คำขวัญ
“ไข่มุก อันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม”
ภูเก็ตเป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๘๖๒ กิโลเมตร เป็นเกาะเดียวที่มีฐานะเป็นจังหวัด คําว่าภูเก็ตมาจาก “ภู เก็จ” หมายถึงภูเขาแก้ว ได้รับสมญานามว่ามุกงามของไทย เป็นเกาะที่มีชื่อเสียงมาแต่โบราณ เคยเป็นดินแดนแห่งเศรษฐีเหมืองแร่ดีบุก นอกจากนั้นยังมีการปลูกยางพารา ทําสวนมะพร้าว สวนผลไม้ และทําการประมง ภูเก็ตปรากฏหลักฐานที่กล่าวอ้างถึงเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๗๐๐ โดยคลอดิอุส ปโตเลมี นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกได้บันทึกการเดินทางไว้ในชื่อของ "แหลมจังซีลอน" ซึ่งชื่อนี้ได้กลายไปเป็น "ถลาง" ประมาณปี พ.ศ. ๑๗๐๐ เมืองถลางขึ้นกับอาณาจักรศรีวิชัยมาก่อน ต่อมาได้รวมอยู่ในอาณาจักรศิริธรรมนคร ในสมัยพ่อขุนรามคําแหงมหาราช ต่อมาถลางก็รวมอยู่ในอาณาจักรสุโขทัยในปี พ.ศ. ๒๑๙๖ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมได้พระราชทานที่ดินให้ชาวฮอลันดาสร้างสถานีเก็บสินค้าขึ้นที่นี้ ภูเก็ตนั้นจากหลักฐานไม่มีเอกสารฉบับใดยืนยันความหมายของคําภูเก็ต ไว้อย่างแน่ชัดที่สุดมีเพียงกันสันนิษฐานกันเท่านั้น ภูเก็ตตั้งอยู่บนเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีเนื้อที่ ๕๕๐.๐๖๒ ตาราง กิโลเมตร มีเกาะเล็ก ๆ เป็นบริวารอีก ๓๗ เกาะ จึงรวมเนื้อที่ทั้งหมด ๕๗๘.๔๖๖ ตารางกิโลเมตร เฉพาะเกาะภูเก็ตมีส่วนยาวจากทิศเหนือถึงทิศได้ประมาณ ๔๔ กิโลเมตร กว้างโดยเฉลี่ยประมาณ ๑๘ กิโลเมตร “คําว่า “ภูเก็ต” เป็นคําที่เพี้ยนมาจากภาษามะลายู คือ “บูกิต” ซึ่งแปลว่าภูเขา เมื่อก่อนเขียนว่า “ภูเก็จ” ซึ่งเป็นคําผสมระหว่างคําว่า “ก” แปลว่า “เขา” กับคําว่า “เก็จ” ซึ่งแปลว่า “แก้วประดับ” เข้าใจว่าผู้ตั้งชื่อเกาะนี้คงจะเห็นว่าเกาะนี้อุดมสมบูรณ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าหรือเพราะความสวยงาม โดยธรรมชาติของเกาะก็เป็นได้ จึงได้เรียกหรือให้ชื่อว่าภูเก็จ แต่ได้เปลี่ยนวิธีเขียนชื่อจาก “ภูเก็จ” เป็น “ภูเก็ต” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ " สมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา
“ภูเก็จ” หรือ “ภูเก็ต” คงจะด้วยข้อสันนิษฐานดังกล่าว ข้อเขียนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับจังหวัดภูเก็ตมากมายและก็มักจะระบุถึงที่มาและตามหมายของชื่อภูเก็ตว่ามาจากคําภาษามลายูที่ว่า “บูกิต” หรือ “บูเกะ” ซึ่งหมายถึงภูเขาเพราะตัวเกาะภูเก็ตนี้ถ้ามองจากต้องทะเลแล้วเป็นเขาทั้งเกาะ แต่าจากการศึกษาค้นคว้าของนักวิจัยทําให้เกิดความคิดว่าชื่อภูเก็ตน่าจะเขียนเป็น “ภูเก็จ” ตามเดิม ซึ่งเคยเขียนมาแล้วในอดีต แต่ยังไม่ทราบต้นสายปลายเหตุว่าทําไมจึงเปลี่ยนมาสะกดด้วย “ต” เสีย ทั้ง ๆ ที่ชื่อเต็มให้ความหมายสอดคล้องกับเครื่องหมายประจําจังหวัด คือภาพภูเขามียอดเป็นควงสินค้า สัอมรอบด้วยทะเล และชื่อภูเก็จยังเป็นแบบไทยที่ให้ความหมายที่เป็นมงคล แก่จังหวัด อันหมายถึงภูเขาแก้วหรือเมืองแก้ว ไม่ได้เพี้ยนมาจากภาษามลายูดังที่เข้าใจ หลักฐานอ้างอิงที่ศึกษาค้นคว้าได้ก็ล้วนแต่ เขียนภูเก็ดสะกดด้วย “จ" ทั้งสิ้น เช่น
๑. จดหมายเหตุเมืองถลาง ฉบับที่ ๑ และ ๔ เทียน ประทีป ณ ถลาง บุตรชายของท้าวเทพกระษัตรี ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองภูเก็ต ได้เขียนไว้ในจดหมายเหตุว่าเมืองภูเก็จ และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้เป็นพระยาเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามคําแหง อันเป็นหลักฐานบ่งถึงภูเก็จหรือภูเขาแก้ว |
๒. พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ขณะดํารงพระยศเป็นพระบรมโอรสาธิราช กราบบังคมทูลรายงานกิจการเหมืองแร่ของมณฑลภูเก็จ ต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จ ประพาสหัวเมืองปักษ์ได้ รศ. ๑๒๔ ทรงเขียนว่ามณฑล ภูเก็จ |
๓. หนังสือราชการของกระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการเขียนถึงพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต หลักฐาน ฉบับนี้เขียนว่า “มณฑลภูเก็จ” |
๔. ตราประทับของกระทรวงมหาดไทยประจํามณฑลภูเก็ต จะเห็นว่าเป็น "มณฑลภูเก็จ" |
๕. เครื่องบินประจํามณฑลภูเก็ต ด้านข้างเครื่องบินเขียนว่า “มณฑลภูเก็จ” |
๖. ชื่อโรงเรียนประจํามณฑลภูเก็ต คือโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ก็เขียนว่า " โรงเรียนภูเก็จวิทยาลัย" |
๗. ภาพแผนที่ระวางที่ซึ่งเขียนโดยกรมแผนที่ทหาร ก็ใช้ภูเก็จ “ที่มี “จ" สะกด |
ฉะนั้นจากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นก็พอจะเป็นเครื่อง ยืนยันได้ว่า จังหวัดภูเก็ตที่ถูกต้องควรจะเขียนว่า “ภูเก็จ” ซึ่งแปลว่า เมืองแก้ว ไม่ใช่คําว่า “ภูเก็ต” ที่เพี้ยนมาจาก “บูกิต” ในภาษามลายู
ภูมิศาสตร์
จังหวัดภูเก็ตมีอาณาเขตคือ
ทิศเหนือ | จดทะเลติดกับเขตจังหวัดพังงา |
ทิศใต้ | ติดมหาสมุทรอินเดีย |
ทิศตะวันออก | จดทะเลติดต่อเขตจังหวัดพังงา |
ทิศตะวันตก | ติดมหาสมุทรอินเดี |
ย้อนอดีตเมืิองถลาง
เดิมตัวจังหวัดตั้งอยู่ที่บ้านตะเคียน คือเมืองถลาง (อําเภอถลางในปัจจุบัน) สำหรับวิวัฒนาการของภูเก็ตนั้นมีอยู่หลายยุคหลายช่วงช่วงด้วยกัน นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เห็นได้จากมีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือเครื่องมือหินและขวานหิน ที่บ้านกมลา อำเภอกะทู้ โดยจากการตรวจสอบทำให้ทราบว่าหลักฐานดังกล่าวนั้นมีอายุไม่ต่ำกว่า ๓,๐๐๐ ปี ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าเกาะภูเก็ตมีผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ ในสมัยอาณาจักรกรีกโบราณได้มีการกล่าวถึงภูเก็ตในนามของแหลมจังซีลอน ตามแผนที่ของปโตเลมี (นักภูมิศาสตร์ชาวกรีก) ซึ่งสันนิษฐานว่าขณะนั้นภูเก็ตยังเป็นแหลมติดกับแผ่นดินใหญ่ ก่อนที่พื้นดินบริเวณช่องปากพระ (ร่องน้ำระหว่างจังหวัดพังงาและภูเก็ต) จะถูกน้ำกัดเซาะจนขาดจากกัน แสดงให้เห็นว่าภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินทางในขณะนั้นแล้วในนามของแหลมจังซีลอน ภูเก็ตตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรต่าง ๆ เรื่อยมาตั้งแต่ประมาณต้นพุทธศตวรรษ ๘๐๐ ไม่ว่าจะเป็นอาณาจักรตามพรลิงค์ อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรศิริธรรมราช อาณาจักรสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ มามากมาย ตั้งแต่เป็นเมืองท่าที่สำคัญในการเดินทางระหว่างสุวรรณภูมิและทวีปอินเดีย ศูนย์กลางสำคัญในการค้าขาย-ทำเหมืองแร่ดีบุก และปัจจุบันเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก
ภาพจากคุณณัฐ เหลืองนฤมิตรชัย ; https://www.youtube.com/watch?v=SXnq7V4DUO0
ในนขณะที่นักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่า ประมาณสองล้านปีก่อนโน้นแผ่นดินที่เป็นเกาะภูเก็ตปัจจุบันนี้ คือส่วนหนึ่งของแผ่นดินใหญ่ แต่ะถูกดันออกมาทางให้กลายเป็นเกาะที่รอยเลื่อนคลองมะรุ่ยอยู่ในอําเภอทับปุด จังหวัดพังงา ผ่านทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเฉียดลงมาทางทิศตะวันออก จากนั้นโดยกระบวนการกัดเซาะของคลื่นลมก็ตัดเกาะภูเก็ตออกมาจากแผ่นดินใหญ่ และจากการสํารวจทางโบราณคดีก็พบงานอันประกอบด้วยภาพเขียนตามถ้ําต่าง ๆ เครื่องมือกะเทาะหิน มือหินขัด เศษภาชนะดินเผา กําไลเปลือกหอย หินลับ บริเวณถ้ําและเพิงผาของเขาหินปูน และตามเกาะแก่งต่าง ๆ ในแถบชายฝั่งรอบอ่าวพังงา (อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดกระบี่ พังงา-เก็ตปัจจุบัน) ช่วยให้สามารถอนุมานได้ว่ามีมนุษย์ตั้งถิ่นฐานอยู่แล้วในดินแดนแถบนี้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐-๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในส่วนของเกาะภูเก็ตนั้นนักโบราณคดีได้ขุดค้นพบเครื่องมือหิน ผานหินขัดที่บริเวณบ้านกมลา อําเภอกะทู้ อันเป็นหลักฐานว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่ในดินแดนนี้ไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว มนุษย์ในยุคหินใหม่ที่มีความเจริญถึงขั้นสามารถใช้หินเป็นเครื่องมือในการยังชีพ จากการศึกษาในวิชาชาติพันธุ์วรรณนาระบุว่า ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนเกาะนี้ คือพวกชาวน้ําหรือ ชาวเล ซึ่งเป็นชื่อเรียกชนกลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยตามเกาะแก่งซึ่งมีพิงพักแบบชั่วคราว โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ในภาษามลายู เรียกโอรังละอุต แปลว่าคนทะเล ในภาษาพม่าแถบหมู่เกาะมะริด เรียกซลังหรือเซลัง และอีกกลุ่มชนหนึ่งที่ชอบอยู่ตามเขาสูงใช้ชื่อเรียกตัวเองว่า “เซมัง” หรือ “เซียมัง” “ธรังบูกิต” (คนภูเขา) ซึ่งทั้งสองเผ่าพันธุ์นี้เป็นโพลินิเชียนสองสายที่ใช้ชีวิตอยู่มาตั้งแต่ดึกดําบรรพ์ นักมานุษยวิทยาบางกลุ่มเชื่อว่าแต่เดิมนั้นชนพวกนี้มีถิ่นฐานอยู่บริเวณช่องแคบมะละกา ต่อมาก็อพยพโยกย้ายตามเกาะต่าง ๆ แถบชายฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่บริเวณมะริดทางตอนใต้ของพม่า เรื่อยมาทางจังหวัดระนอง พังงา กระบี่ และสตูล ตลอดลงไปถึงมลายูและอินโดนีเซีย กลุ่มชนนี้ชอบอยู่เป็นกลุ่ม ๆ อย่างโดดเดี่ยวตามหมู่เกาะต่าง ๆ ในท้องทะเล กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ชอบอาศัยอยู่ตามเพิงพักขนาดเล็กในลักษณะของที่พักชั่วคราว สักพักก็จะอพยพโยกย้ายกันอยู่ตลอดเวลาจนได้รับคําเรียกขานว่า “ผู้เร่ร่อนแห่งท้องทะเล" (ปัจจุบันก็ยังหลงเหลืออยู่บ้างตามเกาะหรือหาดต่าง ๆ ของภูเก็ต เช่น บริเวณหาดราไวย์ แหลมหลา เกาะสิเหร่ บริเวณแหลมตุ๊กแก อ่าวสะป่า และบ้านเหนีย) ในระยะต่อมาเมื่อการเดินเรือเจริญขึ้นก็มีชาวต่างถิ่นอพยพเข้ามาอยู่อาศัย ในเกาะถลางมากขึ้น เริ่มจากพวกแมงหรือมอญ ซึ่งเป็นชนชาติพูดภาษามอญ เขมร จากมะริด ตะนาวศรี พวกอินเดียจากลังกา กัลกัตตา และเบงกอล เข้ามาขับไล่ชาวเล หรือคนภูเขา แล้วเข้ามาตั้งเป็นเมืองมีหัวหน้าปกครอง ชุมชนถลางก็ค่อยพัฒนาเป็นท่าเรือนานาชาติ เป็นที่ที่ชาวต่างชาติจากซีกโลกตะวันตกเดินทางมาแวะพักเพื่อแลกเปลี่ยนชื่อสินค้า ขนสินค้าข้ามมหาสมุทรหรือรอลมทะเล ก่อนที่จะเดินทางกลับบ้าน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยภายในของเกาะถลางที่สามารถดึงดูดผู้คนให้อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งและพำนักชั่วคราว ก็คือการเป็นแหล่งผลิตดีบุกเพื่อสนองความต้องการของตลาดภายนอก มีการกล่าวถึงแหล่งผลิตดีบุกในช่วงปี พ.ศ. ๗๐๐ ปรากฏอยู่ในหนังสือภูมิศาสตร์ของปโตเลมีว่า “จังซีลอน” เป็นท่าจอดเรือที่รู้จักกันดีของพ่อค้าต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย อาหรับ เปอร์เซีย เป็นแหล่งผลิตดีบุกซึ่งชาวพื้นเมืองรู้จักกันในนามของ “ตะกั่วดํา” ขณะเดียวกันการมีภูมิประเทศที่เป็นเกาะ มีท่าเรือน้ําลึกหลายแห่ง ถลางจึงเป็นชุมชนท่าเรือที่สําคัญทางชายฝั่งตะวันตก จนเป็นที่รู้จักกันดีทั้งภายในและนอกประเทศ ทั้งสองประการนี้คือปัจจัยภายในที่สําคัญยิ่งของเมืองถลาง สําหรับกลุ่มคนไทยนั้น ประเสริฐ กาญจนดุล ได้ค้นคว้าและเรียบเรียงไว้ในหนังสือประวัติดินแดนไทยในแหลมมลายู ได้อธิบายว่าคนไทยได้อพยพลงสู่ภาคใต้เมื่อราว ๆ ปี พ.ศ. ๕๐๐ มาอยู่ใต้การปกครองของชาวอินเดีย จนถึงปี พ.ศ. ๒๐๐ จึงได้ตั้งตัวเป็นอิสระขึ้นปกครองเมืองตามพรลิงค์ และสถาปนาอาณาจักรไทยเป็นใหญ่ขึ้นในแหลมมลายูเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๔๐๐ ปี ถลางหรือภูเก็จในช่วงเวลาที่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาตามพรลิงค์ ยังอยู่ในสภาพของแหลมเรียกว่าจังซีลอน ยังคงเป็นเพียงชุมชนสําหรับค้าขายและแวะพักของเรือสินค้าเท่านั้น จนกระทั่งผ่านกาลเวลามาถึงยุคเสื่อมของอาณาจักรตามพรลิงค์ ดินแดนทางภาคใต้ของไทยซึ่งรวมทั้งแหลมถลางและตลอดจนถึงแหลมมลายู คือดินแดนภายใต้การปกครองของอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งเชื่อว่ามีศูนย์กลางอํานาจอยู่ที่เมืองครหิ (ไชยา) มีหลักฐานยืนยันว่าในระยะเวลานี้มีชุมชนแบบเมืองเกิดขึ้นแล้วบนแหลมคือ “มานิกคราม” หรือ “เมืองแก้ว” ทั้งนี้จากเรื่องราวที่พวกทมิฬโจฬะจากต้นซอร์ได้ยกทัพเรือมาตีอาณาจักรศรีวิชัย กองเรือส่วนหนึ่งของทมิฬโจฬะได้มายึดเมืองมานิกครามเพื่อใช้เป็นกําลังการพักพล รวบรวมเสบียงอาหาร หากเมื่อไม่สามารถตีอาณาจักรศรีวิชัยได้ จึงต้องล่าถอยกลับแต่ก็ได้ทิ้งร่องรอยอารยะและวัฒนธรรมไว้บนเกาะแห่งนี้ไม่น้อย ต่อมาอาณาจักรตามพรลิงค์ก็กลับมามีอํานาจในภาคใต้อีกครั้งหนึ่ง โดยการนําของพระเจ้าจันทรภาณุ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอาณาจักรศิริธรรมนคร มีศูนย์กลางอํานาจอยู่ที่นครศรีธรรมราช ถลางจึงตกเป็นส่วนหนึ่งอาณาจักรใหม่นี้ในฐานะเมืองหนึ่งใน ๑๒ เมืองตามปีนักษัตร มีตราสุนัขนามอันหมายถึงปีจอ ปรากฏชื่อในตํานานเมืองนครธรรมราชที่เขียนขึ้นในชั้นหลังว่า “เมืองตะกั่วถลาง” และเชื่อกันว่าความเจริญของถลางในระยะนี้อยู่ที่บ้านกมลา (อําเภอถลางในปัจจุบัน) ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “บ้านหมา” เมืองนี้ก็คือเมือง “มาคราม” นั่นเอง เหตุผลที่เชื่อว่าจุดเริ่มต้นของความเจริญบนเกาะเริ่มต้นที่นี่ ก็เพราะมีท่าเรืออยู่หลายแห่งและมีภูมิประเทศที่กว้างใหญ่ เหมาะแก่การตั้งหลักแหล่งสร้างบ้านแปลงเมือง นอกจากชื่อบ้านเมืองว่า “บ้านหมา” ซึ่งดูสอดคล้องกับปีจอและถือตราสุนัขนามแล้ว จากบันทึกของร้อยเอกโลว์ ซึ่งแวะเข้ามาจอดเรือรบที่บ้านท่าเรือ เมืองถลาง ในปี พ.ศ. ๒๓๖๗ ที่ยืนยันว่า “เมืองถลางเป็นแผ่นดินที่ผู้คนยกย่องสุนัข ตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์บางท่านข้อความบางตอนในบันทึก ก็คือทางฝั่งตะวันออกของเกาะตรงที่ที่เรียกว่า “แหลมพระ มีหินก้อนหนึ่งซึ่งชาวบ้านยืนยันว่ามีรูปจําลองของสุนัขตัวหนึ่งอยู่ สิ่งสุดท้ายที่ยังคงเหลืออยู่พอได้เห็นประเพณีการนับถือสุนัข เมืองถลางก็คือรูปปั้นของสุนัขตั้งอยู่ใกล้ ๆ ท่าเรือ
สมัยอาณาจักรสุโขทัย-ศรีอยุธยา
เมืองนครศรีธรรมราชขึ้นกับสุโขทัยในรัชกาลขุนรามคําแหงมหาราช เกาะถลางซึ่งเป็นเมืองในเมืองสิบสองนักษัตร ขึ้นกับนครศรีธรรมราชจึงขึ้นกับสุโขทัยด้วย นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีบางท่านได้ชี้ให้เห็นว่า เมืองถลางน่าจะมีความสำคัญต่อสุโขทัยมากในฐานะที่เป็นแหล่งแร่ดีบุก ซึ่งเป็นที่ต้องการอินเดียและจีน มีความเป็นไปได้สูงว่าสุโขทัยน่าจะได้แร่ดีบุกและแร่ทองแดงจากถลางไปหล่อพระพุทธรูปทองสําริดขนาดอยู่มากมาย และสุโขทัยกลายเป็นแหล่งส่งออกทองสําริดไปยัง จีนและอินเดีย เมื่ออาณาจักรสุโขทัยล่มสลายอำนาจและตกอยู่ในอํานาจการปกครองของกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๒๑ เมืองถลางจึงเป็นเมืองหนึ่งที่ต้องขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาด้วย ตลอดช่วงเวลาของสมัยกรุงศรีอยุธยา เกาะถลางเป็นที่รู้จักปรากฏชื่ออยู่ในบันทึกการเดินทางของชาติต่าง ๆ ในยุโรปที่แผ่อำนาจและอิทธิพลเข้ามาทําการค้าทางเรือในทวีปเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นพวกโปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศล อังกฤษ ทั้งนี้เพราะความอุดมสมบูรณ์ของแร่ดีบุก ซึ่งเป็นที่ต้องการชาติตะวันตก ในสมัยของพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงอนุญาตให้โปรตุเกสตั้งห้างรับซื้อดีบุกเป็นครั้งแรก ณ เกาะถลาง นักวิชาการได้แสดงความคิดเห็นว่าเมืองภูเก็จน่าจะเกิดขึ้นในยุคนี้ โดยการริเริ่มของชาวโปรตุเกสเพื่อเป็นสถานีการค้าเป็นที่รวมสินค้าประเภทแรดีบุก ในระยะแรกคงเป็นชุมชนเล็ก ๆ แล้ว กลายเป็นชุมชนใหญ่จนกลายเป็นเมืองในระยะต่อมา สมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช ได้โปรดให้หมอวินเซนต์ ซาว รดเกล ผู้มีความสามารถในการถลุงแร่ดีบุกมารับราชการอยู่ที่เมืองหลวง ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้โปรดให้ยกฐานะเมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง เป็นหัวเมืองชั้นตรีขึ้นฝ่ายกลาโหม เนื่องจากความสําคัญมากขึ้นเพราะมีแร่ดีบุกอุดมสมบูรณ์ ในช่วงนี้เองที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับโปรตุเกสเริ่มเสื่อมลง เพราะพวกฮอลันดาเริ่มเดินทามาค้าขายในเอเชียมากขึ้นและมีอิทธิพลขึ้นตามลําดับ พระมหากษัตริย์ไทยก็เริ่มโปรดปรานชาวฮอลันตามากกว่าโปรตุเกส ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม โปรดให้ชาวฮอลันดา สร้างสถานีเก็บสินค้าที่เมืองภูเก็จ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะถลางเพื่อรับซื้อแร่ดีบุก พวกฮอลันดามีอิทธิพลสามารถทำให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงทําสัญญาทางการค้ากับตนเองทำให้พระองค์ไม่โปรด จึงโปรดเกล้าฯ ให้ฝรั่งเศสเข้ามาเป็นพันธมิตรเพื่อถ่วงดุลอํานาจกับฮอลันดา ทรงชักชวนให้ฝรั่งเศสเข้ามาตั้งห้างและพระราชทานท่าเรือแห่งหนึ่ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทําสัญญาให้บริษัท ฝรั่งเศสเข้ามาสร้างห้างและผูกขาดค้าแร่ดีบุกที่เมืองถลางและเมืองขึ้นของเมืองถลางทั้งหมด ทั้งนี้โดยบริษัทฝรั่งเศสจะต้องนําสินค้าต่าง ๆ ที่จําเป็นใช้สอยของชาวเมืองถลางและเมืองขึ้นของถลาง สัญญานี้ทํากันระหว่าง เซอราเดีย เดอ โฮมองต์ เอกอัครราชทูตของพระเจ้า หลุยส์ที่ ๒๕ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส กับมองซิเออร์ คอนสแตนติน ฟอลคอน เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ผู้แทนสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระเจ้ากรุงสยาม และทําสัญญาอีกฉบับหนึ่งในสมัยที่มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ เป็นราชทูต เพื่อให้สมบูรณ์ตามความต้องการแต่อย่างไรก็ตามก็หาทันที่จะได้มีการปฏิบัติตามสัญญานี้ไม่ เพราะมีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินเสียก่อน ต่อมาสมัยสมเด็จพระเพทราชา ขึ้นเสวยราชย์ไปรดให้จับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ประหารชีวิตเสีย และจับบรรดาทหารฝรั่งเศสที่อยู่ในกรุงสยามจําขังไว้ เพื่อต่อรองให้ออกนอกพระราชอาณาจักร ด้วยเกรงว่าพวกฝรั่งเศสจะยึดอํานาจปกครองแผ่นดิน นายพลเคส์ฟาร์ยอมถอนทหารออกจากเมืองลพบุรี แต่ลงไปยึดป้อมบางกอกไว้จึงเกิดการสู้รบกันขึ้น จนในที่สุดต้องยอมออกจากพระราชอาณาจักร โดยไทยให้ยืมเรือ ๒ ลำ บรรทุกทหารฝรั่งเศสไปส่งที่เมืองปอนดีเซรี่ พอดีมีเรือฝรั่งเศสบรรทุกทหารเสริมกําลังมาถึงเมืองปอนติเชรี นายพลเดส์ฟาร์เลยเปลี่ยนใจไม่ปฏิบัติตามสัญญา กลับยึดเรือ ๒ และคนไทยเป็นตัวประกันแล้วนำกองทหารฝรั่งเศสย้อนกลับมายึดเมืองถลางไว้ แต่ก็ต้องล่าถอยในที่สุดเพราะขาดเสบียงอาหารและน้ําและเนื่องจากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากขุนนางและชาวเมืองถลางตามที่คาดคิดไว้ สมเด็จพระเพทราชาได้เสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศ โดยโปรดให้แก้ไขการปกครองบางประการโดยให้แต่ละภาค มีผู้รับผิดชอบดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ ภาคเหนือให้ขึ้นกับสมุหนายก (มหาดไทย) ภาคใต้ขึ้นกับสมุหกลาโหม เกาะถลางจึงขึ้นกับกลาโหมด้วย
สมัยรัตนโกสินทร์-ปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) เกิดศึกถลางขึ้น ซึ่งคุณหญิงจันและคุณหญิงมุกร่วมกับชาวถลาง ต้านศึกพม่าได้สำเร็จ จนได้รับราชทินนามตำแหน่ง เป็นท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๕๒ เกิดศึกถลางครั้งที่ ๒ ขึ้น ทำให้ถลางพ่ายแพ้แก่ทัพพม่า อย่างยับเยิน เมืองถลางและกลายเป็นเมืองร้าง ถัดมา ๑๕ ปี (พ.ศ. ๒๓๖๗) สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ได้โปรดเกล้าฯ ให้รื้อฟื้นสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่บ้านท่าเรือ ประจวบกับช่วงนั้นมีการพบสายแร่ ที่บ้านเก็ตโฮ่ (อำเภอกะทู้) และที่บ้านทุ่งคา (อำเภอเมืองภูเก็ต) ความเจริญและชุมชนเมืองจึงย้ายไปตามแหล่งที่พบสายแร่แต่เมืองเหล่านั้นก็อยู่ในฐานะเมืองบริวารของถลาง ต่อมาในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) กิจการเหมืองแร่มีความเจริญก้าวหน้ามาก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการส่งส่วย “ดีบุก” มาเป็นการผูกขาดเก็บภาษีอากรแบบ “เหมาเมือง” ตลอดจนมีการทำสนธิสัญญากับต่างชาติ ส่งผลให้ธุรกิจการค้าดีบุก ขยายตัวอย่างกว้างขวาง ทำให้คนจีนพากันหลั่งไหล เข้ามาทำเหมืองจนกลายเป็นชนกลุ่มใหญ่ ในภูเก็ตจนถึงปัจจุบัน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ (รัชกาลที่ ๕) (พ.ศ. ๒๔๓๕) ได้มีการปฏิรูปการปกครองเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล มีการแต่งตั้งให้พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต และในช่วงนี้เองที่ภูเก็ตเริ่มมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้วางรากฐาน ด้านต่าง ๆ ทั้งระบบสาธารณูปโภค เช่น การสร้างถนน, การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ฯลฯ และวางรากฐานการพัฒนาด้านเศรษฐกิจในภูเก็ต คือตรา พ.ร.บ. เหมืองแร่, ริเริ่มการปลูกยางพาราในภาคใต้ของประเทศไทยรวมทั้งภูเก็ต ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นต้นมากิจการเหมืองแร่เริ่มซบเซาลงกลุ่มนักลงทุนเริ่มมีแนวคิด ในการนำธุรกิจการท่องเที่ยวเข้ามาแทนที่การทำเหมืองแร่ และในวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๒๙ ได้เกิดเหตุการณ์เผาโรงงานถลุงแร่แทนทาลัม นับเป็นการปิดฉากธุรกิจเหมืองแร่ในภูเก็ตอย่างแท้จริง การท่องเที่ยวกลายเป็นทางเลือกใหม่ของคนภูเก็ตในปัจจุบัน
จวนเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒
อั้งยี่ที่ภูเก็ต
คำว่า "อั้งยี่" หมายถึง "หนังสือแดง" อันเป็นสมาคมลับ ตามคำอธิบายของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า... อั้งยี่แยกเป็นหลายกงสีและเรียกกงสี และเรียกกงสีต่าง ๆ กัน เช่น งี่หิน ปูนเก้าก๋ง งี่ฮกเป็นต้น แต่ละกงสีจะมี "ตั้งโก" หรือตั๋วเย หรือพี่ใหญ่เป็นหัวหน้า อั้งยี่เกิดขึ้นที่แรกมีในแหลมมลายูของอังกฤษ โดยเฉพาะที่สิงคโปร์ ตั้งขึ้นเพื่อสงเคราะห์คนจีนที่ทำมาหากินในดินแดนแถบนั้น ทางรัฐบาลอังกฤษเห็นว่าสมาคมเหล่านี้ไม่เป็นอันตรายต่อการปกครองของตน จึงทำเฉยเสียต่อมาปรากฏว่ามีการทะเลาะกันระหว่างกงสีบ่อยเข้ารัฐบาลอังกฤษ จึงบังคับให้มาขออนุญาตจัดตั้งสมาคมอั้งโดยให้หัวหน้าเป็นผู้รับผิดชอบ สำหรับอั้งยี่ในเมืองไทยนั้นเริ่มเกิดมีขึ้นในรัชกาลที่ ๓ เนื่องมาแต่อังกฤษเอาฝื่นมาจากหัวเมืองเข้ามาค้าชายให้กับชาวไทยและชาวจีนในกรุงเทพฯ ต่อมาได้มีการลักลอบซื้อขายฝิ่นกันขึ้น โดยมีอั้งยี่ตั้งแหล่งซื้อขายไว้ตามหัวเมืองชายทะเล ที่ทางการไม่สามารถจะตรวจตราไปถึง พวกอั้งยี่เหล่านี้คอยรับฝิ่นจากเรือสำเภาที่มาจากเมืองจีนอีกทอดหนึ่ง สำหรับอั้งยี่ในภูเก็ตเริ่มมีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๐ ก่อนสิ้นรัชกาลที่ ๔ อั้งยี่พวกนี้ได้ขยายมาจากหัวเมืองมลายูของอังกฤษ โดยติดต่อค้าขายกับภูเก็ตมาแต่เดิม จึงได้เกลี้ยกล่อมคนจีนในภูเก็ตให้จัดตั้งสาขากงสีขึ้น คือกงสีงี่สี งี่หิน กับปูนเถ้าก๋ง ต่อมาอั้งยี่ทั้งสองกงสีเกิดขัดใจทะเลาะกันเรื่องสายน้ำที่จะเอาไปทำเหมืองเกิดสู้รบกันกลางเมือง ทางเจ้าเมืองภูเก็ตจะห้ามปรามอย่างไรก็ไม่ฟัง ทางกรุงเทพฯ จึงได้จัดส่งเจ้าพระยาภานุวงศ์ฯ แต่ครั้งเป็นที่พระยาเทพประชุมปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม เป็นข้าหลวงออกมายังเมืองภูเก็ต ได้ระงับเหตุวิวาทได้สำเร็จด้วยดี แล้วจัดการนำตัวอั้งยี่หัวหน้าจำนวน ๙ คน เข้ากรุงเทพฯ และโปรดให้หัวหน้าอั้งยี่ให้คำสัตย์สาบานว่าจะไม่คิดร้ายต่อราชการ แล้วให้กลับไปทำมาหากินตามเดิม ต่อมาทางราชการได้ใช้วิธีปราบอั้งโดยเอาแบบอย่างมาจากอังกฤษที่ใช้ปกครองชาวจีนในหัวเมืองมลายู ด้วยการเลี้ยงอั้งยี่ คือแต่งตัวให้หัวหน้าคนจีนที่เป็นต้นแซ่ให้มีบรรดาศักดิ์แล้ว ให้คอยควบคุมดุแลความสงบเรียบร้อยในพวกกลุ่มของตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๑๙ พวกอั้งยี่ที่เมืองภูเก็ตได้กำเริบขึ้นอีกขนาดถึงขั้นก่อการกบฎขึ้นในแผ่นดินจนทางราชการต้องปราบกันใหญ่โต ทั้งนี้เพราะเหตุที่มีชาวจีนมาทำมาหากินมากขึ้นประกอบกับในขณะนั้นกิจการเหมืองแร่ต้องประสบกับปัญหาราคาตกต่ำ นายเหมืองจึงไม่มีเงินพอที่จะให้กรรมกรในวันตรุษจีนที่จริงความวุ่นวาย เริ่มขึ้นที่เมืองระนองก่อนด้วยชาวจีนกงสี บุ้นเถ้าก๋งไม่พอใจนายเหมือง เกี่ยวกับเรื่องเงินในวันรุษจีนมาใช้นี้แต่นายเหมืองไม่มีให้จึงเกิดทะเลาะกัน ทางการจึงเข้าปราบปรามบางพวกจึงหนีมาอยู่ภูเก็ต สมทบกับจีนที่ภูเก็ต นอกจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำแล้ว ชาวจีนยังไม่พอใจเจ้าเมืองภูเก็ตสมทบกับคนจีนที่ภูเก็ต ในขณะนั้นด้วยคือพระยาวิชิตสงคราม (ทัด) หาว่าพระยาวิชิตเก็บภาษีลำเอียงทำให้พวกตนเดือดร้อน ชาวจีนจึงไม่พอใจจึงก่อปฏิกริยาขึ้นรวบรวมพลเพื่อจะตีเมืองภูเก็ต อีกสาเหตุหนึ่งเรื่องมีว่าพวกกลาสีเรือรบเกิดทะเลาะกับคนจีนในตลาดภูเก็ตถึงขั้นตะลุมบอนกันขึ้น ถึงขนาดยกพวกกันเข้าปล้นบ้าน เผาวัดฆ่าคนไทย ฝ่ายพระยาวิชิตชาวนให้ข้อหาดังกล่าวแล้ว จึงต้องอพยพครอบครัวไปตั้งป้อมที่บ้านท่าเรื่อ ส่วนพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น ขุนนาค) แต่ครั้งเป็นจมื่นเสมอใจราชข้าหลวงประจำหัวเมืองทะเลฝ่ายตะวันตก อยู่ภูเก็ตจึงได้รวบรวมผู้คนและให้ไปปลดนักโทษมารวมไว้ที่ตึกทำการของรัฐบาล ซึ่งอยู่ในบริเวณเดี่ยวกับบ้านหลังเก่าของพระยาวิชิต เพื่อป้องกันทรัพย์สินของรัฐบาล ฝ้ายพวกจีนได้เข้ามาเที่ยวปล้นบ้านเรือน ราษฎรขยายออกไปตามหมู่บ้านเลยไปถึงตำบลวัดฉลอง แต่ด้วยความสามารถของท่าพระครูวัดฉลองทำให้ตำบลนั้นรอดพ้นจากการปล้นไปได้ พระยามนตรีจึงได้เชิญให้พวกจีนหัวหน้าต้นแซ่เข้ามาประชุมตกลงก้น โดยให้หัวหน้ามีหนังสือถึงลูกน้องให้กลับไปที่อยู่ของตนทำมาหากินตามเดิม แต่ก็มีบางพวกที่ยังขัดคำสั่งไปลั่นบ้านเรือนราษฎร จึงต้องใช้กำลังปราบปรามจนเหตุการณ์สงบลง เมื่อความทราบถึงกรุงเทพฯ โปรดให้พระยาประภากรวงศ์ (ชาย บุนนาค) เมื่อครั้งเป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถคุมเรือรบและทหารลงมาร่วมกับพระยามนตรี รวมรี้พลทั้งไทยและมลายูและเจ้าเมืองใกล้เคียงประชุมปรึกษากัน และให้ประกาศว่าจะเอาโทษแก่พวกที่เที่ยวปล้นทรัพย์สินฆ่าฟันผู้คน ขอให้กลับไปทำงานตามเดิมจะไม่เอาโทษ บางพวกกลัวความผิดได้กระทำไว้จึงต้องหลบหนี้ไปหัวเมืองมลายูของอังกฤษ พวกอั้งยี่ที่ภูเก็ตก็สงบลงแต่นั้น จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๐ สมัยพระยาษฎาฯ เป็นข้าหลวงเทศภิบาลกรรมกรจีนได้เกิดทะเลาะวิวาทกับนายเหมือง เหตุเหมืองครั้งก่อนคือราคาแร่ดีบุกตกต่ำลง นายเหมืองไม่มีเงินให้ตามสัญญาในวันรุษจีน เหมืองเลิกกิจการไปกันมาก พวกกรรมกจีนได้มาร้องเรียนต่อพระยารัษฎาฯ และได้แก้ไขเหตุการณ์ไปด้วยดีบรรดาชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากที่ภูเก็ต ได้ค้าขายและทำเหมืองได้ช่วยเหลือกิจการงานของรัฐบาลเป็นอันมากจนทางราชการได้เห็นความดีความชอบจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์กันหลายคนแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น หลวงบำรุงจีน พระอร่ามสาครเขตต์ หลวงขจรจีนสกล หลวงพิทักษ์จีนประชา พระพิสยสรรพกิจ หลวงอำนาจบริรักษ์ (ตันยกกวด ) เป็นต้น
ชื่อบ้านนามเมือง
อำเภอเมืองภูเก็ต
"ภูเก็ต” เป็นคํามลายูออกเสียงเป็น “บูกิต” (Bukit) หมายถึงภูเขาหรือเนินเขา เข้าใจว่าชาวมลายูคงแล่นเรือเข้ามาใกล้เกาะภูเก็ตและมองเห็นบนฝั่งมีภูเขาตั้งเด่นตระหง่าน จึงเรียกเกาะแห่งนี้ว่า “บูกิต” หรือ “ภูเก็ต” ส่วนคํามลายูอีกคำหนึ่งซึ่งหมายถึงภูเขาเช่นกันคือ “กุนุง” หรือ “กุหนุง (Gunung)” มีความหมายว่าภูเขาขนาดใหญ่ และสูงกว่าบูกิต แต่ถ้าเป็นคํามลายูว่า “อะเนาะบูกิต” จะหมายถึงลูกภูเขา ในจดหมายเหตุเมืองถลางบางฉบับเขียน “ภูเก็ต” อย่างคําไทยว่า “ภูเก็จ” คือใช้ จ. จาน เป็นตัวสะกด โดยมีความหมายว่า "ภู" หมายถึงภูเขา และ "เก็จ" หมายถึงแก้วประดับ เมื่อรวมความแล้ว หมายถึงภูเขาประดับด้วยแก้ว ซึ่งสอดคล้องกับชื่อชุมชนถลางและชื่อขุนนางในอดีตคือ “บ้านมาหนิก” สันนิษฐานได้ว่าอาจมาจากภาษาโจฬะของชาวอินเดียใต้ ซึ่งเคยเข้ามารุกรานชุมชนฝั่งอันดามัน คำว่า “มาหนิก” หรือ “มานิคคราม” หรือ “มาณิคนครัม จึงหมายถึงเมืองแก้ว เหมือนกับชื่อเจ้าเมืองถลาง (เทียน) ซึ่งเป็นบุตรของท้าวเทพกระษัตรีได้รับแต่งตั้งเป็นพระยาเพชรคีรีพิชัยสงครามรามคําแหง จากชื่อคําว่า “เพชรคีรี” หมายถึงเขาแก้ว ชื่อเมืองภูเก็ตเริ่มปรากฏในเอกสารไทย โปรตุเกส และฮอลันดา ครั้งกรุงศรีอยุธยา ชาติฝรั่งดังกล่าวได้รับอนุญาตให้สร้างสถานีสินค้าที่ภูเก็ต เพราะภูเก็ตอุดมไปด้วยแร่ดีบุก นอกจากนี้ชื่อเมืองภูเก็ตยังปรากฏในพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บอกไว้ว่าชื่อภูเก็ตเป็นหนึ่งในแปดหัวเมืองริมฝั่งทะเลตะวันตกที่ขึ้นกับกรมท่า ได้แก่
๑. ถลางบางคลี |
๒. ตะกั่วป่า |
๓. ตะกั่วทุ่ง |
๔. เกาะรา |
๕. ดูระ |
๖. คูรอด |
๗. พังงา |
๘. ภูเก็ต |
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ภูเก็ตได้ชื่อว่าเป็นเมืองราชทรัพย์ของแผ่นดิน เพราะพื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ดีบุก ในแต่ละปีสามารถนํารายได้เข้าประเทศได้เป็นจํานวนเงินมหาศาล สำหรับที่ตั้งของเมืองภูเก็ตเก่าอยู่ที่เขตอําเภอกะทู้ในปัจจุบัน ต่อมาภูเก็ตได้ย้ายไปตั้งเมืองใหม่ที่บ้านทุ่งคา คําว่าทุ่งคา แปลความหมายมาจากคํามลายูว่า “อุยงลาลัง” (Uyong Lalang) (อุยงคือแหลมหรือริมทะเล และลาลังคือหญ้าคา) เมื่อรวมความแล้ว หมายถึงแหลมหญ้าคา การเปลี่ยนชื่อจากเมืองภูเก็ต เป็นจังหวัดภูเก็ตนั้นเป็นเพราะบ้านทุ่งคาได้รับการยกฐานะเป็นอําเภอทุ่งคา ต่อมาอําเภอทุ่งคาก็เปลี่ยนชื่อเป็นอําเภอเมืองภูเก็ตมาจนทุกวันนี้ ในอำเภอเมืองภูเก็ตมีหาดที่สวยงามคือหาดกะรน ชื่อกะรนนี้มาจากคําว่า “กะละรน หรือ “กรารน” ต่อมาหดเป็นกระรน แล้วจึงเป็นกะรน คําว่ารนนี้เป็นภาษาพื้นเมืองเดิมแปลว่าเรือน
อำเภอถลาง
ถลางเดิมมีชื่อว่าเมืองถลางหรือเมืองสลางก่อนจะชื่อเมืองภูเก็ต ถลางไม่ได้เป็นชื่อเมืองอย่างเดียวแต่เป็นชื่อเกาะทั้งเกาะด้วย ทํานองเดียวกันชื่อเมืองภูเก็ตเป็นทั้งชื่อเมืองและชื่อเกาะ เพียงแต่ถลางและภูเก็ตใช้เรียกขานในช่วงเวลาต่างกัน “ถลาง” มาจากคํามลายูว่า “อุยงลาลัง” หรือ “อุยงลาลาง” (Uyong Lalang) หมายถึงแหลมหญ้าคา ปัจจุบันชื่อแหลมริมฝั่งทะเล เช่น แหลมกา ก็มาจากแหลมหญ้าคานั่นเอง รวมทั้งชื่อภูเขา เช่น เขาลัง "ลัง" มาจากคําว่าลาลัง คําว่า “อุยงลาลัง” “อุยงลาลาง” หรือ “อุยงสาลาง” นั้นชาวอังกฤษยังออกเสียงเป็น “ยังซีลอน” (Junk Ceylon) พ้องเสียงกับชื่อเกาะซีลอน (ศรีลังกา) คําว่า “ลาลัง ลาลาง สาลาง และซีลอน” ตามเสียงชาวยุโรป ทําให้ชื่อบ้านนามเมืองบนเกาะนี้ออกเสียงเป็น “สลาง-ถลาง” และยังเพี้ยนเสียงเป็นฉลองอีกด้วย สำหรับคำว่า "ตะกั่วถลาง" ในเอกสารโบราณยังเขียนชื่อเมืองถลางแตกต่างกันออกไปอีก เช่น ตํานานเมืองนครศรีธรรมราชเรียกถลางว่าเมืองตะกั่วถลาง เพราะแต่เดิมเมืองถลางอยู่ใกล้เขตเมืองตะกั่วทุ่งและขึ้นต่อเมืองตะกั่วทุ่ง จึงเรียกว่าเมืองตะกั่วถลาง (ปัจจุบันขึ้นกับจังหวัดพังงา) ส่วนแร่ดีบุกที่ขุดได้ในยุคนั้นชาวบ้านเรียกว่าแร่ตะกั่วดำ ส่วนคำว่า "ถลางบางคลี" คําว่าบางคลีโดยเฉพาะคําว่า “คลี” เป็นคำมลายูว่า “คาลี” (Khali) แปลว่าสงบนิ่ง หยุดพัก ซึ่งมีความหมายสอดคล้องกับบางคลีหรือถลางบางคลี เพราะที่นี่เป็นท่าเรือมีคลื่นลมสงบเหมาะเป็นที่จอดพักเรือเพื่อหาเสบียง อาหารและน้ำจืด สมัยกรุงศรีอยุธยา ถลางบางคลีเคยเป็นหัวเมืองฝั่งอันดามัน ต่อมาช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ถลางบางคลีกลับเป็นที่ว่าราชการเจ้าเมืองถลาง คือพระยาสุรินทราชา (จัน) ก่อนจะย้ายไปอยู่เมืองถลางบนเกาะอุยงลาลัง สรุปได้ว่าเมืองถลางเดิมก็คือเมืองถลางบางคลี ซึ่งปัจจุบันนี้บ้านบางคลีอยู่ในตําบลนาเตย อําเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา แต่ถลางที่คนส่วนใหญ่รู้จักต่อมาคือถลางบนเกาะภูเก็ตซึ่งมีความสําคัญในยุคนั้น คือมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ดีบุก ทําให้ผู้คนเดินทางเข้ามาตั้งชุมชนโดยเฉพาะชาวจีนฮกเกี้ยนเดินทางเข้ามาเป็นจํานวนมาก คำว่า "ถลาง" นอกจากเป็นคํามลายูว่า “อุยงลาลัง” หรือ “ยุยงลาลาง” ซึ่งหมายถึงหญ้าคาแล้ว พระยาอนุมานราชธนหรือเสถียรโกเศศ ยังได้กล่าวถึงที่มาของคําว่าถลางไว้อีกนัยหนึ่งดังนี้... พม่าเคยเรียกชาวเลหรือชาวน้ำว่า “เซลัง” (Solang) เมื่อชาวมลายูเดินทางมาถึงถิ่นชาวเลหรือชาวน้ำเขตภูเก็ตจึงเรียกถิ่นนั้นว่า “อุยงเซลัง” หมายถึงแหลมอันเป็นที่อยู่ของชาวเล ต่อมาภายหลังคําว่าเซลังกลายเสียงเป็นสลางและถลางในที่สุด ชาวเลหรือชาวน้ำที่กล่าวนี้เป็นชนกลุ่มน้อยชอบร่อนเร่ไปตามท้องทะเลหรืออาศัยอยู่บนเกาะฝั่งทะเลอันดามัน ชาวมลายูเรียกพวกนี้ว่าออรังตาอุ้ต (Orang laut) ประกอบด้วยออรัง = คน, ลาอุ้ต = ทะเล ตรงกับชาวไทยเรียกชาวเลหรือชาวน้ำ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ปรากฏว่าพม่ายกทัพมาตีถลางอีกครั้ง ช่วงนั้นถลางตั้งชุมชนอยู่ที่บ้านดอน และครั้งนั้นถลางพ่ายแพ้เสียยับเยิน จนชาวถลางต่างแตกหนีไปทางแผ่นดินใหญ่ โดยไปอาศัยอยู่ตรงหุบเขาตําบลกระพูงาหรือกราพูงา แขวงเมืองตะกั่วทุ่ง คำว่ากราพูงามาจากคํามลายูว่า “กัวลาพูงา” (Kula Punggah) ซึ่งคําว่า “กัวลา” แปลว่าปากน้ำ ส่วนคําว่า “พูงา” แปลว่าที่ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือ จากการรวมตัวของชาวถลางและชาวตะกั่วทุ่งที่หนีภัยพม่ามาพักอยู่ตรงหุบเขาดังกล่าวทำให้กราพูงากลายเป็นชุมชนใหญ่ ต่อมาชื่อกราพูงาก็กลายเสียงเป็นพังงามาจนทุกวันนี้ ในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองถลางขึ้นมาใหม่ ณ ด้านตะวันออกของตัวเกาะที่บ้านท่าเรือ (ตำบลศรีสุนทร) พร้อมกับอพยพชาวบ้านบางส่วนจากกราพูงาไปอยู่ที่เมืองถลางใหม่ด้วย
อำเภอกระทู้
กะทู้เคยเป็นที่ตั้งเมืองเก่าของภูเก็ต เพราะก่อนที่ภูเก็ตจะย้ายไปสร้างเมืองใหม่ที่บ้านทุ่งคา กะทู้มาจากคำมลายูว่า "กัวลาบาตู" หรือ "กราบาตู" (Guala Batu) ซึ่งกัวลาหรือกรา แปลว่าปากน้ำ ส่วนคำว่าบาตูแปลว่าก้อนหิน เมื่อรวมความจึงหมายถึงปากน้ำที่มีก้อนหินดูเด่นมาแต่ไกล คําว่า “กัวลาบาตู” ชาวบ้านมักออกเสียงรวบให้สั้นจึงกลายเป็น “กรา” ต่อมาเพี้ยนเป็นกะทูและกะทู้ตามลําดับ อำเภอกระทู้มีชายหาดที่เป็นชื่อตำบลที่ขื้นชื่อและสวยงาม เช่น
- หาดป่าตอง ป่าตองน่าจะมาจากคำว่า “กรากอตอ” หรือ “กรากะตอ” มีความหมายว่าอ่าวกําแพง เพราะมีเทือกเขานั้นเป็นกําแพงอยู่เบื้องหลังอ่าว ภายหลังจึงหดลงเหลือเพียงกระตอ แล้วก็ยึดออกเป็นกระตองและกะตองแล้วจึงกลายเป็นป่าตองในที่สุด
- หาดกมลา กมลาเป็นชื่อตําบลในอําเภอกะทู้ ชื่อนี้ก็เป็นชื่อเดียวกันกับกราบาลาหรืออ่าวลึกนั่นเอง แต่ได้เพี้ยนจากกราบาลาไปเป็นกรามาลาและกรามารา แล้วกลายเป็นกามะรา ต่อมาภายหลังมีผู้เกิดความคิดขึ้นว่ากํามะราไม่มีความหมายจึงได้เปลี่ยนให้เป็นกมลา เป็นภาษาไทยผสมอินเดียแปลว่าดอกบัว กมลามาจากคำมลายูว่ากัวลาบาลา (Gula Bala) คําว่า "กัวลา" แปลว่าปากน้ำ ส่วนคำว่า "บาลา" ในพจนานุกรม Indonesia Inggris ให้ความหมายว่ากองทัพ จึงสันนิษฐานได้ว่าตรงนี้ในอดีตคงเป็นที่ตั้งของกองทัพ แต่ยังไม่ทราบชัดเจนนักว่าเป็นกองทัพชาติใด นอกจากในสมัยโบราณกมลามีชื่อเรียกว่า “บ้านกราหม้า” หมายถึงบ้านตราหมาซึ่งสอดคล้องกับตราเมืองภูเก็ตในกลุ่มเมืองสิบสองนักษัตรที่ขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช ที่ใช้สุนัขเป็นตราเมือง คําว่า "ตราหมา" "กราหมา" และ "กราหม้า" จึงเพี้ยนเสียงกลายเป็นกมลาในที่สุด
อำเภอฉลอง
ฉลองแต่เดิมเป็นตําบลในอําเภอเมืองภูเก็ต ชื่อนี้ได้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคํา "กราลาแล" (อ่าวหญ้าคา) ภายหลังได้เพี้ยนไปเป็นกราลาแลงและกราลาลาง แล้วจึงหดลงเป็นกระลาง กะลาง และเพี้ยนต่อไปเป็นกะลอง ต่อมาได้ถูกแปลงให้เป็นภาษาไทยที่อ่านว่าฉลอง
แหล่งท่องเที่ยว
๑. เสน่ห์ย่านเมืองเก่าภูเก็ต
ตึกเก่าชิโนโปรตุกีส
ภาพจาก : https://www.lib.ru.ac.th/journal2/?p=9954
เส้นทางประวัติศาสตร์ที่น่าท่องเที่ยวที่สุดเส้นหนึ่งนั้นคือ สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์การถ่ายทอดเรื่องราวสมัยอดีตของภูเก็ตได้เป็นอย่างดี ตึกชิโนโปรตุกีสเป็นอาคารสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นในใจกลางเมืองภูเก็ต ซึ่งสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ซึ่งเป็นศิลปะทางสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานสถาปัตยกรรมแบบจีนและยุโรป ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ไว้ได้เป็นอย่างดี ทำให้ได้บรรยากาศในอดีตเมืองถลาง ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองได้เป็นอย่างดี จนเป็นสัญลักษณ์คู่เมืองภูเก็ตจนถึงทุกวันนี้ โดยตึกจะสร้างเป็นอาคารเรือนแถว และจะมีบางส่วนเป็นแบบบ้านเดี่ยว ซึ่งบางอาคารมีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวชมและถ่ายรูปได้
๒. เขารัง
ภาพจาก : https://bestreview.asia/travel/attractions-in-phuket/
จุดชมวิวบนเขาสูงที่มากเห็นเมืองภูเก็ตได้รอบทิศของเมืองภูเก็ต เพราะจากเขารังจะมองเห็นตัวเมืองภูเก็ตทั้งเมืองและจากตรงนี้เราก็ยังเห็นพระสีขาวองค์ใหญ่ที่เขานาคเกิดด้วย ในตอนค่ำหลังจากอาทิตย์ลาลับฟ้าไปแล้ว แสงไฟจากบ้านเรือนของผู้คนแถวนั้นระยิบระยับเหมือนกลุ่มดาว เขารังอยู่ในใจกลางเมืองเทศบาลเมืองภูเก็ตได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยให้ปรับปรุงดูแลรักษา จัดเป็นสวนสาธารณะ (All Top Park) ถนนลาดยางตลอด มีไฟฟ้าสว่างไสว มีร้านอาหารและเครื่องดื่ม เมื่อขึ้นไปถึงยอดจะเห็นทิวทัศน์ของเมืองโดยรอบ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจทั้งกลางวันและกลางคืน
๓. สะพานหิน
ภาพจาก : https://live.phuketindex.com/th/saphanhin-park-108.html
สะพานหิน (Sea-Side Park) เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจชายทะเลในตัวเมืองเทศบาลเมืองภูเก็ตสะพานหิน เป็นสวนธารณะซึ่งตั้งอยู่สุดสายถนนภูเก็ต บรรจบทะเลในเมือง มีอนุสาวรีย์หลัก ๖๐ ปี ที่จำลองมาจากกะเชอขุดแร่ ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่กัปตันเอ็ดเวิร์ด โธมัสไมล์ ชาวออสเตรเลีย ผู้นำเรือขุดแร่ลำแรกมาใช้ขุดดีบุกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ปัจจุบันสะพานหินเป็นสถานที่จัดงานสำคัญต่าง ๆ ของจังหวัดภูเก็ต รวมถึงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นสถานที่ออกกำลังกายยอดนิยมสวนสาธารณะสะพานหิน ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ ๒๐๗ ไร่
๔. สะพานสารสิน
ภาพจาก : https://bestreview.asia/travel/attractions-in-phuket/
สะพานสารสินเปรียบเสมือนประตูสู่เกาะภูเก็ต ที่เชื่อมจากบ้านท่านุ่นจังหวัดพังงา สู่บ้านท่าฉัตรไชย เป็นที่รู้จักไปทั่วจากตำนานสะพานรักสารสิน เรื่องราวความรักของนายดำ ชายที่มีอาชีพขับรถสองแถวกับกิ๋ว นักศึกษาวิทยาลัยครูเพราะความต่างทางฐานะราวกับฟ้ากับเหว ทำให้ความรักครั้งนี้โดนกีดกันโดยเฉพาะทางพ่อของกิ๋ว ที่พยายามจับเธอแต่งงานกับชายที่รวยและพร้อมกว่า ทั้ง ๒ เลยเห็นว่าคงไม่มีโอกาสได้อยู่ด้วยกันเหมือนคู่อื่นแน่ในชาตินี้จึงตัดสินใจจบทุกสิ่งทุกอย่างด้วยการใช้ผ้าขาวม้าผูกมัดร่างทั้งคู่เข้าด้วยกันแล้วดิ่งลงน้ำที่ไหลเชี่ยวด้านล่าง โศกนาฏกรรมที่เป็นที่กล่าวขานไปทั่วจนถึงปัจจุบันนี้
๕. อ่าวมะขาม
ภาพจาก : https://link.psu.th/KcY5F
อ่าวมะขาม ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ ๒ ก.ม. เป็นอ่าวที่มีความสวยงาม เป็นท่าเทียบเรือขนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ มีสถานีประมงทะเล คลังน้ํามัน การคมนาคมสะดวก
๖. หาดราไวย์
ภาพจาก : https://link.psu.th/PRQCM
หาดราไวย์ เป็นหาดที่ต่อเนื่องกับหาดแหลมกาใหญ่ หาดนี้เป็นหาดที่เคยมีชื่อเสียงมากที่สุด เพราะมีถนนซีเมนต์ถึงตัวหาด และอยู่ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ ๑๕ ก.ม. ปัจจุบันแม้ความสวยงามทางด้านหาดทรายจะลดน้อยลงไป แต่ด้านทิวทัศน์ยังครองความเป็นเลิศอยู่เหมือนเดิม
๗. หาดในหาน
ภาพจาก : https://link.psu.th/jm4w2
หาดในหานเป็นหาดที่อยู่ถัดจากแหลมพรหมเทพขึ้นไปทางทิศเหนืออยู่ใกล้ ๆ หาดจะมีบึงขนาดใหญ่อยู่ชาวบ้านเรียกว่าหนองหาน หาดในหานเป็นชายหาดทีมีความยาวพอสมควร เมื่อเทียบกับอ่าวเสนซึ้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน เป็นที่นิยมสำหรับนอนอาบแดดของชาวต่างชาติ หาดทรายไม่ขาวมากแต่มีเม็ดทรายเล็กละเอียด ใกล้ ๆ กับหาดในหานยังมีอ่าวเล็ก ๆ ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงคืออ่าวเสน
๘. อ่าวกะตะ
ภาพจาก : https://bestreview.asia/travel/attractions-in-phuket/
อ่าวกะตะ เป็นชายทะเลอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ไปทางเดียวกับอ่าวฉลอง-ราไวย์ แต่แยกเลี้ยวขวาก่อนที่จะไปหาดราไวย์ จากทางแยกไปประมาณ ๔ ก.ม. การคมนาคมสะดวกพอสมควร ถนนเป็นดินลูกรัง มีถนนลาดยางเป็นบาง ตอนเป็นอ่าวที่มีหาดทรายสวยงามมาก สามารถลงเล่นน้ําได้ตลอดเวลา
๙. อ่าวกะรน
ภาพจาก : https://link.psu.th/tPytA
หาดกะรน เป็นชาดหาดที่มีชื่อเสียงมากในภูเก็ต และเป็นชายหาดที่ยาวที่สุดในเกาะภูเก็ตอีกด้วย ซึ่งอยู่ถัดจากหาดกะตะไปทางเหนือมีเพียงเนินเขาเตี้ย ๆ คั่นอยู่เท่านั้น เหนือชายหาดมีสนทะเล และต้นตาลขึ้นเรียงรายอยู่โดยทั่วไป บริเวณหาดมีเม็ดทรายที่ขาวและละเอียดมาก บริเวณหาดมีคลื่นลมแรงจึงไม่เป็นที่นิยมในการเล่นน้ำแต่นักท่องเทียวนิยมนอนอาบแดด เดินผ่อนคลายบริเวณริมหาดเป็นส่วนใหญ่
๑๐. อ่าวป่าตอง
ภาพจาก : https://link.psu.th/ekQFE
อ่าวป่าตอง อยู่ในเขตอําเภอกะทูไปทางทิศตะวันตก ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑๒ ก.ม. มีหาดที่สวยงามมาก นับแต่เริ่มเข้าเขตถนนที่จะไปสู่อ่าวป่าตอง การเดินทางต้อง ผ่านเขาเป็นช่วง ๆ ซึ่งสามารถเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามสดุดตา หาดป่าตองที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในหมู่นักท่องเที่ยว เพราะบริเวณชายหาดทรายมีสีขาวยาวเป็นแนวแล้ว ก็ยังมีร้านอาหาร โรงแรม ห้างสรรพสินค้าในละแวกเดียวกัน
๑๑. อ่าวในทอน
ภาพจาก : https://link.psu.th/w9Exp
อ่าวในทอนหรืออ่าวบางเทา อยู่ในเขตอําเภอถลางไปทางทิศตะวันตกของตัวเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๒๐ ก.ม. การคมนาคมจากทางแยกไปสู่อ่าวไม่สะดวก แต่เป็นถนนลูกรัง จึงไม่ค่อยมีผู้ไปชมความงามมากนัก
๑๒. หาดไม้ขาว
ภาพจาก : https://link.psu.th/sarKe
หาดไม้ขาว ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๓๓ ก.ม. อยู่ในเขตอําเภอถลาง การคมนาคมสะดวก อยู่บริเวณใกล้ท่าอากาศยานภูเก็ต เป็นหาดทรายขาวยาวเหยียดหลายกิโลเมตร นอกจากเป็นหาดที่มีความสวยงามมากแล้ว ยังเป็นสถานที่เต่าทะเลขึ้นวางไข่เป็นฤดูกาลประมาณเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์
๑๓. หาดสุรินทร์
ภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=cesbMtvYeKo
หาดสุรินทร์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๒๓ ก.ม. อยู่ในเขตอําเภอถลาง การคมนาคมสะดวก ถนนลาดยางตลอด เป็นหาดที่มีชื่อเสียงมาก มีความสวยงามทางด้านทิวทัศน์หาดทราย โขดหิน แต่ไม่เหมาะที่จะลงเล่นน้ําทะเล นอกจากนี้ยังมีสนามกอล์ฟขนาด ๙ หลุม สําหรับต้อนรับนักกอล์ฟอีกด้วย
๑๔. แหลมสิงห์
ภาพจาก : https://www.whenorwhere.com/destination/laem-singh-beach
แหลมสิงห์ เป็นแหลมที่มีโขดหินธรรมชาติ และหาดทรายสวยงามมาก อยู่ต่อจากหาดสุรินทร์ ไปประมาณ ๑ ก.ม. การคมนาคมสะดวกหาด แหลมสิงห์อยู่ระหว่างหาดสุรินทร์และหาดกมลา
๑๕. แหลมพรหมเทพ
ภาพจาก : https://bestreview.asia/travel/attractions-in-phuket/
แหลมพรหมเทพ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ตั้งอยู่ห่างจากหาดราไวย์ประมาณ ๒ กิโลเมตร เป็นแหลมที่อยู่ตอนใต้สุดของจังหวัดภูเก็ต มีทัศนียภาพที่สวยงาม และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกดินที่ได้รับความนิยม เป็นที่ตั้งของประภาคารกาญจนาภิเษก สุดปลายของแหลมพรหมเทพ มีชื่อว่าแหลมเจ้า บริเวณตัวแหลมซึ่งยื่นออกไปในทะเล มีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ด้วยต้นตาลที่ขึ้นอยู่กลุ่มใหญ่ แหลมพรหมเทพ ถูกจัดเป็นหนึ่งในโครงการมหัศจรรย์เมืองไทย ๑๒ เดือน ๗ ดาว ๙ ตะวัน ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จุดเด่นคือ "ชมพระอาทิตย์ตกทะเล สวยที่สุดในประเทศไทย"
๑๖. แหลมพันวา
ภาพจาก : https://travel.kapook.com/view51201.html
แหลมพันวา ตั้งอยู่ในเขตตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต และอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑๕ กิโลเมตร โดยทางเข้าจะเป็นเนินเขาอยู่ทางซ้ายมือ ก่อนถึง พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ (Phuket Aquarium) เล็กน้อย เป็นหาดทรายสีขาวและละเอียดมาก น้ำทะเลสีเขียวมรกต มีต้นมะพร้าวขึ้นอยู่เต็มชายหาด เหมาะแก่การเล่นน้ำ อาบแดด กีฬาทางน้ำเป็นอย่างยิ่ง
๑๗. เกาะแก้วพิสดารา
ภาพจาก : https://wihok.com/photos/670
เกาะแก้วพิสดารหรือเกาะแก้วใหญ่ เป็นเกาะในตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต หากมองจากบริเวณปลายแหลมพรหมเทพจะเห็นเกาะเป็นรูปหัวใจ อยู่ห่างจากฝั่งหาดราไวย์ไป ๓ กิโลเมตร นั่งเรือจากหาดราไวย์ใช้เวลาประมาณ ๑๕ นาที เกาะแห่งนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่จำนวนหนึ่งและมีชายหาดเล็ก ๆ อยู่ด้านหน้าเกาะ มีรอยพระพุทธบาทอยู่ ๒ รอย มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ด้านหน้าของเกาะ ริมทะเลซึ่งกำหนดให้เป็นเขตอภัยทาน มีสัตว์ทะเลชนิดต่าง ๆ อาศัยอยู่สมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นหอยน้ำพริก ปูตาก นอกจากนั้นยังเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์เกาะแก้วพิสดารสร้างโดยหลวงพ่อเสือ
๑๘. วัดฉลอง
วัดฉลอง ตั้งอยู่ที่ตําบลฉลอง อําเภอเมืองภูเก็ต ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๔ ก.ม. เป็นวัดที่มีชื่อเสียงและเกียรติประวัติมาแต่โบราณ มีรูปหล่อจําลองของหลวงพ่อแช่มและหลวงพ่อช่วง ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะโดยเฉพาะหลวงพ่อแช่มเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้เป็นกําลังใจให้ชาวบ้านคนไทยต่อสู้กับพวกจีนที่คิดกบฏขึ้นจนมีชัยชนะ
๑๙. วัดพระทอง
วัดพระทอง ตั้งอยู่ที่ตําบลเทพกษัตรีย์ อําเภอถลาง วัดพระทองเป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย วัดพระทองตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ มีพระพุทธรูปโบราณมีลักษณะครึ่งองค์โผล่จากพื้น มีเรื่องเล่าว่าเมื่อคราวพระเจ้าปดุง ยกทัพมาตีเมืองถลาง ก็พยายามขุดพระกลับไปด้วยแต่ไม่สามารถนำขึ้นได้ ต่อมาจึงสร้างพระครึ่งองค์ครอบไว้เรียกว่าพระผุด จนเมื่อพระธุดงค์มาปักกลดบริเวณนี้แล้วสร้างวัด โดยอัญเชิญพระผุดเป็นพระประธานในโบสถ์ กล่าวกันว่าพระผุดเป็นพระทองคำ จึงพอกปูนทับลงไปอีกครั้งดังที่เห็นในปัจจุบัน
๒๐. วัดมงคลนิมิตร
ภาพจาก : https://link.psu.th/NrjfA
วัดมงคลนิมิตร เดิมชื่อว่าวัดกลาง เพราะเป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๒๓ เมื่อครั้งยังเป็นมณฑลภูเก็ต สันนิษฐานกันว่าเจ้าเมืองเป็นผู้สร้าง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๒๘ วัดแห่งนี้เคยเป็นสถานที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาทุกปีเป็นที่ทำพิธีน้ำมุรธาภิเษก และเป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีและราชพิธีต่าง ๆ ต่อมาทางราชการเปลี่ยนชื่อวัดมาเป็น "วัดมงคลนิมิตร" และได้รับพระราชทานยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชนิดสามัญเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ มีพระพุทธรูปทองคําหน้าตักกว้าง ๒๖ นิ้ว ประดิษฐานอยู่ในโรงธรรม เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยเดียวกันกับพระพุทธรูปวัดไตรมิตร กรุงเทพมหานคร
ตระกูล ณ ถลาง
ตระกูล ณ ถลาง เป็นตระกูลเก่าแก่ที่มีบทบาทในการปกครองและสร้างสรรค์ความเจริญให้กับเมืองถลาง ภูเก็จ และหัวเมืองใกล้เคียงมาเป็นเวลากว่าหนึ่งศตวรรษ และต่อมาบุตรหลานสืบต่อวงศ์ตระกูลมาจนถึงปัจจุบัน เรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของภาคใต้ การเมืองการปกครอง สังคม และเศรษฐกิจ และเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงนโยบายของรัฐบาลกลางที่มีต่อ หัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันตกในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งลำดับเหตุการณ์มีดังนี้คือ
- พ.ศ. ๒๓๙๐-๒๒๘๐ พระยาถลางคนต่อจากพระยาถลางเจิมก็คือพระยาถลาง (ฤกษ์หรือฤทธิ์) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มตระกูลเมืองถลาง โดยแต่งงานกับธิดาของพระยาถลาง (เทียน) ต่อจากพระยาถลาง (ฤกษ์) มีเชื้อสายของตระกูล จันทโรจวงศ์ ซึ่งเกี่ยวดองกับตระกูลประทีป ณ ถลาง โดยการสมรส เป็นเจ้าเมืองสืบต่อมาอีก ๓ คน คือพระยาถลาง (ทับ จันทโรจวงศ์) |
- พ.ศ. ๒๓๙๖-๒๕๐๕ พระยาถลาง (ดิน จันทโรจวงศ์) |
- พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๐๖ และพระยาถลาง (เกต จันทโรจวงศ์) |
- พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๔๓๓ นับเป็นเวลา นานถึง ๔๒ ปี และเพื่อเป็นการสร้างรากฐานทางตระกูล เมืองถลางให้มั่นคงขึ้น บุตรสาวคนโตของพระยาถลาง (ทับ) ศิธิคุณหญิงเปี่ยม ก็ได้สมรสกับพระยาภูเก็จ (ทัด รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) |
- พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๕๒๐) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๙๖ เป็นต้นมา เมืองภูเก็จซึ่งเป็นแหล่งแร่ดีบุกได้ขยายตัวกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ทัดเทียมกับเมืองถลาง จากการขยายตัวของธุรกิจเหมืองแร่และการค้าดีบุก ทําให้มีการแบ่งการปกครองบนเกาะถลาง ออกเป็น ๒ ส่วน เจ้าเมืองแต่ละเมืองมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน คือเมืองถลางปกครองโดยตระกูลจันทโรจวงศ์ เมืองภูเก็ตปกครองโดยพระยาภูเก็จ (ทัด) ตระกูลรัตนาดิลก ณ ภูเก็ต |
- จนปี พ.ศ. ๒๔๐๔ เมืองถลางกลายเป็นเมืองบริวารของเมืองภูเก็จ อิทธิพลและความมั่งคั่งของตระกูลเมือง ถลางทั้งสองตระกูล ค่อย ๆ ถูกถ่ายโอนไปยังตระกูลอื่น ๆ เมื่อสิ้นสุลสมัยของพระยาถลาง (หนู ณ ถลาง) |
- ๒๔๓๓-๒๕๓๘ หลานหวตของพระยาถลาง (ทองทุน หรือบุญคง) ก็มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองหัวเมืองเป็นระบอบมณฑลเทศาภิบาล เมืองถลางถูกยุบลงเป็นอําเภอถลางขึ้นกับเมืองภูเก็ต จากนั้นคนในตระกูลทั้งสองต้องอพยพโยกย้ายไปรับตําแหน่งราชการในต่างเมืองต่างอําเภอ ตามกฏแห่งการหลีกเลี่ยงของกระทรวงมหาดไทย คือจะไม่บรรจุข้าราชการไปรับราชการในท้องถิ่นบ้านเกิดของตน เพราะเกรงจะไปสร้างอิทธิพลตามระบบอุปถัมภ์ ตระกูล ณ ถลางทั้ง ๒ ตระกูล คือ ณ ถลาง และประทีป ณ ถลาง เกิดขึ้นและมีอํานาจและอิทธิพลจากการควบคุมไพร่พล หาผลประโยชน์จากการผลิตดีบุกและผูกขาดผลประโยชน์อื่น ๆ ด้วย สามารถสร้างและรักษาสถานภาพและบทบาทในฐานะกลุ่มตระกูลใหญ่มาได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งศตวรรษ ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ความสามารถสืบทอดอํานาจกันได้แม้จะมีความผันผวนทางการ เมืองการปกครองอยู่ตลอดเวลา ด้วยเงื่อนไขฐานของ เศรษฐกิจเหมืองแร่ ตลอดจนความเป็นตัวกลางผ่านอํานาจของฝ่ายหญิงในกลุ่มเครือญาติถลางเปิดโอกาสให้คนต่างผลประโยชน์ ต่างชาติพันธุ์ ต่างศาสนา และต่างตระกูล เข้ามาสืบทอดอํานาจได้อย่างเปิดกว้าง เหตุผลที่สําคัญยิ่งอีกประการหนึ่ง คือการแสดงวีรกรรมเอาชนะศึกพม่าโดยการนําของท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร การเสื่อมและสิ้นอํานาจของตระกูลนี้ไปจากเมืองถลางและเกาะภูเก็ต ส่วนใหญ่จะเกิดจากเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป เมื่อสภาวะการทําเหมืองแร่ดีบุกเปลี่ยนแปลงไป มีการลงทุนการทําเหมืองแบบใหม่โดยใช้แรงงานกุลีจีน ตระกูลมืองถลางก็ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเทคนิคกรรมวิธีใหม่ ๆ ของการผลิตแร่ดีบุกและรูปแบบใหม่ของธุรกิจเหมืองแร่ได้ ประกอบกับกระแสการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศได้เปลี่ยนไปในลักษณะที่ไม่สามารถเอื้ออํานวยต่อการดํารงอยู่ของตระกูลทั้งสองนี้ ในฐานะผู้ปกครองเมืองถลางอีกต่อไปแล้ว ตระกูล “ณ ถลาง” และ “ประทีป ณ ถลาง” จึงเสื่อมและสิ้น อํานาจไปจากเมืองถลางและภูเก็ตไปในที่สุด |
ตระกูลรัตนดิลก
ตระกูลรัตนดิลก ณ ภูเก็ต มีความสําคัญในฐานะที่เคยเป็นเจ้าเมืองถลางระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๗-๒๓๘๐ และเป็นเจ้าเมืองภูเก็จระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๘๐-๒๕๓๓ และมีบทบาทและความสําคัญในการก่อตั้งเมืองภูเก็ตที่ทุ่งคา และพัฒนาเมืองภูเก็จจากเมืองขนาดเล็กซึ่งเป็นเมือง บริวารของเมืองถลางให้เป็นเมืองขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง ทางการปกครองบริเวณหัวเมืองภาคใต้ชายฝั่งทะเลตะวันตก ตลอดจนเป็นเมืองศูนย์กลางการผลิตและค้าขายแร่ดีบุก ในสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ เรื่องราวของตระกูลรัตนดิลก ณ ภูเก็ต คือเรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการทางการเมือง การปกครอง ตลอดจนเศรษฐกิจและสังคมของเมืองภูเก็จ และหัวเมืองภาคใต้ชายฝั่งทะเลตะวันตก ต้นตระกูลรัตนดิลก ณ ภูเก็ต สืบเชื้อสายมาจากแขกอินเดียชาวเมืองมัทราส ที่เข้ามาค้าขายและตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองถลางมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี จนมีลูกหลานคนหนึ่ง ชื่อเริ่มหรือเจ๊ะมะ ซึ่งต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นหลวงล่ามเมืองถลาง เมื่อเมืองถลางเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. ๒๓๕๒ หลวงล่าม (เจิม) ได้เป็นหัวหน้าหรือนายกองคอยดูแลรวบรวมผู้คนอยู่ที่เมืองถลาง และได้รับแต่งตั้งเป็นพระถลางมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๓๖๗ ได้รับเลื่อนเป็นพระยาถลางหรือพระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ประสิทธิ สงคราม (เพิ่ม) อยู่ในตําแหน่งเจ้าเมืองถลาง จนกระทั้งอสัญกรรมในปี พ.ศ. ๒๓๘๐ ทายาทของพระยาถลาง (เจิม) คือพระภูเก็จ (แก้ว) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองภูเก็จระหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๐-๒๓๙๐ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ตระกูลรัตนดิลก ณ ภูเก็ต เข้าไปควบคุมแหล่งทรัพยากรที่สําคัญของเกาะภูเก็ต คือดีบุก พระภูเก็จ (แก้ว) จึงเป็นผู้บุกเบิกสร้างความเจริญให้บ้านทุ่งคา กลายเป็นชุมชนใหญ่และกลายเป็นเมืองขึ้นมาในสมัยของพระยาภูเก็จ (ทัต) ทายาทของพระยาภูเก็จ (แก้ว) พระยาภูเก็จ (ทัด พ.ศ. ๒๓๙๒-๒๔๐๒) เป็นเจ้าเมือง นักพัฒนาที่มีความคิดก้าวหน้า ลงทุนทําเหมืองแร่ด้วยวิธีการจ้างกุลีจีนเช่นเดียวกับบิดา ซึ่งได้ผลดีกว่าวิธีเก่าคือเกณฑ์ไพร่ไปทําซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจของหัวเมืองชายฝั่งตะวันตกอีกด้วย กล่าวคือเจ้าเมืองได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ผูกขาดการทําภาษีชนิดต่าง ๆ ภายในตัวเมืองของตนด้วย เพื่อควบคุมชาวจีนที่ทำเหมืองและรับช่วงภาษีผูกขาดไปทําในตําบลและแขวงต่าง ๆ ก่อให้เกิดระบบเหมาเมืองขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษและต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ภายใต้การปกครองตามระบบเหมา เมื่อของพระยานภูเก็จ (ทัด) ได้สร้างความมั่งคั่ง ตระกูลรัตนดิลก ณ ภูเก็ต เป็นอย่างมาก
ตระกูล ณ ระนอง
ตระกูล ณ ระนอง เป็นตระกูลนักปกครองและพ่อค้า ที่มีบทบาทสําคัญของภาคใต้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๕๗ บุคคลในตระกูล ณ ระนอง จำนวน ๒ คนได้รับแต่ง ข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาล คือพระสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง ณ ระนอง) เป็นเทศาภิบาลมณฑลชุมพร และพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)) ข้าหลวงเทศาภิบาลภูเก็จ
เทศบาลเมืองภูเก็ต. (2521). ภูเก็ต 21. ภูเก็ต : เทศบาลเมืองภูเก็ต.
ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2555). ชื่อบ้านนามเมืองภาคใต้ : สุราษฎร์ธานี ; รูสมิแล‡g33,1 (ม.ค. - เม.ย. 2555) 75-82
ประวัติความเป็นมาของภูเก็ต. (2546). สิบค้นวันที่ 28 ก.ย.63 ; จาก https://phuketindex.com/travel/phuket-in-brief/history-th.htm
ประวัติศาสตร์ทุ่งคาฮาเบอร์. (2563). สืบค้นวันที่ 1 ต.ค.63 จาก ; https://tongkahharbour.com/ประวัติศาสตร์/
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สำนักหอสมุดกลาง. (2561). เสน่ห์ย่านเมืองเก่าภูเก็ต. สืบค้น 10 มิ.ย. 67, จาก https://www.lib.ru.ac.th/journal2/?p=9954
โอภาส สุกใส และคณะ, บรรณาธิการ. (2533). ภูเก็จ 33. ภูเก็ต : เอดิสันเพรสโปรดักส์.