อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
 
Back    28/12/2020, 16:53    6,245  

หมวดหมู่

จังหวัด


ประวัติความเป็นมา

         อําเภอสะเดาเดิมเป็นตําบลสะเดา ขึ้นอยู่กับกิ่งอําเภอจังโหลน จังหวัดไทรบุรี ซึ่งขณะนั้นไทรบุรียังเป็นของไทย ต่อมารัฐบาลไทยได้โอนเมืองกลันตัน ตรังกานู ปะลิส และ ไทรบุรี ตลอดจนเกาะใกล้เคียงให้กับรัฐบาลอังกฤษตามสัญญา ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม ร.ศ.๑๒๓ คริสตศักราช ๑๙๐๙ (พุทธศักราช ๒๔๕๒) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยไทยได้สิ่งแลกเปลี่ยนคือเงินกู้จากอังกฤษจํานวน ๔ ล้านปอนด์สเตอร์ลิงก์ เพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้และได้คืนสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้กับไทยแต่รัฐบาลไทยไม่ได้โอนตําบลสะเดายังคงอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลไทยต่อไป โดยรวมตําบลสะเดาเข้ากับตําบลปริก ตําบลทุ่งหมอ ขึ้นกับอําเภอเหนือ (หาดใหญ่) จังหวัดสงขลา ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๖๐ ได้ยกฐานะตําบลสะเดาเป็นอ่าเภอ ขึ้นกับจังหวัดสงขลา ให้พระภักดีราชกิจเป็นนายอําเภอคนแรก  นับถึงปัจจุบันมีนายอำเภอดำรงตำแหน่งทั้งสิ้น ๓๘ คน  สะเดามีชื่อเรียกตามภาษามลายูว่าสะดาห์หรือซีดาห์ เคยเป็นเมืองที่พระยาไทรบุรีเดินทางผ่านเพื่อนําต้นไม้เงินต้นไม้ทองส่งเป็นเครื่องราชบรรณาการไปยังกรุงเทพฯ แต่ถนนหนทางในสมัยนั้นต้องเดินทางด้วยเท้า ช้าง และม้า จึงจะสามารถผ่านไปได้ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕ สมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางมาบรรจบกันตรงชายแดนตรงบริเวณบ้านด่านนอก โดยเจ้าเมืองสงขลา และให้เมือง ไทรบุรีสร้างทางเข้ามาจดกับเส้นทางที่เมืองสงขลา โดยที่เมืองไทรบุรีสร้างมาบรรจบกันที่บ้านหัวถนน ปัจจุบันคือบ้านหัวถนน หมู่ ๘ ตำบลปริก อำเภอสะเดา ซึ่งปรากฏหลักฐานเป็นเสาหินแกะสลักเป็นรูปบัวหงาย สูงเหนือพื้นดินประมาณ ๑ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕ ซม. ปักอยู่ที่ กม ๖๖-๕๐๐ ถนนกาญจนวนิช   ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเมืองไทรบุรี โดยเสด็จพระราชดําเนินตามถนนสายสงขลา-ไทรบุรี จึงได้มีการปรับปรุงถนนให้ดีขึ้น มีผลให้บ้านสะเดา เจริญรุ่งเรือง ราษฎรเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น มีชุมนุมชนการค้า ต่อมา พ.ศ. ๒๔๕๒ (ค.ศ. ๑๙๐๙) ผลจากการเมืองในยุคนั้น ไทรบุรีตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ไทย-อังกฤษจึงทําสัญญากําหนดเขตแดนเสียใหม่ ให้บ้านสะเดาขึ้นกับเมืองสงขลา เขตแดนทางเมืองสงขลาจึงขยายลงไปทางใต้จากบ้านห้วถนนประมาณ ๑๖ กม. กําหนดเขตแดนอยู่ที่ควนไม้ดําหรือเทือกเขากายูอีตัม ต่อมาไทยได้แยกออกเป็น ตำบลทุ่งหมอ ตำบลปริก ตำบลพังลา ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับอําเภอเหนือ (อำเภอหาดใหญ่) รวมกับตำบลสะเดา และยกฐานะขึ้นเป็นอําเภอสะเดา จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๘๒ จึงยกฐานะเป็นเทศบาลตําบลสะเดา

         ลักษณะภูมิประเทศทั่วไป
        ลักษณะรวมทั่วไปของอำสะเดา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาโดยมีลักษณะลาดต่ำลงไปทางทิศเหนือ มีแนวแบ่งเขตแดน (หลักเขตระหว่างไทย-มาเลเซีย) บางส่วนก็มีเทือกเขาน้ำค้างกั้นพรมแดน สําหรับบางส่วนที่เป็นที่ราบทางมาเลเซียได้กันกําแพงคอนกรีต และรั้วเหล็กลวดหนามกั้นระหว่างเขตแดนไทย-มาเลเซีย สภาพพื้นที่ที่เป็นภูเขา พื้นที่จะเป็นหินสําหรับพื้นที่ที่เป็นเนินหรือที่ดอนจะเป็นพื้นที่ลูกรังปนหินผิวดินจะแห้ง สําหรับที่ลุ่มจะเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย

       ที่ตั้งและอาณาเขต
       อําเภอสะเดาตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดสงขลา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงคือ
       - 
ทิศเหนือ ติดต่อกับอําเภอคลองหอยโข่งและอําเภอหาดใหญ่
       - ทิศตะวันออก ติดต่อกับอําเภอจะนะและอําเภอนาทวี
       - ทิศใต้ ติดต่อกับรัฐเกดะห์ (ประเทศมาเลเซีย)
       - 
ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐปะลิส (ประเทศมาเลเซีย) อําเภอควนโดน และอำเภอควนกาหลง (จังหวัดสตูล)
       การปกครอง
       อําเภอสะเดาแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น ๙ ตําบล (๖๗ หมู่บ้าน) ประกอบด้วย
       
๑. สะเดา
       
๒. ปริก
       ๓. ท่าโพธิ์ 
       ๔. ปาดังเบซาร์
      ๕. พังลา
      ๖ สํานักขาม
      ๗. สํานักแต้ว
      
๘. เขามีเกียรติ
      ๙. ทุ่งหมอ 

       แม่น้ํา         
  อำเภอสะเดามีคลองสะเดาซึ่งเกิดจากต้นน้ำเทือกเขาสันกาลาคีรี และคลองหลาปังซึ่งเกิดจากภูเขาฟูกิตกายูอิตําจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งคลองทั้งสองจะไหลลงสู่คลองอู่ตะเภาในอำหาดใหญ่และสู่ทะเลสาบสงขลาคลองหลาปังมีความกว้างยาวลึก เหมือนลําคลองธรรมดาทั่ว ๆ ไป แต่หาก เป็นช่วงที่ฤดูฝนตกชุกลําคลองจะมีน้ำมากและจะไหลอย่างรุนแรงรวดเร็ว หากระบายน้ำไปลงคลองอู่ตะเภาไม่ทันจะทําให้เกิดน้้ำท่วมในพื้นที่ราบลุ่มได้

      การคมนาคม
    การคมนาคมมีเส้นทาง เข้าออก ๒ ทาง คือทางบกและทางน้ำทางบกหรือทางรถยนต์ตามถนนเพชรเกษมจากอำรัตภูมิมุ่งสู่หาดใหญ่ และเชื่อมกับถนนกาญจนวาณิชเช้าสู่อำสะเดาไปจดพรมแดนหมู่บ้านไทยจังโหลน (ด่านนอก) และถนนสายสะเดา ปาดังเบซาร์ไปจรดที่พรมแดนปาดังเบซาร์


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ที่อยู่
จังหวัด
สงขลา


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43 ค่ายรามคำแหง. (2535). ข้อมูลชายแดน ไทย-มาเลเซีย. สงขลา : รวมช่างหาดใหญ่.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024