พิธีฮัจญ์
 
Back    03/05/2023, 15:31    836  

หมวดหมู่

วัฒนธรรม


ประวัติความเป็นมา

                   หลักปฏิบัติหรือรูกนอิสลามคือบทบัญญัติของศาสนาอิสลามที่กําหนดให้ มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติ ซึ่งมี ๕ ประการ คือ ต้องกล่าวปฏิญาณตน, ต้องละหมาดวันละ ๕ เวลา, ต้องบริจาคทรัพย์ หรือ “ซะกาต", ต้องถือศีลอดในเดือนรอมฎอน และต้องเดินทางไปบําเพ็ญพิธีฮัจญ์และพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮฺที่เมืองเมกกะหนึ่งครั้งในขณะที่มีชีวิตอยู่หากมีความสามารถที่จะเดินทางไปกลับได้ การประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮฺ ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติหนึ่งใน ๕ ประการ ซึ่งบังคับแต่เฉพาะผู้ที่มีความสามารณพียงพอในปฏิบัติ ๑ ครั้งในชีวิต ความหมายของคำว่าฮัจญ์นั้นแปลว่าการมุ่งไปสู่หรือการไปเยือน หมายถึงการเดินทางมุ่งไปสู่บัยตุลลอฮฺหรืออัล-กะอุบะฮฺ ณ นครมักกะฮฺ เพื่อประกอบศาสนากิจโดยมีขั้นตอนการปฏิบัติและตามระยะเวลาที่กำหนด ส่วนคำว่าอุมเราะฮฺ แปลว่าการไปเยี่ยมเยือน หมายถึงการเดินทางไปเยี่ยมเยือนยังบัยตุลลอฮฺ เพื่อประกอบศาสนกิจในทำนองเดียวกับการประกอบพิธีฮัจญ์ แต่ขั้นตอนจะน้อยกว่า คือไม่มีการวูกูฟที่ทุ่งอารอฟะหฺ และไม่มีกำหนดระยะเวลาจะทำเมื่อใดก็ได้ เนื่องจากการทำอุมเราะฮฺเหมือนกับการทำฮัจญ์ จึงมีผู้เรียกการทำอุมเราะฮฺว่าฮัจญ์เล็ก ในบัญญัติข้อที่ ๕ ในหลักปฏิบัติ ๕ ประการของมุสลิม เป็นบัญญัติข้อที่ไม่เป็นการบังคับสำหรับมุสลิมทุกคนจะต้องปฏิบัติ แต่เป็นการบังคับเฉพาะผู้ที่อยู่ในสภาพที่มีความสามารภเพียงพอจะปฏิบัติได้ กล่าวคือมีความพร้อมทั้งด้านร่างกายและทรัพย์สินตลอดจนความปลอดภัยในการเดินทาง ผู้ที่จะต้องไปทำฮัจญัผู้ที่มีสิทธิจะไปประกอบพิธีฮัจญ์ได้จะต้องเป็นมุสลิม ซึ่งมีสติสัมปชัญญะที่ปกติบรรลุศาสนภาวะ กล่าวคือเป็นหนุ่มสาวแล้วไม่ไช่เด็กส่วนเงื่อนไขของมุสลิมดังกล่าวที่ถือเป็นความจำเป็นจะต้องไปทำฮัจญ์ คือผู้ที่มีความสามารถความพร้อมในด้านกำลังกาย คือสุขภาพที่แข็งแรงและกำลังทรัพย์ที่เพียงพอในการใช้จ่าย โดยมิต้องมีหนี้สินและสร้างความลำบากแก่คนในครอบครัว นอกจากนั้นสภาวะแวดล้อมของเส้นทางสู่บัยตุลลอฮฺจะต้องมีความปลอดภัย อนึ่งหากผู้เดินทางไปทำฮัจญ์เป็นหญิง การเดินทางนั้นจะต้องมีชายที่เป็นสามีหรือพ่อ ลูกชาย พี่ น้อง ลุง อา ฯลฯ เดินทางไปด้วยในฐานะผู้คุ้มครอง (มะหรอมฮฺ) ฉะนั้นบุคคลที่จะไปทำฮัจญ์ จะต้องได้รับการยินยอมหรือการอนุญาตจากบุคคลต่าง ๆ ในครอบครัว และผู้ที่จะไปประกอบศาสนกิจข้อนี้จะต้องเป็นผู้ที่ประกอบศาสนกิจข้ออื่น ๆ เช่น การละหมาด การถือศีลอด การบริจาคซะกาดครบสมบูรณ์ก่อน ทั้งนี้เพราะการไปทำฮัจญ์มิใช่การไปไถ่บาปดั่งที่บางคนเข้าใจ และไม่ใช่ศาสนกิจที่จะเป็นเครื่องโอ้อวดแสดงถึงความมั่งมี แต่แท้จริงการไปทำฮัจญ์เป็นเครื่องทดสอบความศรัทธา ความอดทน ความเสียสละ ฯลฯ ดังนั้นการนำที่ดินหรือทรัพย์สินไปจำนองหรือขาย เพื่อนำไปประกอบพิธีฮัจญ์ โดยเมื่อกลับมาแล้วไม่มีที่ทำกินหรือเป็นเหตุที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ลูกหลาน จึงเป็นการกระทำที่ผิดศาสนบัญญัติเช่นเดียวกันกับคนที่มีความสามารถพร้อมแต่ไม่ยอมไปเพราะเสียดายทรัพย์สินจะพร่องไป
                      ส่วนการประกอบพิธีฮัจญ์แทนกันที่ภาษามลายูเรียกว่าทำ "กูเปาะ ฮัจญี" ซึ่งได้แก่การมอบเงินให้คนเป็นไปทำให้คนตาย หรือในกรณีที่บุคคลผู้นั้นยังมีชีวิตอยู่แต่สุขภาพไม่แข็งแรงพอ จึงมอบเงินให้อิกผู้หนึ่งไปทำแทน ซึ่งมีปฏิบัติอยู่บ้างในประเทศไทย เป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏหลักฐานอยู่ในคัมภีร์อัล-กุรอานและหะดีบที่แข็งแรงว่าให้กระทำการทำฮัญ์แทนกันนั้นมีแต่กรณีระหว่างพ่อ-แม่-ลูก โดยถูกทำฮัจญ์แทนพ่อแม่ที่เสียชีวิตไปแล้ว ทั้งนี้ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ทำฮัจญ์ของตนเองแล้ว จึงจะทำให้พ่อแม่ได้ในปีต่อ ๆ ไปหากพร้อมและอยากกระทำแต่ไม่ได้ถือว่าเป็นความจำเป็น (วายิบ) ที่จะต้องกระทำ
                     ฮัจญ์เป็นศาสนกิจที่ถูกกำหนดเวลาสำหรับการปฏิบัติไว้เช่นกัน โดยกำหนดให้ปฏิบัติได้ปีละ ๑ ครั้ง ในช่วงดันเดือนซุ้ลฮิจญธชฺ เดือนที่ ๑๒ ของศักราชอิสลาม ทั้งนี้สามารถเริ่มปฏิบัติพิธีกรรมในบางส่วนก่อนเดือนชุลฮิจญะฮฺ โดยเริ่มได้ตั้งแต่เดือนที่ ๑๐ ตามที่กล่าวแล้วว่า การนับถือเดือนของศักราชอิสลามจะคำนวณนับตามจันทรคติ ฉะนั้นเวลาของเดือนต่าง ๆ จะไม่ลงตัวเท่ากันทุกรอบปีเหมือนปฏิทินสากล แต่จะเร็วขึ้นปีละ ๑๑ วัน ดังนั้นเดือนซุ้ลฮิจญะฮฺ ก็จะเหมือนกับเดือนรอมฏอนและทุก ๆ เดือน กล่าวคือเดือนนี้จะหมุนเวียนตกอยู่ในทุกฤดูกาลของแต่ละภูมิภาค แต่ละประเทศ ดังนั้นผู้เดินทางไปทำฮัจญ์ ซึ่งเรียกว่า "ฮุจญาต" (คำพหูพจน์) หรือ "ฮัจญี" ผู้ชายคนเดียว) และ " ฮัจญะฮฺ" (ผู้หญิงคนเดียว) ในแต่ละปีจะมีโอกาสพบกับสภาพภูมิอากาศในประเทศซาอุดีอารเบีย ที่แตกต่างกันทั้งฤดูร้อนและฤดูหนาว อนึ่ง ถึงแม้ว่าคำว่า "ฮัจญี" "ฮัจญะฮฺ" จะเป็นคำที่ใช้เรียกผู้เดินทางในพิธีฮัจญ์ก็ตาม แต่คำทั้งสองนี้ก็กลายเป็นคำนำหน้าชื่อของผู้ที่ได้ปฏิบัติฮัจญ์แล้วโดยปริยาย ดังนั้นหากผู้ใดถูกเรียกว่าฮัจญีหรือฮัจญะฮฺ เช่น ฮัจญีอิบรอฮีม ก็เป็นเครื่องบ่งชี้ไห้ทราบว่านายอิบรอฮีมได้เคยไปทำฮัจญ์มาแล้ว ดังนั้นการเรียกชื่อผู้ที่ไปทำฮัจญ์แล้ว โดยการใส่คำนำหน้าว่า "ฮัจญี" หรือ "ฮัจญะฮฺ" จึงเป็นการใช้ในลักษณะของการให้เกียรติให้การยกย่อง มิใช่หมายถึงว่าบุคคลนั้นมีสถานภาพเหนือกว่าจะได้รับอภิสิทธิ์มากกว่ามุสลิมคนอื่น ๆ แต่ประการใด 

                 หลักการปฏิบัติในการประกอบพิธีฮัจญ์มี ๕ ประการ คือ

๑. อิหรอม คือการแต่งกายโดยใช้ผ้าขาวนุ่งผ้าขาวไม่เย็บต่อกันเป็นถุงสําหรับผู้ชาย ส่วนผู้หญิงให้สวมใส่เสื้อผ้าชุดขาวเช่นกัน และปกปิดให้มิดชิด
๒. กูฟ คือการไปปรากฏตัวที่ทุ่งอารฟะหฺ
๓. อวาฟ คือการเดินเวียนกะอฺบะฮฺ ๗ รอบ
๔. ชะแอ คือการเดินเจ็ดเที่ยวระหว่างเขาซอฟาร์กับเขามัรวะหฺ
๕. ตะฮัลลล คือโกนผมหรือตัดผมสําหรับผู้ชายให้โกนศีรษะทั้งหมด หรืออาจจะตัดผมอย่างน้อย ๓ เส้น ให้ทําหลังจาก “ชะแอ” แล้ว หรือจะทําหลังจากขว้างเสาหินมรอตุลอะกอบะฮฺก็ได้  

                 การทําพิธีหัจญ์ วันที่ ๘ ซุลฮิจญะหฺ เวลาประมาณ ๓-๔ โมงเย็น บรรดาผู้คนจะทยอยออกไปสู่ทุ่งอารฟะห์ เพื่อวกูฟในวันรุ่งขึ้น คืนนั้นจะนอนพักแรมที่ทุ่งอารุปะหฺ วันรุ่งขึ้นหลังจากละหมาดบ่ายแล้วจะเข้าเวลาของการกูฟ พอถึงเที่ยงคืนก็เตรียมตัวเพื่อเดินทางต่อไปยังมุขดาลีฟะห์ หลังเที่ยงคืนแล้วก็ได้เวลามาบิดที่มุขดาลีฟะหฺ สุนัตให้ทุก คนเก็บลูกหิน ๗ เม็ดแล้วเดินทางไปยังมีนา (เมืองมดีนะห์) พอถึงมีนาก็ขว้างเสาหินกุมรอดุล อะกอบะหุก่อนที่จะเข้าไปยังเต็นท์ที่พัก พักแรมที่มีนา ๓ คืน ให้ขว้างเสาหินวันละ ๓ ต้น ต้นละ ๗ เม็ด เมื่อขว้างเสาหินในวันที่ ๑๓ แล้ว ก็เดินทางไปสู่นครเมกกะเพื่อฎอวาฟ ชะแอ และตัดผมหรือขริบผมจึงเสร็จพิธีหัจญ์
           
คุณค่าของการทําฮัจญ์มีมากมายหลายประการ เช่น เป็นการชําระจิตใจ ให้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากกิเลสทั้งปวง ทําตนให้ใกล้ชิดอัลเลาะห์ สร้างน้ําใจความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันบนรากฐานของความซื่อสัตย์ ความเมตตา ความเสียสละเพื่ออัลเลาะห์ ทั้งเป็นการเตือนสติให้ระลึกถึงบัญญัติของอัลเลาะห์ระลึกถึงประวัตินบีอิบรอฮีม และนบี อิสมาแอล นอกจากนี้การทําหัจญ์ยังเป็นสันนิบาตมุสลิมโลก ระลึกถึงหลักภราดรภาพ ระหว่างกันและกันของมนุษยชาติ ดังในอัล-กุรอานได้กล่าวว่า “แท้จริงประชาชาติของ พวกเจ้าล้วนเป็นประชาชาติเดียวกัน”


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
พิธีฮัจญ์
ที่อยู่
จังหวัด
ภาคใต้


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

วสันต์ ชีวะสาธน์. (2544). รายงานการวิจัยสถาปัตยกรรมทางศาสนาของชุมชนชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี. 
            ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024