ชาวสงขลามีความเชื่อว่าการตายเป็นเรื่องของวิญญาณที่ละทิ้งร่างกายเดิม เพื่อไปจุติในภพใหม่หากผู้ตายทำกรรมดีกิจะไปสู่สุคติภพ หากทำกรรมชั่ววิญญาณ ก็จะวนเวียนไม่สามารถไปภพใดภพหนึ่ีงได้ ประเพณีเกี่ยวกับการตายของชาวสงขลามีพิธีกรรมและขั้นตอนดังนี้
๑. การสวดบังสุกุลเป็นหรือการจำเริญอายุ เมื่อคนในบ้านป่วยหนัก ชื่งมักจะเป็นคนเฒ่าแก่ญาติจะนิมนต์พระสงฆ์ ๕ รูป หรือ ๗ รูป มาเจริญพระพุทธมนต์เรียกว่า “การบังสุกุลเป็น” เป็นการทำบุญให้ผู้ป่วยเห็นก่อนสิ้นใจ ผู้ป่วยบางรายเมื่อทำพิธีบังสุกุลเป็นแล้วอาจจะข้นไข้หายเป็นปกติถือว่าเป็น “การต่ออายุ” หรือ “การจำเริญอายุ” |
๒. การบอกทางก่อนผู้ป่วยจะสิ้นใจ ญาติจะจัดดอกไม้ธูปเทียนบรรจุในกรวยใบตองใหัผู้ป่วยพนมมีอหรืออาจจะนิมนต์พระสงฆ์มารูปหนึ่ง และตั้งพระพุทธรูปไวีใกล้ ๆ แล้ว คอยเตือนสติใหัผู้ป่วยระลึกถึงพระพุทธคุณด้วยการกล่าวคำ “อรหัง” หรือ “พุทโธ” เพื่อจะได้ภาวนาและยืดถือเป็นพุทธานุสติ เมื่อสิ้นลมหายใจแล้วจะได้ไปสู่สุคติ การให้ผู้ป่วยถือดอกไม้ก่อนสิ้นใจ เชื่อว่าจะได้นำไปบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ขั้นดาวดึงส์ |
๓. การทำพิธีดอย เมื่อผู้ป่วยสิ้นลมหายใจญาติจะต้องจุดเทียนขึ้ผึ้งหนักหนึ่งบาท มีไส้ ๗ เสัน ตั้งไว้จนเทียนหมดเล่ม จึงเชื่อว่าตายสนิท จากนั้นไปเชิญผู้ที่มีความรู้ในทางเวทมนตร์หรือหมอผีมาเสกทำนํ้ามนต์ เพื่อขับไส่ผีสางและปัดรังควาน การประพรมน้ำมนฅ์ที่ซากศพเพื่อป้องกันมิให้วิญญานเป๋็นผีดุรัาย และกลับมาอาละวาดหลอกหลอน การทำพิธีดอยมักจะทำกับคนที่ตายด้วยอุบัติเหตุ ตายทั้งกลม ถูกฆ่าตาย เรียกการตายในลักษณะนี้ว่า “ตายโหง” และเชื่อว่าคนตายโหงนั้นผีจะแรง |
๔. การอาบนาศพ เมื่อทำพิธีดอยแล้วก็จัดอาบนี้าศพ โดยเอาขมิ้นกับดินเหนียว ตำเคล้าให้เข้ากันแล้วเอาน้ำร้อน น้ำเย็น น้ำมะพร้าว ผสมเพื่ออาบชำระศพให้สะอาด การอาบนํ้าศพ จะทำกันเฉพาะลูกหลานเป็นการภายในเท่านั้น (ในปัจจุบันไม่มีการทำกันแล้ว) นอกจากเวลานี้แล้วไม่มีการรดนั้าศพกันอีก บางท้องถิ่นจะเอาใบมะกรูด ใบมะนาว และรากสะบ้ามาตำกับขมิ้นทาศพเป็นการดับกลิ่น และฆ่าเชื้อโรค การที่เอาขมิ้นมาผสมกับดินเหนียว น้ำร้อน นํ้าเย็น และ น้ำมะพร้าวนั้นเพื่อแทนธาตุ ๔ คือดิน นี้า ลม ไฟ ส่วนการใช้รากสะบ้า ใบมะกรูด ใบมะนาว มาตำ กับขมิ้นทาศพ ถือเป็นปริศนาธรรม |
๕. การแต่งศพ เมื่ออาบนี้าศพแล้วจะยกศพให้นั่งเงยหน้าขึ้น ใช้ยอดกล้วยทำเป็นกรวยกรอกน้ำผึ้งรวงหรือนี้าตาลเหลวผสมการบูร ลงไปในท้องมาก ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ศพเน่าเร็ว แล้วจึงแต่งศพด้วยการหวีผมให้ปรกลงมาทางด้านหน้า หวีที่ใช้แล้วหักทิ้งใส่โลง จากนั้นจึงแต่งตัวให้ศพด้วยชุดที่ผู้ตายชอบใช้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ หรือให้นุ่งผ้าขาวทำพกไว้ช้างหลัง หางกระเบน อยู่ข้างหน้า หรือไม่ก็นุ่งโจงกระเบนก็ได้ ถ้าใช้กางเกงให้สวมกลับหน้ากลับหลัง การสวมเสื้อและกลัดกระดุมก็ต้องกลับมาอยู่ข้างหลังแทนข้างหน้าเช่นกัน |
๖. การผูกศพและตราสังข์ หลังจากแต่งศพเรียบร้อยแล้วก็เอาด้ายขาวผูกกรองมือ กรองเท้า แล้วโยงไปผูกไว้ที่คอ ที่ทำเช่นนี้เพื่อให้มีความหมายว่า คนมีบ่วง ๓ บ่วง คือบุตร (คอ) ภรรยา (มือ) และทรัพย์ (เท้า) บ่วงทั้ง ๓ นี้ จะเป็นสิ่งผูกมัดคนเมื่อมีชีวิตอยู่ แล้วเอาดอกไม้ธูปเทียนซองหมากพลูใส่ในมือผู้ตาย ซึ่งจัดให้ประสานกันประหนึ่งประนมมือ อันแสดงถึงความเป็นพุทธศาสนิกชน และมักจะเอาเหรียญหรือเงินทองใส่ปากผู้ตาย เพราะเชื่อว่าจะได้ นำไปใช้ภพหน้า แล้วใช้ใบพลูปิดหน้าศพจากนั้นจึงเอาผ้าขาวห่อศพให้มิดชิดหลาย ๆ ชั้น ใช้ด้ายขาวมัดตราสังข์เป็นเปลาะ ๆ ให้แน่นตั้งแต่หัวจรดเท้าแล้วนำไปใส่ในโลงให้นอนหงาย |
๗. การทำโลง โลงศพทำด้วยไม้ลักษณะปากผายกว้างกว่าก้น แนวต่อของไม้ที่กันโลงศพจะต้องใช้ดินเหนียวตำผสมกับใบบอนหรือใบฝรั่งยาโดยตลอด เพื่อมิให้น้ำเหลือง น้ำหนองไหลซึมออกมาข้างนอก แล้วเอาปูนขาวผสมด้วยสิ่งที่ดูดซึมง่ายเช่นขี้เลื่อยโรยไว้บน จากนั้นจึงเอาไม้รอดตั้งขวางโลงไว้ ๔ อัน เรียกว่าไม้ก้านตอง หรือ ไม้ข้ามเล”(ทะเล) แล้วใช้ไม้ ฟาก ๗ ซี่ วางบนไม้รอด ฟาก ๗ ซี่นั้นต้องกักเชือก ๓ แห่งไปในทางเดียวกันไม่กลับไปกลับมา ซึ่งหมายถึงการข้ามพ้นแล้วจะไม่กลับไปอีก ครั้นเอาศพลงโลงเรียบร้อยแล้ว ก็นิมนต์พระมาสวดพระอภิธรรม ๑ เตียง เรียกว่า “การสวดหน้าศพ” หรือ “สวดหน้าไม้” |
๘. การตั้งศพ-สวดศพ ที่ตั้งศพมีฐานวางศพ ๒- ๓ ชั้น (ส่วนใหญ่นิยมจัดให้ศพหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก จัดโต๊ะหมู่บูชา ที่พระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรม และที่แสดงพระธรรมเทศนาอยู่ในที่อันสมควร การตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่บ้านนั้นโดยมากเป็น ๓ หรือ ๗ วัน ในบางท้องถิ่นหลังจากสวดแล้วอาจมีฆราวาสสวดคฤหัสถ์ ซึ่งเรียกว่า “สวดมาลัย” ในช่วงดึก ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยากแล้ว ตลอดเวลาที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศลจะมีการตั้งอาหาร ข้าว นํ้า ให้ศพวันละ ๒ เวลา บางรายมีการเคาะโลงบอกให้กินด้วย |
๙. การประโคมงา'นศพ สมัยก่อนนิยมใชัวง “กาหลอ” กันมาก (กาหลอยังมีอยู่บ้างในชนบทเท่านั้น) แต่ปัจจุบันนิยมใช้พิณพาทย์หรือเครื่องดุริยางค์แทน และอาจจัดให้มีหนังตะลุงหรือโนรามาแสดงด้วย |
๑๐. การเผาศพ การเลือกวันเผาศพ จะถือวันขึ้นแรมเป็นสำคัญ กล่าวคือถ้าเป็นข้างขึ้นห้ามเผาวันเลขคี่ ถ้าวันข้างแรมห้ามเผาวันเลขคู่ เช่น วันขึ้น ๑ ค่ำ ๓ คํ่า หรือแรม ๒ คํ่า แรม ๔ ค่ำ เหล่านี้จะเผาศพไม่ได้ ถือว่าเป็นวันผีหามคน แต่ถ้าเป็นวันขึ้น ๒ ค่ำ ๔ คํ่า ๑๐ ค่ำ หรือวันแรม ๑ ค่ำ ต ค่ำ ๕ คํ่า เหล่านี้เผาได้เรียกว่า “วันคนหามผี” แม้จะตรงกับวันพระ วันอาทิตย์ วันศุกร์ หรือวันใด ๆ ก็ไม่ห้าม ในการนำศพออกจากบ้านต้องทำประตูพราง คือเอาไมั ๔ อันทำเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าทาบไว้ที่ประตูทางออกข้างนอกที่จะเอาศพออกไป ประตูพรางนี้เมื่อนำศพออกแล้วให้เอาออกทิ้งเสีย ศพที่นำออกไปนี้ต้องให้เท้าออกก่อนและต้องลบรอยเท้าคนหามเพื่อไม่ให้ผีกลับบ้านถูก แล้วจัดกระบวนแห่ศพมีพระภิกษุเดินนำหน้าศพ เรียกว่าพระเบิกทาง มีการโปรยข้าวตอกไปตลอดทาง เครื่องไทยทานสำหรับถวายพระเบิกทางมีเสื่อ หมอน มุ้ง ตะเกียง ถ้วยชาม ผ้าไตร เป็นต้น นอกจากนี้ต้องจัดเตรียมชองถวายพระนักเทศน์ พระสวดบังสุกุล มีผ้าบังสุกุล ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องขอขมาศพ หมากพลู บุหรี่ เครื่องดื่ม ของต้อนรับแขกก็ต้องเตรียมไปให้พร้อมด้วยเมื่อนำ ศพไปถึงป่าช้าแล้วก่อนเผา ต้องหามศพเวียนที่เผาไปทางซัายมือ ๓ รอบ แล้ววางโลงให้ศพหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก ลูกหลานต้องนำ “ข้าวบอก” ซึ่งประกอบด้วยข้าวปากหม้อ ปลามีหัวมีหาง เงิน ใส่ถ้วยไปเช่นสังเวยเจ้าเปรว (เจ้าป่าช้า) ที่ชื่อว่ายายกาลีตากาลา แต่ชาวบ้านเรียกกลับกันเป็นยายกาหลา ตากาหลี เพื่อบอกว่าฝากฝังวิญญาณผู้ตาย สมัยก่อนที่เผาศพมักทำเป็นการชั่วคราว ใช้เสาปักไว้ ๔ ต้น มีเพดานเรียกว่าสามล้าง ปัจจุบันที่เผาศพทำเป็นเชิงตะกอนหรือเมรุอย่างถาวร |
๑๑. การดับธาตุ วันรุ่งขึ้นหลังจากเผาศพตอนเช้ามืดลูกหลาน จะไปเก็บอ้ฐิรวบรวมกระดูกเถ้าถ่านทำเป็นรูปคนนอนหันศีรษะไปทางทิศตะวันตกเรียกว่า ดับธาตุ ราดนํ้าอบไทย เอาผ้าขาวคลุมไว้แล้วทอดผ้าบังสุกุล แล้วแปรเถ้าถ่านเสียใหม่ให้หันศีรษะไปทางทิศตะวันออก เรียกว่าหลบธาตุ จากนั้นจึงเก็บกระดูกส่วนหนึ่งเพื่อนำไปเก็บในบัว (สถูป) เพื่อไว้บังสุกุลอุทิศส่วนกุศล ส่วนขึ้เถ้ากระดูก (อังคาร) ที่เหลือก็จะขุดหลุมฝัง ปัจจุบันนิยมเอาไปลอยทะเล หรือแม่นํ้าลำคลอง เรียกว่า “ลอยอังคาร” |
ประเพณีเกี่ยวกับการตายได้แฝงปริศนาธรรมไว้หลายอย่าง เพื่อให้ผู้อยู่ข้างหลังได้มองเห็นสัจธรรมของชีวิต แต่ก็ได้เปลี่ยนแปลงขั้นตอนของพิธีกรรมและรูปแบบในการจัด ไปตามความเจริญของสังคมและการรับอิทธิพลมาจากส่วนกลาง จะคงเหลืออยู่บ้างที่ปฏีบ้ติตามของเก่ามีก็แต่ในชนบทบางแห่งเท่านั้น สำหรับพุทธศาสนิกชนที่มีเชื้อสายจีนในบางครอบครัวจะเผาศพและปฏิบัติ ตามประเพณีหลัก ๆ แบบชาวพุทธทั่วไป แต่บางครอบครัวยังยึดมั่นขนบธรรมเนียมแบบจีน ที่นิยมการฝังศพตามความเชื่อตั้งเดิม จึงมีพิธีแตกต่างออกไปบ้างคือในคืนสุดท้ายของการประกอบพิธีศพลูกหลานของผู้ตายจะมีกงเต๊ก ก่อนจะเริ่มพิธีกงเต๊กลูกหลานจะประกอบพิธีไหว้ฟ้าดิน เพี่อบอกกล่าวให้วิญญาณเทพเจ้าทั่วทุกหนทุกแห่งรับทราบ ถึงการจากไปของสมาขิกไนครอบครัว จากนั้นลูกหลานจะตัองเตรียมสถานที่สำหรับฝังศพ เมื่อทราบที่ฝังศพแน่นอนแล้วลูกหลานจะต้องแจ้งให้พระภูมิเจ้าที่ในสุสานคือแปัะก๋งรับทราบ การบอกกล่าวนั้นลูกชายคนโตจะนำเงิน ๒ บาท กระดาษเงิน กระดาษทอง ดอกไม้ ธูป เทียน ไปเช่นไหว้ ต่อจากนั้นเจ้าหน้าที่ของสมาคมหรือสุสานจะชุดหลุมเตรียมไว้ให้ ครั้นถึงเวลาออกศพเมื่อขบวนแห่ไปถึงสุสาน (หรือที่ฝัง) ลูกหลานก็จะเช่นไหว้พระภูมิเจ้าที่ในสุสาน เพื่อขออนุญาตให้ผู้ตายไต้อาศัยอยู่ในสุสาน ด้วยของเช่นไหวิได้แก่หัวหมูนึ่ง ปลาสุก ๑ ตัว หมูนึ่งชินใหญ่ ขนมถ้วยฟู ผลไม้ นํ้าชา สุราและของอื่น ๆ ตามฐานะของลูกหลานผู้ตาย หลังจากประกอบพิธีฝังศพเรียบร้อยแล้วลูกชายคนโตก็จะนำกระถาง ธูป ซึ่งถือเป็นตัวแทนผู้ตาย (วิญญาณผู้ตาย) กลับบ้าน ก่อนจะนำกระถางธูปเข้าบ้านลูกหลาน ก็ต้องเช่นไหว้เจ้าที่ในบ้านด้วยกระดาษเงิน กระดาษทอง ขนมอี๋ และส้ม เพื่อขออนุญาตนำวิญญาณของผู้ตายเข้าบ้าน
ภาพจาก : https://kyl.psu.th/DugqX4hRj
ปรุงศรี วัลลิโภดม...[และคณะ], บรรณาธิการ (2545). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสงขลา
กรุงเทพฯ : ‡bกรมศิลปากร.