สุราษฎร์ธานี (Suratthani)
 
Back    09/10/2020, 16:53    11,838  

หมวดหมู่

จังหวัด


ประวัติความเป็นมา

คำขวัญ
เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่  ไข่แดง แหล่งธรรมะ

                        เมืองที่เคยเป็นศูนย์กลางของศิลปวัฒนธรรมแบบศรีวิชัยที่ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายู เมืองที่เป็นศูนย์การคมนาคมมีอํานาจควบคุม เส้นทางเดินเรือ การขนส่งสินค้าและการค้าขายทางทะเล หรือเมืองโบราณที่เป็นศูนย์กลางในการศึกษาและเผยแผ่พุทธศาสนาลัทธิมหายาน เมืองที่กล่าวข้างต้นนี้มีหลักฐานปรากฏให้เห็นร่องรอยที่เมืองไชยา เมืองเวียงสระ เมืองพุนพิน เมืองท่าทองและเมืองคีรีรัฐ ซึ่งปัจจุบันเมืองเหล่านี้รวมกันเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานี 
                        
สุราษฎร์ธานี เมืองคนดีศรีแผ่นดิน ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๕ องศา ๑๕ ลิปตา ถึง ๙ องศา ๕๐ ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ ๔๕ องศา ๓๐ ลิปดา ถึง 900 องศา ๑๕ ลิปตา ตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ ๑๒,๘๔๑.๔๖ ตารางกิโลเมตร ขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๕ ของประเทศและมีขนาดใหญ่ที่สุดใน ๑๔ จังหวัดภาคใต้ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดชุมพรและอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทยและจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดกระบี่และจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดระนองและจังหวัดพังงา


ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูงเรียงรายสลับขับซ้อนทางทิศตะวันตกของสุราษฎร์ธานี


แม่น้ำตาปีเป็นแม่น้ำที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในภาคใต้

                จากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองไชยากับเมืองกาญจนดิษฐ์เข้าเป็นเมืองเดียวกันเรียกว่าเมืองไชยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ โดยตั้งศาลากลางเมืองที่บ้านดอน (ในปัจจุบันคือสุราษฎร์ธานี) เนื่องจากพระองค์ทรงมีพระราชดําริว่าเมืองไชยาเป็นเมืองเก่า ควรคงนามเดิมไว้มิให้สาบสูญ ส่วนที่เมืองไชยาเก่าให้เปลี่ยนนามเรียกว่าอําเภอพุมเรียง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ทรงพิจารณาเห็นว่าเมืองไชยาเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุไชยา ราษฎรตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นปึกแผ่นมั่นคงคนส่วนใหญ่ก็ยังเรียกเมืองไชยาเดิมว่าเมืองไชยา จึงทําให้สับสนทั้งไชยาใหม่และไชยาเก่า ดังนั้นเพื่อให้เป็นการสะดวกแก่ประชาชนทั่วไปและทางราชการ พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามอําเภอพุมเรียงเป็นอําเภอเมืองไชยา และเปลี่ยนนามเมืองไชยาที่บ้านดอนเป็น “เมืองสุราษฎร์ธานี"  สุราษฎร์ธานีมีอุทยานแห่งชาติ ๖ แห่ง ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติเขาสก อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อุทยานแห่งชาติคลองพนม อุทยานแห่งชาติธารเสด็จและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง อุทยานแห่งชาติคลองพนมมีพื้นที่ประมาณ ๒๙๕,๐๐๐ ไร่ อยู่ในอำเภอพนม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพูลเถื่อน ตำบลคลคลองสก ตำบลพนม สภาพทั่วไปเป็นภูเขาหินปูนปกคลุมด้วยพรรณไม้ป้าดงดิบเฉพาะถิ่น เช่น ตะเคียนขันตาแมว ต้นยวนเหล สัตว์ป่าที่พบ เช่น ช้าป่า เสือโคร่ง สมเสร็จ กระทิง นกกวัก นกเงือก ฯลฯ อุทยานแห่งชาติเขาสก เป็นส่วนหนึ่งของป่าดิบชื้นผืนใหญ่ที่สุดในภาดใต้ มีเนื้อที่ประมาณ ๗๓๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๔๖๐,๐๐๐ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ ๓ อำเภอ คืออำเภอดีรีรัฐนิคม อำเภอพนม และอำเภอบ้านตาขุน ป่านี้อุดมไปด้วยพรรณไม้ที่หลากหลาย มีการกระจายพันธุ์มาจากภาคเหนือ และภาคใต้ หรือที่เรียกว่าเขตอินโด-มาลายา ในพื้นที่อุพยานแห่งชาติเขาสกนี้มีพรรณไม้ที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ที่สำคัญ คือบัวผุด ปาล์มหลังขาว หมากพระราหู กระพัอสี่สิบ เห็นเขากวาง ฯลฯ เป็นที่ตั้งของเขี่อนรัชชประภาหรือเขื่อนเชี่ยวหลาน เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้าง กระทิง วัวแดง เลียงผา เก้ง ค่าง ชะนี ลิงลม นาก ไก่ป่า ฯลฯ สำหรับดอกบัวผุด เป็นพืชที่หายากมีแนวโน้มว่าใกล้จะสูญพันธุ์ สามารถหาพบได้ในอุทยานแห่งชาติเขาสก อุทยานแห่งชาติเขาพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Reflesia Kerri (รัฟฟลิเขีย คาร์ริไอ) บัวผุดมีดอกสีน้ำตาลแดง กลีบดอกใหญ่แข็งมี ๕ กลีบ หนา ประมาณ ๐.๗๕ ช.ม. เมื่อบานดอกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐-๘๐ ช.ม. มีกลิ่นคล้ายเนื้อเน่า ทั้งนี้เพื่อช่วยล่อแมลงให้มาผสมเกสร บัวผุด จัดเป็นพืชเบียน (Parasitic Plant) คือพืชที่ต้องอาศัยพืชอื่น ๆ ดำรงชีวิตอยู่ พืชที่บัวผุดอาศัยเกาะกินคือไม้เถาวัลย์ย่านไก่ตัม การที่บัวผุดเกาะอาศัยพืชย่านไก่ต้มเป็นแหล่งอาหาร ดำรงชีวิต สร้างความเจริญเติบโต ดังนั้นบัวผุดจึงไม่มีใบ ไม่มีคลอโรฟิลล์ สำหรับใช้สังเคราะห์แสงไม่มีรากที่ต้องดูดน้ำ ไม่มีลำต้นปรากฏให้ให้เห็น ส่วนลำต้นของบัวผุดลดรูปเป็นเพียงกลุ่มเส้นใยคล้ายเส้นใยของรา แล้วแทงเข้าไปในลำตันของเถาวัลย์ย่านไก่ต้ม ต่อเชื่อมกับเนื้อเยื่อที่พอลำเลียงอาหารของเถาวัลย์ย่านไก่ต้มแล้วดูดน้ำและอาหารไปเลี้ยงดอก ชาวบ้านเชื่อกันว่านำบัวผุดดดดดอกตูนไปตัมน้ำดื่ม มีสรรพคุณช่วยบำรุงครรภ์ ช่วยสตรีมีครรภ์ครรคลอดง่าย ใช้หลังคลอดช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ดอกบัวผุดได้รับการยอมรับจากชาวสุราษฏร์ให้เป็นดอกไม้ประจำจังหวัด ส่วนอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น ชื่อของอุทยานแห่งชาตินี้ได้มาหลังจากการปราบปรานพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยภายใต้ยุทธการใต้ร่มเย็น ครอบคลุมพื้นที่ ๔๒๕ ตารางก็โลเมตร หรือประมาณ ๒๖๐,๐๐๐ ไร่ อยู่ในพื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอบ้านนาสาร และอำเภอเวียงสระ พื้นที่ของอุทยานแห่งชาติมีพืชพรรณไม้หลายชนิด เช่น ไม้เคี่ยม ยาง พะยอม หลุมพอ ตำเสา ตะเคียน แดง จำปา ฯลฯ และมีสัตว์ป่านานาชนิด มีทิวทัศน์ ถ้ำ น้ำตก ที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกตาดฟ้า น้ำตกธารทิพย์ถ้ำขมิ้น ฯลฯ ไม้เคี่ยมเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่พบในป่าดิบชื้นในอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น จะเป็นไม้ที่มีเนื้อละเอียดแข็ง เหนียว หนัก และทนทานต่อสภาพเปียก ๆ แห้ง ๆ ได้ดี ใบเคี่ยมเป็นใบเดี่ยวลักษณะมนรี ท้องใบมีขนสีน้ำตาลปนเหลือง ดอกมีสีขาวกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลของเคี่ยมกลมเล็กมีขนนุ่ม ชาวบ้านนิยมใช้ไม้เคี่ยมทำกระดานพื้นชานเรือน เสาเรือนทำเสาสะพาน และสะพาน ชิ้นไม้เคี่ยมใส่ลงในกระบอกน้ำตาลโตนดเพื่อใช้รสฝาดของไม้เคี่ยมรักษาน้ำตาลไม่บูดเสียเร็ว เปลือกไม้เคี่ยมใช้เป็นยาชะล้างบาดแผล ห้ามเลือดบาดแผลสด เคี่ยมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
Cotylobium Melanoxylon (โคทีโลเบียม เมลาน็อกลอน) ต้นเคี่ยมได้รับการยกย่องให้เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมาคืออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งที่ ๒ ของประเทศ  เขตอุทยานแห่งชาตินี้ประกอบไปด้วยเกาะต่าง ๆ ๔๒ เกาะ เช่น เกาะพะลวย เกาะวัวตาหลับ เกาะไผ่ลวก เกาะแม่เกาะ และเกาะสามเส้า ฯลฯ มีพื้นที่รวมกันประมาณ ๑๐๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖๔,๐๐๐๐ ไร่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทองนี้อยู่ห่างจากอ่าวบ้านดอน อำเภอเมือง ไปประมาณ ๘๐ กิโลเมตร อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรที่มีค่าทั้งบนบกและในทะเล ทรัพยากรบนบกตามเภาะต่าง ๆ มีพรรณพืชที่หลากหลาย เช่น กลัวยไม้รองเท้านารี-ช่องอ่างทอง และสัตว์ป่าที่หายาก เช่น ค่างแว่นถิ่นใต้ ที่พบบนเกาะวัวตาหลับ

สุราษฎร์ธานี มีลักษณะภูมิประเทศที่ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับเนินเขา ที่ราบลุ่มและเกาะน้อยใหญ่หลายร้อยเกาะ  โดยแบ่งแยกได้ ดังนี้

๑. บริเวณภูเขาสูงทางทิศตะวันตก พื้นที่บริเวณนี้เป็นภูเขาสูงมีทิวเขาภูเก็ต ซึ่งเป็นเขาหินปูนเรียงรายสลับซับซ้อนตามแนวเหนือใต้ ทิวเขาภูเก็ตนี้เป็นทิวเขาในภาคใต้ ที่ทอดตัวยาวตั้งแต่เขาหินลุจังหวัดชุมพร ผ่านลงมาทางจังหวัดระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ และนครศรีธรรมราช มีความยาวประมาณ ๕๑๗ กิโลเมตร มีเขาหลังคาตึกสูงประมาณ ๑.๒๕๕ เมตร ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดระนอง กับจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเขาแดน สูงประมาณ ๑.๓๐๕ เมตร ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดกระบี่กับจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ส่วนหนึ่งของทิวเขาภูเก็ตนี้ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอําเภอท่าชนะ อําเภอไชยา อําเภอท่าฉาง อําเภอวิภาวดี อําเภอคีรีรัฐนิคม อ่าเภอบ้านตาขุน อําเภอพนม อําเภอเคียนซา อําเภอพระแสง และอําเภอชัยบุรี
๒. บริเวณที่ราบสูงที่เป็นภูเขาทางทิศตะวันออก บริเวณนี้มีทิวเขานครศรีธรรมราช ทอดตัวยาวเป็นเสมือนเส้นแบ่งแดนระหว่างจังหวัด นครศรีธรรมราช กับจังหวัดสุราษฎร์ธานีในเขตอําเภอกาญจนดิษฐ์ และอําเภอบ้านนาสาร ทิวเขานครศรีธรรมราชนี้มีความยาวประมาณ ๓๑๔ กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่อําเภอกาญจนดิษฐ์ เข้าไปนครศรีธรรมราชผ่านลงไปจังหวัดตรัง พัทลุง สงขลาและสตูล โดยที่ทิวเขานี้มีเขาหนอง สูงประมาณ ๑,๕๓๐ เมตร ตั้งอยู่ระหว่างรอยต่ออําเภอกาญจนดิษฐ์กับอําเภอบ้านนาสาร และมียอดเขาที่สูงที่สุดคือเขาหลวง
๓. บริเวณที่ราบตอนกลางและที่ราบชายฝั่งทะเล พื้นที่นี้มี ประมาณ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่จังหวัด ซึ่งเป็นที่ราบอยู่ตอนกลางของสุราษฎร์ธานีอยู่ระหว่างทิวเขาภูเก็ตกับฝั่งทะเลอ่าวไทย โดยครอบคลุมพื้นที่ในเขตอําเภอเมือง อําเภอพุนพิน อําเภอบ้านนาเดิม และยังคลุมพื้นที่บางส่วนของอําเภอท่าชนะ อําเภอไชยา อําเภอท่าฉาง อําเภอดอนสัก และอําเภอกาญจนดิษฐ์ บริเวณที่ราบตอนกลางของสุราษฎร์ธานีนี้ยังมีแม่น้ําที่สําคัญ ๆ หลายสายไหลผ่าน ประกอบด้วยแม่น้ําตาปี แม่น้ําพุมดวง และแม่น้ําท่าทอง โดยที่แม่น้ําตาปีมีต้นกําเนิดจากเขาหลวงในจังหวัดนครศรีธรรมราช ไหลขึ้นไปทางเหนือเข้าสู่อําเภอพระแสง ผ่านอําเภอเวียงสระ อําเภอบ้านนาสาร อําเภอเคียนซา และวกไปบรรจบกับแม่น้ําพุมดวงหรือแม่น้ําศีรรัฐ ที่อําเภอพุนพิน ผ่านอําเภอเมือง แล้วไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทยที่อ่าวบ้านดอน
๔. บริเวณพื้นที่เกาะ จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดที่มีเกาะน้อยใหญ้่หลายร้อยเกาะ โดยที่พื้นที่เกาะทั่วไปบริเวณตอนกลางจะเป็นภูเขาอันเป็นแหล่งต้นน้ําลําธาร ถัดมาเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลรอบ ๆ เกาะจะเป็นพื้นที่ราบ เกาะที่สําคัญ ๆ ของสุราษฎร์ธานี ได้แก่เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และหมู่เกาะอ่างทอง

                       ลำดับยุคประวัติศาสตร์        
                 สุราษฎร์ธานีเป็นดินแดนที่มีอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในคาบสมุทรมภาคใต้ของไทย ปรากฏเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาช้านาน มีร่องรอยหลักฐานการอยู่อาศัยของผู้คนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และต่อเนื่องกันมาจนเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ สุราษฎร์ธานีเป็นดินแดนที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง การตั้งบ้านเมืองของชุมชนเป็นปีกแผ่น อันเนื่องมาจากความความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และทําเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม จึงเป็นแหล่งที่ผู้คนต่างชาติจากที่ต่าง ๆ เข้ามาพํานักอาศัย ทําให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมและมีพัฒนาการเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองต่อเนื่องกันมาจนเป็นสังคม สามารถแบ่งยุคสมัยได้ดังนี้
                       ๑) ยุคแรกเริ่มสมัยประวัติศาสตร์
                     
เป็นช่วงสมัยที่ชุมชนตั้งเดิมที่อยู่อาศัยในดินแดนที่ปัจจุบันเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้พัฒนาการก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องเพราะได้รับวิทยาการความเจริญในด้านต่าง ๆ จากชาวต่างชาติที่ได้เดินทางมาตั้งหลักแหล่งในบริเวณนี้ อันเนื่องจากลักษณะพิเศษของที่ตั้งสุราษฎร์ธานีที่อยู่ในคาบสมุทรภาคใต้ ๒ ฝั่งของคาบสมุทรติดทะเลใหญ่ ฝั่งทะเลด้านตะวันตกคือทะเลอันดามัน ฝั่งทะเลด้านตะวันออกคืออ่าวไทย ทางฝั่งทะเลด้านตะวันตกนั้นเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้และแร่ธาตุ โดยเฉพาะดีบุก และอยู่ในเส้นทางลมที่ใช้เดินทางมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น อินเดีย ศรีลังกา และอาหรับ ที่จะเดินทางค้าขายกับดินแดนตะวันออก ส่วนฝั่งทะเลด้านตะวันออกมีที่ราบลุ่มเหมาะแก่เกษตรกรรม ช่วงเวลาเริ่มต้นของยุคแรกเริ่มสมัยประวัติศาสตร์นี้คงจะประมาณพุทธศตวรรษที่ ๕-๖ หรือประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีปรากฏหลักฐานทางเอกสาร เช่น คัมภีร์มิลินทปัญหา (แต่งขึ้นราวปี พ.ศ. ๕oo) ได้กล่าวถึงการเดินทางมาค้าขายและแสวงโชคในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งสันนิษฐานว่าหมายถึงดินแดนตั้งแต่พม่าตอนใต้ลงมาจดคาบสมุทรมลายู ปรากฏชื่อเมืองท่าทางชายฝั่งทะเลตะวันตก เช่น เมืองตักโกละ ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าคือเมืองตะกั่วป่า ในเขตจังหวัดพังงา คัมภีร์นิเทสสะ (แต่งขึ้นระหว่างพุทธ ศตวรรษที่ ๗-๘) ได้กล่าวถึงเมืองตักโกละและตามพรลิงค์ เมืองท่าทางฝั่งทะเลตะวันออก รวมทั้งเอกสารจีนโบราณ และเอกสารของชาวตะวันตก เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ของปโตเลมี (Ptolemy's Geography) ก็กล่าวถึงเมืองตักโกละหรือเมืองท่ากระวาน ที่พ่อค้าชาวอินเดียสมัยโบราณเดินทางไปค้าขาย (ค่าว่า “ตักโกละ" เป็นภาษาบาลี ส่วนภาษาสันสกฤตเขียนว่า “ถักโกละ" แปลว่าผลกระวาน) ในหนังสือของปโตเลมีได้ระบุว่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๕-๖ ชาวอินเดียมีบทบาทสําคัญในการค้ากับโรมัน สินค้าที่ชาวอินเดียขายให้กับพ่อค้าโรมันส่วนใหญ่นํามาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน และในจดหมายเหตุของจีนที่เก่าที่สุด (จดหมายเหตุเฉียนฮั่นซู) ได้กล่าวถึงการเดินเรือของจีนไปยังอินเดียในพุทธศตวรรษที่ ๕ นั้นไม่ได้เดินทางอ้อมแหลมมลายูไปยังมหาสมุทรอินเดียโดยตรง แต่ได้ขึ้นฝั่งบริเวณคอคอดกระ การเดินทางบกราว ๆ ๑๐ วัน จึงลงเรือเลียบชายฝั่งต่อไปยังอินเดีย ทั้งนี้เนื่องจากข้อจํากัด ทางเทคโนโลยีและขนาดของเรือในการเดินเรือยุคแรก ๆ ยังไม่สามารถใช้ในการเดินทางระหว่างจีนกับอินเดียได้โดยตรง จําเป็นต้องมีจุดพักเรือเป็นระยะ ๆ เพื่อจอดแวะพักซ่อมแซมเรือ รวบรวมเสบียงอาหารและต้องรอ ลมมรสุมหรือมีจุดพักสินค้า เพื่อขนถ่ายสินค้าส่งต่อไปเป็นทอด ๆ หรือมีสถานที่แลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างจีนกับอินเดีย การเดินเรือมักจะเป็นเส้นทางเลียบชายฝั่งทําให้เกิดชุมชนเมืองท่าขึ้นที่ชายฝั่งทะเลทั้ง ๒ ด้านของคาบสมุทร และการเดินทางที่จะต้องขึ้นฝั่งบริเวณตอนกลางหรือตอนบนของคาบสมุทร แล้วเดินทางข้ามคาบสมุทรทําให้เส้นทางข้าม คาบสมุทรมีความสําคัญและเจริญรุ่งเรืองขึ้น ชุมชนเมืองทําตามชายฝั่งทะเลและเมืองต่าง ๆ ตามเส้นทางคาบสมุทรในบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็ได้พัฒนาขึ้นในลักษณะเช่นนี้เช่นเดียวกันกับเมืองสําคัญอื่น ๆ ในบริเวณ คาบสมุทรทางใต้ของไทย เส้นทางการเดินทางข้ามคาบสมุทรจากฝั่งตะวันตก (ปัจจุบันคือจังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่) มายังอ่าวบ้านตอนทางคาบสมุทรทางฝั่งตะวันออกมีหลายเส้นทางและเป็นเส้นทางที่น่าจะใช้ตั้งแต่แรกเริ่มที่เกิดการค้าเรื่อยมาจนถึงช่วงเวลาที่เกิดเมืองหรือนครรัฐทางชายฝั่งทะเล ด้านตะวันออก เส้นทางการค้าดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย

๑. เส้นทางสายตะกั่วป่า-อ่าวบ้านดอน เป็นเส้นทางที่อาศัยการล่องเรือมาตามลําน้ําตะกั่วป่า ในอําเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ทางฝั่งตะวันตกของคาบสมุทร แล้วเดินทางบกข้ามเขาสกมาลงคลองลกในเขตอําเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ําพุมดวง อําเภอคีรีรัฐนิคม ล่องเรือมาบรรจบแม่น้ําตาปีที่อําเภอ พุนพิน แล้วลงสู่ทะเลอ่าวบ้านดอน
๒. เส้นทางสายปากคลองลาว-อ่าวบ้านดอน เส้นทางนี้เรียกว่าเส้นทางสายปากพนม โดยออกเดินทางจากปากคลองลาว อําเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ทางฝั่งตะวันตกของคาบสมุทร แล้วเดินทางบทผ่านเขาต่อเข้ามายังบ้านปากพนม อันเป็นจุดรวมของคลองสกกับคลองพนม เดินทางต่อไปทางแม่น้ําพุมดวง โดยผ่านบ้านพังกา บ้านยางยวน และบ้านตาขุน อําเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ออกสู่ทะเลที่อ่าวบ้านดอน
๓. เส้นทางสายคลองปะกาไสย-อ่าวบ้านดอน เส้นทางนี้ออกเดินทางจากคลองปะกาไสยทางฝั่งตะวันตกของคาบสมุทร ซึ่งไหลผ่านอําเภอเมือง และอําเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ล่องไปตามคลองสินปูน ไปออกแม่น้ําตาปีหรือแม่น้ําหลวงที่อําเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วล่องไปสู่อ่าวบ้านดอน
๔. เส้นทางสายคลองท่อม-อ่าวบ้านดอน เส้นทางนี้ออกเดินทางจากอําเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ทางฝั่งตะวันตกของคาบสมุทร ผ่านอําเภอคลองท่อมมาลง คลองสินปุน แล้วเดินทางต่อไปออกอ่าวบ้านดอน

             หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงร่องรอยชุมชนในยุคแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ได้แก่โบราณวัตถุที่พบในแหล่งโบราณคดีแถบตําบลวัง อําเภอท่าชนะ แหล่งโบราณคดีวัดแก้ว อําเภอไชยา แหล่งโบราณคดีวัดเขาศรีวิชัย และแหล่งโบราณคดีควนพุนพิน อําเภอพุนพิน โบราณวัตถุที่สําคัญที่พบในจังหวัดสุราษฎร์ธานีคือกลองมโหระทึกสําริด จํานวน ๕ ใบ ที่พบที่อําเภอพุนพิน อําเภอไชยา อําเภอท่าชนะ และอําเภอเกาะสมุย กลองมโหระทึกนี้เป็นสินค้านําเข้ามีแหล่งผลิตที่สําคัญอยู่ที่มณฑลกวางสี ประเทศจีนตอนใต้ และประเทศเวียดนามตอนเหนือ ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก เช่น พิธีการขอฝน หลักฐานดังกล่าวแสดงว่ามีการเดินทางของพ่อค้าจากจีนตอนใต้ หรือเวียดนามตอนเหนือมายังดินแดนดังกล่าว นอกจากนี้ยังพบหุ่นจําลองรูปคนและสัตว์ (ช้าง ม้า กวาง) สําริด เครื่องประดับสําริด เครื่องมือเหล็ก เครื่องประดับทองรูปพรรณมีแหวน แผ่นทอง ลูกปัดจารึกอักษรพราหมี ภาษาสันสกฤต (ตัวอักษรเริ่มใช้ในพุทธศตวรรษที่ ๔) แท่นหินบดและต่างหู ที่เรียกว่าสิ่ง- ลิง-ไอ (Ling-Ling-O) ทํามาจากหินสีเทาอมเขียว ซึ่งพบที่ตําบลวัง อําเภอท่าชนะ มีลักษณะเป็นห่วงกลมหนารูปโค้งไม่ติดกัน กรอบด้านนอกวงได้งมีปุ่มรูปคล้ายหัวลูกศร ๓ ปุ่ม ต่างหูเหล่านี้เคยพบที่ประเทศฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไต้หวัน และทางตอนใต้ของจีน ในช่วงเวลาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๕-๑๐ นี้มีชุมชนดั้งเดิมในสุราษฎร์ธานีได้มีพัฒนาการทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ที่เห็นชัดเจนคือการเกิดชุมชนใหม่ที่มารวมตัวกันเพื่อกิจกรรมทางการค้าทางทะเล ในบริเวณเมืองท่าชายฝั่งทะเลและตามเส้นทางข้ามคาบสมุทร โดยการรับเอาวัฒนธรรมจากภายนอกโดยเฉพาะอินเดีย 
                    ๒) สมัยประวัติศาสตร์รัฐโบราณ
                  
ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑0 ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีทําให้การเดินทางข้ามมหาสมุทรใต้พัฒนาเพิ่มขึ้น สามารถเดินเรือข้ามมหาสมุทรโดยอาศัยลมมรสุม ทําให้เมืองท่าเล็ก ๆ บางแห่งตามเส้นทางเลียบชายฝั่งลดความสําคัญลง มีเพียงเมืองท่าบนคาบสมุทรที่มีทําเลที่เหมาะสมเจริญเติบโตขึ้นเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ และเป็นชุมชนที่มั่งคั่ง จนกลายเป็นศูนย์กลางการปกครองของแว่นแคว้นหรือรัฐในเวลาต่อมา ชุมชนเมืองท่ารอบอ่าวบ้านดอนทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกก็เช่นกัน คือพัฒนาจากสถานีการค้าหรือชุมชนเมืองท่าเล็ก ๆ ที่เป็นจุดพักเรือในเส้นทางการค้าระหว่างตะวันตกกับตะวันออก ในช่วงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ได้เติบโตและเข้มแข็งขึ้น กลายเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่เป็นแว่นแคว้นที่มีระบบการปกครองมีผู้ปกครองมีอํานาจชัดเจน เป็น รัฐอิสระที่มีความรุ่งเรืองมั่นคงมีการค้ากับดินแดนภายนอกที่ห่างไกล และยังปรากฏในเอกสารจีนว่าได้ส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสํานักจีนหลายครั้ง เช่น ประวัติศาสตร์ราชวงศ์เหลียงฉบับหอหลวง ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังฉบับความเดิม และในหนังสือของหม่าตวนหลิน นักจดหมายเหตุจีนผู้เขียนสารานุกรมจีนในราวปี พ.ศ. ๑๘๙๓ ได้เขียนอธิบายเกี่ยวกับรัฐต่าง ๆ ที่เป็นรัฐชายฝั่งอิสระที่อยู่ในบริเวณชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทร ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๒ เช่น เมืองผานผาน (พัน-พัน/พูน พุน ซึ่งเป็นปัญหาของการออกเสียงเรียกชื่อเมืองหรือสถานที่ ที่ปรากฏในเอกสารจีนโบราณ) ตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) หลางหยาจิ๋ว (ลังกาสุกะ-บริเวณอําเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี) เมืองผานผานนี้ กประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าตั้งอยู่ในบริเวณอ่าวบ้านดอน ในหนังสือประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถัง ฉบับหอหลวงได้ระบุที่ ตั้งและชุมชนเมืองผานผาน ไว้ว่า...อาณาจักรยานผานตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของหลินอี้ (จัมปา) บนอ่าวแห่งหนึ่งของทะเล ทางเหนือมีทะเลเล็กคั่นกลางจากหลินอี้เดินทางจากเจียวโจว (ตั้งเกี่ย) ไปถึงที่นั่นใช้เวลา ๔๐ วัน และอยู่ติดกับอาณาจักรหลางหยาจิ๋ว (ลังกาสุกะ) ประชาชนเรียนอักษรพราหมณ์และศรัทธาคําสอนของพระพุทธองค์อย่างมั่นคง ในปีที่ ๔ ของรัชศกเฉินกวน (พ.ศ. ๑๑๗๔) พวกเขาได้ส่งทูตมาถวายสิ่งของพื้นเมืองเป็นเครื่องราช บรรณาการ.... ในหนังสือของหม่าสวนหลินได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเมืองผานผานไว้ว่า... ประชากรส่วนใหญ่อยู่กันริมน้ําและไม่มีกําแพงเมืองมีระเบียงไม้ล้วน ๆ ใช้แทนกําแพง กษัตริย์ประทับเอนบนพระที่นั่งรูปมังกร(นาค)ทอง มีข้าราชบริพารผู้ใหญ่เฝ้าแหนมือไขว้ไว้บนบ่า ที่ประเทศนี้มีพราหมณ์จากเทียนจ์ (อินเดีย) อยู่หลายคนซึ่งได้ของพระราชทานมากมาย กษัตริย์ทรงโปรดปรานพวกนี้อย่างมาก.... ข้อมูลจากเอกสารจีนดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเมืองผานผาน เป็นรัฐชายฝั่งทะเลที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการค้าในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๒ เป็นรัฐที่ผู้ปกครองมีฐานะเป็นพระราชาตามแบบวัฒนธรรมอินเดีย มีพระพุทธศาสนามหายานเป็นศาสนาประจํารัฐและมีการนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูทั้งไวษณพนิกายและไศวนิกาย รวมทั้งมีชาวอินเดียหลายหมู่เหล่าเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแถบนี้ตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๘ ได้พบหลักฐานว่าชุมชนรอบอ่าวบ้านตอนได้มีพัฒนาการเพิ่มขึ้น ปรากฏร่องรอยชุมชนหลากหลายเป็นเมืองเล็กเมืองน้อยและเมืองใหญ่ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบนพื้นราบตามแนวสันทรายที่ราบเชิงเขาและที่ราบริมแม่น้ํา ส่วนใหญ่เป็นชุมชนเมืองท่าและแหล่งที่อยู่อาศัย การเมืองท่าริมทะเล เมืองขนาดใหญ่อยู่ที่แหลมโพธิ์พุมเรียง อําเภอไชยา พบโบราณวัตถุที่เป็นสินค้าจากต่างถิ่นจํานวนมาก เช่น เครื่องถ้วย จีนสมัยราชวงศ์ถัง (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๕) และสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น เช่น ลูกปัดแก้ว เมืองท่าริมทะเลอื่น ๆ ที่สําคัญได้แก่บ้านท่าม่วงใกล้วัดอัมพาวาส บริเวณเชิงเขาประสงค์ ตําบลวัง อําเภอท่าชนะ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน วัตถุทําด้วยหินหยก ต่างหูโลหะ และบริเวณวัดพระพิฆเนศวร (โรงเรียนท่าชนะ) อําเภอท่าชนะ เมืองท่าริมฝั่งแม่น้ําที่สําคัญคือบริเวณควนพุนพิน หรือควนท่าข้าม บริเวณวัดเขาศรีวิชัยหรือเขาพระนารายณ์ อําเภอพุนพิน พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน ลูกปัดทองคํารูปผลฟักทอง เครื่องถ้วยจีนสมัยชราชวงศ์ถังและซ่ง เหรียญเงินอาหรับ พระพิมพ์ดินดิบที่ศาสนสถาน บริเวณควนพุนพินพบประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสําริด (อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒) เป็นบริเวณที่ตั้งพุทธสถาน ส่วนในบริเวณวัดเขาศรีวิชัย พบประติมากรรมรูปพระวิษณุ และรากฐานเทวาลัย เป็นบริเวณที่ตั้งของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่บริเวณบ้านทะและและวัดถ้ําคูหา อําเภอกาญจนดิษฐ์เป็นแหล่งชุมชนเมืองท่าริมฝั่งแม่น้ําและที่อยู่อาศัยตามริมแม่น้ําท่าทอง ที่วัดถ้ําคูหาพบว่าเป็นพุทธสถานมหายานมีศิลปกรรมเป็นประติมากรรมนูนสูงและนูนต่ํา ทําจากดินเหนียวประดับไว้บนเพดานถ้ํามีการเล่าเรื่องพระพุทธอเจ้าทรงแสดงธรรม เป็นประติมากรรมที่แสดงอิทธิพลศิลปะทวารวดีและศิลปะจาม อําเภอเวียงสระเป็นเมืองโบราณที่ปรากฏหลักฐานเป็นร่องรอยผังเมืองและคูเมือง ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางบนเส้นทางข้ามคาบสมุทร มีลักษณะคล้ายชุมทางการคมนาคมที่เชื่อมเมืองท่าสองฝั่งทะเลระหว่างเมืองโบราณรอบอ่าวบ้านดอนและเมืองโบราณในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงเป็นแหล่งที่มีผู้คนหลายหมู่เหล่าเดินทางผ่านไปมา โดยพบโบราณวัตถุหลากหลายรูปแบบ เช่น ประติมากรรมรูปเคารพในพุทธศาสนาได้แก่ ภาพสลักนูนสูงรูปพระพุทธเจ้าศากยมุนี (ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑) โบราณวัตถุเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไวษณพนิกาย ได้แก่เทวรูปพระวิษณุศิลา (ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒) เทวรูปพระวิษณุศิลา (อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖) และประติมากรรมรูปเคารพในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย (พุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖) ได้แก่ เทวรูปพระศิวะไภรวะ (ปางดุร้าย) เมืองโบราณไชยา อําเภอไชยา พบประติมากรรมรูปเคารพ เนื่องในพุทธศาสนาเถรวาทที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับศิลปกรรมสมัยทวารวดี เช่น ที่บริเวณวัตเววน ตําบลป่าเว พบพระพุทธรูปศิลา (ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒) ที่ตําบลทุ่งพบชิ้นส่วนธรรมจักรศิลา (ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๓) ที่วัดเวียงและวัดแก้วพบพระพุทธรูป ศิลาประทับยืนปางแสดงธรรม (วิตรรกะมุทรา ช่วงพุทธศตวรรษ ที่ ๑๓-๑๓) ที่วัดพระบรมธาตุไชยาพบพระพุทธรูปศิลา ประทับนั่งบนฐานปัทมะปางสมาธิ (ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒) และพระพุทธรูปศิลาประทับยืนปางแสดงธรรม (อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓) ที่วัดแก้วได้พบรูปเคารพของศาสนาอื่นๆ ด้วย เช่น พระพิฆเนศวร และศิวลึงค์ที่วัดศาลาทั้งพบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรศิลา (ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓) จึงสันนิษฐานว่าพระพุทธศาสนาเถรวาทคงได้เผยแผ่อยู่ในเมืองไชยา ก่อนที่พระพุทธศาสนามหายานจะเจริญรุ่งเรืองในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ ร่องรอยผังเมืองโบราณไชยาปรากฏขอบเขตเมืองอยู่บนแนว สันทรายที่เรียกว่าสันทรายไชยา มีขอบเขตตั้งแต่บ้านเวียงจนถึงบ้านวัดแก้วเกือบจดเขาน้ําร้อนยาวตามแนวทิศเหนือ ใต้ เกือบ ๓ กิโลเมตร มีใบราณสถานก่ออิฐขนาดใหญ่ที่วัดแก้วและวัดหลง เป็นพุทธสถานเนื่องในพุทธศาสนามหายาน (อายุประมาณศตวรรษที่ ๑๔-๑๕)
                 
ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นต้นมา อาณาจักรศรีวิชัยได้เสื่อมอํานาจลง เนื่องจากจีนสมัยปลายราชวงศ์ยัง ได้เปลี่ยนนโยบายการค้าโดยการสนับสนุนให้ชาวจีนแต่งเรือค้าขายทางทะเลกับบ้านเมืองต่าง ๆ โดยตรง บ้านเมืองต่าง ๆ ที่เป็นเมืองท่าขายทะเลจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นเกิดรัฐใหม่ ๆ ขึ้นเป็นจํานวนมาก ศรีวิชัยที่เคยมั่งคั่งในฐานะที่เป็นพ่อค้าคนกลางเริ่มอ่อนแอลง ไม่สามารถควบคุมเมืองท่าขายทะเลที่เคยปกครองได้อีกต่อไป นอกจากนี้ยังได้ถูกกองทัพเรือจากอินเดียโจมตีหลายครั้ง ดังปรากฎหลักฐานในจารึกที่เมืองต้นซอร์ประเทศอินเดียได้กล่าวถึงพระเจ้าราเชนทรโจฬะที่ ๑ ซึ่งมีอํานาจครอบครองดินแดนทางต้านชายฝั่ง โคโรมันเดลและภาคใต้ของอินเดียได้โจมตีอาณาจักรศรีวิชัยและเมืองขึ้นในปี พ.ศ. ๑๕๐๕ ซึ่งรวมถึงเมืองตามพรลิงค์ด้วย การโจมตีของพวกโจฬะในครั้งนี้นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเป็นการทําลายอํานาจทางทะเล และการค้าของอาณาจักรศรีวิชัย และเป็นผลทําให้อาณาจักรศรีวิชัยได้เสื่อมอํานาจและล่มสลายลงในที่สุดในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เมืองไชยา รัฐที่เคยมีอํานาจมั่นคงเป็นศูนย์อํานาจทางการปกครองในท้องถิ่น ณ คาบสมุทรทางใต้ และมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรศรีวิชัย คงจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช ที่มีกษัตริย์ที่เข้มแข็งทรงพระนามว่าพระเจ้าจันทรภาณุ (พระนามของกษัตริย์เมืองนครศรีธรรมราชใช้สมัญญานามว่าศรีธรรมาโศกราช ตามพระนามของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย) ในจารึกหลักที่ ๒๕ พบที่วัดเวียง อําเภอโขยา กล่าวถึงพระเจ้าจันทรภาณุ ผู้เป็นใหญ่แห่งตามพรลิงค์ ได้ทรงปลดปล่อยประชาชนของพระองค์ที่ถูกชนชาติต่ําปกครองมาแล้วให้สว่างรุ่งเรือง ชนชาติต่ําในที่นี้มีผู้สันนิษฐานว่าหมายถึงศรีวิชัย (โนเอกสารจีนระบุว่าามพรลิงค์ เป็นเมืองขึ้นของ ศรีวิชัย) ในปี พ.ศ. ๑๗๗๓ พระเจ้าจันทรภาณุ ได้ทรงตั้งเมือง ๑๒ นักษัตร ขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราชในบรรดาเมือง ๑๒ นักษัตรเหล่านี้ได้แก่ เมืองสายบุรี ปัตตานี กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี พัทลุง ตรัง ชุมพร บันทายสมอ สะอุเลา ตะกั่วป่า และกระบุรี เมืองเหล่านี้ล้วนอยู่ในคาบสมุทรมลายู และอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรศรีวิชัยมาก่อน ในจํานวน ๑๒ เมืองนี้ไม่ปรากฏชื่อเมืองในสุราษฎร์ธานี แต่สันนิษฐานว่าน่าจะรวมเมืองต่าง ๆ ของสุราษฎร์ธานีไว้ด้วย และเหตุที่ไม่ปรากฏชื่อเมืองไชยา อาจเป็นเพราะนครศรีธรรมราชคงไม่ต้องการให้ความสําคัญกับเมืองเครือญาติกับศรีวิชัยที่เคยปกครองนครศรีธรรมราชมาแล้ว ในสมัย พระเจ้าจันทภาณุ เมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองยิ่งใหญ่และเข้มแข็ง มีอํานาจครอบครองเมืองต่าง ๆ ในคาบสมุทรมลายูและได้แผ่อํานาจทางทะเลโดยยกทัพเรือไปโจมตีลังกา ๒ ครั้ง ใน พ.ศ. ๑๗๔๐ และ พ.ศ. ๑๘๐๕ แต่ต้องพ่ายแพ้แก่ลังกาทั้ง ๒ ครั้ง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ เมืองต่าง ๆ ในคาบสมุทรทางใต้ของไทย อยู่ภายใต้ปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช โดยการรับเอาพุทธศาสนาแบบเถรวาทแบบลังกาวงศ์แทนที่พุทธศาสนามหายาน
              ๓) สมัยประวัติศาสตร์ชาติไทย
                 
 ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เมื่ออาณาจักรสุโขทัยได้เจริญขึ้นในแถบทางเหนือของไทยนั้น เมืองนครศรีธรรมราขก็ยังคงมีอํานาจทางการเมืองครอบคลุมดินแดนทางคาบสมุทรทางใต้จนถึงราว ๆ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ต่อมาเกิดอาณาจักรอยุธยาขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาแถบภาคกลาง ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองและความเข้มแข็งมากได้รวบรวมอาณาจักรไทย ตลอดถึงแผ่อํานาจทางการเมืองไปยังดินแดนใกล้เคียงและลงมายังคาบสมุทรมลายู โดยส่งกองทัพเรือโจมตีเกาะมะละกาในคาบสมุทรมลายูได้ ทำให้เมืองนครศรีธรรมราชและหัวเมืองทางภาคใต้รวมทั้งเมืองต่าง ๆ ในสุราษฎรธานี ตกอยู่ภายใต้อํานาจของอาณาจักรอยุธยา 
แต่อย่างไรก็ตามอ่านาจของอยุธยาในหัวเมืองต่าง ๆ ทางคาบสมุทรทางใต้ก็ไม่ได้มีอํานาจถาวรต่อเนื่อง เพราะบางช่วงบางสมัยเมืองบางเมืองกลับมีอิทธิพลมากขึ้น ด้วยเหตุที่อยู่ห่างไกลจากศูนย์อํานาจปกครองที่อยุธยา ทําให้บางครั้งอยุธยามีอํานาจแต่เพียงในนามเท่านั้น ส่วนเมืองไขยาในสมัยอยุธยาตอนต้นเจ้าเมืองไชยามีบรรดาศักดิ์ เป็น “ออกพระวิซิตภักดีศรีพิชัยสงคราม พระไชยาเมืองตรี ถือศักดินา ๕๐๐๐ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ได้มีการฟื้นฟูบูรณะวัดต่าง ๆ ในเมืองไชยา เช่น การสร้างพระระเบียงล้อมรอบพระบรมธาตุที่มีมาแต่เดิม สร้างวิหารหลวงด้านหน้า สร้างพระอุโบสถด้านหลัง เป็นต้น ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๒ หัวเมืองทางใต้นับตั้งแต่เมืองไชยา นครศรีธรรมราชลงไปจนถึงเมืองพัทลุง มักจะถูกรุกรานจากโจรสลัดมลายูอยู่บ่อยครั้ง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง อันเนื่องมาจากการค้าขายทางทะเลของพวกพ่อค้าต่างชาติทางตะวันตก ที่ต้องการสถานที่เป็นเมืองท่าหรือสถานที่พักสินค้าทําให้เกิดเมืองทําใหม่ ๆ ขึ้นหลายแห่ง ในบริเวณคาบสมุทรทางใต้ของไทย ได้แก่เมืองสงขลาที่เขาหัวแดงเป็นเมืองที่พ่อค้าชาวอาหรับเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นสถานที่พักสินค้า ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากพ่อค้าชาวยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา โปรตุเกส เป็นต้น มีการสร้างป้อมค่ายแข็งแรงและตั้งตัวเป็นกษัตริย์เรียกกันว่าพระเจ้าเมืองสงขลา ในปีพ.ศ. ๒๑๔๓ (ตรงกับสมัยของพระเจ้า ปราสาททอง) เมืองสงขลาได้ขยายอํานาจสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับตนเองโดยรวมหัวเมืองต่าง ๆ ไว้ในอํานาจ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี และไทรบุรี เมืองสงขลาจึงกลายเป็นแคว้นหรือรัฐอิสระไม่ขึ้นตรงต่ออยุธยา ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๒๒๓-๒๒๓๐ เมืองสงขลาได้ถูกกองทัพของอยุธยา (ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ภายใต้ความช่วยเหลือจากฮอลันดาและฝรั่งเศสตีแตกและถูกทําลายสิ้น ครอบครัวเจ้าเมืองสงขลาต้องอพยพมาอยู่ที่เมืองไชยา อยุธยาจึงมีอํานาจครอบคลุมหัวเมืองทางใต้ทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก กองทัพพม่าได้-ยกทัพมาตีหมู่บ้านพุมเรียง เมืองไชยา ราษฎรในหมู่บ้านได้ร่วมกันต่อสู้โดยตั้งค่ายอยู่ที่วัดอุบลแต่ก็ต้องแตกพ่าย พม่าได้กวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินไปเป็นจํานวนมาก ในช่วงนี้หลวงสิทธินายเวร ปลัดเมือง นครศรีธรรมราช ได้ตั้งตนเป็นอิสระรวบรวมผู้คนตั้งเป็นชุมชนเจ้านครและได้แต่งตั้งคนของตนเป็นผู้รั้งเมืองไชยาและตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่เมืองพุมเรียง เมืองพุมเรียงจึงกลายเป็นศูนย์กลางของเมืองไชยาสืบต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ส่งกองทัพมาปราบเมืองนคร หลวงปลัดบุญชูชาวเมืองไชยา ได้รวบรวมสมัครพรรคพวกจับผู้รั้งเมืองไชยา ซึ่งเป็นคนของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชฆ่าเสียและเข้าร่วมกับกองทัพของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เข้าตีเมืองนครศรีธรรมราช หลวงปลัดบุญชูจึงได้รับ ความดีความชอบได้เป็นพระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (พระยาคอปล้อง) ผู้ว่าการเมืองไชยา การศึกในครั้งนี้ไม่ได้รับชัยชนะต่อนครศรีธรรมราช ต่อมาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงยกทัพหลวงมาทางเรือจึงสามารถตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ ในช่วงสงครามเก้าทัพ พ.ศ. ๒๓๒๕ กองทัพพม่าได้ยกทัพมาตีหัวเมืองต่าง ๆ ทางใต้ เมืองไชยาและเมืองท่าทองได้รับความเสียหายอย่างมากผู้คนอพยพหนีจากตัวเมือง แต่ทัพไทยได้ขับไล่พม่าออกไปได้ และรวมทั้งใต้เมืองปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน และตรังกานูเป็นเมืองประเทศราช ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์นี้มีข้อความปรากฏในจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ ว่าชาวบ้านดอนและท่าทองมีความรู้ความชํานาญในการต่อเรือและมีไม้ตะเคียนทองคุณภาพดหาได้ง่าย จึงโปรดให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) มาตั้งอู่เรือที่บ้านดอนและเมืองท่าทองให้ต่อเรือทั้งเรือพระที่นั่ง และเรือรบสาหรับทะเลเพื่อใช้ในรายการ เป็นผลให้บ้านดอนเจริญรุ่งเรืองขึ้นจนกลายเป็นท่าเรือรับส่งสินค้านานาชนิด โดยเฉพาะการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ในปี พ.ศ. ๒๓๙๕-๒๔๑๑ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองบ้านดอนมีผู้คนตั้งบ้านเรือนอยู่หนาแน่น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองท่าทองมาตั้งที่บ้านดอนแล้วพระราชทานนามเมืองใหม่ที่บ้านดอนว่า “เมืองกาญจนดิษฐ์" ยกฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ และได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้นายพุ่ม บุตรเจ้าพระยานคร (น้อย) เป็นพระขากาญจนดิษฐ์บดี ครองเมืองกาญจนดิษฐ์ (บ้านดอน) ในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเจ้าอยู่หัวได้เสด็จ ประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ได้ประทับแรมที่ตําหนัก ณ ควนพุนพินหรือควนท่าข้าม ทรงพระราชทานชื่อที่ประทับว่าตําหนักสวนสราญรมย์ ทรงทอดพระเนตรเห็นประชาชนพลเมืองมีกิริยามารยาทเรียบร้อย และได้ทรงทราบ จากเจ้าเมืองว่าประชาชนตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม ยึดมั่นในพระพุทธศาสนาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อเมืองไชยาเป็นเมืองสุราษฎร์ธานี ซึ่งหมายถึงเมืองคนดี และเปลี่ยนชื่อแม่น้ําหลวงเป็นแม่น้ําตาปี (ตามชื่อแม่น้ําตาปีในอินเดียฝั่งซ้ายของแม่น้ํามีเมืองชื่อสุรัฏฐ) และโปรดให้ย้ายศาลาว่าการมณฑลมาตั้งที่บ้านดอน (บริเวณเดียวกับศาลากลางเมืองไขยา) ให้ยกฐานะเมืองท่าทองเป็นอําเภอกาญจนดิษฐ์ เมืองไชยาเก่าให้เปลี่ยนเป็นอําเภอพุมเรียง (พ.ศ. ๒๔๕๐ อําเภอพุมเรียงเปลี่ยนชื่อเป็นอําเภอเมืองไชยา ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้ตัดคําว่าเมืองออกเรียกว่าอําเภอไชยา) ทรงเปลี่ยนชื่อมณฑลชุมพรเป็นมณฑลสุราษฎร์ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้เปลี่ยนคําว่าเมืองเป็นจังหวัดและผู้ว่าการเมืองให้เรียกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด พ.ศ. ๒๔๖๕ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ยุบมณฑลสุราษฎร์ให้ไปกับขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช ด้วยมีพระประสงค์จะตัดทอนรายจ่ายหลังจากเศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ ส่งผลให้ระบบเทศาภิบาลถูกยกเลิกไป สุราษฎร์ธานีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในราชอาณาจักรสยามขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทยสืบจนถึงปัจจุบันนี้

                  ชื่อบ้านนามเมือง
                     อําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
                    สุราษฎร์ธานีเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งของภาคใต้ตอนบน เมื่อครั้ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสเมืองไชยาซึ่งตั้งตัวเมืองอยู่ที่ตําบลบ้านดอน (เมืองไชยาเก่าคืออําเภอไชยาในปัจจุบัน) และพระราชทานนามเมืองว่าสุราษฎร์ธานี ซึ่งแปลว่า เมืองคนดี พร้อมกับทรงเปลี่ยนชื่อแม่น้ำหลวงที่เกิดจากภูเขาหลวงเทือกเขานครศรีธรรมราชเป็นแม่น้ำตาปี ชื่อเมืองและชื่อแม่น้ำดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเมืองสุรัฏฐ์หรือเมืองสุหรัด ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งของแม่น้ำตาปี เมื่อครั้งมีการปกครองแบบเทศาภิบาล เมืองไชยาหรือสุราษฎร์ธานี ในยุคนั้นขึ้นกับมณฑลชุมพร โดยรวมเมืองไชยา กาญจนดิษฐ์ หลังสวนเป็นเขตเดียวกัน ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายที่ว่าการมณฑลไปตั้งที่ตําบลบ้านดอน บริเวณเดียวกับศาลากลางเมืองไชยาและเปลี่ยนชื่อมณฑลชุมพรเป็นมณฑลสุราษฎร์ธานี พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเมืองไชยาที่บ้านดอนเป็นเมืองสุราษฎร์ธานี ตําบลที่เป็นที่ตั้งตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ชาวบ้านมักเรียกว่าบ้านดอนแทนสุราษฎร์ธานี เช่นเดียวกับชาวตรังที่เรียกว่าทับเที่ยงแทนตรัง

                  อำเภอไชยา
                 
คําว่า "ไชยา” มาจาก ๒ พยางค์สุดท้ายของคําว่า “ศรีวิชยะ" ซึ่งชาวใต้มักตัดคําให้สั้นลง คําว่า "ศรีวิชัย" ปรากฏเป็นนามกษัตริย์และนามเมือง รวมทั้งยังปรากฏเป็นนามภูเขาศรีวิชัยเขต อําเภอพุนพิน ซึ่งก่อนนั้นเคยอยู่ในเขตเมืองไชยา รวมทั้งศรีวิชัยยังปรากฏในบันทึกของพระภิกษุอี้จิงซึ่งเดินทางผ่านไชยาไปอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. ๑๒๑๔ โดยเรียกเมืองนี้ว่า “ชิ-ลิ-โฟ-ชิ” ซึ่งเสียงใกล้เคียงกับ “ศิ-ริ-วิ-ชยะ” ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พม่าได้ยกทัพมาตีหัวเมืองภาคใต้ เมืองไชยาถูกพม่าทําลายเสียหายอย่างหนัก ทำให้ต้องย้ายตัวเมืองไปตั้งใหม่ที่ตําบลพุมเรียง เมื่อเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล เมืองไชยาไปขึ้นกับมณฑลชุมพรและยกตําบลพุมเรียงขึ้นเป็นอําเภอ โดยให้คงชื่อเมืองไชยาไว้เพราะเป็นเมืองประวัติศาสตร์ ส่วนเมืองไชยาใหม่ที่บ้านดอนนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที ๖) พระราชทานนามว่า "สุราษฎร์ธานี” ส่วนเมืองไชยาเก่าที่พุมเรียงภายหลังย้ายกลับไปตั้งที่ตําบลทุ่ง และเปลี่ยนเป็นอําเภอไชยาจนทุกวันนี้ อําเภอไชยามีชื่อเสียงหลาย ๆ ด้าน เช่น พุทธทาสภิกขุ สวนโมกขพลาราม ผ้าทอพุมเรียง ไข่เต็มไชยา และมวยไชยา ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฎนักมวยไชยาชื่อปลอง จํานงทอง ลูกศิษย์พระยาไชยา (ขำ ศรียาภัย) ได้รับการโปรดเกล้าฯ ยกย่องเป็นหมื่นมวยซึ่งมีชื่อดังพร้อม ๆ กับนักมวยลพบุรีผู้หนึ่งเป็นหมืนมือแม่นหมัด  ด้วยความมีชื่อเสียงของมวยไชยา จึงมีผู้กล่าวเป็นสํานวนที่ว่า “มวยไชยา เพลงนาชุมพร (เพลงนาเป็นการร้องร้าประจําถิ่นของชาวชุมพร)"   
ไชยาเป็นเมืองโบราณมาตั้งแต่ยุคศรีวิชัยเรืองอํานาจ จากหลักฐานสําคัญคือพระบรมธาตุไชยา เจดีย์ทรงศรีวิชัย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสําริดและจารึกที่วัดเวียง ซึ่งมีเนื้อหากล่าวสรรเสริญพระเจ้ากรุงศรีวิชัยหรือศรีวิชเยนทรราชา ตราประจําจังหวัดสุราษฎร์ธานีใช้พระบรมธาตุไชยา วัดพระบรมธาตุไชยาเป็นสัญลักษณ์
                 
อำเภอกาญจนดิษฐ์
                 
กาญจนดิษฐ์เดิมเรียกว่า “เมืองท่าทอง” หรือ “ท่าทองอุเท” หรือ “อุแท” ซึ่งตั้งอยู่ตอนบนของแม่น้ำท่าทอง  ซึ่งเป็นคํามาจากภาษาบาลีว่า "อุทัย" หมายถึงการขึ้นหรือความเจริญ เมืองท่าทองเป็นเมืองค่อนข้างใหญ่ มีการติดต่อและมีความสัมพันธ์กับเมืองคีรีรัฐนิคมด้วย เดิมทีเดียวก็เป็นเมืองขนาดเล็ก ต่อมาภายหลังเจริญเติบโตรวดเร็วมาก เพราะมีพื้นที่ทําเกษตรกรรมมากและติดต่อใกล้ชิดกับเมืองนครศรีธรรมราช โดยเป็นเมือง 12 นักษัตรของนครศรีธรรมราชด้วย จึงมีชื่อเสียง อีกชื่อหนึ่งว่า “เมืองสะอเสา” และเข้าใจว่าอาจจะเป็นชื่อเมือง เดิมก็ได้ เนื่องจากจุดที่ตั้งเป็นตัวเมืองท่าทองนั้นดูจะตั้งใหม่ ภายหลังที่บ้านสะท้อนเมืองท่าทองเก่าหรือเมืองสะอุเลา เป็น เมืองที่ตั้งอยู่ตลอตลุ่มน้ําท่าทองอุแท (ท่าทองอุทัย) และบริเวณที่ราบลุ่มคลองกะและควบคู่กัน จุดศูนย์กลางเดิมคงจะอยู่แถว ๆ บ้านข้อศอก ตําบลท่าอุแทหรือบริเวณใกล้เคียงนั้นหรือไม่ก็เป็นแถบคลองกะแคะ เนื่องจากมีโบราณวัตถุสถานสําคัญรุ่นเก่าอยู่มาก แต่น่าเสียดายที่ชํารุตสูญหายถูกทําลายไปมากต่อมาก อายุของเมืองท่าทองคงอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ เป็นต้นมา แต่โดยแท้จริงแล้วเมืองท่าทองเก่ามีอายุสูงกว่านี้ แต่เนื่องจากชุมชนกระจายอยู่หลายแห่งและอายุไม่เท่ากัน กล่าว คือในท้องที่อําเภอกาญจนดิษฐ์ในปัจจุบันมีการขุดค้นทางโบราณคดีพบโบราณศิลปวัตถุมากมายหลายยุคหลายสมัยนับตั้งแต่สมัยทวารวดีเป็นต้นมา ในรัชสมัยของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองท่าทองไปตั้งที่บ้านดอนเพราะเห็นเป็นทําเลเหมาะสมจะตั้งชุมชนใหญ่และพระราชทานนามว่า “กาญจนดิษฐ์” 
                อำเภอท่าฉาง
             
ท่าฉางเดิมเป็นเพียงตำบลหนึ่งขึ้นกับเมืองไชยา แต่เดิมเรียกกันว่า “บ้านโหละ” หรือ “บ้านโละ” สมัยนั้นชาวบ้านถ้าจะมาหรือไปท่าฉางมักบอกว่ามาจากโหละหรือไปบ้านโหละ คําว่าโหละหรือโละมาจากภาษามลายูว่าตาโละ (Taluk) หมายถึงอ่าวหรือปากอ่าว และโหละนี้อาจมาจากภาษาถิ่นใต้ หมายถึงการจับปลาวิธีหนึ่งโดยวิธีส่องไฟแล้วใช้สุ่มจับเรียกว่าโหละปลาหรือโละปลา ส่วนเหตุที่เรียกกันว่าท่าฉางนั้น เพราะชาวบ้านส่วนมากทํานาแล้วต้องเสียค่าส่วยหรือค่าอากรเป็นข้าวเปลือกจํานวนมาก ดังนั้นตามริมคลองหรือท่าเทียบเรือจึงมีการสร้างฉางข้าว เพื่อสะดวกต่อการลําเลียงข้าวเปลือกบรรทุกเรือล่องไปตามลําน้ำเลยเรียกว่าท่าฉางตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ กระทรวงมหาดไทยจึงยกท่าฉางขึ้นเป็นอําเภอหนึ่งของสุราษฎร์ธานี
              อำเภอ
เกาะสมุย
             
เกาะสมุยชื่ออําเภอนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า “เกาะหมุย” ออกเสียงเป็น “หมรุย” คือ “หฺมฺรฺ” ควบกัน หมายถึงต้นหมุยซึ่งเป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่บริเวณนั้น หมุยนั้นมี ๒ ชนิด คือชนิดมียอดขมเจือหอม ใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริกเรียกว่าหมุยหอม ส่วนอีกชนิดหนึ่งมีรสขมเรียกว่า “หมุยขม คํามลายูมีการออกเสียงใกล้เคียงกับสมุย คือเซมักซามุน (Semak Samun) หมายถึงป่า ละเมาะ พวกมลายูแล่นเรือมาถึงเกาะนี้คงเห็นป่าละเมาะไร ๆ และอีกคําหนึ่งคือ “ซามู” (Samu) หมายถึงพืชชนิดหนึ่ง ที่มาอื่น ๆ ก็มี เช่น จีนไหหลําแล่นเรือมาถึงเกาะสมุยและแวะพักเป็นแห่งแรก ที่แห่งแรกหรือต่านแรกชาวจีนไหหลําออกเสียงว่า “เช่าบ่วย” ซึ่งต่อมากลายเสียงเป็นสมุย และภาษาจีนเช่นเดียวกันนี้ยังบอกที่มาต่างกันอีกคือมาจากคําว่า “ซามุย” นั่นคือ “ซา” แปลว่าสาม “มุย” แปลว่าประตู รวมความแล้วหมายถึงประตูที่สามคือประตูสวรรค์เกาะสมุยก็คือเกาะสวรรค์นั่นเองบางประวัติก็กล่าวว่าสมุยเป็นภาษาของชาวโจฬะหรือทมิฬ (อินเดียใต้) หมายถึงคลื่นลม อําเภอเกาะสมุยเดิมขึ้นกับนครศรีธรรมราช ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ มีการรวมเขตการปกครองเกาะสมุยและเกาะพะงันเข้าด้วยกัน เป็นอําเภอเกาะสมุยขึ้นกับเมืองไชยา ภายหลังเกาะสมุยและเกาะพะงันต่างแยกออกจากกันตั้งเป็นอําเภอขึ้นกับสุราษฎร์ธานี ชื่อหมู่บ้านบนเกาะสมุยเป็นชื่อที่เกี่ยวข้องกับนิทานคือ เขาร่อน ภูเขาสามรูป ภูเขาสามเส้า เกาะรา บ่อผุด บ้านทุ่งทา บ้านเหวงและเขาหัวจุก มีเรื่องเล่าว่า....มีพญาครุฑตัวหนึ่งไล่จับพญานาคและต่อสู้กันถึง ๗ วัน ๗ คืน ปรากฏว่าพญานาคโดนเขี้ยวเล็บของพญาครุฑจนมีบาดแผลฉกรรจ์ พญานาคจึงดําดินหนีไปในช่องเขา พญาครุฑพยายามบินร่อนพญานาค ภูเขาแห่งนี้จึงเรียกว่า “เขาร่อน” ส่วนพญานาคไปโผล่ที่บริเวณ “ภูเขาสามรูป” ซึ่งเป็นภูเขาขนาดเล็ก ๆ ตั้งอยู่ริมทะเล ตรงนั้นเป็นที่ลุ่มลึกพญานาคจึงอาศัยแอบซ่อนคนและต้มยารักษาบาดแผลที่วางหม้อยาบนก้อนหินได้ชื่อว่า “ภูเขาสามเส้า" ต่อมาพญาครุฑบินมาพบพญานาคกําลังต้มยา แต่พญานาคหลบทันและรีบเก็บหม้อยาและดําดินหนีไปซ่อนกายที่บ้าน “เกาะรา” หมายถึงพญานาคคิดเลิกราไม่ต่อสู้กับ ศัตรูอีกแล้ว พญาครุฑยังคงติดตามและไปพบพญานาคที่บ้านเกาะราจึงตรงเข้าจิกตีคู่ต่อสู้ พญานาคคําดินหนีไปโผล่อีกทีที่บ้าน “บ่อผุด” และพยายามใช้ยาทาบาดแผล จึงเรียกที่ตรงนั้นว่า “บ้านทุ่งทา” ส่วนพญาครุฑยังคงติดตามพญานาคตลอดคืน จนฟ้าสว่างมองเห็นหมู่บ้าน แห่งนั้นจึงเรียก “บ้านเหวง” (ซึ่งมาจากแจ้งเหวงเป็นภาษาถิ่นเกาะสมุย หมายถึงสว่างชัดเจน (เฉวงเป็นภาษาเขมร เฌฺวงอ่านว่าชะเวง หมายถึงใสสะอาด) พญาครุฑมองเห็นพญานาคโผล่หัวออกมา หัวนาคมีหงอนสีแดงเป็นหัวจุก ชาวบ้านเรียกภูเขานั้นว่า “เขาหัวจุก” จากนั้นพญานาคจึงดําดินไปไกลมากจนพ้นพญาครุฑตามล่า ชื่อบ้านนามเมืองบนเกาะสมุยมีหลายชื่อที่มีประวัติ เช่น

- หน้าทอน ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกของเกาะ คําว่า “ทอน” หมายถึงบริเวณลุ่มลึกต่อกับทางน้ำไหล ทอนจึงมักเป็นแอ่งน้ำลึกเหมาะสําหรับจอดเรือ
- อ่าวละมัย ชื่อนี้น่าจะมาจากภาษามลายู คือลัมบัย” (Larmbai) หมายถึงโบกมือไปมาเหมือนกระแสคลื่นพลิกพลิ้วตั้งมือแกว่งไกว
- ตําบลมะเร็ต น่ามาจาก “มะริด” หรือ “เมอริจา” หมายถึงพริกไทยขาว
- ตําบลลิปะน้อย น่ามาจาก “ลีปะ” หมายถึงมุมหนึ่งมุมใด (ริมทะเลซึ่งเป็นที่ตั้งหมู่บ้าน) หรือมาจากคําไทยหมายถึงป่าน้อย แล้วเพิ่มคำนำหน้าเป็นลิปะน้อย

                      อำเภอเกาะพงัน
               
เกาะพงัน ชาวบ้านมักเรียกว่า “เกาะงัน” คำนี้ทางราชการเขียนเป็น "พงัน" มาก่อน ต่อมาเขียนเป็น “พะงัน" คําว่า “งัน” หมายถึงเนินทรายเตี้ย ๆ หรือเนินหินโสโครกที่ทอดยาวเลยฝั่งน้ำออกไปทางทะเล เพราะก่อนน้ำจะลดจะมองเห็นทางยาวเหนือน้ำ ชาวบ้านเรียก “หลังงัน” และเมื่อระดับน้ำใกล้ ๆ หลังงันจะลึกมาก เรียกบริเวณนั้นว่า “ปึก” และมักมีคําเตือนว่าระวังจะตกลงไปในปึก ดังคำกลอนวรรคหนึ่งที่ชาวบ้านมักพูดกันว่า “หลวงตาตกปีกเทียมกลางขา” (เทียม = สูงเท่ากัน) ส่วนคํามลายูมีคําออกเสียงใกล้เคียงกับพะงัน อีกคําว่าคือปังฆัล" (Panggal) หมายถึงลานตากปลา เพราะทางทิศเหนือเกาะพะงันมีอ่าวและหมู่บ้านโฉลกหลํา ซึ่งน่าจะมาจากคํามลายว่า “ตาโละตาลัม” แปลว่าอ่าวลึก (ตาโละ = อ่าว, ตาลัม = ลึก) ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๕ เกาะพะงันได้ไปรวมกับเกาะสมุยเรียกว่าอําเภอเกาะสมุย (เกาะพะงันป็นเพียงตําบลหนึ่ง) ต่อมาเมื่อมีการปกครองแบ่งเป็นจังหวัด อําเภอ ทางการจึงยกฐานะเกาะพะงันขึ้นเป็นอำเภอเกาะพะงัน ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐
                  อำเภอพุนพิน
                  
พุนพิน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๑๒ กิโลเมตร มีพื้นที่ ๑.๒๐๑.๕๐ ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่เป็นป่าเขาทางทิศตะวันตกและทิศใต้แล้วค่อย ๆ ลาดเอียงไปทางทิศตะวัน ออกส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเกษตรกรรม พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมบางส่วน ชื่อพุนพินมีการสันนิษฐานว่าชื่อนี้ตรงกับเมืองพาน พานหรือพันในจดหมายเหตุจีนกล่าวว่าเป็นเมืองท่าเรือค้าขายทางทะเล ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๖ ชาวบ้านเรียกพุนพินว่า “ท่าข้าม” เพราะเป็นท่าเรือข้ามแม่น้ำตาปีมาตั้งแต่อดีตและเป็นเส้นทางเดินทัพบกที่สําคัญมาตั้งแต่โบราณ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) มีการตั้งที่ว่าการอําเภอที่บ้านพุนพิน เมื่อเริ่มมีทางรถไฟสายใต้ได้มีการสร้างสะพานจุลจอมเกล้าฯ เพื่อข้ามแม่น้ำตาปีและจัดตั้งสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานีที่ตําบลท่าข้าม ต่อมาเปลี่ยนชื่ออําเภอพุนพินเป็นอําเภอท่าข้าม ตามชื่อตําบลที่ตั้งอําเภอ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้เปลี่ยนกลับไปเรียก “อําเภอพุนพิน” ตามเดิม พุนพินเป็นเมืองที่มีอายุรุ่นเดียวกับเมืองเวียงสระและเมืองไชยา เป็นเมืองบริวารของเมืองเวียงสระ ทําหน้าที่เป็นเมืองท่าติดต่อค้าขายทางทะเล เมืองพุนพินมีความสําคัญมากเนื่องจากตั้งอยู่ตรงชุมทางหรือศูนย์กลางการคมนาคมถึง ๓-๔ ทาง คือเส้นทางเดินเรือติดต่อกับเมืองคีรีรัฐนิคมตามลําน้ําพุมดวง ติดต่อกับเมืองเวียงสระพระแสงและคลองอิปัน คลอง สินปุนข้ามไปคลองท่อมหรือฝั่งทะเลตะวันตกได้ติดต่อกับเมืองต่าง ๆ แถบชายฝั่งทะเล เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช เป็นต้น เมืองพุนพินจึงเหมาะที่จะเป็นเมืองท่าเรือสําหรับรับส่งสินค้าและมีชื่อเสียงมากจนนักจดหมายเหตุจีนได้บันทึกกล่าวถึงไว้ที่เรียกว่า “ท่าข้าม” ก็อยู่ตรงจุดศูนย์กลางนี้ด้วย ตัวเมืองพุนพินเองไม่มีคันคูเมือง เนื่องจากภูมิประเทศส่วนมากเป็นที่ราบ ที่ตั้งเมืองจึงตั้งอยู่บริเวณโดยรอบปากน้ําสามแพรกกระจายออกไป เนื่องจากเนื้อที่การเพาะปลูกทํานามีจํากัด ฤดูน้ําหลากมักจะท่วมเสียหาย   ศาสนสถานสําคัญจึงมักสร้างขึ้นตามคืนเขาเชิงเขาหรือบนควนภูเขา เช่น บนควนท่าข้าม (สวนสราญรมย์) เขาศรีวิชัย เป็นต้น
                   อำเภอคีรีรัฐนิคม
                   คิรีรัฐนิคม เป็นเมืองขนาดเล็กแต่มีชุมชนเกิดขึ้นมาแต่โบราณ แต่เดิมเป็นเมืองบริวารของเมืองเวียงสระ เรียกกันว่าเมือง “ธาราวดี” บ้าง “คงคาวดี” บ้าง ซึ่งชื่อเมืองนี้คงตั้งตามนามบ้านและรูปลักษณะของภูมิประเทศนั่นเอง เพราะบริเวณท้องที่ตั้งเมืองมีแม่น้ําไหลผ่านวกเวียนอยู่ระหว่างภูเขาและเมืองเต็มตั้งอยู่ที่บ้านน้ํารอบ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่า "เมืองคีรีรัฐนิคม" เพราะมีภูเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนตั้งอยู่โดยรอบ ท้องที่และสายน้ําไหลวกเวียนอยู่ระหว่างภูเขาตลอดสาย  ในราว ๆ พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้โอนมาขึ้นกับเมืองไชยา 
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ เปลี่ยนชื่อคิรีรัฐนิคมเป็นอําเภอท่าขนอน (ขนอนภาษาเขมรแปลว่าภาษี) เพื่อให้ตรงกับชื่อตําบลที่ตั้งอําเภอ ซึ่งเป็นชื่อด่านเก็บภาษีสินค้า ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ กลับมาเรียกชื่อคีรีรัฐนิคมตามเดิมทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับภูมิประเทศ คีรีรัฐนิคมมีลําน้ำที่สําคัญ ๒ สาย คือคลองพุมดวง (พุมดวงเป็นภาษาเขมร หมายถึงมะพร้าว) และคลองยัน (ยันภาษาถิ่นใต้หมายถึงมึนเมาเนื่องจากกินหมากพลู) และมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับคลองยันว่า “คลองยันคือเมืองเศรษฐีโลภัณในนิทานพื้นบ้านของสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีเค้าโครงเรื่องมาจากวรวงศ์ชาดก ตัวเอกชื่อพระวรวงศ์มีพระเชษฐาชื่อสุริยามาศ ต่างถูกใส่ร้ายจากนางกาไวย พระมารดาเลี้ยงและพระบิดาถูกเสน่ห์เวทมนตร์ของนางกาไวยถึงกับขับไล่พระโอรสทั้ง ๒ ออกจากเมือง ทำให้โอรสทั้ง ๒ ต้องผจญภัยต่าง ๆ ชื่อบ้านนามเมืองในนิทานจากเมืองเศรษฐีโลกันดังกล่าวแล้วยังมีเมืองผุสสาคือเมืองไชยาอีกด้วย ในอดีตชาวภาคใต้โดยเฉพาะชาวสุราษฎร์ธานีมักจะจดจําเพลงกล่อมเด็กหรือเพลงช้าน้อง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระวรวงศ์หลายบท เช่น

วรวงศ์เหอ พ่อหน่อวรวงศ์
ถอดแหวนออกทิ้งลง หน่อวรวงศ์องค์ราชา
พ่อแม่ยอมยกลูก ให้ท่านท้าวผุสสา
วรวงศ์องค์ราชา หน้าตาเหมือนวงเดือน

              ในอาณาบริเวณเมืองคีรีรัฐนิคมมีโบราณสถานที่เก่าแก่ไม่มากนักเนื่องจากมิได้เป็นเมืองศูนย์กลาง แต่ทําหน้าที่เป็นเมืองหน้าด่านควบคุมเส้นทางเดินบก ข้ามแหลมมลายูระหว่างฟากทะเลตะวันตกกับฟากทะเลตะวันออก จึงพบโบราณศิลปวัตถุน้อยคือพบเทวรูปพระนารายณ์ ศิลปที่ถ้ําสิงขรและพบพระพิมพ์ดินดิบแบบศรีวิชัยแถบถ้ําในเขา เขตอําเภอพนม และได้พบกลองมโหระทึกวัฒนธรรมดองซอน ในบริเวณใกล้เคียงบ้าง เป็นต้น 
             อำเภอ
เวียงสระ
             เวียงสระ เป็นเมืองโบราณอายุรุ่นราวคราวเดียวกับเมืองไชยาแต่มีอายุสั้นกว่า ตั้งอยู่ในแถบที่ราบลุ่มแม่น้ําตาปีและแม่น้ําพุมดวง มีศูนย์กลางอยู่ที่ตําบลเวียงสระ อําเภอเวียงสระ ริมฝั่งขวาของแม่น้ําตาปีหรือแม่น้ําหลวงเป็นเมืองที่มีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๕ ต่อมาได้ร้างไปเนื่องจากสภาพสถานที่ตั้งเมืองไม่เหมาะสม เนื่องจากอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ การคมนาคมติดต่อกับเมืองค่อนข้างลําบาก โดยเฉพาะการติดต่อกับเมืองอื่นทางทะเลทําไม่ได้คล้ายกับเป็นเมืองปิด แม้จะมีเมืองท่าอยู่ปากอ่าวแต่ก็ยังอยู่ไกลไปมาลําบาก การติดต่อค้าขายให้เจริญขยายตัวเป็นเมืองใหญ่ไม่ได้ อีกทั้งโรคภัยไข้เจ็บก็มิใช่น้อยจึงต้องอพยพเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่อื่น ภายหลังส่งผู้คนกลับมาบุกเบิกอีก ก็เป็นเพียงการขยายชุมชนสร้างสมเสบียงกรังและเพื่อแสวงหาโภคทรัพย์บํารุงบ้านเมือง 
เวียงสระเป็นเมืองเก่าที่มีร่องรอยของคูเมืองและสระน้ำขนาดใหญ่ ๒ สระ ซึ่งสันนิษฐานว่าเมืองนี้มีสัญลักษณ์ของเมืองเวียงสระ  เวียงสระแต่เดิมเป็นอําเภอขึ้นกับนครศรีธรรมราช ชาวบ้านเคยเรียกว่าอําเภอคลองตาล ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ทางการได้รวมตําบลเวียงสระ พรุพรี ลําพูน ท่าชี บ้านนา เป็นอําเภอลําพูน (ตั้งชื่อตามตําบลลําพูน ซึ่งมีคลองพูนสาขาแม่น้ำตาปีไหลผ่าน) ขึ้นตรงต่อนครศรีธรรมราช ต่อมาได้โอนอําเภอลําพูนขึ้นกับสุราษฎร์ธานี ภายหลังเปลี่ยนอําเภอลําพูนเป็นอําเภอบ้านนา และปี พ.ศ. ๒๕๑๑ แยกตําบลเวียงสระ ตําบลทุ่งหลวงออกตั้งเป็นอําเภอเวียงสระมาจนทุกวันนี้
             อำเภอ
พระแสง
   
พระแสงเป็นอําเภอเก่าแก่ในอดีตขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช เหตุที่เรียกว่าพระแสงเนื่องจากชาวบ้านขุดพบดาบขณะช่วยกันแล้วถางโค่นป่า เพื่อจัดตั้งที่ว่าการอําเภอ ดาบเล่มนี้คล้ายกับพระแสงของผู้ครองนคร อีกประการหนึ่งอําเภอพระแสงก็ตั้งตามชื่อผู้ปกครองคนแรกคือพระแสงภิรมย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ทางการได้ยุบอําเภอพระแสงกับอำเภออิปัน ให้เป็นตําบลขึ้นกับอําเภอลำพูน (ปัจจุบันคืออำเภอนาสาร) ต่อมาได้แยกตําบลพระแสงกับตําบลอิปันออกจากอําเภอลําพูน แล้วจัดตั้งเป็นอําเภอพระแสง
             อำเภอ
บ้านนาสาร
            
บ้านนาสารชื่อนี้หมายถึงพื้นที่ที่มีทุ่งนามากมาย ดูประหนึ่งคันนาสอดสานกัน ภายหลังเขียนเป็น “นาสาร” เหมือนกับว่าเป็นที่นาเฉพาะข้าวสาร บ้านนาสารเคยรวมกับตําบลเวียงสระ ทุ่งหลวง พรพุรี และท่าชี เป็นอําเภอลําพูนขึ้นกับนครศรีธรรมราช ต่อมาโอนมาขึ้นกับสุราษฎร์ธานีและเปลี่ยนชื่ออําเภอลําพูนเป็นอําเภอบ้านนาให้ตรงกับชื่อตําบลที่ตั้งอําเภอ ภายหลังได้ย้ายที่ว่าการอําเภอบ้านนาไปตั้งที่ตําบลนาสารเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอําเภอนาสาร มาจนถึงทุกวันนี้
              อำเภอ
บ้านนาเดิม
            
บ้านนาเดิม แต่เดิมคืออําเภอลําพูน เรียกตามชื่อลําน้ำที่ไหลผ่านท้องถิ่นนี้และเขตการปกครองขึ้นกับนครศรีธรรมราช ต่อมาทางการโอนลําพูน พระแสงและพนมให้ไปขึ้นกับเมืองไชยา ภายหลังเปลี่ยนชื่อจากอําเภอลําพูนเป็นอําเภอบ้านนา ตามชื่อตําบลที่ตั้งอําเภอและย้ายที่ว่าการอําเภอบ้านนาไปตั้งที่ตําบลบ้านนาสาร ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ทางราชการได้แยกตำบลบ้านนาและตำบลท่าเรือออกจากอำเภอนาสารตั้งเป็นอําเภอบ้านนาเดิม
              อำเภอ
ท่าชนะ
           
ท่าชนะ เป็นชุมชนโบราณแห่งหนึ่งของสุราษฎร์ธานี แต่คนมักเรียกอําเภอนี้ตามชื่อสถานีรถไฟว่า “หนองหวาย” มีเรื่องเล่ากันว่าเหตุที่เรียกว่า “ท่าชนะ” เนื่องจากสมัยสงคราม ๙ ทัพ มีกรมพระราชวังบวรมหา สุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพ มีชัยชนะเหนือกองทัพพม่า ที่ยกทัพมารุกรานหัวเมืองปักษ์ใต้ ทรงสร้าง สัญลักษณ์แห่งชัยชนะคือเสาหลักไม้เหลี่ยมสลักอักษรว่า “ชิตํเม” แปลว่าข้าพเจ้าชนะแล้ว ปักไว้เป็นอนุสรณ์ที่คลองวังเก่าและคลองท่าชนะ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ทางการได้ยกฐานะเป็นอําเภอท่าชนะ
               อำเภอดอนสัก
          ดอนสักหมายถึงบริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึงและมองเห็นต้นสักเด่นแต่ไกล ในอดีตดอนสักเป็นตําบลขึ้นกับอําเภอกาญจนดิษฐ์ ต่อมามีการรวมตําบลดอนสักและตําบลชลครามเข้าด้วยกัน แล้ว ตั้งเป็นกิ่งอําเภอดอนสัก ต่อมาได้รวมเอาตําบลอื่น ๆ เข้าด้วยกันและจัดตั้งเป็นอําเภอดอนสัก
                อำเภอ
พนม
           พนมหมายถึงภูเขา ภูเขาที่สําคัญคือเขาสก (สกเป็นภาษาเขมรหมายถึงเผ้าผม ในที่นี้หมายถึงศีรษะและเผ้าผมตามลักษณะ ภูเขาที่แลเห็น) เขาสกกันพรมแดนระหว่างอําเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานีกับอําเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เส้นทางสายนี้เป็นเส้นทางโบราณสําหรับข้ามคาบสมุทรจากฝั่งตะวันออก ไปยังฝั่งตะวันตกโดยไม่ต้องอ้อมแหลมมลายู อดีตพนมเคยขึ้นกับนครศรีธรรมราช และเมืองไชยาและสุราษฎร์ธานีตามลําดับ 
                อำเภอ
เคียนซา
            
เคียนซา มาจากชื่อ “บ้านเคียงคา” และเล่ากันว่าทางการมีคําสั่งให้ชาวบ้านสร้างเรือด้วยไม้ตะเคียนเนื้อดี ๒ ต้น เพื่อทำเป็นเรือโกลน โดยนําท่อนซุงมาจัดตั้งหัวท้ายพอให้มีลักษณะคล้ายเรือ แต่ยังไม่ได้ขุดก็เกิดอาเพศช่างทําเรือเจ็บป่วยล้มตายลงหลาบคน ต้นเคียนที่นำมา ๒ ต้น ก็ยังค้างคาอยู่ที่เดิม จึงเรียกสถานที่นี้ว่าบ้านเคียนคาบ้างก็เล่าว่า “เคียนซา มาจากคําว่า “เกวียนซา" หมายถึงขบวนเรือเด็กติดตามเรือใหญ่ชาวบ้านเรียกเรือเกวียน เมื่อขบวนเรือแล่นไปถึงบริเวณนั้นก็ค่อยชาความเร็วลง จึงเรียกบริเวณนั้นว่าบ้านเกวียนซาต่อมาเพี้ยนเสียงกลายเป็นเคียนชา ในอดีตเคียนซาขึ้นกับแขวงลําพูน เมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาขึ้นกับเมืองไชยา และอําเภอบ้านนาตามลําดับ ต่อมาได้ยกฐานะเคียนซา ขึ้นเป็นกิ่งอําเภอ และในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ จึงยกฐานะเป็นอําเภอเคียนซา
                 อำเภอบ้านตาขุน
             บ้านตาขุน มีเรื่องเล่าว่าเมื่อครั้งเมืองคีรีรัฐนิคมขึ้นกับนครศรีธรรมราช ทางการได้ตั้งขุนเมืองไปปกครองคีรีรัฐนิคม จากนั้นชาวบ้านจึงสร้างที่พักรับรองเรียกว่า “บ้านตาขุน” สันนิษฐานว่าคงเป็นบ้านหลังใหญ่โตติดริมน้ำ ต่อมาชุมชนดังกล่าวเจริญขึ้นมาอย่างรวดเร็ว บ้านตาขุนเคยขึ้นกับนครศรีธรรมราช ต่อมาโอนให้ไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ไชยาและ สุราษฎร์ธานีตามลําดับ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ทางการจึงยกฐานะเป็นอําเภอบ้านตาขุน
                  อำเภอ
ชัยบุรี
                  
ชัยบุรี แยกออกมาจากอําเภอพระแสงเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่นายอําเภอคนแรกของอําเภอพระแสง คือขุนชัยศรี ชื่อที่มีความหมายดีเป็นมงคลนาม
                  อำเภอ
วิภาวดี
               วิภาวดี เมื่อก่อนเป็นส่วนหนึ่งของอําเภอคีรีรัฐนิคม แล้วตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์และเทิดพระเกียรติแด่ ม.จ.วิภาวดีรังสิต หรือ ว.ณ ประมวลมารค เพราะในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๙ ท่านเคยเสด็จประทับที่ตําบลตะกุกเหนือ (บ้านท่านหญิง) และตําบลตะกุกใต้ (คลองพาย) ม.จ.วิภาวดีรังสิต สิ้นชีพิตักษัย เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐ ขณะปฏิบัติราชการชายแดนเยี่ยมเยียนทหารตํารวจตระเวนชายแดน ที่ตําบลบ้านส้อง อําเภอเวียงสระ โดยถูกผู้ก่อการร้ายซุ่มยิ่งภาคพื้นดิน และสิ้นชีพตักษัยบนเฮลิคอปเตอร์ที่นําเสด็จกลับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายหลังทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต 


แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี แสดงลักษณะภูมิประเทศ แม่น้ำและอาณาเขตติดต่อ

                     แหล่งท่องเที่ยวเกาะสมุย
                
คำว่า "สมุย" มีผู้สันนิษฐานที่มาของชื่อกันต่าง ๆ นานา  เช่น ว่ามาจากภาษาจีนคือ "เซ่าบ่วย" แปลว่าด่านแรก บ้างว่ามาจากภาษาไทโจหะแปลว่า "คลื่นลม" บ้างก็ว่ามาจากชื่อตันไม้ที่มีอยู่ทั่วไปในภาคใต้คือต้นหมุย เกาะสมุยมีชายหาดที่สวยงามหลายแห่งอยู่รอบ ๆ เกาะ สำหรับชายหาดที่สำคัญและนักท่องเที่ยวนิยมไปพักผ่อนกันกันมากคือหาดหน้าตอน หาดละไม และหาดเฉวง หาดหน้าทอนจะอยู่ทางด้านหน้าของเกาะหรือด้านทิศตะวันตกของเกาะสมุย หาดแห่งนี้มีท่าเรือที่เป็นศูนย์กลางในการเดินทางคือเรือเฟอร์รี่ที่มาจากท่าขนอม เรือด่วนส่งเสริมจากสุราษฎร์ธานี เรือเฟอร์รี่ที่ให้บริการเกาะสมุย-เกาะพะงัน และยังมีเรือบริการไปหมู่เกาะอ่างทองอีกด้วย จึงจัดได้ว่าหาดแห่งนี้เป็นศูนย์กลางในการเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารข้ามทะเล ทำให้นักท่องเที่ยวจากทุกชาติทุกภาษาสามารอติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายโยงใยไปได้ทั่วทุกมุมโลก นอกจากนี้หาดหน้าทอนยังเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการ ตลาดจำหน่ายอาหาร ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก ในยามเย็นยังเป็นสถานที่สำหรับชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง และยามค่ำคืนยังทำหน้าที่เสมือนประภาคารคอยให้สัญญาณแก่ชาวประมงในการออกทะเลอีกด้วย ส่วนหาดละไมเเป็นหาดที่ขึ้นชื่อด้านความสวยโค้งของอ่าวที่มีทิวต้นมะพร้าวปลูกอยู่เป็นแนว สถานที่ท่องเที่ยวประกอบด้วยศูนย์วัฒนธรรมวัดละไม ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่มีอายุเกือบ ๒๐๐ ปี เป็นสถานที่เก็บรวบรวมของใช้โบราณ ทำให้เข้าใจการดำรงชีวิตของชาวบ้านในอดีตบนเกาะสมุยเป็นอย่างดี ทางทิศใต้ของหาดละไมจะมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งคือหินตาหินยาย เป็นโขดหินที่มีรูปร่างประหลาด มีนิทานท้องถิ่นเล่าต่อ ๆ กันมาว่า... นานมาแล้วมีตายายคู่หนึ่งชื่อตาเครงกับยายเรียมเป็นชาวปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เดินทางโดยเรือใบเพื่อจะไปสู่ขอลูกสาวของตาม่องล่ายกับยายยมที่จังหวัดประจวบคีรียันธ์ให้กับลูกชาย ครั้นเรือแล่นมาถึงบริเวณแหลมละไม ได้เกิดพายุใหญ่ทำให้เรือล่มทั้งตายายเสียชีวิตคลื่นซัดขึ้นเกยชายหาดกลายเป็นหินรูปร่างประหลาดที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้.... สำหรับหาดเฉวงจะอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะสมุย เหมาะแก่การเล่นน้ำเพราะมีชายหาดที่ยาวและสะอาด น้ำใส ระดับน้ำไม่ลึกเกินไป หาดแห่งนี้เป็นหาดที่มีชื่อเสียงที่สุดของเกาะสมุย นักท่องเที่ยวต่างชาติมักนิยมไปพักผ่อนกัน เปรียบเสมือนพัทยาแห่งที่ ๒ ก็ว่าได้ ในบริเวณอื่น ๆ รอบเกาะสมุยยังมีน้ำตกคือน้ำตกหน้าเมือง (วนอุทยานผาหลวง) เป็นน้ำตกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) เคยเสด็จประพาส ส่วนด้านล่างของน้ำตกเป็นแอ่งน้ำขนาดเล็ก ปัจจุบันเป็นแหล่งน้ำจืดที่ไช้ผลิตน้ำประปาสำหรับชาวเกาะสมุย ส่วนน้ำตกอื่น ๆ คือน้ำตกหินลาด น้ำตกหน้าเมือง น้ำตกหินลาด น้ำตกลาดวานร และน้ำตกซองเรือ สำหรับแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะสมุยนอกจากชายหาดและน้ำตกแล้วยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง เช่น สวนผีเสื้อสมุย ตั้งอยู่บนเนินเขาติดทะเลทางทิศใต้ของเกาะสมุย อยู่ห่างจากหินตาหินยาย ไปประมาณ ๕ กิโลเมตร สร้างบนเนื้อที่ ๒๐ ไร่ ลักษณะเป็นสวนหินเต็มไปด้วยต้นไม้และดอกไม้นานาพรรณ เป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่รวบรวมพรรณไม้ไทย พืชสมุนไพร และไม้ป่านานาชนิดจากทุกภาคของไทย ภายในประกอบด้วยสวนผึ้ง พิพิธภัณฑ์แมลง แหล่งปะการัง จุดชมวิว ร้านจำหน่ายของพื้นเมือง รวมทั้งมีที่พักไว้บริการ ส่วนแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ก็มีสำนักสงฆ์พระใหญ่เกาะฟาน สำหรับเกาะฟานนี้ในสมัยก่อนชาวบ้านใช้เป็นที่ฝังศพเด็ก ต่อมาพระครูสันตินันทคุณได้นำชาวบ้านมาปรับปรุงเกาะฟานให้เป็นสำนักสงฆ์ พร้อมกับสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้นประดิษฐานไว้บนยอดสูงของเกาะ พระใหญ่องค์นี้มีชื่อเป็นทางการว่าพระพุทธสันติทีปนาถ นอกจากนี้ยังมีศูนย์ลิงสมุย วัดสำเร็จ ฟาร์มงูพังกา พระพุทธบาทเขาเล่ พระธาตุหินงู เจดีย์แหลมซอ ฯลฯ
                
แหล่งท่องเที่ยวเกาะแม่เกาะ
              เกาะแม่เกาะ คือเกาะวัวตาหลับ บนเกาะแห่งนี้เป็นที่ทำการของอุทยานแห่งชาติ ช่วงด้านหน้าของเกาะจะเป็นหาดทรายชาวสะอาดเหมาะกับการเล่นน้ำ ถัดขึ้นไปจะมีทางเดินสู่จุดอมวิวบนยอดเขา ระยะทางเดินประมาณ ๔๐๐ เมตร ใช้เวลาไป-กลับประมาณ ๒ ชั่วโมง เนื่องจากพื้นที่ค่อนข้างลาดชัน ต้องโหนตัวเกาะเกี่ยวไปกับกิ่งไม้เป็นระยะ ๆ ยิ่งใกล้จะถึงคนปืนป่ายต้องแข็งใจสู้ฝ่าฟันกับความรู้สึกที่หวาดหวั่น ในขณะที่ด้านขวาคือหุบเหวลึกและด้านซ้ายคือทะเลเขียวเข้ม แต่ก็ต้องพยายามเหนี่ยวเชือกไปจนถึงเส้นชัยให้ได้ เมื่อไปถึงจุดสูงสุดภาพที่เห็นบนนี้แทบจะทำให้ลืมหายใจในความเพียรพยายามที่ปีนป่ายขึ้นมาได้ เมื่อขึ้นถึงจุดชมวิวสูงสูงสุดนี้ก็จะมองเห็นเกาะน้อยใหญ่ที่เรียงรายทอดตัวเป็นแนวยาวพื้นน้ำสีคราม เบื้องล่างดูสงบนิ่งราวกับภาพวาด ซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งสำหรับผู้ที่ได้มาเยือนบนเกาะแห่งนี้
                
แหล่งท่องเที่ยวเกาะพะงัน
               
คำว่า "พะงัน" สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "พะ" ซึ่งหมายถึง "พบ" คำว่า "งัน" หมายถึงหาดทรายที่มองเห็นได้ในเวลาน้ำลด เกาะพะงัน เป็นเกาะที่เรียกได้ว่าเป็นเกาะมะพร้าวอีกเกาะหนึ่ง ธรรมชาติและทรัพยากรทางทะเลบนเกาะพะงัน ยังอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบชื้น และป่าดงดิบแล้ง พื้นที่เกือบทั้งหมดบนเกาะเป็นดินทรายและหิน แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญบนเกาะพะงัน เช่น พระเจดีย์ภูเขาน้อย พระพุทธบาทจำลองบนภูเขาวัดมธุรวราราม หาดท้องนายปาน หาดรื้น บ้านโฉลกหลำ ศาลเจ้าแม่กวนอิม วนอุทยานน้ำตกแพง น้ำตกธารประเวศ น้ำตกธารเสด็จ ฯลฯ สำหรับน้ำตกธารเสด็จนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่นักท่องเที่ยว อยู่ที่ตำบลใต้ สามารถไปได้ทั้งทางเรือและทางรถ แต่ถ้าไปทางเรือเมื่อเริ่มเข้าอ่าวธารเสด็จะพบความงามของภูเขา โขดหินที่มีรูปร่างแปลก ๆ และหาดทรายสียาวดุจเงินยวง ครั้นเมื่อเดินขึ้นไปตามตันน้ำจะพบหินก้อนหนึ่งใต้ต้นไม้ ที่ก้อนหินนี้จะมีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ภปร. ปปร. ซึ่งได้จารึกเอาไว้เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในราชวงศ์จักรีหลายพระองค์เคยเสด็จประพาส คือรัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๖ รัชกาลที่ ๗ และรัชกาลที่ ๙ ได้เสด็จมาที่น้ำตกแห่งนี้ น้ำตกธารเสด็จนี้ยาวบ้านถือเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ บริเวณน้ำตกจะอุดมไปด้วยป่าไม้ ดอกไม้ป่า และกล้วยไม้บ้านานาชนิด มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ชาวบ้านและชาวประมงได้อาศัยน้ำจากน้ำตกธารเสด็จเป็นน้ำดื่มน้ำใช้ในชีวิตประจำวัน 


ความสำคัญ

 

        


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
สุราษฎร์ธานี (Suratthani)
ที่อยู่
จังหวัด
สุราษฎร์ธานี


บรรณานุกรม

ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2555). ชื่อบ้านนามเมืองภาคใต้ : สุราษฎร์ธานี ; รูสมิแล 33,1 (ม.ค. - เม.ย. 2555) 75-82.
สุราษฎร์ธานี : ตาปีเกมส์. (2536). สุราษฎร์ธานี : คณะกรรมการจัดทำหนังสือที่ระลึกกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 26.
เอนก รัตน์ปิยะภาภรณ์, บรรณาธิการ. (2545). สุราษฎร์ธานี เมืองคนดีศรีแผ่นดิน. ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2025