อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
 
Back    23/03/2018, 11:39    20,447  

หมวดหมู่

จังหวัด


ประวัติความเป็นมา

ภาพสืบค้นจาก : https://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9600000075618

       เบตงมาจากคําภาษามลายูว่ามือตง แปลว่าไม้ไผ่ตงเป็น อําเภอชายแดนอยู่ทางใต้สุดของประเทศไทยอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดยะลา มีถนนสายเดียวติดต่อกับตัวจังหวัด แต่ความโค้งของถนนซึ่งทอดตัวไปกับไหล่เขานั้น คดไปคดมายิ่งกว่าถนนบนภูเขาพับผ้าระหว่างจังหวัดตรังและพัทลุง และถนนบนภูเขานางหงส์ระหว่างจังหวัดพังงาและภูเก็ต ด้วยเหตุนี้เองชาวเบตงสมัยก่อนนิยมเดินทางออกไปทางมาเลเซียไปปีนัง และสิงคโปร์มากกว่าที่จะไปทางจังหวัดยะลา เนื่องจากการคมนาคมติดต่อกับตัวจังหวัดไม่สะดวก และระยะทางไกล เบตงจึงมีลักษณะเป็นจังหวัดหนึ่งหน่วยราชการบางหน่วย อํานาจเท่ากับจังหวัด เช่น ศาลจังหวัดเบตง อัยการจังหวัด เบตง ด่านศุลกากร ตลอดจนถึงยานพาหนะ เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วใช้อักษรย่อว่า บ.ต. เบตงมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน ภูเขาสําคัญคือสันกาลาคีรี ซึ่งเริ่มต้นจากอําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ผ่านอําเภอยะหาเรื่อยมาจนถึงอําเภอเบตง นับเป็นสันเขาที่แบ่ง เขตระหว่างไทยและมาเลเซีย เนื่องจากเบตงรายล้อมด้วยภูเขา จึงทําให้ตัวอําเภออันเป็นที่อยู่อาศัยมีลักษณะเหมือนกันกะทะมองขึ้นไปเบื้องบนเห็นแต่ปราการธรรมชาติ อําเภอเบตงเดิมเรียกอําเภอยะรม ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ สมัยต้นรัตนโกสินทร์ เบตงขึ้นอยู่กับเมืองรามันอันเป็น ๑ ใน ๗ หัวเมืองที่แบ่งไปจากเมืองตานี เบตงสมัยนั้นแบ่งการ ปกครองออกเป็น ๕ ตําบล คือ ตําบลเบตง ตําบลยะรม ตําบลอิตํา ตําบลบาโลน ตําบลโกรเน ตําบลเซะหรือโกระ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๕๒ จากผลการปักปั่นเขตแดนระหว่างไทย กับสหพันธรัฐมลายาของอังกฤษเป็นเหตุให้ตาบลอิตํา ตําบล บาโลน ตําบลโกรเน และตําบลเซะหรือโกระ ไปขึ้นกับรัฐ เปรัคของมลายา หลังจากนั้นมาอีก ๑๑ ปี คือ พ.ศ. ๒๔๗๑ ที่ว่าการอําเภอเบตงได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่กําปงมัสยิด หมู่ที่ ๖ อันเป็นที่ตั้งที่ว่าการอําเภอเบตงปัจจุบัน ปัจจุบันอําเภอเบตงเป็นอ้าเภอหนึ่งของจังหวัดยะลา อยู่ติดกับมาเลเซียมีลักษณะเป็นหัวหอกเข้าไปในมาเลเซีย โดยทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตกและทิศใต้เป็นแผ่นดินมาเลเซีย 
          เบตงเป็นอำเภอ ๑ ในจำนวน ๘ อำเภอของจังหวัดยะลา เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศไทย ตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาสันกาลาคีรี มีเนื้อที่ประมาณ ๑,๓๒๘ ตารางกิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองยะลาประมาณ ๑๔๐ กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๑,๒๒๐ กิโลเมตร เบตงมีลักษณะหัวหอกที่ยื่นเข้าไปในประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย ทิศเหนือติดต่อกับอำเภอธารโต จังหวัดยะลา ทิศใต้และทิศตะวันตกติดประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย ทิศตะวันออกติดประเทศสหพันธรัฐมาเลเซียและจังหวัดนราธิวาส ลักษณะภูมิประเทศสภาพพื้นที่อำเบตงตั้งนั้นอยู่ในพื้นที่ราบสูง เนินเขา ลุ่มน้ำ สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย ๑,๙๐๐ ฟุต อำเภอเบตงตั้งอยู่ตามแนวเทือกเขาสันกาลาคีรีอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำปัตตานี มีการผสมผสานทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาและชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประมาณ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ศาสนาพุทธ ๔๘ เปอร์เซ็นต์ ศาสนาอื่น ๆ ๒ เปอร์เซ็นต์ ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีมีประเพณีและศิลปวัฒนธรรมของชาวไทยพุทธ ไทยอิสลาม และชาวไทยเชื้อสายจีนปรากฏอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีธรรมชาติที่สวยงามจึงทำให้อำเภอเบตงเป็นอำเภอที่มีนักท่องเที่ยวจากในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงทำให้มีอากาศดี และมีหมอกตลอดทั้งปี สมดังคำขวัญประจำอำเภอที่ว่า “เมืองในหมอก ดอกไม้งาม ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามชายแดน” คำว่าเบตงเป็นภาษามลายู คือ "Buluh Betong" หมายถึง "ไม้ไผ่ขนาดใหญ่" หรือไผ่ตง ซึ่งมีอยู่มากในท้องถิ่น  ชื่อเดิมของเบตง คือยะรม เป็นภาษามลายูมีความหมายว่า "เข็มเย็บผ้า" ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๓ อำเภอยะรมได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอเบตงในปัจจุบัน เบตงใช้ต้นไผ่เป็นสัญลักษณ์ของอำเภอ แต่เดิมนั้นเบตงเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของหัวเมืองมลายู ภายใต้การปกครองของไทยในสมัยอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งมีปรากฏหลักฐานในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายได้เกิดศึกครั้งใหญ่ขึ้นระหว่างไทยกับพม่า ไทยเสียกรุงครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๑๐) บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายและระส่ำระสายโจรผู้ร้ายชุกชุม ทำให้หัวเมืองต่าง ๆ คิดแข็งเมืองและตั้งตนเป็นอิสระ เมืองมลายูซึ่งเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น ได้รวมตัวกันตั้งเป็นรัฐอิสระโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปัตตานี ดังปรากฏหลักฐานร่องรอยและซากปรักหักพังของเมืองเก่าต่าง ๆ แถบลุ่มน้ำปัตตานี  เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) ได้ปราบปรามและรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในแถบมลายูกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของไทยอีกครั้ง และได้แบ่งหัวเมืองปัตตานีออกเป็น ๗ หัวเมือง ได้แก่ ปัตตานี ยะลา หนองจิก สายบุรี ยะหริ่ง ระแงะ และรามัน  (เมืองรามันคืออำเภอเบตง และอำเภอธารโตในปัจจุบัน) ครั้นถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) เกิดการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกและได้แผ่ขยายเข้ามาในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)  ได้โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองใหม่จากระบบหัวเมือง เป็นมณฑล เทศาภิบาล อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน เบตงจึงถูกยกฐานะเป็นอำเภอยะรม ประกอบด้วยตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอิตำ ตำบลโกรแน ตำบลบาโลม และตำบลเซะ และในวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ กรุงสยามกับอังกฤษได้ลงนามในสนธิสัญญาโอนรัฐกลันตัน ไทรบุรี ตรังกานู และเปอร์ริส ให้แก่อังกฤษ เหตุการณ์นี้อาจารย์เจริญ ตันมหาพราน นักประวัติศาสตร์ชุมชน กล่าวไว้ว่า ...กรุงสยามต้องเสียพื้นที่ให้อังกฤษไปประมาณ ๑๕,๐๐๐ ตารางไมล์ และพลเมืองกว่า ๕๐๐,๐๐๐ คน ทั้ง ๒ ประเทศได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันกัน ณ กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ โดยในสนธิสัญญาได้กำหนดให้มีการโอนดินแดนดังกล่าวให้เสร็จภายใน ๓๐ วัน นับหลังจากวันแลกเปลี่ยนสัตยาบันการเสียดินแดนแก่อังกฤษในครั้งนั้น ไทยยังต้องเสียดินแดนอีก ๔ ตำบล คือตำบลบาโลม ตำบลโกรแน ตำบลอิตำ และตำบลแซะหรือโกร๊ะของอำเภอยะรมไปด้วย เนื่องจากการปักปันเขตแดนมณฑลไทรบุรี ให้อังกฤษในสัญญาได้ถือเอาสันเขาหรือทางน้ำเป็นเส้นเขตแดน ซึ่งสันเขา หรือทางน้ำที่อ้างไว้ในสัญญาก็ล้วนเป็นสิ่งที่มิสเตอร์เบอร์คลี่ พนักงานที่ดินของอังกฤษสำรวจไว้ล่วงหน้า โดยที่ไทยขาดความชำนาญในเรื่องการสำรวจและการทำแผนที่ รู้แต่เพียงต้นเชือกกับปลายเชือกเท่านั้น ส่วนจะคดเคี้ยววกวนกินดินแดนไทยไปเท่าไรไม่รู้ เพราะระยะทางที่มีความยาวกว่า ๑,๐๐๐ กิโลเมตร ข้ามเขาลงห้วยผ่านไปในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งเจ้าพนักงานไทยยังไม่เคยสำรวจผ่านเส้นทางเส้นนี้เลย พอถึงเวลาจริงไทยเลยหมดโอกาสโต้แย้งหรือคัดค้านใด ๆ ทั้งสิ้น... ผลจากการปักเขตแดนซึ่งไทยต้องเสียพื้นที่ในอำเภอยะรมให้แก่อังกฤษไป ๔ ตำบล ดังที่กล่าวไปแล้วในข้างต้น ทำให้พระพิชิตบัญชาการ นายอำเภอยะรมสมัยนั้นได้ย้ายสถานที่ตั้งอำเภอจากหมู่ที่ ๑ บ้านฮางุด ตำบลเบตง มาตั้งที่หมู่ที่ ๖ บ้านกำปงมัสยิด ในตำบลเดียวกัน เนื่องจากท้องที่ยะรมอยู่ห่างความเจริญ การคมนาคมไม่สะดวก จึงได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอระยมมาเป็นอำเภอเบตง โดยแบ่งเขตการปกครองใหม่เป็น ๔ ตำบล คือตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอัยเยอร์เวง และตำบลตาเนาะแมเราะ  ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ พระพิชิตบัญชาการ นายอำเภอยะรมในสมัยนั้น ได้ย้ายที่ทำการอำเภอซึ่งจากเดิมตั้งอยู่ที่บ้านฮางุด หมู่ที่ ๑ ตำบลเบตง มาที่บ้านกำปงมัสยิด หมู่ที่ ๖ และเปลี่ยนชื่อจากอำเภอยะรม เป็นอำเภอเบตง  และแบ่งเขตการปกครองใหม่เป็น ๔ ตำบล คือตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอัยเยอร์เวง และตำบลตาเนาะแมเราะ ในปัจจุบันเพิ่มเขตการปกครองอีก ๑ ตำบล คือตำบลธารน้ำทิพย์ ในปี ๒๔๗๖ วันที่ ๒๘ ตุลาคม มีเหตุการณ์การประท้วงเรียกร้องให้รวมดินแดนอำเภอเบตงไปขึ้นกับสหพันธรัฐมลายูของอังกฤษ โดยมีนายลู่ เง็กซี่เป็นหัวหน้ากลุ่มแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เบตงเคยเป็นดินแดนที่โจรคอมมิวนิสต์มลายา (จคม.) ใช้เป็นฐานปฏิบัติการสมัยที่สหพันธรัฐมลายูตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ และต่อมาในปี ๒๕๓๒ พรรคคอมมิวนิสต์มลายาได้กลับใจเข้าร่วมเพื่อพัฒนาชาติไทย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของประชากรไทยในปัจจุบัน

พัฒนาการของเบตง

       ยุคสมัยอาณาจักร

    จากประวัติศาสตร์เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๗ พื้นที่ของเบตงเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรลังกาสุกะ โดยมีอาณาเขตปกครองกว้างขวางครอบคลุมคาบสมุทรมลายูตอนล่างทั้งหมด โดยพัฒนามาจากเมืองท่าเล็ก ๆ ของชาวพื้นเมืองจนเติบโตเป็นรัฐและมีฐานะเป็นอาณาจักร จนกระทั่งสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๔-ถึง ๑๕ อาณาจักรลังกาสุกะ ได้ตกอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรศรีวิชัย โดยเชื่อว่าอาณาจักรศรีวิชัยน่าจะมีอำนาจที่แผ่กว้างไพศาลมากในสมัยนั้น มีอาณาเขตครอบคลุมไปถึงช่องแคบมะละกา ชวา สุมาตรา แหลมมลายู และหัวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ภาคใต้ของประเทศไทยในปัจจุบัน ต่อมาราว ๆ พุทธศตวรรษที่ ๑๙ อาณาจักรศรีวิชัยที่เจริญรุ่งเรืองในบริเวณแหลมมลายูได้เสื่อมอำนาจลง และเกิดอาณาจักรใหม่ คืออาณาจักรมัชฌาปาหิต (ชวา) ซึ่งมีอำนาจอยู่ในเกาะชวา หรืออินโดนีเซีย ได้ขยายอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลเข้ามาครอบครองดินแดนสุมาตรา และบางส่วนของคาบสมุทรมลายู ทำให้อาณาจักรศรีวิชัยล่มสลายไปในที่สุด และในขณะนั้นอาณาจักรสุโขทัยของไทยได้เจริญรุ่งเรื่องและแผ่ขยายอำนาจลงมายังเมืองไชยา เมืองตามพรลิงก์ และหัวเมืองมลายู โดยผูกสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าศรีธรรมโศกราช โดยแต่งตั้งให้ดูแลหัวเมืองแหลมมลายู เมื่ออาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจลงเกิดอาณาจักรอยุธยา บรรดาหัวเมืองมลายู ก็ตกเป็นประเทศราชต่ออาณาจักรอยุธยาต่อมา อำเภอเบตงในขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของหัวเมืองปัตตานี เมื่ออาณาจักรอยุธยาอ่อนแอลง ทำให้หัวเมืองมลายูทั้ง ๔ แข็งข้อและตั้งตนเป็นรัฐอิสระมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ปัตตานี จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) ทรงปราบปรามและรวบรวมหัวเมืองมลายูกลับมาเป็นเมืองประเทศราชของไทยอีกครั้ง จนถึงรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) สถานการณ์หัวเมืองมลายูเกิดความไม่สงบอยู่บ่อยครั้ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาอภัยสงครามและพระยาสงขลา ลงไปผู้กำกับดูแลหัวเมืองมลายูและได้แบ่งเมืองปัตตานีออกเป็นเมืองย่อย ๗ หัวเมือง ได้แก่เมืองปัตตานี เมืองยะหริ่ง เมืองสายบุรี เมืองหนองจิก เมืองระแงะ เมืองยะลา และเมืองรามัน (เบตงขึ้นอยู่กับเมืองรามัน)

       ยุคเบตงในอดีต

   ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์ โดยทรงปรับปรุงเปลี่ยนระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ เรียกว่า "พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องถิ่น ร.ศ. ๑๑๖" และได้นำมาใช้กับ ๗  หัวเมืองภาคใต้ โดยเรียกว่า "ข้อบังคับสำหรับ ปกครอง ๗ หัวเมือง ร.ศ. ๑๒๐" โดยแบ่งการปกครองออกเป็นมณฑลเทศาภิบาล มีตำแหน่งพระยาเมือง (เจ้าเมือง) ปลัดเมือง, ยกกระบัตรเมือง, โดยทั้งหมดขึ้นตรงต่อข้าหลวง ในภาคใต้แบ่งออกเป็น ๔ มณฑล ขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ดูแล อยู่ในปกครองของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑล ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๙ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งหัวเมืองที่ขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราชทั้ง ๗ หัวเมือง ตั้งเป็นมณฑลปัตตานี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองและได้ตราพระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช ๒๔๗๖ ขึ้น ยุบมณฑลปัตตานีและได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดคือปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จนถึงปัจจุบัน  

       ยุคอำเภอเบตง

    ในส่วนของอำเภอเบตงนั้นแรกเริ่มได้ตั้งขึ้นเป็นอำเภอชื่อว่าอำเภอยะรม (ตั้งอยู่ที่บ้านฮางุด หมูที่ ๑ ตำบลเบตง) แบ่งการปกครองออกเป็น ๖ ตำบล คือตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอิตำ ตำบลโกรเน ตำบลบาโลน และตำบลเซะหรือโกร๊ะต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ผลจากการปักปันแดนระหว่างไทยกับสหพันธรัฐมลายู (อาณานิคมของอังกฤษ) เป็นเหตุให้ตำบลอิตำ ตำบลโกรเน ตำบลบาโลน และตำบลเซะหรือโกร๊ะ รวม ๔ ตำบล ถูกตัดออกจากอำเภยะรม ไปรวมอยู่กับรัฐเปรัคของสหพันธรัฐมลายู อำเภอยะรมจึงเหลือการปกครองอยู่เพียง ๒ ตำบล คือตำบลเบตงและตำบลยะรม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ได้จัดตั้งเขตการปกครองใหม่ขึ้นคือตำบลอัยเยอร์เวงและในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ จัดตั้งเขตการปกครองตำบลฮาลาขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ สมัยที่พระพิชิตบัญชาการเป็นนายอำเภอ ได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการจากบ้านฮางุด หมู่ที่ ๑ ตำบลเบตง มาตั้งอยู่ที่บ้านกำปงมัสยิด หมู่ที่ ๖  และได้เปลี่ยนชื่ออำเภอจาก "อำเภอยะรม" เป็น “อำเภอเบตง” ในวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ เกิดการประท้วงนำโดยนายลู่ เง็กซี่ โดยเรียกร้องให้อำเภอเบตงรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซียแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้จัดตั้งตำบลตาเนาะแมเราะ และในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้ยุบตำบลฮาลาไปรวมกับตำบลอัยเยอร์เวง รวมทั้งได้ประกาศตั้งเทศบาลตำบลเบตง โดยครอบคลุมพื้นที่ตำบลเบตงทั้งหมด ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๗ กระทรวงมหาดไทยประกาศจัดตั้งตำบลธารน้ำทิพย์ ทำให้อำเภอเบตงมีการปกครองเป็น ๕ ตำบล ประกอบด้วยตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอัยเยอร์เวง ตำบลตาเนาะแมเราะ และตำบลธารน้ำทิพย์ จนถึงปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภออีกครั้งมาตั้ง ณ อยู่ที่ปัจจุบัน โดยมีนายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานเปิดอาคารหลังใหม่ การเดินทางมาเบตงโดยรถยนต์ใช้เส้นทางจากอำเภอเมือง จังหวัดยะลา มุ่งหน้าสู่อำเภอเบตง ระยะทาง ๑๒๑ กิโลเมตร 


ความสำคัญ

   เบตงเป็นอำเภอขนาดใหญ่ในจังหวัดยะลาและเป็นอำเภอที่อยูใต้สุดสยาม ตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๑ คำว่า "เบตง" (Betong) มาจากภาษามลายูว่า "Buluh Betong" หมายถึง ไม้ไผ่ หรือไผ่ตง อำเภอเบตงตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองยะลาไปประมาณ ๑๔๐ กิโลเมตร หากเปรียบแผ่นดินภาคใต้เป็นอาวุธเบตงก็ไม่ต่างกับใบหอกที่พุ่งปักเข้าไปในพื้นที่ของสหพันธรัฐมาเลเซีย เพราะถูกล้อมรอบด้วยเขตแดนของมาเลเซียถึง ๓ ด้าน คือ      

       ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอธารโต
       ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอจะแนะ (จังหวัดนราธิวาส) และรัฐเประ (ประเทศมาเลเซีย)
       ทิศใต้ ติดต่อกับรัฐเประ (ประเทศมาเลเซีย)
       ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐเกดะห์ (ประเทศมาเลเซีย)

   อำเภอเบตงขึ้นอยู่กับเมืองรามันซึ่งเป็น ๑ ใน ๗ หัวเมืองของมณฑลปัตตานี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ตั้งขึ้นเป็นอำเภอ ชื่อว่าอำเภอยะรม (ตั้งอยู่บ้านฮางุด หมู่ที่ ๑ ตำบลเบตง) แบ่งการปกครองออกเป็น ๖ ตำบล คือตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอิตำ ตำบลโกรเน ตำบลบาโลน และตำบลเซะ (โกร๊ะ) ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ จากผลการปักปันแดนระหว่างไทยกับมลายา (อาณานิคมของอังกฤษ) เป็นเหตุให้ตำบลอิตำ ตำบลโกรเน ตำบลบาโลนและตำบลเซะ (โกร๊ะ) รวม ๔ ตำบล ถูกตัดออกจากอำเภยะรมไปรวมอยู่กับรัฐเประของประเทศมาเลเซีย อำเภอยะรมจึงเหลือการปกครองอยู่เพียง ๒ ตำบล คือตำบลเบตงและตำบลยะรม ต่อมาได้มีการจัดตั้งตำบลอัยเยอร์เวงและตำบลฮาลา ซึ่งจากหลักฐานปรากฏว่ามีตำบลอัยเยอร์เวงในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ และมีตำบลฮาลาในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ต่อมาอีก ๒๑ ปี คือปี พ.ศ. ๒๔๗๓ สมัยที่พระพิชิตบัญชาการเป็นนายอำเภอ ได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอจากบ้านฮางุด หมู่ที่ ๑ ตำบลเบตง มาตั้งอยู่ที่บ้านกำปงมัสยิด หมู่ที่ ๖ ตำบลเบตง พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อจาก "อำเภอยะรม" เป็น อำเภอเบตง ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๗ กระทรวงมหาดไทยประกาศตั้งตำบลธารน้ำทิพย์ ทำให้อำเภอเบตงมีการปกครองรวม ๕ ตำบล คือตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอัยเยอร์เวง ตำบลตาเนาะแมเราะ และตำบลธารน้ำทิพย์ จนถึงปัจจุบัน ต่อมาได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภออีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในขณะนั้นมาเป็นประธานเปิดอาคารหลังใหม่ 

ภาพสืบค้นจาก : https://sites.google.com/site/beikfabetongtisuddansiam/calendar

แหล่งท่องเที่ยว

       อำเภอเบตงมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอยู่หลายแห่ง โดยสามารถแบ่งแหล่งท่องเที่ยวได้เป็น ๒ กลุ่ม คือกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวในเมืองเบตง กลุ่มที่ ๒ คือแหล่งท่องเที่ยวบริเวณนอกเมืองเบตง

       แหล่งท่องเที่ยวในมืองเบตง

       ๑. ตัวเมืองเบตง

   เมืองเบตงประกอบด้วยตัวอาคารบ้านเรือน ที่มีสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณควรค่าแก่การอนุรักษ์ ที่ตั้งของเมืองเบตงตั้งอยู่กลางหุบเขาจึงทำให้มีอากาศดี มีหมอกในยามเช้า และจุดที่น่าสนใจในยามเย็นคือ ฝูงนกนางแอ่นนับหมื่นตัวที่อพยพมาจากไซบีเรีย เกาะอยู่ตามอาคารบ้านเรือน และบนสายไฟฟ้าใจกลางเมือง

        ๒. หอนาฬิกาเมืองเบตง 

      หอนาฬิกาเป็นสิ่งก่อสร้างอันเก่าแก่ที่อยู่เคียงคู่กับเมืองเบตงมายาวนาน เปรียบเป็นสัญลักษณ์ที่ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของเมือง ทำการก่อสร้างด้วยหินอ่อน ในยามเย็นจะเห็นฝูงนกนางแอ่นนับหมื่นตัวมาเกาะอยู่รอบ ๆ สายไฟบริเวณหอนาฬิกาจนกลายมาเป็นสัญลักษณ์คู่หอนาฬิกา


ภาพจาก : okeybetong.blogspot.com/2016/01/blog-post.html

        ๓. ตู้ไปรษณีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

         ไปรษณีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นตู้ไปรษณีย์รูปทรงกระบอกสีแดงสดสร้างเป็นแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยนายกเทศมนตรีอำเภอเบตงในขณะนั้น คือนายสงวน จิระจินดา ซึ่งเคยเป็นนายไปรษณีย์มาก่อนมีเส้นรอบวงของตัวตู้ประมาณ  ๑๔๐ เซนติเมตร  ตู้มีความสูงถึง  ๒๙๐ เซนติเมตร ถ้านับจากฐานขึ้นไปรวมความสูงทั้งหมดประมาณ ๓๒๐ เซนติเมตร สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๗ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีอายุร่วม  ๘๐ ปี เพื่อรองรับจดหมายและเพื่อกระจายข่าวสาร และยังได้ติดตั้งวิทยุกระจายเสียงไว้ในส่วนบนของตู้เพื่อให้ประชาชนรับฟังข่าวสารจากทางราชการอีกด้วย ปัจจุบันตู้ไปรษณีย์ใบนี้ก็ยังใช้งานอยู่พร้อมบริการรับจดหมายเหมือนตู้ไปรษณีย์ทั่ว ๆ ไป ปัจจุบันมีการจำลองตู้ไปรษณีย์ขนาดใหญ่กว่าเดิมถึง  ๓.๕  เท่า  ตั้งอยู่ในบริเวณสวนมหาดไทย  ศาลาประชาคม และถือเป็นตู้ไปรษณีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้

นายสงวน จิรจินดา ผู้สร้างตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในโลก
(ภาพสืบค้นจาก : http://oknation.nationtv.tv/blog/tourrattanakosin/2013/01/04/entry-1)

        ๔. อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ 

       อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ ตั้งอยู่ ณ บริเวณถนนอมรฤทธิ์ ตัดกับถนนภักดีดำรงผ่านสวนสาธารณะออกสู่ถนน บริเวณหน้าสวนนก เชื่อมต่อกับถนนมงคลประจักษ์ ทะลุไปสู่ชุมชนเมืองใหม่หมู่บ้านแกรนด์วิว และเชื่อมต่อกับถนนอัยเยอร์เบอร์จัง ไปสู่ชุมชนธารน้ำทิพย์อีกทอดหนึ่ง เป็นอุโมงค์รถยนต์ลอดภูเขาแห่งแรกของเมืองไทย ที่ขุดทอดโค้งให้รถวิ่งไปมา อุโมงค์ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความยาวตลอดอุโมงค์ ประมาณ ๒๗๓ เมตร กว้าง ๙ เมตร สูง ๗ เมตร ผิวจราจรคู่ กว้าง ๗ เมตร ทางเท้าเดินกว้างข้างละ ๑ เมตร ความเร็วรถสามารถวิ่งได้ ๖๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๔ อุโมงค์นี้สร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาในการขนส่งระหว่างชุมชนเมืองในปัจจุบันกับชุมชนเมืองใหม่ ซึ่งภายในอุโมงค์มีการติดไฟที่สวยงามจากต้นอุโมงค์จนถึงปลายอุโมงค์

       ๕. วัดพุทธาธิวาส 

       วัดพุทธาธิวาส ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเบตงมีบรรยากาศร่มรื่นทัศนียภาพงดงามประกอบด้วยสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นเป็นสง่า อาทิ พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรม ซึ่งเป็นศิลปกรรมแบบศรีวิชัยประยุกต์สวยงามมาก โดยในองค์มหาธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มหาธาตุเจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นจากความคิดและการดำเนินการของอดีตประธานศาลฎีกา นายสวัสดิ์ โชติพานิช เพื่อเฉลิมฉลองและถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานนามและเสด็จทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบนยอดฉัตร เมื่อวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๓๖ โดยองค์เจดีย์ตั้งอยู่บนเนินเขา ตลอดถึงพระพุทธธรรมกายมงคลประยุรเกศานนท์สุพพิธาน เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ มีหน้าตักกว้าง ๙.๙๙ เมตร สูง ๑๔.๒๙  เมตร มีน้ำหนักประมาณ ๔๐ ตัน ซึ่งชาวอำเภอเบตงได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างขึ้นเป็นปูชนียสถานที่สำคัญของเบตง วัดพุทธาธิวาสได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ โดยมีคณะผู้เริ่มดำเนินการ คือพระพิทักษ์ธานี (เล็ก), นายอำเภอเบตงในสมัยนั้น, นายพุ่ม คชฤทธิ์, นายกิมซุ้ย ฟุ้งเสถียร และนายผล สุภาพ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๐ วัดพุทธาธิวาส ตั้งอยู่เลขที่ ๖๕ ถนนรัฐกิจ หมู่ที่ ๑ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นเนินเขาสูงเอียงลาดลงไปทางทิศเหนือ จัดแบ่งพื้นที่วัดออกเป็นชั้นรวม ๕ ชั้น 

พระพุทธธรรมกายมงคลประยุรเกศานนท์สุพพิธาน

พระประธานในอุโบสถ

วิหารพ่อท่านคล้าย

        ๖. มัสยิดกลางเบตง 

    มัสยิดกลางเบตงตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองเบตง เป็นศูนย์รวมของพี่น้องชาวมุสลิม ในอดีตมัสยิดกลางเบตงเป็นอาคารไม้ยกพื้นชั้นเดียว ต่อมาจงได้ย้ายมาตั้งที่หมู่บ้านเบตงกลาง ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสุขยางค์ตรงข้ามสำนักงานอัยการจังหวัดเบตง ซึ่งเป็นที่ดินที่บริจาคมีจำนวนหลายไร่ ภายในบริเวณมัสยิดจะเปิดเป็นโรงเรียนปอเน๊าะ (กระท่อมเล็ก ๆ ปลุกรอบ ๆ บ้านโต๊ะครูพักอยู่ประจำระหว่างเล่าเรียน) มีนายหะยียะโกบ ดาเดะ ทำหน้าที่เป็นอิหม่าม แทนอิหม่ามคนเดิม คือหะยี ดาวูด บือนา

        ๗. วัดกวนอิม 

       วัดกวนอิมเป็นสถานที่ตั้งศาลเจ้าอันเป็นที่ประดิษฐานของเทพสำคัญ ๆ หลายองค์ อาทิ เจ้าแม่กวนอิม ท่านแป๊ะกง ท่านกวงกง เจ้าแม่จิวหวังเหย่ ยี่หวังต้าตี้ หว่าโก่วเซียนชื่อ ขงจื้อ เป็นต้น วัดตั้งอยู่บนเนินเขาสามารถมองเห็นทัศนียภาพอันงดงามของเมืองเบตงได้ มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและมาเลเซียที่เลื่อมใสศรัทธาเดินทางมาสักการะขอพรเป็นจำนวนมาก ภายในวัดยังมีสถาปัตยกรรมของเจดีย์ ๗ ชั้นที่สวยงาม  

        ๘. บริเวณด่านพรมแดน

       บริเวณด่านพรมแดนเบตงจะมีป้าย “ใต้สุดสยาม” ซึ่งเป็นแลนมาร์คแห่งหนึ่งของอำเภอเบตง และนอกจากนี้ยังมีกำแพงกั้นระหว่างไทยและมาเลเซียซึ่งเป็นกำแพงปูนมีความสูงประมาณ ๒ ถึง ๓ เมตร เลียบถนนชายแดนไทยมาเลเซียซึ่งเป็นเส้นทางที่มีความสวยงามเส้นทางหนึ่ง

 

แหล่งท่องเที่ยวในนอกเมืองเบตง

        ๑. บ่อน้ำพุร้อนเบตง 

      บ่อน้ำพุร้อนเบตง เป็นบ่อน้ำร้อนที่ประกอบไปด้วยแร่ธาตุมากมายหลายชนิด อาณาบริเวณของน้ำตกมีประมาณ ๓ ไร่ ตั้งอยู่ในหมู่บ้านบ่อน้ำร้อน ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ห่างจากตัวเมืองเบตงไปทางเส้นทางหมายเลข ๔๑๐ (ยะลา-เบตง) ประมาณกิโลเมตรที่ ๔ และแยกเข้าไปตามเส้นทางแอลฟัลท์คอนกรีตอีกเกือบ ๗ กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร เป็นเส้นทางสัญจรที่มีความสะดวกและปลอดภัยเป็นอย่างมาก บ่อน้ำพุร้อนจะมีน้ำร้อนผุดขึ้นมาจากใต้ดิน อุณหภูมิของน้ำประมาณ ๘๐ องศาเซลเซียส สามารถลวกไข่ให้สุกภายใน ๑๐ นาที และมีสระน้ำขนาดใหญ่ไว้กักน้ำจากน้ำพุร้อนเพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ใช้อาบและแช่เท้าเล่น ซึ่งเชื่อว่าน้ำแร่ในน้ำพุร้อนสามารถรักษาโรคภัยได้เป็นอย่างดี เช่น โรคผิวหนัง โรคปวดเมื่อย โรคเหน็บชา เป็นต้น 

ภาพสืบค้นจาก : http://thailandtopvote.com/บ่อน้ำร้อนเบตง/

        ๒. น้ำตกอินทรศร

      น้ำตกอินทรศร เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สายน้ำตกเกิดจากป่าบาลาที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่ปกคลุมอยู่บนภูเขาจากภูเขารอบ ๆ มีแอ่งน้ำสำหรับลงเล่นน้ำท่ามกลางป่าเขียวขจีที่มีอยู่โดยรอบมีลักษณะร่มรื่น สามารถว่ายน้ำเล่นและพักผ่อนได้เป็นอย่างดี น้ำตกอยู่ถัดจากบ่อน้ำร้อนเบตงไปทางหมู่บ้าน ปิยะมิตร ๑ ประมาณ ๓.๗ กิโลเมตร    

        ๓. อุโมงค์ปิยะมิตร

      อุโมงค์ปิยะมิตร ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านปิยะมิตร ๑ ตำบลตะเนาะแมเราะ เป็นอุโมงค์ดินที่อดีตขบวนการโจรคอมมิวนิสต์มาลายา (จคม.) สร้างขึ้นบนเนินเขาในป่าทึบ สำหรับเป็นฐานปฏิบัติการต่อสู้ทางการเมือง ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งอุโมงค์มีลักษณะคดเคี้ยวเข้าไปในภูเขายาวประมาณ ๑ กิโลเมตร ลึก ๕๐-๖๐ ฟุต และมีทางออก ๖ ทาง ใช้เวลาขุดประมาณ ๓ เดือน ใช้เป็นที่หลบภัยทางอากาศ และสะสมเสบียงอาหาร อุโมงค์มีความน่าทึ่งมากเพราะขุดเจาะโดยฝีมือของโจรคอมมิวนิสต์มาลายา (จคม.) หรือผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ถึง ๒๕๒๐ อยู่บนเนินเขาปกคลุมด้วยป่าทึบบริเวณตะเข็บแนวชายแดนไทยและมาเลเซีย มีความยาวประมาณ ๑ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๕ ถึง ๖ ฟุต ใช้กำลังขุดประมาณ ๕๐ คน ใช้เวลาประมาณ ๓ เดือน มีทางเข้าและออก ๙ ทาง ปัจจุบันเหลือเพียง ๖ ทาง ภายในมีสถานีวิทยุของโจรคอมมิวนิสต์มาลายา (จคม.) ห้องนอน ห้องเก็บเสบียง มีซอกมีมุมให้เลี้ยวลัดเลาะ ด้านบนเป็นป่ารกมีต้นไม้ใหญ่มากมายปกคลุม ยากแก่การค้นหาและถูกค้นพบโดยทหารฝ่ายรัฐบาล ตลอดอุโมงค์จะพบเห็นร่องรอยของการดำเนินชีวิตที่ยังคงหลงเหลืออยู่ เช่น ห้องนอนที่มีเตียงดิน ก่อติดกับผนัง อุปกรณ์ในการสู้รบ และเครื่องไม้เครื่องมือในการเดินป่า รวมทั้งห้องบัญชาการรบ ซึ่งจุคนได้ถึง ๒๐๐ คน บริเวณภายนอกอุโมงค์ซึ่งเคยเป็นลานกว้างสำหรับฝึกกำลังพล มีการจัดนิทรรศการสำหรับให้ความรู้นักท่องเที่ยวด้วย  ปัจจุบันชาวหมู่บ้านปิยะมิตร ๑ และ ๒ ผู้ที่เคยเข้าร่วมขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายาในอดีต ได้หันกลับมาเข้าร่วมพัฒนาชาติไทย ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเข้าร่วมโครงการปลูกไม้ดอกเมืองหนาว ในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เพื่อส่งเสริมรายได้อีกทางหนึ่งได้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว เปิดบริการให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๘.๐๐ ถึง ๑๖.๓๐ น. การท่องเที่ยวอุโมงค์ใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง มีการติดตั้งไฟฟ้าตลอดแนวอุโมงค์ อากาศภายในเย็นสบายไม่อึดอัด บริเวณทางเข้าสองข้างทางเต็มไปด้วยพรรณไม้นานาพันธุ์ และมีแอ่งน้ำที่ไหลมาจากภูเขาทำให้เกิดความร่มรื่นมาก ด้านนอกอุโมงค์ซึ่งเคยเป็นลานฝึกทหารจัดให้มีนิทรรศการแสดงภาพและเรื่องราวประวัติศาสตร์รวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตในป่านอกจากนี้ ยังมีเห็ดและยาสมุนไพรจากป่าจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว

 

 

        ๔. สวนดอกไม้เมืองหนาว 

        สวนไม้ดอกเมืองหนาวหรือเรียกว่า "สวนหมื่นบุปผา" เป็นสวนดอกไม้เมืองหนาวแห่งเดียวในภาคใต้ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณหมู่บ้านปิยะมิตรสวนไม้ดอกเมืองหนาว ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านปิยะมิตร ๒ ซึ่งเดิมเคยเป็นหมู่บ้านของโจรคอมมิวนิสต์มาลายา (จคม.) หรือผู้ที่เข้าร่วมพัฒนาชาติไทยเมื่อครั้งอดีต ปัจจุบันหมู่บ้านปิยะมิตรยังอยู่เป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำให้กับบรรพชนรุ่นหลังที่อาศัยอยู่ ณ ที่นี้ อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของชาวหมู่บ้านปิยะมิตร และโครงการปลูกดอกไม้เมืองหนาวสวนดอกไม้เมืองหนาว พื้นที่ตั้งอยู่บนเขา อากาศเย็นสบาย มีแปลงทดลองปลูกไม้ดอกหลายประเภท เช่น ดอกฮอลีฮ้อค ดอกแอสเตอร์ ซึ่งมีสีสันสวยงาม เป็นโครงการส่งเสริมรายได้ให้กับชาวหมู่บ้านปิยะมิตรอีกทางหนึ่ง ความงดงามของไม้ดอกนานาพันธุ์ที่ถูกบรรจงปลูกเป็นทิวแถว บานสะพรั่งอยู่ทั่วเนินเขาที่ห้อมล้อมด้วยหุบเขาสูงในสภาพภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นที่อื่นของภาคใต้โครงการไม้ดอกเมืองหนาวอันเนื่องมาจากพระราชดำริอำเภอเบตง จังหวัดยะลา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีได้ทรงอักษรจีนพระราชทานนามสวนแห่งนี้ว่า "ว่านฮัวหยวน" หรือแปลเป็นไทยว่า "สวนหมื่นบุปผา"  สวนแห่งนี้มีพื้นที่กว่า ๓๕ ไร่ ความสูงประมาณ ๘๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ ๑๘ องศาเซลเซียส มีที่พักสำหรับบริการนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปเยี่ยมชม 

        ๕. พิพิธภัณฑ์หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๐ (เบตง)

      พิพิธภัณฑ์หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๐ (เบตง) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นเพื่อจัดเก็บรวบรวมวัสดุสิ่งของที่อดีตขบวนการโจรคอมมิวนิสต์มาลายา (จคม.) ใช้ในอดีต ตลอดถึงประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งขบวนการโจรคอมมิวนิสต์มาลายา (จคม.) ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา นอกจากนี้ยังมีต้นไม้ยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ (ต้นสมพงษ์) พิพิธภัณฑ์หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๐ (เบตง) เป็นศูนย์เรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ จัดสร้างเพื่อเพื่อรำลึกถึงการลงนามสัญญาสันติภาพ ๓ ฝ่าย คือไทย-มาเลเซีย-และสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ภายในอาคารได้จัดแสดงอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ของโจรคอมมิวนิสต์มาลายา (จคม.) ภาพถ่าย และเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการก่อตั้งกองทัพประชาชนมาลายา การใช้ชีวิตอยู่ในป่าที่มีแนวคิดอุดมการณ์ร่วมกัน 

ภาพสืบค้นจาก : http://panpanisara.blogspot.com/2016/09/10-museum-of-chulabhorn-pattana-village.html

        ๖. ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง 

    ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง หรือทะเลหมอกที่เขาไมโครเวฟบนเทือกเขาสันกาลาคีรี ตำบลอัยเยอร์เวง จุดชมวิวอยู่เขาไมโครเวฟจะมีทะเลหมอกให้ชมในทุก ๆ เช้า ทะเลหมอกจะมีตั้งแต่ช่วงเช้ามืดไปจนถึงช่วงสาย ๆ ประมาณ ๑๐.๐๐ น. หากสภาพอากาศมีฝนตกก็จะยืดระยะเวลาของทะเลหมอกดังกล่าวให้นานยิ่งขึ้น ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง" หรือ "ทะเลหมอกเขาไมโครเวฟ" สุดยอดทะเลหมอกที่สวยที่สุดในภาคใต้ อยู่ในเขตพื้นที่ของเขาไมโครเวฟ หรือยอดเขากุนุงซิลิปัต บริเวณยอดเขาฆูนุงซีลีปัต (ฆูนุงสาลี) ที่ต้องเดินป่าขึ้นไปบนยอดเขาเพื่อชมทะเลหมอกในมุมมองกว้าง ๓๖๐ องศา ปัจจุบันจุดชมวิวทะเลหมอกอัยเยอร์เวงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในอำเภอเบตงโดยนักท่องเที่ยวที่มาเยือนนั้นมีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย การเดินทางเป็นถนนลาดยางระยะทางใกล้ถนนสาย ๔๑๐ บริเวณกิโลเมตรที่ ๓๓ ทางเข้าบ้านธารมะลิ ตำบลอัยเยอร์เวง เทือกเขาดังกล่าวชาวบ้านเรียกว่า “เขาไมโครเวฟ” เพราะเป็นที่ตั้งเสาส่งสัญญานโทรศัพท์ของ บริษัท TOT ยอดเขาที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ ๒,๐๐๐ ฟุต เส้นทางที่จะขึ้นไปยังบนยอดเขานั้น เป็นถนนลาดยาง และถนนคอนกรีต อยู่ห่างจาก อบต. อัยเยอร์เวง ประมาณ ๗ ถึง ๘ กิโลเมตร การเดินทางไปทะเลหมอกกุนุงซิลิปัตใช้เส้นทางเมืองเบตงไปตามเส้นทางหมายเลข ๔๑๐ (ยะลา เบตง) ประมาณ ๒๑ กิโลเมตร จากนั้นจะต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อเดินทางขึ้นเขาต่ออีกประมาณ ๓ กิโลเมตร และต้องเดินเท้าปีนเขาอีกประมาณ ๒๐ ถึง ๓๐ นาที โดยสามารถเดินทางเข้าได้ ๒ ทาง คือทางด้าน ตำบลอัยเยอร์เวงกับตำบลตาเนาะแมเราะ ซึ่งขณะนี้ทางรัฐบาลได้มีโครงการทำสกายวอร์ค บนทะเลหมอกอัยเยอร์เวง ซึ่งเป็นวาระของตำบลอัยเยอร์เวง เป็นความหวังของคนเบตง เป็นโครงการนวัตกรรมของจังหวัดยะลา เป็นความภูมิใจของสามจังหวัดฯชายแดนใต้ เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของประเทศ เป็นทางเลือกหนึ่งของอาเซียน และจะเป็นระเบียงกระจกที่ยื่นไปในอากาศ ยาวที่สุดในโลก และสนองนโยบายสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เพื่อก้าวไปสู่ ประเทศไทย ๔. ๐ ของรัฐบาลไทย

ภาพสืบค้นจาก : https://www.matichon.co.th/news/476255


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ที่อยู่
จังหวัด
ยะลา
ละติจูด
5.783813
ลองจิจูด
101.035665



วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

ที่มาที่ไปของ ”ตู้ไปรษณีย์สูงและใหญ่ที่สุดในโลก” อยู่ที่ไหน และ มีความเป็นมาอย่างไร ???. (2556). สืบค้นวันที่ 30 เม.ย. 61, จาก 
            http://oknation.nationtv.tv/blog/
tourrattanakosin/2013/01/04/entry-1
เบตง ใต้สุดแดนสยาม. (2556). สืบค้นวันที่ 30 เม.ย. 61, จาก https://pantip.com/topic/30609785
"เบตง" ไม่ใช่แค่โอเค แต่ดีมากจนหลงรัก. (2559). สืบค้นวันที่ 30 เม.ย. 61, จาก https://pantip.com/topic/35630501
เบตง ยังคงโอเค จากปัตตานีสู่ดินแดนใต้สุดของประเทศไทย. (2557). สืบค้นวันที่ 30 เม.ย. 61, จาก https://travel.kapook.com/view92278.html
เบิกฟ้าเบตงเมืองงามใต้สุดแดนสยาม. (2557). สืบค้นวันที่ 30 เม.ย. 61, จาก https://sites.google.com/site/beikfabetongtisuddansiam/calendar
ไปดูทะเลหมอก เบตง-ฆุนุงซิลิปัต ป่ะละ. (2560). สืบค้นวันที่ 30 เม.ย. 61, จาก https://pantip.com/topic/36441859

เพลทะเลหมอก อัยเยอร์เวง เบตง. (2560). สืบค้นวันที่ 30 เม.ย. 61, จาก https://www.facebook.com/pg/Anan3636/photos/?tab=album&album_id=1545026515779013

มนต์เสน่ห์ "เบตง" เมืองงามแห่งแดนใต้ (ตอนที่ 1). (2560). สืบค้นวันที่ 30 เม.ย. 61, จาก https://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9600000075618

องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง. (2551). สืบค้นวันที่ 30 เม.ย. 61, จาก https://www.iyerweng.go.th/album_travel/view.php?album_id=14

อันซีนชายแดนใต้ ณ ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง เบตง. (2559). สืบค้นวันที่ 30 เม.ย. 61, จาก https://travel.kapook.com/view139785.html

อำเภอเบตง. (2561). สืบค้นวันที่ 30 เม.ย. 61, จาก http://www.addsiam.com/ท่องเที่ยว-77-จังหวัด/อำเภอเบตง/477.html

OK ฉันจะไป "เบตง". (2559). สืบค้นวันที่ 30 เม.ย. 61, จาก https://www.thetrippacker.com/th/review/อำเภอเบตงBetongDistrict/1031


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024