ทวดหัวเขาแดงหรือทวดเขาแดง เป็นความเชื่อของชาวบ้านตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา มีตำนานเล่าว่าในสมัยก่อนเนินนานมาแล้วได้มีชาวจีนชรา เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลจากจีนแผ่นดินใหญ่ด้วยเรือสำเภาพร้อมด้วยข้าทาสบริวาร นำพาทรัพย์สมบัติอาทิแก้วแหวนงินทองมาต่าง ๆ เพื่อมาร่วมสร้างเละบรรจุลงในพระบรมธาตุเมืองนครศรี (จังหวัดนครศรีธรรมราช) ครั้งแล่นเรือสำเภามาถึงปากน้ำเมืองสงขลาเกิดอุบัติเหตุทำให้เรือสำเภอล่ม ทำให้บรรดาทรัพย์สมบัติต่าง ๆ มีแก้วแหวงเงินทอง ต่าง ๆ รวมทั้งร่างของผู้โดยสารทั้งหมดก็จมดิ่งลงสู่ก้นมหาสมุทร ครั้งกาลเวลาล่วงเลยผ่านมาไม่นานนักชาวประมงมักเห็น "เข้ใหญ่" (จระเข้ใหญ่) จะว่ายวนเวียนไปมาอยู่ในบริเวณที่เรือสำเภาล่ม แต่ก็น่าแปลกที่จระเข้ตัวดังกล่าวไม่เดยทำร้ายใคร ชาวประมงและชาวบ้านบริเวณดังกล่าวเชื่อว่าชายชราชาวจีนได้กลายร่างเป็นทวดจระเข้ไปเสียแล้ว ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "ทวดเขาแดง" หรือ "ทวดหัวเขาแดง" และถือกันว่าทวดหัวเขาแดงที่แสดงตนในรูปของจระเข้ใหญ่เป็นดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ มีหน้าที่เฝ้าปากน้ำเมืองสงขลาและทำหน้าที่คอยปกป้องท้องทะเล และชาวประมง ตลอดถึงผู้คนในบริเวณดังกล่าวไม่ให้เกิดอันตรายขึ้นในน้ำ อาทิ คลื่นลมในทะเล สัตว์ร้าย โจรสลัด เป็นต้น โดยเฉพาะชาวเลหรือชาวประมงของที่นี่จะมีคติทางความเชื่อต่อทวดหัวเขาแคงคือ ก่อนที่จะลงเรือออกหาปลาในทะเลจะต้องบอกกล่าวขอความคุ้มครองจากทวดหัวเขาแคงเสียก่อน ด้วยการลอยหมากพลู และจุดประทัดเสียก่อน ซึ่งก็ยังมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้
คุณาพร ไชยโรจน์. (2549). "ทวด" ในรูปสัตว์ : (ทวดงู, ทวดจระเข้, ทวดช้าง และทวดเสือ). สงขลา : วนิดาเอกสาร,