อุทยานแห่งชาติเขาหลวง
 
Back    19/04/2021, 15:09    4,857  

หมวดหมู่

จังหวัด


ประวัติความเป็นมา

        
ภาพจาก : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:1113_อุทยานแห่งชาติเขาหลวง_นครศรีธรรมราช9.jpg

           บริเวณดินแดนคาบสมุทรทางภาคใต้ของประเทศไทยใน จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ตอนกลางเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขา นครศรีธรรมราช ภูมิประเทศส่วนใหญ่จึงเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ทอดตัวเป็นแนวยาวขนานไปกับชายฝั่งทะเลตะวันออก ในสมัยอดีตกาลกล่าวได้ว่าขุนเขาแห่งนี้ก็คืออู่ข้าวอู่น้ําที่หล่อเลี้ยงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ชุมชนโบราณ จนกระทั่งกลายเป็นอาณาจักรตามพรลิงค์อันยิ่งใหญ่ของคาบสมุทรทะเลใต้ ทรัพยากรที่มาจากเทือกเขาหลวงนั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแร่ธาตุ ป่าไม้ สมุนไพร ของป่าหรือสายน้ําที่นําพาความอุดมสมบูรณ์ ลงมาเอื่่อต่อการเพาะปลูกจนทําให้นครศรีธรรมราชในอดีตเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลที่สําคัญยิ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิ่งที่กล่าวนี้คืออุทยานแห่งชาติเขาหลวง ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในท้องที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ถูกจัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี กำหนดให้ป่าเขาหลวงและป่าอื่น ๆ ในท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช รวม ๑๔ ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้ทำการสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพพื้นที่บริเวณป่าเขาหลวงจะถูกวาตภัย ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ทำให้ไม้ขนาดใหญ่ล้มโค่นเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นป่าแห่งนี้ยังมีคุณค่าควรแก่การเก็บรักษาไว้ เพื่อประโยชน์ในการพักผ่อนหย่อนใจ การศึกษา ค้นคว้าวิจัยและคุ้มครองรักษาพันธุ์สัตว์ป่า นับว่าควรค่าแก่การจัดเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งต่อมาได้มีมติคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ จากการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๑๗ เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๑๗ เห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งเป็นอุทยาน โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาหลวงในท้องที่ตำบลดอนตะโก ตำบลกะทูน ตำบลเขาพระ ตำบลพิปูน ตำบลยางค้อม อำเภอพิปูน ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ตำบลสวนขัน ตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ตำบลพรหมโลก ตำบลบ้านเกาะ ตำบลอินทคีรี ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี และตำบลเขาแก้ว ตำบลท่าดี ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา ตำบลกรุงชิง ตำบลนบพิตำ ตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๑ ตอนที่ ๒๑๖ ลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๑๗ นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ ๙ ของประเทศ 
                   
อุทยานแห่งชาติเขาหลวงผืนบำสำคัญแห่งแดนได้ มีพื้นที่ครอบคลุมเทือกเขานครศรีธรรมราชตอนกลางประมาณ ๓๕๖,๒๕๐ ไร่ หรือ ๕๗๐ ตารางกิโลเมตร
ประกอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนทอดยาวเหนือจดใต้ขนานไปกับชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก มีที่ราบดามหุบเขาเล็กน้อยพืชพรรณไม้ส่วนใหญ่เป็นสังคมพืชป่าดงดิบ ดินบนภูเขาเป็นดินที่เกิดจากการผุสลายของหินแกรนิต อันเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของพื้นที่โดยรอบอุทยาน  และมียอดเขาสูงสุดคือยอดเขาหลวงซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๑,๘๓๕ เมตร เป็นต้นกำเนิดของต้นน้ำล้ำธารหลายสาย เช่น แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง คลองกรุงชิง คลองเขาแก้ว คลองท่าแพ คลองระแนะ และคลองละอาย มีสภาพธรรมชาติที่สมบูรณ์และสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือน้ำตกกะโรม น้ำตกพรหมโลก น้ำตกอ้ายเขียว น้ำตกกรุงชิง น้ำตกท่าแพ น้ำตกสวนอาย ถ้ำแก้วสุรกานต์ น้ำตกสวนขัน น้ำตกยอดเหลือง ผาเหยียบเมฆ จุดชมทิวทัศน์ยอดเขาหลวง เส้นทางศึกษาธรรมชาติสู่ยอดเขาหลวงเส้นทางคึกษาธรรมชาติน้ำตกกรุงชิง เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกกะโรม ฯลฯ อุทยานแห่งชาติเขาหลวงในยุคปัจจุบันแม้ศูนย์กลางความเจริญของบ้านเมืองจะเปลี่ยนแปรไปตามกาลเวลา ทว่าความมีคุณค่าของเทือกเขาหลวงกลับยิ่งทวีมากขึ้น ทั้งนี้เพราะว่าทรัพยากรอันมีค่าของผืนป่าเขาหลวง หาใช่เพียงป่าไม้หรือแร่ธาตุหรือเป็นเพียงแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น หากแต่เป็นความหลากหลายทางชีวพันธุ์ของสรรพชีวิตต่าง ๆ ซึ่งยังคงดํารงอยู่ในผืนป่าแห่งนี้ที่เป็นคุณค่าอันแท้จริง อุทยานแห่งชาติเขาหลวง เป็นแหล่งธรรมชาติที่ยังคงความสมบูรณ์ของพรรณไม้ และสัตว์ป่าอยู่มาก การเดิน ป่าศึกษาธรรมชาติชมพรรณไม้ภายในอุทยานฯ สามารถ ใช้เส้นทางได้เป็นวงรอบ เพราะมีสภาพแวดล้อมที่สวยงามน่าสนใจ กอรปกับชุมชนโดยรอบเข้าใจถึงความสําคัญของธรรมชาติ และสามารถจัดระบบรองรับ นักท่องเที่ยวได้ดี อุทยานแห่งชาติเขาหลวงซึ่งได้รับรางวัลยอดเยี่ยม (ไทยแลนด์ ทัวร์ริสซึ่ม อวอร์ด) ประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๑ รางวัลยอดเยี่ยมประเภทแหล่งท่องเที่ยว ธรรมชาติ และชุมชนคีรีวงที่ตั้งอยู่เชิงเขาหลวงก็ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมประเภทเมืองและชุมชน เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตน่าสนใจท่ามกลางธรรมชาติ ตลอดจนมีการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้อย่างมีระบบอีกด้วย



ภาพจาก : http://www.traave.com/เขาหลวงนครศรีธรรมราช/


ลักษณะทางภูมิศาสตร์
         อุทยานแห่งชาติเขาหลวง ตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทยครอบคลุมพื้นที่ ๗ อําเภอของจังหวัดนคร ศรีธรรมราช ได้แก่อําเภอเมือง0นครศรีธรรมราช อําเภอพิปูน อําเภอลานสกา อําเภอฉวาง อําเภอพรหมคีรี อําเภอช้างกลางและอําเภอนบพิตํา มีเนื้อที่ประมาณ ๓๕๖,๒๕๐ ไร่ หรือ ๕๔๙๗ ตารางกิโลเมตร สัณฐานเป็นเทือกเขาสูงสลับ ซับซ้อนต่อเนื่องกันไป พื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นดินที่เกิดจากการ ผุพังของหินอัคนี้ และมีเขา หินปูนปะปนอยู่เป็นหย่อม ๆ ยอดเขาหลวงเป็นยอดเขา ที่สูงที่สุดในภาคใต้ โดยสูง ประมาณ ๑,๕๓๕ เมตร จากระดับน้ําทะเลปานกลางเนื่องจากสถานที่ตั้ง อยู่บนคาบสมุทร จึงเกิดสภาพ ป่าดิบชั้นครอบคลุมทั่วไป อันเป็นแหล่งกําเนิดต้นน้ํา ลําธารที่สําคัญมากมายหลาย สาย ที่สําคัญก็คือเป็นแหล่ง ต้นน้ําส่วนหนึ่งของแม่น้ําตาปี ซึ่งหล่อเลี้ยงผืนแผ่นดินภาคใต้ ตอนกลาง 

ลักษณะภูมิอากาศ
          ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบคาบสมุทร มีฝนตก เกือบตลอดปี ฤดูฝนจะเริ่ม ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และ ตกหนักในเดือนตุลาคมถึง ธันวาคม ฝนจะเริ่มน้อยลงใน เดือนมกราคม ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ถึงเมษายน จัดว่า เป็นระยะฝนทิ้งช่วงโดยตก น้อยกว่าเดือนอื่น ๆ อุณหภูมิ สูงสุดเฉลี่ยประมาณ ๒๔.๗ องศาเซลเซียส แต่บริเวณ ยอดเขาอาจมีอุณหภูมิลดต่ํา ถึง ๕ องศาเซลเซียส

แผนที่อุทยานแห่งชาติเขาหลวง

                การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติเขาหลวง จากตัวเมืองนครศรีธรรมราช ใช้ทางหลวงหมายเลข ๔๐๑๕ ไปทางอำเภอลานสกา ประมาณ ๒๐ กิโลเมตรจะมีป้ายอุทยานแห่งชาติเขาหลวงขนาดใหญ่ทางขวามือ เดินทางต่อไปอีกประมาณ ๑ กิโลเมตรเศษก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ (น้ำตกกะโรม) สำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปยัง
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาหลวง ที่ ขล. ๔ (น้ำตกกรุงชิง) ใช้ทางหลวงหมายเลข ๔๐๑๖ ผ่านทางเข้าน้ำตกพรหมโลก น้ำตกอ้ายเขียวน้ำตกยอดเหลือง ถึงทางแยกนาเหรงเลี้ยวซ้าย เมื่อถึงบ้านห้วยพานเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๔๑๘๘ รวมระยะทางประมาณ ๖๒ กิโลเมตร มีถนนแยกเข้าสู่หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ อีกประมาณ ๘ กิโลเมตรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อุทยานแห่งชาติเขาหลวง หมู่ ๕ บ้านร่อน ตำบลเขาแก้ว อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ๘๐๒๓๐ โทรศัพท์ ๑ ๗๕๓๕ ๔๘๓๙,
๗๕๓๙ ๑๒๔๐ อีเมล reserve@dnp.go.th


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
อุทยานแห่งชาติเขาหลวง
ที่อยู่
จังหวัด
นครศรีธรรมราช


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2542). คู่มือท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาหลวง. กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2025