต่ละข้างไว้เท้าละเมือง กระโดดถึงเมืองที่ ๙-๑๐ ให้หมุนตัวกลับและกระโดดเขย่งเท้ากลับมาทุกเมืองตามลำดับ จนถึงเมืองที่ ๒ ก้มหยิบเกยในเมืองที่ ๑ และกระโดดข้ามออกนอกเส้น เริ่มโยนเกยวางในเมืองที่ ๒ ก็เริ่มกระโดดเขย่งเท้า ลงเมืองที่ ๑ และกระโดดข้ามเมืองที่ ๒ ไปช่องเมืองที่ ๓ ทำเหมือนเที่ยวแรก และทำเช่นนี้ทุกเหี่ยวจนกระทั่งมีโอกาสไดโยนเกยไว้ถึงเมืองที่ ๑๐ การกระโดดเมื่อวางเกยถึงเมืองที่ ๑๐ กระโดดตามลำดับขั้น เมื่อถึงเมือง ๙-๑๐ ก็จะกระโดดยืน ๒ เท้าในช่องหัวเมืองโดยยืนหันหลังให้เมืองต่าง ๆ แล้วโยนเกยลงมาลงเมืองไหนจะได้เป็นเจ้าของเมืองนั้น เมื่อกระโดดถึงเมืองตนเองจะได้ยืน ๒ เท้า ถ้าโยนออกนอกช่องถือว่าแพ้ 
                  กติกาการเล่น หากผู้ใดทำผิดจะต้องผลัดให้ผู้อื่น ๆ ลงเล่นบ้าง กรณีที่ผิดกติกาคือโยนเกยไม่ถูกต้องตามลำดับเมืองหรือเกยทับเส้น ยืน ๒ เท้าในเมือง ๑๒๓๔๕๘ ขณะก้มหยิบเกยเอามือแตะพื้น หรือเอาเท้าที่ยกแตะพื้นไม่ได้ ขณะกระโดดห้ามเหยียบทุกเส้น การที่จะเป็นผู้ชนะคือต้องได้ครองเมืองให้มากที่สุด
               ๘. ประเภทที่ต้องใช้ยางเป็นอุปกรณ์ในการเล่น โดยเฉพาะยางที่ใช้เป็นยางวงหรือยางเส้น ด้วยวิธีการยิง แย่งชิง และการเป่า เช่น การ เล่นยิงราว ยิงวง เป่ากบ ชิงยางในนั้า
                    - ยิงวง
                      ผู้เล่นทุกคนต้องลงยางวงเป็นทุกคน คนละ ๕-๑๐ เส้น วางไว้กลางวงบนพื้นผลัดกันยิงยางด้วยยางที่เป็นเกยให้พ้นออกจากวงจะได้เป็นกรรมสิทธิ์ ถ้ายางยังไม่พ้นออกจากวงจะเอายางทุนไม่ได้ เมื่อยิงแล้วยางกระจายอยู่ในวงก็ไม่ต้องจัด ให้ผู้เล่นคนอื่นผลัดกันยิงให้ยางหมด
                    - ยิงราว
                      ผู้เล่นทุกคนต้องลงยางวงเป็นทุนคนละ ๕-๑๐ เส้น นำยางวงวางพาดลงบนราวไม่ไผ่ขนาดเล็ก ผลัดกันยิงยางด้วยเส้นที่เป็นเกย ใครยิงเกยร่วงจะได้ยางที่ตกพื้นเป็นกรรมสิทธี้ ถ้ายังไม่ตกราวให้ผู้เล่นคนอื่นผลัดการเล่นต่อไปจนยางหมดราวจึงเริ่มลงยางเล่นกันใหม่อีก

                ๙. ประเภทต่อสู้ เป็นการเล่นแข่งขันด้วยวิธีการต่อสู้ โดยผู้เล่นต่อสู้ด้วยตัวเองหรือใช้อุปกรณ์ในการต่อสู้ เช่น มวยทะเล ตีไก่ด้วยหญ้า ไก่ชน หลอดดูดนา ชนไก่ วัวดินชน หรือการใช้อุปกรณ์ในการต่อสู้ เช่น ฉับโผง หนังสตื๊ก
                     - ฉับโผง
                       วิธีเล่น ผู้เล่นเอากระสุนใส่ในรูกระบอกไม้ไผ่ และใช้แกนไม้ไผ่กระทุ้งจนเช้าไปได้ประมาณ ๑ ใน ๔ ของกระบอก ใช้กระสุนอีกนัดหนึ่งยัดเข้าไปอีก แล้วเอา ม้ไผ่ที่เป็นแกนกระทุ้งเข้าไปอีกเล็กน้อย จากนั้นใช้แกนไม้ไผ่กระทุ้งซ้ำอย่างแรง ๆ เข้าไปในกระบอกไม้ไผ่ แรงอัดของอากาศที่อยู่ระหว่างช่องว่างของกระสุนนัดแรกกับนัดที่ ๒ จะเป็นแรงช่วยผลักให้กระสุนออกจากกระบอกไปตามเป้าหมายที่ต้องการ การยิงในแต่ละครั้งจะเกิดเสียงดังโผงออกจากปากกระบอกด้วย สำหรับอุปกรณ์ของฉับโผง ประกอบด้วยปล้องไม้ไผ่ ๒ ลำ ลำหนึ่งเป็นกระบอก อีกลำหนึ่งเป็นแกน กระสุนที่ใช้ยังจะใช้ผลไม้ เช่น ลูกหวาย มะเขือพวง หรือกระดาษชุบน้ำโดยทำให้เปื่อยและทำเป็นก้อนกลม ๆ โดยกระสุนต้องมีขนาดที่โตกว่ารูกระบอก


               ๑๐. ประเภทใช้อุปกรณ์เล่นคนเดียวไม่มีการแข่งขัน เช่น การตีใบไม้ การเป่าใบไม้ การเล่นลูกหัน
                     - ลูกหัน
                       ลูกหมายถึงกังหัน ซึ่งจำลองมาจากกังหัน
                       วิธีทำ ให้นำลูกยางพาราลูกหนึ่งเจาะรูที่หัวท้ายและตรงกลาง ๓ รู้ โดยเขี่ยเอาเนื้อยางพาราออกให้หมด นำไม้ไผ่เหลายาวปลายด้านบน เสียบด้วยไม้ไผ่หรือใบกาบหมาก ใบตาล คล้ายรูปกังหัน ทำเป็นใบพัดขนาดกว้าง ๐.๕ นิ้ว ยาว ๔-๕ นิ้ว ห่างจากใบไม้ลงมาประมาณ ๒-๓ นิ้ว ผูกด้ายยาวขนาด ๘-๑๐ นิ้วที่ แกนไม้ไผ่สวมลูกยางเข้าในแกนไม้ไผ่ให้ด้ายพันไปกับแกนไม้ไผ่ขดม้วนอยู่ในลูกยางจนสุดด้าย ใช้มือข้างหนึ่งจับลูกยางมืออีกข้างหนึ่งดึงปลายด้ายออก ให้ดึงแกนใบพัดรวมทั้งใบพัดก็จะหมุนเต็มที่ เม็่อหย่อนด้ายลงด้ายก็จะขดกลับเข้ามาอยู่ในลูกยางอีก พอหมดด้ายก็ดึงออกอีก ใบพัดก็จะหยุดอยู่
                    - กลองดิน เป็นการละเล่นของเด็กในจังหวัดสงขลาบางท้องถิ่น เช่น ตำบลพิจิตร อำเภอนาหม่อม คนโบราณเชื่อว่าเมื่อเล่นกลองดิน ฝนจะตก เพราะเสียงที่ดังเป็นเสียงขอฝน (ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีการเล่นชนิดนี้อีกแล้ว) การละเล่นกลองกินจะนิยมเล่นเฉพาะเด็กชาย
                      อุปกรณ์ประกอบด้วยกาบหมาก เชือกไม้
                      วิธีเล่น ผู้เล่นจะชุดหลุมกลมขนาดรัศมี ๑๐ เชนติเมตร ลึกราว ๒๐ เซนติเมตร ๑ หลุม ปิดปากหลุมด้วยกาบหมาก ซึ่งจัดเป็นรูปกลมตรึงเชือกด้วยไม้หลัก ๒ อัน ซึ่งปักคนละฟากหลุมห่างจากหลุมราวด้านละ ๑.๕ เมตร ใช้ไม้อันหนึ่งขนาดโตเท่านิ้วมือ ยาวราว ๑ ฟุต คํ้าเชือกตรงกึ่งกลางของกาบหมากไว้ในแนวตั้ง เวลาเล่นจะใช้ไม้เล็ก ๆ ตีเชือก แต่ถ้าต้องการให้ได้เสียงสูงก็ตีบริเวณไม้คา ถ้าต้องการเสียงทุ้มก็ตีห่างจากไม้คาออกไป

                     - ปี่ซัง
                       ปีชัง เป็นเครื่องเล่นของเด็กชนิดหนึ่ง นิยมเล่นในฤดูเก็บเกี่ยวรวงข้าว
                       วิธีทำ ผู้เล่นขะเอารวงข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้ว และมักใช้รวงที่มีปล้องกลมใหญ่ยาวมาตัดเอาส่วนในข้าวทิ้ง ตัดให้เหลือข้อปล้องไว้ยาวขนาด ๑-๗ นิ้วตามความต้องการของแต่ละคน โดยจับส่วนข้อปล้องแล้วกลางปล้องหักลง ปล้องรวงข้าวจะแตกจากนั้นตัดรวงข้าวอกรวงหนึ่ง นำมาแยงเข้าในรวงที่เป็นปี่เพื่อให้เยื่อในรวงหลุดออก ขณะแยงเข้าออกก็ร้องเพลง “ยนแยง ปลาหางแดง ขึ้นต้นดีปลี ยายทรงศรีเป่าปีให้ดัง” จากนั้นจึงลองเป่าก่อนเป่าจับส่วนข้อปล้องและกลางปล้องหักลงให้เห็นรอยปลิแตก แล้วท่องคำว่า “ตุ๊กจม” หนึ่งครั้งแล้วเป่าลมปากแรง ๆ ใส่ในช่องรอยปลิแตก ๑ ครั้ง จากนั้นจึงเป่าด้านปลายรวงข้าว (คำว่า "ยายทรงศรี" ตามบทร้องของเด็กเข้าใจว่าคงจะเป็นผู้ริเริ่มเล่นปีชังเป็นคนแรก)  ตามวิถีของชาวนาเมื่อถึงฤดูเก็บข้าวก็จะนำลูกไปในนาและหาของให้ลูกเล่น โดยมีความเชื่อว่าเด็กต้องเป่าบนคันนาจะไม่ให้ลงมาเป่าเล่นในห้องนา ด้วยเชื่อว่าถ้าเป่าในท้องนาพระแม่โพสพจะหลงไหลเสียงปีจนลืมดูแลรวงข้าว 
                    - กลองพรก เป็นกลองที่เด็ก ๆ ประดิษฐ์ขึ้นใช้เล่นเพื่อความเพลิดเพลิน บางครั้งการตีแข่งเสียงดังกันด้วย ปัจจุบันไม่นิยมเล่นกันแล้วเนื่องจากหนังวัวมีราคาแพง
                      ผู้เล่น นิยมเล่นเฉพาะเด็กชาย
                      อุปกรณ์ ประกอบด้วยกะลาผ่าซีกหัว หุ้มด้วยหนังวัวหรือหนังค่าง
                      วิธีเล่น ผู้เล่นจะเลือกกะลา ถ้าเป็นทรงสูงเสียงจะดีกว่าทรงเตี้ย ขูดผิวบอกให้เรียบแต่ขอบปาก ให้เสมอลบเหลี่ยมขอบบอกกันไม่ให้หนังวัวฉีกขาด หนังวัวที่หุ้มนำมาพอกขัดแล้วตัดเป็นวงกลม ขนาดโตกว่าปากกะลา ๑-๑ นิ้วครึ่ง เจาะรูหนังโดยรอบรูห่างกันประมาณ ๑ นิ้ว นำ ไปแช่น้ำไว้ ๑ คืน เพื่อให้หนังหุ้มอ่อน แล้วใช้หวายหรือเชือกแข็ง ๆ ขดเป็นวงกลมสวมที่ก้นกะลา ใช้หวายหรือเชือกตรึงหนังกับกะลาให้แน่น ใช้ชันอุดรูก้นกะลา ถ้าขึงหนังดึงมากเลียงก็จะดังมาก
                ๑๑. ประเภทกีฬา เป็นการละเล่นของเด็กเพื่อประลองสติปัญญาระหว่างบุคคล โดยมีกติกาที่เคร่งครัดทุกคนจึงต้องปฏิบัติตามกติกา ดังนั้นจึงเป็นการเสริมสร้างความเคารพกฎเกณฑ์ของสังคมไปด้วย การเล่นกีฬามีทั้งเล่นเป็นทีมและเล่นระหว่างบุคคลและมีทั้งกีฬากลางแจ้งและกีฬาในร่ม ลักษณะโดดเด่นของการละเล่นประเภทนี้ คือการเล่นกีฬาของเด็กเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงสภาพสังคม และภูมิปัญญาห้องถิ่นได้ การเล่นกีฬาพื้นบ้านมีหลายชนิด เช่น หมากขุม ว่าว สะบ้า ราวเด้อ ลูกไสว บูสุ ไม้อี้ เป็นต้น
                       - หมากขุม 
                         การเล่นหมากขุม นิยมเล่นทั่วไปในภาคใต้โดยเฉพาะจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นจังหวัดศูนย์กลางการค้าขายทางทะเลที่สำคัญของภาคใต้ มีเรือเดินทะเลจากหลายประเทศร่วมทำการค้ากับชาวใต้ นับเป็นอิทธิพลส่วนหนึ่งที่ทำให้การเล่นหมากขุมเป็นที่นิยม หมากขุมมีลักษณะรางคล้ายเรือในรางมีหลุมขนาดเล็ก ๒ แถว ๆ ละ ๗ หลุม และส่วนปลายมีหลุมใหญ่ ด้านละ ๑ หลุม เรียกหลุมใหญ่ว่า “แม่เริน” หมายถึงแม่เรือนหรือหัวเมืองนั้นเอง สำหรับหมากที่ใชัเดินแต่เดิมใช้เมล็ดพืช เช่น สวาด ยางพารา มะขาม ลูกนู (ดินเหนียวปันเป็นลูกกลม ๆ เล็ก ๆ) ปัจจุบันนิยมใช้ลูกแก้วมีสีสันหลากสีสวยงาม
                        วิธีเล่น
                        ๑. ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่าย นั่งอยู่คนละข้างของรางหันหน้าเข้าหาราง นำหมากหยอดใส่ในหลุมของเมืองตัวเอง หลุมละ ๗ เม็ด ๗ หลุม
                        ๒. การเริ่มเล่นผู้อาจตกลงกันว่าจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้เดินก่อน การเดินหมากจะเริ่มใช้หมากจากหลุมใดหลุมหนึ่งก็ได้ แต่ต้องเป็นหมากที่อยู่ใน “แดน” ของตัวเองแล้วเดินร่ายไปทางด้านซ้ายมือ เมื่อเดินผ่านหลุม “แม่เริน” ของตนก็เอาหมาก “ขึ้นเริน” ได้ ๑ เม็ด ทุกครั้ง แล้วเดินเลยเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงกันข้ามร่ายไปเรื่อย ๆ เมื่อถึงหลุมสุดท้ายของฝ่ายตรงกันข้ามก็จะต่อมาที่หลุมแรกชองฝ่ายตน (ไม่ใส่หมากในหลุมแม่เรินของฝ่ายต่อสู้) เดินไปเช่นนี้เรื่อย ๆ จนกว่าหมากที่ได้มาจากการหยิบครั้งแรกหมด โดยมีกติกาว่า
                           - ถ้าหมากเม็ดสุดท้ายตกตรงหลุมที่มีหมากอื่นเหลืออยู่ ให้หมากทั้งหมดในหลุมนั้นเดินต่อไปได้
                           - ถ้าหมากเม็ดสุดท้ายตกตรงหลุมที่ไม่มีหมากอื่นเหลืออยู่เลยถือว่าการเดิน “ตาย” ต้องหยุดเดินหันที และถ้าเป็นการเดินในรอบแรกที่เริ่มลงมือเดินพร้อมกันต้องปล่อยให้ฝ่ายตรงข้ามเดินต่อไปเพียงฝ่ายเดียวจนกว่าจะตาย จึงเปลี่ยนให้คนที่ตายก่อนเดินสลับกันไปเรื่อย ๆ
                           - เมื่อผู้เดินหมาก “ตาย” ถ้าตายในแดนของตัวเองและในหลุม ที่อยู่ในแดนของฝ่ายตรงกันข้ามของหลุมนั้นมีหมากอยู่ ผู้เดินตายก็จะได้ “กิน” หมากในหลุมนั้นทั้งหมด โดยนำไปใส่ในแม่เรินของฝ่ายตนในทันทีแล้วจึงเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงกันข้ามเดินต่อไปจนหมดหมากเดิน
                         ๓. เมื่อการแข่งขันในรอบนั้นยุติลง แต่ละฝ่ายนำหมากในหลุม “แม่เริน” ของตนมาเรียงใส่หลุมในแดนของตนใหม่ ฝ่ายที่เสียหมากไปมากไม่อาจใส่หมากให้ครบหลุมได้ ขาดไปกี่หลุมถือว่า “เป็นหม้าย” ไปเท่านั้นหลุม ต้องยกเลิกไม่ใช้หลุมนั้นเล่นในรอบต่อไป จะต้องโดนตัดจากหลุมสุดท้ายเข้ามาเรื่อย ๆ เข่น ถ้าเหลือหมากเพียง ๔๒-๔๘ เม็ด จะเรียงไต้เพียง ๖ หลุม ต้องตัดหลุม ๗ ออก ฝ่ายใดมีหลุมที่กลายเป็นหม้ายไปหลายหลุมก็จะเสียเปรียบคู่ต่อสู้มากขึ้น เพราะโอกาสที่ตนจะ “กิน” หมากของอีกฝ่ายหนึ่งจะลดน้อยลง ทั้งทำให้การคิดคำนวณก็ทำได้โดยยาก และถ้าฝ่ายใดเป็นหม้ายหมดทุกหลุมลือว่าแพ้โดยสิ้นเชิง


                       - การเล่นว่าว
                         การเล่นว่าว เป็นกีฬาพื้นบ้านอย่างหนึ่งที่นิยมเล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นการเล่นเพี่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ในบางโอกาสสามารถนำมาจัดเป็นการแข่งขันกันได้ โดยผู้เล่นและคนส่งว่าว ๑-๓ คน คนชักว่าว ๒-๔ คน จำนวนคนขึ้นอยู่กับชนิดของว่าว
                         อุปกรณ์ในการเล่นว่าว ประกอบด้วย
                         ว่าวทำด้วยโครงไม่ไผ่เป็นรูปต่าง ๆ หุ้มโครงด้วยกระดาษแล้วใช้เชือกชัก
                         สถานที่ นิยมเล่นว่าวกันที่โล่งแจ้ง มีลมแรงโดยเฉพาะชายทะเล
                         วิธีเล่น
                         ว่าวมีหฺลายชนิด เข่น ว่าวกระบอก ว่าวงู ว่าวจุฬา ว่าวนก ว่าวปักเป้า ว่าววงเดือน นิยมเล่นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน การเล่นว่าวเพื่อความสนุกสนานหรือเพื่อแข่งชันก็ตาม จะมีผู้ส่งว่าว ๑-๔ คน แล้วแต่ขนาดของว่าว ผู้ชักว่าวจะผ่อนเชือกปล่อยออกเรื่อย ๆ ตัวว่าวจะต้านลมทำให้เกิดมุมเฉียงกับกระแสลม จนว่าวทรงตัวลอยอยู่ในอากาศ
           


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
การละเล่นพื้นบ้านของเด็กในจังหวัดสงขลา
ที่อยู่
จังหวัด
ภาคใต้


วีดิทัศน์

รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024