ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดยะลา (ลายยะลารวมใจ (ยาลอจาโปรฮาตีกีตอ))
 
Back    20/12/2022, 10:31    4,665  

หมวดหมู่

เครื่องแต่งกาย


ประเภท

ผ้า


ประวัติความเป็นมา/แหล่งกำเนิด

         
ภาพจาก : https://drive.google.com/file/d/1tHv5v23irP6xgicNYC1VgxIh_Q-SEmDR/view

           เสื้อผ้าอาภรณ์เป็นปัจจัยหนึ่งในปัจจัย ๔ ที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิต ซึ่งผู้คนจำใส่ในชีิวิตประจำวันและในโอกาสหรือวันพิเศษ เช่น ในงานประเพณีต่าง ๆตามความเชื่อของคนแต่ละกลุ่มวัฒนธรรม ซึ่งแสดงถึงตัวตนและความคิดเห็นของผู้สวมใส่รวมทั้งเป็นสินค้าอันเป็นที่มาของรายได้ด้วย โดยเฉพาะวัฒนธรรมการใช้ผ้าในวิถีชีวิตชาวใต้นั้น มีความหลากหลายเนื่องจากอยู่กันในลักษณะ "พหุวัฒนธรรม" มีคนหลากหลายชาติพันธุ์ เช่น ชาวไทยพุทธ ชาวมลายูมุสลิม ชาวจีน ภาคใต้ของไทย เริ่มตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย เป็นพื้นที่ที่ถูกขนาบด้วยทะเลทั้งสองฟากและเป็นจุดผ่านของเส้นทางค้าขายติดต่อระหว่างอารยธรรมตะวันออกและตะวันตก เป็นตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าและท่าเรือ ส่วนด้านการใช้ผ้านั้น วิถี พานิชพันธ์ (2547) ได้กล่าวว่า...มีบันทึกว่าชาวภาคใต้ใช้ผ้าหลายรูปแบบทั้งผ้าฝ้าย ผ้าแพร ผ้าเขียนลายเทียน ผ้ามัดย้อม แต่ผ้าที่มีชื่อที่สุดของภาคใต้กลับเป็น "ผ้ายก" โดยเฉพาะผ้ายกจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่รู้จักในนามของ "ผ้ายกเมืองนคร" เป็นผ้าที่ราชสำนักภาคกลางสั่งทอและให้ส่งเป็นบรรณาการ ต่อมาในระยะหลังก็มีผ้าที่มีชื่อเสียงตามมาอีกหลายชนิด แต่ชาวบ้านปักษ์ใต้ทั่ว ๆ ไปในอดีตนิยมนุ่งผ้าคล้ายผ้าขาวม้าสีแดงและผ้าปาเต๊ะหรือบาติก ที่มีลดลายสีสันหลากหลาย ต่อมาในช่วงหลังได้รับอิทธิพลจากผ้ามาเลเซียและอินโดนีเชีย โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมจะนิยมนุ่งโสร่งลายตะรางแบบชาวเบงกอล นอกจากนี้ วิถี พานิชพันธ์ ยังอรรถาธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับ "ผ้าปาต๊ะ "และ "ผ้าทอปัตตานี" ไว้อย่างน่าสนใจว่า สำหรับชาวใต้โดยทั่วไปไม่นิยมสวมเสื้อผ้าที่ผลิตด้วยใยไหม เว้นแต่จะเป็นโอกาสพิเศษเท่านั้น ในเวลาทั่วไปจะนิยมสวมเสื้อผ้าบางเบาแต่มีลายสีสันฉูดฉาด โดยเฉพาะผ้าย้อมสีที่เรียกว่า "ผ้าปาเต๊ะ* เป็นที่นิยมแพร่หลายตามคาบสมุทรมลายูภไปจนกระทั่งถึงชาวหมู่เกาะชวา หมู่เกาะสุมาตรา และฟิลิปปีนส์
         ผ้าปาเต๊ะเป็นผ้าฝ้ายเนื้อบางที่นำมาเขียนลายด้วยขี้ผึ้ง และใช้สีย้อมภายในกรอบเส้นขี้ผึ้ง ซึ่งจะให้ลายที่ชัดเจนกว่าการมัดย้อม ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ทำผ้านุ่ง ผ้าโสร่ง ตัดเสื้อ และใช้เป็นผ้าปูนั่ง หรือผ้าคลุมต่าง ๆ ส่วนผ้าทอปัตตานีเป็นผ้ามัดหมี่ส่วนใหญ่จะทอด้วยไหมละเอียด ลวดลายกระเดียดไปทางผ้ามาเลย์และชวา ซึ่งมีเทคนิคหลากหลาย มีชื่อเรียกว่าผ้าจวนปัตตานีหรือผ้ายกตานี เป็นผ้าพื้นเมืองดั้งเดิมแบบหนึ่งของปัตตานี ลวดลายในศิลปะแบบชวา-มลายู คล้ายกับลายในเชิงผ้าปูมเขมร แต่มีลักษณะที่เป็นอัตลักษณ์คือมีล่องหรือลวดลายตามชายผ้าหรือที่ริมผ้า บางครั้งเรียกว่า "ผ้าล่องจวน" ซึ่งหมายถึงลวดลายที่ปรากฎฏอยู่บริเวณชายผ้าทั้งสองด้าน แต่หากลวดลายวางเป็นแนวอยู่ในช่องขนานมีลักษณะเป็นร่องริ้วก็เรียกว่า "ล่องจูวา" ลายของจูวาส่วนอื่นเป็นลายที่ใช้กรรมวิธีมัดหมี่ รูปแบบของลายจูวามีหลากหลายลักษณะ ผ้าที่เป็นลายจูวาเต็มตลอดทั้งผืนเรียกกันว่า "ผ้าลีมา" จัดเป็นผ้าชั้นสูง จุดเด่นของผ้าจวนตานีคือมีสีสันสวยงาม สะดุดตา เชิงผ้าจะมีสีแดงเข้มมีลวดลายวิจิตรพิสดารมาก คำว่า "จวนตานี" มีรากศัพท์จากภาษามลายูคือ "จูวา-ตานี" มีความหมายว่า "ร่อง หรือ "ทาง" เป็นผ้าที่มีเอกลักษณ์ลวดลายการถักทอเฉพาะถิ่น เป็นผ้าโบราณที่เคยสูญหายไปแล้วชั่วระยะเวลาหนึ่งต่อมาได้ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่

          สำหรับจังหวัดยะลานั้นมีผ้าทอที่ทำด้วยมือ เช่น ผ้าบาติก ที่ได้รับอิทธิพลจากคาบสมุทรมลายูตอนล่าง ซึ่งทำให้ผ้ามัดย้อมมีลวดลายในเชิงนามธรรม และมีสีสันสะดุตตา ด้วยเหตุที่รับเอาอิทธิพลจากประเทศอินเดีย อินโดนีเชีย มาเลเซีย และจีน ทำให้ผ้าบาติกของจังหวัดยะลามีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่แพ้จังหวัดอื่นในภูมิภาคเดียวกัน ผ้าบาติก (Batik) หรือ ปาเต๊ะ (Batek) เป็นผ้าที่สร้างลวดลายที่เกิดจากการกั้นสีด้วยเทียน แล้วแต้มระบายหรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ทำให้ผ้าบาติกของจังหวัดยะลามีเอกลักษณ์โดดเด่นในด้านสีสันที่สดใส มีเทคนิคในการผลิตหลายแบบ เช่น การเขียนด้วยมือ จัดเป็นผ้าบาติกชั้นสูง การเพ้นท์และพิมพ์ลวดลายบนผ้า ปัจจุบันจังหวัดยะลามีภูมิปัญญาและแหล่งทำผ้าบาติกที่อยู่หลายกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีการฟื้นฟูเทคนิคผ้าบาติกโบราณมาสร้างลวดลายและปรับสีสันให้ทันสมัยมากขึ้น เช่น ผ้าปะลางิง 


กลุ่ม OTOP / ผู้ประกอบการ

              ผู้ผลิตผู้ประกอบการผ้าบาติกของจังหวัดยะลา มีจำนวน ๑๐ กลุ่ม ประกอบด้วย

๑. กลุ่มศรียะลาบาติก ตั้งอยู่ซอยสุขธร ๑๒ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา มีนายปิยะ สุวรรณพฤกษ์ ครูช่างศิลปหัตถกรรมปี ๒๕๖๐ เป็นผู้เริ่มก่อตั้งการทำผ้าบาติก และริเริ่มฟื้นฟูตำนานของผ้าปะลางิง ทำให้ผ้าปะลางิงกลับมาสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดยะลาอีกครั้ง ผ้าปะลางิงเป็นผ้าในตำนาน ได้สูญหายไปร่วม ๘0 ปีแล้ว เป็นผ้าที่ใช้การทอด้วยฝ้ายหรือไหม ก่อนที่จะมาทำเป็นผ้ามัดย้อม เขียนลวดลายพิมพ์ลายผ้า และเก็บสี ผ้าปะลางิง ในหนึ่งผืนจะมีหลากหลายสีแต่โทนสีจะเป็นคู่สีตัดกัน
๒. กลุ่มฮิบรอฮิมบาติก จัดตั้งกลุ่มตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ โดยนายฮิบรอเฮง มีดามี ได้รวมกลุ่มชาวบ้านทำผ้าบาติก มีทั้งผ้าชิ้น หรือตัดเย็บเป็นเสื้อ  ตลอดจนของชำร่วยต่าง ๆ โดยมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในพื้นที่และเป็นสินค้าโอท็อปของจังหวัดยะลา จุดเด่นของผ้าบาติกกลุ่มฮิบรอเฮง คือจะมีลวดลายเส้นเทียนเล็กเท่ากันหมด มีสีสันที่สวยงาม เป็นสินค้าที่ทำจากมือ (Handmade )
๓. กลุ่ม Adel Kraf  โดยนายดุลฟิตรี เจ๊มะ ตั้งอยู่ถนนผังเมือง ๔ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลาจังหวัดยะลา จัดตั้งกลุ่มขึ้นจากความรักและสนใจผ้าพื้นถิ่นภาคใต้ มาต่อยอดและส่งเสริมผ้าโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยสร้างมิติและสร้างสรรค์ลายบนเนื้อผ้า โดยเทคนิคการเย็บย้อมให้ผ้าธรรมดามีคุณค่าเพิ่มขึ้น
๔. กลุ่มอาดือนันบาติก โดยนายอาดือนัน บากา โดยมีภูมิปัญญาและแนวคิดในการผลิตผ้ามาจากการทำผ้าบาติกแบบทั่วไป ได้ศึกษาลองผิดลองถูก จนพบว่าจังหวัดยะลานอกเหนือจากมีชื่อเสียง ด้านกรงนก กริช กล้วยหิน ส้มโชกุน ยังมีชื่อเสียงด้านหินอ่อน เพราะมีแหล่งหินอ่อนที่มีคุณภาพ มีสีสันสวยงาม ทั้งสีชมพูเทา ขาว และดำ ประกอบกับจากการสำรวจตลาดผ้าบาติก พบว่าลวดลายหินอ่อนยังไม่มีผู้ผลิตรายใดนำมาทำลวดลายบนผ้าบาติก ด้วยเหตุนี้จึงได้พัฒนาสร้างสรรค์ "ผ้าบาติกลายหินอ่อน" โดยใช้หลากหลายเทคนิค ผสมผสานทั้งการเขียนสี สะบัดพู่กัน ฟ่นสี เป่า ฉีดน้ำ รวมถึงใช้สีที่ผสมผสานทั้งสีบาติก สีน้ำ และสีน้ำมัน พัฒนาจนค้นพบเทคนิคในการผลิตผ้าบาติกโดยใช้วิธีเขียนเทียผสมผสานดอกดาหลากับลายหินอ่อน เป็นซิกเนเจอร์ของแบรนด์
๕. กลุ่มเก๋บาติก มีนายดาริน ดวงเต็ม ประธานกลุ่ม ผลิตผ้าบาติกด้วยการเขียนเทียน นำสิ่งบ่งซื้ซึ่งกล้วยหินที่เป็นผลไม้ที่โดดเต้นมีชื่อเสียงเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด มาจัดทำผ้าบาติกลายกล้วยหิน โดยให้มีลักษณะโตดเด่นด้านรูปลักษณ์ของกล้วยหิน ที่มีลักษณะเหลี่ยมแตกต่างจากกล้วยประเภทอื่น อีกทั้งโดดเด่นด้านสีสัน ที่มีสีเหลือง สีน้ำตา าล สีเขียว และแซมด้วยสี แดงซึ่งเป็นสีของปลีกล้วย
๖. กลุ่มครูผีเสื้อ มีนางสาวสันสนีย์ กาหลง ประธานกลุ่มครูผีเสื้อ มีแนวคิดการทำผ้าบาติกหรือปาเต๊ะด้วยการนำประสบการณ์และเทคนิคครูสอนการทำผ้าบาติกมัดย้อมมาแสดงการแครกผ้า โดยการทำเลเยอร์บนพื้นผ้า และนำเทคนิคแปลกใหม่การทำเนพทอสด้วยกระบวนการย้อมโบราณแบบมาเลเซียซึ่งกำลังจะสูญหายไป
๗. กลุ่ม Assama Batik โตยนงอัสสื่อเม็าะ ดอมะ อดีตครูสอนศิลปะโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิซึ่งผันตัวเองมาทำผ้าบาติก เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบลวดลายการทำผ้าบาติกด้วยการผสมผสานเทคนิคการออกแบบ ลปะ การทำผ้ามัดย้อมและการตัดเย็บเสื้อผ้า ผลงานที่ริเริ่มสร้างสรรค์และจุดเด่นของผลงานที่แตกต่างจากผลงานผู้อื่น ได้แก่ ลายผ้าบาติกที่ใช้เขียนโดยใช้เทคนิคการย้อมสี ประกอบการใช้เทียนป้ายเพื่อให้เกิดเส้นเทียนแตก ลักษณะคล้ายสายหินแตก
๘. กลุ่มเยาวชนปือแนบาติก โดยมีนายปริญญา ยือราน ประธานกลุ่ม ได้รวมกลุ่มเยาวชนในตำบลบุดีใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยผลิตผ้าบาติกจนสามารถสร้างงาน สร้างรายได้สู่ชุมชน  โดยมีแรงบันดาลใจจากสิ่งที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์
๙. กลุ่มมัดย้อมธาตุดิน โดยมีนายศรีเพ็ญ รักขุนส่อง ประธานกลุ่ม ใช้เทคนิคเย็บย้อมเนารูดด้วยดินนำมาเป็นทำสี่ย้อมผ้า หมักผ้าให้นุ่มและกันสีไม่ให้ตกด้วยสีธรรมชาติ ลวดลายผ้าจากผ้าโบราณพื้นถิ่นสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
๑๐. นานาไอเดียร์ โดยมีนายมธุรส ดีเสมอ ประธานกลุ่ม มีแนวคิดในการทำผ้าด้วยการนำผ้าย้อมสีธรรมชาติ โดยใช้เทคนิค Eco Printing ภาพพิมพ์จากใบไม้ นำใบไม้แต่ละชนิดมาวางให้เป็นรูปของดอกดาหลา แทรกใบไม้ตัดเป็นอักษรพระราชทาน S ในลายผ้า ด้วยการโอนสีจากใบไม้สู่ผืนผ้า ด้วยความโชคดีของจังหวัดยะลา ที่มีผืนป้าอันอุดมสมบูรณ์ใบไม้หลากหลาย จึงทำให้เกิดนานาไอเดีย

                จากการสืบค้นลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดยะลา ปรากฏว่าจังหวัดยะลายังไม่มีลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัด คณะทำงานประกอบด้วยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา และผู้ประกอบการผ้าในจังหวัดยะลา จำนวน ๙ กลุ่ม ประกอบด้วย
               ๑) กลุ่มศรียะลาบาติก
               ๒) กลุ่มอิบรอฮิมบาติก
               ๓) กลุ่ม Adel Kraf
               ๔) กลุ่มอาคือนันบาติก
               ๕) กลุ่มเก๋บาติก
               ๖) กลุ่มครูผีเสื้อ
               ๗) กลุ่มทอผ้านิคมกือลอง
              ๘) กลุ่ม Assama Batik
              ๙) กลุ่มเยาวชนบือแนบาติก
               การนำข้อมูลสิ่งที่บ่งชี้ของจังหวัดมาใช้เป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบลวดลายผ้า อัลักษณ์ประจำจังหวัดยะลา โดยนำคำว่า ยะลอ หรือ ยาลอ ชื่อเมืองยะลาภาษาพื้นเมืองมลายู ซึ่งแปลว่า แห หรือตาข่าย และดอกพิกุล ดอกไม้ประจำจังหวัดยะลา มากำหนดและออกแบบลวดลาย โดยผู้ประกอบการ และภูมิปัญญาด้านผ้า
ได้ร่วมกันออกแบบลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดยะลา เพื่อให้ทุกภาคส่วนในจังหวัดยะลาได้มีส่วนในการคัดเลือกลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดยะลา ผ่านระบบ Google Fomm จำนวนทั้งสิ้น ๑๓ ลาย จากการคัดเลือกของประชาชนจังหวัดยะลา ได้เลือกลายของกลุ่ม Assama Batik ซึ่งออกแบบโดยนางสาวฮัสสือม๊าะ ดอมะ และร่วมตั้งชื่อลายว่า "ยะลารวมใจ" ผู้ออกแบบได้นำเรื่องราวในพื้นที่มาสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นลวดลายผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ประจำจังหวัดยะลา การออกแบบลวดลายมีแรงบันดาลใจจากดอกไม้ประจำจังหวัดยะลา คือดอกพิกุล และแห หรือยาลอ เพื่อสื่อความหมายถึงปวงประชาชนที่มีความสมานฉันท์กลมเกลียวกัน ไม่ว่าเชื้อชาติ ศาสนาใด ร้อยเรียงประดุจพี่น้องที่รักใคร่กัน การผลิตผ้าใช้เทคนิคการผลิตแบบผ้าปาเต๊ะ ซึ่งเป็นผ้าประจำถิ่นคาบสมุทรมลายสะท้อนอัตลักษณ์ของท้องถิ่น อย่างร่วมสมัยด้วยการเขียนผ้าปาเต๊ะ ซึ่งเป็นผ้าประจำถิ่นคาบสมุทรมลายสะท้อนอัตลักษณ์ของท้องถิ่น อย่างร่วมสมัยด้วยการเขียนเทียนหรือพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์โลหะและแม่พิมพ์ไม้ ใช้ผ้าคอตตอน หรือผ้าชาตินสีของผืนผ้ากำหนดเป็นสีเขียว ซึ่งเป็นสีประจำจังหวัดยะลา ที่สื่อความหมายถึงผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ของจังหวัดยะลา


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดยะลา (ลายยะลารวมใจ (ยาลอจาโปรฮาตีกีตอ))
ที่อยู่
จังหวัด
ยะลา


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัด ๗๖ จังหวัด. (2565, 15 ธันวาคม). ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดยะลา : ผ้าลายยะลารวมใจ (ยาลอจาโปรฮาตีกีตอ).
            https://drive.google.com/file/d/1tHv5v23irP6xgicNYC1VgxIh_Q-SEmDR/view


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024