โต๊ะครึม
 
Back    04/10/2022, 17:01    6,473  

หมวดหมู่

การละเล่น


ประเภท

ร้อง


ประวัติความเป็นมา/แหล่งกำเนิด


ภาพจาก : https://kyl.psu.th/bP2IZWhbG  

           คนภาคใต้มีวิถีวัฒนธรรมความเชื่อที่หลากหลายอันเกิดจากปัจจัยทางด้านสภาพภูมิศาสตร์ ที่อุดมสมบูรณ์ทั้งภูเขา ทะเล ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สร้างวัฒนธรรมความเชืื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในแต่ละช่วงเวลา กอร์ปกับปัจจัยด้านความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของคนหลากหลายเชื้อชาติ ที่เข้ามาอาศัยในแต่ละช่วงเวลาทําให้รูปลักษณ์ทางกายภาพของคนภาคใต้มีความหลากหลายยิ่งกว่าภาคอื่น ๆ ส่งผลต่อความเชื่อทัศนคติในการดํารงชีวิตของคนภาคใต้ โดยเฉพาะความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษ ดังจะเห็นได้จากขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการนับถือผีวิญญาณบรรพบุรุษหรือผีตายาย ตลอดถึงการการละเล่นพื้นเมืองหลาย ๆ ประเภทได้กลายเป็นข้อมูลทางคติชนของท้องถิ่น ที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนออกมา ทั้งนี้เพื่อให้สังคมอื่นได้เรียนรู้และเข้าใจอิทธิพลทางด้านสภาพภูมิศาสตร์ สังคม ประเพณี และวัฒนธรรม ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษสู่รุ่นลูกหลาน ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ภายในชุมชนเพราะการที่มนุษย์แต่ละเชื้อชาติ ศาสนา จะเข้าใจซึ่งกันและกันได้นั้นจะต้องเรียนรู้ศึกษาข้อมูลผ่านคติชน ประเพณีพิธีกรรมที่จะเป็นกุญแจนําไปสู่ความเข้าใจวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ การละเล่นพื้นเมืองแต่ละท้องถิ่นในภูมิภาคจะแตกต่างกันออกไป สำหรับทางภาคใต้สภาพภูมิศาสตร์ดินฟ้าอากาศ ร้อนจัด ฝนตกชุก ลมมรสุมแรง พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลที่ทำให้ชาวภาคใต้มีการละเล่นพื้นเมืองที่โดดเด่น โดยสื่อสารและส่งต่อความรู้สึกด้วยภาษาที่ขับร้องเป็นบทกลอน โดยเน้นที่ลํานําและจังหวะมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ไม่เน้นเครื่องดีดสีเหมือนภาคอื่น ๆ ลีลาการออกท่าร่ายรําก็มีจังหวะเฉียบขาด ฉับไว เช่น ท่ารําโนรา ซึ่งจะมีการยักย้ายท่ารํา การซัดมือซัดแขน ก้าวขา การเคลื่อนไหวลําตัวเหล่านี้ล้วนเป็นไปตามจังหวะทับและกลอง การละเล่นพื้นเมืองจึงมีความหมายกว้างลึกซึ้งมีทั้งการเล่น เพื่อผ่อนคลายอารมณ์ สนุกสนาน การเฉลิมฉลอง หรือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตลอดถึงการบวงสรวงผีสางเทวดา อย่างเช่นโต๊ะครึมหรือการละเล่นลิมนตร์ ซึ่งเป็นการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และบวงสรวงผีสางเทวดา ก็จัดอยู่ในประเภทการละเล่นพื้นเมือง ที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ที่ใช้วัฒนธรรมทางดนตรีเป็นรูปแบบเครื่องบรรเลงประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดํารงชีวิตของประชาชนที่มีความเชื่อว่าดนตรีเป็นสื่อในการติดต่อกับอํานาจเร้นลับได้ ดังนั้นจึงใช้ดนตรีบรรเลงประกอบพิธีกรรมคล้ายคลึงกับการแสดงโนราโรงครูที่มีการบรรเลงประกอบพิธีกรรมเพื่อเชิญครูตายายมาเข้าทรง หรือกาหลอที่มีการบรรเลงในงานศพเพื่อเป็นสื่อส่งวิญญาณของผู้ตายให้ไปสู่สวรรค์ ความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษเป็นสิ่งหนึ่งที่คนภาคใต้ให้ความสําคัญและได้รับการปลูกฝังแนวคิดนี้สืบทอดเรื่อยมา เช่น วัฒนธรรมการฝังศพไว้ในแหล่งที่อยู่อาศัยของคนก่อนประวัติศาสตร์หลายพันปี สะท้อนความรู้สึกผูกพันกับคนตายซึ่งเป็นบุคคลในครอบครัว และมีนัยไปสู่เรื่องผีบรรพบุรุษที่คอยให้ความปกป้องคุ้มครองซึ่งจะเห็นได้ว่าพิธีกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบันจํานวนมากล้วนมีความผูกพันกับผีบรรพบุรุษ เช่น พิธีสารทเดือนสิบ หรือการทําบุญครั้งใหญ่ให้แก่ผีหรือวิญญาณบรรพบุรุษที่เป็นเปรตตามความเชื่อที่สืบต่อกันมา พิธีกรรมโต๊ะครึมหรือการละเล่นลิมนตก็เป็นอีกพิธีกรรมหนึ่งที่คนภาคใต้ตอนล่าง จัดขึ้นเพื่อเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษหรือที่เรียกว่าผีตายาย ซึ่งคนภาคใต้ส่วนใหญ่เชื่อในเรื่องการปกป้องคุ้มครองโดยบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว ที่ยังคงดูแลรักษาและปกป้องลูกหลานของตน นอกจากความเชื่อในเรื่องผีหรือวิญญาณบรรพบุรุษ แล้วยังพบว่าความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ ในเรื่องเวทมนต์คาถา การถือเคล็ดต่าง ๆ รวมถึงการทรงเจ้าเข้าผีก็มีความสัมพันธ์กัน วัฒนธรรมของคนภาคใต้มีความเชื่อความเคารพต่อบรรพบุรุษอย่างเหนียวแน่น ซึ่งเห็นได้จากพิธีกรรมต่าง ๆ มักมีความเกี่ยวข้องกับระบบเครือญาติด้วย การรวมกลุ่มกันของญาติพี่น้องสายตระกูลเดียวกัน สภาพภูมิประเทศที่มีความสมบูรณ์ อันเป็นปัจจัยแสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่มีความเชื่อพื้นถิ่น จึงได้คิดค้นหรือสร้างวัฒนธรรมที่เกี่ยวโยงกับธรรมชาติ รวมทั้งสภาพภูมิประเทศที่เหมาะแก่การติดต่อกับบ้านเมืองอื่น ๆ ทําให้มีการรวมตัวกันของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ หลากหลายศาสนาความเชื่อและหลากหลายทางชาติพันธุ์ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดสงขลาที่ถือเป็นภาคใต้ตอนล่างของไทยที่อยู่ทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก มีประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของผู้คนมายาวนาน มีการผสมผสานทางวัฒนธรรมเกิดวัฒนธรรมประเพณีที่สะท้อนถึงความเชื่อที่สั่งสมเป็นภูมิปัญญา ซึ่งแสดงให้เห็นโลกทัศน์ของคนภาคใต้ ปรากฏวิธีคิดและรูปแบบพฤติกรรมที่ยึดถือปฏิบัติสืบมาของผู้คน และได้สรรสร้างประเพณีพิธีกรรมที่เสริมสร้างความเชื่อ ความเคารพต่อบรรพบุรุษในสายตระกูลนั้น ๆ อย่างน่าสนใจ 
                ซึ่งถือเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่ลูกหลานคนไทยถิ่นใต้ให้ความเคารพ เพราะทุกขั้นตอนของการประกอบพิธีกรรมนั้นจะมีการแบ่งพื้นที่ความศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะผู้เกี่ยวข้องเท่านั้นถึงจะเข้าร่วมพิธีได้ ตลอดถึงมีกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่่างยาวนาน โต๊ะครึมหรือการละเล่นลิมนตร์ เป็นการละเล่นหรือประเพณีท้องถิ่นที่เกี่ยวพันกับความเชื่อ ในสิ่งที่มีเชื่อในสิ่งที่เป็นเชื่อในการกระทําและการแก้เหตุให้คลายหรือหมดสิ้นไปเป็น โต๊ะครึมหรือการละเล่นลิมนตร์จะมีบทไหว้ภูมิคืที่มีเนื้อหากล่าวอ้างถึงถึงพระคุณและการขอพลีสถานที่จากพระแม่ธรณีเพื่อใช้ปลูกโรงทำพิธีกรรม อีกทั้งเนื้อหายังกล่าวอ้างถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระภูมิ เทวดาอารักษ์ ผีรุกขเทวดาในสถานที่ต่าง ๆ ที่เคารพนับถือ เหมือนอย่างที่ อภิญญา เฟื่องฟูสกุล, ๒๕๔๑ กล่าวว่า... ในพิธีกรรมลิมนต์นี้มีเครื่องบูชาต่าง ๆ ที่จะต้องผ่านกระบวนการเสก ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ใช่ญาติพี่น้องไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวในโรงพิธีที่ถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เครื่องมือต่าง ๆ ภายในโรงพิธีถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์และจัดวางในตําแหน่งตามความเชื่อที่สืบทอดมา รวมถึงนางทรงที่จะต้องผ่านพิธีกรรมลิมนต์หรือโต๊ะครึมเพื่อเปลี่ยนสถานภาพให้ลูกหลานได้เข้ามากราบไหว้บูชานําสิ่งของมาเซ่นไหว้ โต๊ะครึมหรือการละเล่นลิมนตร์ถือเป็นภูมิปัญญาหนึ่งที่ได้รับการสืบทอดความเชื่อและการปฏิบัติมายาวนาน นับเป็นพิธีกรรมพื้นบ้านที่จัดขึ้นเพื่อรักษาอาการป่วยไข้จากผีตายาย เพื่อใช้แก้บนและเพื่อทําพิธีเคารพผีตายายผู้ล่วงลับที่แสดงให้เห็นถึงหน้าที่ต่าง ๆ ที่ปรากฏในสังคม อันได้แก่ความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ สร้างขวัญกําลังใจให้แก่ลูกหลาน และทําให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มเครือญาติ เพราะการประกอบพิธีแต่ละครั้งจะต้องมีการช่วยเหลือกันของญาติพี่น้อง รวมถึงการเคารพต่อผู้อาวุโสหรือต่อบรรพบุรุษ นับเป็นการสั่งสอนและปลูกฝังความเชื่อนี้ได้อย่างแยบยล ส่งผลให้ง่ายต่อการควบคุมสร้างความสงบสุขให้แก่เครือญาติ นอกจากนี้ยังเป็นการใช้พิธีกรรมหรือความเชื่อความศักดิ์สิทธิ์ ที่ลูกหลานศรัทธามาเป็นส่วนช่วยให้โครงสร้างของชุมชนนั้น ๆ คงอยู่ต่อไป โดยผ่านการสั่งสอนในรูปแบบพิธีกรรม และเป็นการธํารงเอกลักษณ์ของวิถีชีวิตคนถิ่นใต้อีกประการหนึ่ง ซึ่งในพิธีกรรมการละเล่นลิมนต์ก็จะมีผู้ประกอบพิธีที่เรียกว่า “โต๊ะครึม” หรือ “นายมนต์” เป็นผู้นําในการประกอบพิธี โดยจะเป็นผู้ควบคุมดูแลขั้นตอนต่าง ๆ ในพิธี สามารถออกคําสั่งการจัดการในพิธีได้ ตลอดถึงเล่นดนตรีประกอบคําบูชาครูหมอตายาย โดยมีทับเป็นเครื่องดนตรีหลักสําคัญของการประกอบพิธีกรรม ทับที่ใช้จะมีจํานาน ๓-๕ ลูก การตีทับจะใช้ประกอบการทําพิธีของนายมนต์ ซึ่งจะพบว่าพิธีกรรมส่วนใหญ่ จะมีการนําดนตรีเข้ามาใช้เป็นเครื่องประกอบจังหวะในระหว่างการประกอบพิธีกรรม ดังนั้นวัตถุประสงค์ของพิธีกรรมการเล่นโต๊ะครึมหรือการละเล่นลิมนตร์แต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันไปบ้าง แต่หลักสําคัญเกิดมาจากพลังอํานาจของตายาย ผู้เป็นบรรพบุรุษที่ต้องการให้ลูกหลานได้สืบทอดเจตนารมณ์ทางวัฒนธรรม การเล่นโต๊ะครึมหรือการละเล่นลิมนตร์ ให้คงอยู่ต่อไป โดยทั่วไปการเล่นโต๊ะครึมหรือการละเล่นลิมนตร์มักจะกันเล่น ๓ วัน ๓ คืน โดยจะเข้าโรงในวันพุธและเลิกพิธีในวันศุกร์ แต่ ถ้าผู้ป่วยถูกผีตายายจํานวนมากมารุมกันทําโทษ (บางที่มีผีตายายมารุมให้โทษถึง ๑๕๐ คน) ก็จะต้องเล่นกันหลายวัน ผู้เล่นโต๊ะครึม มีประมาณ ๕-๗ คน ถ้าเป็น ๗ คน ถือว่าเล่นเต็มตามแบบฉบับดั้งเดิม ประกอบด้วยคนทรง ๑ คน พี่เลี้ยง ๑ คน และมีคนเล่นดนตรีอีก ๕ คน ดนตรีเป็นทับล้วน ๆ มีจํานวน ๓-๕ ลูก แต่ละใบจะมีเสียงที่ต่างกันไปตามขนาดแ และแต่ละลูกจะมีขนาดและชื่อต่างกัน (ทับทั้ง ๕ ลูกนี้เกิดจากพระอินทร์สั่งให้พระวิษณุกรรมชุบขึ้นจากลูกโพทอง ตามประวัติตำนานโต๊ะครึม ตามที่ปรากฎในบทขับร้องที่ได้จากบทชับของนายเลื่อน อินทมะโนบ้านคลองแห หมู่ที่ ๗ ตำบลคลองเห อำาเภอหาดใหญ่ จังหวัดลงขลา สรุปได้ว่าแต่ดึกดำบรรพ์โลกธาตุและธรรมชาติทั้งปวงเกิดจากการนำเอาอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของนางโภควัตดีมาชุบขึ้น เช่น เนื้อหนังของนางถูกชุบขึ้นเป็นแผ่นดิน ศรีษะของนางถูกทุบเป็นภูเขา ฟันถูกชุบเป็นแผ่นศิลา เส้นเอ็นถูกชุบเป็นภูเขา น้ำนมถูกซุบเป็นแม่โพสพ เลือดถูกชุบเป็นสำริด นาก ทองเหลืองเพื่อเป็นเครื่องเชี่ยนเครื่องขันสำหรับเมือง กะโหลกสมองถูกชุบเป็นจอกหมากชองพลู เป็นต้น ต่อแต่นั้นก็เกิดมีมนุษย์ วัว ควาย ฯลฯ มนุษย์บ้างก็ทำนาบ้างก็ทำไร่ ต่อมามีกษัตริย์เมืองปาลิไลยชื่อท้าววิไชยสามน มีซายาชื่อสีพิมล และมีอนุชาชื่อ ท้าวโกสีระวิชัย ท้าววิไชยสามนมีบุตร ๑ คน ชื่อสีทองเป็นนายควาญม้า ส่วนท้าวโกสีระวิชัยมีธิดา ๗ คน คนสุดท้องชื่อสีพุดทอง นางสีพุดทองนี้มีความเจ็บแค้นผู้ชายทั้งโลก จะไม่ยอมพูดจากับผู้ชายใดเลย เป็นเหตุให้ท้าวโกสีระวิชัย ทมนัสเป็นอย่างยิ่ง กล่าวถึงพระอิศวรนารายณ์เจ้า ขณะประทับนั่งกลึงแก้ว เศษแก้วกระเด็นเข้านัยน์ตา จึงบ่าวร้องให้หมู่ท้าวเทวา นำเอาเศษแก้วออกก็ไม่อาจทำได้พระอิศวรนารายณ์เจ้าจึงเอาพระหัตถ์เบื้องขวาลูบพระหัตถ์เบื้องข้ายหยิบเอาขี้ไคลขึ้นมาชุบเป็น "เทระเวดา" และพระอิศวรนารายณ์เจ้าตรัสถามว่าจะเอาเศษแก้วออกได้อย่างไร เทระเวดาให้ชุบพัดกระดาษมาพัดวีในที่สุดเศษแก้วก็หลุดออกได้ ต่อจากนั้นพระอิศวรนารายณ์เจ้าจึงชุบวิมานเป็นที่ประทับ วันหนึ่งตอนเที่ยงพระอิศวรนารายณ์เจ้าลงสระสรงในสระอโนตัส (สระอโนดาษ) สีขี้ไคลหลุดลงในน้ำกลายเป็นจระเข้ ตกเหนือแผ่นดินกลายเป็นตะกวด ตกเหนือปลายไม้เป็นต่อเป็นแตน แล้วเสด็จประทับเหนืออาสน์เป็นประมุขแก่ทวยเทพ บรรดาเทวดากราบทูลเรื่องนางสีพุดทองโกรธแค้นบุรุษเพศ พระอิศวรนารายณ์เจ้าจึงหยิบเอาเทระเวดามาผัดสีในฝ่ามือให้เล็กเท่าเมล็ดลูกปรือ แล้วใช้นิ้วดีดลงมาชมพูทวีปให้มาสิงอยู่ที่ตันไทร ที่นางสีพุดทองเคยเสด็จมาหยุดพักเป็นประจำ จนกระทั่งวันหนึ่งนางออกมาชมป่ามาพักใต้ร่มไทรนั้น เทวดาที่สิงอยู่ปลายไทรก็เข้าสิงสู่ในร่างนางทำให้คลุ้มคลั่งเป็นบ้าวิ่งเข้าป่า บรรดาพี่เลี้ยงตามหาจนพบแล้วนำกลับเข้าเมือง ท้าวโกสีระวีชัยให้ตามหมอไกรหมอคงมารักษา หามดหาหมอทั่วเมืองมาช่วยกันรักษาก็ยังไม่หายอาการกลับรุนแรงมากขึ้น กล่าวถึงหลวงสีทองนายควาญม้า ทั้ง ๆ ที่เป็นลูกท้าวพระยาแต่ไม่ปรารถนาจะมีบ่าวไพร่ติดตาม เที่ยวเร่ร่อนจูงม้าพิการไปทุกบ้านทุกเมืองจนมาถึงเมืองปาลิไลย ทราบข่าวว่านางสีพุดทองเป็นบ้า จึงเข้าไปขอหยุดพักที่ศาลาหน้าเมือง มีชาวบ้านรักใคร่สงสารจัดน้ำอาหารมาเลี้ยง เมื่อกินข้าวปลาอิ่มหน่ำแล้วก็ขับร้อง ร้องขับประวัติตัวเองแเละอื่น ๆ จนเสียงขับร้องได้ยินถึงหูนางสีพุดทอง นางชื่นชอบยินดีขับร้องล้อใต้ตอบกันไปมา พี่เลี้ยงจึงนำเรื่องไปกราบทูลท้าวโกสีระวิชัย ท้าวโกสีระวิชัยรับสั่งให้นำชายคนนั้นเข้าเฝ้าจึงทราบว่าที่แท้คือหลานนั่นเอง ทรงอนุญาตให้อยู่ในเมืองและให้รักษาพยาบาลนางสีพุดทอง นายสีทองจำต้องขันอาสาแต่ขอเวลา ๓ วัน แล้วลากลับเข้าป่าด้วยตนไม่มีความรู้อะไร จึงคิดไม่ตกในที่สุดก็อาราธนาให้ทวยเทพน้อยใหญ่มาช่วยเพื่อไม่ต้องถูกลงอาญา ร้อนถึงพระอินทร์สั่งให้ท้าววิษณุกรรมลงมาช่วยโดยนำเอาลูกโพทอง ๕  ลูกมาชุบเป็นทับ แล้วนำเอาใบโพทอง ๕ ใบมาชุบเป็นใบใบก เขียนชื่อทับทุกลูกผูกไว้ที่คอทับชื่อว่า นครผูก นครสวรรค์ น้ำตาตก นกเขาขัน และการ้องฆ้องชัย เมื่อหลวงสีทองตื่นขึ้นมาพบทับ และอ่านข้อความแล้วก็รีบนำทับนั้นผูกคอม้านำกลับเข้าเมืองปาลิไลยขอให้ท้าวโกสีระวิชัยปลูกโรงพิธีให้ยาว ๙ ห้อง เพื่อประกอบพิธีรักษาชับผีร้ายให้นางสีพุดทอง
) โดยคณะลิมนตร์แต่ละคณะจะประกอบด้วยสมาชิกประมาณ ๕-๗ คน ซึ่งจะทําหน้าที่ที่แตกต่างกัน คือทําหน้าที่คนทรงเจ้าหรือทรงผี  ๑ คน ทําหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลขณะที่มีการเข้าทรง ๑ คน  วิธีการรักษาต้องปลูกสร้างโรงเรือนพิธี ขึ้นมาสําหรับทําการบูชา บวงสรวงโดยเฉพาะ มีเครื่องเซ่นสังเวยทั้งอาหารคาวหวานพร้อมสรรพ มีเครื่องราดหรือค่าบูชาครู ดอกไม้ ธูปเทียน ผลไม้ กล้วย อ้อย หมาก พลู ฯลฯ ครบสมบูรณ์ ตามตําราแพทย์แผนไทยโบราณ โดยกระบวนพิธีกรรมจะเริ่มจากหัวหน้าวง คือนายมนตร์ที่ทับตัวแรกซึ่งเป็นทับตัวหลักขึ้นก่อน เพื่อทําหน้าที่ร้องเชิญวิญญาณตายายให้มาเข้าทรง และรับเครื่องบูชาเครื่องสังเวย (เครื่องราด) โดยการเชิญตายายมาทั้งหมด เรียงตามลําดับมาร่วมในพิธีซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ ๒ วัน จนกระทั่งวันที่สามจะเชิญตายายทั้งหมดมาอีกครั้ง เพื่อทําพิธีสรงน้ำรับเครื่องเซ่นไหว้ที่เจ้าภาพเตรียมไว้ที่ เรียกว่า “เครื่องสิบสอง ” ถือเป็นการชุมนุมตายายอีกครั้ง และดนตรีจะบรรเลงทําพิธีลาโรงเป็นอันเสร็จพิธี
                 ความหมายของโต๊ะครึมหรือลิมนตร์
            
ประทุม ชุ่มเพิ่งพันธุ์ (๒๕๔๘ : ๒๕๓) ได้ให้ความหมายของโต๊ะครึมหรือลิมนตร์ไว้ว่า โต๊ะครึมหรือลิมนตร์มีคําเรียกแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันออกไป บางท้องถิ่นเรียกว่าโต๊ะครึม นายมนตร์ โนราทับใหญ่ ส่วนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกว่า “ลิมนตร์” หรือ “นายลิมนตร์” เป็นพิธีกรรมการเล่นพื้นเมืองประเภทดนตรีหรือใช้การบรรเลงดนตรีเป็นหลัก แต่มีการผสมผสานการท่องบทสวดมนต์ การประพรมน้ำมนต์และอื่น ๆ ประกอบเพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้หาย หรืออาจจะเรียกว่าเป็นเครื่องดนตรีรักษาคนไข้เหมือนการแสดง “ตอรี” ของชาวไทยเชื้อสายมลายู ด้านภิญโญ จิตต์ธรรม และสุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ (๒๕๔๒ : ๒๘๒๘) กล่าวว่า… โต๊ะครึม นายมนตร์ และลิมนตร์ เป็นการแสดงบูชาครูหมอตายายเพื่อให้เข้าทรงเมื่อมีคนเจ็บไข้ได้ป่วย และเชื่อว่าการป่วยนั้นเกิดจากตายายที่ล่วงลับไปแล้วมาทําโทษหรือตายายของโต๊ะครึมเองที่เรียกว่า “ตายาย ผีเรียก” มาให้โทษเชื่อกันว่าผู้ที่ถูกโทษดังกล่าวจะเกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง เน่าเปื่อยหรืออาจเป็นบ้า ถ้านําไปรักษาที่โรงพยาบาลอาการจะทรุดหนักยิ่งขึ้นและรักษาไม่หายจะหายได้ก็ต่อเมื่อรับโต๊ะครีมมาแสดงเท่านั้น ลิมนตร์หรือโต๊ะครึมเป็นพิธีกรรมการเล่นท้องถิ่นที่มีความคล้ายคลึงกับการเล่นโนราโรงครู มีการละเล่นอยู่ทั่วไปแถบลุ่มน้ำตาปี ลุ่มทะเลสาบสงขลา ลุ่มน้ำตานีและชุมชนชาวพุทธที่อาศัยอยู่ในเขตแดนประเทศมาเลเซีย เป็นวัฒนธรรมการถ่ายทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษจึงมีการสืบทอดต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน โดยจุดกําเนิดพิธีกรรมการเล่นลิมนตร์จะมีเหตุและผลมาจากตํานานประเภทเรื่องเล่าสืบทอดต่อ ๆ กันมา ธนายุทธ มณีช่วง (๒๕๓๗ : ๔๒) กล่าวว่าประวัติศาสตร์การเล่นลิมนตร์ ไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่าการเล่นชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่นอน คณะลิมนตร์ส่วนใหญ่เป็นเพียงผู้รับช่วงของการเล่นจากบรรพบุรุษของตนเอง  โต๊ะครึมมีการเล่นกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดสงขลา ซึ่งมีชื่อเรียกต่างกันไปบ้างตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ในเขตอําเภอหาดใหญ่ ตําบลคูเต่า ตําบลคลองแห ตําบลน้ำน้อย และเขตตําบลบางกล่ำบางส่วนจะเรียกว่า “ตายายนายมนตร์ " ในเขตอําเภอหาดใหญ่ ตําบลควนลัง อําเภอคลองหอยโข่ง อําเภอจะนะ และบางพื้นที่ของอําเภอนาทวีจะเรียกว่า “ลิมนตร์” ส่วนในเขตอําเภอสิงหนคร อําเภอสทิงพระ อําเภอควนเนียง อําเภอรัตภูมิ เรียกว่า “นายมนตร์” หรือ “โต๊ะครึม”
           แม้ว่าประวัติความเป็นมาของการเล่นโต๊ะครึมหรือลิมนตร์ ยังสรุปแน่นอนชัดเจนไม่ได้ว่าจุดกําเนิดเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด แต่มีตํานานบอกเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับสาเหตุกําเนิดการเล่นโต๊ะครึมหรือลิมนตร์ ซึ่งเป็นตํานานการเล่าสืบทอดจากชนรุ่นหนึ่งสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง ทําให้เกิดเป็นประวัติความเป็นมาของการศิลปะการละเล่นลิมนตร์ ซึ่งมีหลายกระแสด้วยกันตามแต่ละท้องถิ่น ดังนี้

๑. สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และภิญโญ จิตต์ธรรม (๒๕๒๙ : ๑๓๗๑-๑๓๗๘) ได้กล่าวถึงความเป็นมาของโต๊ะครึมซึ่งมาจากวรรณกรรมโต๊ะครึม ของคณะนายเลื่อน อินทมโน ซึ่งเป็นบิดาของคณะนายสี อินทมโน ไว้ใน สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ความว่า…. ดึกดําบรรพ์โลกธาตุและธรรมชาติทั้งปวงเกิดจากการนําเอาอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของนางโภควัตดีมาชุบขึ้น เช่น เนื้อหนังของนางถูกชุบขึ้นเป็นแผ่นดิน ศีรษะของนางถูกชุบเป็นภูเขา ฟันของนางชุบเป็นแผ่นศิลา เส้นเอ็นชุบในเถาวัลย์ น้ำมนต์ของนางถูกชุบเป็นแม่โพสพ เลือดของนางถูกชุบเป็นสําริด นาก ทองเหลือง เพื่อเป็นเครื่องเชี่ยน เครื่องขัน สําหรับเมืองกะโหลก สมองถูกชุบ เป็นจอกหมากจอกพลู เป็นต้น ต่อแต่นั้นก็เกิดมีมนุษย์ วัว ควาย ฯลฯ มนุษย์บางกลุ่มทําไร่ บางกลุ่ม ทํานา ฯลฯ ต่อมากษัตริย์เมืองปาลิไลย ชื่ อท้าววิไชยสามน มีบุตร ๑ คน ชื่อสีทอง เป็นนายควาญม้า ส่วนท้าวโกสีระวิชัยมีธิดา ๗ คน คนสุดท้องชื่อสีพุดทอง ซึ่งมีความเจ็บแค้นผู้ชายทั้งโลก ไม่ยอมพูดจากับชายใดเลย เป็นเหตุให้ท้าวโกสีระวิชัยโทมนัสเป็นอย่างยิ่ง กล่าวถึงพระอิศวรนารายณ์เจ้า ขณะประทับนั่งกลึงแก้วอยู่ เศษแก้วได้กระเด็นเข้านัยน์ตา จึงปาวร้องให้หมู่ท้าวเทวานําเอาเศษแก้วออกก็ไม่อาจทําได้ พระอิศวรนารายณ์เจ้าจึงเอาพระหัตถ์เบื้องขวาลูบพระหัตถ์เบื้องซ้าย หยิบเอาขี้ไคลขึ้นมาชุบเป็น “เทระเวดา” แล้วพระอิศวรนารายณ์เจ้า ตรัสถามว่าจะเอาเศษแก้วออกได้อย่างไร เทระเวดาให้ชุบพัดกระดาษมาพัดวี ในที่สุดเศษแก้วก็หลุดออกได้ ต่อจากนั้นพระอิศวรนารายณ์เจ้าจึงชุบวิมานมาเป็นที่ประทับ วันหนึ่งตอนเที่ยงพระอิศวรนารายณ์เจ้าลงสระสรงในพระอนตัส (สระอโนดาต) สีขี้ไคลหลุดลงน้ำกลายเป็นจระเข้ ตกเหนือแผ่นดินกลายเป็นตะกวด ตกเหนือปลายไม้กลายเป็นต่อเป็น แตน แล้วเสด็จประทับเหนืออาสน์เป็นประมุขแก่ทวยเทพ บรรดาเทวดากราบทูลเรื่องนางสีพุดทองโกรธแค้นบุรุษเพศ พระอิศวรนารายณ์เจ้าจึงหยิบเอาเทระเวดา มาผัดสีในฝ่ามือให้เล็กเท่าเมล็ดลูกปรือ แล้วใช้นิ้วดีดลงมาชมพูทวีปให้มาสิงอยู่ที่ต้นไทรที่นางสีพุดทองเคยเสด็จมาหยุดพักเป็นประจํา จนกระทั่งวันหนึ่งนางออกชมป่ามาพักใต้ร่มไทรนั้น เทวดาที่สิงอยู่ปลายไทรก็เข้าสิงสู่ในร่างนางให้คลุ้มคลั่งเป็นบ้าวิ่งเข้าป่า บรรดาพี่เลี้ยงตามมาจนพบแล้วนํากลับเข้าเมือง ท้าวโกสีระวิชัย ให้ตามหมอไกรหมอคงมารักษา และหาหมอทั่วเมืองมาช่วยกันรักษาก็ยังไม่หาย อาการกลับรุนแรงยิ่งขึ้น กล่าวถึงหลวงสีทองนายควาญม้า ทั้ง ๆ ที่เป็นลูกท้าวพระยา แต่ไม่ปรารถนาจะมีบ่าวไพร่ติดตาม เที่ยวเร่ร่อนจูงม้าพิการไปทุกบ้านทุกเมือง จนมาถึงเมืองปาลิไลย ทราบข่าวว่านางสีพุดทองเป็นบ้าจึงเข้าไปขอหยุดพักที่ศาลาหน้าเมือง มีชาวบ้านรักใคร่สงสารจัดนําอาหารมาเลี้ยง เมื่อกินข้าวปลาอิ่มหนําแล้วก็ขับร้องบทกลอน ประวัติของตัวเองและอื่น ๆ จนเสียงขับร้องได้ยินถึงหูของนางสีพุตทอง นางชื่นชอบยินดี ขับร้องล้อโต้ตอบกันไปมา พี่เลี้ยงจึงนําเรื่องไปกราบทูลท้าวโกสีระวิชัย ท้าวโกสีระวิชัยรับสั่งให้นําชายคนนั้นเข้าเฝ้า จึงทราบว่าที่แท้คือหลานของตนนั้นเอง จึงทรงอนุญาตให้อยู่ในเมืองและให้รักษาพยาบาลนางสีพูดทอง นายสีทองจําเป็นต้องขันอาสาการรักษา แต่ขอเวลา ๒ วันแล้วลากลับเข้าป่า ไป ด้วยตนเองไม่มีความรู้อะไรที่จะรักษา จึงคิดไม่ตกในที่สุดก็อาราธนาให้ทวยเทพน้อยใหญ่มาช่วยเหลือเพื่อไม่ต้องถูกลงอาญา ร้อนถึงพระอินทร์สั่งให้ ท้าววิษณุกรรมลงมาช่วยโดยนําเอาลูกโพทอง ๕ ลูกมาชุบเป็นทับ แล้วนําเอาใบโพทอง ๕ ใบมาชุบเป็นใยโบก เขียนชื่อทับทุกลูกผูกไว้ที่คอทับชื่อว่านครผูก นครสวรรค์ น้ำตาตก นกเขาขัน และการ้องฆ้องชัย เมื่อหลวงสีทองตื่นขึ้นมาพบทับและอ่านข้อความแล้ว ก็รีบนําทับนั้นผูกคอม้านํากลับเข้าเมืองปาลิไลย ขอให้ท้าวโกสีระวิชัยปลูกโรงพิธีให้ยาว ๙ ห้อง เพื่อประกอบพิธีรักษาขับไล่ผีร้ายให้นางสึพูดทอง จึงมีการจัดเครื่องโต๊ะครึมและโรงโต๊ะครึมขึ้นมา ...
๒. ตํานานการแสดงลิมนตร์ แต่ละท้องถิ่นมีเอกลักษณ์แตกต่างกัน แต่อยู่บน พื้นฐานตํานานเดียวกัน จากคําบอกเล่าของเฉลิม แก้วพิมพ์ (ศิลปินโนรา ลิมนตร์และหนังตะลุง) ได้พูดถึงตํานานที่กล่าวขานเกี่ยวกับการแสดงลิมนตร์ในจังหวัดปัตตานี้ว่า…สมัยอดีตกาลมีเมืองปาลิไลย ผู้ปกครองเมืองชื่อท้าววิไชยสามน มีชายาชื่อสีพิมล และมีอนุชาชื่อท้าวโกสีระวิชัย ท้าววิไชยสามนมีบุตร ๑ คน ชื่อตาหลวงสีทอง ชอบการควบม้าเป็นชีวิตจิตใจ ส่วนท้าวโกสีระวิชัยมีธิดา ๗ คน คนสุดท้องชื่อสีพุดทอง ตั้งแต่เกิดมาจนเป็นสาวแรกรุ่น นาง สีพูดทองดูเหมือนกับเป็นคนไม่ปกติคล้ายคนบ้าไม่ชอบพูดกับใคร ช่วงเวลานั้น ตาหลวงสีทองแม้ว่าจะเป็นลูกท้าวพระโกสีระวิชัย แต่ชอบขี่ม้าเป็นชีวิตจิตใจ ได้นํามาพิการขาตัวหนึ่งเที่ยวไปบ้านเมืองอื่น ๆ โดยไม่ให้บ่าวไพร่ติดตาม เที่ยวเร่ร่อนไปถึงเมืองปาลิไลย ทราบข่าวว่านางสีพุดทองเป็นบ้า จึงเข้าไปขอหยุดพักที่ศาลาหน้าเมือง มีชาวบ้านรู้กใคร่ สงสาร จึงได้จัดนําอาหารมาเลี้ยง เมื่อกินข้าวปลาอิ่มหนําแล้วก็ขับร้องประวัติตัวเองและอื่น ๆ จนเสียงขับร้องได้ยินถึงหูของนางสีพุดทอง นางชื่อชอบในเสียงขับร้อง แสดงอาการหัวเราะ ชอบใจ พี่เลี้ยงจึงได้นําเรื่องนี้ไปกราบทูลท้าวโกสีระวิชัย ท้าวโกสีระวิชัยจึงรับสั่งให้นําชายที่ขับร้องเพลงมาเข้าเฝ้า จึงทราบความจริงว่าแท้จริงคือหลานนั้นเอง ทรงอนุญาตให้อยู่ในเมืองและให้ทําการรักษาพยาบาลนางสีพุดทอง ตาหลวงสีทองจําต้องขันอาสาแต่ขอเวลา ๓ วัน แล้วลากลับเข้าป่าไป  ด้วยเพราะตนไม่มีความรู้อะไรจะรักษานางสีพุดทองได้ แต่ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา จนในที่สุดก็อาราธนาให้ทวยเทพน้อยใหญ่ให้ช่วยเหลือเพื่อไม่ต้องถูกลงอาญา ตาหลวงสีทอง อาราธนาทวยเทพน้อยใหญ่แล้วด้วยความกลุ้มใจ ครุ่นคิดถึงวิธีการรักษานางสีพูดทองอยู่ตลอดเวลา บวกกับความเมื่อยล้าในการเดินทางได้มาหยุดนั่งพักที่ใต้โคนต้นโพธิ์ แล้วเพลอหลับไป พระอินทร์ได้มาเข้าฝันและสอนวิธีการเล่นลิมนตร์ ตั้งแต่ปลูกสร้างโรงลิมนตร์ การแสดงตามพิธีกรรมไปจนจบ เพื่อจะได้นําความผันไปรักษานางสีพุดทอง ต่อจากนั้นพระอินทร์ได้ชุบ (เศก) ลูกโพธิ์ทองมา ๕ ลูก มาชุบเป็นทับ แล้วนําใบโพธิ์ทอง ๕ ใบมาชุบเป็นใบโบก เขียนชื่อทับทุกลูกผูกไว้ที่คอทับ แต่ละลูกนั้นพระอินทร์ได้ตั้งชื่อไปตามลําดับ
- ลูกที่หนึ่ง ชื่อว่านครผูก
- ลูกที่สอง ชื่อว่านครสวรรค์
- ลูกที่สาม ชื่อว่าน้ำตาตก
- ลูกที่สี่ ชื่อว่านกเขาขัน
- ลูกที่ห้า ชื่อว่าการ้องฆ้องชัย
มื่อตาหลวงสีทองตื่นขึ้นมาพบทับทั้ง ๕ ลูกก็ตั้งอยู่ข้างตน และอ่านข้อความแล้วก็รีบนําทับนั้นผูกคอม้านํากลับเข้าเมืองปาลิไลย ขอให้ท้าวโกสีระวิชัยปลูกโรงพิธีให้ยาว ๙ ห้อง เพื่อประกอบพิธีรักษานางสีพุดทอง   

            สรุปได้ว่าประวัติการแสดงโต๊ะครึมหรือลิมนตร์นั้นเกิดขึ้นมาจากสาเหตุเมืองสองเมือง ซึ่งมีฐานะเป็นพี่น้องร่วมสายเลือด แต่ได้พลัดจากกันด้วยการไปครองเมือง ยังเขตแดนอื่น ญาติผู้พี่ปกครองอีกเมือง หนึ่งญาติผู้น้องปกครองอีกเมืองหนึ่ง ต่างคนก็มีลูกหลานสืบทอด แต่ลูกหลานเหล่านี้ไม่ได้ไปมาหาสู่หรือรู้จักกันอย่างเช่นบรรพบุรุษ จึงเป็นเหตุผลอย่างหนึ่ง ที่ตายายทั้ง ๒ ฝ่ายต้องการให้ลูกหลานได้ไปมาหาสู่ สมัครสมาน สามัคคี การนับถือเครือญาติแบบ “ตายายเดียวกัน ” จึงได้ลงโทษลูกหลานเกิดอาการเจ็บป่วย เพื่อต้องการให้ญาติอีกฝ่ายได้ไปช่วยเพื่อจะได้รู้จักกันอย่างเดิม ซึ่งความเชื่อในเรื่องนี้มีความหมายต่อลูกหลานคนรุ่นหลังที่ได้จัดพิธีบวงสรวง สังเวยเซ่นไหว้ตายายหรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มีผลต่อจิตใจของผู้ที่มีความเคารพนับถือต่อบรรพบุรุษของตน ในการบนบานให้ตนรอดพ้นต่อความเจ็บป่วยรวมถึงเคราะห์ภัยต่าง ๆ  
                วัตถุประสงค์การเล่นโต๊ะครึมหรือลิมนตร์
                
ธนายุทธ มณีช่วง (๒๕๓๗ : ๔๖) ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การเล่นโต๊ะครึมหรือลิมนตร์ไว้ ๓ ประการ ประกอบด้วย

 ๑. การเล่นเพื่อใช้ในการรักษาความเจ็บไข้ของผู้ป่วยที่เชื่อว่าถูกผีตายายให้โทษ
๒ การเล่นเพื่อใช้ในการแก้บน
๓. การเล่นในโอกาสประจําปีของผู้รับเพื่อต้องการที่จะให้ลูกหลานของผีตายายได้พบปะกันและถามทุกข์สุขของผีตายายซึ่งจะคล้ายคลึงกับการละเล่นโนราโรงครู

           การเล่นโต๊ะครึมหรือลิมนตร์ มีส่วนคล้ายคลึงกับการเล่นโนราโรงครู ซึ่งเป็นพิธีกรรมการเข้าทรงเพื่อบูชาตายาย เมื่อมีคนเจ็บไข้ได้ป่วยเรื้อรังเน่าเปื่อยหรือเสียสติในชุมชน ชาวบ้านเชื่อว่าการป่วยนั้นเกิดจากตายายที่ล่วงลับไปแล้วมาทําโทษ หรือตายายของโต๊ะครึมหรือลิมนตร์เองที่เรียกว่า “ตายายผีเรียก” เกิดความไม่พอใจลูกหลานที่ได้กระทําสิ่งผิดขนบธรรมเนียมประเพณี ห รือสมาชิกในครอบครัวผู้เจ็บป่วย มีตายายโต๊ะครึมหรือลิมนตร์ แต่ลูกหลานไม่ได้สืบทอดในการรับโต๊ะครึมหรือลิมนตร์มาเล่นตามปกติ โต๊ะครึมหรือลิมนตร์จะไม่เล่นในโอกาสอื่น นอกจากการเล่นเพื่อบูชาแก้บนและเซ่นไหว้บรรพบุรุษ โต๊ะครึมหรือลิมนตร์มีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ พิธีกรรมโต๊ะครึมหรือลิมนตร์นิยมจัดขึ้นทั้งตามความเชื่อของชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ขณะเดียวกันชื่อเรียกของพิธีกรรมจึงมีความแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น โต๊ะครีม นายมนต์ หรือลิมนต์ โดยภาพรวมพิธีกรรมนี้เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในภาคใต้ เกี่ยวข้องกับการเคารพนับถือผีบรรพบุรุษ เป็นการละเล่นบูชาครูหมอตายาย เพื่อให้เข้าทรงเมื่อมีคนเจ็บไข้ได้ป่วย และเชื่อว่าการป่วยนั้นเกิดจาก ตายายที่ล่วงลับไปแล้วมาทําโทษหรือตายายของโต๊ะครึมเองที่เรียกว่า “ตายายผีเรียก” มาให้โทษ เชื่อกันว่าผู้ที่ถูกโทษดังกล่าวจะเกิดอาการเจ็บไข้เรื้อรัง เน่าเปื่อย หรืออาจเป็นบ้า ถ้านําไปรักษาที่โรงพยาบาลอาการจะทรุดหนักยิ่งขึ้นและ รักษาไม่หายจะหายได้ก็ต่อเมื่อรับโต๊ะครึมมาเล่นเท่านั้น ตามปกติโต๊ะครีมจะไม่เล่นในโอกาสอื่น นอกจากเพื่อขับไล่ผีให้ผู้ป่วย เพราะสาเหตุถูกผีตายายดังกล่าวแล้วโดยทั่วไป โต๊ะครีมมักจะเล่น ๓ วัน ๓ คืน โดยจะเข้าโรงในวันพุธและเลิกพิธีในวันศุกร์ แต่ถ้าผู้ป่วยถูกผีตายายจํานวนมากมารุม กันทําโทษ (บางที่มีผีตายายมารุมให้โทษถึง ๑๕๐ คน) ก็จะต้องเล่นกันหลายวัน แต่นิยมเลิกเล่นพิธีเฉพาะวัน พฤหัสบดี ศุกร์ หรือเสาร์เท่านั้น 
         โต๊ะครึมหรือลิมนตร์เกิดจากความเชื่อในอํานาจของเทพเจ้าและสิ่งเร้นลับว่าสามารถที่จะช่วยรักษาความเจ็บป่วยได้ จึงเล่าขานเป็นตํานานว่าเทพเจ้าประทานทับ และบทร้องเพื่อใช้เล่นโต๊ะครึม เล่นเพื่อรักษาความเจ็บไข้อันเนื่องมาจากความเชื่อว่า ผีตายาย โต๊ะครีมให้โทษ เล่นเพื่อแก้บน และเพื่อบวงสรวงครู โต๊ะครึมมีองค์ประกอบเกี่ยวกับ คณะผู้เล่น การแต่งกาย สถานที่ โอกาสที่เล่น ดนตรีที่ใช้ประกอบ อุปกร ณ์เครื่องใช้ การรับขันหมากและวิธี เล่นที่มีลักษณะเฉพาะ พิธีกรรมจัด 4 วัน แต่ละวันมีธรรมเนียมเฉพาะคือ วันแรก ทําพิธีกราบครู เบิกโรง ไหว้ภูมิสถาน เจ้าที่ เชิญครู ตั้งมัด (กล่าวถึงการปลูกโรง) เชิญผีตายายมาเข้าทรง วันที่สอง เชิญผีตายายเข้าทรงเพียงอย่างเดียว วันที่ สาม เชิญผีตายายที่ตกค้างมาเข้าทรง เสกน้ํามนตร์สําหรับ อาบให้ร่างทรง วันที่สี่ เชิญผีตายายเข้าทรงรวมในคนทรงคนเดียวกัน อาบน้ําให้ร่างทรง สะเดาะ เคราะห์ เซ่นสังเวยผีตายาย ส่งผีตายายและครูหมอโต๊ะครีม วรรณกรรมที่ใช้ประกอบในการเล่น ประกอบด้วย บทไหว้ครู บทตั้งมัด (กล่าวถึงการปลูกโรง) บทประวัติความเป็นมา บทเชิญผีตายาย บทตั้งน้ํามนตร์ (ทําน้ํามนตร์) บทเบ็ดเตล็ดสําหรับคนทรงเล่นสนุกๆ บทตีไม้ยัง (สะเดาะเคราะห์) บทส่งผีตายายและครูหมอโต๊ะครึม ส่วนความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการเล่นเป็นความเชื่อเกี่ยวกับภูตผี สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระภูมิ เจ้าที่ เวทมนตร์คาถา เครื่องรางของขลัง การถือเคล็ด ลักษณะบุคคล ทิศทาง องค์ประกอบต่าง ๆ และขั้นตอนในการเล่นที่มีความเชื่อในอํานาจเร้นลับทั้งสิ้น ได้แก่ ความเชื่อ เกี่ยวกับเครื่องดนตรีและการประโคม บทขับร้อง การปลูกโรงพิธี การรักษาอาการป่วยไข้
       
    การเข้าทรงของตายายโต๊ะครึมหรือลิมนตร์
      สภาวะการเข้าทรงการขับร้องบทกลอนและการบรรเลงเพลงทับ เชื้อเชิญตายายมาประทับทรง ตามชื่อตายายประจําร่างทรงแต่ละคน ลักษณะอาการทางสภาวะร่างกาย ช่วงแรก ๆ จะเริ่มตัวสั่น มือทั้งสองที่จับพออยู่สั้นแรงขึ้นพร้อมยกมือ ที่มีอาการสั่นอยู่ขึ้นมาเหนือศีรษะ และพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือบาง ขั้นตอนให้ร่างทรงแสดงท่าทางตามการขับร้องบทกลอน เช่น ให้ร่างทรงจับพัดมือเดียว เพื่อสะดวกในการแกว่งพัดไปมาอย่างสวยงาม และช่วงแรกที่ตายายมาประทับทรงนั้น ร่างทรงจะนั่งหลับตาตลอดเวลาและทรงตัวไม่ค่อยได้ ร่างกายจะเอนไปมาพี่เลี้ยงต้องคอยจับประคองไว้  อาการช่วงแรก ๆ มีลักษณะตามสภาวะของตายายที่ลงมาประทับทรง เพราะอาการที่เกิดขึ้นจะ เปลี่ยนแปลงลักษณะนิสัย ท่าทาง ตลอดจนกระทั่งใบหน้าคล้ายกับคนครึ่งหลับครึ่งตื่น อาการสลืม ลืออยู่ตลอดเวลา ตายายแสดงอาการท่าทางไปตามเนื้อหาการขับร้องบทกลอน โดยอาการเหล่านี้ได้แสดงบทบาทของตายายด้วยลักษณะ ๓ อย่างด้วยกัน คือ

- สภาวะการเข้าทรง คืออาการสั่นเป็นการบ่งบอกให้ทุกคนได้รู้ว่า ตายายได้ลงมาประทับร่างทรงแล้ว
- การร่อนพัด (รําพัด) คือลักษณะการร่ายรําอันเป็นเอกลักษณ์การเล่นโต๊ะครึมหรือลิมนตร์
- การสั่นศีรษะไปมา คือการทดสอบสภาวะว่าผู้ลงมาเข้าทรงเป็นตายายจริงไม่ใช่วิญญาณเร่ร่อน

            สภาวะอาการเข้าทรงดําเนินไปตามจังหวะการบรรเลงเครื่องดนตรี และบทกลอนที่ขับออกไป ร่างทรงจะนั่งโค้งตัวลงแล้วมีการสั่นศีรษะ จากซ้าย-ขวาอย่างแรง ๆ ด้วยบทกลอนและจังหวะการบรรเลงดนตรีด้วยทํานองที่เร้าใจ ทั้งทรงใหม่และทรงเก่าทุกคน ต้องแสดงการสั่นศีรษะไปมา เพื่อเป็นบททดสอบว่าตายายได้ลงมาประทับทรงจริง ไม่ใช่การแสแสร้งแกล้งทํา หรือมีวิญญาณเร่ร่อนอื่นแอบเข้ามาเข้าสิงสู่ เพราะการสั่นศีรษะไปมาจากซ้าย-ขวา และจากขวาไปซ้ายครั้งละหลาย ๆ รอบนั้น ถ้าไม่ใช่วิญญาณตายายจริง ๆ จะทําให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ มึนและเป็นลม บางครั้งน้ำมูกออกมาเป็นสีเหลือง สีเขียว เพราะไม่สามารถทนกับอาการที่ต้องส่ายหัวไปมาอย่างแรง ๆ หลายรอบได้ ถ้าเป็นวิญญาณตายายลิมนตร์ อาการแบบนี้จะไม่เกิดขึ้น แม้ว่าจะส่ายหัวนานเท่าไหร่ก็ตาม เมื่อการขับบทกลอนและจังหวะการบรรเลงดนตรีเริ่มเบาลงและหยุคพร้อมกับการแสดงท่าทางของร่างทรง

 


การเข้าทรง

            สำหรับแสงสว่างจากเทียนไขเปรียบเหมือนแสงสว่างให้ตายาย มองเห็นเส้นทางและเรื่องราวต่าง ๆ ได้ และร่างทรงทุกคนจะต้องรมควัน ทั้งก่อนพิธีกรรมและหลังเสร็จสิ้นพิธีกรรม การเชื้อเชิญตายายลิมนตร์ต้องใช้มือทั้งสองข้างรมควันจากเทียนไขแล้ว แล้วนำมาลูบไล้บริเวณหน้าผาก ใบหน้าและตามร่างกาย ควันจากเทียบไขเปรียบเหมือนกับน้ำที่ชโลมความชุ่มชื่นและเป็นวิธีการรักษาพิธีกรรมแบบธรรมชาติบําบัด ส่วนบททดสอบสภาวะการเข้าทรงว่า ผู้ที่ลงมาประทับทรงนั้นเป็นตายายลิมนต์จริงหรือไม่ อีกครั้งหนึ่งอย่าง คือการอมหรือดับแสงสว่างจากเทียนไขในปาก ร่างทรงทุกคนต้องทําเพื่อทคลองสภาวะตัวตนของตายาย ถ้าบังเอิญมีวิญญาณเร่ร่อนหรือสิ่งแอบแฝงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่วิญญาณของตายายเข้ามาจะได้ออกไปร่างทรง การอมหรือดับแสงสว่างจะใช้เทียนไข ๑ เล่ม ๒ เล่ม ๓ เล่ม หรือมากกว่านั้นตามต้องการของตายายที่ประทับอยู่ในร่างทรง ขณะร่างทรงอมแสงสว่างจากเทียนไขเข้าไปในปาก ถ้าวิญญาณเร่รอนหรือสิ่งแอบแฝงอื่นที่ไม่ใช่ตายาย จะอดทคสภาวะความร้อนจากแสง ไฟเทียนไขไม่ได้ จะได้แสดงสภาวะตัวตนที่แท้จริงออกมา หรือถ้าร่างทรงแสแสร้งแกล้งทําให้เกิดสภาวะการเข้าทรง การอมแสงไฟจากเทียนไขจะทําให้อวัยวะภายในปากร้อนรนไหม้และแสบร้อน การทดสอบสภาวะตัวตนแท้จริงของตายายนั้น ร่างทรงต้องอมแสงไฟจากเทียนไขถึง ๓ ครั้ง ถ้าไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นแสดงว่าผู้ที่ลงมาประทับทรงนั้นเป็นตายายลืมนตร์ประจําตระกูล การเชื้อเชิญตายายจะเสร็จสิ้นในแต่ละครั้งนั้น ร่างทรงจะนั่งจับพัดขึ้นเหนือศีรษะแล้วค่อย ๆ บรรจงไว้ตรงหน้าอย่างเดิม กําข้าวตอกไว้ในมือทั้ง ๒ ข้างพร้อมยกขึ้นมาระดับหู จากนั้นโปรยลงบนพัดพร้อมกับพลิกพัดกลับด้าน ๓ ครั้ง เป็นการอําลาขั้นตอนพิธีกรรมในช่วงการเชื้อเชิญตายาย ถ้ามีตายายองค์อื่น ๆ อีก ก็จะเริ่มพิธีกรรมการขับร้องบทกลอนและบรรเลงจังหวะเครื่องคนตรีในการเชื้อเชิญเหมือนอย่างที่ผ่านมาอีกรอบหนึ่ง ไปจนกว่าหมครายชื่อตายายที่จะลงมาประทับทรงในค่ำคืนนี้
               การถวายหมฺรับตายายลิมนตร์ (โต๊ะครึม)
            
คําว่าหมฺรับ คือเครื่องเซ่นสังเวยตายาย ลูกหลานต้องจัดเตรียมไว้ให้พร้อมตามความต้องการของตายาย โดยหมฺรับจะถูกจัดไว้เป็นชุด ๆ ตามจํานวนตายายที่ลงมาประทับทรง เช่น ร่างทรง ๑ คน มีตายายประจําร่างทรง ๑๐ องค์ ลูกหลานต้องจัดหมฺรับจำนวน ๑๐ ชุด เว้นแต่ว่าเจ้าภาพกับตายายได้ตกลง ร่วมกันว่าตายาย ๑๐ คนในร่างทรง ๑ คน จัดถวายเพียง ๑ ชุดก็ได้ เพราะต้องการให้ตายายได้เซ่นสังเวยร่วมกัน และเป็นการลดค่าใช้จ่ายของลูกหลานที่ได้ยกโรงพิธีขึ้นมา แต่นั้นต้องขึ้นอยู่กับข้อตกลงร่วมกันระหว่างตายายกับเจ้าภาพ ในการจัดหมฺรับลูกหลานต้องการตอบแทนตายาย ให้ได้รับสังเวยหมฺรับอย่างอิ่มหนําสําราญ ตายายก็จะกลับไปจะได้สบายใจ การจัดหมฺรับสามารถแยกออกเป็น ๓ ส่วน คือ

- ส่วนแรกจัดเป็นชุดหมฺรับหรือสํารับใส่ไว้ในถาด ประกอบด้วยอาหารคาวหวาน ส่วนใหญ่จะใช้ขนมในพิธีวันสารท เช่น ขนมลา พอง แบซำ (เจาะหู) ขนมเทียน เป็นต้น นอกจากนั้นมีข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ปลามีหัวมีหาง ขนม น้ำ เป็นต้น หมฺรับ ๑ ชุด ต้องประกอบด้วยอาหารคาว-หวานรวมกันต้องให้ครบ ๑๒ อย่าง
ส่วนที่สองจัดแยกประเภทเครื่องเซ่นประเภท หัวหมู เป็ด ไก่ เป็นต้น เป็นเครื่องเซ่นสังเวยที่ขาดไม่ได้เหมือนกัน สมมติตายายลงมาประทับทรงรวมกันทุกร่างทรง ๕๐ องค์ จะต้องจัดถวายไก่ ๕๐ ตัว หัวหมู ๕๐ หัว ในปัจจุบันไก่และหัวหมูมีราคาแพง เจ้าภาพต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดห มรับด้วยราคาค่อนข้างสูง เจ้าภาพบางรายจําเป็นต้องต่อรองการจัดหมฺรับ ประเภทไก่และหัวหมูให้น้อยลง แต่ก็ต้องได้รับการยินยอมจากตายาย จะจัดหมฺรับตามความต้องการของเจ้าภาพไม่ได้ โดยทั่วไปแล้วตายายจะยินยอมตามข้อตกลงของเจ้าภาพ เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลงและไม่ต้องการให้ลูกหลานลําบากในเรื่องค่าใช้จ่าย
ส่วนที่สามเครื่องเซ่นสังเวยจากการบนบาน คือเครื่องเซ่นประเภทนี้มีผลสืบเนื่องมาจากลูกหลานได้บนบานต่อตายายด้วยเรื่องต่าง ๆ โดยตนเอง ประสพหรือประสงค์จะได้รับผลตามความต้องการของครอบครัวหรือตนเองได้บนบานต่อตายาย เมื่อผลจากการบนบานประสบความสําเร็จตามเป้าหมายที่ได้บนบานเอาไว้ ต้องจัดหมฺรับนั้นถวายให้ตายายลิมนตร์ในวันนี้ด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นประเภท หัวหมู ไก่ เป็ด และเหล้า

 


หมฺรับตายายลิมนตร์ (โต๊ะครึม)

                การสังเวยหมฺรับ
           เมื่อถวายเครื่องเซ่นสังเวยเรียบร้อยแล้ว ตัวแทนเจ้าภาพจุดเทียนไขที่ชุดหมฺรับรวมทั้งเครื่องเช่นประเภท ไก่ หัวหมู และเครื่องเซ่นอื่น ๆ ทุกเล่ม ซึ่งเป็นวิธีแสดงถวายเครื่องเซ่นต่อครูลิมนตร์และตายายลิมนตร์ การเซ่นสังเวยวิญญา ณเหล่านี้ต้องผ่านแสงและควันจากเทียนไขโดยผ่านร่างทรง โดยร่างทรงจะใช้แสงเทียนเวียนวนรอบเครื่องเซ่นสังเวยแล้วอมแสงเทียนเข้าปาก ๓ ครั้ง ถือว่าเป็นการสังเวยเครื่องเซ่นแล้ว 
            การละเล่นลิมนตร์หรือโต๊ะครึมของชุมชนบ้านควนหมาก ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
          ชุมชนบ้านควนหมาก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เริ่มมีผู้คนอพยพมาตั้งถิ่นฐานในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) จากกลุ่มคนที่อพยพมาจากบ้านคอหงส์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นำโดยนายทุ่ม เกื้อก่ออ่อน นายอ้น เกื้อก่ออ่อน นางนวล เกื้อก่ออ่อน นายคุก จันทร์ต้น และนายทองอุ่น ไม่ทราบนามสกุล ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แนวภูเขาซึ่งพื้นที่ส่วนมากมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาที่เป็นป่าดงดิบมีไม้ยืนต้นส่วนใหญ่เป็นไม้ต้นหมาก กลุ่มคนที่อพยพมาจากเดิมนั้นประกอบอาชีพเลี้ยงโค กระบือขาย ต่อมาทีการขโมยโค กระบือเกิดขึ้นชุกชมในท้องถิ่นเดิม จึงเกิดภาวะที่ไม่มีงานทำ มีรายได้น้อยประกอบกับไม่มีที่ดินทำกินที่เป็นหลักเป็นแหล่ง จึงอพยพมาตั้งบ้านเรือนที่บริเวณเชิงเขา ต่อมาก็มีกลุ่มคนที่ได้อพยพมาสมทบซึ่งอพยพมาจากอำเภอจะนะ นำโดยนายหวาน นางคำ คงแก้วดวง สองสามีภรรยา จากนั้นยังมีนายปลอด นางคง ไม่ทราบนามสกุลมาร่วมด้วย ก็นับว่าเป็นคนกลุ่มแรกที่มาบุกเบิกตั้งถิ่นฐานที่ชุมชนบ้านควนหมาก จากนั้นก็มีคนจากที่ต่าง ๆ อพยพเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั้งปัจจุบัน ชาวบ้านในชุมชนบ้านควนหมากมีความเชื่อพื้นฐานเช่นเดียวกับที่มนุษย์ทั่วไปมีต่ออำนาจนอกเหนือธรรมชาติจึงทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นเป็นความเชื่อท้องถิ่นมีวิธีการ กลไกอันซับซ้อนปรากฏอยู่ในรูปแบบพิธีกรรมเฉพาะกลุ่มในบางพื้นที่มักมีนัยสำคัญที่แอบแฝงอยู่เสมอ พิธีกรรมที่ปรากฏในชุมชนบ้านควนหมากปัจจุบันคือพิธีกรรมการนับถือผีบรรพบุรุษของชาวชุมชนบ้านควนหมาก จะปรากฏอยู่เฉพาะบางพื้นที่ของชุมชนที่มีกลุ่มคน ที่มีการนับถือผีบรรพบุรุษของตนที่ล่วงลับไปแล้วที่เคยเป็นโนรา  ลูกหลานในสายเลือดของตนต้องรักษาสืบทอดพิธีการ “ลงครู” ต่อไปเรื่อย ๆ กล่าวได้ว่าบ้านเรือนใดที่ที่บรรพบุรุษเป็นโนรามาตั้งแต่รุ่นทวด ต่อมาก็ต้องตกมาสู่ ปู่ย่า ตายาย จากนั้นก็พ่อแม่ ลุงป้า  น้า อา และพี่น้องตามลำดับขึ้นอยู่กับว่าบรรพบุรุษที่เป็น “โนรา”  จะเป็นของฝั่งพ่อหรือฝั่งแม่ ซึ่งจะต้องมีลูกหลานในแต่ละรุ่นคนใด คนหนึ่งของวงศ์ตระกูลต้องรับผิดชอบหน้าที่ “ร่างทรง” เพื่อประกอบพิธีกรรม “ลิมนตร์หรือโต๊ะครึม” แต่จารีตพิธีกรรมการนับถือผีบรรพบุรุษของชุมชนบ้านควนหมากในปัจจุบันเลือนหายไปตามกาลเวลาอย่างช้า ๆ ซึ่งยังมีพิธีกรรมนี้ปรากฏให้เห็นจากกลุ่มคนบางกลุ่มของชุมชน  จึงกล่าวได้ว่าพิธีกรรม “ลิมนตร์หรือโต๊ะครึม” เป็นระบบพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการประกอบพิธีการลงผีครูหมอ ส่วนมากมีการทำพิธีตามแต่ที่ผีครูหมอ ระบุว่าจะต้องการอะไรเพราในปีหนึ่ง ๆ ลูกหลานในตระกูลอาจมีการบนบานศาลกล่าวไว้หรือถูกครูหมอทักเมื่อทำผิดต่อผีบรรพบุรุษ จึงต้องแก้บนด้วยลิมนตร์หรือโต๊ะครึมหรือพิธีการลงผีครูหมอ ในเวลาการประกอบพิธีกรรมญาติพี่น้องต่างต้องมาร่วมในการประกอบพิธีกรรมทั้งญาติที่เกี่ยวกันโดยสายเลือดที่มีปู่ย่า ตายายคนเดียวกัน และญาติที่เกี่ยวกันโดยที่มีบรรพบุรุษคนเดียวกัน แม้นว่าจะผ่านมากี่ชั้นกี่รุ่นก็ตามจะเป็นสายพ่อสายแม่ จะต้องเข้าร่วมในพิธีกรรมการแก้บน เพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษลูกหลานที่มาร่วมในพิธีกรรมจะไม่รู้จักหน้า รู้จักตากันมาก่อนเนื่องจากผู้ที่เข้าร่วมพิธีไม่ได้แปลว่าจะเป็นคนในพื้นที่ชุมชนบ้านควนหมากทั้งหมดแต่สายพ่อที่มีครูหมอ ที่ได้รับมาจากบ้านวังใหญ่ลูกหลานที่บ้านวังใหญ่ ก็ต้องเข้าร่วมพิธีด้วยเนื่องจากในอดีตคนทรงของ“ครูหมอ สายพ่อนั้นอยู่บ้านวังใหญ่ต่อมาเมื่อคนทรงเดิมนั้นได้บวชเป็นพระ ก่อนหน้าจะบวชเป็นพระก็ได้เชิญให้ครูหมอมาลงที่อ้น ศรีเจริญ ร่างทรงในปัจจุบัน จึงเกิดการนับญาติโดยการสมมติ เมื่อมีการแก้บนต้องประกอบพิธีที่ครูหมออยู่ในปัจจุบันคือบ้านควนหมาก ซึ่งเป็นที่อยู่ของร่างทรงในปัจจุบัน หากว่าลูกหลานคนใดคนหนึ่งที่อยู่บ้านวังใหญ่ ถูกครูหมอทักหรือถูกครูหมอทำให้ป่วยหรือแสดงพฤติกรรมประหลาดประหลาด ๆ จึงต้องมาบนครูหมอที่บ้านควนหมาก เมื่อได้สิ่งที่ตนได้บนบานไปตามดังที่ประสงค์ ก็ต้องจัดพิธีลงผีครูหมอที่บ้านของตนที่วังใหญ่ แต่จะต้องมาประกอบพิธีการอัญเชิญบอกกล่าวต่อครูหมอที่ตนได้บนบานศาลกล่าวไว้ให้ไปร่วมพิธีตามที่ตนได้สัญญาไว้ ถือว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนบ้านควนหมากกับชุมชนบ้านวังใหญ่ ที่มีการสร้างสายสัมพันธ์ในลักษณะสังคมชนบทที่มีความสัมพันธ์แบบกลุ่มปฐมภูมิ ทำให้ญาติพี่น้องที่มาร่วมในพิธีมีความสนิทสนมและเป็นกันเองถือเป็นการขายเครือญาติ ไปสู่เพื่อนบ้านในชุมชนใกล้เคียงทำให้มีการไปมาหาสู่กันเสมอหากว่าลูกหลานคนใดคนหนึ่งที่อยู่บ้านวังใหญ่ถูกครูหมอทักหรือถูกครูหมอทำให้ป่วยหรือ แสดงพฤติกรรมประหลาดประหลาด ๆ จึงต้องมาบนครูหมอที่บ้านควนหมาก เมื่อได้สิ่งที่ตนได้บนบานไปตามดังที่ประสงค์ก็ต้องจัดพิธีลงผีครูหมอที่บ้านของตนที่วังใหญ่ แต่จะต้องมาประกอบพิธีการอัญเชิญบอกกล่าวต่อครูหมอที่ตนได้บนบานศาลกล่าวไว้ให้ไปร่วมพิธีตามที่ตนได้สัญญาไว้ 
          ลิมนตร์หรือโต๊ะครึม จึงเป็นการถ่ายทอดจากคนรุ่นก่อน ๆ มาสู่คนในรุ่นปัจจุบัน เป็นการตระหนักถึงการสืบทอดพิธีกรรม ไม่ให้สูญหายเรียกได้ว่าเป็นพิธีกรรมที่สร้างเครือข่ายระหว่างเครือญาติชุมชนที่มีการติดต่อสื่อสารกัน และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันจากการที่นับญาติกันโดยที่ไม่จำเป็นต้องรู้จักนามสกุล แต่จะนับญาติจาก สายครูหมอเดี่ยวกัน นับเป็นการเชื่อมโยงเครือญาติที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนให้มีการพบปะกันบริเวณพื้นที่ทางวัฒนธรรม อาจนำไปสู่การแต่งงานระหว่างคนต่างชุมชนในท้องที่เดียวกัน จึงเป็นเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน บ้านควนหมาก บ้านวังใหญ่ และบ้านสะพานไม้แก่น ที่ไปมาหาสู่ พึงพาอาศัยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนที่ได้รับจากการประกอบพิธีลิมนตร์หรือโต๊ะครึม 
ลิมนตร์หรือโต๊ะครึมมีจุดมุ่งหมายหลัก คือเพื่อรักษาอาการ ป่วยไข้ ที่เชื่อว่าเป็นอาการที่เกิดมาจากถูกผีตายายลงโทษ จัดขึ้นเพื่อแก้บนเมื่อประสบความสําเร็จในเรื่องต่าง ๆ ที่บนบานไว้ต่อผีตายาย และเพื่อบูชาครูหมอตายายเป็น ประจําตามวาระ เช่น ปีละครั้งปีละสามครั้ง เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้วลิมนตร์หรือโต๊ะครึมนี้ไม่ได้จัดขึ้นตลอดทั้งปี ในแต่ละปีจะจัดขึ้นในเดือน ๖ เดือน ๗ และเดือน ๙ เท่านั้น ผู้เกี่ยวข้องในพิธีได้แก่ นายมนต์ นางทรง พี่เลี้ยงนางทรง เจ้าภาพ ญาติและผู้ร่วมพิธี โดยมีนายมนตร์หรือผู้นําในการประกอบพิธี ถือได้ว่าเป็นผู้มีความสําคัญ และมีบทบาทสําคัญต่อพิธีกรรม เพราะการเป็นนายมนต์ได้นั้นจะต้องมีความรู้ในเรื่องดนตรี และเรื่องลําดับขั้นตอนพิธีกรรมอย่างละเอียด และสั่งสมประสบการณ์จากการเป็นลูกคู่มายาวนาน ซึ่งนายมนต์เป็นผู้ควบคุมดูแลขั้นตอนต่าง ๆ ในพิธี สามารถออกคําสั่งการจัดการในพิธีได้ ซึ่งพิธีกรรมจัดขึ้นในโรงพิธีที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ จะมีการ “เข้า” โรงพิธีในวันพุธ “ออก” โรงในวันพฤหัสบดี ศุกร์ หรือวันเสาร์ก็ได้ โดยวันเหล่านี้นายมนต์จะเป็นผู้ดูวันให้ ส่วนจํานวนวันจะแล้วแต่เจ้าของงานหรือผู้บนบานว่าได้ตกลงบนบานต่อผีตายายไว้อย่างไร โดยทั่วไปแล้วมักเล่นจะ ๓ วัน ๓ คืน ตามความเชื่อที่สืบต่อกันมา

    บทกาศครูจะขับร้องทํานอง ตามบทกลอนว่า

วันเอ่ยวันนี้ เขาเรียกว่าวันลาภวันดี
ได้ฤกษ์ยามนาที จะไหว้พระภูมิสถานท่านเจ้าเท่
ไหว้พระภูมิที่ไร่ ข้าจะไหว้พระภูมิในที่นา
พระภูมิบ้านนี้หนา อย่าให้มีโพยอย่ามีภัย
ยังเหลยข้าจะไหว้ไป ไหว้ดาตู (ระตู) ละใบท่านศักดิ์สิทธิ์
ลําเอวเหมือนเขาหล่อ ลําคอเขางามเหมือนชาลี
คาดูละใบท่านศักดิ์สิทธิ์ ขออย่าให้มีโพยภัย
ยังเหลยจะไหว้ศักดิ์สิทธิ์ข้างเมืองไทร ศักดิ์สิทธิ์เมืองไทรแม่นงไรแม่นงเรียง
ไหว้เจ้าไปขอศัพท์ ลําดับไหว้เจ้าไปขอเสียง
แม่รงไรแม่รงเรียง ขอเสียงเจ้ามาเหมือนน้ําไหล
ขอเสียงให้ดังก้อง เหมือนฆ้องชวาที่หล่อใหม่
ขอเสียงให้เกลี้ยงใส ไหลมาเหมือนท่อธารา
ศักดิ์สิทธิ์ที่นี่นา ขออย่ามีโพยมีภัย
กาศศักดิ์สิทธิ์เมืองไทรแล้ว ลูกกาศศักดิ์สิทธิ์เมืองตาหนี
ศักดิ์สิทธิ์เมืองตาหนี เขากาหลาคีรีทั้งเจ็คยอด
น้ำหมันไหลอยู่ตลอด วันนี้ลูกร้องขอเสมา 

ความเชื่อ

         ความเชื่อในลิมนต์หรือโต๊ะครึม
         การเชื้อเชิญตายาย
     
การเชื้อเชิญตายายลิมนตร์ (โต๊ะครึม) เป็นพิธีกรรมที่สําคัญ เพราะเป็นสื่อกลางให้ลูกหลานได้พบกับตายายของตนเองเพื่อสอบถามเรื่องราวต่าง ๆ ได้เกิดขึ้น การเชื้อเชิญตายายมาประทับทรงลูกหลาน จะคล้ายคลึงกับ การเชื้อเชิญครูหมอโนราในพิธีกรรมโนราโรงครู ซึ่งมีพื้นฐานความเชื่อการสืบทอด เชื้อสายการเป็นตายายทางสายเลือด โดยลูกหลานรุ่นต่อมาต้องสืบทอดตามเจตนารมณ์บรรพบุรุษ ผู้มีเชื้อสายคือตายายลิมนตร์ประจําตระกูล ตายายลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ประจําตระกูลมีความสําคัญต่อวัฒนธรรมการสืบทอดการเล่น ลิมนตร์ การยกโรงพิธีขึ้นมาเล่นแต่ละครั้งเจ้าภาพต้องเชิญบรรคาร่างทรงฝ่ายบิดาและมารคา ให้มานั่งในพิธีกรรมเป็นการผูกโยงเครือญาติให้มาร่วมกันเหมือนกับเชือกเส้นเดียวกันตายายประจําร่างทรง เหมือนกับเป็นจุค ศูนย์กลางการรวมญาติ การเชื้อเชิญแต่ละครั้งร่างทรงต้องเขียนจํานวนรายชื่อตายายประจําร่างทรง แจ้งให้กับหัวหน้าคณะลิ้มนตร์ได้ทราบทุกองค์ เพราะร่างทรงแต่ละคนมีตายายมากน้อยต่างกัน บางทรงมีตายายประจําร่างทรงมากกว่าสิบองค์ โดยมีหัวหน้ารองหัวหน้าและบริวารองค์อื่น ๆ การเชื้อเชิญตายายลิมนตร์ ต้องเรียงลําดับตามฐานะตําแหน่ง โดยเฉพาะหัวหน้าตายายประจําร่างทรง ถือว่ามีความสําคัญเปรียบเหมือนตายายประจําของตระกูล ส่วนตายายองค์อื่น ๆ ได้รับคความเคารพในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือผู้มีฐานะเป็น “ทวด” เช่น ทวดงู ทวดจระเข้ ทวดเสือ ทวดเจ้าป่าทวดเจ้าเขา เป็นต้น สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้มีอํานาจเหนือธรรมชาติ ค่อยช่วยเหลือร่างทรงให้พ้นภัยหรือรักษาร่างทรงและสมาชิกในครอบครัวให้มีโชคลาภ ความเจริญในชีวิต
      คําว่า “ตายายลิมนตร์” ไม่ใช่เพียงตายายประจําตระกูล คือบรรพบุรุษของตระกูลเท่านั้น รวมถึงสิ่งศักสิทธิ์อื่น ๆ ของตระกูลที่ให้ความเคารพนับถือประจําบ้านหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจําภูมิอื่น ๆ จากการสังเกตและสอบถามร่างทรง ได้ความว่าร่างทรงคนหนึ่ง ๆ แม้จะมีตายายประจําร่างทรงหลายองค์ แต่ผู้ที่เป็นหัวหน้าร่างทรง คือบรรพบุรุษประจําตระกูล ส่วนตายายคนอื่น ๆ จะเป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์หรือทวดก็ได้
      
รูปแบบการเชื้อเชิญตายาย
 การเชื้อเชิญตายายลิมนตร์ลงมาประทับทรงมีขั้นตอนพิธีกรรมตามธรรมเนียมปฏิบัติมาอย่างยาวนาน มีความสําคัญและมีความหมายในเชิงคติชนวิทยาและมานุษยวิทยา การยกโรงพิธีขึ้นมาเล่นแต่ละครั้ง มีความหมายต่อคณะเจ้าภาพทั้งทางด้านกตัญญูต่อบรรพบุรุษและการสืบเชื้อสาย การเชื้อเชิญเพื่อเปิดโลกวิญญาณกับโลกมนุษย์ได้พบกันอีกครั้ง ผู้อยู่ในโลกของวิญญาณ คือตายายลิมนตร์ และผู้อยู่ในโลกมนุษย์ คือลูกหลานผู้มีเชื้อสายเหล่ากอที่ผูกพันกันทางสายเลือดทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา ดังนั้นการยกโรงพิธีแต่ละครั้งมีการเชื้อเชิญตายาย ๒ แบบ

- การเชื้อเชิญตายายลิมนตร์ ลงมาประทับทรงเก่า หมายถึงร่างทรงทั้งฝ่ายบิดาและมารดาของ เจ้าภาพได้เข้าร่วมในพิธีกรรม จะมีตายายลิมนต์ประจําร่างทรงหรือมีที่นั่งของตายาย ได้ทําหน้าที่เป็นตัวแทนสืบทอดร่างทรงประจําตระกูล มีประสบการณ์การทําหน้าที่เป็นร่างทรงมาแล้ว ตายายลิมนตร์กับร่างทรงมีความคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว การเชื้อเชิญแต่ละครั้งใช้เวลาไม่มาก เพียงหัวหน้าคณะลิมนตร์ขับร้องบทกลอนด้วยการออกชื่อตายายไปตามพิธีกรรม ตายายจะลงมาประทับร่างทรง แต่บางครั้งมีเหตุที่ตายายไม่ประทับทรงได้ในกรณีการยกโรงพิธีทําไม่ถูกต้องพิธีกรรมตามธรรมเนียมการปฏิบัติ
การเชื้อเชิญตายายเพื่อหาร่างทรงใหม่ หรือหาที่นั่งตายาย หมายถึงร่างทรงเก่าประจําตระกูลได้เสียชีวิตลงหรือชราภาพมากแล้ว ไม่สามารถทําหน้าที่เป็นร่างทรงได้ ต้องเชื้อหาทรงใหม่ให้กับตายายของตระกูล โดยคัดเลือกลูกหลานผู้เหมาะสมจํานวนกี่คนก็ได้เพื่อแต่งตัวขึ้นไป ภายในโรงพิธีคณะลิมนตร์ จะเชื้อหาที่นั่งตายายลิมนตร์ของตระกูล การเชื้อเชิญแต่ละครั้งใช้เวลาสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับความประสงค์ของตายายในการเลือกลูกหลานและประสงค์ลงมาประทับทรงการเชื้อหาทรงใหม่เพื่อสืบทอดร่างทรงคนต่อไป ถ้ามิเช่นนั้นมีเหตุการณ์บางอย่างที่ไม่ดี เกิดขึ้นต่อลูกหลานคนใดคนหนึ่งให้มีอาการผิดแปลกไป หรือเจ็บไข้ได้ป่วยอย่างไม่รู้สาเหตุ 

     การจับทรงหรือประทับทรงขึ้นอยู่กับความต้องการของตายาย แม้ลูกหลานอาศัยอยู่ต่างจังหวัดถ้าตายายต้องการประทับทรงแล้ว ต้องมีเหตุให้กลับมาร่วมพิธีกรรม และการเป็นร่างทรงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ลูกหลานคนใดคิดจะเป็นก็ได้ การเลือกลูกหลานเป็นตัวแทนร่างทรงใหม่หรือตัวแทนร่างทรงประจําตระกูล โดยบรรคาเครื่อญาติได้มองเห็นลูกหลานผู้เหมาะสมก่อนเข้าร่วมพิธีการเชื้อหาร่างทรง ขั้นตอนต่อไปขึ้นอยู่กับตายายว่ามีความประสงค์จะลงมาประทับทรงลูกหลานคนใด พิธีกรรมลิมนตร์หรือโต๊ะครึมเป็นพิธีกรรมความเชื่อของชาวภาคใต้ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างพบมากในจังหวัดสงขลา โดยเฉพาะอําเภอนาหม่อมและอําเภอนาทวี ลิมนตร์หรือโต๊ะครึมเป็นพิธีกรรมที่แสดงถึงการเคารพต่อผีบรรพบุรุษหรือที่เรียกกันว่า “ผีตายาย” มาเข้าทรงในแต่ละสายตระกูลจากการค้นคว้าวิจัยพบการเรียกพิธีกรรมนี้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ไหว้ตายาย โต๊ะครึม นายมนตร์ หรือลิมนตร์ ซึ่งในอําเภอนาหม่อมและอําเภอนาทวี มักใช้คําว่า “ไหว้ตายาย” และ “ลิมนตร์หรือเล่นลิมนตร์” ลิมนตร์หรือโต๊ะครึมนั้นจัดขึ้นสืบต่อมายาวนาน จนไม่สามารถสืบค้นได้แน่ชัดว่ามีจุดเริ่มต้นเมื่อไร ไม่มีเอกสารหรือพบหลักฐาน ที่แน่นอนมีเพียงการบอกเล่าสืบต่อกันมาในรูปแบบของตํานานบทร้องในการประกอบพิธีกรรมนี้

         ความเชื่อในพิธีกรรมลิมนตร์ (โต๊ะครึม)
      
ความเชื่อในพิธีกรรมลิมนตร์ (โต๊ะครึม) เป็นความเชื่อที่ผู้คนมีร่วมกันในชุมชนและเป็นสิ่งที่คนในเครือญาติได้รับการถ่ายทอดและเรียนรู้จากคนรุ่นก่อน ๆ นับเป็นวิถีปฏิบัติที่สืบต่อกันมา ซึ่งประกอบด้วย

๑. ความเชื่อเกี่ยวกับผีบรรพบุรุษ โดยลูกหลานเชื่อว่าบรรพบุรุษเหล่านั้นเมื่อตายไปก็จะกลับมาปกป้องดูแลลูกหลาน และหากลูกหลานคนใดให้ความเคารพนับถือ ระลึกถึงอยู่เสมอผีตายาย ก็จะช่วยส่งเสริมให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง แต่ในทางกลับกันหากลูกหลานคนใดไม่เคารพนับถือต่อผีตายายก็จะโดนผีตายายให้โทษ ทําให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ
๒. ความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องรางของขลังและเวทมนต์คาถา ซึ่งนายมนตร์ผู้ประกอบพิธีจําเป็นที่จะต้องมีเครื่องรางหรือคาถาไว้ใช้สําหรับป้องกัน เพื่อให้แคล้วคลาดจากภยันอันตรายต่าง ๆ รวมถึงการใช้มนต์คาถาในระหว่างประกอบพิธีกรรม  เช่น ก่อนเริ่มเข้าทรงนางทรงต้องทาน้ำมันที่ผ่านการเสกลงบนกลางกระหม่อมและฝ่ามือทั้งสองข้าง เชื่อว่าจะทําให้นางทรงผีตายายเชื่อฟังคําสั่งต่าง ๆ จากนายมนต์
๓. ความเชื่อเกี่ยวกับนายมนต์และนางทรง โดยนายมนต์ หัวหน้าผู้ประกอบพิธีกรรมลิมนต์ต้องฝึกฝนการตีทับ ขับบทร้องบูชาจนเชี่ยวชาญได้รับการยอมรับจากครูหรือนายมนต์คนเก่า และมีหลักการปฏิบัติตัวที่เคร่งครัด เช่น การปฏิบัติตนเป็นคนดีมีศีลธรรม การไม่รับประทานอาหารที่เหลือจากผู้อื่น เป็นต้น เช่นเดียวกับนางทรงที่เชื่อว่าผู้เป็นนางทรงเป็นผู้ที่ผีตายายได้เลือกไว้ต้องประพฤติปฏิบัติถูกศีลธรรม คู่ควรแก่วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่ลูกหลานให้ความเคารพนับถือ
๔. ความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องดนตรีและบทร้องบูชา ทับเป็นเครื่องดนตรีสําคัญที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมลิมนต์ ต้องทําพิธีเปิดหน้าทับหรือการเสกมนต์คาถา ทับแต่ละตัวถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ห้ามตีเล่นหรือเดินข้ามไม่ได้ ในส่วนของบทร้องก็จะมีหลายบท ที่ใช้ขับร้องในพิธีกรรมเพื่อเรียกผีตายายมาเข้าทรง ซึ่งจะนํามาขับร้องเล่น ๆ ไม่ได้เช่นกัน
๕. ความเชื่อเกี่ยวกับการเข้าทรง พิธีกรรมลิมนตร์ที่จัดขึ้นในแต่ละสายตระกูลจะมีนางทรงเป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างผีตายายและลูกหลาน เชื่อว่าผีตายายจะมาเข้าทรงและรับของเซ่นไหว้ผ่านนางทรง
๖. ความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งโรงพิธี การสร้างโรงพิธีจะทําจากไม้มงคลปลูกเป็นเรือนยกพื้นสูงจากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันมีการประยุกต์โดยบางพื้นที่ก็จะใช้เต็นท์เป็นหลังคาและทําพื้นยกสูงจากไม้ โรงพิธีหันหน้าไปทางทิศเหนือความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมลิมนต์เหล่านี้ ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ เป็นความเชื่อร่วมกันของผู้คนในชุมชน โดยเฉพาะในแต่ละสายตระกูลหรือในแต่ละกลุ่มเครือญาติ เป็นการเรียนรู้การปรับตัวปรับใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้สอดคล้องสัมพันธ์กับวิถีชีวิตก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบทอดต่อกันมา

          องค์ประกอบพิธีกรรมลิมนตร์ (โต๊ะครึม)
          ในการจัดพิธีกรรมลิมนตร์ (โต๊ะครึม) เจ้าภาพหรือผู้บนบานจะต้องมีการวางแผนและตระเตรียมงานตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะในการจัดพิธีแต่ละครั้งจะมีองค์ประกอบสําคัญที่จะต้องจัดสรร เพื่อเตรียมพร้อมสําหรับการประกอบพิธี ซึ่งมีประกอบด้วย

๑. ผู้ประกอบพิธีกรรมและผู้ร่วมพิธีกรรม มีนายมนตร์เป็นเจ้าคณะ ๑ คน และมีลูกคู่อีก ๔ คน ที่เป็นผู้บรรเลงทับร่วมกับลูกคู่ร้องรับบทบูชาในพิธี โดยมีนางทรงและพี่เลี้ยงนางทรง ที่จะเป็นผู้คอยช่วยเหลือนางทรงระหว่างการเข้าทรง
๒. เครื่องดนตรีและบทร้องบูชา โดยมีทับทั้งหมด ๕ ลูก โดยมีชื่อเรียก คือ
- น้ำตาตก
- นกเขาขัน
- นครสวรรค์
-  นครเหิน
- การ้องฆ้องชัย
    ส่วนบทร้องบูชามีทั้งหมด ๙ บท  ประกอบด้วย
- บทไหว้ครูหรือกาดครู
- บทตั้งมัด
- บทประวัติพิธีกรรมลิมนตร์
- บทตั้งน้ำ
- บทเชิญผีตายาย
- บทเชิญผีตายายก่อนซัดน้ำหรืออาบน้ำ
-  บทร้องเบ็ดเตล็ตที่ใช้เล่นระหว่างประกอบพิธีกรรม
- บทตีไม้ยัง
-  บทส่งผีตายายและผีราชครูหรือผีครูลิมนตร์
๓. เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ หรือเครื่องบูชา ได้แก่
-  สาดหรือเสื่อสําหรับปูรองนั่งและสําหรับม้วนห่อหมอนมีผ้าขาวปูทับเรียกว่า หัวหมอน
-  เครื่องคราดหรือเครื่องบูชาครูหมอ
-  ผ้าเพดาน ซึ่งเป็นผ้าขาวที่คาดไว้บนเพดานใส่หมากพลู ๑ คํา
-  พานไหว้ครูที่มีเทียนหมากพลูและเงิน
-  เชี่ยนชัย ที่ประกอบด้วยน้ำมันและเทียน
 ข้าวตอกดอกไม้
กริช 
มีดหมอ
ขันน้ำล้างปาก
เสื้อผ้าเครื่องทรงของนางทรง
ขันหมากรับพี่เลี้ยง
พัด
แหวนทองสําหรับร่างทรงใหม่หรือผู้ที่เพิ่งเป็นนางทรง
หมฺรับหรือเครื่องบูชา ได้แก่ ขนมลา ขนมโต ข้าวเหนียว เป็นต้น
เครื่องเซ่นไหว้ที่ลูกหลานนํามาแก้บน เช่น หมู เป็ด ไก่ เหล้า เบียร์ เป็นต้น

          ​​​องค์ประกอบเหล่านี้จะอยู่ในโรงพิธี ซึ่งถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้เกี่ยวข้องหรือญาติพี่น้องเท่านั้นถึงจะเข้าร่วมพิธีกรรมได้ ผู้ชมหรือคนภายนอกจะอยู่นอกโรงพิธี ภายในโรงพิธีก็มีการแบ่งแยกสัดส่วนที่ชัดเจน ตําแหน่งสิ่งของต่างๆ ล้วนแบ่งพื้นที่ให้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และสิ่งสาธารณะ เช่น พื้นโรงพิธีที่ยกขึ้นนี้จะมีระดับที่ต่างกัน โดยทางฝั่งของนายมนต์จะต้องยกพื้นสูงที่สุด ไล่ต่างระดับลงมาเล็กน้อย คือพื้นที่ฝั่งนางทรง และพื้นต่างระดับลงมาจากนางทรง คือพื้นที่ลูกหลานเข้ามาหมอบกราบ การตั้งบันไตจะต้องตั้งฝั่งทิศเหนือเท่านั้น เพราะการเข้าโรงพิธีจะใช้ทิศเหนือในการเดินเข้าเสมอ และจะต้องให้พื้นที่ของนายมนต์อยู่ทิศตะวันออก จะมีหัวหมอนหรือเสื่อที่ห่อด้วยหมอนแสดงถึงที่นั่งของนายมนต์คนอื่น ๆ ไม่สามารถเข้ามายุ่งเกี่ยวหรือนั่งที่ตรงนี้ได้ถือเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ใกล้กับทิ้งเครื่องสังเวยหรือพานสําหรับครูหมอนายมนต์ ส่วนพื้นที่ด้านหลังถัดมาก็เป็นที่นั่งของลูกคู่ที่เหลือในคณะ มีจํานวนรวม ๓-๕ คน แล้วแต่คณะ ส่วนห้องฝั่งทิศตะวันตกของนางทรง มีไม้กั้นระหว่างฝั่งนายมนต์และนางทรงอยู่ด้วย มีหัวหมอนหรือเสื่อที่พันหมอนไว้วางหัน เข้าหานายมนต์ และมีพี่เลี้ยงนางทรงนั่งอยู่ข้าง ๆ เพื่อ ช่วยเหลือนางทรงตลอดการทําพิธีกรรม ซึ่งที่นั่งของนางทรงและพี่เลี้ยงจะไม่สามารถให้ผู้อื่นขึ้นมาเกี่ยวข้องได้เช่นกัน เพราะเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์สําหรับผีตายายและนางทรง เว้นแต่พี่เลี้ยงนางทรงและทางฝั่งของนางทรงในพื้นที่ต่ำลงมาจะเป็นที่นั่งสําหรับลูกหลาน ส่วนภายนอกโรงพิธีจะเป็นพื้นที่สาธารณะซึ่งเป็นตั้งแผนผังโรงพิธีกรรม ส่วนของผู้ชมหรือญาติพี่น้องคนอื่น ๆ ที่รอชมพิธีกรรมลิมนตร์

        ขั้นตอนการเล่นลิมนตร์ (โต๊ะครึม)
        การเล่นการลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีอยู่เฉพาะในกลุ่มของชาวไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา การศึกษาวิจัยคณะการลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ของคณะนิพนธ์ พุฒยอด มีรูปแบบการเล่น ๒ คืน ๓ วัน โดยมีขั้นตอนและพิธีกรรม ดังนี้

- การยกขันหมากและการต้อนรับคณะลิมนตร์
   ขันหมาก เป็นสื่อสัญลักษณ์เครื่องบูชาตายาย และเป็นสิ่งแสดงพันธะสัญญาระหว่างคณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) กับเจ้าภาพ ในการกําหนดช่วงเวลาการเล่นลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ตามธรรมเนียมปฏิบัติการรับขันหมาก มีอยู่ ๒ ครั้ง คือเจ้าภาพประสงค์รับลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ไปเล่นแก้บน และคณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) เดินทางถึงบ้านเจ้าภาพ การรับขันหมาก ในตอนประสงค์จะรับลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ไปเล่น เจ้าภาพต้องมาติดต่อหัวหน้าคณะ เพื่อตกลงกําหนดวันเวลาและสถานที่ เจ้าภาพต้องจัดขันหมากประกอบด้วยหมากพลู ๕ คํา เทียน ๓ เล่ม เพื่อเชื้อเชิญคณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ถ้าหัวหน้าคณะตกลงรับ ต้องนําขันหมากของเจ้าภาพไปวางที่บูชาตายาย และกล่าวคํา กาศครูเพื่อบอกกล่าวให้ตายายได้รับทราบว่าคณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ประสงค์จะไปเล่นตามเวลาและสถานที่ดังกล่าว และเชิญให้ตายายลิมนตร์ช่วยติดตามรักษาปกป้องอันตรายต่าง ๆ เพราะถ้าไม่กาศครูตายาย อาจจะมีผีป่า ผีฟ้า ผีนา วิญญาณเร่ร่อนร่วมเดินทางไปกับคณะลิมนตร์แล้วแอบแฝงไปยังบ้านเจ้าภาพได้ เมื่อถึงกําหนดวันเวลาเดินทางคณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ต้องเดินทางไปตามเส้นทาง ยังบ้านเจ้าภาพ ห้ามหยุดพักระหว่างทางตามสถานที่ต่าง ๆ ถ้ามีเหตุจําเป็นจริงๆ ก็หยุดพักได้เฉพาะบ้านญาติของคณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) เท่านั้น เพราะอาจจะมีวิญญาณเร่ร่อน ต่าง ๆ แอบแฝงไปกับคณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) จะมารบกวนลูกหลานเจ้าภาพและการเล่นลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ได้ เมื่อคณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) เดินทางถึงบ้านเจ้าภาพให้รออยู่ที่หน้าบ้าน เพื่อให้เจ้าภาพนําขันหมากมารับ การจัดขันหมากรับใช้แบบเดียวกับขันหมากเชิญ
- พิธีกรรมการเข้าโรง
   เจ้าภาพต้องนําขันหมากมาต้อนรับ คณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ถ้าไม่อย่างนั้น คณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ไม่อาจเข้าไปยังบ้านเจ้าภาพได้ แม้จะเดินทางเข้าไปได้ก็ไม่อาจเข้าไปยังโรงพิธีได้ การเข้าโรงพิธีตามธรรมเนียมปฏิบัติ นิยมเข้าโรงทางทิศเหนือ ตอนเย็นวันแรกของการแสดงหรือช่วงเวลานกชุมรัง โดยหัวหน้าคณะเข้าไปยังโรงพิธีเป็นคนแรก เพื่อทําพิธีกรรมเรียกว่า “การทักโรง” คือการบริกรรมคาถาเพื่อป้องกันสิ่งต่าง ๆ และทักทายผีประจําโรงหรือเจ้าที่ประจําโรงเปรียบเหมือนการขออนุญาตเข้าในโรงพิธี จากนั้นบรรดาลูกคู่จึงเดินตามเข้าไปจัดแจงวางเครื่องดนตรีและอุปกรณ์พิธีกรรม เพื่อรอฤกษ์ยาม ในการเริ่มพิธีกรรมการเล่นลิมนตร์ (โต๊ะครึม)
- พิธีไหว้ภูมิเจ้าที่ หรือพิธีไหว้ภูมิโรง
   พิธีไหว้ภูมิเจ้าที่ เพื่อต้องการเซ่นสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ช่วยรักษาพื้นที่แห่งนี้ไว้ และรักษาลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข มีชีวิตรอดปลอดภัยจากภัยอันตราย เมื่อมีการเล่นลิมนตร์ (โต๊ะครึม) จะต้องประกอบพิธีไหว้ภูมิเจ้าที่ เปรียบเหมือนกับการอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ ได้มาช่วยเป็นพยาน และช่วยให้การเล่นลิมนตร์ได้ดําเนินไปได้โดยสะควก อย่าให้สิ่งไม่ดีเข้ามารบกวน สำหรับการไหวภูมิเจ้าที่กําหนดไว้ ๒ ลักษณะ คือ
๑. การไหว้ภูมิเจ้าที่บ้าน เป็นพิธีกรรมความเชื่อในเรื่องศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง คือ ทวดผู้รักษาพื้นที่บริเวณบ้านและลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข ความเชื่อในเรื่องภูมิเจ้าที่บ้าน คือทวดนั้นจะปรากฏตัวให้เจ้าภาพได้รับรู้อย่างหลากหลายรูปปแบบ เช่น บางครอบครัวเชื่อว่าทวดภูมิเจ้าที่จะมาในรูปแบบของเสือ พญางู คนชรา เป็นต้น ยกตัวอย่าง ภูมิเจ้าที่หรือทวดที่เป็นเสือ ซึ่งเปรียบเหมือนกับเจ้าป่า มีรูปร่างลักษณะครึ่งคนครึ่งสัตว์ รูปแบบการเซ่นไหว้ต้องนํา อาหารใส่ภาชนะแล้วไปแขวนไว้บนต้นไม้ ซึ่งบางครอบครัว จะต้องเซ่นไหว้ไก่หนึ่งตัว นําไปตั้งไว้ชายรั๊วบริเวณบ้าน พร้อมกับตบมือและโห่เสียงขึ้น ๓ ครั้ง จากนั้นต้องรีบหันหลังกลับ โดยไม่ต้องหันหลังเหลียวกลับไป มิฉะนั้นแล้วอาจมีเหตุการณ์ไม่ดีบางอย่างเกิดขึ้นกับผู้ประกอบพิธีได้ แต่ถ้าเจ้าภาพคนใดไม่มีความเชื่อในเรื่องทวดรักษาบริเวณบ้าน พิธีกรรมการไหว้ภูมิเจ้าที่ไม่จําเป็นต้องทําก็ได้
๒. การไหว้ภูมิโรง เป็นพิธีกรรมเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเล่นลิมนตร์ (โต๊ะครึม) เพื่ออ้อนวอนบวงสรวงให้สิทธิ์ศักดิ์ทั้งหลายทั่วสากลโลกทั้งสิบหกชั้นฟ้า สิบห้าชั้นดิน มีส่วนรับรู้การเล่นลิมนต์ในครั้งนี้ และให้มาเป็น พยานช่วยป้องกันภัยอันตราย และช่วยเบิกทางให้การเล่นลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ดําเนินไปได้ด้วยดีอย่าให้สิ่งชั่วร้ายใด ๆ เข้ามาแทรกแซงหรือขัดขวางในช่วงพิธีกรรม ผู้ทําพิธีไหว้ภูมิโรงอาจเป็นหัวหน้าคณะหรือลูกคู่ที่อาวุโสที่ได้รับความเชื่อถือ พิธีไหว้ภูมิโรงทําเช่นเดียวกับการตั้งศาลพระภูมิ วัตถุประสงค์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่คณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) เจ้าภาพ และผู้เข้าร่วม เพราะการปลูกสร้างโรงมัดเปรียบเหมือนกับการสร้างบ้านที่อยู่อาศัย จึงต้องไหว้พระภูมิในการขอที่อยู่อาศัย และ ป้องกันเสนียดจัญไร เครื่องบวงสรวงประกอบด้วย ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว แกงเผือ ไข่ไก่ ปลามีหัวมีหาง ขนมโค ขนมต้มแดง ขนมงา ขนมถั่ว ขนมต้มขาว กล้วย อ้อย หมากพลู สุรา น้ำ แป้งจันทน์ มันหอม ธูปเทียน คอกไม้ ฯลฯ การทําพิธีเริ่มต้นด้วยการบูชาพระรัตนตรัย ระลึกถึงคุณบิดามารดา ครูอาจารย์ จากนั้นสวดบทชุมนุมเทวดา และเชิญพระภูมิเจ้าที่มารับเครื่องสังเวย ซึ่งมีพระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู พระเกตุ พระอินทร์ พระพรหม พระอิศวร พระนารายณ์ ท้าว บริถิว ท้าวกรุงพาลี พญานาค นางธรณี ท้าวมหาลาภ ท้าวมหาชัย จากนั้นกล่าวขอพรต่อเทวดาและพระภูมิ โรงมัด เพื่อกันอุบาทว์และเสนียดจัญไร ตลอดจนขอที่ขอทางในการตั้งโรงมัด และขอความคุ้มครองป้องกันช่วยขับไล่ภูตผีและสิ่งไม่ดีออกจากโรงมัด ขอความเป็นสิริมงคลแก่คณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) เจ้าภาพและผู้ร่วมในพิธีกรรมหลังจากนั้นผู้ทําพิธีไหว้พระภูมิเจ้าที่ จะแบ่งอาหารส่วนหนึ่งใส่ใบตองเพื่อนําไปวางไว้ใกล้เสาภูมิของโรงมัด เพื่อให้พระภูมิแบ่งเครื่องเซ่นสังเวยให้แก่บรรดาภูตผีอื่น ๆ ได้เซ่นสังเวยด้วย จากนั้นผู้ทําพิธีจะกล่าวส่งเทวดา ทําพิธีพลิกคิน พลิกฟ้า พลิกสาด พลิกหมอน เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งอุบาทว์และเสนียดจัญไรเข้าโรงพิธีได้
- พิธีกรรมกราบครู
    หลังจากไหว้พระภูมิ เจ้าที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพจัดหมฺรับ (สํารับ) อีก ๑ ชุด พร้อมเชี่ยนพลู ขันหมากและเงินจำนวน ๑๒ บาท สําหรับการทําพิธีไหว้ครูลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ซึ่งต้องทําภายในห้องพิธีที่คณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) นั่ง ด้วยการกล่าวชุมนุมเทวดาและเชื้อเชิญบรรดาเหล่าครูทั้งคณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) และเจ้าภาพ จากนั้นคณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) จะกราบครูพร้อมกัน ๓ ครั้ง หัวหน้าคณะเริ่มพิธีกรรมบริกรรมคาถาตั้งจิตอธิษฐาน เพื่อบอก
เล่าต่อตายายลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ได้เข้ามาร่วมพิธีกรรมและช่วยคุ้มครองป้องกันให้คณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ให้รอดพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง และขอให้การเล่นลิมนตร์ (โต๊ะครึม) สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี
- พิธีกรรมเวียนแว่น (กํายาน)
    การเวียนแว่นหรอภาษาท้องถิ่นเรียกว่าพิธีกํายานหรือพิธีรมควัน โดยใช้ควันเป็นสัญลักษณ์ทางพิธีกรรม ซึ่งเรียกว่า “ควันตายาย” คือเผาถ่านไฟให้ลุกโชนใส่ในกะลามะพร้าว นําถ่านไฟดิบใส่ทับลงไป เพื่อต้องการให้เกิดเป็นควันขึ้นมา เหล่าบรรดาคณะเจ้าภาพ คณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) และเหล่าร่างทรง นั่งล้อมเป็นวงกลมภายในโรงพิธี หัวหน้าคณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) จุคเทียน ๗ เล่ม บนพานครูให้สว่างไสว จากนั้นจึงเริ่มพิธีกรรมเวียนแว่น หัวหน้าคณะเริ่มต้นพิธีกรรม จับกะลากํายานด้วยมือข้างซ้าย ใช้มือขวาปัดควันที่พุ่งขึ้นมาจากกํายานให้พอเข้าไปในโรงพิธี ๓ ครั้ง และส่งเวียนต่อ ๆ กันไป ทุกคนได้ทําแบบเดียวกันจนครบ ๓ รอบ การใช้มือปัดควันไฟที่พุ่งออกมาจากกํายานให้เข้าไปในวงภายในโรงพิธี เพื่อส่งสัญญาณให้ตายายได้รับรู้ได้ลงมาประทับ ทรงได้โดยเร็วไม่ต้องใช้เวลาหลายครั้งในการเชื้อเชิญ ถือเป็นการเชิญตายายลิมนตร์ทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา
พิธีกรรมเบิกโรง
    การเบิกโรง คือการเชื้อเชิญบรรดาครูและตายายลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ทั้งหลาย ได้รับรู้และเดินทางมาร่วมชุมนุมในโรงพิธี จึงต้องจัดเตรียมพานครู ๒ พาน พานแรกประกอบด้วยหมากพลู ดอกไม้ ข้าวสารและมีดหมอ พานที่สองประกอบด้วยเทียน ๓ เล่ม หมาก ๓ คํา และเงิน  ๑๒ บาท คณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) นั่งล้อมครึ่งวงกลม หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ซึ่ง เชื่อว่าบรรดาครูและตายายลิมนตร์ (โต๊ะครึม) สถิตอยู่ คณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) กล่าวคําบูชารัตนตรัย คําเชื้อเชิญครู บริกรรมคาถา ป้องกันมิให้วิญญาณ เร่ร่อนแอบแฝงเข้ามาทําอันตรายตลอดช่วงมีการเล่นลิมนตร์ หัวหน้าคณะทําพิธีเบิกปากทับโดยบริกรรมคาถาเสกหมากพลู และใช้ควันเทียนรมบริเวณรอบหน้าทับ ๓ ครั้ง จากนั้นชัดหมากพลูเข้าไปทางท้ายทับ เริ่มตีทับเป็นจังหวะ ๓ ครั้ง เพื่อใช้เสียงจากการดีเบิกปากทับมีอํานาจในการสะกดตายายลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ให้ลงมาในโรงพิธี จากนั้นบรรคาลูกคู่ก็เริ่มตีทับของตนเองเรียงตามลําดับกันไป เมื่อเสร็จพิธีเบิกปากทับหัวหน้าคณะเสกข้าวสารและน้ำมัน เพื่อป้องกันภัยทั้งบริเวณสถานที่และบุคคลในโรงพิธี โดยชัดข้าวสารขึ้นบนหลังคาโรง ๓ ครั้ง ส่วนน้ำมันส่งให้ลูกคู่ลูบไล้ทั่วบริเวณของร่างกาย เช่น ระหว่างนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อมือ กระหม่อม หน้าท้อง และข้อเท้า เพราะบริเวณดังกล่าวเชื่อว่าเป็นประตูผีคือทางผ่านของผีตายายเข้าสู่ร่างได้ คณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ต้องปิดประตูผีเพื่อมิให้วิญญาณเร่ร่อนเข้ามาสิงสู่ได้
พิธีกาศครูหรือกาศโรง
    พิธีกาศครูหรือกาศโรง เป็นจุดเริ่มต้นพิธีกรรมการขับบทกลอนและบรรเลงเครื่องคนตรี ซึ่งพิธีกรรมก่อนหน้านี้เกี่ยวโยงกับความเชื่อพื้นฐานเรื่องการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การเคารพและกตัญญครู อาจารย์คล้ายคลึงกับการแสดงพื้นบ้านอื่น ๆ ที่เชื่อว่าครูและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่เบื้องหลัง คอยช่วยเหลือให้ทุกอย่างสําเร็จได้พิธีกาศครู คําว่าครูคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วสากลโลกที่คณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ให้ความเคารพนับถือบูชา มีอํานาจเหนือธรรมชาติในการดลบันดาลช่วยเหลือและลงโทษต่อมนุษย์ได้ ส่วนครูตายายลิมนตร์ (โต๊ะครึม) เรียกว่าครูต้น ผู้มีชื่อเสียงตามตํานานการเกิดลิมนตร์ (โต๊ะครึม) เช่น ตาหลวงศรีทอง ตาหลวงชัย ตาหมอเทพ เป็นต้น เพื่อเชิญสิ่งเหล่านี้มาเป็นประธานการรับรู้ การแสดงลิมนตร์ (โต๊ะครึม) จะได้คุ้มครองช่วยเหลือภัยจากภายนอกที่จะเข้ามารบกวน และป้องกันเสนียดจัญไรต่าง ๆ ที่จะเข้ามาสู่คณะเจ้าภาพ พิธีกาศโรง คือการขับร้องบทกลอนเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตายาย บิดา มารดา ของบรรดาคณะลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ร่างทรงและเจ้าภาพ ถือว่าเป็นบรรพบุรุษตายายของผู้มีเชื้อสายลิมนตร์ทุกคน การขับร้องบทกลอนจะกล่าวถึงบรรพบุรุษมาเป็นชั้น ๆ ตามความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติ ลูกหลานแต่ละเชื้อสายจะได้ระลึกถึงและจดจําบรรพบุรุษของตนเองได้  ซึ่งจะก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี และสมัครสมานกลมเกลียวเหนียวแน่นในบรรดาหมู่เครือญาติแต่ละตระกูล
- พิธีกรรมตั้งบอริมัด
     การตั้งบอริมัด คือการขับร้องบทกลอนบอกกล่าวเรื่องราวตํานานและการจัดแจงรูปแบบพิธีกรรมการเล่นลิมนตร์ (โต๊ะครึม) การขับร้องบทกลอนพรรณนาถึงประวัติเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตํานานตั้งแต่การป่วย ไม่สบายของนางสีพุดทอง ผู้ถูกต้องตายายใช้วิธีการรักษาอย่างไรก็ไม่คลายทุเลาอาการเจ็บป่วยลงได้ จนกระทั่งมีนายสีทองญาติผู้พี่ได้เดินทางมาจากการดลบัน ดาลใจของตายายได้มาช่วยเหลืออาการเจ็บป่วย การขับร้องบทกลอน เริ่มต้นตั้งแต่การปลูกสร้างโรงมัดที่ใช้ประกอบพิธีกรรมการเล่นลิมนตร์ (โต๊ะครึม) กล่าวถึงการหาไม้ต่าง ๆ ที่จะนํามาทําโรงมัด (โรงลิมนตร์) เช่น ไม้จิก ไม้จัก ไม้แหลมพอ เป็นต้น ห้ามใช้ไม้ฟ้าผ่า ห้ามใช้ไม้งอกขึ้นใกล้จอมปลวก เป็นต้น จากนั้นเป็นการขับร้องบทกลอนอ้างถึงพระ นารายณ์ ผู้มีอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติได้ให้พระเพ็ดสนุกันลงมาให้ช่วยเสกลูกโพธิ์ ๕ ลูก มาเป็นเครื่องคนตรีทับ ๕ ใบ ใช้บรรเลงเครื่องดนตรีมารักษานางสีพุฒทอง การขับร้องบทกลอนการตั้งปริมัดจะร่ายบทยาวประมาณหนึ่งชั่วโมง ปัจจุบันบางคณะได้ย่อลงบ้างตามสมควรกับเวลา 
- พิธีคล้องเชือกและชัดในร่างทรงใหม่
   พิธีคล้องเชือกตายายลิมนตร์การเชื้อหาทรงใหม่ เมื่อตายายลงมาประทับทรงอย่างน้อย ๓ องค์ ต้องทําพิธีคล้องเชือกตายาย โดยลิมนตร์ใหญ่หรือหัวหน้าคณะ เพราะเป็นผู้มีวิชาค้านคาถาอาคมหรือเก่งทางด้านไสยศาสตร์ ต้องใช้คาถาสะกควิญญาณตายายให้อยู่ประจําร่างทรงรักษาร่างทรง ไม่ให้ไปเข้า ร่างลูกหลานคนอื่นอีก คล้าย ๆ กับพิธีคล้องช้างของตาหมอเฒ่า 
- พิธีกรรมรำเวียนกระออมน้ำ
    การเวียนกระกระออมน้ำ หรือ รําเวียนกระออมน้ำ คือพิธีกรรมสร้างความผูกพันสนุกสนาน ระหว่างตายายกับลูกหลานในการร่ายรําด้วยกัน คล้ายกับรําวงแบบไทย ๆ โดยลูกหลานเชื่อว่าการเชื้อเชิญตายายมาประทับทรงแล้ว ต้องการให้ตายายมีความประทับใจสนุกสนานร่วมกับลูกหลาน เมื่อตายายกลับไปสถิตย์ตามภพภูมิสถานของตนเองจะได้มีความสุข ที่ได้เห็นลูกหลานมีความสนุกสนาน สามัคคีปรองดองกัน อุปกรณ์การเวียนกระออมน้ำ คือหม้อดิน ๓ ใบ ภายในประกอบด้วยน้ำมนต์ที่ผ่านการทําพิธีจากหัวหน้าคณะเพื่อใช้อาบน้ำร่างทรง เป็นการชําระสิ่งสกปรก สิ่งของไม่ดีให้ออกไปจากร่างกาย โดยมีใบเฉียงพร้า ใบหมากผู้ ใบมะพร้าว นํามาใช้ประพรมน้ำมนต์ร่างทรง และผู้เข้าร่วมในพิธีกรรม นอกจากนั้นยังมีการผลิตรูปนก รูปปลา ลูกตะกร้อ งู จากใบมะพร้าวเสียบประดับไว้บนลูก มะพร้าวอ่อนที่ปอกเปลือกออกแล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาลตามลัทธิความเชื่อในวัฒนธรรมฮินดู-ชวา การประดับตกแต่งตามมติของสวรรค์ การตั้งหม้อน้ำ ๓ ใบ เปรียบเหมือนก้อนเส้าหรือเขาตรีกูด ตั้งอยู่ในน้ำเพื่อเป็นฐานรองภูเขาสิเนรุซึ่งเป็นแกนกลางของจักรวาล ลูกมะพร้าวอ่อนเปรียบเหมือนภูเขา สิเนรุ (สวรรค์) ใช้ใบมะพร้าวมาสานเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น นก ปลา กุ้ง เป็นต้น ปักไว้แสดงให้เห็นโลกทั้ง ๔ แวดล้อมสวรรค์เหมือนกับรูปตัว กุนุง หนังตะลุงของชวา ส่วนการแต่งกายในช่วงนี้เหล่าบรรดาร่างทรง จะใช้ผ้าขาวม้ารัดสะเอวและศีรษะ ใช้อาวุธกริชเหน็บสะเอว ซึ่งเป็นอาวุธประจํากายจะได้บ่งบอกถึงอํานาจ และใช้ซีกไม้ไผ่ ยาวประมาณ ๔ นิ้ว ๒ อัน จับไว้ในมือด้านขวา เพื่อเคาะให้เป็นจังหวะดนตรี เพิ่มจังหวะการร่ายรําให้มีความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนพิธีกรรมการรําเวียนกระออมน้ำ เน้นการความสนุกสนานรื่นเริงไปตามจังหวะดนตรีและการขับร้องบทกลอน โดยตัวแทนคณะลิมนตร์ คือครูซ้าย เป็นผู้นําออกร่ายรํา บรรดาลูกหลานตายายจะขึ้นมาบนโรงพิธีร่วมร่ายรํากับเหล่าตายาย การร่ายรําจะมีจังหวะและลีลาปรับเปลี่ยนไปตามจังหวะเสียงทับและเนื้อหาการขับร้องบทกลอน
- พิธีอาบน้ำและสระหัวตายาย
  พิธีอาบน้ำและสระหัวตายายจะมีขึ้นทุกครั้งในการเล่นลิมนตร์ (โต๊ะครึม) ซึ่งกระทําหลังจากพิธีการทําเวียนออมน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งร่างทรงใหม่และทรงเก่าเข้าร่วมพิธีกรรมพร้อมกัน สาเหตุการประกอบพิธีกรรมนี้ก็เพื่อการชําระร่างกายและสระหัวตายายให้สะอาด ชําระล้างสิ่งสกปรก ที่เป็นมลทินทั้งหลายให้ออกไปจากร่างทรง และเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญของลูกหลาน ในการร่วมกันอาบน้ำและสระหัวให้กับตายาย ซึ่งจะคล้ายคลึงกับพิธีกรรมการรดน้ำดําหัวในเทศกาลปีใหม่ ขั้นตอนพิธีกรรมอาบน้ำและสระหัวร่างทรงนั้นจะมีลิมนตร์ใหญ่หรือหัวหน้าคณะ นําหม้อน้ำ ๓ ใบ มาปลุกเสกคาถาอาคม เพื่อนำไปอาบให้กับตายาย โดยใช้ไบเฉียงพร้า ใบหมากผู้ ใบมะพร้าว ที่อยู่ในหม้อน้ำมาประพรมหมให้กับบรรดาร่างทรง ซึ่งถือว่าเป็นการอาบน้ำให้กับร่างทรงแล้ว จากนั้นลิมนตร์ใหญ่ จะใช้น้ำมะพร้าวจากลูกมะพร้าวอ่อนในพิธีมารคหัวบรรคาร่างทรงทุกคน เพื่อสระหัวตายายโดยจะ โยนลูกมะพร้าวออกไปข้างนอกโรงพิธี และจะมีตัวแทนเจ้าภาพยืนถือมีดพร้า สำหรับผ่าลูกมะพร้าวให้แตกออกเป็นสองซีกกลางอากาศ และให้ลูกมะพร้าวทั้งสองซีกตกลงมาหงาย อย่าให้กะลามะพร้าวคว่ำเป็นคติความเชื่อที่ว่า เป็นการปลดปล่อยสิ่งชั่วร้ายทุกอย่างให้หมดไปจากบริเวณบ้าน จากนั้นบรรดาลูกหลานของตายายแต่ละร่างทรงจะช่วยกันอาบน้ำ ทาแป้ง หวีผม ทาปาก ตกแต่ง เสื้อผ้า เครื่องประดับต่าง ๆ เพื่อแต่งตัวให้ร่างทรงมีความสวยงาม เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญญ และเคารพบูชาต่อตายายประจําตระกูล
พิธีกรรมการส่งตายายและส่งผี
   การส่งตายายลิมนต์ คือวิญญาณตายายเหล่านี้ที่คณะลิมนตร์ได้เชื้อเชิญ ให้เข้าร่วมพิธีกรรมตามพันธะสัญญาระหว่างเจ้าภาพกับตายายลิมนตร์ เมื่อเสร็จสิ้นพิธีกรรมต้องส่งตายายเหล่านี้กลับไปสู่ภพภูมิสถานต่อไป 
การส่งผี คือวิญญาณเร่ร่อน ภูตผีต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณบ้านเจ้าภาพ บางครั้งได้แอบแฝงตัวแทรกตัวเข้ามากับผีตายาย คณะลิมนตร์ต้องส่งผีประเภทนี้กลับไปสู่ภพภูมิสถานเดิมเหมือนกัน มิฉะนั้นจะรบกวนสร้างความเดือนร้อนให้คณะเจ้าภาพได้ เมื่อพิธีกรรมการส่งตายายและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และส่งผีเรียบร้อยแล้ว ก็ถือว่าสิ้นสุดพิธีกรรมการเล่นลิมนตร์ (โต๊ะครึม) คณะลิมนตร์จะตัดเพดานผ้าขาวลงมา ต่อจากนั้นเจ้าภาพจะจัดหมฺรับสําหรับบูชาครูเพื่อการลาโรงพิธี โดยบรรดาคณะลิมนตร์ จัดวางทับเรียงกันทั้ง ๕ ใบ ทุกใบจะจุดเทียนปักไว้ เพื่อทําการบูชาครูลิมนตร์ ที่ทําให้การเล่นครั้งนี้สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยหัวหน้าคณะจะนําด้ายดิบจากกระสอบคราค มาประกอบพิธีกรรมปลุกเสกด้วย คาถาอาคม เพื่อแจกจายให้กับบรรดาคณะลูกคู่ได้นําไปผูกไว้ท้ายทับ เป็นสัญลักษณ์ว่าทับลูกไหนมีอายุการใช้งานมากเท่าไหร่นั้น สังเกตด้ายดิบผูกอยู่ท้ายทับ

   


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
โต๊ะครึม
ที่อยู่
จังหวัด
ภาคใต้


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

นันทิยา ชูดํา. (2559). ความเชื่อและพิธีกรรมลิมนต์ในจังหวัดสงขลา. Journal of Community Developenent Research
        (Humanities and Social Sciences)  2016; 9 (2), 171-180.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024