สตูล (Satun)
 
Back    29/09/2020, 16:46    59  

หมวดหมู่

จังหวัด


ประวัติความเป็นมา

สัญลักษณ์สําคัญของจังหวัดสตูล

คําขวัญประจําจังหวัด สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์ 
ตราประจําจังหวัด พระสมุทรเทวา
ต้นไม้มงคลพระราชทานประจําจังหวัด ต้นหมากพญตักแตนหรือต้นกระซิก
ต้นไม้ที่มีความสําคัญทางประวัติศาสตร์ ต้นกระท้อน
ดอกไม้ประจําจังหวัด ดอกกาหลง
กล้วยไม้ที่มีชื่อของจังหวัด กล้วยไม้รองเท้านารีขาวสตูล
เพลงประจําจังหวัด ขวัญสตูล

คําขวัญจังหวัด
สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์

             คำว่า "สตูล" มาจากคำภาษามลายูว่า "สะโตย" ซึ่งแปลว่าต้นสะท้อน เพราะพื้นที่ของสตูลมีต้นสะท้อนขึ้นอยู่ตามธรรมชาติเป็นจํานวนมาก ซึ่งต่อมาได้รับการตั้งสมญานามเป็นภาษามลายูว่า "นครีสโตยมำบังสการา" (Negeri Setoi Mumbang Segara) หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า "สตูลเมืองแห่งพระสมุทรเทวา" ดังนั้นตราพระสมุทรเทวาจึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้

            บรรพบุรุษของชาวสตูลเป็นใคร
            บรรพบุรุษของชาวสตูลเป็นใคร เป็นบทความของท่านอาจารย์บุญเสริม ฤทธาภิรมย์ ซึ่งปรากฎในหนังสือสืบสานเรื่องราวชาวเมืองสตูล (๒๕๕๓) เขียนไว้ว่า ...ในอดีตแผ่นดินเมืองสตูลจะมีชนกลุ่มใดเข้ามาจับจองเป็นที่อยู่อาศัยบ้าง ทั้งนี้ไม่นับมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่ ซึ่งจัดอยู่ในยุคหินที่มีอายุหลายพันปีที่อยู่ในถ้ำหรือตามป่าเขา หลักฐานสำคัญคือมีการขุดค้นพบเครื่องมือหินขัด เครื่องกะเทาะหิน และเศษดินเผาที่เขาโต๊ะพญาวัง อำเภอเมืองสตูล เขาขุมทรัพย์ และเขาโต๊ะนางดำ อำเภอทุ่งหว้า แหล่งโบราณคดีดังกล่าวตั้งอยู่ริมคลองแสดงว่ามนุษย์ถ้ำสมัยนั้นอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ยังชีพด้วยการล่าสัตว์ เป็นมนุษย์ที่สูญพันธุ์ไปจากแผ่นดินหลายพันปีแล้ว จึงไม่ถือเป็นบรรพบุรุษของชาวเมืองสตูล แต่จะกล่าวเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินเมืองสตูลมาแต่โบราณกาล สืบต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้นั้นมีอยู่ ๕ เผ่าพันธุ์ ได้แก่

๑. กลุ่มพวกนิกริโต หรือเงาะเซมัง
๒. กลุ่มเชื้อสายมลายู
ต. กลุ่มเชื้อสายไทย หรือ สยาม
๔. กลุ่มเชื้อสายจีน
๕. กลุ่มชาวเล หรือ ชาวน้ำ

              ๑. พวกนิกริโต หรือเงาะเซมัง      
               พวกนิกริโต หรือเงาะเซมัง เข้ามาอาศัยอยู่ในแผ่นดินเมืองสตูลตั้งแต่เมื่อ ๑๐,๐๐๐-๘,๐๐๐ ปีที่แล้ว ตกอยู่ในสมัยก่อนยุคประวัติศาสตร์ เทียบยุคหินกลาง ซึ่งได้อยู่ร่วมสมัยกับชาวมนุษย์ถ้ำโบราณมาก่อน แต่พวกนิกริโตหรือเงาะเซมังไม่ได้สูญพันธุ์ไปจากป่าดงดิบเมืองสตูล ปัจจุบันยังคงหลงเหลืออยู่จำนวนไม่มากนัก เนื่องจากพื้นที่ป่าลดน้อยลง ชนกลุ่มนี้ยังอาศัยอยู่ตามป๋าเขาคือบริเวณแนวทิวเขานครศรีธรรมราช ร่อนเร่อยู่ตามรอยต่อของสามจังหวัด คือสตูล พัทลุง และตรัง จัดเป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยในแผ่นดินภาคใต้นับพัน ๆ ปีมาแล้ว พวกนิกริโต (Negrito) หรือเงาะเซมัง (Semang) ถือเป็นชนเผ่าที่มีอายุมากที่สุด  ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสตูล เป็นมนุษย์พันธุ์เตี้ย ผิวดำเข้มค่อนไปทางน้ำตาลไหม้ ริมฝีปากหนาผมหยิกแบบขมวดกลมเป็นก้นหอย หรือหยิกฟูเป็นกระเชิง จัดเป็นชนเผ่านิกรอยด์ (Negroid) ถิ่นฐานเดิมอยู่ในทวีปแอฟริกาเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกับพวกจาราวา (Jarawa) หรืออันดามันนิส (Andamonese)  ที่อาศัยอยู่ที่หมู่เกาะอันดามัน พวกเอตา (Aeta) ในฟิลิปปินส์ และพวกนิโกร (คำว่า Negrito เป็นภาษาสเปน แปลว่า Little Negro) พวกนิกริโตอพยพมาอยู่อาศัยตามแนวทิวเขาภูเก็ต ทิวเขานครศรีธรรมราช ทิวเขาสันกาลาคีรี ต่อเนื่องเข้าไปในทิวเขาของประเทศมาเลเซีย นับเป็นชาวพื้นเมืองที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดทั้งในประเทศไทยและมาเลเซีย ทุกวันนี้คนไทยมักเข้าใจสับสนกับชาวพื้นเมืองอีกกลุ่มหนึ่ง ได้แก่พวกซาไก (Sakai) หรือซีนอย (Senoi) ซึ่งเป็นเผ่ามองโกลอยด์ (Mongoloid) หรือที่เรามักจะเรียกว่าเงาะ เนื่องจากเส้นผมบนศีรษะหยิก แต่ไม่ใช่หยิกหย็อง ขมวดกลมเป็นก้นหอยหรือหยิกฟูกระเชิงแบบพวกเงาะเซมัง แต่จะมีลักษณะหยิกธรรมดาคดไปคดมาหรือเหยียดตรงผิวพรรณไม่กระเดียดไปทางนิโกรเลย พวกนี้อพยพมาจากตอนใต้ของประเทศจีนเมื่อสมัย ๗.๕๐๐-๔,๕๐๐ ที่แล้ว อาศัยอยู่อย่างหนาแน่นทางตอนล่างของแหลมมลายู คือตามแนวทิวเขาติติวังซา (Titiwangsa) ที่ขึ้นชื่อคือบริเวณคาเมรอน ไฮแลนด์ในรัฐเประ สมัยก่อนชาวมลายูนิยมจับตัวพวกซาไก่ไปใช้เยี่ยงทาสหรือคนรับใช้ คำว่า "ชาไก" รากศัพท์ภาษามลายูแปลว่า "ทาส" หรือ "ไพร่ขี้ข้า" แล้วคนไทยนำมาใช้เรียกแทนพวกเซมังได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่ไม่มีเงาะเผ่าซาไกในประเทศไทย ถือเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของนักวิชาการไทยบางคน ที่ได้อธิบายว่าพวกเซมังกับซาไกเป็นงาะเผ่าเดียวกัน ทำให้คนไทยทั้งประเทศเข้าใจสับสนกันมาก จนกระทั่งมีขออ้างของราชบัณฑิตยสถานหรือสำนักปราชญ์หลวง เป็นที่พึ่งสูงสุดด้านวิชาการ ได้แบ่งเงาะในแหลมมลายูออกเป็น ๒ ประเภทชัดเจน คือพวกนิกริโต หรือเซมัง กับพวกซาไกหรือซีนอย โดยใช้บริบทของแหลมมลายูมาอธิบายเสมอ ชาวพื้นเมือง ๒ กลุ่มนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทั้งในแง่ของชาติพันธุ์วิทยาและประวัติการตั้งถิ่นฐานในแหลมมลายู คนไทยควรปรับองค์ความรู้เรื่องเงาะป่าภาคใต้ของไทยกับมาเลเขียกันเสียใหม่ ให้เข้าใจภาพรวมของชาวพื้นเมืองตลอดแหลมมลายู อย่าตัดตอนมาอธิบายเฉพาะเงาะในประเทศไทยเท่านั้น เพื่อความกระจ่างในเรื่องนี้ขออ้างผลงานการวิจัยของนักมานุษยวิทยาชาวออสเตรีย ๒ คน ที่เคยมาศึกษาเรื่องเงาะเซมังในภาคใต้ของไทย คนแรกชื่อพอล โยคิม เชเบสตา (PaulJoachime Schebesta) ได้มาศึกษาวิถีชีวิตเงาะเซมังที่มลายู และที่จังหวัดพัทลุงกับตรัง ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๖๗-๒๔๖๙ หลังจากเดินทางกลับไปยุโรปแล้ว ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งบรรยายเรื่องราวเงาะเซมังไว้ตอนหนึ่ง ชื่อพวกเซมังแห่งสยามประเทศที่เมืองพัทลุงกับตรัง (The Semang of Siam in the Area of Pattalung and Trang) เขาเรียกพวกเงาะเซมังที่อาศัยอยู่แถบนี้ว่าพวกเซมังตอนเหนือสุด (Northernmost Semang)  ซึ่งหมายถึงตอนเหนือของแหลมมลายูนั่นเอง และเรียกพวกงาะเซมังที่อาศัยอยู่ในรัฐปะหัง และรัฐกลันตันว่า พวกซมังตอนใต้สุด (Southernmost Semang) เซมัง ๒ กลุ่ม จึงอยู่ไกลกันพอสมควร พอล โยคิม เซเบสตา เป็นคนแรกที่ใช้ชื่อ "Semang" ในวรรณกรรมและการวิจัยค้นคว้าของตนเอง ทำให้ชื่อนี้เป็นที่รู้จักกันภายหลัง ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๙-๒๕๔๑ ศาสตราจารย์ ดร. เฮลมุท ลูคัส (Helmut Lukas) นักมานุษยวิทยาจากออสเตรีย ได้เดินทางมาศึกษาเรื่องเงาะเซมังที่จังหวัดสตูล พัทลุง และตรัง ใช้ชื่อเรียกว่าเซมัง-มะนิก (Semang-Manic) คือเป็นเงาะเซมังกลุ่มย่อยมะนิก นั่นเอง (มะนิก แปลว่าพวกเรา) อาจารย์บุญเสริม ฤทธาภิรมย์ได้อ่านรายงานการวิจัยของศาสตราจารย์ ดร.เฮลมุท ลูคัส แล้ว พบว่าข้อมูลเชิงวิชาการสอดคล้องกับราชบัณฑิตยสถานทุกประการ ในปี  พ.ศ. ๒๕๕๐ อาจารย์บุญเสริม ฤทธาภิรมย์ พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร. เฮลมุท ลูคัส ได้เดินทางไปศึกษาเรื่องคนพื้นเมือง คือเงาะเผ่าซาไก แถบคาเมรอน ไฮแลนด์ รัฐเประ และที่พิพิธภัณฑ์โอรังอัสลี (Orang Asli Museum) เมืองกอมบัค ใกล้กับกรุงกัวลาลัมเปอร์ ก็พบความจริงว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้อธิบายเรื่องราวเงาะเผ่าเซมังกับซาไกสอดคล้องกับราชบัณฑิตยสถาน เช่นกันชาวมาเลเซียนิยมเรียกเงาะเซมังว่านิกริโต  ส่วนเงาะซาไกนิยมเรียกว่าพวกชีนอย เนื่องจากชื่อซาไกมีความหมายเชิงดูหมิ่นเหยียดหยาม หมายถึงคนขั้นต่ำ คือพวกทาส ไพร่ ขี้ข้า เงาะเผ่าซีนอยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยมากมาย แต่นิยมเรียกชื่อเรียกรวม ๆ ว่าโอรังอัสลี (Orang Asli) แปลว่าคนพื้นเมือง ฟังดูสุภาพนิ่มนวลกว่าดังกล่าวแล้ว ส่วนในภาคใต้ของไทยมีเฉพาะเงาะเซมังเท่านั้น ไม่มีพวกเงาะซาไกอาศัยอยู่เลย ราชบัณฑิตยสถานอธิบายไว้ในหนังสือสารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑๑ หน้า ๖๖๔๘ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๓ กล่าวถึงพวกเงาะซาไกสรุปสาระได้ดังนี้...ชาวพื้นเมืองกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในป่าเขาทางตอนใต้ของรัฐปะลิสลงไป เมื่อมีการแบ่งแยกดินแดนหัวเมืองมลายูระหว่างไทยกับอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ทำให้เผ่าชาไกหรือสะไกหายไปจากแผ่นดินไทย ถ้าจะหลงเหลืออยู่บ้างก็น้อยเต็มที หรืออาจจะไม่มีชาวซาไกในพื้นที่ประเทศไทยก็เป็นได้ แต่มีคนไทยเชื้อสายมลายูที่อาศัยอยู่ในจังหวัดปัตตานี กลับมีความเห็นว่าพวกเซม้ง คือซาไกก็มี ประวัติที่มาของชื่อซาไก สืบคันได้ว่ากรมประชาสงเคราะห์ซึ่งใช้เรียกคนพื้นเมืองที่นิคมสร้างตนเองธารโต จังหวัดยะลา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ โดยเจ้าหน้าที่เองก็ไม่มีความรู้เรื่องชาติพันธุ์วิทยาและมานุษยวิทยา ชาวบ้านเรียกกันอย่างไรก็เรียกตามกันมา ภายหลังอาจารย์ไพบูลย์ ดวงจันทร์ ขณะนั้นสอนอยู่ที่วิทยาลัยคูรยะลา ได้ไปศึกษาวิจัยภาคสนามคลุกคลีกับชาวพื้นเมืองในพื้นที่ ได้เขียนหนังสือชื่อชาไกเจ้าแห่งขุนเขาและสมุนไพร หนา ๗๔ หน้า อธิบายเรื่องชาติพันธ์ไว้ไม่ละเอียดนัก ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาตินำไปพิมพ์เป็นเล่มเผยแพรไปทั่วประเทศ ชื่อซาไกจึงติดปากคนไทยมาแต่บัดนั้น อาจารย์ไพบูลย์ ดวงจันทร์ เจริญก้าวหน้าในทางวิชาการดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ เป็นผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา มทาวิทยาลัยทักษิณ ได้อธิบายความหมายของคำ "ซาไก" ไว้ในหนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เหมารวมว่าพวกเซมังกับพวกซาไกเป็นเงาะเผ่าเดียวกัน ผู้เขียนได้โต้แย้งไปทางสถาบันทักษิณคดีศึกษาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ทราบภายหลังว่าสถาบันยอมรับว่าเงาะภาคใต้ของไทยเป็นเผ่าเซมังแล้วทุกวันนี้ เงาะเซมังหลงเหลือตามป่าเขาจังหวัดสตูลเพียงร้อยกว่าคน พวกเขายังมีสภาพเป็นคนเถื่อน ไม่มีชื่อในทะเบียนสำมะโนครัว ไม่กี่ปีมานี้มีข่าวครึกโครมว่าหนุ่มชาวตรังมีเมียเป็นสาวชาวเงาะมีลูกด้วยกันแล้ว สาวเงาะสตูลอาศัยอยู่ในป่าแถวอำเภอควนโดนพบรักกับหนุ่มชาวหาดใหญ่มีลูกแล้วเช่นกัน ขณะนี้กำลังเรียนอยู่ชั้นประถมที่อำเภอหาดใหญ่ ในอดีตคงมีการผสมพันธุ์ระหว่างชาวเงาะเซมังกับคนกลุ่มอื่นอย่างแน่นอน ดังนั้น ถ้าพบคนสตูล พัทลุง ตรัง ที่มีเส้นผมบนศีรษะหยิกหย็อง ชนิดขมวดกลมเป็นกันหอยผิวดำ ลองสืบประวัติย้อนหลังให้ดีอาจจะมีบรรพบุรุษเป็นเงาะเซมังก็เป็นไปได้
             
๒. ชาวสตูลเชื้อสายมลายู
                   บรรพบุรุษชาวมลายูเป็นใคร
                 
เนื่องจากสตูลเคยเป็นตำบลหนึ่ง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองไทรบุรี จึงมีชาวสตูลกลุ่มหนึ่งสืบเชื้อสายมลายู นับถือศาสนาอิสลาม บรรพบุรุษของชาวมลายูเป็นใคร มาจากไหน จากการศึกษาคันคว้าของพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ได้เรียบเรียงเรื่องการเป็นอยู่ในมลายู เผยแพร่ในหนังสือ ประวัติและเรื่องน่ารู้ของพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ หน้า ๙๔-๙๗ พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๖ สรุปสาระความรู้เรื่องชนชาติมลายูไว้โดยย่อ ดังนี้....
           แผ่นดินมลายูเดิมชื่อสะการามาเซ็น แปลว่ามหาสมุทรเค็ม (สะการา แปลว่ามหาสมุทร ส่วนมาเซ็น แปลว่าเค็ม) เคยเป็นที่อยู่ของคนหลายเผ่าพันธุ์ เริ่มจากชาวอินเดียเดินทางมาค้าขายตั้งแต่โบราณกาลตั้งรกรากที่เกาะขวา มีการผสมพันธุ์กับคนพื้นเมืองชาวเกาะ กลายเป็นชาวชวาเชื้อสายอินเดีย ขั้นต้นนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ชาวชวากลุ่มนี้ได้อพยพข้ามฟากจากเกาะชวา มาสู่แผ่นดินใหญ่หรือสะการามาเซ็น มีการผสมพันธ์กับคนหลายเผ่าหลายเชื้อชาติ ได้แก่ ชาวน้ำ พวกจาม ชาวมอญ พวกตะนาวศรี รวมทั้งพวกสยามหรือไทยที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานในแหลมมลาย เกิดการผสมข้ามเผ่าพันธุ์จนกลายเป็นชนชาติมลายูในที่สุด มลายูเป็นภาษาสันสกฤติแปลว่าอพยพ หมายถึงการเดินทางข้ามทะเลมาอาคัยอยู่ที่แผ่นดินใหญ่ คำว่ามลายูจึงมาใช้เรียกแทนคำสะการามาเซ็น หมายถึงแผ่นดินมลายูและเชื้อชาติมลายนั่นเอง... จากหลักฐานในหนังสือจดหมายเหตุของเจมส์ โลว์ หน้า ๑๐๙-๑๑๐ ของร้อยโท เจมส์ โลว์ ทูตอังกฤษเดินทางจากเกาะปีนังผ่านเมืองไทรบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๗ เป็นช่วงที่พระยาอภัยธิเบศร์ บุตรของเจ้าพระยานคร (น้อย) ขึ้นปกครองเมืองไทรบุรีนั้นกล่าวว่าชาวเมืองไทรบุรีมีเชื้อชาติผสมกลายเป็นมลายู เดิมนั้นผู้คนนับถือศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู รวมทั้งชาวสยามที่นับถือศาสนาพุทธ ชาวสยามตั้งถิ่นฐานอยู่หนาแน่นเป็นหมู่บ้าน ดำรงประเพณี และวัฒนธรรมแบบสยามไว้อย่างมั่นคง ดังนั้นชนชาติมลายูจึงมีคนเชื้อชาติสยามหรือไทยผสมปนเปอยู่ด้วย เนื่องจากคนสยามจากภาคใต้หรือแหลมมลายูตอนบน ได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานเมื่อสมัย ๘๐๐-๙๐๐ ปีล่วงแล้ว จึงกล่าวได้ว่าคนไทยกับคนมาเลเซียมีความเกี่ยวดองหรือเป็นพี่น้องกันมาแต่โบราณ

                ไทรบุรีกับอาณาจักรลังกาสุกะ
             ชาวสตูลที่มีเชื้อสายมลายูคือชาวเมืองไทรบุรีเดิมนั่นเอง เมืองนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรลังกาสุกะ ซึ่งเจริญรุ่งเรืองขึ้นในแหลมมลายูสมัยพุทธศตวรรษที่ ๗ ชื่อเรียกภาษาจีนว่าลังยาสิเกีย ตั้งขึ้นไล้เลี่ยกับอาณาจักรตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) ทั้งสองอาณาจักรมีพรมแดนติดต่อกัน ต่างมีความสัมพันธ์กันมานับพันปีแล้ว อาณาจักรลังกาสุกะ มีพื้นที่ครอบคลุมระหว่างสองฝั่งทะเล คือด้านตะวันออกจดปัตตานี ตะวันตกจดไทรบุรี ทิศเหนือจดตะกั่วป่า ส่วนทิศใต้แผ่ไปตลอดแหลมมลายู เดิมนั้นเชื่อกันว่าอาณาจักรลังกาสุกะมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไทรบุรี มีหลักฐานสำคัญคือสถูปสิ่งก่อสร้าง แสดงร่องรอยเมืองโบราณแถบ หุบเขาบูจัง (Bujang Valley) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองอะลอร์สตาร์ราว ๔๐ กิโลเมตร เป็นสิ่งก่อสร้างในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธนิกายมหายาน จึงเป็นที่มาของชื่อลังกาซูกหรือลังกาสุกะ แปลว่า เมืองลังกาแห่งความสุข ภายหลังเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นกิดดะห์ (Kiddah) เพี้ยนเป็นเกดะห์ในที่สุด (ชาวอินเดียที่เดินทางมาค้าขายเรียกเมืองนี้ว่ากฎาหะอยู่ก่อนแล้ว) นักประวัติศาสตร์ของมาเลเซียยืนยันว่าอาณาจักรลังกาสุกะมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไทรบุรี ขณะเดียวกันนักประวัติศาสตร์ไทยก็โต้แย้งว่าศูนย์กลางตั้งอยู่ที่เมืองปัตตานี
เนื่องจากร่องรอยของความร่องรอยทางโบราณคดีปรากฎชัดเจนที่อำเภอยะรัง ได้ค้นพบหลักฐานร่องรอยทางโบราณคดีเช่นสิ่งก่อสร้างในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธนิกายมหายาน ขุดพบคำจารึกภาษาปัลลวะอินเดียโบราณที่ปัตตานี เป็นต้น อาณาจักรศรีวิชัยเรื่องอำนาจระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘ ปกครองแหลมมลายู สุมาตรา และชวา ดังนั้นเมืองตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) และลังกาสุกะ จึงขึ้นต่ออาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งเป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแ 
ละศาสนาพุทธนิกายมหายานเจริญรุ่งเรืองสูงสุด โดยเฉพาะนครศรีธรรมราชถือเป็นศูนย์กลางของพราหมณ์-ฮินดูทางตอนเหนือของแหลมมลายู เมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีวิชัย จึงหันไปนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานซึ่งนับถือพระโพธิสัตว์ หลักฐานคือมีการค้นพบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรแปดกร เกล้าเกศาเป็นรูปชฎา ทำด้วยสำริดที่อำเภอไซยา จังทวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหลักฐานชัดเจน

                      ภูมิหลังของกษัตริย์แห่งเมืองไทรบุรี
              ตามหลักฐานในพงศาวดารมะโรงมหาวงศ์ ผู้ปกครองเมืองไทรบุรีพระองค์แรกชื่อว่าราชามะโรงมหาวงศ์ หรือพระราชามหาวังศา เดินทางมาจากนครหรุ่ม (โรม) เรืออับปางกลางทะเลได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ลังกาซูก ทางเหนือของกัวลามูตา ตั้งชื่อเมืองว่าเกดะห์ แปลว่าจานดอกไม้ ราชามะโรงมหาวงศ์มีพระโอรสชื่อพระราชามหาโพธิสัตว์ ได้ปกครองเมืองไทรบุรีต่อจากบิดา พระองค์มีโอรส ๒ องค์ และพระธิดา ๑ องค์ พระโอรสชื่อราชาศรีมหาวงศ์ได้ปกครองเมืองไทรบุรีสืบต่อมา และได้ส่งพระราชธิดองค์หนึ่งไปปกครองเมืองปัตตานี ภายหลังมีกษัตริย์ปกครองเมืองสืบต่อกันมาอีก ๒ พระองค์ จนกระทั่งถึงองค์ที่ ๖ ชื่อพระราชามหาโพธิสัตว์ (ซื่อซ้ำกับองค์ที่ ๒) ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายที่นับถือศาสนาพุทธ สำหรับเจ้าผู้ครองนครคนที่ ๗ คือพระราชามหาวังศา เปลี่ยนพระนามใหม่เป็นสุลต่านมูซัฟฟาร์ ชาห์ (Sultan Musaffar Shah) ตามธรรมเนียมของศาสนาอิสลาม หลังจากนั้นก็มีสุลต่านหรือเจ้าเมืองไทรบุรี ปกครองสืบต่อกันมาเรื่อย อย่างไม่ขาดสาย ล้วนสืบเชื้อสายมาจากราชามะโรงมหาวงศ์ หรือราชามหาวังศา ทั้งสิ้นดังกล่าวแล้ว ชาวเมืองไทรบุรีเดิมนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ นิกายมหายานเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากอาณาจักรศรีวิชัย ราวต้นสมัยกรุงสุโขทัย ชาวอาหรับได้มาเผยแผ่ศาสนาอิสลามที่กาะสุมาตรา ได้หันมาชักจงให้ชาวเมืองไทรบุรีหันไปนับถือศาสนาอิสลาม เริ่มจากพระราชามหาวังศาเปลี่ยนพระนามใหม่เป็นสุลต่าน ซัฟฟาร์ ชาห์ เมื่อกษัตริย์เปลี่ยนศาสนาทำให้พลเมืองปฏิบัติตามอย่างเจ้าผู้ครองนคร แต่ศาสนาอิสลามยังไม่เป็นที่นิยมกันมากนัก เริ่มแพร่หลายจริงจังไปทั่วแหลมมลายูสมัยต้นกรุงศรีอยอยา โดยได้รับอิทธิพลจากเมืองมะละกา จนมีการกล่าวกันว่ามะละกาคือจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์มลายูโดยแท้

                   เมืองนครศรีธรรมราชปกครองเมืองไทรบุรี
                  เมืองไทรบุรีมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล มีมูเก็มสโตย-ละงู (ตำบล) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือ สมัยก่อนถือเป็นท้องที่ห่างไกลและกันดารมาก พื้นที่ถูกโอบล้อมด้วยทิวเขาสันกาลาคีรีทางด้านทิศใต้ ส่วนทิศตะวันออกกับทิศเหนือมีทิวเขานครศรีธรรมราชกั้นไว้ มีเฉพาะด้านทิศตะวันตกเท่านั้นที่เปิดกว้างสู่ทะเลช่องมะละกา (สมัยก่อนไม่เรียกชื่ออันดามัน) ตอนเหนือสุดของตำบลสโตย-ละงู เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านสุไหงอุเปะห์ (ทุ่งหว้า) เขตแดนติดต่อกับปะเหลียนเดิมขึ้นต่อเมืองพัทลุง (ปะเหลียนยกฐานะเป็นเมืองปี พ.ศ. ๒๓๔๑ สมัยรัชกาลที่ ๑ และถูกยุบให้ไปขึ้นต่อเมืองตรังเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๔ สมัยรัชกาลที่ ๕) ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ระบอบการปกครองหัวเมืองแบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นนอกกับหัวเมืองประเทศราช สำหรับหัวเมืองชั้นนอกแบ่งย่อยเป็นหัวเมืองขั้นเอก โท ตรี และจัตวา ตามขนาดและความสำคัญของเมืองนั้น ๆ ตัวอย่างหัวเมืองชั้นเอกในภาคใต้ คือเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองสงขลา เป็นอาทิ ส่วนหัวเมืองประเทศราชหรือเมืองขึ้น ซึ่งมีพลเมืองเป็นชาวต่างชาติ หรือต่างวัฒนธรรม ปล่อยให้เจ้าเมืองหรือกษัตริย์ปกครองกันเอง ตามจารีตประเพณีของชาตินั้น ๆ ดังนั้นหัวเมืองมลายูได้แก่ เมืองไทรบุรี ปัตตานี กลันตัน และตรังกานู เมืองหลวงมอบหมายให้หัวเมืองชั้นเอกปกครองดูแลต่างพระเนตรพระกรรณอีกชั้นหนึ่ง เมืองนครศรีธรรมราชจึงได้ปกครองดูแลเมืองไทรบุรี เนื่องจากเคยเป็นเมืองขึ้นเมื่อสมัยหลายร้อยปีมาแล้ว เนื่องจากทหารเมืองนครศรีธรรมราชต้องมาดูแลตำบลสโตย-ละงูด้วย  เมืองตรังขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช เมืองปะเหลียนขึ้นต่อเมืองพัทลุง ทหารเมืองนครศรีธรรมราช ใช้เส้นทางแม่น้ำตรังเดินทางสู่กันตังยึดปากแม่น้ำเป็นจุดยุทธศาสตร์ใช้สำหรับต่อเรือและแพไปรบศึกที่เมืองไทรบุรี หรือเดินทางเข้าสู่ตำบลสโดย-ละงู จุดหมายคือท่าเรือสำคัญสามแห่ง ได้แก่ปากคลองละงู ปากคลองบาราเกต และปากคลองมำบัง จากหลักฐานการบันทึกของทูตอังกฤษ ๒ คน คือ ร.ท. เจมส์ โลว์ และ ร.อ. เอ็นรี เบอร์นี่ เดินทางจากปีนังผ่านเมืองสตูล เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๗-๒ต๖๘ ยืนยันว่าบริเวณปากน้ำสามแห่ง คือที่ช่องสุมกำลังทหารใช้เป็นสถานที่ต่อเรือพาย เรือแจวหรือแพ เตรียมพร้อมที่จะยกทัพไปสู้รบกับเมืองไทรบุรี สมัยก่อนเมืองสตูลคงมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ทหารส่วนใหญ่มาจากเมืองนครศรีธรรมราชสมทบด้วยทหารจากเมืองพัทลุงและสงขลา ส่วนทหารจากเมืองตรัง ปะเหลียน และเมืองอื่น ๆ ยกทัพมาจากทางเหนือเพื่อไปร่วมสู้รบกับข้าศึก นอกจากเส้นทางเรือแล้วทหารจากเมืองพัทลง สงขลา และนครศรีธรรมราช เดินทัพทางบกเข้าตีเมืองไทรบุรีด้วย โดยเดินทัพผ่านเมืองสงขลาทางสะเดาและจังโหลน  (เพี้ยนมาจากช้างหล่น) สำหรับการเดินทัพทางบกเข้าสู่ตำบลสโตย-ละงู น่าจะเป็นเส้นทางแนวถนนยนตรการกำธรทุกวันนี้ สมัยหนึ่งพระปลัดจุ้ย (ต้นตระกูลจันทโรจน์วงศ์) แม่ทัพจากเมืองพัทลุงเคยนำทหารมาสู้รบกับขบถเมืองไทรบุรีบริเวณเขาสอยดาว (ปัจจุบันตั้งอยู่ในตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมี) และที่บ้านรัตภูมิ พระปลัดจุ้ยบุกเข้ายึดเมืองสตูลได้สำเร็จ จนพวกขบถไทรบุรีล่าถอยหลบหนีลงทะเลจนหมดสิ้น

                  สภาพเมืองไทรบุรีก่อนตั้งเมืองสตูล
                 ความไม่สงบเรียบร้อยที่เกิดขึ้นในเมืองไทรบุรี มักเกิดจากการแย่งชิงอำนาจกันในหมู่พี่น้องลูกหลานของเจ้าพระยาไทรบุรี ต่างต้องการขึ้นปกครองเมืองสืบต่อ เช่น ในตอนปลายรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตนกูอับดุลละห์ มูการามชาห์ พระยาไทรบุรีถึงแก่อนิจกรรม มีบุตรชาย ๑๐ คนต่างมารดากัน ตนกูฏียาฮุดดีน ผู้เป็นน้องชายขึ้นปกครองเมืองได้ ๒ ปีก็ถึงแก่อนิจกรรมอีกตนกูฎียาฮุดดีนไม่มีทายาท บุตรของพระยาไทรบุรีคนก่อนจึงแย่งตำแหน่งเจ้าเมืองกัน คู่แข่งคือตนกูปะแงรัน กับตนกูบิสนู ชาวเมืองไทรบุรีต้องการให้ตนกูปะแงรันขึ้นครองเมือง แต่เจ้าพระยานคร (พัฒน์) สนับสนุนตนกูบิสนู เนื่องจากมารดาเป็นชาวเมืองนครศรีธรรมราชมีสายเลือดสยามอยู่ด้วย ในที่สุดรัชกาลที่ ๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตนกูปะแงรันขึ้นเป็นพระยาไทรบุรี และให้ตนภูบิสนูเป็นรายามุดา หรือปลัดเมือง แต่ตนกูปะแงรันกับตนกูบิสนูก็มีข้อขัดแย้ง ถึงขั้นพิพาทกันเรื่อยมาเพื่อเป็นการตัดปัญหาทั้งปวง รัชกาลที่ ๒ จึงทรงแต่งตั้งให้ตนกูบิสนูมาปกครองตำบลสโตย-ละงู เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเห็นชอบด้วย ตนกูบิสนูหรือพระยาอภัยนุราชปกครองตำบลสโตย-ละงู เพียง ๒ ปีก็ถึงแก่อนิจกรรม ตำบลสโตย-ละงูถูกโอนกลับไปขึ้นต่อเมืองไทรบุรีตามเดิม ทำให้ว่างเว้นผู้ปกครองเมืองอยู่ร่วมปี เมืองนครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง ต้องส่งกำลังทหารมาคอยดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ตำบลสโตย-ละงู โดยเฉพาะจุดยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นท่าเรือสามแห่ง ได้แก่ มำบัง บาราเกต และละงู คอยคุมเชิงเมืองไทรบุรีไม่ให้ก่อความวุ่นวายไปในตัว ในห้วงเวลาที่เป็นตำบลร้างนั้นบังเกิดขบถใหญ่ขึ้นในเมืองไทรบุรีถึง ๒ ครั้ง คือเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๔ เจ้าพระยานคร (น้อย) เป็นแม่ทัพใหญ่เกณฑ์กำลังจากเมืองใกล้เคียงกว่า ๗,๐๐๐ คน ยกพลไปตีเมืองไทรบุรีจนแตกพ่ายในที่สุด เจ้าพระยาไทรบุรี (ตนกูปะแรงัน) หลบหนีไปขอพึ่งบารมีอังกฤษที่กาะปีนัง เจ้าพระยานคร (น้อย) แต่งตั้งพระภักดีบริรักษ์ (แสง) บุตรขายในวัย ๒๐ ปี ขึ้นเป็นเจ้าเมืองไทรบุรี ภายหลังมีราชทินนามเป็นพระยาอภัยธิเบศวร์ และมอบหมายให้น้องชายชื่อนายนุช เป็นปลัดเมือง และได้ยกกองทัพไปยืดเกาะลังกาวีได้สำเร็จ แต่งตั้งให้หลวงต่างใจราษฎร์ (ต้นตระกูลใจสมุทร) เป็นผู้ปกครองเกาะลังกาวีสืบมา นับเป็นครั้งแรกที่เมืองไทรบุรีถูกปกครองโดยคนเชื้อสายสยาม แต่ก็ขึ้นรั้งเมืองอยู่ชั่วระยะไม่น่านนัก ชาวเมืองไทรบุรีส่วนใหญ่ยังต้องการให้เชื้อสายของพระยาไทรบุรีชั้นเป็นเจ้าเมืองดังเดิม ความวุ่นวายจึงบังเกิดขึ้นในเมืองไทรบุรีไม่รู้จบสิ้น ปี พ.ศ. ๒๓๗๔ ชั่วเวลาเพียง ๑๐ ปี ให้หลังเกิดขบถใหญ่บังเกิดขึ้นอีกครั้งในเมืองไทรบุรี ขบถครั้งที่สองกลับรุนแรงกว่าครั้งแรก ต้องใช้กำลังทหารจากเมืองหลวงเข้ามาสมทบอีกส่วนหนึ่ง จึงจะเผด็จศึกเมืองไทรบุรีลงได้ เหตุการณ์ลุกลามไปทั่วทั้งหัวเมืองทั้ง ๗ รวมทั้งเมืองปัตตานี รัชกาลที่ ๓ ทรงจัดกองทัพใหญ่ไปปราบเมืองไทรบุรีได้สำเร็จ พระยาศรีพิพัฒน์ราชโกศา (ทัด) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช กราบทูลต่อรัชกาลที่ ๓ เห็นสมควรแบ่งเมืองไทรบุรีออกเป็น ๔ เมืองย่อยแต่งตั้งให้ลูกหลานของพระยาไทรบุรีปกครองกันเอง ในปี พ.ศ. ๒๓๘๒ จึงเป็นต้นกำเนิดของสามเมืองใหม่ ได้แก่สตูล ปะลิส และกุบังปาสู พื้นที่ส่วนที่เหลือก็ยกให้เมืองไทรบุรีปกครองดังเดิม สำหรับเมืองสตูลรัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตนกูมุฮำหมัดอาเก็บ บุตรชายของพระยาอภัยนุราช (ตนกูบิสนู) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองคนแรก ภายหลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์สูงสุดที่พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ ทำให้เมืองสตูลเป็นปีกแผ่นมั่นคงนับแต่บัดนั้น เมืองสตูลมีผู้ปกครองที่สืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองไทรบุรีเพียง ๓ คน นับเวลาต่อเนื่องกันราว ๖๐ ปีเศษเท่านั้น หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนโฉมหน้าผู้ปกครองเมืองเป็นสามัญชน คือพระยาภูมินารถภักดี (ตนกูบาฮะรุดดิน บิน กูแมะ) ซึ่งเป็นบุตรของคหบดีแห่งเมืองไทรบุรี ถือเป็นยุคเริ่มตันการปฏิรูปเมืองสตูลเนื่องจากต้องไปขึ้นต่อมณฑลไทรบุรี การบริหารบ้านเมืองยึดถือแบบอย่างเมืองไทรบุรี คณะกรมการเมืองส่วนใหญ่มีเชื้อสายมลายู ยกเว้นกรมการเมืองที่เป็นคนจีน ๒ คน คนหนึ่งดูแลต้านการค้าขาย อีกคนทำหน้าที่รักษาความสงบเรียนร้อยในหมู่คนจีน และมีกรมการเมืองเป็นคนไทยอีกคนทำหน้าที่เป็นล่ามประจำเมือง เป็นยุคที่ชาวเมืองไทรบุรีเชื้อสายมลายู อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษช่วงหนึ่ง

                     การตั้งถิ่นฐานของชาวสตูลเชื้อสายมลายู
              เมืองสตูลเคยขึ้นตรงต่อเมืองไทรบุรีมาก่อน ชาวเมืองสตูลที่มีเชื้อสายมลายูนับถือศาสนาอิสลามเดิมใช้ภาษามลายูกันเป็นปกติ ไม่สามารถสืบค้นเชื้อชาติเผ่าพันธ์ุตั้งเดิมได้เนื่องจากมีการผสมพันธุ์กับชนชาติอื่น คนเชื้อสายมลายูอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เมืองสตูลตั้งแต่สมัยใดนั้น มีข้อสันนิษฐานอยู่ ๓ ประการ ดังนี้
                  ๑. พิจารณาจากสภาพพื้นที่ของตำบลสโดย-ละงูในอดีต จัดเป็นท้องที่กันดารและห่างไกล พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขา ที่ราบมีน้อย ไม่เหมาะแก่การทำนา ในสมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาผู้คนคงอาศัยอยู่ไม่มากนัก สมัยก่อนผู้คนอาจนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูก็เป็นได้ ต่อมามีการผสมเผ่าพันธุ์กับคนเชื้อสายไทยหรือสยาม ที่อพยพมาจากเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา ซึ่งนับถือศาสนาพุทธ ภายหลังเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวสตูลบางท้องที่พูดกาษามลายูไม่ได้
บุญเสริม ฤทธาภิรมย์ผู้เขียนบทความนี้ได้ศึกษาประวัติตระกูลมาลินี บันทึกไว้ในหนังสือแผ่นดินเมืองสตูลกับ ๙ ตระกูลดัง พบว่าตระกูลนี้มีบรรพบุรุษเป็นชาวภาคกลาง นับถือศาสนาพุทธต้นตระกูลคือหมุยหรือโต๊ะหมุย เป็นทหารที่ถูกเกณฑ์ให้มาปราบชุมนุมเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช เสร็จศึกแล้วไม่ยอมเดินทางกลับภาคกลาง ภายหลังตั้งถิ่นฐานที่เมืองพัทลุง แล้วอพยพเข้ามาตั้งรกรากที่จังหวัดสตูลราวต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม ผู้ตั้งนามสกุลให้แก่ตระกูลมาลินีคือพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ มาลินีเป็นตระกูลใหญ่ มีคนเก่ง ๆ หลายคนได้สร้างคุณประโยชน์แก่จังหวัดนี้ ตระกูลนี้ตั้งถิ่นฐานในท้องที่อำเภอควนโดน หลักฐานจากบันทึกของฑูตอังกฤษ ๒ คน คือ ร.ท. เจมส์ โลว์ และ ร.อ. เอ็นรี เบอร์นี่ เดินทางจากปีนัง ผ่านเมืองสตูลเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๖๘ พบว่ามีคนเชื้อสายมลายูอาศัยอยู่ในหมู่บ้านจ๊ะบิลัง ตำมะลัง ละงู โดยเฉพาะชุมชนใกล้คลองมำบังและบริเวณใกล้เคียง มีคนเชื้อสายมลายูอยู่ค่อนข้างน้อย เนื่องจากพวกนี้หวาดกลัวทหารเมืองนครศรีธรรมราช ที่คอยจับตัวส่งไปไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช จึงพากันอพยพขึ้นทางเหนือเพื่อหลบภัยตามพื้นที่ป่าเขา ได้แก่แถบปาดังเกอจิ (ทุ่งนุ้ย) บางส่วนก็เตลิดข้ามภูเขาเข้าเขตเมืองสงขลา ได้แก่บ้านคลองกั่ว บ้านเขาพระ แสดงว่าคนเชื้อสายมลายูส่วนหนึ่ง ได้ตั้งถิ่นฐานในเมืองสตูลนานมาแล้ว มีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่ต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
              ๒. ช่วงปี พ.ศ. ๒๓๕๘-๒๓๘๒ เมืองสตูลไม่มีผู้ปกครองราว ๒๔ ปี บังเกิดสงครามยืดเยื้อระหว่างเมืองไทรบุรีกับเมืองนครศรีธรรมราช ทหารเมืองไทรบุรีบุกประชิดเมืองสตูล ทหารเมืองไทรบุรีจากตำบลปะลิสเดินทางข้ามภูเขาผ่านบ้านวังประจัน สู้กับทหารฝ่ายสยามที่บ้านวังประจัน (คำว่าประจัน แปลว่าเผชิญหน้าหรืออยู่กันต่อหน้า พ้องกับประจัญแปลว่าสู้แบบตะลุมบอน) มีแม่ทัพจากเมืองเประชื่อดาโต๊ะอาหมาด รัสมานารัง แลหลานนาปะดุกา ช่องสุมกำลังทหารที่บ้านนาปริก (ปัจจุบันขึ้นต่อตำบลควนโดน) แม่ทัพเดินทางกลับเมืองเประได้มอบหมายให้ลูกชาย ๒ คน ชื่อหวันอับดุลลาะห์ กับหวันอาหมีน เฝ้าระวังเหตุการณ์บ้านเมือง เมื่อลูกชายทั้ง ๒ ถึงแก่กรรม ลูกหลานได้ฝังศพไว้ที่กูโบร์บ้านนาปริก คือสุสานของต้นตระกูลปะดุกา มีหลักฐานอยู่ทุกวันนี้ เช่นเดียวกับดาโต๊ะปะลาวัน ได้รับการแต่งตั้งจากเมืองไทรบุรี มาสู้รบกับทหารฝ่ายไทย ได้ช่องสุมกำลังที่บ้านควนขันกลายเป็นต้นตระกูลปะลาวัน ป่าละวัน ปาลาวัน โต๊ะลาวัล และลาวัลย์ เป็นยุคหนึ่งที่ชาวสตูลเชื้อสายมลายูจำนวนมาก อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในตำบลสโดย-ละงู
                ๓. ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๘๒-๒๔๑๙ พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตนกูมูฮำหมัดอาเก็บ) เป็นเจ้าเมืองสตูลคนแรก ได้ชักชวนชาวเมืองไทรบุรีรวมทั้งคนสนิทและที่ปรึกษา อทยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ช่วยกันก่อร่างสร้างเมือง เจ้าเมืองและบรรดาเชื้อสายได้สร้างวังและที่อยู่อาศัย สร้างมัสยิดประจำเมือง จัดสรรที่ไว้เป็นสำหรับฝังศพ (กุโบร์) ตนกูมุฮำหมัดอาเก็บ เป็นบุตรของพระยาอภัยนุราช (ตนกูบิสบู) คือต้นตระกูลสนูบุตร ซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทานจากรัชกาลที่ ๖ ตระกูลเด่น ๆ ที่มีบทบาทในการสร้าง
เมืองสตูล ได้แก่ฮะอุราซึ่งเป็นผู้ออกแบบมัสยิดและมีบทบาทสำคัญในการก่อสร้างมัสยิดมำนัง สมัยมหาอำมาตย์ตรีพระยากูมินารถภักดี ต้นตระกูลบินตำมะหงง ซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทานเช่นกัน 

           ๓. ชาวสตูลเชื้อสายไทยหรือสยาม
     
           ชาวไทยอพยพลงสู่แหลมมลายูฟ
             ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมโทรมลง ปี พ.ศ. ๑๗๗๓ พระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่ ๑ ขึ้นครองราชย์ เมืองนครศรีธรรมราชกลับมีอำนาจ ได้ปกครอง ๑๒ หัวเมืองน้อยใหญ่ตั้งแต่ตอนเหนือของแหลมมลา  ได้แก่เมืองกระบุรี ไปจดแหลมมลายูตอนล่างคือเมืองปะทัง เรียกว่า เมือง ๑๒ นักษัตร ใช้สัญลักษณ์สัตว์รอบ ๑๒ เดือนเป็นตราประจำเมือง เช่น เมืองสายบุรีปีชวดตราหนู เมืองปัตตานีปีฉลูตรารัว เมืองกลันตันปีขาลตราเลือ เมืองปะหังปีเถาะตรากระต่าย เมืองไทรบุรีปีมะโรงตรางูใหญ่ เมืองพัทลุงปีมะเส็งตรางูเล็ก เมืองตรังปีมะเมียตราม้าฯลฯ เมื่อเมืองนครศรีธรรมราชมีอำนาจปกครองดินแดนแหลมมลายูตอนล่าง ก็ต้องส่งกำลังกองทัพไปปกครองเมืองขึ้นของตน จึงมีคนไทยภาศใต้อพยพลงสู่ดินแดนสะการามาเซ็นเมื่อสมัย ๘๐๐-๙๐๐ ปีที่แล้ว คือก่อนตั้งกรงสุโขทัยเป็นราซธานีประวัติว่าเมืองนครศรีธรรมราชเคยแต่งตั้งคนขึ้นปกครองเมืองปะหังคนไทยเก่งทางด้านการทำเหมืองแร่ อังกฤษเคยขุดพบเหมืองแร่โบราณที่รัฐปะหัง เป็นหลักฐานทางโบราณคดีอย่างชัดเจน แต่เมืองนครศรีธรรมราชมีอำนาจเพียง ๑๐๐ ปีเท่านั้น คือก่อนตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี แสดงว่ามีคนเชื้อสายไทยทางแหลมมลายูตอนบน เคยเดินทางไปมาหาสู่ดินแดนดังกล่าว เมื่ออาณาจักรสุโขทัยขึ้นเป็นใหญ่แผ่อำนาจไปตลอดแหลมลาย ได้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราชและไทรบุรีตลอดมา ล่วงมาตอนต้นสมัยกรุงศรีอยธยา ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๙๘-๒๐๐๓ มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น เมื่อกองทัพของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ยกไปตีเมืองมะละกา ทรงตั้งเมืองไชยบุรี ขึ้นมา อยู่ไม่ใกลจากเมืองเกดะห์นัก ภายหลังเพี้ยนเป็น ไชยบุรี แม่ในต้นสมัยกรงรัตนโกสินทร์ยังใช้คำนี้อยู่ เพิ่งเปลี่ยนเป็น ไทรบุรี ภายหลัง คนไทยจึงลืมชื่อ เกดะห์ ไปในที่สุด ชื่อไทรบุรีจึงติดปากคนไทยมาจนทุกวันนี้ ทหารไทยที่เดินทางไปทำสงครามในดินแดนมลายูแล้วไม่ยอมเดินทางกลับบ้านกลับเมือง ตัดสินใจตั้งรกรากที่นั่น มีลูกหลานสืบต่อมาหลายชั่วอายุคนแล้ว ภายหลังได้รักชวนญาติพี่น้องเข้าไปอาศัยกระจายไปตามเมืองต่าง ๆ เช่นที่ กลันตันตรังกานู ไทรบุรี และปะลิส กลายเป็นคนไทยพลัดถิ่นอยู่ในดินแดนมลายูเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้วชาวมลายุนิยมเรียกคนไทยว่า เซียม มาจากคำว่า สยามหรือ Sเอmา นั่นเอง สำหรับชุมชนที่มีคนเชื้อชาติไทยอาศัยอยู่เรียกว่า กัมปงเซียม (kampung Siam) แปลว่าหมู่บ้านขาวสยามล่วงมาในยุคต้นกรงศรีอยุธยา สมัยที่ศาสนาอิสลามมีอีทธิพลมากคนไทยยางกลุ่มหันไปนับถือศาสนาอิสลามด้วยเช่นกัน ชาวมลายูรียกคนไทยกลุ่มนี้ว่าพวกสยามอิสลาม เพี้ยนเป็น ส้ามสาม หรือเสียมสาม ในที่สุด อย่างไรก็ตามยังมีคนไทยส่วนหนึ่งคงดำรงความเป็นไทยไว้อย่างเหนียวแน่น ยังนับถือศาสนาพุทธ ยึดมั่นในประเพณีไทย ใช้ภาษาไทยท้องถิ่นภาคใต้ รวมตัวกันอยู่เป็นหมู่บ้านสร้างวัดวาอารามไว้เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจมาจนทุกวันนี้                        คนไทยพลัดถิ่นแผ่นดินมาเลเซีย
                 ทุกวันนี้ มีชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย (Siamnese Malaysian) หรือ โอรัง เซียม (Orang Siam) อาศัยอยู่ในแผ่นดินมาเลเซียมาหลายซั่วอายุคน เฉพาะในรัฐปะลิส กับ เกดะห์ ปี พ.ศ.๒๕๕- มีคนเชื้อสายไทยอาศัยอยู่กว่า ๓๖,๐๐๐ คน พูดภาษาท้องถิ่นภาคใต้ สำเนียงคนพัทลุง ส่งขลา หรือนครศรีธรรมราชมีการสอนภาษาไทยกันในวัด ใช้ชื่อ-สกุลแบบไทย ๆ เช่น ประสิทธิ์ เพชรมณี ดำรง จันทรมณี วิเชียร อรุณวงศ์ นุ่ม สุวรรณรัตน์ ละเอียด รัตนพันธ์ นำ สุดปรีชา บ่าว พรหมศร แก้ว สุวรรณศรี วิน แสงมณี บุญธรรม มณีโชติ ฯลฯ มีหมู่บ้านคนเชื้อสายไทย หรือ kampung Siam ชื่อเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นภาคใต้ของไทย เช่น บ้านนาข่า บ้านทุ่งควาย บ้านควนมุสัง บ้านคลองใหม่บ้านท้ายตลาด บ้านไม้สน บ้านลำป่า บ้านนาประดู่ ฯลฯ ตั้งชื่อวัดแบบเมืองไทย เช่นวัดเทพชุมนุม วัดสโมสรราชานุประดิษฐ์ วัดพระศรีมหาโพธิ์ วัดไทยเจริญ วัดดำรงรัตนาราม วัดบำรุงสามัคคี  วัดเทพบัณฑิต ฯลฯ คนเชื้อสายไทยยังมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ไทย ตามบ้านยังมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ไว้สักการะ ยังนิยมชมโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดไปจากประเทศไทย ฟังรายการสถานีวิทยุจากเมืองไทยอยู่เสมอ รับรู้เรื่องราวคนเสื้อเหลือง เสื้อแดงเป็นอย่างดี พวกเขาคอยเฝ้าติดตามสถานการณ์บ้านเมืองไทยด้วยความเป็นห่วง เมื่อไหร่จะสงบเรียบร้อยเสียทีชาวมาเลเซียเชื้อสายคนไทยในรัฐเกตะห์และรัฐปะลิส ยังยึดถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมาช้านาน ชีวิตหนึ่งต้องเดินทางไปนมัสการพระบรมธาตุที่จังหวัดนครศรีธรรมราชให้จงได้ มีความเชื่อกันตั้งแต่บรรพบุรุษ สั่งสอนลูกหลานไว้แบบฝังหัวว่า เกิดมาหนึ่งชาติ ต้องไปกราบพระธาตุเมืองนคร มิฉะนั้นจะถือว่าเสียชาติเกิด หากไม่ได้กลับไปเยี่ยมเยือนแผ่นดินที่เจริญด้วยกลิ่นไอของพุทธศาสนา อาจจะเป็นไปได้ว่าชาวไทยที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนมลายู ส่วนใหญ่เป็นชาวเมืองนครศรีธรรมราช จึงมีความผูกพันต่อแผ่นดินแม่ของตนมาแต่บรรพบุรุษ ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี คนไทยในมาเลเซียนิยมพาลูกหลานผู้ชายที่มีอายุครบบวช เดินทางด้วยขบวนรถบัสจำนวน ๑๐-๒๐ คัน ยกหมู่บ้านกันเลยก็ว่าได้ เพื่อไปประกอบพิธีอุปสมบทหมู่ที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช กลายเป็นคำพูดติดปากมาช้านานว่า กินเมืองคอน นอนเมืองไทร แสดงถึงความผูกพันระหว่างเมืองทั้งสองมานับร้อย ๆ ปีแล้ว
                        ไม่มีกัมปงเซียมในตำบลสโตย-ละงู
                  ดังกล่าวแล้วมีชาวสยามหรือไทยจัดตั้ง กัมปงเซียม(kampung Siam) ขึ้นหลายแห่งในเมืองไทรบุรี ปรากฎหลักฐานมาตราบเท่าทุกวันนี้ โดยเฉพาะรัฐเกดะห์ และรัฐปะลิส ซึ่งตั้งอยู่ใกล้จังทวัดสตูล เพราะเหตุใดจึงไม่มีกัมปงเซียมจัดตั้งขึ้นในตำบลสโดย-ละงูเลย ทั้ง ๆ ที่อยู่ในเมืองไทรบุรีด้วยกัน ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนี้ แต่มีข้อสันนิษฐานได้ ๓ กระแสดังนี้

 ๑. เมื่อสมัย ๘๐๐-๙๐๐ ปีก่อน สมัยที่เมืองนครศรีธรรมราชปกครองเมืองไทรบุรี คงมีคนไทยอพยพลงมาตั้งถิ่นฐานที่ตำบลสโตย-ละงู มาอาศัยปะปนกับคนมลายเดิม หลายคนอาจจะหันไปนับถือศาสนาอิสลามที่เรียกว่า พวกเสียมสาม ก็เป็นได้เช่นกัน ล่วงมาต้นสมัยกรงรัตนโกสินทร์ ทหารจากเมืองนครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุงได้มาคอยดูแลความเรียบร้อยในตำบลสโตย-ละงู ในฐานะผู้พิทักษ์พื้นที่ ต้องมาตั้งทัพเป็นแรมเตือนแรมปี บางส่วนไม่ยอมกลับถิ่นเดิม แต่งานกับสาวเมืองสตูล ก็ต้องเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม ตั้งถิ่นฐานบ้านช่องในเมืองสตูล ออกลูกออกหลานสืบต่อมาจนทุกวันนี้ อาจจะเป็นลาเทตุหนึ่งที่ทำให้ชาวมุสลิมจังหวัดสตูลบางท้องที่พูดภาษามลายไม่ได้
 ๒. ก่อนที่คนสยามจะเดินทางเข้าไปตั้งถิ่นฐานในเมืองไทรบุรีหรือปะลิส อาจจะเคยสำรวจพื้นที่ตำบลสโตย-ละงูมาก่อนเนื่องจากพื้นที่ของตำบลสโตย -ละงไม่มีที่ราบเหมาะแก่การทำนามีแต่ภูเขาทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก ชายฝั่งทะเลก็เป็นป่ชายเลน คนไทยถนัดอาชีพทำนาเป็นหลัก จึงไม่มีแรงจูงใจให้ตั้งถิ่นฐานในตำบลสโตย-ละงูก็เป็นได้ แตกต่างจากเมืองไทรบุรีและตำบลปะลิสที่มีพื้นที่ราบปลูกข้าวได้ผล จึงก่อตั้งชุมชนคนไทย หรือกัมปงเซียมขึ้นมากมาย ทุกวันนี้มีคนไทยพลัดถิ่นในแผ่นดินมาเลเซีย อาศัยอยู่ในรัฐเกละห์และรัฐปะลิสมาหลายชั่วอายุคนแล้ว
๓. ในปี พ.ศ. ๒๓๖๔ เจ้าพระยานคร (น้อย) ตีเมืองไทรบุรีได้สำเร็จ รัชกาลที่ ๒ ทรงแต่งตั้งพระยาอภัยธิเบศวร์ บุตรชายเจ้าพระยานครขึ้นเป็นเจ้าเมืองไทรบุรี ครองอำนาจอยู่ ๑๘ ปี น่าจะเป็นช่วงที่ชาวเมืองนครศรีธรรมราชกลุ่มใหญ่ อพยพเข้าไปดั้งถิ่นฐานที่เมืองไทรบรีรวมทั้งตำบลปะลิสด้าย เพื่อทำหน้าที่เป็นกองกำลังคอยรักษาความสงบเรียบร้อย เฉพาะตำบลสโตย-ละงู มีกองกำลังทหารอยู่แล้วบริเวณจุดยุทธศาสตร์ ๓ แห่ง คือที่มำบัง บาราเกต และละงู ด้วยเหตุนี้เองทำให้คนเชื้อสายไทยมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับเมืองนครศรีธรรมราชมากระทั่งยุคปัจจุบัน

                   การตั้งถิ่นฐานของชาวสตูลเชื้อสายไทย
                   ดังกล่าวแล้วแต่ต้น จังหวัดสตูลไม่มีชมชนคนไทย ที่มีคนตั้งถิ่นฐานทนาแน่นมั่นคงเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปีขึ้นไป สักษณะเดียวกับที่จัดด้งขึ้นในรัฐเกตะห์และปะลิส ที่เรียกว่ากำปงเซียมทุกวันนี้ สาเหตุสำคัญน่าจะมาจากตำบลสโตย-ละงู เป็นท้องถิ่นกันดาร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ไม่มีพื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนา สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กองทัพเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา เคยมาช่องสุมกำลัง กระจายกันอยู่บริเวณปากน้ำสามแห่ง คือที่ ลำบัง บาราเกต และ ละงู เพื่อคอยดูแลความสงบเรียบร้อยในมูเก็มสโตย-ละงู บรรดาแม่ทัพนายกองและทหารจากเมืองทั้งสาม ต้องมาเตรียมต่อเรือยกไปตีเมืองไทรบุรี พักอาศัยอยู่นานนับแรมเดือนแรมปี ส่วนหนึ่งไม่ยอมเดินทางกลับถิ่นเดิม หลายคนแต่งงานกับสาวมุสลิมเมืองสตูล เลยต้องเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามก็เป็นไปได้สูง กล่าวได้ว่าบรรพบุรุษชาวไทยในจังหวัดสตูล  ส่วนใหญ่มีพื้นเพเดิมจากเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา วัฒนธรรมที่ชาวเมืองใกล้เคียงนำติดตัวมาด้วยคือ หนังตะลุง มโนราห์ เพลงบอก และสำคัญที่สุดคือภายาท้องถิ่นภาคใต้ มีอิทธิพลสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวสตูลที่นับถือศาสนาอิสลาม นายเจ๊ะอับดุลล้าห์หลังปูเต๊ะ ให้ข้อคิดเห็นไว้น่าสนใจ สาเหตุที่ชาวมุสลิมจังหวัดสตูล ส่วนใหญ่พูดภาษามลายไม่ได้ เพราะได้รับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นจากสามจังหวัดเพื่อนบ้าน ได้แก่ภาษาถิ่นภาคใต้การละเล่นพื้นเมืองได้แก่หนังตะลุง มโนราห์ และ เพลงบอกนี่เองจึงเกิดการผสานวัฒนธรรมระหว่างคนเชื้อสายมลายูกับคนเชื้อสายไทยมาชำนาน ล่วงมาสมัยรัชกาลที่ ๕ คนไทยได้ตั้งวัดพระพุทธศาสนา แห่งแรกในตำบลม่ำบังนังคะราในปี พ.ศ.๒๔๒๕ ชื่อ วัดมำบัง (วัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวง) ล่วงมาปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้ตั้ง วัดบ้านจีน (วัดดุลยาราม) เมื่อสมัย ๕๐-๖๐ ปีล่วงแล้ว ทางราชการได้เปีดนิคมพัฒนาภาคใต้ ขึ้นที่ควนกาหลง เปิดโอกาสให้ชาวไทยพุทธจากจังหวัดใกล้เคียง เข้ามาจับจองที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพ เป็นสมัยที่คนไทยนับถือศาสนาพุทธจำนวนมาก อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดนี้ ท้องที่อำเภอควนกาหลงกับอำเภอมะนัง จึงมีคนไทยพุทธตั้งถิ่นฐานเป็นจำนวนมาก กลายเป็นบรรพบุรุษชาวไทยสตูลยุคใหม่ ชาวสตูลเชื้อสายไทยหรือคนไทยพุทธในจังหวัดสตูล จึงมีปริมาณค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับชาวไทยมุสลิม
            
๔. ชาวสตูลเชื้อสายจีน
                 ย้อนอดีดคนจีนอพยพสู่เมืองสตูลบรรพบุรุษของชาวสตูลนอกจากคนเชื้อสายมลายู และไทยหรือ สยามแล้ว ยังมีคนเชื้อสายจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองนี้ หลักฐานจากบันทึกของร้อยโทเจมส์ โลว์ และ ร้อยเอกเย็นรี่ เบอร์นี่ ทูตชาวอังกฤษเดินทางผ่านตำบลสโดย-ละงู ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๖๘ ช่วงที่สตูลกลายเป็นเมืองร้างไม่มีผู้ปกครองนั้น รายงานว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ใกลัคลองนำบัง ประกอบด้วยคนเชื้อสายมลายู สยามและจีน คนเชื้อสายมลายูมีมากที่สุด ถือเป็นชนกลุ่มใหญ่ชาวสยามหมายถึงคนไทยภาคใต้ ไม่เรียก คนไทย บันทึกของทูตอังกฤษรายงานว่า มีคนเชื้อสายจีนอาศัยอยู่ในชุมชนมำบัง ประกอบอาชีพทำนาและค้าขาย อีกแห่งหนึ่งคือที่ท่าเรือละงู ก็มีชาวจีนกลุ่มน้อยตั้งถิ่นฐานที่บริเวณปากน้ำหรือคลองละงู ตามประวัติคนจีนอพยพมาจากแผ่นดินใหญ่ เข้ามาตั้งหลักแหล่งที่เมืองมะละกา ทางตอนใต้ของแหลมมลายู ตั้งแต่ต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยนั้นมะละกาเปิดเป็นเมืองท่า ให้ชาวตะวันตกอาหรับ อิ่นเดีย และจีนมาค้าขายสินค้า ชาวจีนกลุ่มใหญ่เป็นเผ่านฮกเกี้ยน พื้นเพมาจากมณฑลฟูเจี้ยน (Fujian) ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับเกาะไต้หวัน จีนฮกเกี้ยนเมืองมะละกาสร้างฐานะได้อย่างรวดเร็ว นิยมแต่งงานกับชาวมลายูพื้นเมือง ถ้ามีลูกเป็นชายเรียกว่าบ้าบำ (baba) เป็นหญิงเรียกว่า โนนยา (Nyonya) หรือย่าหยา เมื่อพวกโปรตุเกสเข้ามาปกครองมะละกา  สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เกิดมีการผสานวัฒนธรรมระหว่างจีนกับโปรตุเกส ที่เด่นชัดคือการก่อสร้างอาคาร แบบชิโน-ปอร์จุกีส(Chino-Portuguese) สถาปัตยกรรมแบบผสมระหว่างตะวันออกกับตะวันตกทรือระหว่างจีนกับฝรั่งนั่นเอง ต่อมาคนจีนได้อพยพขึ้นไปตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือ สู่ดินแดนในอารักขาของสยาม ได้แก่เกาะปีนังของเมืองไทรบุรี และเหนือสุดจนถึงเกาะภูเก็ต เนื่องจากเกาะทั้งสองเป็นทำเลค้าขายสำคัญ โดยเฉพาะเกาะปีนังจีนฮกเกี้ยนได้เข้าครอบครองจนกลายเป็น China town ไปโดยปริยาย คนจีนได้ชื่อว่าเก่งกาจด้านการค้าขาย ขยันขันแข็งในการทำมาหากิน เป็นนักแสวงโชค ชอบงานบุกเบิกและท้าทาย ชาวจีนจากเกาะปีนังยังไม่หยุดยั้งแค่นั้น ยังหมายตาเกาะภูเก็ตไว้อีกแห่งหนึ่ง จีนฮกเกี้ยนกลุ่มใหญ่จึงทะลักเข้าสู่เกาะภูเก็ต มุ่งสร้างเกาะแห่งนี้ให้เจริญเหมือนปีนังบ้าง ส่วนตำบลสโตย-ละง ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองไทรบุรี คนจีนเห็นว่ายังไม่ค่อยเจริญนัก ก็พอมีคนจีนกลุ่มหนึ่งเข้าไปบุกเบิกด้านอาชีพตั้งถิ่นฐานบ้างแล้วตั้งแต่ต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์' อาจจะย้อนยุคไปสมัยตอนปลายกรุงศรีอยุธยาก็ได้ ล้วนเป็นคนจีนที่อพยพมาจากเกาะปีนังทั้งสิ้น ส่วนใหญ่เป็นชาวจีนเผ่าฮกเกี้ยนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เมืองมะละกา ตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยานั่นเอง
                      
ยุคทองคนจีนสมัยพระยาภูมินารถภักดี
              หลักฐานจากหนังสือ บันทึกจดหมายเหตุพระยาภูมินารถภักดี พ.ศ.๒๔๓๙-๒๔๔๓ หน้า ๙๖ มีการสำรวจจำนวนราษฎรในเมืองสตูล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๒ พบว่าจังหวัดสตูลมีประชากรทั้งสิ้น ๒๖,๙๔๐ คน ประกอบด้วยคนเชื้อสายมลายู คนไทย (สยาม) และเชื่อสายจีน แบ่งออกเป็นเชื้อสายมลายกับคนไทย (สยาม) ๒๒,๒๖๐ คน (ไม่ระบุว่าคนเชื้อสายไทยกี่คน) คนเชื้อสายจีน๔,๖๘๐ คน การตั้งถิ่นฐานของคนจีนในเมืองสตูลมีดังนี้

๑. อยู่ในมำบังนังคะราและตำบลบ้านจีน (ฉลุง) ๖๔๒ คน
๒. อยู่ในย่านชุมชน หรือ ตลาดสุไหงอุเปะห์ ๔๕๖ คน
ต. อยู่แถบชายทะเลและตามหลุมถ่าน ๒,๕๔๑ คน
๔. ทำสวนพริกไทยที่สุไหงอุเปะห์ ๑.๐๔๐ คน

                   ปี พ.ศ ๒๔๔๒ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งแรกของจังหวัดสตูล พระยาภูมินารถภักดีเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นยุคที่คนจีนกลุ่มใหญ่จากเกาะปีนัง อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองสตูล ทั้งนี้ เกิดจากการชักชวนของพระยาภูมินารถภักดี ให้คนจีนเข้ามาบุกเบิกด้านการค้าขาย จึงมีคนจีนประกอบอาชีพประมง ตัดฟืนเผาถ่าน เป็นพ่อค้าตามบริเวณท่าเรือจำนวน ๒,๕๔๑ คน ทำสวนพริกไทยและค้าขายที่ทุ่งหว้า หรือสุโหงอุเปะห์ ๑,๔๙๗ คน อาศัยอยู่ในม่ำบังนังคะรากับตำนลบ้านจีน ๖๔๒ ทำให้ เศรษฐกิจและการค้าในเมืองสตูลเจริญขึ้นอย่างทันตาเห็น มีการก่อสร้างตึกแถวสถาปัตยกรรมชิโน-ปอร์จกิส(Chino-Portuguese style) ขึ้นที่ถนนบุรีวานิชและตลาดท่งหว้า เป็นรูปแบบผสมระหว่างโปรตุเกสกับจีน ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากเมืองมะละกาทั้งสิ้น เป็นที่น่าเสียดาย ทุกวันนี้ ตึกเก่าย่านถนนบุรีวานิชและตลาดทุ่งหว้า ถูกรื้อถอนหรือไม่ก็เปลี่ยนแปลงสภาพจากเดิมไปมากแล้วสมัยนั้น พระยาภูมินารถภักดีได้แต่งตั้งตัวแทนคนจีนร่วมเป็นกรมการเมือง จำนวน ๒ คน คนแรกคือ นาย กัง เช่ง ทิ้น (นายเช่งนั้น แช่กัง) ฐานะเทียบเท่ากำนัน คอยดูแลกิจการร้านค้าและความสงบเรียบร้อยในหมู่ชาวจีน จึงเป็นที่มาของชื่อ ท่าเรือเซ่งหินริมคลองมำบัง ใกล้กับโรงแรมเหรียญทอง ท่าเรือเซ่งทิ้นเลิกใช้ไปนานแล้ว ชาวจีนอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นกรมการเมืองสตูลด้วย คือนาย อั้ง บา จิ (นายบาจิ แซ่อั้ง) หรือ กัปตันบาจิ ฐานะผู้ช่วยของนายกัง เช่ง พื้น มีหน้าที่เพื่อคอยดูแลความสงบเรียบร้อยของหมู่คนจีนเช่นกัน นอกจากนั้น พระยาภูมินารถภักดีได้ปูนบำเหน็จพ่อค้าชาวจีนเป็นขั้น ขุน ๒ คน ได้แก่ ขุนชินธุรการ กับ ขุนเพ็ญพาณิชย์ สำหรับขุนชินธุรการ หรือนายเทียนอิ้ว แข่ลิ่ม เป็นบุตรชายของนายบุนม่า แช่ลิ่ม ต้นตระกูล ลิ่มกุลพงษ์ ผู้บุกเบิกด้านการค้าในมำบังนังคะรา เคยขับเกวียนนำสินค้าไปขายที่ตลาดควนเนียงได้ช่วยเหลือราชการมากมาย ส่วนขุนเพ็ญพาณิชย์ (นายก่าโห แซ่อุ่ย) ตันตระกูล แซ่อุ่ย เข้ามาตั้งรกรากที่สุไหงอุเปะห์ ได้สร้างความเจริญแก่ท้องถิ่น อีกบุคคลหนึ่งที่เข้ามาถิ่นฐานในจังหวัดสตูล สมัยพระยาภูมินารถภักดีเช่นกัน คือนายอีซิบ แซ่ตัน ต้นตระกูลตันตระการสกุล และ ตันติอาภรณ์ เข้ามาประกอบอาชีพตัดฟื้น เผาถ่าน ลูกหล่านจากตระกูลนี้ได้สร้างความเจริญด้านการค้าและธุรกิจแก่จังหวัดสตูลจนมาทุกวันนี้ชาวสตูลที่มีเชื้อสายจีนที่อพยพมาจากเกาะปีนัง จึงเป็นเผ่าฮกเกี้ยนส่วนใหญ่ ภายหลังก็มีคนจีนเผ่าอื่นอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานไม่ว่า จีนแคะ ไหหลำ ฯลฯ โดยเฉพาะชาวสตูลที่มีเชื้อสายฮกเกี้ยนยังมีญาติพี่น้องอาศัยอยู่ที่เกาะปีนังหรือบางรัฐของประเทศมาเลเขีย พวกเขายังไปมาหาสู่กันตามโอกาส กลายเป็นเครือญาติระหว่างประเทศสืบมาจนทุกวันนี้ มีส่วนช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศไปด้วยในตัว
              
๕. ชาวสตูลเชื้อสายชาวเล
                   ชาติพันธุ์ของชาวเล
                  บรรพบุรุษชาวสตูลกลุ่มสุดท้าย ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดสตูลเมื่อประมาณ ๑๐๐ กว่าปีมานี้เอง ได้แก่ชาวเลทรือชาวน้ำ จัดเป็นชนกลุ่มน้อย อาศัยอยู่ที่หมู่เกาะอาดัง-ราวี และหมู่เกาะบูโหลน ปัจจุบันมีประมาณ ๑,๓๐๐ คน ราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่าชาวเลเป็นชนเผ่าพื้นเมืองเดิมของมลายูที่หลงเหลืออยู่ได้อพยพเข้ามาอยู่ในแหลมมลายูตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ก่อนที่พวกมลายูใหม่จะเข้ามาตั้งถิ่นฐาน โดยที่ไม่ได้กลายพันธุ์เป็นพวกมลายูชาวมลายูเรียกชื่อชาวเลว่า โอรังละอุต ตามรากศัพท์ โอรั่งแปลว่า คน ส่วน ละอุต แปลว่า ทะเล ภาษาท้องถิ่นภาคใต้เรียกทะเล ว่า เล แต่ชาวเลในจังหวัดสตูล กระบี่ และภูเก็ต เรียกชื่อพวกเขาว่า อูรักละโว้ย ซึ่งเพี้ยนมาจากโอรังละอุตนั่นเอง บางกระแสอธิบายว่า ชาวเลเป็นพวกอินโตนีเซียกลุ่มหนึ่ง อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่เกาะบอร์เนียว ดำรงวิถีชีวิตแบบชาวเกาะ กลายเป็นเผ่าพันธุ์พวก ดยัค (Dyak) มาตราบเท่าทุกวันนี้ พวกนี้ชอบอาศัยบนบก มีที่อยู่แน่นอน หรือเรียกว่า ดยัคบก (Land Dyak) แต่มีอีกพวกหนึ่งชอบใช้ชีวิตร่อนเร่ ทำมาหากินในท้องทะเลเรียกว่าดยัคทะเล (Sea Dyak) มีการอพยพไปตามหมู่เกาะต่าง ๆ ในช่องแคบมะละกา และเลยขึ้นมาทางตอนเหนือของทะเลอันดามันซึ่งมีหมู่เกาะมากมาย ทั้งในประเทศไทย และพม่าพวก ดยัคทะเล หรือ Sea Dyak ที่อพยพมาจากเกาะบอร์เนียว ของอินโดนีเซีย ร่อนเร่ตั้งถิ่นฐานแถบทะเลแถบช่องมะละกา ขึ้นไปทางเหนือแถบทะเลอันดามั่น มีการแบ่งชาวเลในภูมิภาคนี้เป็น ๓ กลุ่มใหญ่ ได้แก่ มะละกา ลิงคา และ มาชิงห์หรือ สิงห์ พวกมะละกาอาศัยอยู่ตามเกาะต่างๆ  ในช่องแคบมะละกา ลิงคาหมายถึงชาวเลที่อาศัยอยู่ที่หมู่เกาะลิงคาฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา กลุ่มสุดท้ายคือพวกมาชิงห์หรือสิงห์อาศัยตามเกาะต่าง ๆ ทางตอนเหนือของทะเลอันดามัน ไปจดเมืองมะริด ทะวายของพม่า ชาวเลทั้งสามกลุ่มมีการผสมพันธุ์ข้ามพวกมาข้านาน จึงมีชื่อเรียกกลุ่มย่อยมากมาย ได้แก่ อูรักละโว้ย มอเก็น มอแกน หรือ มอเกล็น ล้วนสืบตระกูลมาจากพวกดยัคทะเล หรือ Sea Dyak ทั้งสิ้นราชบัณฑิตยสถานยังอธิบายเพิ่มเติมว่า  ชาวเลเป็นพวกออสโตรเนเชียน (คำว่า Austronesian มาจากรากศัพท์ australis แปลว่า ทิศใต้ และ nesos แปลว่า เกาะ) เป็นเผ่ามองโกลอยด์ ชาวเลจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกบาตั๊กในอินโดนีเชีย พวกดยัค ที่เกาะบอร์เนียว และพวกซาไก หรือซีนอย ที่อาศัยอยู่ในแหลมมลายูตอนล่าง ถิ่นฐานดั้งเดิมของพวกออสโตรเนเซียนอยู่แถบลุ่มน้ำแยงชีเกียง ประเทศจีน ภายหลังอพยพลงมาทางใต้เป็นกลุ่ม ๆ โดยอาศัยลำน้ำโขงเรื่อยมาสู่คาบสมุทรอินโตจีนออกสู่ทะเล แล้วกระจัดกระจายไปอาศัยตามเกาะต่าง ๆ ในแหลมมลายู และอินโดนีเซีย
                  ชาวเลอพยพมาดตั้งถิ่นฐานที่จังหวัดสตูล
                  ชาวเลอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดสตูลครั้งแรกที่เกาะหลีเป๊ะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะอาดัง-ราวี เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีเนินเขาเพียงเล็กน้อย เป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญเดิมเกาะหลีเป๊ะเป็นที่รกร้างว่างเปล่า มีพื้นที่ประมาณ ๕ ตารางกิโลเมตร บรรพบุรุษของชาวเลที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเกาะหลีเป๊ะ คือโต๊ะมีรีหรือโต๊ะฮีหลี พื้นเพเป็นชาวอินโดนีเชีย นับถือศาสนาอิสลาม เดินทางไปมาค้าขายระหว่างปีนังกับไทย ได้แต่งงานกับหญิงชาวเล เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ มีลูก ๓ คนเป็นผู้หญิง ๒ ชาย ๑ โต๊ะมีรีต้องการหาที่อยู่ใหม่เห็นว่าเกาะหลีเป๊ะ มีความเหมาะสมในการตั้งถิ่นฐาน เพราะมีที่ราบและแหล่งน้ำจืดอุดมสมบูรณ์ จึงชักชวนพวกชาวเลจากท้องที่อื่น ๆ มาตั้งบ้านเรือนโดยขออนุญาตต่อพระยาภูมินารถภักดีเจ้าเมืองสตูล สมัยนั้นสันนิษฐานว่าชาวเลได้อพยพเข้ามาอยู่ที่เกาะหลีเป๊ะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒ สมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นปีที่มีการแบ่งแยกดินแดนระหว่างไทยกับอังกฤษ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ก่อนปี พ.ศ.๒๔๕๒ หมู่เกาะตะรุเต่า หมู่เกาะอาดัง-ราวี ขึ้นต่อเมืองไทรบุรี เมื่อมีข้อตกลงแบ่งแยกดินแดนกันระหว่างสองประเทศ หมู่เกาะลังกาวีให้ไปขึ้นต่ออังกฤษ หมู่เกาะตะรุเต่าตกเป็นของฝ่ายไทย คือให้ขึ้นต่อจังหวัดสตูล อังกฤษต้องการผนวกหมู่เกาะอาดัง-ราวีให้เป็นของมลายูตามเดิม แต่ด้วยไหวพริบและความสามารถของพระยาภูมินารถภักดีผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนั่นเองได้ชักชวนให้โต๊ะฮีหลีจากจังหวัดกระบี่ พร้อมพรรคพวกชาวเลกลุ่มใหญ่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เกาะหลีเปีะ  ฝ่ายไทยจึงยกเป็นข้ออ้างสำคัญว่าหมู่เกาะแห่งนี้มีคนในอาณัติของไทยอาศัยอยู่ก่อนจึงควรขึ้นต่อจังหวัดสตูล เนื่องจากมีชาวน้ำอพยพจากทางตอนเหนือของทะเลช่องมะละกา (สมัยก่อนไม่เรียกทะเลอันดามัน) ดังนั้นพวกชาวเลจึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้หมู่เกาะอาดัง-ราวียังขึ้นต่อแผ่นดินไทย ถ้านับเวลาชาวเลอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดนี้เมื่อ ๑๐๐ ปีมานี้เอง เข้ามาที่หลังกลุ่มเชื้อชาติอื่นได้แก่ พวกนิกริโต คนเชื้อสายมลายู คนเชื้อสายไทย และคนเชื้อสายจีน สตูลเมืองผสานวัฒนธรรมถ้าไม่นับมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งสูญพันธุ์ไปหลายพันปีก่อน พวกนิกริโตหรือเงาะเซมังคือชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินเมืองสตูลมานับพัน ๆ ปีเช่นกัน แต่ยังคงหลงเหลืออยู่แค่หลักร้อยเท่านั้น มีฐานะเป็นคนเถื่อนที่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวแต่อย่างใด ชาวสตูลเชื้อสายมลายูมีจำนวนสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคนเชื้อสายไทย จีน และชาวเล นับแต่โบราณกาลเมืองสตูลมีเมืองไทรบุรีกับเมืองนครศรีธรรมราชเป็นพี่เลี้ยงที่สำคัญ เมืองทั้งสองก่อตั้งขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๗ ไทรบุรีมีอิทธิพลด้านการปกครอง ภาษามลายู และศาสนาอิสลาม ส่วนเมืองนครศรีธรรมราช มีอิทธิพลด้านพุทธศาสนา ภาษาไทยท้องถิ่นภาคใต้ การละเล่นพื้นเมือง เช่น หนังตะลุง มโนราห์ เพลงบอก และช่วยดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ในอดีตเมืองสตูลเคยเป็นตำบลหนึ่งอยู่ใต้อาณัติของเมืองไทรบุรี ชาวสตูลส่วนใหญ่จึงมีบรรพบุรุษเป็นชาวเมืองไทรบุรี  ส่วนเมืองนครศรีธรรมราชเคยปกครองเมืองไทรบุรี ทหารจากเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา ได้ยาตราทัพเข้ามาทั้งทางเรือและทางบกมาดูแลความสงบเรียบร้อย เหล่าแม่ทัพนายกองและทหารต้องรักษาพื้นที่เป็นเวลานาน พวกเขายังมีอิทธิพลด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นของคนไทยภาคใต้ มีส่วนทำให้ชาวมุสลิมพูดภาษามลายูกันน้อยลง มีพูดกันเฉพาะบางตำบลเท่านั้น เช่น ตำบลตำมะลัง บ้านควน และเจ๊ะบิลัง ชาวไทยมุสลิมหลายท้องที่จึงพูดภาษามลายูไม่ได้เลย คงมีทหารส่วนหนึ่งแต่งงานกับสาวมุสลิมเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม เป็นลักษณะการผสานวัฒนธรรมที่ลงตัวระหว่างเมืองไทรบุรีกับเมืองนครศรีธรรมราชมาแต่อดีต สำหรับชาวสตูลเชื้อสายคนจีนมีบทบาททางด้านเศรษฐกิจมาตั้งแต่สมัยต้นกรงรัตนโกสินทร์ ยุคทองของคนจีนคือสมัยพระยาภูมินารกภักดิ์เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ชาวจีนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นจำนวนมาก ช่วยกันสร้างสไหงอุเปะห์ให้กลายเป็นปีนังน้อย ส่งพริกไทยไปขายที่ตลาดปีนัง ได้สร้างอาคารแบบชิโน-ปอร์จุกีส ขึ้นในย่านถนนบุรีวานิชตลาดทุ่งหว้า แม้แต่คฤหาสน์กูเด็น ก็ถือเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมตะวันตกเช่นกัน ส่วนชาวเลที่อาศัยอยู่ที่หมู่เกาะอาดัง-ราวี และหมู่เกาะบุโหลนถือเป็นชนกลุ่มน้อย เป็นที่น่าเสียดายชาวเลยุคใหม่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตต่างไปจากบรรพบุรษ เมื่อหมู่เกาะทั้งสองเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้คนจากแผ่นดินใหญ่ได้ไปเยี่ยมชมธรรมชาติ อย่างไรก็ตามบรรพบุรุษชาวสตูลที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างบ้านสร้างเมืองมาแต่อดีต จึงประกอบด้วยคน ๓ เชื้อชาติ ได้แก่ มลายู ไทย และจีน จังหวัดสตูลจึงมีฐานะเป็นปีกแผ่นมั่นคงมาได้ ๑๗๐ กว่าปีแล้ว ผู้คนอยู่ร่วมกันแบบถ้อยที่ถ้อยอาศัย เป็นสังคมสงบสุขและสมานฉันท์ตลอดมาจนทุกวันนี้

            ลำดับประวัติศาสตร์ของสตูล
             
๑. สตูลสมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา
            ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวไว้ว่าสตูลตั้งอยู่ ณ ที่ใด แต่สันนิษฐานว่าในสมัยดังกล่าวยังไม่มีเมืองสตูล คงมีแต่หมู่บ้าน เล็ก ๆ กระจัดกระจายอยู่ตามที่ราบใกล้ฝั่งทะเล เมืองสตูลเป็นมูเค็ม (Mukem) หรือตําบลหนึ่งของเมืองไทรบุรีหรือเกดะห์มาก่อน ไทรบุรีเป็นเมืองสําคัญของแหลมมลายูฝ่ายใต้ ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยนับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา ในสมัยนั้นไทยปกครองดินแดนแหลมมลายูตลอดถึงเกาะสิงคโปร์ด้วย ล่วงมาสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อใดที่การปกครองของไทยอ่อนแอและบังเกิดความยุ่งเหยิงขึ้นในบ้านเมือง ฝ่ายมลายูก็แข็งเมืองแต่เมื่อใดเข้มแข็งมลายูก็ขึ้นอยู่กับไทยตามเดิม สําหรับเมืองไทรบุรีขึ้นต่อราชอาณาจักรไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ไทรบุรีตั้งตัวเป็นอิสระไม่ยอมขึ้นต่อฝ่ายไทย ตลอดสมัยกรุงธนบุรีของพระเจ้าตากสินมหาราชฝ่ายไทยก็ปราบไม่ได้
               ๒. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
                 ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สตูลเป็นเพียงตําบลซึ่งอยู่ในเขตเมืองไทรบุรี ฉะนั้นประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของเมืองไทรบุรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าเมืองไทรบุรีชื่อตวนกูอับดุลละ โมกุมรัมซะ ถึงแก่กรรม น้องชายชื่อตนกูตูบาอุดดินซึ่งเป็นผู้ว่าราชการเมือง (รายามดา) ได้เป็นเจ้าเมืองแทน ต่อมาไม่นานนักก็ถึงแก่กรรมและไม่ปรากฏว่าตวนกูดีมาอุดตื่นมีบุตรหรือไม่ ต่อมาปรากฏว่าบุตรชายของตวนกู อับดุลละ โมกุมรัมซะ จํานวน ๓๐ คน ซึ่งต่างมารดากันได้แย่งชิงกันเป็นเจ้าเมืองไทรบุรี เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) ซึ่งเป็นผู้กํากับหัวเมืองฝ่ายตะวันตก จึงได้พิจารณานําตัวตวนกูปะแงรัน และตวนกูปัศนู ซึ่งเป็นบุตรของพระยาไทรบุรี (ตวนกูอับดุลละ โมกุมรัมซะ) เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ กรุงเทพฯ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตวนกูปะแงรัน ซึ่งเป็นบุตรคนโตให้เป็นพระรัตนสงครามรามภักดี ศรีศุลต่านมะหะหมัด รัตนราชบดินทร์ สุรินทวงษา พระยาไทรบุรี และทรงแต่งตั้งตวนกูปัศนู เป็นพระยาอภัยนุราช ตําแหน่งรายามุดา หรือปลัดเมือง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีข้าศึกยกตีเมืองถลางในปี พ.ศ. ๒๓๕๒ พระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) ได้ส่งกองทัพจํานวน ๒,๕๐๐ คน ไปช่วยรบกับข้าศึกที่เมืองถลาง และในปี พ.ศ. ๒๓๕๕ พระยาไทรบุรี (ตวนกูปะลงรัน) ได้ยกกองทัพไปตีได้เมืองแประ ทําให้เมืองดังกล่าวเป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงเทพฯ ด้วยความดีความชอบทั้ง ๒ ครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศพระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) เป็นเจ้าพระยาไทรบุรี ต่อมาไม่นานนักเจ้าพระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) เกิดแตกร้าวกับพระยาอภัยนุราช (ตวนกูปัศนู) ผู้เป็นรายามุดา ปรากฏข้อความในหนังสือเก่าที่เมืองนครศรีธรรมราชว่า การแตกร้าวเกิดขึ้น เพราะพระยาอภัยนุราชขอเอาที่กวาลามดาเป็นบ้านส่วย เจ้าพระยาไทรบุรีไม่ยอมให้ที่ดังกล่าวแต่จะให้ที่อื่นแทน พระยาอภัยนุราชไม่ยอมรับและต่างฝ่ายก็ทําเรื่องราวกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพัทลุงเป็นข้าหลวงออกไปว่ากล่าวไกล่เกลี่ยเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๓๕๖ แต่เจ้าพระยาไทรบุรีกับพระยาอภัยนุราชไม่ปรองดองกัน ในที่สุดจึงโปรดให้ย้ายพระอภัยนุราชไปเป็นผู้ว่าราชการเมืองสตูล ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเมืองไทรบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ ได้มีข่าวเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ว่าข้าศึกเตรียมกองทัพจะยกมาตีเมืองไทย และได้คิดชักชวนเจ้าพระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) ให้เข้าเป็นพวกยกมาทําศึกอีกทางหนึ่งด้วย จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีท้องตราสั่งออกไปให้สืบสวนและให้กองทัพเมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา ไปตั้งต่อเรือที่เมืองสตูล เพื่อเป็นการคุมเมืองไทรบุรีไว้ด้วย ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖๔ ตนกูม่อมซึ่งเป็นน้องคนหนึ่งของเจ้าพระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน)) ได้เข้ามาฟ้องต่อเจ้าพระยานครศรีธรรมราชว่า เจ้าพระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) เอาใจออกห่างและไปเผื่อแผ่แก่ข้าศึก จึงโปรดเกล้าให้มีตราลงไปหาตัวเจ้าพระยาไทรบุรีเข้ามาเพื่อไต่ถามเจ้าพระยาไทรบุรี ได้ทราบท้องตราแล้วก็เลยตั้งแข็งเมือง ต้นไม้เงินต้นไม้ทองก็ไม่ส่งเข้าไปทูลเกล้าถวายตามกําหนด จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีตราลงไปยังเมืองนครศรีธรรมราชว่าเจ้าพระยาไทรบุรี เอาใจเผื่อแผ่แก่ข้าศึกเป็นแน่เลย จะละไว้ให้เมืองไทรบุรีเป็นไส้ศึกอีกทางหนึ่งไม่ได้ ให้พระยานครศรีธรรมราชยกกองทัพลงไปตีเมืองไทรบุรีเอาไว้ในอํานาจเสียให้สิทธิ์ขาด ในเวลานั้นพระยานครศรีธรรมราช ได้ต่อเรือรบเตรียมไว้ที่เมืองตรังและเมืองสตูลแล้ว เมื่อได้รับท้องตราให้ไปตีเมืองไทรบุรี จึงได้เตรียมจัดกองทัพ และทํากิติศัพท์ให้ปรากฏว่าจะยกไปตีเมืองมะริดและเมืองตะนาวศรี และได้สั่งให้เจ้าพระยาไทรบุรีเป็นกองลําเลียงส่งเสบียงอาหาร แต่เจ้าพระยาไทรบุรีก็บิดพริ้วไม่ยอมส่งเสบียงอาหารมาให้ พระยา นครศรีธรรมราช จึงได้ยกกองทัพบก กองทัพเรือ พร้อมด้วยกองทัพเมืองพัทลุง และเมืองสงขลา ยกทางบกลงไปที่เมืองไทรบุรีพร้อมกัน ได้สู้รบกันเล็กน้อยกองทัพพระยานครศรีธรรมราช ก็ได้เมืองไทรบุรีในปี พ.ศ. ๒๓๖๔ ส่วนเจ้าพระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) หลบหนีไปอยู่ที่เกาะหมาก (เกาะปีนัง) พระยานครศรีธรรมราชจึงให้พระภักดีบริรักษ์ (แสง) เป็นผู้รักษาเมืองไทรบุรี และให้นายนุช มหาดเล็ก เป็นปลัดอยู่รักษาราชการที่เมืองไทรบุรี ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งพระภักดีบริรักษ์เป็นพระยาอภัยธิเบศร์ มหาประเทศราชธิบดินทร์ อินทรไอศวรรย์ ขัณฑสมาตยาชิตสิทธิสงครามรามภักดี พิริยะพาหะ เป็นพระยาไทรบุรี และตั้งนายนุชมหาดเล็ก เป็นพระยาเสนานุชิต ตําแหน่งปลัดเมืองไทรบุรี เมืองไทรบุรีตั้งอยู่ในอํานาจควบคุมดูแลของเมืองนครศรีธรรมราชตั้งแต่นั้นมา ในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ ตนกูเดน ซึ่งเป็นบุตรของตนกูรายา ผู้ซึ่งเป็นพี่ชายต่างมารดากันกับอดีตเจ้าพระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) ได้เที่ยวเกลี้ยกล่อมให้ผู้คนเข้าไปเป็นสมัครพรรคพวก ได้มากแล้วก็ยกเข้าไปตีเมืองไทรบุรีได้ พระยาอภัยธิเบศร์ เจ้าเมืองไทรบุรีและคนไทยในเมืองไทรบุรีต้องถอย ไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองพัทลุง เจ้าพระยานครศรีธรรมราช ทราบเรื่อง แล้วมีใบบอกเข้ามายังกรุงเทพฯ จึงโปรด ให้ยกกองทัพลงไป ๔ กอง คือ พระยาณรงค์ฤทธิโกษา คุมลงไปกองหนึ่ง พระยาราชวังสัน กองหนึ่ง พระยาพิชัยบุรินทรา กองหนึ่ง พระยาเพชรบุรี (ศุข) อีกกองหนึ่ง กองทัพทั้ง ๔ กองนี้ยกลงไปถึงเมืองสงขลาแล้ว ก็ได้ทราบความว่าเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ได้ยกกองทัพเมืองนครศรีธรรมราชไปยังเมืองไทรบุรีแล้ว ดังนั้นกองทัพกรุงเทพฯ ทั้ง ๔ กอง จึงได้ยกไปทางบริเวณ ๕ หัวเมือง แต่กําลังไม่พอที่จะไปรักษาความสงบได้ เนื่องด้วยเมืองกล้นต้นและเมืองตรังกานู ได้ยกทัพขึ้นมาช่วยเมืองไทรบุรีและบริเวณ ๒ หัวเมือง จึงได้มีใบบอกขอกําลังเพิ่มเติมจากกรุงเทพฯ อีกได้โปรดให้เจ้าพระยาคลัง (ดิศ) ซึ่งในครั้งนั้นดํารงตําแหน่งทั้งที่สมุหพระกลาโหม และกรมท่า เป็นแม่ทัพใหญ่ยกกองทัพเรือตามลง ไปอีกทัพหนึ่ง ฝ่ายเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ได้ยกกองทัพเมืองนครศรีธรรมราชลงไปยังเมืองไทรบุรี ได้สู้รบกับพวกไทรบุรี และได้เข้าล้อมตวนกูปะแงรันกับพวกไว้ ตวนกูปะแงรันกับพวกหัวหน้าเห็นว่าจะหนีไม่พ้นแน่ก็พากันฆ่าตัวตาย เจ้าพระยานครศรีธรรมราช ได้เมืองไทรบุรีกลับมาเป็นของไทยดังเดิม ในปี พ.ศ. ๒๓๘๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ปรากฏว่าได้เกิดความยุ่งยากขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเมืองไทรบุรี เนื่องจากตนกูมะหะหมัดสหัส ตนกูอับดุลละ ซึ่งเป็นหลานเจ้าพระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) ซึ่งได้หลบหนีไปเป็นโจรสลัดในทะเลตายตะวันตก ได้กลับยกพวกเจ้ามาคบคิดกับหวันมาลี ซึ่งเป็นหัวหน้าสลัดอยู่ที่เกาะยาว แขวงเมืองภูเก็ต ได้ชักชวนผู้คนเข้ามาเป็นพวกได้จํานวนมากขึ้นแล้ว จึงได้ ยกพวกเข้ามาที่เมืองไทรบุรีอีก ในขณะนั้นพระยาอภัยธิเบศร์ (แสง) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองไทรบุรีกับพระยาเสนานุชิต (นุช) ปลัดเมืองไทรบุรี ซึ่งเป็นบุตรเเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเป็นผู้รักษาเมืองไทรบุรีอยู่ และเห็นว่าจะอยู่รักษาเมืองไว้ไม่ได้ จึงต้องถอยมาตั้งมั่นอยู่ ณ เมืองพัทลุง แล้วมีหนังเสือบอกเข้ามายังกรุงเทพฯ ในเวลานั้นข้าราชการผู้ใหญ่ทางหัวเมืองปักษ์ใต้ ซึ่งเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชและพระยาสงขลา เป็นต้น ได้เข้าไปอยู่ในกรุงเทพฯ เพื่อเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และ ช่วยงานทําพระเมรุถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จ พระศรีสุลาไย สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง เมื่อตนคุมะหะหมัดสาหัสและหวันมาลี ตีได้เมืองไทรบุรีแล้ว ก็มีใจกําเริบด้วยรู้แน่ว่าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทางหัวเมืองปักษ์ได้ส่วนมากไม่อยู่ จึงได้คบคิดกันยกพวกเข้าตีได้เมืองตรัง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครศรีธรรมราชได้อีกเมืองหนึ่ง ครั้นเมื่อได้เมืองตรังแล้ว ก็ยกพวกเข้ามาเพื่อจะตีเมืองสงขลาต่อไป แล้วแต่งคนให้ชักชวนเกลี้ยากล่อมทางบริเวณ ๗ หัวเมือง ให้กําเริบขึ้นอีก เมื่อมีข่าว เข้ามาถึงกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ผู้ว่าราชการเมืองทางปักษ์ใต้ รีบกลับออกไปรักษาเมืองทันที ถึงกระนั้นก็ยังทรงพระวิตกอยู่ ด้วยคราวนี้พวกสลัดเข้ามาตีได้เมืองตรัง และยกกําลังประชิดเมืองสงขลา ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ด้วย เกรงว่าพวกบริเวณ ๗ หัวเมือง ได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองยะหริง เมืองระแงะ เมืองสายบุรี เมืองรามัญ และเมืองยะลา รวมทั้งเมืองกลันตัน ตรังกานู จะกําเริบขึ้นมาอีก จึงทรงพระราชดําริให้จัดกองทัพใหญ่ยกออกไปจากกรุงเทพฯ เหมือนอย่างที่เคยโปรดให้เจ้าพระยาคลัง ออกไปเมื่อคราวก่อน เป็นแต่เปลี่ยนให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัต) ตําแหน่งจางวางพระคลังสินค้าเป็นแม่ทัพ ยกไปยังเมืองสงขลา ส่วนเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเมื่อไปถึงเมืองนครศรีธรรมราชแล้ว ก็เกณฑ์ผู้คนจากเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองพัทลุง ให้พระยาอภัยธิเบศร์ (แสง) ซึ่งเป็นพระยาไทรบุรี พระยาเสนานุชิต (นุช) ปลัดเมืองไทรบุรี และพระยาวิชิตสรไกร ยกลงไปตีเมืองไทรบุรีคืนจากพวกสลัดที่ยึดเมืองอยู่ เมื่อพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัต) ยกกองทัพไปตั้งอยู่ ณ เมืองสงขลานั้น ได้ทราบว่าพระยาไทรบุรี พระเสนานุชิต และพระวิชิตสรไกร ยกกองทัพเข้ ตีเมืองไทรบุรีคืนได้แล้วในปลายปี พ.ศ. ๒๓๘๓ พระยาศรีพิพัฒน์รัตนโกษา จึงได้จัดการเมืองไทรบุรีให้เป็นที่เรียบร้อยกันต่อไป และได้พิจารณาเห็นว่าพระยาไทรบุรีและพระเสนานุชิต เป็นคนไทย จะให้อยู่รักษาเมืองไทรบุรี ต่อไปก็จะได้รับความยุ่งยากเนื่องจากบุตรหลานของเจ้าพระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) จะยกมารบกวนย่ํายีบ้านเมืองอีก ดังนั้นจึงได้จัดแบ่ง แยกแขวง อําเภอเมืองไทรบุรีออกเป็น ๔ เมือง ประกอบด้วย

๑. เมืองกะปังปาซู ตั้งให้ตนกูอาเส้น เป็นเจ้าเมือง
๒. เมืองปลิส ตั้งให้เสสอุเส้น เป็นเจ้าเมือง
๓. เมืองสตูล ตั้งให้ตนกูมัดอาเก็บ เป็นเข้าเมือง
๔. เมืองไทรบุรี ตั้งให้ตนกูอาหนุ่ม เป็นผู้ว่าราชการเมือง

                 โดยทั้ง ๔ เมืองนี้คงให้ขึ้นอยู่กับเมืองนครศรีธรรมราชต่อไปดั้งเดิม สําหรับเมืองสตูลซึ่งตนกูมัตอาเก็บ เป็นเจ้าเมืองนั้นปรากฏว่า ตนกุมัตอาเก็บเป็นวงศ์ญาติของเจ้าเมืองไทรบุรีคนเก่า และตั้งบ้านเรือนอยู่ที่กวาลามดา แขวงเมืองไทรบุรี ตนกูมัดอาเก็บรับตําแหน่งเจ้าเมืองสตูลอยู่นานถึง ๓๗ ปี ซึ่งได้รับพระราชทานตําแหน่งเป็นพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ มหินทรายานุวัตรศรีสตูล รัฐจางวาง ในหนังสือพงศาวดารเมืองสงขลา กล่าวถึงชื่อผู้ว่าราชการเมืองสตูลไว้ว่า... ชื่อตนกูเดหวาได้เป็นพระยาสตูล... ดังนั้นจึงเป็นที่เข้าใจว่าตนกูมัดอาเก็บมีชื่อเรียกกันง่าย ๆ ว่า “ตนกูเดหวา” และที่ได้กล่าวไว้ว่าได้แบ่งเมืองไทรบุรีเป็น ๓ เมืองนั้น ถ้านับจํานวนแล้วก็จะเป็น ๔ เมือง รวมทั้งเมืองไทรบุรีด้วย ส่วนรายชื่อผู้ว่าราชการเมืองนั้นพงศาวดาร เมืองสงขลากล่าวไว้ไม่ตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสลับชื่อผู้ว่าราชการเมืองไทรบุรีเป็นยมตวันซึ่งก็คือตนกูอาหนุ่ม และที่ว่าตนกูอาหนุ่มเป็นพระยาปังปะสู นั้นที่จริงคือตนกูอาสัน เป็นเจ้าเมืองปังปาซู จะขอนําข้อความในพงศาวดารเมืองสงขลายกมากล่าวอ้างไว้ดังนี้ ...ส่วนเมืองไทรบุรี พระยาศรีพิพัฒน์ แม่ทัพให้พระยาไทรบุรีบุตรเจ้าพระยานคร กลับไปรักษาราชการอยู่ตามเดิม ให้ตนกูเดหวาเป็น ผู้ว่าราชการเมืองสตู แต่ให้ขึ้นอยู่กับเมืองสงขลา ให้ปลัดเมืองพัทลุงไปว่าราชการเมืองพัทลุง และยกที่พะโคะ แขวงเมืองพัทลุงให้เป็นแขวงเมืองสงขลา พระยาศรีพิพัฒน์ แม่ทัพจัตราชการเรียบร้อยแล้ว จึงมีหนังสือออกไปหาพระยาเพชรบุรี พระสุนทรนุรักษ์ (บุญศรี) ซึ่งรักษาราชการอยู่ที่เมืองสงขลาสองปี และได้สถาปนาพระเจดีย์ วัดบนเขาเมืองสงขลาองค์หนึ่งเสร็จแล้วจึงได้ยกกองทัพกลับเข้าไป ณ กรุงเทพฯ นําข้อราชการขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า เมืองไทรบุรีนั้นครั้นจะให้คนไทยเป็นผู้ว่าราชการเมืองสืบต่อไป คงจะไม่เป็นการเรียบร้อยควรแบ่งเมืองไทรบุรีออกเป็นสามเมืองเหมือนอย่างเมืองตานี จึงจะเป็นปกติเรียบร้อยได้ ขอรับพระราชทานให้ยมตวัน ซึ่งเป็นพระยาไทรบุรีมาแต่ก่อนเป็นพระยาไทรบุรีสืบต่อไป ให้ตนกูอานมเป็นพระยาบังปะสู ให้ตนกูเสดอะเต็มเป็นพระยาปลิด ให้ตนกูเดหวาเป็นพระยาสตูล แต่ให้ขึ้นอยู่กับเมืองสงขลา ให้พระปลัดเมืองพัทลุงเป็นพระยาพัทลุง ส่วนพระยาพัทลุงบุตรเจ้าพระยานครนั้น ควรพาตัวเข้ามาทําราชการเสียในกรุงเทพฯ แต่เมืองพังงานั้นเจ้าเมืองถึงแก่กรรม ขอรับพระราชทานให้พระยาไทรบุรี บุตรเจ้าพระยานครไปเป็น..... พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีตราตั้งเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการเมือง ออกมาตามความเห็นพระยาศรีพิพัฒน์ แม่ทัพราชการ บ้านเมืองก็เป็นปรกติ ไม่มีขบถสืบต่อมา
          ในสมัยพระบาทสมเด็พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระยาละมัมปะชุเจ้าเมืองกะปังปาซูถึงแก่กรรม พระยาไทรบุรี เข้ามาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพฯ กราบบังคมทูลพระกรุณาขอเมืองกะบังปาซูให้รวมอยู่ในเมือง ไทรบุรีตามเดิม จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกเมืองกะบัง
ปาซุเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเมืองไทรบุรีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดังนั้นจึงมีเมืองที่มีผู้ว่าราชการเมือง คือเมืองไทรบุรี เมืองปลิส และเมืองสตูล อนึ่งกล่าวกันว่าพระยาไทรบุรีผู้นี้เป็นผู้เข้าออกในกรุงเทพฯ เนื่อง ๆ เหมือนกับผู้สําเร็จราชการหัวเมืองไทย ในปี พ.ศ. ๒๔๒๒ เจ้าพระยาไทรบุรี (ตนกูอามัด) ถึงแก่อสัญกรรม มีท้องตราโปรดเกล้าฯ ให้พระมนตรีสุริยวงศ์ ข้าหลวงเมืองตรังรับไปฟังราชการ ณ เมืองไทรบุรี พระยามนตรีสุริยวงศ์ ข้าหลวงมีหนังสือบอกให้หลวงโกชาอิศหากถือมาว่าราชการ เมืองไทรบุรีเรียบร้อย พระยาสตูล พระยาปลิส พระอินทรวิไชย พระเกไดสวรินทร์ พระเสรีณรงค์ฤทธิ์ พระเกษตรไทยสกลบุรินทร์ ตนกูอาเด ลงชื่อประทับตรา ปรึกษาเห็นพร้อมกันว่าเจ้าพระยาไทรบุรีมีบุตร ชายใหญ่ ๒ คน คนหนึ่งชื่อตนกไซนาระชิด อายุ ได้ ๒๒ ปี คนหนึ่งชื่อตนกูฮามิด อายุ ๑๖ ปี ตนกูไซนาระชิด เป็นที่ควรจะได้รับราชการสนองพระเดช พระคุณแทนเจ้าพระยาไทรบุรีต่อไป ตนกูฮามิดเป็นพระยาอภัยนุราชชาติรายาภักดี ศรีอินดาราวิยาหยา พระยาสตูล ให้เอาเครื่องยศพระยาสตูลคนเก่าพระราชทานแก่พระยาสตูลคนใหม่ แล้วพระราชทานสัญญาบัตรเพิ่มยศพระยาสตูลคนเก่าขึ้นเป็นพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ มหินทราธิราชานุวัตร ศรีสกลรัฐ มหาปธานาธิการ ไพศาลสุนทรจริต สยามพิชิตภักดี จางวางเมืองสตูล พระราชทานเครื่องยศพานทอง โปรดเกล้าฯ ให้มอบสัญญาบัตรเครื่องยศพระยาสตูล คนใหม่ออกไปพระราชทาน ณ เมืองสตูล ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๕ จีนเมืองภูเก็ตกบฏ ฆ่าฟันไพร่บ้านพลเมือง เอาไฟเผากุฏิ วิหาร ตึกเรือน โรงกรมการ ราษฎรแตกตื่นเป็นอันมาก เจ้าหมื่นเสมอใจราชข้าหลวงรักษาราชการเมืองภูเก็ต มีหนังสือบอกข้อราชการของกองทัพเมืองไทรบุรี เมืองปลิส เมืองสตูล มาช่วยระงับขึ้นขบฏเมืองภูเก็ต เจ้าพระยาไทรบุรี พระยาปลิส พระยาสตูล ให้คนคุมไพร่รีบยกไปเมืองภูเก็ตทันราชการแล้ว เจ้าพระยาไทรบุรี ได้ไปปรึกษาราชการกับข้าหลวงเมืองภูเก็ต เจ้าพระยาไทรบุรี พระยาปลิส พระยาสตูล นายทัพ นายกอง มีความชอบในราชการแผ่นดินในครั้งนั้น พระยาอภัยนุราช พระยาสตูล ได้รับพระราชทานช้างเผือกสยาม 
             ๓. การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
          
ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูาหัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองไทรบุรี เมืองปลิส และเมืองสตูล เป็นมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่ามณฑลไทรบุรี โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาไทรบุรีรามภักดี เจ้าพระยาไทรบุรี (อับดุลฮามิด) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลไทรบุรี มีข้อความตามกระแสพระราชดําริในการตั้งมณฑล ไทรบุรี ต่อไปนี้คือ
             
“ด้วยมีพระบรมราชโองการดํารัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ทรงพระราชดําริเห็นว่าหัวเมืองมลายูฝ่ายตะวันตกมีอยู่ ๓ เมือง คือเมืองไทรบุรี ๑ เมือง ปลิส ๑ เมืองสตูล ๓ และหัวเมืองทั้ง ๓ นี้ ควรจะจัดให้มีแบบแผนบังคับบัญชาการเป็นอย่างเดียวกัน ให้ราชการบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน ๒. ทรงพระราชดําริเห็นว่าพระยาไทรบุรี (อับดุลฮามิด) มีความจงรักภักดีต่อใต้ฝ่าละออง ธุลีพระบาท แลกรุงเทพมหานครเป็นอันมากมา เนืองนิตย์ และมีสติปัญหาอุตสาหะ จัดการเมือง ไทรบุรีเจริญเรียบร้อยยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระ หม่อมให้ตั้งเจ้าพระยาโทรบุรีเป็นข้าหลวงเทศาภิบาล สําเร็จราชการเมืองปลิส ๑ เมืองสตูล ต รวมทั้งเมืองไทรบุรีด้วยเป็น ๓ เมือง ให้เจ้าพระยาไทรบุรีมีอํานาจที่จะตรวจตราบังคับบัญชาผู้ว่าราชการเมืองปลิส เมือง สตูล แลมีคําสั่งให้จัดการบ้านเมืองตามที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตทุกอย่าง เพื่อให้ราชการบ้านเมืองเหล่านั้นเรียบร้อยและเจริญขึ้น และให้ผู้ว่าราชการเมืองปลิส เมืองสตูล ศรีตวัน กรมการเมืองทั้งสองนั้นฟังบังคับบัญชาเจ้าพระยาไทรบุรีในที่ชอบด้วยราชการทุกประการ ผู้ว่าราชการเมืองปลิสและเมืองสตูล คงมีอํานาจที่จะบังคับบัญชาว่ากล่าว ศรีตวันกรมการไพร่บ้านพลเมืองนั้น ๆ แลรับผิดชอบในราชกา บ้านเมืองทุกอย่าง แต่ต้องกระทําตามบังคับแลคําสั่งของเจ้าพระยาไทรบุรี ตามบรรดาการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตนั้น และต้นไม้เงินทองเมืองปลิส เมืองสตูล ซึ่งข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลหัวเมืองฝ่ายตะวันตก เคยบอกส่งเข้ามากรุงเทพฯ นั้น แต่นี้ไปเมื่อถึงกําหนดให้เจ้าพระยาไทรบุรีบอกน้ําส่งเข้ามากรุงเทพฯ ส่วนข้อราชการบ้านเมืองซึ่งผู้ว่าราชการเมืองปลิส เมืองสตูล เคยมีใบบอกต่อข้าหลวง เทศาภิบาลมณฑลฝ่ายตะวันตก เพื่อแจ้งข้อราชการหรือหารือราชการก็ดี หรือเพื่อให้บอกเข้ามากรุงเทพฯ ก็ดี แต่นี้ไปให้ผู้ว่าราชการเมืองปลิส เมืองสตูล มีใบบอกไปยังเจ้าพระยาไทรบุรี เพื่อแจ้งข้อราชการหรือหารือราชการหรือ เพื่อให้บอกเข้ามากรุงเทพฯ เหมือนเช่นนั้น แต่ในราชการบางอย่างซึ่งเคยเป็นแบบแผนเคยมีท้องตราจากกรุงเทพฯ ตรงไป ตามหัวเมืองที่ดี ที่หัวเมืองเคยบอกตรงเข้ามา กรุงเทพฯ ก็ดี ก็ให้คงเป็นไปตามแบบแผนเดิม นั้น แต่ต้องแจ้งความให้เจ้าพระยาไทรบุรีทราบ แต่การที่ว่ามาในข้อนี้ ไม่เกี่ยวข้องถึงฎีกาทูลเกล้าฯ ถวายร้องทุกข์หรือเพื่อจะกราบบังคมทูล พระกรุณาต่อได้ฝ่าละอองธุลีพระบาท โดยเฉพาะการเช่นนี้ย่อมเป็นราชประเพณีซึ่งทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตไว้แก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาท แลไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดินทั่วไป มิได้เลือกหน้าใครจะถวายก็ได้ ไม่ห้ามปราม ส่วนผลประโยชน์ของผู้ว่าราชการเมืองปลิส เมืองสตูล เคยได้ในตําแหน่งเท่าใดให้คงได้อย่างแต่ก่อน ส่วนผลประโยชน์ซึ่งผู้ว่าราชการเมืองเหล่านั้น ได้เคยให้ประจําตําแหน่งศรีควันกรมการเท่าใด ถ้าศรีตวันกรมการเหล่านั้นยังรับราชการบ้านเมืองตามเห็นควรแก่หน้าที่ ก็ให้คงได้รับผลประโยชน์ไปอย่างเดิมและเงินผลประโยชน์ เงินภาษีอากรที่ได้ในเมืองปลิส เมืองสตูล มากน้อยเท่าใด เงินเมืองใดให้จัดจ่ายให้ราชการทํานุบํารุงในเมืองนั้น และให้มีบัญชีทั้งรายรับ และรายจ่ายแยกออกเป็นเมือง ๆ อย่าให้ปะปนกัน ตําแหน่งแลเกียรติยศบรรดาศักดิ์ผู้ว่าราชการเมืองปลิส เมืองสตูลและศรีตวันกรมการเมืองทั้งสองเมืองนั้น เคยมีมาประการใดก็ให้คงมีอยู่อย่างนั้น การที่จะเลือกสรร ตั้งแต่ศรีตวันกรมการผู้ใหญ่เมืองปลิสและเมืองสตูลนั้นตําแหน่งว่างลง เจ้าพระยาไทรบุรีปรึกษาหารือด้วยผู้ว่าราชการเมืองนั้น เลือกสรรผู้ซึ่งสมควรแล้วมีใบบอกเข้ามากราบบังคมทูล เมื่อทรงพระราชดําริเห็นชอบแล้วก็จะได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตามธรรมเนียม ส่วนแต่งตั้งกรมการผู้น้อยนั้น ให้ผู้ว่าราชการเมืองปลิส เมืองสตูล หารือต่อเจ้าพระยาไทรบุรี เมืองเจ้าพระยาไทรบุรีเห็นชอบด้วยแล้วก็ตั้งได้ และเจ้าพระยาไทรบุรีต้องมีใบบอกรายงานการที่ได้จัดแลเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเขตแขวงเมืองปลิส และเมืองสตูล เข้ามากราบบังคมทูลเนือง ๆ แลบรรดาการที่เจ้าพระยาไทรบุรีจะจัดการแก้ไข เปลี่ยนแปลงในเมืองปลิส เมืองสตูล และการใด ก็ให้มีใบบอกเข้ามาขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตตามแบบแผนขนบธรรมเนียมในราชการ... 
            ต่อมา
เมืองสตูลได้แยกจากเมืองไทรบุรีอย่างเด็ดขาด ตามหนังสือสัญญาไทยกับอังกฤษเรื่องปักปัน เขตแดนระหว่างไทยกับสหพันธรัฐมลายู ซึ่งลงนามกันที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ร.ศ.  ๒๕๓๗ (พ.ศ. ๒๔๕๓) จากหนังสือสัญญานี้ยังผลให้ไทรบุรีและปลิสตกเป็นของอังกฤษ ส่วนสตูลคงเป็นของไทย เมื่อปักปันเขตแตนเสร็จแล้ว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดให้เมืองสตูลเป็นเมืองจัตวารวม อยู่ในมลฑลภูเก็ตเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ร.ศ. ๒๔๓๒ (พ.ศ. ๒๔๕๓)
             ๔. การจัดรูปการปกครองในสมัย ปัจจุบัน
               
ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เมืองสตูลก็มีฐานะยกเป็นจังหวัดหนึ่งอยู่ในราชอาณาจักร ไทยสืบต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้ จังหวัดสตูลแม้จะอยู่รวมกับไทรบุรีในระยะเริ่มแรกก็ตาม แต่จังหวัดสตูลก็เป็นจังหวัดที่มีดินแดนรวมอยู่ในประเทศไทยตลอดมา ระยะแรก ๆ จังหวัดสตูล แบ่งการปกครองออกเป็น ๒ อําเภอกับ ๑ กิ่งอําเภอ คืออําเภอบําบัง อําเภอทุ่งหว้า และกิ่งอําเภอละงู ซึ่งอยู่ในการปกครองของอําเภอทุ่งหว้า ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้เปลี่ยนชื่ออําเภอมำบังเป็นอําเภอเมืองสตูล สําหรับอําเภอทุ่งหว้าซึ่งในสมัยก่อนนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก มีเรือกลไฟจากต่างประเทศติดต่อไปมาค้าขายและรับส่งสินค้าเป็นประจํา สินค้าสําคัญของอําเภอทุ่งหว้า คือพริกไทยเป็นที่รู้จักเรียก ตามกันในหมู่ชาวต่างประเทศว่า “อําเภอสุไหงอุเป” ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๗ การปลูกพริกไทยของอําเภอทุ่งหว้าได้ร่วงโรยลง จึงทําให้ราษฎรในท้องที่หันมาปลูกยางพาราแทน จึงขาดสินค้าออกที่สําคัญของท้องถิ่น ชาวต่างประเทศที่เข้ามาทําการค้าขาย ต่างพากันอพยพกลับไปยังต่างประเทศ ราษฎรในท้องที่ก็พากันอพยพไปหาทําเลทํามาหากินในท้องที่อื่นกันมาก โดยเฉพาะได้ย้ายไปตั้งหลักแหล่งกันที่กิ่งอําเภอละงูกันมากขึ้น ทําให้ท้องที่กิ่งอําเภอละงูเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทางกลับกันทําให้อําเภอทุ่งหว้าซบเซาลง ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๙๓ ทางราชการพิจารณาเห็นว่ากิ่งอําเภอละงูเจริญขึ้น มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นกว่าอําเภอทุ่งหว้า จึงได้ประกาศยกฐานะกิ่งอําเภอละงูเป็นอําเภอเรียกว่า อําเภอละงู และยุบอําเภอทุ่งหว้าเดิมเป็นกิ่งอําเภอ เรียกว่ากิ่งอําเภอทุ่งหว้า ขึ้นอยู่ในการปกครองของอําเภอละงู ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ กระทรวงมหาดไทยได้ออกพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอําเภอทุ่งหว้าขึ้นเป็นอําเภอ เรียกว่าอําเภอทุ่งหว้า เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๖ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ กระทรวงมหาดไทยเห็นว่าท้องที่อําเภอเมืองสตูลมีอาณาเขตกว้างขวาง และมีพลเมืองมาก ท้องที่บางตําบลอยู่ห่างไกลจากอําเภอ เจ้าหน้าที่ออกตรวจตราดูแลความทุกข์สุขของราษฎรไม่ทั่วถึง สภาพท้องที่โดยทั่ว ๆ ไป เชื่อว่าจะเจริญต่อไปในภายหน้า จึงประกาศแบ่งท้องที่อําเภอเมืองสตูล ตั้งเป็นกิ่งอําเภอ ๑ แห่ง ให้เรียกว่ากิ่งอําเภอควนกาหลง เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ ต่อมาเมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๔ กระทรวงมหาดไทย ได้ยกฐานะอำเภอควนกาหลง ขึ้นเป็นอําเภอให้ชื่อว่าอําเภอควนกาหลง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ กระทรวงมหาดไทยเห็นว่าท้องที่อําเภอควนกาหลง อําเภอเมืองสตูล มี อาณาเขตกว้างขวางและมีพลเมืองมาก ท้องที่บางตําบลอยู่ห่างจากอําเภอ เจ้าหน้าที่ออกตรวจตราดูแลความทุกข์สุขของราษฎรไม่ทั่วถึง สภาพท้องที่โดยทั่วไปเชื่อว่าจะเจริญต่อไปในภายหน้า จึงประกาศแห่งท้องที่อําเภอควนกาหลง ตั้งเป็นกิ่งอําเภออีก ๑ กิ่งเภอ เรียกชื่อว่ากิ่งอําเภอท่าแพ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑  ต่อกระทรวงมหาดไทยเห็นว่าในท้องที่อําเภอเมืองสตูล มีอาณาเขตกว้างขวางและมีพลเมืองมาก ท้องที่บางตําบลอยู่ห่างไกลจากอําเภอ เจ้าหน้าที่ออกตรวจตราดูแลความทุกข์สุข ของราษฎรไม่ทั่วถึง สภาพท้องที่โดยทั่ว ๆ ไป เชื่อว่าจะเจริญต่อไปในภายหน้า จึงประกาศแห่งท้องที่อําเภอเมืองสตูล ตั้งเป็นกิ่งอําเภอ ๑ แห่ง เรียกว่ากิ่งอําเภอควนโดน ปัจจุบันจังหวัดสตูล แบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อําเภอ ประกอบด้วยอำเภอเมืองสตูล อำเภอควนโดน อำเภอควนกาหลง อำเภอท่าแพอำเภอละงู อำเภอทุ่งหว้า อำเภอมะนัง


แผนที่จังหวัดสตูล
(ภาพจาก : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ออนไลน์), ๒๕๕๑)

 

 

 

 

         ชื่อบ้านนามเมือง
             
อําเภอเมืองสตูล
              
สตูล เป็นคํามลายู ออกเสียงว่า “สโตล” (Satual) หรือ “สโตย” (Setoi) หมายถึง ต้นกระท้อนหรือต้นสะท้อนสตูลมีสมญานามตามคํามลายูว่า “นครีสโดยมีบังสดารา” (Negeri Satoi Mambang Segara) แต่ละคํามีความในตัว ดังนี้ “นครี” แปลว่าเมือง “สโตย” แปลว่าสตูล “บัง” แปลว่าเทวดา “สคารา” แปลว่าสาครหรือสมุทร เมื่อรวมความแล้ว หมายถึงสตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ซึ่งนํามาเป็นตราสัญลักษณ์ของจังหวัดสตูลในปัจจุบัน เดิมอําเภอเมืองสตูลมีชื่อเป็นอําเภอบําบัง ซึ่งมาจากคําว่า “บําบังนครา” หมายถึงเมืองเทวดา ต่อมาอําเภอบําบังถูกลดฐานะลงเป็นตําบลบำบัง และเปลี่ยนชื่อตําบลนี้เป็นตําบลพิมาน แต่ยังมีเค้าความหมายเช่นเดิมอยู่บ้าง สตูลในอดีตมีฐานะเป็น “มูเค็ม” (Mukim) หรือตําบลหนึ่งของไทรบุรีเรียกว่า “มูเค็มสโตย” สมัยนั้นไทรบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น ๔ เขต คือไทรบุรี กะบังปาสู ปะลิส และสตูล ต่อมากะบังปาสูรวมเข้ากับไทรบุรี พร้อมกับยกฐานะสตูลขึ้นเป็นนครีสโดยหรือเมืองสตูล ขึ้นตรงกับเมืองสงขลาและนครศรีธรรมราชตามลําดับ เมื่อสยามมีการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล สตูลจึงขึ้นกับมณฑลไทรบุรีประกอบด้วยไทรบุรี ปะลิส และสตูล เมื่อเกิดกรณีพิพาทกับอังกฤษเกี่ยวกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ไทยต้องเสียดินแดนหัวเมืองมลายู ได้แก่กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปะลิสแก่อังกฤษ ยังคงเหลือแต่สตูล ต่อมาสตูลรวมกับมณฑลภูเก็ต และทางการเห็นว่าการเดินทางระหว่างสตูล-นครศรีธรรมราช สะดวกกว่าสตูล-ภูเก็ต จึงย้ายสตูลไปขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้วสตูลมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งของภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน อําเภอเมืองสตูลเดิมมีชื่อว่าอําเภอบําบัง ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๒ หลังจากที่รัฐบาลไทยกับอังกฤษทําสัญญาปักปันเขตแดนระหว่างสหพันธรัฐมลายูกับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๗ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๕๒ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้เปลี่ยนชื่ออําเภอจากอําเภอมำบังเป็นอําเภอเมืองสตูล ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ที่ให้เปลี่ยนชื่ออําเภออันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดเป็นอําเภอเมืองเหมือนกันทั่วประเทศ ส่วนตําบลตํามะลังเป็นตําบลที่ตั้งที่ว่าการอําเภอ ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นตําบลพิมาน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ตามนโยบายของทางราชการเกี่ยวกับการเรียกชื่อตําบลหมู่บ้านให้เป็นภาษาไทย ที่ว่าการอําเภอได้ย้ายสถานที่ทําการมาหลายครั้ง ครั้งแรกที่ว่าการอําเภอตั้งอยู่ในบริเวณศาลากลาง จังหวัดสตูลปัจจุบัน อาคารเป็นเรือนไม้ทรงปั้นหยา ฝาไม้ไผ่ขัดแตะ หลังคามุงจาก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้ย้ายที่ว่าการอําเภอมาอยู่ที่ทําการตรวจคนเข้าเมืองหลังเก่า ปัจจุบันได้รื้ออาคารก่อสร้างใหม่เป็นสํานักงานพาณิชย์จังหวัด ครั้งที่ ๓ ได้ย้ายที่ว่าการอําเภอจากที่ทําการตรวจคนเข้าเมืองไปอยู่ที่อาคารเรือนรับรอง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับมัสยิดมำบัง คือบริเวณที่ตั้งโรงเรียนอนุบาลสตูล ต่อมาอาคารชํารุดทรุดโทรมตามกาลเวลาประกอบกับเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ประเทศไทยอยู่ในภาวะสงครามมหาเอเซียบูรพา และเป็นพันธมิตรกับประเทศญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นได้ส่งกองทัพเข้ามาตั้งในประเทศไทย ในขณะเดียวกันก็ได้ส่งกําลังทหารส่วนหนึ่งมาคุมอยู่ที่จังหวัดสตูล โดยตั้งกองบัญชาการอยู่ที่ตึกจวนพระยาภูมินาถภักดี ซึ่งตลาดสตูลเกิดความเกรงภัยจากทหารญี่ปุ่น โรงเรียนองหัวซึ่งตั้งขึ้นสําหรับสอนภาษาจีน โดยพ่อค้าชาวจีนได้ร่วมกันจัดสร้างขึ้นเพื่อสอนบุตรหลานก็ได้ปิดการสอน บางคนได้อพยพครอบครัวหนีภัยไปอยู่นอกเมือง อาคารโรงเรียนจงหัวจึงปิดว่างอยู่ ทางจังหวัดสตูลในสมัยนั้นหลวงเรืองฤทธิ์รักษาราษฎร์ ดํารงตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ได้พิจารณาเห็นว่า หากจะให้อาคารโรงเรียนจงหัวว่างอยู่ก็จะเป็นเหตุให้ทหารญี่ปุ่นเข้ามาใช้สถานที่เป็นที่ตั้งกองทหาร ซึ่งจะทําความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับโรงเรียนจงหัว จึงได้เจรจากับพ่อค้าชาวจีนและคณะกรรมการโรงเรียนจงหัว ขอให้คณะกรรมการโรงเรียนจงหัวยกอาคารสถานที่โรงเรียนจงหัวให้กับทางราชการ เพื่อให้เป็นที่ว่าการอําเภอ ก่อนที่ทหารญี่ปุ่นจะถืออํานาจเข้ามาครอบครอง โดยเห็นว่าเป็นอาคารสถานที่ว่างอยู่ ในที่สุดพ่อค้าชาวจีนและคณะกรรมการโรงเรียนจงหัว ได้ ยินยอมยกอาคารโรงเรียนจงหัวและยกบริเวณทั้งหมดให้กับทางราชการ อําเภอเมืองสตูลจึงได้ย้ายที่ว่าการอําเภอจากอาคารเรือนรับรองเดิมมาอยู่ที่โรงเรียนจงหัว ซึ่งสร้างเป็นอาคารตึกชั้นเดียวหลังคามุงกระเบื้อง ปัจจุบันได้รื้ออาคารแล้วก่อส้างเป็นอาคารสงเคราะห์ของกรมประชาสงเคราะห์ ต่อมาครั้งที่ ๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้ย้ายที่ว่าการอําเภอเมืองสตูลจากโรงเรียนจงหัวเดิมไปอยู่ที่ตึกจวนของพระยาภูมินาถภักดี ซึ่งจังหวัดได้ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดชั่วคราว เมื่อจังหวัดได้รับงบประมาณก่อสร้าง ศาลากลางจังหวัดหลังใหม่แล้ว อําเภอเมืองสตูลจึงได้ขอใช้สถานที่เป็นที่ว่าการอําเภอชั่วคราว ครั้งที่ ๕ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ อําเภอเมืองสตูลได้รับงบประมาณจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อสร้างที่ว่าการอําเภอหลังใหม่ที่บริเวณศาลากลางจังหวัดสตูล และเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๐๕ จึงได้ย้ายจากตึกศาลากลางจังหวัดสตูลหลังเก่า มาอยู่ที่อาคารที่ว่าการอําเภอหลังใหม่จนถึงปัจจุบันนี้ ที่ว่าการอําเภอเมืองสตูลปัจจุบันตั้งอยู่ที่ถนนสตูลธานี ตําบลพิมาน เป็นอาคารตึก ๒ ชั้น ตามแบบ ของกรมโยธาธิการ ขนาดกว้าง ๓.๕๐ เมตร ยาว ๒๒ เมตร ก่อสร้างโดยเงินงบประมาณของกรมการปกครองทั้งหมด งบประมาณค่าก่อสร้างเป็นเงิน ๕๐๐,000 บาท
                  เจ๊ะบิลัง
             เจ๊ะบิลัง ปัจจุบันเป็นชื่อตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองสตูล เดิมชื่อ "ตำบลเจ๊ะบีหลัง" แปลว่า "ท่านนี้นับถือได้" ตามตำนานเล่าว่าสมัยโบราณมีโจรสลัดนำเรือเข้าไปจอดที่หมู่บ้านนี้ และจับเด็กลูกชาวบ้านนี้คนหนึ่งนำไปลงเรือ บิดาของเด็กจึงอ้อนวอนขอเด็กกลับคืน แต่พวกสลัดไม่ยอมให้ บิดาของเด็กจึงยึดเรือไว้แล้วลากขึ้นบกเพียงคนเดียว ทำให้โจรสลัดที่นั่งพร้อมเพรียงกันในเรือเกรงกลัว จึงลั่นวาจาออกมาพร้อมกันว่า "เจ๊ะนี้ตะบิลัง" ตอนหลังจึงเพี้ยนป็น "เจ๊ะบิลัง"
                 กาลันบาตู
               กาลันบาตูเปํนชื่อหมู่บ้านซึ่งพ้องกัน ๒ แหล่ง คือตั้งอยู่ในตำบลควนขัน อำเภอเมืองสตูล และตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๑ ตำบลตำมะลัง อำเภอเมืองสตูล กาลันบาตู มาจากคำว่า "ปังกาลันบาตู" (Pangkaland Batu) แปลว่าท่าหิน (ปังกาลันแปลว่าท่า) 
                 โต๊ะหยงกง โต๊ะพญาวัง
             เขาโต๊ะหยงกง และเขาพญาวัง เป็นภูเขาลูกเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสตูล เขาโต๊ะหยงกงถือเป็นเขาศักดิ์สิทธิ์เพราะมีทวดชื่อโต๊ะหยงกงสถิตย์อยู่ โดยมีเพิงหินแห่งหนึ่ง ที่ผู้นับถือมักใช้เป็นที่ทำพิธีบนบานศาลดังกล่าวและแก้บน มีตำนานเล่าขานถึงความเป็นมาของเขาทั้ง ๒ ว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีพ่อค้าชาวจีนคนหนึ่งชื่อ "หยงกง" เดินทางมาค้าขายที่เมืองสโตย ได้รู้จักสนิทชิดชอบกับเจ้าเมืองชื่อ "รามาอาวัง" ซึ่งได้ปกครองเมืองบังเกิดความสงบสุขร่มเย็นมาช้านาน วันหนึ่งรามาอาวังมีรับสั่งให้หยงกงเข้าเฝ้า เพื่อทรงปรึกษาหารือเรื่องที่พระองค์จะไปสู่ขอเจ้าหญิงบุตรี ธิดาของเจ้าเมืองอีกเมืองหนึ่งมาเป็นมเหสี เมื่อหยงกงทราบความเช่นนั้น จึงทูลลากลับไปเมืองจีน เพื่อจัดหาของขวัญเป็นที่ระลึกในพิธีอภิเษกสมรส เมื่อหยงกงเดินทางกลับจากเมืองจีนพร้อมด้วยของขวัญล้ำค่า ปรากฎว่ามีเจ้าขายอีกสององค์คือรายาวังกลองและรายาวังสา ได้มาสู่ขอเจ้าหญิงบุตรีในระยะไล่เลี่ยกัน จึงบังเกิดศึกชิงนางขึ้นระหว่างเจ้าชายทั้งสาม หยงกงจึงหยุดรอดูเหตุการณ์อยู่ ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก เกิดความวุ่นวายระส่ำระสายไปทั่ว เทพยดาผู้ปกปักรักษาเมืองจึงสาปให้ทุกคนกลายเป็นภูเขาหินมาตราบเท่าทุกวันนี้ หยงกงจึงกลายเป็นเขาโต๊ะหยงกง รายาอาวัง กลายเป็นเขาโต๊ะพญาวัง ส่วนรายาวังสากลายป็นเขาพระยาบังสา ซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลฉลุง และควนโดน รายาวังกลอง  กลายเป็นภูเขาวังกลอง ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลปู ส่วนเจ้าหญิงบุตรีซึ่งเป็นต้นเหตุของศึกชิงนาง ถูกลาปเป็นเขาบุตรีหรือเซาเกตรี ภูเขาเหล่านี้ตั้งอยู่ในตำบลต่าง ๆ ของอำเภอเมืองสตูล
                  หลีเป๊ะ เกาะแห่งชาวเล
                  เกาะหลีเป๊ะ เป็น
เกาะในหมู่เกาะอาดังที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่คุ้นเคย เกาะหลีเปีะ หรือเกาะนิปิส (ภาษามลายูแปลว่าเกาะบาง) เป็นเกาะ ๆ หนึ่งในหมู่เกาะอาดัง อยู่ห่างออกมาทางตอนใต้ประมาณ ๑ กิโลเมตร และอยู่ห่างออกมาทางทิศตะวันตกของเกาะตะรุเต่าประมาณ ๒๕ กิโลเมตร แต่เดิมนั้นเกาะหลีเป๊ะไม่มีคนอาศัยอยู่ จากช้อมูลรายงานการสำรวจอุทยานทางทะเลแห่งชาติตะรุเต่า ของมหาวิทยาลัยมหิดล ในปี ๒๕๒๐ ทราบว่าบุคคลที่เข้ามาจับจองที่อยู่เป็นคนแรกเป็นชาวอินโดนีเซีย ชื่อฮีหลี (ชาวหลีเป๊ะออกเสียง "งีลี") ทำการค้าขายระหว่างปีนังกับไทยระหว่างนั้นได้พบทำเลถูกใจที่เกาะไม้ดาน จึงตั้งรกรากอยู่ที่นั่นและได้แต่งงานกับสตรีขาวเล ต่อมาได้ย้ายที่ทำการค้าขายไปเรื่อย ๆ จนถึงเกาะนูโหลน แต่เห็นว่าทำเลไม่เหมาะต่อการประกอบอาชีพ จึงย้ายอีกครั้งหนึ่งมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เกาะหลีเบีะด้วยการบุกเบิกจับจองที่ดิน ในระยะแรกที่เข้ามาอยู่ต้องกรรเชียงเรือไปซื้อข้าวสารที่ตัวเมืองสตูล เอามะพร้าวที่ลอยน้ำมาขึ้นมาปลูกบนเกาะ และเมื่อพบใครที่มาลอยเรือหาปลาก็ชักชวนกันให้ตั้งถิ่นฐานที่เกาะนี้ แต่ข้อมูบางกระแสอ้างว่ามีผู้ที่มาตั้งถิ่นฐานเป็นคนแรกก่อนหน้านายฮีหลีปีเศษ ๆ คือนายมาหมาด และมะพร้าวที่ปลูกอยู่ในบริเวณเกาะนี้เป็นมะพร้าวที่นายฮีหลี มาจากพระยาภูมินารถภักดี (เจ้าเมืองสตูล) ประกอบกับในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ เมื่ออังกฤษต้องการดินแดนฝังตะวันตกของไทยเจ้าเมืองสตูล จึงได้นำชาวเลจากเกาะสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต และเกาะลันตาจังหวัดกระบี่ให้มาอยู่ในหมู่เกาะอาดัง เพื่อเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่แผ่นดินส่วนนี้เป็นของไทย อังกฤษยอมจำนน เราจึงไม่ต้องสูญเสียหมู่เกาะอาดังให้กับอังกฤษ นายฮีหลี และชาวเลในเกาะอาดังคราวนั้น จึงเป็นต้นตระกูลของชาวเลในปัจจุบันซึ่งมีด้วยกัน ๓ ตระกูล คือตระกูลหาญทะเล ตระกูลทะเลลึก และ ตระกูลชำนาญวารี ชาวเกาะหลีเปีะจะยอมให้คนทั่วไปเรียกเขาว่า "ชาวเล" หรือ "ชาวไทยใหม่" แต่ไม่ชอบให้เรียกว่า "ชาวน้ำ" เพราะถือว่าทุกคนในโลกนี้มาจากน้ำด้วยกันทั้งสิ้น ราษฎรส่วนใหญ่บนเกาะหลีเปีะนับถือศาสนาพุทธ และทำการประมงเป็นอาชีพบ้านเรือนชาวลส่วนมากจะปลูกแบบยกพื้น ฝาขัดแตะ หลังคามุงจาก หันหน้าลงสู่ทะเล บ้านแต่ละหลังจะปลูกอยู่ไกลฝั่งไม่เกิน ๒๐๐ เมตร นักท่องเที่ยวที่แวะพักค้างคืนบนเกาะหลีเป๊ะในช่วงคืนเดือนหงายบางเดือน จะมีโอกาสได้ชมการร่ายรำบูชาเจ้าเกาะที่ใช้รำมะนาเป็นดนตรีประกอบเพียงอย่างเดียว การร่ายรำนี้จะมีขึ้นทุกช่วงช้างขึ้น เดือนละ ๓ คืน ด้วยความเชื่อที่ว่าการร่ายรำบูชาเจ้าเกาะ จะทำให้หายและปลอดจากการป่วยไข้ได้ นอกจากนี้ในเดือน ๖ และเดือน ๑๑ ระหว่างขึ้น ๑๓-๑๕ ค่ำ จะได้ชมการแสดงลงปงและประเพณีลอยเรื่อด้วย ประเพณีนี้จะหาดูได้จากชาวเลเท่านั้น จุดเด่นของเกาะหลีเป๊ะคือมีธรรมชาติที่มีป่าปะการังรอบ ๆ เกาะ โดยเฉพาะทางด้านหน้าของเกาะจะเห็นปะการังสวยงามหลากสีอยู่ได้ผิวน้ำที่ใสแจ๋ว มองเห็นชัดเจนกระทั่งชีวิตความเป็นอยู่ของเหล่ากุ้ง ปลา จะกล่าวว่าเป็นอ่างเลี้ยงปลาขนาดยักษ์ก็ว่าได้ ผู้ที่ไปท่องเที่ยวมักจะนำซุดประดาน้ำหรือชูชีพลงเล่นน้ำ เพื่อชมความงามของทัศนียภาพใต้น้ำซึ่งหาได้ยากจากที่อื่น ยิ่งกว่านั้นเกาะหลีเป๊ะยังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอยู่ตรงที่ยามน้ำลด เพราะเมื่อถึงยามนั้นจะปรากฏลานกว้างใหญ่ของหมู่ปะการังโผลขึ้นมาให้ประจักษ์ สมารถลงไปเดินสัมผัสกับปะการังเหล่านั้นได้โดยตรง ให้บรรยากาศการท่องเที่ยวที่น่าตื่นตาตื่นใจยิ่งขึ้น


                อำเภอละงู
            
  
ชื่อ “ละงู” มาจากคํามลายูว่า “ละอุต” (Laut) หมายถึง ท้องทะเล และมาจากคํามลายูว่า “กัวลางู” หรือ “กรางู” (Guala Hu) หมายถึงปากน้ําละ นอกจากนี้เสียงคําว่า ละงู มีความใกล้เคียงกับ “ละงัน” (Lahan) ซึ่งเป็นภาษาอินโดนีเซีย หมายถึงแผ่นดินหรือภูมิประเทศ ละงูเคยเป็นเมืองเมืองหนึ่งที่มีเจ้าเมืองปกครอง ต่อมาถูกลดฐานะ เมืองละงูลงเป็นกิ่งอําเภอ ให้ขึ้นกับอําเภอสุไหงอุเป (อําเภอทุ่งหว้า) ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ กิ่งอําเภอละงูได้รับการยกฐานะเป็นอําเภอละงูมาจนทุกวันนี้ ละงูเป็นชื่อของอําเภอนั้นมีการสันนิษฐานกันไปหลายทาง บ้างก็ว่ามีเรื่องเล่าสืบต่อมาว่ามีพ่อค้าคนหนึ่งถือหอกยาวเป็นอาวุธ เที่ยวเร่ขายผ้าในป่าและได้ไปพักหลบฝนในที่แห่งหนึ่งพร้อมทั้งพิงหอกไว้ข้างตัว ต่อมาสักคร์เขาสังเกตุเห็นว่าเพดานที่เขาหลบฝนอยู่นั้นค่อย ๆ เคลื่อนตําลงมาทับตัวเขา และปลายหอกที่ค้าอยู่นั้นมีเลือดไหลลงมา หลังจากที่กระโดดออกมาจากที่นั้นแล้ว จึงพบว่าที่ซึ่งเขาทําการหลบฝนอยู่นั้นเป็นปากงูใหญ่ เขาได้เล่าเรื่องราวให้ใครต่อใครฟังจนในที่สุดสถานที่นั้นถูกขนานนามว่า “ปากงู” ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านในเขตพื้นที่นี้ก็ยังเรียกชื่อบ้านปากงู แต่ซื้อบ้านตามเขตการปกครองเรียกว่า “บ้านปากละงู” และปรากฏตามหลักฐานชื่อโรงเรียนบ้านปากละงู แสดงว่าชาวบ้านนิยมเรียกว่า “บ้านปากละงู” มากกว่า จากการสอบถามคนเก่าคนแก่ของอําเภอละงูที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้รับการบอกเล่าอีกนัยหนึ่งว่าคําว่า “ละงู” มีที่มาจากภาษาชวว่า “งู” แปลว่าฤทธิเดช ซึ่งเล่ากันว่าในสมัยโบราณกองทัพชวาได้แผ่อํานาจมาปกครองแหลมมาลายู และได้ยกกองทัพมาถึงที่นี่แล้วตั้งชื่อว่า “รางู” เพื่อแสดงถึงอานุภาพของกองทัพชวาในสมัยนั้น แต่เนื่องจากคําออกเสียงคําว่า “รางู” ต้องออกเสียงยาวจึงเพี้ยนมาเป็น “ละงู” ตามสําเนียงของชาวบ้านในถิ่นนี้ก็อาจเป็นได้ อย่างไรก็ตามที่มาของคําว่า "ละงู"  ยังไม่สามารถสรุปหลักฐานแน่ชัดว่ามาจากเหตุผลประการใด เมืองละงูในอดีตผู้ปกครองเรียกว่า “หาโต๊ะ ปกครองโดยขึ้นตรงต่อจังหวัดสตูล ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี เมืองสตูล เมืองปลิส เมืองไทรบุรี ได้รับการจัดให้เป็นมณฑลเทศาภิบาลเรียกว่ามณฑล ไทรบุรี จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ไทยทําสัญญาปักปันเขตแดนกับอังกฤษ ตามสัญญานี้ยังผลให้เมืองไทยบุรีและปลิสตกเป็นเมืองของอังกฤษ ส่วนเมืองสตูลคงเป็นของไทยสืบมา และเมื่อมีการปักปันเขตแดนเสร็จแล้ว ได้มีพระบรมราชโองการประกาศให้สตูลเป็นเมืองจัตวารวมอยู่ในมณฑลภูเก็ต เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๓   อำเภอละงูเคยมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอละงู ขึ้นอยู่กับอำเภอทุ่งหว้า ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓ โดยการย้ายที่ว่าการอำเภอทุ่งหว้า มาตั้งที่บ้านควน และรวม ๗ ตำบล คือตำบลแหลมแค ตำบลโตละเหนือ ตำบลโตละใต้ ตำบลปากบารา ตำบลปากละงู ตำบลกาแบง ตำบลโกตา ตั้งเป็นอำเภอละงู ส่วนที่ว่าการกิ่งอำเภอละงู ไปตั้งที่ทุ่งหว้า ตั้งเป็นกิ่งอำเภอทุ่งหว้าแทน 
                 ท่าเรือปากบารา
                 ท่าเรือปากบารา เป็นท่าเรือน้ำลึกอยู่ในท้องที่บ้านปากบารา หมู่ที่ ๒ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู ทำเรือนี้เป็นที่ตั้งของศูนย์บริการนักท่องเที่ยวของอุทยาน และเป็นท่าเรือที่อยู่ใกล้อุทยานมากที่สุด คือระยะทางเพียง ๒๒ กิโลเมตร

                 อำเภอทุ่งหว้า
         
 
ชื่อ “ทุ่งหว้า” นี้เป็นคําไทย หมายถึงท้องทุ่งที่มีต้นหว้าใหญ่เห็นเด่นแต่ไกล เดิมทุ่งหว้าตั้งชุมชนอยู่ที่บ้านสุไหงอุเป หรือบ้านคลองกาบหมาก (สุไหง = แม่น้ํา ลําคลอง, อุเป = กาบหมาก) ในอดีตสุไหงอุเปเคยเป็นท่าเรือขนาดใหญ่ มีชาวจีนจํานวนมาก อพยพจากเกาะปีนังมาทําไร่พริกไทย และมีเรือสินค้ามารับซื้อพริกไทยส่งไป ขายที่ปีนังและสิงคโปร์เป็นประจํา จึงทําให้เศรษฐกิจในสุไหงอุเปดียิ่งขึ้น คับคั่งไปด้วยบ้านเรือน ร้านค้า และผู้คน จนได้รับสมญาว่า “ปีนังน้อย” ทุ่งหว้า ถูกยกฐานะเป็นอําเภอเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖  เดิมอําเภอทุ่งหว้ามีฐานะเป็นเพียงแขวง (ตําบล) ขึ้นการปกครองกับเมืองไทรบุรี ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ หลังจากรัฐบาลไทยทําสัญญากับอังกฤษเพื่อแบ่งแยกเขตแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียแล้ว แขวงทุ่งหว้าจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอําเภอทุ่งหว้า โดยมีกิ่งอําเภอละงูอยู่ภายใต้การปกครองและขึ้นการปกครองกับจังหวัดสตูล อําเภอทุ่งหว้าสมัยนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีเรือกลไฟจากต่างประเทศมาติดต่อค้าขายเป็นประจํา สินค้าออกที่สําคัญขณะนั้นคือพริกไทย ทุ่งหว้าเจริญรุ่งเรืองมากจนได้รับการขนานนามจากชาว ต่างประเทศว่า “ปีนังน้อย” เพราะมีความเจริญรุ่งเรืองรองจากปีนัง แต่ชาวพื้นเมืองเรียกกันว่า “สุไหงอุเป” ซึ่งเป็นชื่อของลําคลองที่ใช้เป็นท่าเทียบเรือ แต่ต่อมาชาวพื้นเมืองเรียกขานกันภายในว่า “ทุ่งหว้า” สืบเนื่องมาจากทั้งนี้มีไม้หว้าขึ้นอยู่หนาแน่นและชื่อนี้ก็ใช้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน หลังปี พ.ศ. ๒๔๕๗ จะด้วยเหตุใดไม่ปรากฏชัดความเจริญรุ่งเรืองของทุ่งหว้ากลับซบเซาลง ชาวต่างประเทศที่มาติดต่อค้าขายพากันพยพกลับประเทศ ราษฎรในพื้นที่เองก็หันไปปลูกยางพาราแทนพริกไทย และมีราษฎรบางส่วนอพยพไปทํามาหากินที่กิ่งอําเภอละงู ทําให้กิ่งอําเภอละงูมีประชากรหนาแน่นและเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น ในปี พ.ศ.  ๒๔๗๓ รัฐบาลจึงประกาศลดฐานะอําเภอทุ่งหว้าเป็นกิ่งอําเภอ และยกฐานะกิ่งอําเภอละงูขึ้นเป็นอําเภอละงู โดยมีกิ่งอําเภอทุ่งหว้าอยู่ภายใต้การปกครอง ในปี พ.ศ.  ๒๕๓๖ ทางราชการเห็นว่ากิ่งอําเภอทุ่งหว้ามีประชากร รายได้และความเจริญพอที่จะยกฐานะเป็นอําเภอได้ จึงได้ออกพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอําเภอทุ่งหว้าขึ้นเป็นอําเภอทุ่งหว้าอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๖ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
              ตึกเก่าตลาดทุ่งหว่า
           
   ในตลาดทุ่งหว้ามีตึกแถวเก่าแก่ประมาณ ๘๐-๙๐ ปี ซึ่งเป็นร่องรอยของประวัติศาสตร์ที่น่าศึกษามีประมาณ ๑๐๐ คูหา ปัจจุบันส่วนใหญ่ช่วงบนถูกดัดแปลงไป
เพราะชำรุดบ้าง เจ้าของต้องการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่บางหลังก็รักษาเอกลักษณ์เดิม ๆ ยังอยู่ครบทุกส่วน
              บ้านขอนคลาน
             ขอนคลาน เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอทุ่งหว้า  มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่ามีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งไปจับปลาในทะเล หลังจากจับปลาได้พอสมควร จึงชวนกันไปพักผ่อนที่ชายหาดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีขอนไม้ขนาดใหญ่ตั้งวางอยู่ บางคนนำมะพร้าวอ่อนมาปอกกินบนขอนไม้ บางกลุ่มก่อไฟผิง ขณะที่ชาวประมงเอามีดสับบนขอนไม้และก่อไฟผิงนั้น ทำให้ขอนไม้นั้นเคลื่อนไปข้างหน้าภาษาถิ่นใต้เรียกว่า "คลาน" ทำให้ซาวประมงเหล่านั้นแปลกใจจึงร้องอุทานออกมาพร้อมกันว่า "ขอนคลาน ขอนคลาน ขอนคล้าน" ซึ่งแท้จริงแล้วขอนไม้นั้นไม่ใช่ขอนไม้ตามที่เข้าใจกัน แต่เป็นงูขนาดใหญ่ซึ่งนอนนานเกินไปจนตะไคร่น้ำจับหญ้าขึ้นเต็มไปหมด เมื่อได้รับความร้อนและถูกสับด้วยพร้า จึงเจ็บปวดและคลานจากไปนี่คือที่มาของ "บ้านขอนคลาน"
              บ้านทุ่งสะโบ๊ะ
              บ้านทุ่งสะโบ๊ะ  เป็นชื่อหมู่บ้านตั้งอยู่ หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ทุ่งสะโบ๊ะมาจากภาษามลายูว่าปาดังเซอระโบ๊ะ  (Padang Serbuk) แปลว่าทุ่งฝุ่น  (ปาดังแปลว่าทุ่ง ส่วนคำเซอระโบ๊ะแปลว่าฝุ่น) จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุคนหนึ่งเล่าว่าบริเวณทุ่งแห่งนี้มีมา กว่า ๒๐๐ ปีมาแล้ว มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง สามีชื่อ นายหมาด ภรรยาชื่อนางเทศ ได้อพยพมาจากรัฐไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเดินทางมาโดยเรือพาย ระหว่างเดินทางสองสามีภรรยาเหน็ดเหนื่อยกับการพายเรือ เลยได้แวะพักผ่อนที่เกาะแห่งนี้ นายหมาดได้เห็นสภาพพื้นที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ น่าจะเหมาะกับการทำนาและปลูกมะพร้าว นายหมาดเลยตัดสินใจว่าที่นี่เหมาะที่จะเป็นที่อยู่อาศัย จึงเริ่มปลูกสร้างบ้าน และได้บุกเบิก พื้นที่ทำนา ทำสวนมะพร้าว ต่อมานายหมาดและนางเทศ ก็กลับไปชวนญาติและเพื่อนบ้านประมาณ ๗ ครัวเรือน มาอยู่ด้วย จากนั้นได้มีลูกหลานและได้สร้างบ้านเรือนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  

                อําเภอควนกาหลง
            “ควน” (Guan) เป็นคํามลายู หมายถึงเนินดินเล็ก ๆ ส่วนคําว่า “กาหลง” (Kalung) เป็นคํามลายู หมายถึงค้างคาวชนิดหนึ่งชอบกินผลไม้ กาหลงในคําไทย หมายถึง ชื่อไม้พุ่มชนิดหนึ่ง หรือเป็นชื่อต้นกระเป๋าใหญ่ มีแต่ดอกตัวผู้ ซึ่งเป็นต้นกาหลงเช่นกัน นอกจากนี้กาหลงยังมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของกาฝูงหนึ่งที่บินหลงทางตรงบริเวณเนินดินแห่งนั้น แล้วทําให้บินกลับรังไม่ได้ มันจึงส่งต่อมาเมื่อเกิดชุมชนขึ้นในบริเวณนั้น จึงตั้งชื่อว่าเสียงร้องตลอดคืน “ควนกาหลง” ในอดีตควนกาหลงเป็นกิ่งอําเภอขึ้นกับอําเภอเมืองสตูล ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒  กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ได้จัดตั้งนิคมสร้างตนเองขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตําบลทุ่งนุ้ย อําเภอเมืองสตูล บริเวณป่าสงวนควนกาหลง เขาไคร เรียกชื่อว่านิคมสร้างตนเอง เป็นนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จังหวัดสตูล มีประชาชนจากต่างจังหวัด เช่น จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช อพยพเข้ามาประกอบอาชีพ โดยสมัครเป็นสมาชิกของนิคมสร้างตนเองมากขึ้นเป็นลําดับ ทําให้ประชากรในท้องที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่ออ่านวยความสะดวกแก่ราษฎรในการติดต่อกับทางราชการ และเพื่อให้การดูแลทุกข์สุขของราษฎรโดยใกล้ชิด จังหวัดได้รายงานไปยังกระทรวงมหาดไทย ขอแบ่งเขตท้องที่อําเภอเมืองสตูล ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอําเภอเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๑๒ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๕ ตําบล คือตำบลควนกาหลง ตําบลทุ่งนุ้ย ตําบลอุไดเจริญ ตําบลนิคมพัฒนา ตําบลท่าแพ และตําบลแประ กรมประชาสงเคราะห์ได้ยกที่ดินซึ่งตั้งเป็นที่ทําการและบ้านพักของนิคมสร้างตนเองควนกาหลง จํานวน ๑๒๕ ไร่ พร้อมด้วยอาคารที่ว่าการกิ่งอําเภอ ใช้เป็นที่ทําการชั่วคราว ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้จัดสรรงบประมาณให้สร้างที่ว่าการอําเภอ เมื่อปี ๒๕๓๓ สร้างเสร็จเป็นที่ทําการได้เมื่อปี ๒๕๓๔ เป็นอาคารไม้ ๒ ชั้น หลังคามุงกระเบื้องลอนคู่ ออกมุขหน้า ขนาดกว้าง ๖.๒๐ เมตร ยาว ๒๔๐ เมตร ต่อมาในปี ๒๕๓๖ จังหวัดได้พิจารณาเห็นว่า กิ่งอําเภอควนกาหลงมีพื้นที่ในเขตปกครองกว้างขวาง มีเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ๓ จังหวัด คือตรัง พัทลุง และสงขลา ซึ่งบริเวณติดต่อดังกล่าวเป็นป่าเขาสลับซับซ้อน เหมาะแก่การหลบซ่อนพักอาศัยของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ประกอบกับจำนวนประชากรได้ทวีเพิ่มขึ้นเป็นลําดับ เนื่องจากนิคมสร้างตนเองพัฒนานภาคใต้ จังหวัดสตูล ได้เปิดป่าจัดสรรให้สมาชิกนิคมเข้าอยู่อาศัยและทําสวนปาล์มน้ํามัน มีการบรรจุสมาชิกเข้าอยู่เป็นจํานวนมากทุกปี ด้านเศรษฐกิจของประชาชนกําลังขยายตัวจะมีความเจริญมากขึ้น สมควรยกฐานะเป็นอําเภอได้ จังหวัดจึงได้รายงานชี้แจงเหตุผลไปยังกระทรวงมหาดไทยขอยกฐานะกิ่งอําเภอควนกาหลงเป็นอําเภอ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ยกฐานะเป็นอําเภอ และได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นอําเภอควนกาหลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๓๕ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ในระหว่างรอพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นอําเภอ กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งกิ่งอําเภอท่าแพ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยแบ่งท้องที่ของกิ่งอําเภอควนกาหลงเดิมไปรวมตั้งเป็นกิ่งอําเภอท่าแพ ๒ ตําบล คือ ตําบลท่าแพ กับตําบลแประ 
                   บ้านเขาไคร
            เขาไคร เป็นชื่อสถานที่แห่งหนึ่งในอำเภอควนกาหลง และมีเรื่องราวต่อ ๆ กันมาว่านานมาแล้วมีสองตายาย ซึ่งไม่มีบุตรมีอาชีพทำไร่เลื่อนลอยไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงภูเขาแห่งหนึ่ง ซึ่งสองตายายชอบพื้นที่ตรงนี้มากจึงยืดเป็นพื้นที่ทำไร่โดยถางป๋าให้เรียบ หลังจากถางป่าตาเริ่มไม่สบาย ยายทำไร่คนเดียวตาบอกให้ยายปลูกตะไคร้ เพื่อนำไปขายแลกเปลี่ยนข้าวของมากิน ต่อมาตาตายไปก่อนตายสั่งยายให้นำศพตนไปฝังที่หัวไร่ยายก็ปฏิบัติตามคำสั่ง คืนนั้นยายฝันว่าตาขนทองมาให้มากมายพอตื่นขึ้นมายายเห็นตะไคร้ขึ้นเต็มไปหมด ต่อมาไม่นานยายก็ตายตามตาไป ตะไครับริเวณนั้นก็มีอีกมากมาย ต่อมาราษฎรได้เข้าไปอยู่และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนั้นว่า "บ้านเขาไคร" ซึ่งเพี้ยนมาจาก "ตะไคร้" นั่นเอง

            
             อําเภอควนโดน

          “ควนโดน” หมายถึงเนินดินเตี้ย ๆ ที่มีต้นโดนหรือต้นกระโดนขึ้นเรียงราย กระโดนเป็นไม้พุ่มยืนต้น ขนาดกลาง ดอกคล้ายชมพู่ สีขาว และมีกลิ่นหอม ผลกลมหรือรูปไข่ เนื้อไม้ละเอียดและแข็ง ในอดีตควนโดนเป็นกิ่งอําเภอมีชื่อว่า “ดูสน” คําว่าดูสนอาจฟังเป็นโดนหรือควนโดนก็อาจเป็นได้ แต่คําว่า “ดูสน” หรือ “ดูซุน” (Dusun) เป็น คํามลายู แปลว่าสวนผลไม้ ต่อมาทางการจึงยุบกิ่งอําเภอดูสนให้เป็นเพียงตําบลหนึ่ง และรวมตําบลดูสนกับตําบลในจอร์ (ชื่อนี้เป็นคํามลายูว่า “ปันจัง” (Pancang) หมายถึงหลักเขต) จัดตั้งเป็นตําบลควนโดน ต่อมาได้รวมตําบลควนโดน ตําบลสะตอ และตําบลย่านซื่อ ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอําเภอควนโดน ก่อนจะได้ยกฐานะเป็นอําเภอควนโดน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ อําเภอควนโดน แต่เดิมกิ่งอําเภอดสนประกอบด้วยเขตการปกครอง ๔ ตําบล คือตําบลดูสน ตําบลปั่นจอร์ ตําบลควนสะตอ และตําบลกบังปะโหลด อยู่ในเขตการปกครองของอําเภอบําบัง (อําเภอเมืองสตูล) ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ราชการได้ยุบกิ่งอําเภอดูสนให้เป็นเพียงตําบลหนึ่ง ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ยุบตําบลดูสนและตําบลปันจอร์ รวมเป็นตําบลเดียวกันเรียกชื่อว่า “ตําบลควนโดน" และยุบตําบลกบังปะโหลดรวมกับตําบลควนสะตอ อยู่ในเขตการปกครองของอําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จากการที่อําเภอเมืองสตูลเป็นอําเภอที่มีอาณาเขตกว้างขวางและมีพลเมืองมาก ประกอบกับสภาพท้องที่โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่าจะเจริญต่อไปในภายหน้า ตลอดทั้งเพื่ออํานวยความสะดวกในการปกครองและสนองความต้องการของประชาชน ดังนั้นจึงได้ทําเรื่องราวขอแบ่งท้องที่ตําบลควนโดนและตําบลควนสตอ ตั้งเป็นกิ่งอําเภออีก ๑ แห่ง เรียกชื่อว่า “กิ่งอําเภอควนโดน” โดยกระทรวงมหาดไทยได้ ประกาศตั้งกิ่งอําเภอควนโดน เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๒๐ และเปิดปฏิบัติราชการเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๒๐ โดยใช้อาคารศูนย์พัฒนาตําบลควนโดนเป็นสถานที่ทําการชั่วคราว ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้รับงบประมาณก่อสร้างที่ว่าการกิ่งอําเภอและบ้านพักข้าราชการระดับ ๓-๔ อีก ๑ หลัง เป็นเงิน ๑,๒๓๕,๐๐๐ บาท 

             อําเภอท่าแพ
           อําเภอท่าแพ ในอดีตมีชื่อเป็นคํามลายูว่า “บาราเกต” หรือ “ราเกต (Rakit) แปลว่าแพริมน้ําหรือล่องแพริมน้ํา หรือล่องแพไปตามลําน้ํา อําเภอท่าแพเป็นชุมชนริมฝั่งน้ําที่มีความเจริญมาตั้งแต่อดีต ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ จึงได้ยกฐานะเป็นอําเภอท่าแพ เนื่องจากท้องที่อําเภอเมืองสตูลและอําเภอควนกาหลง มีอาณาเขตกว้างขวางหลายตําบลอยู่ห่างไกลตัวเมือง ประกอบกับในท้องที่ตําบลท่าแพ ตําบลแประ ตําบลสาคร ซึ่งมีราษฎรอพยพเข้ามาอยู่กันมากขึ้น จังหวัดสตูลจึงได้พิจารณาแยกตําบลท่าแพ ตําบลแประ กิ่งอําเภอควนกาหลง (ก่อนยกฐานะเป็นอําเภอ) ตําบลสาคร อําเภอเมืองสตูล มาจัดตั้งเป็นกิ่งอําเภอท่าแพขึ้น ให้การปกครองขึ้นตรงต่ออําเภอเมือง สตูล โดยขอเสนอผ่านกระทรวงมหาดไทย เพื่อขออนุมัติจากสภาบริหารคณะปฏิวัติโดยอนุมัติหลักการ เกี่ยวกับการตั้งกิ่งอําเภอท่าแพ เมื่อวันที่ ๓) พฤศจิกายน ๒๕๑๕ สมัยนายศุมาโยก พานิชวิทย์ เป็นผู้ว่าราชการ จังหวัดสตูล หลังจากนั้น จังหวัดสตูล อําเภอเมืองสตูล และกิ่งอําเภอควนกาหลง ได้ร่วมกันพิจารณากําหนด จุดที่ตั้งที่ว่าการกิ่งอําเภอท่าแพ และที่ดินที่ใช้ทําการก่อสร้างที่ว่ากิ่งอําเภอท่าแพ เพื่อเสนอขอประกาศจัดตั้งต่อไป ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ นายดําริห์ จิตนุพงษ์ ปลัดอําเภอผู้เป็นหัวหน้าประจํากิ่งอําเภอควนกาหลง ในขณะนั้นได้เสนอที่ดินตําบลแประจํานวน ๓ แปลง และในท้องที่ตําบลท่าแพ ๖ แปลง ไปให้จังหวัดพิจารณา จังหวัดได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาที่ดินที่จะตั้งที่ว่าการกิ่งอําเภอท่าแพ ประกอบด้วยปลัดจังหวัดเป็นประธานกรรมการ ประธานสภาจังหวัด นายอําเภอเมืองสตูล ผู้กํากับการตํารวจภูธรจังหวัดสตูล เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสตูล ปลัดอําเภอผู้เป็นหัวหน้าประจํากิ่งอําเภอควนกาหลง เป็นกรรมการ ผลการพิจารณาของคณะกรรมการ ได้ตกลงเอาที่ดินในท้องที่หมู่ที่ ๕ ตําบลท่าแพ เป็นที่ตั้งที่ว่าการกิ่งอําเภอท่าแพ ที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ประจําหมู่บ้านจํานวน ๒๕ ไร่ และที่ดินซึ่งราษฎรร่วมกัน บริจาคสมทบภายใต้การนําของนายกาชาด เทศบาล กํานันตําบลท่าแพ อีกจํานวน ๔๕ ไร่ ที่ดินนี้อยู่สองข้างทางถนนสายฉลุง-ละงู ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๑๓ จังหวัดเห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการ พิจารณาคัดเลือกที่ดิน จึงได้เสนอประกาศจัดตั้งไปยังกระทรวงมหาดไทย สมัยนายอรุณ รุจิกัณหะ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล และกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งกิ่งอําเภอท่าแพตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ให้มีผลเป็นกิ่งอําเภอท่าแพตั้งแต่ ๖ พฤษภาคม ๒

              อำเภอมะนัง
               
 
“มะนัง” เป็นคํามลายูออกเสียงว่า “บันดัง” (Bendang) แปลว่าทุ่งนา อีกคำหนึ่งคือ “มีนั่ง” (Menang) แปลว่าชัยชนะ  หรือ "ม้ายัง" ม้าหรือรูปม้า ทั้งนี้เนื่องมาจากในท้องถิ่นของอำเภอมีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่งชื่อ ถ้ำระฆังทอง ภายในถ้ำมีรูปปั้นม้าหินอยู่ ๑ ตัว เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหมู่บ้านเป็นสัญลักษณ์ในการเดินทางนัดหมาย ต่อมาเพี้ยนมาเป็น "มะนัง" ท้องที่อำเภอมะนังเดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลแประ อำเภอควนกาหลง เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลแประ รวมตั้งเป็นตำบลนิคมพัฒนา และในวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลนิคมพัฒนา รวมตั้งเป็นตำบลปาล์มพัฒนา ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองตำบลปาล์มพัฒนา และตำบลนิคมพัฒนา อำเภอควนกาหลง ออกมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอมะนังโดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ปีเดียวกัน และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอมะนัง ในวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


ความสำคัญ

        สตูลเมืองอุทยานธรณีโลก (Satun UNESCO Global Geopark) จังหวัดสตูล เป็นเมืองแห่งความหลากหลาย เป็นดินแดนแห่งความสมานฉันท์กลมเกลียวที่ผสมผสานวิถีชีวิตของผู้คนระหว่างศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ที่อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติ รวมไว้ซึ่งวิถีชีวิต วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งยังมีธรรมชาติ ที่อุดมสมบูรณ์ทั้งทางบกและทางทะเล สมดังคำขวัญจังหวัดสตูลที่ว่า "สตูล สงบ สะอาด" ปรากฎหลักฐานทางด้านธรณีวิทยาในพื้นที่จังหวัดสตูล มีชั้นหินที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย โดยได้จัดตั้งอุทยานธรณีสตูล (Satun Geopark) เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ และต่อมาเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ได้มีการประกาศเป็นอุทยานธรณีระดับประเทศ แห่งแรกของประเทศไทยธรรมชาติบริสุทธิ์ United Nations Satun Educational, Scientific and UNESCO Global Geoparks Cultural Organization โดยเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เสนออุทยานธรณีสตูลเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geopark) และเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๑ ยูเนสโกได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้อุทยานธรณีสตูลเป็นสมาชิก อุทยานธรณีโลก Satun UNESCO Global Geopark ประเทศไทยได้แหล่งอุทยานธรณีโลกจาก UNESCO แหล่งแรกของประเทศ แห่งที่ ๕ ของอาเซียน ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวและแหล่งธรณีของจังหวัดสตูล"อุทยานธรณีโลกสตูล ผูกพันวิถีชีวิตผู้คนเชื่อมโยงอัตลักษณ์ผ้าถิ่น ศิลป์สตูล" พื้นที่อุทยานธรณีโลก เป็นขอบเขตพื้นที่ที่ประกอบด้วยแหล่งที่มีคุณค่าทั้งด้านธรณีวิทยา โบราณคดี นิเวศวิทยา และวัฒนธรรม ผ่านการบริหารจัดการแบบองค์รวมระหว่างการอนุรักษ์ การให้ความรู้ การศึกษา วิจัย และการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ภายใต้การจัดการอย่างมีส่วมร่วมทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น และชุมชนร่วมกันเรียงร้อยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ด้านต่างๆ ให้ทุกคนต่างเห็นความสำคัญของมรดกทางธรณีวิทยาผ่านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การถ่ายทอดภูมิปัญหาท้องถิ่นที่เชื่อมโยงทางธรณีวิทยา วิถีชีวิตผู้คนเพื่อเพิ่มคุณค่ามูลค่าให้กับชุมชน สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้ วิถีชีวิตแบบพหุวัตนธรรม ประเพณี และวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของผู้คนในจังหวัดสตูล มีการสืบทอดภูมิปัญญาดั้งเดิมมาประยุกต์กับวัตถุดิบในพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูลและสร้างความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ผ่านงานศิลปะ ลวดลายผ้าพื้นถิ่น สามารถผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย เพิ่มเสน่ห์บนผืนผ้าด้วยลวดมลายฟอสซิลที่เชื่อมโยงเรื่องราวความโดนเด่นทางธรณีของอุทยานธรณีโลกสตูล ทำให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนแก่ชุมชน จังหวัดและประเทศชาติต่อไป


โบราณสถาน/โบราณวัตถุ

คฤหาสน์กูเด็น



             คฤหาสน์กูเด็นตั้งอยู่ที่ถนนสตูลธานี ซอย ๕ ตําบลพิมาน อําเภอเมืองสตูล อยู่ตรงข้ามกับสํานักงานที่ดินจังหวัดในปัจจุบันนี้ คฤหาสน์กูเด็น เป็นบ้านพักของพระยาภูมินารถภักดี (ตนกูบาฮะรุดดินเบ็น กูแหมะ) แต่ชาวสตูลนิยมเรียกท่านว่ากูเด็น และเรียกบ้านหลังนี้ว่าบ้านกูเด็นหรือคฤหาสน์กูเด็น มาจนถึงทุกวันนี้ บ้านพักหลังนี้สร้างเป็นอาคาร ๒ ชั้นด้วยคอนกรีตแบบก่ออิฐถือปูน รากฐานเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่และตัวอาคาร ใช้วิธีการก่ออิฐให้เป็นรูปอาคารแล้วฉาบปูนตกแต่ง ปลูกหันหน้าอาคารมาทางถนน ตรงกลางสร้างเป็นมุขยื่นออกมา ตัวอาคารแยกออกเป็นปีกไปทางซ้ายและขวา หลังคามุงด้วยกระเบื้อง ชั้นล่างของอาคารจัดเป็นห้องขนาดใหญ่ ๒-๓ ห้อง ชั้นบนเป็นห้องโถงกว้างและปล่อยให้โล่งตลอด ตัวอาคารมีขนาดใหญ่มาก เป็นศิลปการก่อสร้างและสถาปัตยกรรมแบบยุโรป สมัยนั้นบ้านหลังนี้ตกแต่งได้สวยงามน่าอยู่น่าอาศัย ไว้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองและใช้เป็นบ้านพักของพระยาภูมินารถภักดีด้วย เมื่อท่านได้รับบําเหน็จบํานาญท่านขออาศัยบ้านหลังนี้จนชั่วอายุของท่าน เมื่อสิ้นสมัยของพระยาภูมินารถภักดีแล้ว ทางราชการได้ใช้บ้านหลังนี้เป็นที่ทํางานของหน่วยงานต่าง ๆ และเคยใช้เป็นศาลากลางจังหวัดสตูล ต่อมาบ้านหลังนี้ไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควรทําให้ชำรุดทรุดโทรมไปมาก ทางราชการได้ให้เอกชนเช่าเป็นที่อาศัยอยู่ระยะหนึ่ง หลังจากนั้นไม่นานทางราชการได้ปรับปรุงให้เป็นสํานักงานของกองอํานวยการ รักษาความสงบภายในเขตจังหวัดสตูล (กอ. รมน. เขต จว. สค.) จนถึงทุกวันนี้ คฤหาสน์กูเด็นเป็นบ้านพักหรือจวนของพระยาภูมินารถภักดี เจ้าเมืองสตูล เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ สร้างขึ้นด้วยเงินของรัฐบาล แต่ไม่ปรากฏชัดว่าได้สร้างขึ้นในปีใด เมื่อเทียบกับช่วงเวลาที่พระยาภูมินารถภักดีเป็นเจ้าเมืองอยู่ บ้านหลังนี้พอจะประมาณอายุได้ราว ๘๐ ปีเศษ และเป็นบ้านที่เกี่ยวข้องกับประวัติของเมืองสตูล ที่มีเหลืออยู่เพียงหลังเดียวในขณะนี้ ทางราชการควรควบคุมดูแลบ้านหลังนี้ให้คงสภาพเดิมไว้มากที่สุ โดยการจดทะเบียนและอนุรักษ์ให้เป็นโบราณสถานหรือกําหนดเป็นสถานที่สําคัญคู่บ้านคู่เมือง เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป
                     รองอํามาตย์ตรีพระยาภูมินทรภักดี (ภูบาฮารุงดิน บินตํามะหงง) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองสตูล แทนตุงกูอับดุลเราะห์มาน (บุตร ตุงกูสะมาแอ) เจ้าเมืองสตูลเดิมถึงแก่อนิจกรรม เนื่องจากได้ทรงพิจารณาเห็นว่ากบาฮารเต้น ปินตา มะหงง ขณะนั้นดำรงตําแหน่งพะทำมรงค์รือนจําสตูล เป็นผู้ที่มีความชอบต่อแผ่นดินกอร์ปด้วยมีความ ซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อประเทศไทย และพระมหากษัตริย์ไทยอย่างจริงใจ ทั้งเป็นผู้ที่มีความสามารถที่จะปกครองเมืองสตูลต่างพระเนตรพระกรรณได้ เมื่อกบาฮารเดิน บินตํามะหงง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองสตูลแล้วได้สร้างจวนขึ้นใหม่หลังหนึ่ง เพื่อใช้เป็นที่ว่าราชการและเป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัวและบริวาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ โดยใช้เงินรายได้ที่เก็บจากภาษีอากรต่าง ๆ สร้างเป็นอาคารตึกสองชั้น หลังคาทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องดินเผา ขนาดกว้าง ๑๒.๔๕ เมตร ยาว ๑๕.๖๐ เมตร ออกมุขด้านหน้า ขนาดกว้าง ๔.๕๐+๔.๕๐ เมตร ปลูกสร้างในที่ดินของรัฐซึ่งมีบริเวณ ๓ ไร่ ๒ งาน ๕๗.๓ วา พร้อมทั้งก่อกําแพงอิฐถือปูนรอบบริเวณ ๒ ด้าน มีป้อมยามรักษาการณ์ที่ประตูเข้าออก ช่างที่ทําการก่อสร้างได้นํามาจากเมืองปีนัง อาคารตึกหลังนี้จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับอาคารที่ทําการสร้างในเมืองปีนัง ครั้ง
เมื่อพระยาภูมินารถภักดีถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๕ หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้ว ทายาทได้ใช้เป็นที่พักอาศัยที่ตึกจวนหลังนี้มาระยะหนึ่ง ก็ได้ออกไปอยู่ที่พักหลังอื่น ส่วนตึกจวนพระยาภูมินารถภักดีที่ใช้เป็นที่ว่าราชการเมืองนั้น ทายาทได้พร้อมใจยกให้เป็นสมบัติของรัฐบาลและขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้ ทางราชการได้ใช้เป็นที่ประชุมสภาจังหวัดและที่ทําการเทศบาลเมืองสตูลมาระยะหนึ่ง ในระหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพากองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามายึดใช้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการที่จังหวัดสตูล เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๕ จนกระทั่งญี่ปุ่นแพ้สงครามและออกจากประเทศไทยไป ต่อมาในสมัยนายชาติ บุณยรัตพันธุ์ มาดํารงตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ได้ทําการปรับปรุงซ่อมอาคารตึกหลังนี้ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดสตูล จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ได้ย้ายออกไปอยู่อาคารหลังที่สร้างขึ้นใหม่ ส่วนศาลากลางจังหวัดสตูลหลังเก่า ได้ใช้เป็นที่ว่าการอําเภอเมืองสตูล ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๕ แล้วที่ว่าการอําเภอเมืองสตูล ได้ย้ายไปอยู่หลังที่สร้างขึ้นใหม่ในปัจจุบัน ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ทางราชการได้จัดตั้งกองอํานวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ขึ้นที่จังหวัดสตูล อาคารตึกหลังนี้จึงได้ใช้เป็นที่ทําการของกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสตูล จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ส่วนบริเวณที่ดินที่ตั้งจวนเมื่อเป็นที่ราชพัสดุแล้ว ได้แบ่งให้กรมที่ดินสร้างอาคารสํานัก งานที่ดินจังหวัดสตูล และบ้านพักข้าราชการกรมที่ดินไปส่วนหนึ่ง และได้รื้อกําแพงเดิมออกซีกหนึ่ง ตึกหลังนี้เคยใช้เป็นที่รับเสด็จสมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธุ์ กรมพระยานครสวรรค์วรพินิต เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ซึ่งเสด็จมาตรวจราชการหัวเมืองปักษ์ใต้ ในสมัยที่ทรงดํารงตําแหน่งเสนาบดี กระทรวง มหาดไทย

มัสยิดมำบัง

                  มัสยิดมำบังหรือมัสยิดกลางจังหวัดสตูล ตั้งตามชื่อเมืองสตูลสมัยก่อน คือ "มำบังนครา" ซึ่งเป็นซื่อที่เมืองไทรบุรีเรียกเมืองสตูลในสมัยนั้น มัสยิดมำบังตั้งอยู่บริเวณถนนบุรีวานิชและถนนสตูลธานี อำเภอเมืองสตูล ซึ่งอยู่ตรงใจกลางเมือง สำหรับประวัติความเป็นมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๒ พระบาทสมด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ตนกูมูฮำหมัดอาเก็บ เป็นพระยาอภัยนุราชให้ปกครองเมืองสตูล และให้เลื่อนเป็นพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ภายหลัง ท่านเห็นว่าเมืองสตูลไม่มีมัสยิดกลาง ที่เป็นศูนย์รวมการปฏิบัติศาสนกิจของชาวมุสลิม จึงได้ปรึกษากับหวันโอมาร์ บินหวันฮาดี และบรรดาข้าราชการ จัดหาทุนสร้างมัสยิด โดยได้นำช่างมาจากเมืองมะละกามาออกแบบก่อสร้าง เงินทุนในการก่อสร้างได้มาจากการต่อเรือมาด นำไปจำหน่ายที่เมืองโทรบุรีขากลับก็ซื้อวัสดุก่อสร้าง เช่น อิฐ ปูน จากไทรบุรี กระเบื้องมุงหลังคาและกระเบื้องปูพื้นจากเมืองมะละกา ใช้เวลาก่อสร้างหลายปีจึงแล้วเสร็จ ตัวมัสยิดหลังเก่าเป็นอาคารชั้นเดียวมีกำแพงล้อมรอบ หลังคาสร้างซ้อนกัน ๓ ชั้น ชั้นบนมีขนาดเล็กมียอดแหลม ชั้นกลางขยายกว้างเล็กน้อย  ส่วนชั้นล่างแผ่ขยายครอบคลุมตัวอาคารทั้งหมด พื้นปูด้วยกระเบื้องสีน้ำตาล ฝาผนังถืออิฐโบกปูนภายในอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างยาวด้านละ ๑๓ เมตร มีเสาไม้เหลี่ยมจำนวน ๔ ต้น มัสยิดหลังนี้ใช้ประโยซน์มาเป็นเวลาร่วม ๑๐๐ ปีเศษ เนื่องจากมัสยิดหลังเก่าชำรุด คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสตูล จึงได้ดำเนินการจัดหาทุนสร้างมัสยิดหลังใหม่ โดยใช้เงินงบประมาณและเงินจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาคสมทบ เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๑,๙๓๐,๐๐๐ บาท เริ่มการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๑๗ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๒๒ มัสยิดมำบังที่สร้างขึ้นใหม่นี้มีลักษณะเด่นสวยงามยิ่งรูปทรงเป็นแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบหินอ่อน และกระจกใส ตัวอาคารมี ๒ ตอน ชั้นบนแบ่งเป็น ๒ ตอน คือด้านนอกเป็นระเบียงมีปันไดขึ้นไปหอดอย ซึ่งมีลักษณะเป็นยอดโดม สามารถมองเห็นทิวทัศน์มืองสตูลได้ไนระยะไกล ด้านในเป็นห้องโถงใหญ่ใช้เป็นที่ละหมาด และสามารถมองเห็นห้องโถงชั้นล่างได้ ส่วนชั้นล่างนั้นเป็นห้องใต้ดิน ใช้เป็นห้องประชุมและห้องสมุดสำหรับให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา           


ปูชนียบุคคล

                     พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตนกูมูอำมัดอาเก็บ)
               พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตนกูมูอำมัดอาเก็บ) (นักปกครองและผู้สร้างบ้านแปงเมืองยุคบุกเบิก) ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจกันก่อนเป็นเบื้องต้นว่า ผู้ว่าราชการเมืองสตูลที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ นั้น มีอยู่ ๒ คน คือ

๑. พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตนกูมูฮำหมัดอาเก็บ)
๒. พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ่ย บินอับดุลลาห์)      

                  บุคคล ๒ ท่าน นี้เป็นผู้ซึ่งทำคุณประโยชน์ใหญ่หลวงแก่จังหวัดสตูล ได้ช่วยสร้างบ้านแปลงเมืองสตูลให้เป็นปีกแผ่น ทำความเจริญให้เกิดขึ้นโดยลำดับ สำหรับตนกูมูฮำหมัดอาเก็บ ท่านเป็นบุตรของพระยาอภัยนุราช (ตนกูปัศนู)) กำเนิดที่เมืองเคดะห์ รัฐไทรบุรี เมื่อเยาว์วัยได้อพยพลี้ภัยส่งครามไปอยู่ที่เมืองมะละกา สมัยที่พระยาอภัยนุราช (ตนกูปีสนุ) ได้รับพระกรุณโปรดเกล้าๆ ให้มาปกครองท้องที่มูเก็มสโตยหรือตำบลสโตย ในฐานะผู้ดูแลตำบลหนึ่งของเมืองไทรบุรีนั้น พระยาอภัยนุราช (ตวนกูปัศนู) ไม่ได้สร้งบ้านสร้างเมืองให้เป็นหลักแหล่ง หากแต่ไป ๆ มา ๆ ระหว่างไทรบุรีกับมูเก็มสโตย และไม่ถือว่าพระยาอภัยนุราช (ตนกูปัศนู) เป็นเจ้าเมืองสตูล เพราะมูเก็บสโดยเป็นเพียงตำบลหนึ่งไม่มีการจัดตั้งเมืองอย่างเป็นทางการ ล่วงมาในปี พ.ศ. ๒๓๘๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดความยุ่งยากขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเมืองไทรบุรีเมื่อตนกูมหะหมัดชาอัด ตนกูอับดุลละห์ และหวันมาลีไต้ก่อกบฏ เข้าตีเมืองไทรบุรี  เมืองตรัง และคิดกำเริบจะเข้าตีเมืองสงขลาต่อไป แต่กองทัพไทยยกทัพเข้าตีเมืองไทรบุรีคืนได้ในปลายปี พ.ศ. ๒๓๘๑ ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๓๘๒ ทางราชการจึงได้แบ่งแยกเมืองไทรบุรีออกเป็น ๓ เมือง เพื่อความสะดวกในการปกครองดูแล ได้แก่ท้องที่ตำบลสโตย ตำบลปะลิส และเมืองไทรบุรี่ รัชกาลที่ 3 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตนกูมูฮำหมัดอาเก็บเป็นผู้ปกครองมูเก็มสโตย ซึ่งยกฐานะเป็นเมืองสตูลเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๒ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอภัยนุรช ชาติรายาภักดี พระยาสตูลตนกูมุูฮำหมัดอาเก็บเป็นเจ้าเมืองสตูลได้ ๓๗ ปี และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ มหินทรายานุวัตรศรี สตูลรัฐจางวาง
                เกียรติประวัติและผลงาน
                พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตนกูมูฮำหมัดอาเก็บ) เป็นเจ้าเมืองสตูลคนแรก จากที่ได้ยกฐานะ "มูเก็มสโตย" หรือตำบลสโตยให้กลายเบ็น "นครีสโตยมบัง
สังคารา" หรือ "สตูลเมืองแห่งพระสมุทรเทวา" ทำให้บรรดาต่างชาติต่างภาษา ตลอดจนหัวเมืองใกล้เคียงรู้จักเมืองสตูลดีขึ้น ตนกูมูฮำหมัดอาเก็บ ทำให้เมืองสตูลกลายเป็นเมืองท่าเมืองหนึ่งในแถบช่องแคบมะละกา ที่มีเรือสินค้าไปมาระหว่างเมืองไทรบุรี ปีนัง และเมืองท่าอื่น ๆ เวลานั้นเมืองสตูลเป็นเจ้าของเกาะน้อยใหญ่ใกล้เคียง มีสิทธิคุ้มครองเกาะรังนกนางแอ่น ที่มีอยู่เกาะตั้งแต่ปากน้ำปะลิสไปจนถึงเกาะพีพี เมืองพังงา เกาะที่มีรังนกต้องขึ้นกับเมืองสตูลทั้งสิ้น เมืองสตูลจึงได้รับขนานนามว่า "เมืองแห่งพระสมุทรเทวา" ด้วยเหตุนี้ แน่นอนเจ้าเมืองสตูลเก็บภาษีรายได้จากเรือสินค้าและรังนกได้มากมาย
                    ผลงานด้านอื่น ๆ
                    พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตนกูมูฮำหมัดอาเก็บ) มีผลงานด้านอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

๑. การทำนุบำรุงบ้านเมือง เนื่องจากว่าตนกูมูหฮำมัดอาเก็บ ท่านเคยลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองมะละกาเมื่ออายุ ๑๘ ปี ได้เห็นแบบอย่างการสร้างบ้านสร้างเมืองที่นั่นมาก่อน จึงได้นำวิธีการมาปรับปรุงเมืองสตูล ได้แก่การตัดถนนหนทางติดต่อระหว่างตำบล เพราะการคมนาคมเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาบ้านเมือง ถนนสายสำคัญใต้แก่สายเลียบลำคลองมำบัง และสายมำบัง (ตำบลพิมาน) ถึงกำปงจีนา (ตำบลฉลุง)  ในการตัดถะนหนทางนั้นได้รับความร่วมมืออย่างเต็มใจยิ่งจากราษฎร แม้ถนนจะตัดผ่านที่ทำกิน ก็ยินดียกที่ดินให้เป็นที่สาธารณะ มีการสละแรงงานโดยไม่ได้คิดค่าตอบแทน ถนนที่ตัดขึ้นในสมัยนั้นมีลักษณะแตกต่างจากถนสมัยปัจจุบัน นอกจากจะกรุยเป็นทางและตัวถนนแล้ว ชาวบ้านช่วยกันทำรั้วกั้นขอบถนนด้วยโดยใช้ไม้กระทู้ปักกั้นเป็นช่วง ๆ เพื่อป้องกันมิให้วัวควายขึ้นทำลายตัวถนน
๒. ด้านการปกครอง เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ท่านจัดให้มีสถานที่รับคำร้องทุกข์ และขี้ขาดข้อพิพาทของราษฎร สมัยนั้นยังไม่มีศาลตัดสินคคีความต่าง ๆ สถานที่พิเศษที่สร้างขึ้นมานี้ใช้เป็นที่ตัดสินพิจารณาโทษทัณฑ์ของราษฎร ท่านได้จัดให้มีเรือนจำสำหรับกักขังผู้ต้องโทษทำด้วยไม้เสา กลมล้อมเป็นคอกตั้งอยู่ระหว่างวังกับภูเขาโต๊ะหยงกง
๓. ด้านศาสนา ท่านเห็นว่าเมืองสตูลยังไม่มีมัสยิดประจำเมือง เพื่อการประกอบศาสนกิจ และเพื่อความเป็นศรีสง่าของเมือง จึงจัดสร้างมัสยิดมำบัง (มัสยิดกลาง) การสร้างมัสยิดหลังในครั้งนั้น ท่านไม่ประสงค์ให้มีการเรี่ยไรทรัพย์สินเงินทองของราษฎร แต่ไช้วิธีการต่อเรือมาดส่งไปชายที่เมืองไทรบุรี ขากลับก็ได้ซื้อวัสดุจำพวก อิฐ ปูน บรรทุกเรือมาที่สตูล และดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ โดยมอบหมายให้หวันอุมาเป็นผู้คุมการก่อสร้าง ปัจจุบันไม่มีซากร่องรอยหลงเหลือให้เห็นแล้ว เพราะทางการสั่งให้รื้อและสร้างมัสยิดหลังใหม่แทน 
๔. ด้านการศึกษา จัดให้มีการสอนภาษาและศาสนาขึ้นที่มัสยิดหลายแห่ง โดยจัดคผู้มีความรู้มาทำการอบรมตลอดเวลา ๓๗ ปี ท่านได้สร้างเมืองสตูลให้เจริญก้วหน้าขึ้นโดยลำดับ ทำให้ชื่อเสียงของเมืองนี้ปรากฎแผ่ขยายออกไปแปรสภาพจากตำบลเล็ก ๆ กลายเป็นเมืองท่าเรือย่านฝั่งทะเลตะวันตก ต่อมาท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาสมันตรัฐบุรินทร์

            พระยาภูมินารถภักดี (เจ้าเมืองนักพัฒนา)


ภาพจาก : https://nangngamja.blogspot.com/2012/12/blog-post.html

           ในบรรดาเจ้าเมืองสตูลหรือผู้ว่าราชการจังหวัดหลายคน กล่าวได้ว่าพระยาภูมินารถภักดีเป็นผู้ที่มีผลงานเด่นชัดในการสร้งบ้นสร้างมืองสตูลให้เจริญเป็นปึกแผ่น  สมควรที่คนรุ่นหลังจะได้น้อมระลึกถึงคุณงามความดีของท่านผู้นี้ไว้
                   
ชาติกำเนิด
                
พระยาภูมินารถภักดี มีนามเดิมว่ากูเด็น บินกูแมะหรือตนกูบาฮะรุดดินบินกูแมะ คำว่า “บิน” แปลว่า “เป็นบุตรชายของ” ตามประเพณีของมลายูนั้นไม่มีนามสกุลแต่จะบอกชื่อบิดาไว้เพื่อให้จำแนกบุคคลได้เท่านั้น ท่านเบ็นบุตรคนที่ ๖ ของนายกูแมะและนางเจ๊ะจิ เกิดที่เมืองอลอร์สตาร์ เมืองไทรบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๒ ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๔ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด ๗ คน พระยาภูมินารถภักดี คือตันตระกูล "บินตำมะหงง" เป็นที่รู้จักกันในจังหวัดสตูล
                 การรับราชการ
                 พระยาภูมินารถภักดีหรือกูเด็นบินกูแมะ เริ่มเข้าทำงานเป็นเสมียน ต่อมาได้เป็นพัสดีเรือนจำที่เมืองอลอร์สตาร์ หลังจากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการฝ่ายปกครองชั้นสูงฝ่ายไทรบุรี และได้รับการแต่งตั้งให้มาช่วยปกครองเมืองสตูล ต่อมาเมื่อเมืองสตูลว่างเจ้าเมือง เนื่องจากทายาทตนกูอับดุลเราะห์มานเจ้าเมืองสตูลสมัยนั้นเป็นผู้หญิงและเสียชีวิตตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี เจ้าเมืองไทรบุรีจึงแต่ง
ตั้งให้กูเด็นบินกูแมะเป็นเจ้าเมือง ต่อมาท่านได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอินทรวิชัย พระอินทรวิชัย และพระยาอินทรวิชัยตามลำดับ จนกระทั่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อวยยศให้เป็นมหาอำมาตย์ตรี พระยาภูมินารถภักดีจางวางกำกับราชการเมืองสตูล และได้ออกจากราชการเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองสตูลรวมทั้งสิ้น ๑๔ปี  พระยาภูมินารถภักดีถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๕ รวมอายุ ๘๓ ปีได้ทำพิธีฝังศพ ณ สุสานมากามาฮา ซึ่งเป็นที่ดินที่ท่านอุทิศไว้สำหรับฝังศพชาวมุสลิมทั่วไปชาวบ้านเรียกสุสานนี้ว่า “สุสานพระยาภูมินารถ” ตั้งอยู่ที่ถนนสตูลธานีซอย ๑๗ หรือที่เรียกกันว่าซอยกูโบร์  พระยาภูมินารถภักดีเป็นต้นตระกูล “บินตำมะหงง” เป็นนามสกุลที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้แก่ อำมาตย์เอก พระยาอินทรวิไชย  (กูเด็น บิน กูแมะ หรือ ตนกูบาฮารุดดิน) ผู้ว่าราชการเมืองสตูล เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ มีพระปรมาภิไธย “วชิราวุธ ปร.” พระราชทานนามสกุล  “บินตำมะงง”  (ทรงสะกด “บินตำมะงง” ไม่มีตัว “ห”) และสะกดนามสกุลเป็นภาษาอังกฤษว่า “Bin Tamangong” 
               พระยาภูมินารถภักดีหรือกูเด็นบินกูแมะ ทั้ง ๆ ที่ท่านไม่ได้สืบเชื้อสายเจ้าเมืองเก่าสตูลแต่ประการใด แต่เนื่องจากว่าท่านมีความสามารถ มีความอุตสาหะ เพียรพยายาม
ทำนุบำรุงบ้านเมืองอย่างจริงจัง  
                เกียรติประวัติและผลงาน
                พระยาภูมินารถภักดีเป็นผู้วางรากฐานความเจริญหลายประการแก่เมืองสตูล จะขอกล่าวเป็นเรื่อง ๆ ดังนี้

๑. ด้านการปกครอง
     เนื่องจากว่าพระยาภูมินารถภักดีไม่ได้
สืบเชื้อสายเจ้าเมืองเก่า แต่ท่านเป็นผู้มีความรู้ความสามาร จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปกครองเมืองสตูล โดยท่านมีความสนิทสนมกับทางเมืองหลวงของไทยเป็นพิเศษ ประกอบกับบุตรชายของท่านได้สมรสกับธิดาของพระยาอภัยภูเบศว์  เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ท่านพยายามจะตีตัวออกห่างจากเมืองไทรบุรี โดยตัดสินใจส่งเครื่องราชบรรณาการต่อกรุงสยามโดยตรง ซึ่งแสดงถึงความจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เมืองสตูลเหินห่างจากเมืองไทรบุรีขึ้นต่อกรุ่งเทพมหานคร สำหรับการปกครองในสมัยนั้นเมืองสตูลขึ้นอยู่กับมณฑลภูเก็ต พระยารัษฎานุประดิษฐ์เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ได้ลงมาตรวจราชการที่จังหวัดสตูลอย่างสม่ำเสมอ พระยาภูมินารถภักดีได้จัดสร้างที่พักสำหรับพระยารัษฎานุประดิษฐ์ขึ้นที่ทุ่งเฉลิมสุขเรียกว่า "ที่พักเจ้าคุณเทศา" โดยท่านพระยารัษฎานุประดิษฐ์ได้มีส่วนในการวางระบอบการปกครองบ้านเมืองหลายประการ พระยาภูมินารถกดีได้แบ่งส่วนราชการของสตูลออกหลายฝ่าย โดยให้มีการดูแลรับผิดรอบเฉพาะ เช่น จัดให้มีกำนัน (ปังฮูลูมูเก็ม) ดูแลในแต่ละตำบล มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยภายในท้องที่ จัดให้มีการสื่อสารระหว่างปังฮูลูมูเก็มกับราษฎร เจ้าหน้าที่ตำรวจและข้าราชการใช้กระดุมเสื้อชั้นนอก ๕ เม็ด ทำด้วยโลหะสั่งจากนอกมีอักษรภาษามลายูว่า "นครีสโตย" แม้กระทั่งกระเบื้องเครื่องถ้วยชามที่ข้าราชการใช้ประจำท้องถิ่น ก็สั่งทำจากเมืองนอก มีอักษรภาษาอังกฤษกำกับทุกชิ้น ของที่ใช้ในเมืองเขียนว่า "มำบังนังคารา" ที่ใช้ประจำราชการทุ่งหว้าเขียนอักษร "ทุ่งหว้า" เครื่องใช้เหล่านี้ไว้รับแขกและประจำบ้านพักข้าราชการ ประจำท้องที่ข้าราชการที่โยกย้ายไปแต่ละท้องที่ จะได้ไม่ต้องขนเครื่องภาชนะออกจากบ้าน หรือซื้อของในตลาดมาใช้ ทั้งนี้ถือว่าเป็นการรักษาเกียรติของข้าราชการด้วย อนึ่งเพื่อความสะดวกในการปกครองบ้านเมือง พระยาภูมินารถภักดีได้สร้างศาลาว่าการเมืองสตูลหรือศาลากลางจังหวัดเป็นตัวตึกสองชั้น หลังคาทรงปั้นหยา ก่ออิฐถือปูนมีกำแพงป้อมยามเป็นศรีสง่าของเมืองสตูล ในเวลานั้นได้ใช้ประโยชน์ทางราชการตลอดมาคือเป็นสำนักงานเทศบาล ที่ว่าการอำเภอเมืองสตูล ต่อมาเป็นที่ทำการของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสตูล และปัจจุบันได้จดทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากรแล้ว สำหรับการบริหารราชการระดับอำเภอ พระยาภูมินารถภักดีได้จัดตั้งว่การอำเภอสุไหงอุเป (ทุ่งหว้า) และที่ว่าการกึ่งอำเภอละงู สร้างที่สถานีตำรวจเพื่อรักษาความปลอดภัยแก่ประชาชน
๒. การคมนาคม
     พระยาภูมินารถภักดี ได้ส่งเสริมกิจการไปรษณีย์โทรเลข มีที่ทำการ ณ บริเวณที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข
ในตัวจังหวัดจัดให้มีโทรศัพท์ติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ มีการเดินสายโทรเลขไปยังรัฐปะลิสผ่านทางบ้านทุ่งมะปรังและบ้านเกวียน สำหรับถนนหนทางนั้นได้ก่อสร้างปรับปรุงถนนที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น โดยเฉพาะถนสายมำบังถึงบ้านจีน (ฉลุง) ได้ขยายไปถึงวังประจัน ผ่านทางบ้านกุบังปะโหลด จากบ้านจีนถึงควนโพธิ์ จากบ้านจีนถึงบ้านดุสนตัดถนนจากตัวเมืองถึงบ้านศาลากันตง ต่อไปถึงท่าเรือเกาะนกเพื่อความสะดวกในการลำเลียงและขนถ่ายสินค้า ท่าเรือเข่งหิ้น (เหรียญทอง) ท่าเรือศาลากันตง และท่าเรือเกาะนก มีเรือกลไฟมาเทียบท่า เช่นเดียวกับท่าเรือสุไหงอุเป (ทุ่งหว้า) สำหรับถนนหนทางติดต่อจระหว่างอำเภอนั้น มีการตัดถนนจากละงูไปทุ่งหว้า จากละงูไปท่เรือปากบารา เพื่อความสะดวกในการคมนาคมเส้นทางเหล่านี้ได้มีการปรับปรุงขยับขยายในเวลาต่อมา
๓. การค้าระหว่างประเทศ
     กิจการค้าระหว่างประเทศ
เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดสมัยหนึ่ง อำเภอสุไหงอุเป (ทุ่งหว้า) เป็นทำเรือใหญ่ พ่อค้าชาวจีน มลายู อินเดีย เข้ามาติดต่อเพื่อรับซื้อสินค้าสำคัญคือพริกไทย ชาวจีนจากปีนังจำนวนประมาณ ๗,๐๐๐ คนอพยพเข้ามาทำสวนพริกไทยที่ทุ่งหว้า  มีเรือกลไฟเดินไปมาระหว่างทุ่งหว้ากับปีนังจำนวน  ๕ ลำ เป็นเรือกลไฟของสตูล ๑ ลำ คือเรือมำบัง ในฤดูกาลเก็บพริกไทยตลาดทุ่งหว้าจะคึกคักเป็นพิเศษ มีชาวต่างชาติเดินไปมาขวักไขว่  มีการละเล่นและมหรสพแสดงแข่งขันกันครึกครื้นยามค่ำคืน แสดงให้เห็นสภาพเศรษฐกิจที่ดีของบ้านเมือง หลักฐานที่หลงเหลืออยู่ทุกวันนี้ คือย่านตลาดทุ่งหว้า ยังมีอาคารร้านค้าแบบเก่าที่พ่อค้าจีนสร้งไว้ จะมีเสาใหญ่ ๆ อยู่ด้านหน้าและมีทางเดินหน้าร้าน เป็นรูปแบบเดียวกันกับที่พ่อค้าชาวจีนสร้งขึ้นในย่านถนนบุรีวานิช อำเภอเมืองสตูล ตลอดจนที่ปีนังและภูเก็ต นอกจากนั้นเมืองสตูลได้ผูกขาดการเก็บภาษีเป็นส่วนใหญ่ เช่น ผูกขาดเกาะรังนกภาษีขาเข้าต่าง ๆ เก็บค่าภาคหลวงไม้ที่ส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ภาษีฝิ่น ไข่เต่า ปลิงทะเล เปลือกหอย ก็มีการเก็บภาษีขาออกขาเข้า ทำให้รัฐบาลมีรายได้สูงขึ้น สร้างความเจริญแก่บ้านเมืองเป็นอย่างมาก
๔. จัดให้มีการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน 
     การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน เรียกกันสมัยนั้นว่า "การัน" เพี้ยนมาจากคำภาราอังกฤษ "การันตี" 
เป็นหนังสือรับรองสิทธิการครอบครองที่ดินหรือโฉนดนั่นเอง มีการรังวัด ปักปันเขตที่ดินของแต่ละเจ้าของ
๕. ด้านศาสนา
     พระยาภูมินารถภักดี ได้ปรับปรุงส่งเสริมบทบาทของกอฎี ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณาตัดสินคดีมรดก ครอบครัว การสมรส
หย่าร้างของชาวมุสลิม ผู้ใดฝ่าฝืนปฏิบัติผิดระเบียบ มีการปรับเปรียบเทียบหรือจำคุกตามโทษานุโทษ
๖. สร้างเรือนจำ
    พระยาภูมินารถภักดีได้จัดสร้างเรือน
จำแบบปีนังขึ้นที่บริเวณเรือนจำจังหวัดสตูลทุกวันนี้ โดยย้ายที่จากถนนสตูลธานีเดิม
๗. กิจการพยาบาล
    พระยาภูมินารถภักดี ได้มีการขยับขยายกิจการโรงพยาบาลสถานที่ผ่าตัดคนไข้ จัดสร้างที่พักนายแพทย์จากตลาดมาอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลสตูล นายแพทย์ที่รักษาคนไข้เวลานั้น
เป็นชาวต่างชาติ ชื่อด๊อกเตอร์ยาเลล ภายหลังได้ย้ายไปจากจังหวัดสตูล ทำให้ขาดแคลนนายแพทย์เป็นเวลานาน

            พระยาภูมินารถภักดี ได้สร้างความเจริญ ความเป็นปีกแผ่นแก่เมืองสตูลในหลายด้านสมควรที่ชาวส์ตูลจะยกย่อง เทอดทูนคุณงามความดีของท่านและจดจำไว้ไม่รู้ลืม

               พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์) (เสนาบดีขวัญใจชาวสตูล)

https://clib.psu.ac.th/southerninfo/storages/pictures/Province/Satun/Person/(%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%A2).png
พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์) ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อถวายงานแปลในฐานะล่ามภาษามาลายู

                 พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล นานถึง ๑๘ ปี แม้เมื่อออกจากราชการแล้ว ยังได้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญทางการเมืองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูลคนแรก
                 ชาติกำเนิด
                 อำมาตย์เอก พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (บุรินทร์ สมันตรัฐ) เดิมชื่อตุ๋ย บินอับดุลลาห์ เป็นบุตรคนที่ ๑๒ ของหลวงโกชาอิศหาก (เกิด บินอับดุลลาห์) และนางเลี้ยบ บินยับดุลลาห์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๔๑๔ ณ ตำบลบางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี หลวงโกชาอิศหาก (เกิด บินอับดุลลาห์) บิดาของท่านมีหน้าที่รับเครื่องราชบรรณาการดอกไม้เงินดอกไม้ทองของบรรดาหัวเมืองขึ้นฝ่ายแหลมมลายูที่นำเข้ามาสวามิภักดิ์ บิดาของท่านจึงสนิทสนมคุ้นเคยกับบรรดาสุลต่านทางมลายูเป็นอย่างดี ตอนเด็กท่านได้ศึกษาที่โรงเรียน ณ วัดบางลำภูล่าง ธนบุรี จึงมีความรู้ภาษาไทยขั้นแตกฉาน อ่านออกเขียนได้ ท่านมักพูดเล่นเสมอว่า ท่านเป็นเด็กวัดคนหนึ่ง ใช้เวลาเรียนหนังสือไทยอยู่ถึง ๓ ปี ต่อจากนั้นก็ได้รับการศึกษาภาษามลายู และรับการอบรมตามลัทธิศาสนาจากทางบ้าน เมื่อท่านมีอายุ ๘ ขวบ เจ้าเมืองปะลิสขอตัวท่านไปอุปการะเป็นบุตรบุญธรรม ท่านจึงไปอาศัยที่เมืองปะลิส รอบรู้ชนบธรรมเนียมประเพณีทางมลายูอย่างดียิ่ง ครั้นเมื่อเจ้าเมืองปะลิสถึงแก่กรรมลง ท่านจึงเดินทางกลับกรุงเทพมหาโดยไปอยู่กับบิดา คือ หลวงโกชาอิศหาก ได้ศึกษาระเบียบบริหารราชการต่าง ๆ โดยบิดามีความประสงค์ให้ท่านเข้ารับราชการสืบต่อไป
               ชีวิตราชการ
               
อำมาตย์เอก พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (บุรินทร์ สมันตรัฐ)  ได้เข้าราชการตามความประสงค์ของบิดา โดยลำดับดังนี้

ปี พ.ศ. ๒๔๓๒ อายุ ๑๘ ปี เข้ารับราชการครั้งแรกเป็นล่ามมลายู สังกัดกระทรวงกล่าโหม รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๔๐ บาท
- ปี พ.ศ. ๒๔๓๕  เป็นล่ามมลายูในกองพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า สายสนิทวงศ์ ข้าหลวงมณฑลปัตตานี ได้รับเงินเดือน ๆ ละ ๔๐  บาท ประจำหัวเมืองภาคใต้ มีเมืองยะหริ่ง สายบุรี และหนองจิก
ปี ฟ.ศ. ๒๔๓๙ เป็นขุนราชบริรักษ์ รับราชการเป็นล่ามมลทลปัดตานี รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเบตง ขึ้นกับเมืองรามันห์ รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๖๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๔๕๕ เป็นปลัดเมืองสตูล ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๒๕๐ บาท ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระโกซาอิศหาก
ปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๔๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสมันตรัฐบุรินทร์
ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ต่ออายุราชการไปจนถึงปี พศ. ๒๔๗๕ จึงได้ออกจากราชการเพื่อรับพระราชทานบำนาญ ท่านใช้ชีวิตราชการรวม ๔๓ ปี ประกอบเป็นล่ามภาษามลายู ๘ ปี นายอำเภอเบตง ๑๔ ปี ปลัดเมืองสตูล ๓ ปี และผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ๑๘ ปี 
ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ อายุ ๖๒ ปี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูลคนแรก ได้เข้าร่วมคณะรัฐบาลของพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ในฐานะรัฐมนตรี
ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ยังคงดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎตามดิม เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาได้เป็นนายกรัฐมนตรี พระยาสมันตรัฐบุรินทร์เข้าร่วมรัฐบาล เป็นรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงมหาดไทย
ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ อายุ ๗๗ ปี ได้รับการแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก
ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ดำรงตำแหน่งประธานสภาจังหวัด และดำรงตำแหน่งติดต่อกันมาทุกสมัย ตราบวาระสุดท้ายของชีวิต
ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นกรรมการที่ปรึกษาของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการศึกษาของจังหวัดขายแดนภาคใต้ และเป็นกรรมการที่ปรึกษาของกองประสานราชการ กระทรวงมหาดไทย


           หลังจากนั้นท่านได้เป็นที่ปรึกษาของกองประสานราชการ กระทรวงมหาดไทย และในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ได้รับเกียรติสูงสุดให้เป็นล่ามพิเศษ (ภาษามลายู) เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้  พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ เมื่ออายุ ๙๒ ปี ร่างของท่านฝังที่สุสานบากัรบาตาในซอย ๑๗ ถนนสตูลธานี ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล  จากคุณงามความดีที่ท่านได้ทำมา เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเกียรติคุณให้อำมาตย์เอกพระยาสมันตรัฐบุรินทร์เป็น "นักปกครองนักบริหารดีเด่นในรอบ ๑๐๐ ปีของกระทรวงมหาดไทย" 
               
เก็ยรติประวัติและผลงาน
      
         อำมาตย์เอก พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (บุรินทร์ สมันตรัฐ) เข้ารับราชการที่จังหวัดสตูล ในตำแหน่งปลัดเมืองสตูลหรือปลัดจังหวัด ซึ่งมีพระยาอินทรวิชัยหรือตนกูมายะรุดดิน เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด พระยาอินทรวิชัยได้รับพระบรมราชโองการฯ แต่งตั้งเป็นพระยาภูมินารถภักดี ครั้นเมื่อพระยาภูมินารถภักดีเกษียณอายุ ท่านจึงได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแทนเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗ สมัยนั้นเมืองสตูลขึ้นต่อมณฑลภูเก็ต สมุหเทศาภิบาลมณฑล คือพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) พระยารัษฎานุประดิษฐ์ได้ชื่อว่าเป็นนักปกครองที่มีความสามารถมองการณ์ ไกล ได้วางแบบแผนการปกครองภายในมณฑลไว้หลายประการ รวมทั้งรูปแบบของการปกครองเมืองสตูลด้วย พระยาสมันตรัฐบุรินทรับช่วงต่อนโยบายแนวปฏิบัติต่าง ๆ มาใช้ แม้ภายหลังเมืองสตูลจะไปขึ้นต่อมณฑลนครศรีธรรมราชแล้วก็ตาม กล่าวได้ว่าท่านได้ลอกเลียนวิธีการปกครองจากพระยารัษฏานุประดิษฐ์ไว้หลายประการ ผลงานเด่นซึ่งถือเป็นเกียรติประวัติของท่าน กล่าวเป็นข้อ ๆ ดังนี้ 

๑. ด้านการปกครอง
     พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ เป็นนักปกครองที่ดี เอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎ์ ท่านไม่ได้ทำงานอยู่ที่สำนักงาน แต่ท่านชอบออกไปเยี่ยมเยียนราษฎรทุกหมู่บ้านทั้งใกล้และไกล ตักตือนให้ผู้คนรู้จักการทำมาหากิน เลี้ยงชีพอย่างสุจริตส่งเสริมให้ผู้คนรู้จักประกอบอาชีพ เช่น ทำนา ทำสวน ประมง ให้ยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนา ให้รู้จักร่วมแรงร่วมใจกันทำงานหลักฐานสำคัญ คือ รายงานตรวจราชการของท่าน ฉบับที่ ๒/๒๔๗๑ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๑ ทางกระทรวงมหาดไทย ถือเป็นรายงานตรวจราชการตัวอย่างนำไปลงพิมพ์ในหนังสือเทศาภิบาล เล่มที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๗๒ ให้ข้าราชการฝ่ายปกครองยึดถือเป็นแบบอย่าง
๒. ด้านการศึกษา
     พระยารัษฎานุประ
ดิษฐ์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ได้วางรากฐานทางการศึกษาเกี่ยวกับภาษาไทยแก่จังหวัดสตูล แต่บุคคลที่สืบต่อนโยบายและปฏิบัติอย่างจริงจัง คือพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ โดยท่านได้ขยายโรงเรียนสอนภาษาไทยไปยังตำบลต่าง ๆ เร่งรัดการจัดการศึกษาขั้นมูลฐาน ให้สงวนเนื้อที่ไว้ตั้งโรงเรียนประถมศึกษาประจำตำบลอย่างน้อยแห่งละ ๒๐๐ ไร่ ท่านเล็งเห็นว่าโรงเรียนต้องมีเนื้อที่มากไว้ก่อน เพราะจะสะดวกในการเรียนการสอนวิชาการเกษตร ท่านพยายามแก้ไขความเชื่อผิด ๆ ของชาวบ้านที่ว่าผู้หญิงเรียนหนังสือร่วมกับผู้ชายไม่ได้ถือเป็นบาป จึงเร่งรัดให้ผู้อยู่ในวัยเรียนทั้งหญิงชายเข้าโรงเรียน ท่านไปตรวจเยี่ยมโรงเรียนไหนก็มักเข้าพบเด็กนักเรียน ตักเตือน พร่ำสอนเด็ก และได้เขียนบันทึกไว้เป็นหลักฐานในสมุดหมายเหตุของโรงเรียนต่าง ๆ กล่าวได้ว่าพระยาสมันตรัฐบุรินทร์เป็นผู้วางรากฐานทางการศึกษาที่สำคัญ พอดีตรงกับช่วงประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ มีส่วนให้ชาวสตูลอ่านออก เขียนได้ ปัญหาด้านการใช้ภาษาของจังหวัดสตูลจึงมีน้อย แตกต่างไปจากชาวไทยมุสลิมจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสก็ว่าได้
๔. ด้านการคมนาคม
     พระยาสมันตรัฐบุรินทร์เห็นว่าถนนหนทางมีความจำเป็นมาก จึงได้ตัดถนนหนทางหลายสายผ่านสถานที่จุดสำคัญ  ได้แก่ ถนนสายด่านเกาะนก ถนนสายฉลุงถึงตำบลควนโพธิ์ สายสนามบินเข้าหมู่บ้านท่าจีน บ้านเกตรีสาย หมู่บ้านควนสตอถึงบ้านกุบังปะโหลด ถนนสายละงูถึงทุ่งหว้า และมีโครงการจะตัดถนนหนทางหลายสาย
๕. ด้านส่งเสริมอาชีพ
     ท่านได้ส่งเสริมให้ราษฎรูปลูกกาแฟ พริกไทย จนทำให้จังหวัดสตุลมีชื่อเสียงด้านกาแฟและพริกไทย ส่งเป็นสินค้าออกไปขายปีนังได้ ส่งเสริมให้คนปลูกพืชผักสวนครัว ขุดบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ แจกพันธุ์ไก่ ปลา แก่ประชาชน ให้เปิดตลาดนัดตามตำบลต่าง ๆ เช่น ที่ตำบลฉลุง ตำบลควนโดนเพื่อให้ประชาชนได้มาจำหน่ายผลผลิต เป็นการส่งเสริมศรษฐกิจในท้องถิ่น
๖. การจัดตั้งศาลดาโต๊ะยุติธรรม
     พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ เห็นว่าการจะให้ชาวไทยมุสลิมขึ้นศาลไทย ในกรณีความผิดที่เกี่ยวกับศาสนา เรื่องมรดกทรัพย์สิน ก่อให้เกิดปัญหายุ่งยาก ท่านจึงดำเนินการจัดตั้งศาลดาโต๊ะยุติธรรมขึ้นมาเป็นครั้งแรก
๗. งานด้านวรรณกรรม
      พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ เป็นผู้รอบรู้ คงแก่เรียน ได้เรียบเรียงบทความ บทปาฐกถา บทวิทยุกระจ่ายเสียงไว้หลายเรื่อง เพื่อเป็นความรู้และวิทยาทานต่อผู้อื่น เช่น บทความเรื่องชาวน้ำ ความเป็นอยู่และขนบธรรมเนียมของคนบำ พิธีการสมรสของซาวมลายู ประวัติย่อพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ประวัติและความมุ่งหมายของ พ.ร.บ. ปกครองท้องที่ ร.ศ. ๑๑๖ ในหน้าที่กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน
๘. ผลงานทางการเมือง
     กล่าวได้ว่าพะยาสมันตรัฐบุรินทร์ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดสตูลมาก นอกจากท่านเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ท่านยังได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีร่วมคณะรัฐบาลด้วย ถือเป็นรัฐมนตรีคนแรกของจังหวัดสตูล นอกจากนี้ยังได้ดำรงตำแหน่งประธานสภาจังหวัดอีกด้วย
๙. ผลงานพิเศษ
       พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ เป็นที่ปรึกษาของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการศึกษาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นที่ปรึกษาของกองประสานราชการ กระทรวงมหาดไทย และเป็นล่ามพิเศษสมัยที่
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้


           พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ถึงแก่กรรมขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งประธานสภาจังหวัดสตูล สรุปได้ว่าตลอดชีวิตของท่านได้เสียลละแก่บ้านเมือง บำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์ ท่านวางตนอย่างเหมาะสม มีสัมมาคารวะ เป็นที่รักใคร่ชอบพอของชนทุกชั้น มีความซื่อสัตย์สุจริต สุภาพ เรียบร้อย ชาวสตูลสมัยนั้นเรียกท่านติดปากว่า "เจ้าคุณสมันต์" ผลงานของพระยาสมันตรัฐบุรินทร์จึงอยู่ในความทรงจำของชาวเมืองสตูลตลอดมาขอยกเอาคำไว้อาลัยที่ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เขียนไว้นหนังสือประวัติและเรื่องน่ารู้ชองพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ ดังนี้
     
         "เมืองไทยเรานี้มีกุศลบุญหนุนอยู่เบื้องหลัง เราจึงได้คนดีช่วยเหลือราชการอยู่ตลอดมา ท่านเจ้าคุณสมันตรัฐบุรินทร์เป็นคนหนึ่งในคนดีของเรา ท่านถือกำเนิดมาในตระกูลไทยอิสลาม แต่มิได้คิดเห็นเป็นอย่างอื่นเลยและท่านได้ประกอบคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติไทยเป็นอย่างยิ่ง ประกอบด้วยความจงรักภักดีในเบื้องยุคลบาทแห่งพระมหากษัตริย์เจ้าของชาวไทย เป็นศักดิ์ศรีแก่บ้านเมืองยิ่งนักผลแห่งคุณงามความดีของท่านนี้ เป็นปัจจัยให้ท่านมีอายุยีนยาวนาน และมีกำลังกาย กำลังใจเข้มแข็ง กำลังใจเข้มแข็งบฏิบัติราชการในตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ ได้ด้วยดีตลอดมา ผู้ที่เคยรู้จักหรือร่วมงานกับท่าน จะลืมท่านได้ยากนัก"

           เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ (ขุนคลังแห่งความรู้)


ภาพจาก : https://link.psu.th/ZZFbk

            เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของจังหวัดสตูล สมควรที่จะนำประวัติผลงานของท่านมาเผยแพร่ให้ชาวสตูลรุ่นหลังได้ทราบไว้ ท่านได้สร้างคุณงามความดีไว้มากมาย ไม่ฉพาะแต่ภายในจังหวัดสตูลเท่านั้นแม้ในระดับประเทศ ชื่อเสียงของนายเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ ก็เป็นที่รู้จักกันทั่วไปเพราะท่านเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขถือเป็นเกียรติประวัติของท่านและของชาวสตูลด้วย
             ชาติกำเนิด
           เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ ณ บ้านทำเนียบ ตำบลโกตา (กำแพง) อำเภอละงู จังหวัดสตูล บิดาชื่อนายเจ๊ะมูฮำหมัดะอาด มารดาชื่อนางเจ๊ะรอมะห์ หวันสู สืบเชื้อสายจากชาวนาในวัยเด็ก นายเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ ได้รับการศึกษาด้านภาษามลายูสำเร็จชั้น ๓ บริบูรณ์ ในวัยเด็ดท่านสนใจภาษาไทยเป็นอย่างมาก พยายามศึกษาจนอ่านออกเขียนได้

             การทำงานและและรับราชการ

- พ.ศ. ๒๔๔๘ อายุ ๑๔-๑๕ ปี เข้ารับราชการเป็นเสมียนศาลแขวงละงู อยู่ได้ปีีเศษก็ขอลาออกจากราซการ เพื่อไปประกอบอาชีพการค้าส่วนตัว ทั้งในประเทศและต่างระเทศ
- พ.ศ. ๒๔๕๙ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล (อำมาตย์เอก พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (บุรินทร์ สมันตรัฐ)) แต่งตั้งให้เป็นหัวหน้านะเอบ ปากบารา ในอำเภอทุ่งหว้า และกึ่งอำเภอละงู
- พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็นผู้ช่วยบรณาธิการหนังสือพิมพ์ซีนารุชามัน ในรัฐเมดานตะลีแห่งสุมาตรา ต่อมาเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อีดารันชามันหนังสือพิมพ์รันชามันหนังสือพิมพ์ปะหัตราเละปีนัง และเป็นผู้สื่อข่วหนังสือพิมพ์มลายา และหนังสือพิมพ์ปะงาโซะแห่งมลายา
- พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๗๓  ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล แต่งตั้งเป็นกอฎีทั่วไปว่าด้วยกรณีครอบครัว
- พ.ศ. ๒๔๗๓ มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นดาโต๊ะยุติธรรมประจำศาลจังหวัดสตูล
- พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล โดยได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น ต่อมาเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ เกิดรัฐประหาร สภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ
- พ.ศ. ๒๔๙๑1 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์เป็นครั้งที่ ๒
- พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายก
- พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ ๓ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

             ส่วนผลงานอื่น ๆ ของท่านจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ ท่านเป็นกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นกรรมการนิติบัญญัติประจำกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้ร่วมการพิจารณาญฎหมายครอบครัว มรดก ตามหลักอิสลามที่ใช้ในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนั้นท่านยังมีผลงานด้านวรรณกรรมอีกมากได้แต่งตำราทั้งภาษาไทย ภาษามลายู ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านศาสนา การปกครอง ประวัติศาสตร์  เช่น ประวัติย่อของจังหวัดสตูล อาณาจักรศรีวิชัย กระจกไม่มีเงา ฯลฯ นับว่าเป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่ออนุชนรุ่นหลังอย่างยิ่ง ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ท่านเป็นผู้รู้เรื่องสตูลดีมากคนหนึ่ง มีนิสิต นักศึกษาและผู้สนใจเรื่องเมืองสตูล ไปสัมภาษณ์สอบถามหาข้อมูลจากท่านอยู่ประจำ เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๙ สิริอายุรวมได้ ๙๖ ปี


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
สตูล (Satun)
ที่อยู่
จังหวัด
สตูล
ละติจูด
6.614583
ลองจิจูด
100.068083



วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัด ๗๖ จังหวัด. (2565, 15 ธันวาคม). อัตลักษณ์ผ้าถิ่น ศิลป์สตูล "ดาวน์บูดิงฟอสซิลสตูล" ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดสตูล.
           https://drive.google.com/file/d/17omEmV0x2yj1370YD0B9Ew38IcPePF7m/view
สำนักงานจังหวัดสตูล. (2532). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดสตูล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.
สุชาดา ทุ่งหว้า และคณะ, บรรณาธิการ. (2553). สืบสาวเรื่องราวชาวเมืองสตูล. สตูล : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสตูล.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024