ภาพจาก : https://link.psu.th/RCTcG
วัดพังกก เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลสนามชัย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๒๒๕ โดยมีสมภารทองเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการ โดยมีสมภารทองเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการ ต่อมาได้กลายเป็นวัดร้าง ต่อมาได้รับการพัฒนาและได้พระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. ๒๒๓๐ ในอดีตชาวบ้านเล่าขานกันมาว่าฝั่งตรงข้ามของวัดมีวัดชื่อว่า "วัดหนัง" ซึ่งทั้งสองวัดอยู่ห่างกันประมาณ ๓๐๐ เมตร ภายหลังได้ยุบมาสร้างเป็นวัดพังกก ต่อมากรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณในวัดพังกกเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ อาคารเสนาสนะที่สำคัญในวัดประกอบด้วยอุโบสถที่สร้างแบบก่ออิฐถือปูน มีโครงสร้างของหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา บริเวณพื้นปูด้วยกระเบื้องดินเผาผนังด้านหลังก่ออิฐถือปูนปิดทึบ ส่วนด้านข้างทั้งสองด้านก่ออิฐถือปูนปิดทึบประมาณครึ่งหนึ่งของตัวอุโบสถ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง รูปแบบศิลปกรรมแสดงถึงศิลปกรรมท้องถิ่น มีปูชนียวัตถุที่สำคัญได้แก่พระพุทธรูปศิลาแลง มีพระเพลากว้าง ๓๐ เซนติเมตร สูง ๔๐ เซนติเมตร สร้างขึ่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านเรียกกันว่าหลวงพ่อเดิม
หลวงพ่อเดิม
ภาพจาก : https://link.psu.th/RCTcG
อุโบสถ
ภาพจาก : https://link.psu.th/RCTcG
อุโบสถของวัดพังกก มีลักษณะก่ออิฐถือปูน โครงสร้างหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา บริเวณพื้นปูด้วยกระเบื้องดินเผา ผนังด้านหลังก่ออิฐถือปูนปิดทึบ ส่วนด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน ก่ออิฐถือปูนปิดทึบประมาณครึ่งหนึ่งของตัวอุโบสถ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย รูปแบบศิลปกรรมแสดงถึงศิลปกรรมท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
พระพุทธรูปศิลาแลง
ภาพจาก : https://link.psu.th/RCTcG
พระพุทธรูปศิลาแลง เป๋็นพระพุทธรูปประทับนั่ง รูปแบบศิลปกรรมศิลปกรรมสมัยอยุธยาแต่ก็ผสมผสานกับศิลปกรรมท้องถิ่นภาคใต้ เป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดพังกก ลักษณะมีพระเพลากว้าง ๓๐ เซนติเมตร สูง ๔๐ เซนติเมตร สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านเรียกกันว่าหลวงพ่อเดิม
ภาพจาก : https://link.psu.th/RCTcG
พรทิพย์ พันธุโกวิท. (2555). ทำเนียบนามแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม ในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (โบราณสถานจังหวัดสงขลา
ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล). กรุงเทพฯ: บางกอกอินเฮ้าส์.
เพจวัดพังกก ต.สนามไชย อ.สทิงพระ จสงขลา. (2567). สืบค้น 29 พ.ค. 67, จาก https://link.psu.th/RCTcG