ภาพจาก : https://www.facebook.com/โนรานกน้อย-เสียงเสน่ห์-164618453697602/photos/?ref=page_internal
โนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ หรือสกุณา แกล้วกล้า เกิดวันจันทร์วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๕ บิดาชื่อทองขาว มารดาชื่อเปลี่ยน มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๒ คน และต่างบิดาอีก ๓ คน โนรานกน้อยแต่งงานเมื่ออายุ ๒๐ ปี กับบุญธรรม อ๋องเซ่ง อาชีพเจ้าหน้าที่สํานักงานเทศบาลฝ่ายประชาสัมพันธ์ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นบุตรชายของโนราเติมกับโนราหนูวาด มีบุตรด้วยกัน ๑ คน คือนายศุภชัย อ๋องเซ่ง เมื่อโนรานกน้อยได้อายุ ๒๕ ปี ได้หย่าร้างกับสามีคือบุญธรรม อ๋องเซ่ง ต่อมาได้แต่งงานใหม่กับวินัย ทองรุ่ง มีอาชีพทําสวน มีบุตรด้วยกัน ๑ คน คือธนิตา ทองรุ่ง โนรานกน้อยเลี้ยงดูบุตรสาวด้วยตนเอง เมื่อเดินทางไปแสดงที่ใดจะต้องนําบุตรสาวไปด้วยเสนอ ทําให้บุตรสาวสามารถรําโนราได้ตั้งแต่อายุ ๕ ขวบ โนรานกน้อยมีความตั้งใจให้บุตรสาวได้สืบทอดการรําโนราต่อจากตน
จุดเริ่มต้นของการรำมโนราห์โนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ นั้น จากงานวิจัยของบุปผาชาติ อุปถัมภ์นรากร (2553) กล่าวว่า เมื่อโนรานกน้อยอายุได้ ๗ ปี มีอาการชักทุกวัน ญาติ ๆ เชื่อว่าถูกครูหมอโนราเข้าทรงจะต้องรำโนราถ้าหากไม่รําโนราจะต้องตาย ต่อมาได้ต้องฝึกรําโนราโดยมารดานําไปฝากให้ฝึกรําโนรากับโนราหมึก จังหวัดตรัง อาการชักก็หายไป ต่อมาก็ฝึกรําโนราเมื่อว่างจากการเรียนหนังสือ หลังจากจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนบ้านต้นปรง อําเภอวังวิเศษ แล้วได้ฝึกรําโนราอย่างจริงจังเริ่มตั้งแต่ตอนเช้า โดยโนราหมึกให้นวดตัว ดัดมือ ดัดแขนแล้วต่อด้วยฝึกตัวอ่อน รําทําบท ร้องกลอนและฝึกตีเครื่องดนตรี จนสามารถรําโนราได้ชํานาญและออกร่วมกับคณะโนราหมึกและศิษย์อื่น ๆ อีก ๑๑ คน โดยจัดให้ออกรำพร้อมกันจนมีความโดดเด่นเป็นที่ชื่นชอบของเจ้าภาพและผู้ชมมาก ทำมีชื่อเสียงรู้จักกันทั่วไปในชื่อคณะโนราสิบสองสาวนครศรีฯ ส.หมึก โนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ ออกแสดงโนรากับโนราหมึกจนกระทั่งอายุได้ ๑๔ ปี โนราหมึกป่วยเพราะถูกงูกัดต้องหยุดพักรักษาตัว ทําให้ลูกศิษย์ต้องแยกย้ายกันไปอยู่กับคณะโนราอื่น ๆ เหลือแต่โนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ ยังคงแสดงอยู่กับโนราหมึกแต่เปลี่ยนชื่อคณะเป็นคณะโนราสมนึกประเสริฐศิลป์ ออกแสดงได้ไม่ถึงปี ก็กลับไปอยู่บ้านต่อมาโนราแป้น เครื่องงาม ได้มาขอตัวไปแสดงร่วมคณะด้วย โนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ แสดงอยู่กับคณะโนราแป้น เครื่องงาม ได้ ๕ ปี ก็กลับบ้านไปเรียนเย็บผ้าอยู่ ๒ ปี ต่อมาโนราเติมก็มาขอให้อยู่กับคณะโนราเดิม ขณะที่แสดงอยู่กับคณะโนราเติม โนรานกน้อยได้ยึดเอาลักษณะการร่ายรํา การร้องกลอนและการแสดงของโนราหนูวิน (ภรรยาของโนราเติม) มาเป็นแบบและพัฒนาฝีมือของตัวเองจนได้เป็นนางเอกประจําคณะโนราเติมแทนโนราหนูวิน ซึ่งดัดสินใจหยุด การแสดงโนรา จนกระทั่งเลิกคณะโนราในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ (เนื่องจากโนราเติมเสียชีวิต) หลังจากนั้นได้ออกรับจ้างแสดงเป็นศิลปินอิสระไม่ประจําอยู่คณะใดคณะหนึ่ง ต่อมาไปอยู่กับคณะโนราโรงครูอบอ่วมเป็นเวลา ๑๐ กว่าปี การรําของโนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ มีลีลาท่ารําที่อ่อนช้อยสวยงาม มีความสอดคล้องกลมกลืนกับจังหวะและทํานอง
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ โนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ ตัดสินใจตั้งคณะโนราของตนเองชื่อว่า คณะโนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ ผู้ก่อตั้งคือลุงแดง สุขชาญ โนรานกน้อยยึดอาชีพการแสดงโนรามาตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบันโดยไม่เคยทําอาชีพอื่นเลย มีความตั้งใจว่าจะยึดอาชีพการแสดงโนราไปจนกระทั่งไม่สามารถรำได้ ปัจจุบัน (๒๕๖๓) อายุ ๖๗ ปี ก็ย้งรำโนราอยู่มีทั้งการรับเชิญไปรำของหน่วยงานราชการเพื่อรณรงค์เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยอยู่เป็นประจำ
ความเชื่อในการแสดงโนราของคณะโนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ มีดังนี้
๑. ความเชื่อเรื่องครูหมอโนราหรือตายายโนรา คณะโนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ มีความเชื่อในเรื่องนี้เชื่อว่าตายายโนรามีความผูกพันกับลูกหลานที่มีเชื้อสายโนราหากลูกหลาน ที่มีเชื้อสายไม่เคารพบูชาตายายหรือครูหมอโนราอาจจะให้โทษด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ป่วยกระเสาะกระแสะ ปวดท้อง ทานข้าวไม่ได้ จะต้องทําพิธีบูชาตายายโดยตั้งหิ้งบูชาครูโนราแล้วกล่าวคําสัญญากับครูหมอ อาการที่เป็นก็จะหายเป็นปกติ |
๒. ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ คณะโนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ มีความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ และมีเวทมนตร์คาถาเพื่อป้องกันเสนียดจัญไร ป้องกันวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาในโรงโนรา ต้องใช้เวทย์มนตร์คาถา เช่น การผูกขี้ ผูกเยี่ยว (หมายถึงการควบคุมตนเองไม่ให้ปวดปัสสาวะหรืออุจารระในทำขณะแสดง |
๓. ความเชื่อเรื่องการแก้บน คณะโนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ มีความเชื่อในเรื่องนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่ามนุษย์ สามารถติดต่อกับดวงวิญญาณได้ โดยผ่านพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ โดยเชื่อว่าสามารถบนบานขอความช่วยเหลือจากครูหมอโนราในเรื่องต่าง ๆ ได้ เช่น บนให้หายจากการป่วย บนให้ของหายได้คืน หรือบนให้ครอบครัวมีความสุขหากประสบความสําเร็จ แต่โนราจะไม่รับบนหรือช่วยเหลือในเรื่องผิดศีลธรรม เช่น เรื่องชู้สาว และการลักขโมย |
๔. ความเชื่อเรื่องพระภูมิเจ้าที่ คณะโนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ มีความเชื่อในเรื่องพระภูมิ เจ้าที่ จะทําการบวงสรวงสังเวย โดยทําให้ลักษณะเพื่อขออย่าให้มี อันตรายแก่ตนและผู้อื่น ไปแสดงที่ใดต้องไหว้พระภูมิเจ้าที่ก่อน ขอ อย่าให้สิ่งใดมากล้ํากรายขอให้การแสดงประสบผลสําเร็ |
อัตลักษณ์ของโนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ คือการแสดงโนราแบบเล่นกลอนผูกหรือกลอนมุตโต ท่านเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบ สามารถคิดบทกลอนขึ้นได้ในขณะทําการแสดง ตลอดถึงมีน้ำเสียงในการร้องกลอนได้อย่างไพเราะ ทําให้มีชื่อเสียงโดดเด่นจนได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรไปสอนนักศึกษา จนมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วภาคใต้ ต่อมาคณะโนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ ได้ปรับปรุงรูปแบบการแสดงให้มีการรำแบบโบราณ ซึ่งจะแสดงเป็นชุดโดยใช้นักรำชุดละหลาย ๆ คน จนกลายเป็นความโดดเด่นของคณะ ต่อมาปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงแบบสมัยใหม่โดยพัฒนารูปแบบและปรับปรุงตามแบบอย่างวงดนตรีลูกทุ่ง คณะโนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ มีอัตลักษณ์ที่มีความโดดเด่นดังนี้
๑. การแสดงของคณะโนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ มีกระบวนท่ารําที่มีลักษณะอ่อนช้อยสง่างาม มีความสอดคล้องกลมกลืนกับจังหวะทํานอง การแต่งกายโนราแต่งแบบเครื่องต้นชุดใหญ่ และเครื่องต้นชุดเล็ก | ||
๒. การว่ากลอนของคณะโนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ เป็นกลอนที่ไพเราะมีเนื้อหาสาระลึกซึ้งกินใจสอดคล้องกับเหตุการณ์ สามารถสร้างความประทับใจให้กับคนดูได้อย่างดี โดยเฉพาะการว่ากลอนคู่หรือกลอนทอย กลอนทอยมีลีลาครึกครื้นสนุกสนานโนรานกน้อยสามารถใช้ร้องล้อเล่นกับผู้ชมได้อย่างมีบรรยากาศ | ||
๓. การแสดงของคณะโนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ เป็นการแสดงโนราแบบประยุกต์ แบ่งการแสดงออกเป็น ๒ ช่วง คือ
|
องค์ประกอบการแสดง (ข้อมูลปี ๒๕๕๑)
องค์ประกอบการแสดงคณะโนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ ประกอบด้วย
๑. โรงโนราและฉาก
|
||||||||||||||||||||||
๒. ลักษณะการแสดงและเรื่องที่แสดง
เครื่องแต่งกายของคณะโนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ ประกอบด้วยเครื่องแต่งกายที่แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง คือ |
||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||
๔. เครื่องดนตรี (ข้อมูลปี ๒๕๕๑) เครื่องดนตรีของคณะโนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ใช้สําหรับการแสดงช่วงที่ ๑ ใช้สําหรับการแสดงโนราแบบโบราณและการแสดงช่วงที่ ๒ ใช้สําหรับการเล่นดนตรีลูกทุ่ง ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
|
ขนบนิยมในการแสดงโนรา
ขนบนิยมในการแสดงโนรานกน้อย เสียงเสน่ห์ ที่ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบทอดต่อกันมาประกอบด้วย
๑. การตั้งเครื่อง เป็นการบรรเลงเพื่อประกาศให้รู้ว่าคณะโนราได้เดินทาง มาถึงเวที่เรียบร้อยแล้ว ลูกคู่จะบรรเลงดนตรี ๑ เพลง |
๒. เบิกโรง เป็นพิธีขอที่ตั้งโรงโนรา ขอเทวดา พระแม่ธรณี ครูโนรา ให้คุ้มครองปกกันภัยต่าง ๆ เริ่มด้วยผู้ทําพิธีเบิกโรงนําพานออกนั่งกลางโรง หันหน้าไปทางหน้าโรง เครื่องบูชาประกอบด้วยหมากพลู ๒ คํา เทียน ๓ เล่ม ดอกไม้ ๓ ดอก กําไล ๓ วง เล็บโนรา ๓ อัน แล้วเงินกํานล เครื่องดนตรีประกอบด้วยกลอง ๑ ใบ ทับ ๒ ใบ โหม่งและฉิ่ง มาวางเรียงตาม ลําดับ หันหน้าทับและกลองไปทางหน้าโรง จากนั้นผู้ทําพิธีลงอักขระที่เครื่องดนตรี ใบพลู แล้วพับใบพลูครึ่งหนึ่งม้วนเป็นรูปกรวย เอาหมากใส่ในกรวยเรียกว่าหมากจุกอก นําหมากคําที่ ๑ วางบนทับใบที่ 1 (ใบซ้าย) พร้อมปักเทียน ๑ เล่มและวางกําไล ๑ วง เล็บ ๑ อัน ดอกไม้ ๑ ดอก หมากคําที่ ๑ วาง ทับใบที่ ๒ พร้อมปักเทียน ๑ เล่มและวางกําไล ๑ วง เล็บ ๑ อัน ดอกไม้ ๑ ดอก หมากคําที่ ๓ วางบนกลองพร้อมปักเทียน ๑ เล่ม กําไล ๑ วง เล็บ ๑ อัน ดอกไม้ ๑ ดอก จากนั้นตั้งนะโม ๓ จบ แล้วกล่าวคําบูชาพระรัตนตรัย กล่าวคําชุมนุมครู จบแล้วจึงทําพิธีซัดหมาก |
๓. การโหมโรงหรือการลงโรง เป็นการบรรเลงดนตรีก่อนการแสดงโดยจะบรรเลงดนตรีล้วน ๆ ในทํานองและจังหวะต่าง ๆ จนครบ ๑๒ เพลง เพราะการโหมโรงเป็นการเตือนให้ผู้ชมทราบว่าใกล้กับเวลาที่โนราจะแสดงแล้ว |
๔. กาศครู การกาศครูเป็นการร้องบทกลอน เพื่อระลึกถึงครูโนราและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งหลาย เพื่อขอบารมีมาช่วยคุ้มครองป้องกันอันตราย และช่วยดล บันดาลให้ประสบความสําเร็จในการแสดง เนื้อหาจะกล่าวระลึกถึงครูโนรา ความเป็นมาของโนรา ตลอดถึงขอขมาพระแม่ธรณีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ประกอบด้วยบทขานเอ บทฤกษ์งามยามดี บทร่าย แตระ บทเพลงทับเพลงโท |
โนรานกน้อย เสียงเสน่ห์. (2564). สืบค้นวันที่ 14 ม.ค. 64, จาก https://www.facebook.com/โนรานกน้อย-เสียงเสน่ห์-
164618453697602/photos/?ref=page_internal
บุปผาชาติ อุปถัมภ์นรากร. (2553). ศิลปะการแสดงโนรา : การอนุรักษ์ การพัฒนา และการสืบสาน. นนทบุรี : สัมปชัญญะ.