จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหนึ่งในแหล่งอารยธรรมที่สำคัญของภูมิภาค เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย รัฐการค้าทางทะเลที่เจริญรุ่งเรืองในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๘ เป็นพื้นที่พหวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม งานประณีตศิลป์อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าของชุมซน ซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้คน มีการถ่ายทอดสืบเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน นั่นก็คือผ้าทอพื้นถิ่น ซึ่งประกอบด้วยผ้ายก ผ้าตา ผ้าริ้ว ผ้าพื้น และผ้าขาวม้า เป็นต้น บริเวณภาคใต้ตอนบนของพระราชอาณาจักรไทยในปัจจุบัน มีอาณาเขตนับตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนกระทั่งถึงจังหวัดสงขลา ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวสยามนับถือพระพุทธศาสนา ในอดีตกาลผู้คนในดินแดนแถบนี้มีวัฒนธรรมการนุ่งห่มและแต่งกายเฉกเช่นเดียวกับชาวสยามซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในงานเขียนของคุณธรรมทาส พนิช เรื่อง "พนม ทวารวดี ศรีวิชัย" ได้กล่าวถึงหลักฐานในเอกสารจีนฉบับหนึ่งบันทึกลึงผ้าทอยกดอกด้วยเส้นเงินเส้นทองของรัฐต้้น-มา-หลิ่ง ซึ่งหมายถึงตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช มีใจความว่า "อากาศในรัฐนี้อบอุ่นสบาย ผู้ชายผู้หญิงล้วนเกล้าผมไว้เป็นปม เครื่องแต่งกายมีเสื้อผ้าขาว และนุ่งผ้าฝ้ายดำ ในพิธีแต่งงานพวกเขาใช้แพรเลี่ยน ผ้ายกดอก ผ้ามีลวดลายเส้นเงินเส้นทอง" (ธรรมทาส พานิช, ๒๕๑๕ : ๒๔๕) นอกจากนี้ในพงศาวดารจีนสมัยเหลียง (พ.ศ. ๑๐๔๕-๑๐๙๙) ยังได้กล่าวถึงการทอผ้าของเมืองหรือชุมชนโบราณแห่งหนึ่ง ชื่อ "คันโทลี" ซึ่งเชื่อกันว่าอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย อาจจะเป็นตำบลคันทุลีในอำเภอท่ชนะ ทางตอนเหนือของอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ซึ่งบันทึกเกี่ยวกับประเทศคันโทลีไว้ว่า "ประเทศนี้ทอผ้าเป็นลวดลายและสีต่าง ๆ มีสินค้าผ้าและหมาก สินค้าเหล่านี้ของประเทศนี้ มีคุณภาพดีกว่าของประเทศใด" (ธรรมทาส พานิช, ๒๕๑๕ : ๖๙) จากเอกสารดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าดินแดนในภาคใต้ของประเทศไทยในปัจจุบัน มีพัฒนาการเทคนโลยีการทอผ้าอยู่ในระดับสูง และคงจะมีพัฒนาการสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่มีการบันทึก
เป็นลายลักษณ์อักษร แต่มีหลักฐานด้านวรรณกรรมมุขปาฐะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงกล่อมเด็กพื้นบ้านภาคใต้ที่แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของวัฒนธรรมด้านงานช่างฝีมือประเภทนี้ตลอดมา มีการนำเรื่องราวการทอผ้า ซึ่งภาษาพื้นเมืองเรียกว่า "ทอหูก" หรือ "ทอโหก" มาแต่งเป็นบทกลอนสำหรับใช้กล่อมเด็ก เช่น บทเพลงกล่อมเด็กของจังหวัดสงขลา ชี้ให้เห็นว่าสตรีที่ทำงานเก่งต้องทำได้ทุกสิ่งรวมทั้งการทอผ้า เหมือนกับที่อุบลศรี อรรถพันธุ์ (๒๕๒๙) เขึยนไว้ว่า...
ลูกสาวเหอ | ลูกชาวบ้านนอก |
นั่งอยู่โรงนอก | คือดอกดาวริง |
ทอโหกทอฝ้าย | ทำได้ทุกสิ่ง |
คือดอกดาวริง | ทุกสิ่งน้องทำได้ |
ส่วนบทเพลงกล่อมเด็กของหมู่ที่ ๒ บ้านหัวเลน ตำบลพุมเรียง อำเภอไขยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี แสดงให้เห็นความขยันหมั่นเพียร ไม่ท้อถอยในด้านการทอผ้าของสตรีพุมเรียง ซึ่งต้องฝึกฝนเรียนรู้ตั้งแต่ยังเล็ก เหมือนกับที่อุบลศรี อรรถพันธุ์ (๒๕๒๙) เขึยนไว้ว่า... คือ...
ทอทุกเหอ | ทอฟิมยี่สิบห้า |
ก้มแลเนื้อผ้า | ลอดหลังนิ้วก้อย |
หาไม่แม่เหอ | ตัวหนูยังน้อย |
ลอดหลังนิ้วก้อย | ตัวฉันยังน้อยอยู่เหอ |
ส่วนบทเพลงกล่อมเด็กที่กล่าวถึงผ้าทอพื้นถิ่น ประเภทผ้ายก คือบทเพลงกล่อมเด็กของจังหวัดนครศรีธรรมราช ดังที่ วิมล ดำศรี (๒๕๒๖) เขัียนไว้...
เมืองคอนเหอ | มีผ้าลายทองเป็นพับพับ |
จัดเป็นสำรับ | ประดับทองห่างห่าง |
จะนุ่งก็ไม่สม | จะห่มก็ไม่ควรเจ้าเอวบาง |
ประดับทองห่างห่าง | สำหรับขุนนางนุ่ง |
ในช่วงยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ระหว่างพุทธศักราช ๒๓๒๕-๒๔๕๓ มีเอกสารของทางราชการหลายฉบับ มีเนื้อหาสาระเกี่ยวพันกับการสั่งทอผ้าเพื่อนำมาใช้กิจการของราชสำนัก และรายการส่งมอบสิ่งทอของหัวเมืองในภาคใต้ตอนบนให้แก่ราชสำนักนับตั้งแต่เมืองชุมพร ไชยา นครศรีธรรมราช เรื่อยลงไปจนถึงเมืองสงขลา เช่น หนังสือพระยาศรีเสาราชภักดีฯ มีถึงพระยาสงขลา พระยาไซยา และพระยาชุมพร ลงวันที่ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๓ ค่ำเดือน ๗ จุลศักราช ๑๒๒๒ ปีวอก โทศก (๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๐๓) บอกกล่าวเรื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ดำรัสว่าต้องพระราชประสงค์ผ้ายกตาราชวัต เป็นต้น ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงกล่าวถึงผ้าทอพื้นถิ่นของเมืองไขยา (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสุราษฎธานี) ในพระนิพนธ์ ชีวิวัฒน์ ซึ่งทรงแต่งทำนองเป็นรายงานการเสด็จตรวจราชการหัวเมืองปักษ์ใต้ ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗
"...คนไทยทำนา ทำสวน ทำปลา ตัดมาดเรือ ตัดไม้ทำกระดาน หาซื้อขายสินค้าของ ทอผ้า เลี้ยงหมูพวกจีนทำสวนทำปลา ตั้งค้าขายรับสินค้าส่งออกภาษี พวกแขกหากินเหมือนไทยยกไว้เสียแต่เลี้ยงหมูสินค้าใหญ่ที่ออกจากเมืองไชยา มาดเรือ กระดาน ไม้เคี่ยม ไต้ หวาย กระแชง ข้าว เขาหนังโคกระบือ สุกร ผ้าพื้น
ในท้องตลาดก็ขายของต่าง ๆ ที่ว่ามาแล้ว ที่เป็นผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าพื้น ผ้าตา ผ้าริ้ว และผ้าขาวม้า สิ่งของเครื่องใช้สอยต่าง ๆ มีบ้าง ร้านชำเป็นของแต่เมืองอื่น ๆ และเมืองต่งประเทศ จำนวนราคาสิ่งของสินค้าออกจากเมืองไชยามาดหมูกุและใหญ่น้อย ปีหนึ่งรวม ๓00 หรือ ๔๐๐ ตั้งแต่ ๗ ศอกถึง ๔ วา ๒ ศอก ราคาตั้งแต่
กึ่งตำลึงไปถึง ๕ ต่ำลึง ด้ายไหมกระแขงเตยปีหนึ่งซื้อออกประมาณ ๒๐๐ หรือ ๓๐๐๐ ตั้งแต่ ๕ วา ราคาประมาณปีละ ๓๐๐ หาบ ราคาหาบละ ๑๑ บาท กระดานไม้เคี่ยม ๒000 หรือ ๓๐๐๐ ตั้งแต่ ๕ วา ราคาแผ่นละ ๕ สลึง ผ้ายก ผ้าไหม ผ้าพื้น ผ้าอาบ ผ้าขาวม้า ประมาณปีละ ๒๐๐ บาท ข้าวราคาเกวียนล่ะ ๕ ตำลึง เขาหนังหาบละ ๓ ตำลึง ราคาสิ่งของที่ขายในตลาด ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้ายกทอง ผ้ายกไหม ผ้าม่วงไม่มี เป็นของทำจำเพาะผู้สั่งผู้ต้องการ และของทำที่บ้านผู้ว่าราชการและผู้ใหญ่ ผ้าด้ายแกมไหมราคาผืนละ ๓ บาท ๒ สลึง ผ้าพื้นราคาอย่างดีผืนละ ๖ สลึง หรือ ๗ สลึง ผ้าพื้นอย่างเลวกุลีละ ๑๘ บาท ๒๐ บาท ๒๔ บาท ผ้าขาวม้าอย่างกว้างกุลีละ ๒๐ บาท ผ้าขาวม้าอย่างแคบกุลีละ ๑0 บาท..." (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดข, ๒๕๗๔ : ๑๔๗-๑๔๘)
ในพระนิพนธ์ "สาส์นสมเด็จ" หนังสือรวบรวมลายพระหัตถ์ตอบโต้ ซักถาม แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับความรู้และวิขาการด้านต่าง ๆ ระหว่างนักปราชญ์สำคัญสองพระองค์ของแผ่นดินสยาม คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๘๓ ทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงแสดงแนวพระดำริ เกี่ยวกับความหมายของผ้ายกไว้ว่า "ผ้าไหมอันทอยกลวดลายให้สูงกว่าพื้นผ้า ถ้าลายทอด้วยไหมทองก็เรียกว่ายกทอง ถ้าลายทอด้วยไหมสามัญก็เรียกว่ายกไหม" ซึ่งแนวพระดำริดังกล่าวนับเป็นการให้ความหมายที่สะท้อนให้ชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงความเข้าใจในรูปลักษณ์ของผ้ายกในหมู่ชนชาวสยามได้เป็นอย่างดี ด้วยหลักสำคัญของการสร้างลวดลายผ้าประเภทนี้ คือการทอเสริมเส้นด้ายพุ่งพิเศษ ทั้งแบบเสริมยาวต่อเนื่องตลอดหน้าผ้า และแบบเสริมเป็นช่วง ๆ โดยใช้วิธีเก็บตะกอลอยเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยจัดกลุ่มเส้นด้ายยืน ให้เปิดอ้าหรือยกและข่มเป็นจังหวะ เพื่อทอสอดเสริมเส้นด้ายพุ่งพิเศษตามลวดลายที่ต้องการ ก่อเกิดเป็นผืนผ้าที่มีลวดลายยกนูนสูงกว่าพื้นผ้า ส่วนวิธีการทอแบบอื่นที่นำมาใช้ผสมผสานกัน เช่น ทอเสริมเส้นยืนพิเศษ มัดย้อมเส้นพุ่งและเส้นยืนก่อนการทอ และทอแบบเส้นพุ่งไม่ต่อเนื่อง เพียงแต่นำมาตบแต่งลวดลายในส่วนประกอบปลีกย่อยเท่านั้น
ผ้ายกนับเป็นสิ่งทอชนิดหนึ่งซึ่งราชสำนักสยามและผู้คนในสังคมสยามได้ตระหนักถึงคุณค่า ความงาม และคุณสมบัติเฉพาะตัว พร้อมกับคิดใคร่ครวญแล้วว่าเป็นสิ่งทอชนิดพิเศษที่สามารถตอบสนองแนวความคิดและปรัชญาในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี รวมทั้งในแง่ของความต้องการส่งเสริมสถานภาพอันสูงส่งของสถาบันกษัตริย์ และการสร้างภาพลักษณ์ของสวรรค์ขนพื้นพิภพ ให้เป็นไปตามคติความเชื่อที่ว่าพระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนสมมุติเทพ หรือองค์อวตารของมหาเทพเสด็จลงมายังโลกมนุษย์ เพื่อปกครองแผ่นดินบำบัดทุกข์บำรุงสุขอาณาประชาราษฎร์ การสั่งทอหรือเกณฑ์ทอผ้ายกจากหัวเมืองในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ตอนบน รวมทั้งเมืองไซยา เพื่อนำมาใช้ในกิจการของราชสำนักสยาม และการซื้อหาผ้ายกมาไว้ในครอบครองในหมู่ชนชั้นสูงในสังคมไทยเมื่อครั้งอดีตนั้น ล้วนแต่เพื่อตอบสนองรูปแบบวัฒนธรรมการแต่งกายแบบสังคมเมืองหลวง ซึ่งได้สืบทอดปรัชญาแนวความคิดและประเพณีนิยมที่มีจุดกำเนิดมาจากสังคมยุคกรุงศรีอยุธยาแทบทั้งสิ้น สาเหตุที่ทำให้การทอผ้าโดยเฉพาะผ้ายกในบริเวณเมืองไซยา มีชื่อเสียงปรากฎโด่งดังขึ้นในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ศึกษาสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากได้รับการปรับปรุงและทำนุบำรุงส่งเสริมจากชนชั้นผู้ปกครอง เนื่องมาจากเป็นระยะเวลาที่มีปัจจัยและความพร้อมในหลายด้าน ประกอบด้วย
๑. บุคคลากรหรือช่างทอ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว โดยเฉพาะในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) จนระทั่งล่วงมาถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) สยามได้ทำศึกสงครามเพื่อปราบปรามหัวเมืองประเทศราชมลายูบ่อยครั้ง ในแต่ละคราวก็ได้กวาดต้อนอพยพโยกย้ายประชากรจากหัวเมืองเหล่านั้น ให้ไปตั้งถิ่นฐานในที่แห่งใหม่ เช่น ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หลังจากปราบปรามหัวเมืองมลายูแล้วสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาถ จึงดำรัสให้กวาดครอบครัวแขกเขลยที่ตีทัพจับได้ บรรทุกลงเรือรบกับทั้งทรัพย์สินสิ่งของเงินทองและเครื่องศัตรวุธต่าง ๆ ซึ่งได้ในการสงคราม และให้แบ่งครอบครัวแขกไว้สำหรับบ้านเมืองทุกเมือง และในปีพุทธศักราช ๒๓๖๔ เจ้าพระยานคร (น้อย) ขณะเป็นพระยาศรีธรรมโศกราช ตำแหน่งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ได้รับท้องตราจากพระนครให้นำทัพไปตีเมืองไทรบุรี เนื่องจากเจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแรงัน) เป็นไส้ศึกให้พม่า พระยานครฯ จึงยกกองทัพบก ทัพเรือ พร้อมด้วยกองทัพเมืองพัทลุง เมืองสงขลา ยกทางบกลงไปตีเมืองไทรบุรีพร้อมกันได้สู้รบกันเล็กน้อย กองทัพพระยานครฯ ตีเมืองไทรบุรีได้ ณ เดือน ๓ แรม ๘ ค่ำ ปีมะเส็ง ตรีศก จุลศักราช ๑๑๘๓ ต่อมาเจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) หนีไปอาศัยอังกฤษอยู่ที่เกาะหมาก พระยานครให้กองทัพเรือไปตีกาะลังกาวี ซึ่งเป็นเกาะใหญ่แขวงเมืองไทรบุรีด้วยอีกแห่ง เมื่อเสร็จศึกก็ได้กวาดครอบครัวแขกเมืองไทรบุรี เข้ามากรุงเทพฯ บ้าง เอาไว้มืองนครบ้าง และในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนั้น (ราวตันพุทธศตวรรษที่ ๒๔) ในราชสำนักของหัวเมืองมลายูทางตอนเหนือ คือไทรบุริ กสันตัน และตรังกานู ซึ่งมิฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราชของพระราชอาณาจักรสยาม มีความเป็นอยู่อย่างหรูหรา เจ้าผู้ครองนครทรงอุปถัมภ์และทำนุบำรุงศิลปะแขนงต่าง ๆ อาทิ งานช่างโลหะ งานช่างแกะสลัก และการทอผ้า เป็นต้น ดังนั้นในการกวาดครัวแขกมลายูแต่ละคราว จึงมีช่างฝีมือแขนงต่าง ๆ รวมทั้งช่างทอผ้าปะปนมาด้วย เมื่อช่างทอผ้าชาวมลายูซึ่งมีฝีมือในการทอผ้ายกได้เข้ามาอาศัย ณ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองไชยา และหัวเมืองอื่นในภาคใต้ตอนบน ช่างทอเหล่านั้นจึงได้รับหมอบหมายจากทางราชการให้เป็นผู้พอผ้ายกเพื่อใช้ในราชการ ตามความถนัดอันติดตัวมาแต่เดิมภายใต้การควบคุมของสยาม โดยมิต้องเสียเวลาในการเรียนรู้หรือฝึกสอนขึ้นใหม่ เมื่อสมทบเข้ากับช่างทอที่มีอยู่เดิม จึงส่งผลให้การทอผ้ายกในบริเวณภาคใต้ตอนบนในระยะเวลาดังกล่าวเฟื่องฟูอย่างมาก | ||
๒. เทศโนโลยีการทอ เมื่อทางราชการได้มอบหมายหน้าที่ให้ช่างทอผ้ายกชาวมลายู เข้ามาปฏิบัติงานสมทบกับช่างทอผ้าชาวสยาม จึงเกิดการศึกษาเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการทอผ้ายกให้แก่กัน ช่างทอชาวสยามได้เรียนรู้ทคนโลยีหลายประการจากช่างทอชาวมลายู ส่งผลให้เทคโนโลยีการทอผ้ายกในบริเวณภาคใต้ตอนบน มีลักษณะที่ใกล้เคียงและแสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์กันหลายประการกับกระบวนการทอผ้ายกในวัฒนธรรมมลายู ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีความสลับซับซ้อนและเอื้ออำนวยให้ทอผ้ายกได้วิจิตรพิสดารกว่าแต่ก่อน เช่น
|
ลักษณะพิเศษหรือเอกลักษณ์ของผ้ายกพุมเรียง ประกอบด้วย
ก. วัตถุดิบ
วัตถุดิบที่จำเป็นในการทอผ้ายก มีดังนี้
๑. เส้นไหมธรรมชาติ ในอดีตมักใช้ส้นไหมที่ผลิตเองภายในพระราชอาณาจักร แต่เนื่องจากภูมิอากาศของภาคใต้ไม่เหมาะสำหรับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เส้นไหมดิบส่วนใหญ่จึงเป็นไหมที่ผลิตจากภาจอีสาน ทั้งเส้นไหมจากภาคอีสานตอนบนซึ่งเรียกกันว่า "ไหมลาว" และเส้นไหมจากภาคอีสานตอนล่างซึ่งเรียกว่า "ไหมขอม" หรือ "ไหมเขมร" สำหรับไหมจากต่างประเทศซึ่งมีขนาดเล็กกว่า เช่น ไหมจีน แม้จะนำมาใช้ปนกันไปบ้างแต่ก็อยู่ในปริมาณที่ไม่มากนักเนื่องจากไหมจีนมีราศาสูงกว่า | |||
๒. เส้นไหมทองหรือไหมเงิน ใช้เป็นเส้นพุ่งพิเศษเพื่อให้เกิดลวดลายยกสูงขึ้นกว่าพื้นผ้า ในการทอผ้ายกทองหรือผ้ายกเงิน เกิดจากการนำเส้นทองคำ เส้นเงิน หรือเส้นโลหะอย่างอื่น มาดึงให้ได้เส้นเล็กบางแล้วนำไปปั่นหรือพันกับเส้นด้าย โดยใช้เส้นด้ายเป็นแกน แบ่งเป็นประเภทตามวัสดุที่ใช้ดังนี้
|
ค่าใช้จ่ายในการทอและวัตถุดิบที่จำเป็น เช่น เส้นไหมดิบ และเส้นไหมทอง สำหรับการทอผ้ายกตามคำสั่งของราชสำนัก ซึ่งทางราชสำนักเป็นผู้รับผิดชอบ มีทั้งกรณีที่ทางราชการจัดหาวัตถุดิบส่งมอบไปให้ และกรณีที่ให้เมืองนั้น ๆ จัดหาวัตถุดิบเอาเองโดยคิดเงินค่าใช้จ่ายจัดซื้อจากทางราชสำนัก มีเอกสารหลายฉบับที่กล่าวถึง
เรื่องนี้ สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงและยืนยันได้ เช่น หนังสือพระยาศรีสรราชภักดีมาถึงปลัดเมืองนครศรีธรรมราช ลงวันที่ตรงกับวันพฤหัสบดีขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ จุลศักราช ๑๒๒๐ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก (๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๐๓) มีเนื้อความตอนหนึ่งกล่าวว่า... ด้วยฯพณฯที่สมุหพระกระลาโหม มีพระประสาษสั่งว่า พระวิชิตรยะไต ให้นายหนูมหาดเล็ก บุตรฯพณฯผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช หลวงภักดีโยธากรมการ คุมผ้ายกทองครั้งโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ไหมทองออกไปทอได้ผ้ายกทองครั้งนี้ ผ้ายกทองพื้นแดง ๒ ผืน ผ้ายกทองพื้นม่วงผืน ๑ ผ้ายกทองพื้นน้ำเงินผืน ๑ ผ้ายกทองพื้นตองผืน ๑ รวม ๕ ผืน....ได้นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบไต้ฝ้าลอองแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานข้างในตรวจรับไว้... และหนังสือพระยาศรีเสาราชภักดีฯ มีถึงพระยาสงขลา พระยาไชยา และพระยาชุมพร ลงวันที่ตรงกับ
วันอังคาร ขึ้น ๓ ค่ำเดือน ๗ จุลศักราช ๑๒๒๒ ปีวอก โทศก (๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๐๓) มีเนื้อความตอนหนึ่งกล่าวว่า...มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ดำรัสว่าจะต้องพระราชประสงผ้าตาราชวัฒสำรับพระราชทาน พระบรมวงษษานุวงษ เจ้าตั้งกรมแล้วยังไม่ได้ตั้งกรม ข้างหน้าข้างในผ้านุ่ง ๕0 ผืน ผ้าห่ม ๑๐0 ผืน จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานจัดไหมขอมส่งออกมาเกนธอ... และสารตราท่านเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา มาถึงพระปลัด พระยกระบัด พระเสนหามนตรี ผู้ช่วยราชการกรมการ ผู้อยู่รักษาเมืองนครศรีธรรมราช ลงวันที่ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๓ ค่ำเดือน ๕ จุลศักราช ๑๒๓๔ ปีระกา จัตวาศก (๓๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๑๕) มีเนื้อความตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า....ด้วยมีพระราชโองการดำรัสเหนือเกล้าสั่งว่าต้องพระราชประสงค์ ผ้ายกทองนุ่งดวงเกล็ดพิมเสนฝีมือช่างเมืองนคร สำหรับพระราชทานพระบรมวงษานุวงษฝ่ายหน้า ฝ่ายในศรีต่างกัน ๒๔ ผืน ให้พระปลัด ยกระบัด พระเสนหามนตรี จัดซื้อไหมทองอย่างดี ให้ช่างย้อมศรีทำให้พินิศบันจงดี เงินค่าไหมทองคำจ้างทอนั้นให้หักเอาเงินอากรสุรา...
ลักษณะของลวดลาย
จากการศึกษาค้นว้าของผู้รู้เกี่ยวกับผ้า พบว่าผ้ายกที่ผลิตโดยหัวเมืองภาคใต้ตอนบน เพื่อนำมาใช้ในกิจการของราชสำนักสยามในสมัยนั้น มีรายละเอียดปลีกย่อยพอจะจำแนกออกเป็นกลุ่ม ได้ดังนี้
๑. ผ้ายกที่ทอสร้างลวดลายอย่างอิสระ ช่างทอสามารถสร้างลวดลายบนผืนผ้าด้วยการเสริมเส้นพิเศษได้อย่างอิสระ ไม่มีข้อจำกัดอันใดให้ต้องคำนึงถึงอีก ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่สร้างลวดลายด้วยการเสริมเส้นพุ่งพิเศษ ทั้งชนิดที่เสริมเข้าไปเป็นช่วงเป็นจังหวะ และชนิดที่เสริมเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปยาวต่อเนื่องกัน ลอดหน้าผ้า มีเพียงส่วนน้อยที่เสริมเส้นพิเศษเพื่อสร้างลวดลายทั้งเส้นยืนและเส้นพุ่ง |
๒. ผ้ายกที่ทอสร้างลวดลายด้วยการใช้รูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กประกอบกัน ผ้ายกชนิดนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ผ้ายกเจ็ดสี" เนื่องจากกรรมวิธีหลักในการสร้างลวดลายเกิดจากการทอเสริมเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปเป็นจังหวะและเป็นระยะ ทำให้ช่างทอสามารถลือกทอสอดเส้นไหมเข้าไปได้หลากสีสันตามต้องการ |
๓. ผ้ายกที่ทอสร้างสวดลายทับลงไปบนพื้นผ้าลายตาราง เป็นการทอเสริมเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปเพื่อสร้างลวดลายให้มีความสัมพันธ์กับพื้นผ้าลายตาราง ก่อให้เกิดเป็นผ้ายกที่มีลวดลายโดยรวมคล้ายกับตารางสี่เหลี่ยมแนวตะแคง ในทำนองเดียวกับรั้วราชวัตรกั้นขอบเขตมณฑลพิธีจึงมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ผ้ายกตาราชวัตร" |
ผ้ายกไหมตาราชวัตรโคมหรือราชวัตรดอกใหญ่ เชิงทองของโบราณอายุประมาณ ๑๒๐ ปี
ภาพจาก : https://drive.google.com/file/d/1CBKL2hbOpsg8Voi8RXeye5aYcaVZDi69/view
ผ้ายกลายราชวัตรโคมหรือลายราชวัตรดอกใหญ่ ตามแบบอย่างที่สืบทอดมาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ภาพจาก : https://drive.google.com/file/d/1CBKL2hbOpsg8Voi8RXeye5aYcaVZDi69/view
ผ้ายกลายราชวัตรโคมหรือผ้ายกลายราชวัตรตอกใหญ่ เป็นที่นิยมแพร่หลายและเป็นทักษะความชำนาญของช่างทอ ในพื้นที่สุราษฎร์ธานีสืบเนื่องมานานนับร้อยปี ดังปรากฎหลักฐานว่า เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๐๓ มีหนังสือจากราชสำนักแจ้งมายังพระยาไชยาว่า...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องพระราชประสงค์ผ้าราชวัตร สำหรับพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งข้างหน้าข้างใน จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานไหมและค่าแรงให้พระยาไขยาจัดการให้ช่างทอเมืองไขยา (ปัจจุบันคือ อำเภอไขยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ทอเข้าไปทูลเกล้าฯ ถวาย ณ กรุงเทพมหานคร... ผ้ายกลายราชวัตรโคมหรือผ้ายกลายราชวัตรดอกใหญ่ มีลักษณะโครงสร้างรวมอยู่ในรูปตารางสี่เหลี่ยมแนวตะแคงทำนองเดียวกับรั้วราชวัตรสำหรับกำหนดขอบเขตมณฑลพิธี จึงสื่อถึงความหมายมงคลเปรียบประดุจรั้วราชวัตร นำมาซึ่งคุณงามความดี สิริมงคล และช่วยปกปักรักษาผู้สวมใส่
การทอผ้ายกลายราชวัตรโคม
การทอผ้ายกลายราชวัตรโคมหรือลายราชวัตรดอกใหญ่ ตามแบบอย่างที่สืบทอดมาในจังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้น ทอด้วยเนื้อผ้า ๒ ตะกอ หรือผ้าลายขัด มีตะกอลายจำนวน ๕ ตับ โดยการจัดเตรียมเส้นยืนสีอ่อนสลับกับสีเข้ม เช่น ดำ-ขาว เขียว-เหลือง ชมพู-ม่วง เป็นต้น ในอัตราส่วน ๖ : ๒ เส้น ตัวอย่างเช่น หากต้องการทอผ้ายกไหมตาราชวัตรโคมให้ได้สีม่วงแกมชมพู ให้ใช้เส้นไหมยืนสีม่วง ๖ เส้น สลับกับเส้นไหมยืนสีชมพู ๒ เส้น ใช้เส้นไหมสำหรับเป็นเส้นพุ่งส่วนเนื้อผ้าสีม่วงและสีชมพูหรือแดงอ่อน เส้นไหมส่วนที่เป็นลายยกหรือเส้นพุ่งพิเศษให้ใช้สีชมพู โดยมีขั้นตอนการทอเริ่มจากทอตะกอตับที่ ๑ ดังนี้
๑. ทอเนื้อผ้าด้วยเส้นไหมพุ่งสีม่วง ๑ เส้น |
๒. ทอเส้นพุ่งพิเศษหรือลายยกสีชมพู ๑ เส้น |
๓. ทอเนื้อผ้าด้วยเส้นไหมพุ่งสีม่วง ๑ เส้น |
๔. ทอเส้นพุงพิเศษหรือลายยกสีชมพู ๑ เส้น |
๕. ทอเนื้อผ้าด้วยเส้นไหมพุ่งสีม่วง ๑ เส้น |
๖. ทอเนื้อผ้าด้วยเส้นไหมพุ่งสีชมพูหรือแดงอ่อน ๒ เส้น |
โดยการทำซ้ำตั้งแต่ ๑-๖ อีกครั้ง จึงเปลี่ยนไปทอตะกอตับที่ ๒ โดยทำแบบเดียวกับทอตะกอตับที่ ๑ ทอไปจนครบ ๕ ตับ จึงทวนกลับโดยการทอตะกอตับที่ ๔ ไปหาตะกอตับที่ ๑ จึงจะได้ลายราชวัตรครบเต็มโคม ๑ โคม ทำดังนี้ไปจนกระทั่งได้ผ้าที่มีความยาวตามต้องการ
ผังลายผ้ายกลายราชวัตรโคม หรือลายราชวัตรดอกใหญ่ ตามแบบอย่างที่สืบทอดมาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ภาพจาก : https://drive.google.com/file/d/1CBKL2hbOpsg8Voi8RXeye5aYcaVZDi69/view
โครงสร้างลายผ้าในรูปแบบราชวัตรหรือตารางสี่เหลี่ยมแนวตะแคง
ภาพจาก : https://drive.google.com/file/d/1CBKL2hbOpsg8Voi8RXeye5aYcaVZDi69/view
ลายราชวัตรโคมเป็นการสร้างสรรค์ลวดลายผ่านคติจักรวาลวิทยา ซึ่งสื่อความหมายถึงสัญลักษณ์แสดงรั้วรอบขอบเขตปริมณฑลเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นมโนทัศน์เกี่ยวกับเอกภพของมนุษย์และเป็นเรื่องของวัตถุกับจิตวิญญาณที่มีความสัมพันธ์กันโดยมีจินตภาพสมมติเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลางของโลก มียอดเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีพระอินทร์เป็นอธิบดีปกครองเทวดาทั้งหลายสวัสดิมงคลในลวดลายราชวัตรโคม ประดิษฐการจากกลุ่มคนในสังคมมีอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามสภาพวิถีชีวิต ความเชื่อ และบริบทในสังคม ซึ่งมีการสรรสร้างสืบทอดวัฒนธรรมของตนเองมาตั้งแต่อดีตผ่านแง่มุมต่าง ๆ ทางวัฒนธรรมซึ่งล้วนแต่มีคุณค่า การทอผ้าในพื้นถิ่นเมืองไขยาตั้งแต่อดีต เป็นงานหัตถศิลปัที่มีลักษณะเฉพาะตัวโดดเด่น มีการสร้างสรรค์ลวดลายคิดค้นจากคติความเชื่อและภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นศิลปะการออกแบบเชิงวัฒนธรรมด้านสิ่งทอของช่างทอที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน เป็นเครื่องสะท้อนวัฒนธรรมอันดีงามได้เป็นอย่างดี ลายราชวัตรโคมหรือลายราชวัตรดอกใหญ่ หรือตาราชวัตร เป็นลวดลายผ้ายกพุมเรียงเมืองไชยาที่มีมาแต่เดิม ปรากฎชื่อเรียกว่า "ราชวัต" "ราชวัฒ" หรือ "ราชวัตร" ก็มี เพราะในสมัยก่อนมีการสะกดตัวอักษรตามลักษณะสัทอักษรเป็นสัญกรณ์แทนเสียงการพูดจึงพบการเขียนที่แตกต่างกัน ซึ่งลายราชวัตรโคมนี้เป็นลวดลายที่ช่างทอผ้าประดิษฐการขึ้นตามรูปทรงเรขาคณิต มีลักษณะเป็นรูปทรงตารางสี่เหลี่ยมและใช้การย่อมุมประกอบ โดยเป็นการสร้างลวดลายให้มีความสัมพันธ์กันกับพื้นผ้าลายตาราง ทำให้มีบริบทของลวดลายคล้ายรูปตารางสี่เหลี่ยม อีกนัยหนึ่งคือเกิดจินตภาพประดุจเป็นรั้วราชวัตร อันเป็นแนวขอบเขตปริมณฑลของเขาพระสุเมรุ ซึ่งหากเขียนตามศัพท์โดยแปลความหมายจะใช้คำว่าราชวัติ แต่เนื่องด้วยเป็นการเรียกชื่อตามพื้นถิ่นของชาวบ้านที่เป็นช่างทอ จึงเรียกและเขียนตามความเข้าใจว่าราชวัตรในที่นี้มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าราชวัติ
ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัด ๗๖ จังหวัด. (2565, 15 ธันวาคม). ลายผ้าเอกสักษณ์ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผ้ายกลายราชวัตรโคม.
https://drive.google.com/file/d/1CBKL2hbOpsg8Voi8RXeye5aYcaVZDi69/view