คำขวัญ
ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา นราทัศน์เพลินตา |
ปาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน |
นราธิวาส เดิมมีฐานะป็นเพียงอำเภอหนึ่งเรียกว่าอำเภอบางนรา ขึ้นอยู่กับเมืองสายบุรี ซึ่งเป็นเมือง ๆ หนึ่งใน ๗ หัวเมือง ต่อมาได้โอนไปขึ้นกับเมืองระแงะ ซึ่งเป็นหนึ่งในบริเวณ ๗ หัวเมืองเช่นกัน ดังนั้นการที่จะทราบถึงประวัติความเป็นมาของเมืองนราธิวาส จะต้องกล่าวถึง เรื่องราวของเมืองปัตตานี เมืองสายบุรี และเมืองระแงะ ซึ่งเป็นบริเวณหัวเมืองเป็นลำดับติดต่อกันไป ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงรับสั่งให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกทัพหลวงลงมาปักษ์ใต้เพื่อปราบปรามข้าศึกที่จะยกมายังพระราชอาณาเขตทางใต้ เมื่อข้าศึกแตกพ่ายหนีไปหมดแล้วจึงได้เสด็จไปประทับ ณ เมืองสงขลา และได้มีรับสั่งออกไปถึงหัวเมืองมลายูทั้งหลาย ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นกับกรุงศรีอยุธยามาแต่ก่อน ให้มาอ่อนน้อมเหมือนดังเดิม พระยาไทรบุรี พระยาตรังกานู ยอมอ่อนน้อมโดยตี แต่พระยาปัตตานีตั้งแข็งเมืองไม่ยอมอ่อนน้อม จึงได้รับสั่งให้ยกกองทัพลงไปตีเมืองปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๒ เมื่อได้เมืองปัตตานีแล้ว ก็โปรดเกล้าพระราชทานตราตั้งให้พระยาสงขลา (บุญฮุย) เป็นพระยาปัตตานี และให้อยู่ในความกำกับดูแลของเมืองสงขลาต่อไปและตั้งให้เป็นเมืองมนตรี ขึ้นอยู่กับกรุงรัตนโกสินทร์โดยตรง ในระหว่างที่พระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ว่าราชการเมืองปัตตานีอยู่นั้น บ้านเมืองสงบเรียบร้อยเป็นปกติสุขดลอดมา ครั้นต่อมาเมื่อพระยาปัตตานีถึงแก่กรรมลง จึงโปรดเกล้าฯ ให้นายพ่ายน้องชายของพระยาปัตตานี ขึ้นว่าราชการเป็นพระยาปัตตานี และแต่งตั้งให้นายยิ้มซ้าย บุตรพระยาปัตดานี เป็นหลวงสวัสดิภักดี ผู้ช่วยราชการเมืองปัตตานี และได้ย้ายที่ว่าการเมืองปัดตานีจากบ้านมะนา (อ่าวนาเกลือ) ไปตั้งที่บ้านยามู ในระหว่างนั้นพวกชาเห็ตรัตนาวงศ์ฯ และพวกโมเซฟได้เริ่มก่อกวนความสงบสุขของบ้านเมือง โดยคบคิดกันเข้าปลันบ้านพระยาปัตตานี และบ้านหลวงสวัสดิภักดี แต่ก็ได้ถูกตีถอยหนีไปหลบซ่อนตัวอยู่ที่ตำบลบ้านกะลาพอ เขตเมืองสายบุรี นอกจากนั้นเมืองปัตตานีมีอาณาเขตกว้างขวาง และมีโจรผู้ร้ายปลันบ้านเรือนราษฎรชุกชุมยิ่งขึ้น จนเหลือกำลังที่พระยาปัตตานีจะปราบให้สงบราบคาบได้ จึงแจ้งข้อราชการไปยังเมืองสงขลาพระยาสงขลา (เถิ้ยนจ่อง) ออกมาปราบปราม และจัดวางนโยบายแบ่งแยกเมืองปัตตานีออกเป็น ๗ หัวเมือง เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๕ ได้ทูลเกล้าถวายรายชื่อเมืองที่แยกออกไป ประกอบด้วยเมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองยะลา เมืองรามัน เมืองระแงะ เมืองสายบุรี และ เมืองยะหริ่ง ต่อมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ได้มีพระยาปัตตานี (ตนสุหลง) พระยาหนองจิก (ตวนกะจิ) พระยายะลา (ตวนบางกอก) พระยาระแงะ (หนิเดะ) เจ้าเมืองทั้ง ๔ ได้สมคบร่วมคิดกันเป็นกบฏขึ้นในแผ่นดิน จึงโปรดเกล้าให้พระยาเพชรบุรีเป็นแม่ทัพบกออกมาสมทบช่วยกำลังเมืองสงขลา ออกทำการปราบปราม ตั้งแต่เมืองจะนะ เมืองเทพา ตลอดถึงเมืองระแงะ ในระหว่างทำการรบอยู่นั้น พระยาเพชรบุรี และพระยาสงขลา (เถิ้ยนเสัง) พิจารณาเห็นว่าหนิบอสู ชาวบ้านบางปู ซึ่งพระยายะหริ่งแต่งตั้งให้เป็นกรมการเมืองยะหริ่ง ได้เป็นกำลังสำคัญและได้ทำการสู้รบด้วยความกล้ำหาญยิ่ง ด้วยคุณงามความดีอันนี้จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาราชการเมืองระแงะสืบต่อจากพระยาระแงะ (หนิเตะ) ที่หนีไป และได้ย้ายที่ว่าราชการจากบ้านระแงะมาตั้งใหม่ ณ ตำบลตันหยงมัส (อำเภอระแงะในปัจจุบัน) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงให้ยกเลิกการปกครองแบบเก่าเพราะการแบ่งเขตแขวงการปกครองและตำแหน่งหน้าที่ราชการในหัวเมืองทั้ง ๗ ยังก้าวก่ายกันอยู่หลายอย่าง จึงได้วางระเบียบแบบแผนการปกครอง และตำแหน่งหน้าที่ราชการให้เป็นระเบียบตามสมควรแก่กาลสมัย เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ มีประกาศพระบรมราชโองการ ให้แยกบริเวณ ๗ หัวเมือง ออกมาจากมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า "มณฑลปัตตานี" เพื่อให้สะดวกแก่ราชการ และทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน ในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้ย้ายที่ว่าราชการจากเมืองระแงะ ตำบลตันหยงมัส มาตั้งที่บ้านมะนาลอ (บางมะนาวปัจจุบัน) อำเภอบางนรา ส่วนท้องที่เมืองระแงะ และยกฐานะอำเภอบางนรา ขึ้นเป็นเมืองบางนรา มีอำเภอในขตปกครองคือ อำเภอบางนรา อำเภอตันหยงมัส กิ่งอำเภอยะบะ อำเภอสุไหงปาดี กิ่งอำเภอโต๊ะโมะ ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่) ได้เสด็จประพาสมณฑลปักษ์ใต้ เมื่อเสด็จมาถึงเมืองบางนรา ทรงพระราชทานพระแสงราชศัตราแก่เมืองบางนรา และทรงดำริเห็นว่าบางนรานั้นเป็นชื่อตำบลบ้าน และควรที่จะมีชื่อเมืองไว้เป็นหลักฐานสืบไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองนราธิวาส เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๘ (นร+อธิวาส แปลว่าที่อยู่ของคนดี) ในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ได้มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคครั้งใหญ่ และให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นจังหวัด เมืองนราธิวาสจึงเปลี่ยนมาเป็นจังหวัดนราธิวาสดังดังเช่นปัจจุบัน
"เมืองนราธิวาส" ซึ่งหมายถึงที่อยู่ของคนดีหรือที่อยู่อันยิ่งใหญ่ของประชาชน เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๘ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคครั้งยิ่งใหญ่และให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นจังหวัด เมืองนราธิวาสจึงเป็นเปลี่ยนเป็น "จังหวัดนราธิวาส" จากนั้นเป็นต้นมา จังหวัดนราธิวาสมีพื้นที่ประมาณ ๔,๔๗๕.๔๓ ตารางกิโลเมตร หรือราว ๆ ๒,๗๙๗,๑๔๓.๗๕ ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขา หรือ ๒ ใน ๓ ของพื้นที่ทั้งหมด ทางแทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย ลักษณะพื้นที่จะมีความลาดเดียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศ ตะวันออกพื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทย
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือติดต่อกันจังหวัดปัตตานี ในเขตอ้า.ภอสายบุรี อําเภอไม้แก่น และอ่าวไทย |
- ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทย และประเทศมาเลเซีย |
- ทิศใต้ ติดต่อกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย |
- ทิศตะวันตกติดต่อ กันจังหวัดยะลา ในเขตอําเภอบันนังสตา |
การปกครอง
จังหวัดนราธิวาส แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๓ อําเภอประกอบด้วย
๑. อําเภอเมือง |
๒. อําเภอตากใบ |
๓. อำภอสุไหงโก-ลก |
๔. อําเภอสุไหงปาดี |
๕. อําเภอแว้ง |
๖. อําเภอสุคิริน |
๗. อําเภอจะแนะ |
๘. อําเภอศรีสาคร |
๙. อาเราอรือเสาะ |
๑๐. อําเภอระแงะ |
๑๑. อาเภอบาเจาะ |
๑๒. อําเภอยี่งอ |
๑๓. อําเภอเจาะไอร้อง |
แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ
ภาพจาก : ของดีแดนใต้, ๒๕๓๕
พระตําหนักทักษิณราชนิเวศน์
พระตําหนักทักษิณราชนิเวศน์ตั้งอยู่บนยอดเขาตันหยงติดชายทะเลตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองนราธิวาสไปประมาณ ๘ กิโลเมตร สำหรับเป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงค์ เมื่อเสด็จแปรพระราชฐานยังจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลักษณะอาคารประทับก่ออิฐถือปูน ทรงปั้นหยาสมัยใหม่ตามแบบนิยมของภาคใต้ แบ่งเป็นอาคารหมู่บน ซึ่งเป็นที่ประทับและตำหนักของกองราชเลขาฯ และหมู่อาคารล่างอันเป็นที่พักของทหารมหาดเล็ก ในบริเวณมีแปลงทดลองปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ยืนต้น รวมถึงกรงเลี้ยงไก่ฟ้า นก และสัตว์ป่าพันธ์ต่าง ๆ ท่ามกลางแวดล้อมพรรณไม้ ป่าดงดิบ หายากของภาคใต้ และไม้ใหญ่ร่มรื่นสวยงาม ส่วนบริเวณด้านล่างจัดเป็นศูนย์ศิลปาชีพพิเศษ
พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล
พระพุทธรูปทักษิณมิ่งมงคลสีทองปางปฐมเทศนาขัดสมาธิเพชรอยู่บนยอดเขา เป็นศิลปะสกุลช่างอินเดียตอนใต้ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ องค์พระเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยโมเสกสีทอง หน้าตักกว้าง ๑๗ เมตร ความสูงวัดจากพระเกศบัวตูมถึงบัวใต้พระเพลา ๒๔ เมตร ประดับด้วยโมเสคสีทองทั้งองค์โดยบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่พระอุระเบื้องซ้าย ต่อมาทางจังหวัดได้ให้ทางภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันปรับปรุงพื้นที่บริเวณรอบองค์พระ เนินเขาลูกถัดไปมีเจดีย์สิริมหามายาซึ่งเป็นทรงระฆัง เหนือซุ้มประตูทั้ง ๔ ทิศมีเจดีย์รายประดับอยู่ ภายในประดิษฐานพระพรหม บนยอดสุดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ เนินเขาถัดไปอีกลูกหนึ่งเป็นที่ตั้งของอุโบสถ ผนังด้านนอกทั้งสี่ด้านประดับกระเบื้องดินเผาแกะสลัก ด้านหลังเป็นรูปช้างหมอบถวายดอกบัว หน้าบันเป็นรูปนักรบมีเทวดาถือคนโทถวาย
ชายหาดนราทัศน์
ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส ห่างจากศาลากลางจังหวัด ไปตามถนนพิชิตบารุงประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นชายหาดที่มีความยาวไม่ต่ํากว่า ๕ กิโลเมตร ได้รับการดูแลปรับปรุงให้สวยงาม หาดทรายขาวละเอียดสลับกับทิวสนธันร่มรื่นเหมาะสําหรับเป็นที่ พักผ่อนหย่อนใจ ออกกาลังกายและตกปลา ทั้งยังมีร้านค้าไว้คอยให้บริการนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านชาวประมงตั้งอยู่ริมแม่น้ําบางนรา ตรงเวิ้งอ่าวมีเรือกอและหลากสีที่หาดูได้ยากของชาวประมงจอดอยู่มากมาย
หาดอ่าวมะนาว
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตําบลกะลุวอเหนือ ห่างจากตัวเมืองนราธิวาส ไปตามถนนนราธิวาส-ตากใบ ประมาณ ๓ กิโลเมตร มีป้ายบอกชื่อทางเข้าอ่าวมะนาวเลี้ยวซ้ายเข้าไป ๒ กิโลเมตร เป็นหาดทรายที่อยู่ติดกับแนวภูเขา ริมทะเลที่สวยงาม
น้ําตกปาโจ
อยู่ที่หมู่ที่ ๔ ตําบลบาเจาะ อําเภอบาเจาะ อยู่เชิงเขาน้ําค้าง เทือกเขาบูโด ลักษณะน้ําตก ตกจากหน้าผาที่สูงชันมาก เป็นน้ําตกที่พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ มาประทับหลายพระองค์มีพลับพลาที่ประทับชื่อ "ธารทัศน์" มีต้นไม้มีใบสีทองเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
น้ําตกฉัตรวารินทร์
อยู่ห่างจากตัวอําเภอ สุไหงปาดี ๖ กิโลเมตร อยู่ที่เทือกเขาสุไหงปาดีเป็น น้ําตกลดหลั่นลงมาตามโขดหิน เป็นแหล่งกําเนิด ของปาล์มบังสูรย์ และไม้นานาพรรณ
เกาะยาว
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดนราธิวาส อยู่ที่หมู่ที่ ๘ ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ เป็นเกาะที่มีราษฎรอาศัยอยู่มานับร้อยปีมาแล้ว เพราะมีหลักฐานแสดงอย่างชัดเจน คือเสาธงสูงที่สร้างมาประมาณ ๑๐๐ ปี มีสะพานไม้ข้ามจากบระเวณหน้าที่ว่าการอำเภอตากใบไปยังฝั่งเกาะยาว
วัดชลธาราสิงเห
เป็นวัดที่ก่อสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) โดยใช้ศิลปฝีมือแบบไทยปักษ์ใต้ ตั้งอยู่ที่ตําบลเจ๊ะเห อําเภอตากใบห่างจากอําเภอ ๑ กิโลเมตร ในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังมีประติมากรรม ปูนปั้นรูปพระนารายณ์ ๔ กร พระพุทธไสยาสน์และเครื่องถ้วยชามสมัยราชวงศ์ซ้อง
มัสยิด ๒๐๐ ปี
มัสยิดวาดิลฮูเซ็นหรือมัสยิดตะโละ มาเนาะ หรือมัสยิด ๒๐๐ ปี ตั้งอยู่ที่บ้านตะโละมาเนาะ หมู่ที่ ๑ ตำบลลูโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ ห่างจากที่ว่าการอำาเภอไป ๔ กิโลเมตร สันนิษฐานว่าสร้างใน ปี พ.ศ. ๒๓๑๒ มัสยิดสร้างจากไม้ตะเคียนทั้งหลัง มีลักษณะที่พิเศษ คือสร้างเป็นแบบศิลปไทยพื้นเมืองผสมกับศิลปแบบจีน และ
มลายู เป็นอาคาร ๒ หลังติดกันสวยงามมาก ซึ่งนับว่าผู้สร้างสามารถประยุกต์ศิลปะของ ๓ ชนชาติ ได้อย่างกลมกลืนเหมาะเจาะ สังเกตได้จากรูปทรง และการแกะสลักไม้เป็นลวดลายต่าง ๆ
ภาพจาก : ของดีแดนใต้, ๒๕๓๕
ชื่อบ้านนามเมือง
จากการศึกษาค้นคว้าของอาจารย์ประพนธ์ เรืองณรงค์ ปรากฎชื่อบ้านนามเมืิองในจังหวัดนราธิวาสดังนี้
- อําเภอเมืองนราธิวาส
นราธิวาส” เป็นภาษามลายูว่า “เมอนารา” หรือ “เมอนา รอ” ชาวบ้านไทยพุทธออกเสียงเป็นบางนรา หรือบางนาค คําว่า “เมอนารา” มาจากคําว่า “กัวลาเมอนารา” (Kuala Mernara) หมายถึงกระโจมไฟหรือหอคอยที่ปากน้ํา (กัวลา-ปากน้ํา, เมอนารา-กระโจมไฟหรือหอคอย) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ขณะนั้นหมู่บ้านเมอนาราขึ้นกับเมืองสายบุรี ต่อมาทางการโอนหมู่บ้านแห่งนี้ไปขึ้นกับเมืองระแงะ จากนั้นภายหลังหมู่บ้านเมอนารากลายเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น จึงย้ายศาลาว่าการเมืองระแงะมาตั้งที่หมู่บ้านดังกล่าว ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๕๘ มีการปกครองแบบเทศาภิบาล ทางการจึงได้ยกฐานะหมู่บ้านเมอนารา ขึ้นเป็นเมืองนราธิวาส แปลว่าที่อยู่อันกว้างใหญ่ของประชาชน แต่ชาวบ้านมักเรียกเมืองบางนราตามที่เคยเรียกกันมาก่อน ภายหลังเมื่อเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบจังหวัดแล้วจึงยกฐานะนราธิวาสเป็นจังหวัด ส่วนเมืองระแงะลดฐานะลงเป็นอําเภอหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส ส่วนเมืองสายบุรีกลายเป็นอําเภอหนึ่งในจังหวัดปัตตานี
- อำเภอสุไหงโก-ลก
สุไหงโก-ลก หมายถึงแม่น้ำที่คดเคี้ยวเหมือนมีด คำมลายู "สุไหง" หมายถึงแม่น้ำหรือลําคลอง "โก-ลก" หมายถึงมีดอีโต้ มีดยาวใหญ่ มีดงอหรือมีดครก (ของชาวใต้) ส่วนสุไหงปาดี หมายถึงแม่น้ำที่ใช้ลําเลียงข้าวเปลือก (สุไหงคือแม่น้ำหรือลําคลอง ปาดีคือข้าวเปลือก) สุไหงโก-ลก เป็นคํามลายูคือ “สุไหง” หมายถึง แม่น้ําหรือลําคลอง ส่วนคําว่า “โก-ลก” หมายถึง มีดอีโต้, มีดยาวใหญ่ มีดงอหรือมีดครกของ ชาวใต้ เมื่อนํามารวมความแล้วเป็น “สุไหงโก-ลก” หมายถึง แม่น้ําที่คดเคี้ยวเหมือนมีดดังกล่าวนอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับนิทานพื้นบ้านเรื่องการติดตามช้างงาดํา ดังมีเรื่องเล่าว่า....ในการติดตามช้างงาดํานั้นปรากฏว่ามีดโค้งงอของควาญช้างได้ตกหายลงในแม่น้ําแห่งนี้ จึงเรียกที่ตรงนั้นว่าสุไหงโก-ลก บ้างก็ว่า เมื่อ ๗๐-๘๐ ปีก่อน มีชาวจีนชื่อโก-ลก มาตั้งถิ่นฐานที่ริมแม่น้ํานี้เป็นคนแรก... ในสมัยนั้นสุไหงโก-ลก ขึ้นอยู่กับอําเภอสุไหงปาดี มีผู้คนไม่มากนัก ต่อมาเมื่อมีการสร้างทางรถไฟสายใต้มาสุดทางที่สุไหงโก-ลก ประกอบกับกํานันวงศ์ ไชยสุวรรณ บุกเบิกพัฒนาสุไหงโก-ลกในช่วงแรก จนกลายเป็นชุมชนใหญ่โตขึ้นมาตามลําดับ ต่อมาสุไหงโก-ลกได้ยกฐานะขึ้นมาเป็นอําเภอสําคัญอําเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิวาส มีเขตแดนติดกับเขตแดนมาเลเซียที่หมู่บ้าน “รันตูปันยัง” (Runtau Panjang) สุไหงโก-ลก ยกฐานะขึ้นเป็นอําเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖
- อำเภอตากใบ
จากประวัติศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ไทยเราได้เสียดินแดนหัวเมืองมลายูให้แก่อังกฤษ โดยเฉพาะรัฐกลันตันซึ่งมีอาณาเขตถึงบ้านตากใบ บ้านตาบา ตําบลเจ๊ะเห แต่ด้วยการอ้างหลักฐานสําคัญคือ วัดชลธาราสิงเห ทําให้อังกฤษไม่สามารถล่วงล้ําเข้ามาถึงฝั่งบ้านตากใบได้ ต่อมาในรัฐบาลไทยได้ประกาศตั้งตําบลเจ๊ะเหเป็นอําเภอตากใบขึ้นตรงกับจังหวัดนราธิวาส ตากใบมาจากคำว่า "ตาบัล" เป็นค่ามลายู หมายถึงกลองหรือหมายถึงตากใบเรือหรือที่พักเรือ เพราะเป็นบริเวณที่กําบังคลื่นลมได้ดีตากใบ จึงหมายถึงตากใบเรือหรือที่พักเรือ เช่น เรือสําเภา
- อำเภอสุคิริน
สุคิริน หมายถึงภูเขาทองเพราะพื้นที่แถบนี้มีสายแร่ทองคําใต้พื้นดิน ที่ต่อเนื่องมาจากตันหยงมัส (แหลมทอง) เขตอำระแงะ อำเภอสุคิรินจึงมีชื่อหมู่บ้านให้ความหมายเป็นทอง เช่น บ้านสายทอง บ้านธารทอง บ้านชุมทอง บ้านทรายทอง บ้านแหลมทอง เดิมอำเภอสุคิริน เรียกกิ่งอําเภอปาโจ (ปาโจะคือน้ำตก) ขึ้นกับอำเภอโต๊ะโมะ ต่อมาถูกยุบเป็นตําบลโต๊ะโมะ (โต๊ะโมะหมายถึงผู้อาวุโส) คำว่า "สุคิริน" หมายถึงภูเขาทอง เพราะพื้นที่แถบนี้จะมีสายแร่ทองคําอยู่ ใต้พื้นดินต่อเนื่องมาจากตันหยงมัส คําว่า “ตันหยง” แปลว่าแหลม ส่วนคําว่า “มัส” แปลว่าทอง เมื่อรวมความแล้วจึงหมายถึงแหลมทอง ด้วยเหตุนี้ในอําเภอระแงะ อําเภอสุคิริน จึงมีชื่อหมู่บ้านที่มีความหมายว่า ทอง เช่น บ้านสายทอง บ้านธารทอง บ้านชุมทอง บ้านทรายทอง และบ้านแหลมทอง ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ อําเภอสุคิริน เดิมเรียกว่ากิ่งอําเภอปาโจ (ปาโจคือน้ําตก) ขึ้นกับอําเภอโต๊ะโมะ ต่อมาภายหลังอําเภอโต๊ะโมะถูกยุบเป็นตําบล เนื่องจากสถานที่ตั้งของกิ่งอําเภอปาโจมีฝรั่งเศสมาขอสัมปทานทําเหมืองแร่ ทองคํา ในเขตนั้นและมีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่น ทางราชการจึงจัดตั้งกิ่งอําเภอดังกล่าวขึ้น เพื่อดูแลผลประโยชน์ด้านการจัดเก็บภาษีอากร ครั้นเกิดสงครามอินโดจีนชาวฝรั่งเศสจําเป็นต้องทิ้งเหมืองแร่ เพื่อหนีภัยสงคราม ต่อมามีคนไทยเข้าไปดําเนินงานแทน แต่ภายหลังก็ต้องล้มเลิกกิจการ ทําให้คนไทยที่อยู่บริเวณนั้นต้องอพยพออกไป ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๘๔ กิ่งอําเภอปาโจจึงถูกยุบลงโดยปริยาย หลังจากนั้นทางการได้แยกท้องที่ตําบลมาโมงและตําบลสุคิรินในอําเภอแว้งออก และจัดตั้งเป็นกิ่งอําเภอสุคิริน ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ชื่อกิ่งอําเภอนี้เดิมเป็นชื่อตําหนักที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานให้เมื่อคราวเสด็จประทับแรมที่นั่นในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ทางการจึงได้ยกฐานะขึ้นให้เป็นอําเภอสุคิริน ในเขตอําเภอสุคิรินมีตําบลหนึ่งชื่อโต๊ะโมะ หมายถึงผู้อาวุโสควร แก่การนับถือที่มีชื่อว่าโมะ แต่ก็มีบางคนบอกว่าโต๊ะโมะ มาจากคําว่า “กะ เต๊าะเมาะ” มีความหมายว่าทุบตีแม่ เนื้อเรื่องของกะเต๊าะเมาะมีลักษณะคล้ายกับเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ของจังหวัดยโสธร แต่กะเต๊าะเมาะจะเป็นการกล่าวถึงลูกชายหาทองคําจนหิวข้าว เมื่อแม่นําอาหารมาให้เลยเวลาจึงพาลโกรธแม่พร้อมกับใช้เลี้ยงสําหรับร่อนแร่ทุบตีแม่อย่างน่าอนาถ แต่ผลกรรมเป็นอย่างไรนั้น นิทานไม่ได้กล่าวถึงในอดีตโต๊ะโมะเป็นแหล่งแร่ทองคํามีชื่อเสียงคู่กับบางตะพานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้เข้ามาขอสัมปทานทําเหมืองแร่ทองคําที่โต๊ะโมะในยุคแรก คือกลุ่มคนจีนฮกเกี้ยน นําโดยฮิวชิ้นจิ๋ว และต่อมาบุตรชายชื่อจีนอาฟัด ได้สืบทอดกิจการต่อภายหลัง จีนอาฟัด ได้เป็นขุนวิเศษสุวรรณภูมิ ท่านขุนผู้นี้ก็คือบิดาของ ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ นักเขียนที่ใช้นามปากกาว่า “พนมเทียน
- อำเภอแว้ง
คำว่าแว้ง มาจากคํามลายูว่า “ราแวง” (Rawang) หมายถึงหนองหรือบึง แว้งคําไทยภาษาถิ่นใต้ หมายถึงมะเขือพวง แต่บ้างก็ว่าแว้ง มาจากคำว่า "โต๊ะแว้ง" ซึ่งเป็นมุสลิมมาจากอําเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี และไปตั้งหลัก ปักฐานจนเป็นที่นับถือของผู้คนที่นั่น เดิมอําเภอแว้งชื่ออําเภอโต๊ะโมะ จัดตั้งเป็นอําเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้ย้ายที่ว่าการอําเภอมาตั้งที่บ้านแว้ง จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๒ จึงได้เปลี่ยนจากอําเภอโต๊ะโมะเป็นอําเภอแว้งมาจนทุกวันนี้ ส่วนตําบลโต๊ะโมะในปัจจุบัน เป็นตําบลหนึ่งอยู่ในเขตอําเภอสุคิริน
- อำเภอระแงะ
ระแงะเป็นคํามลายูว่า “เลอะเคะ” (Legeh) หมายถึงต้นน้ํา ต้นลําธาร อําเภอระแงะอยู่ใกล้ภูเขา จึงเป็นแหล่งต้นน้ํา โดยเฉพาะบ้านซิโป ตันหยงมัส ซึ่งมีพันธุ์ลองกองขนานแท้อยู่ที่นั่น ระแงะเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองที่แยกออกจากเมืองปัตตานี เมืองระแงะเดิมอยู่ที่บ้านตันหยงมัส ช่วงมีการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ระแงะมีฐานะเป็นอําเภอ และตั้งที่ว่าการอําเภออยู่ที่บ้านร่อนจึงมีชื่อว่าอําเภอร่อน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้ย้ายที่ว่าการอําเภอมาตั้งที่ บ้านตันหยงมัส จึงเปลี่ยนเป็นอําเภอตันหยงมัส จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๘๑ จึงได้เปลี่ยนเป็นอําเภอระแงะมาจนทุกวันนี้
- อำเภอบาเจาะ
บาเจาะ มาจากคํามลายูว่า “เป็นจะห์” หมายถึงหนองน้ํา หรือมาจากคําว่า “มือเจาะ” หมายถึงที่ชื้นแฉะ หรือที่มีน้ําซึมอยู่เสมอ เดิมมาเจาะเป็นส่วนหนึ่งของสายบุรี ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้ยกฐานะเป็นกิ่งอําเภอจําปากอและเป็นอําเภอจําปากอตามลําดับ “จําปากอ” หรือ “จือปากอ” หมายถึงชื่อต้นดอกจําปา (บุหงาจําปา กอกนิ่ง) หรือต้นดอกจําปี (บุหงาจําปากอปูเต๊ะฮ์) ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้ เปลี่ยนชื่อจากอําาเภอจําปากอ เป็นอําาเภอบาเระเหนือ (บาเระคือแถวหรือแนว) แล้วย้ายที่ว่าการอําเภอไปตั้งที่ตําบลบาเจาะ จากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็นอําเภอบาเจาะ ขึ้นกับจังหวัดนราธิวาสมาจนทุกวันนี้
- อำเภอรือเสาะ
รือเสาะ เป็นคํามลายูหมายถึงไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง เป็นไม้เนื้อดีอย่างไม้สัก ยิ่งอ คํามลายูว่าเยอะริเงาหรือเย้องอ (Jeringau) หมายถึงพืชคล้ายต้นแฝก เดิมเรียกบ้านซากอ หมายถึงต้นมะกล่ำ ในอดีตรือเสาะเป็นเพียงตําบลขึ้นกับอําเภอระแงะ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้จัดตั้งเป็นกิ่งอําเภอตะมะหงัน (ตะมะหงันหรือตามัน หมายถึงสวน ดอกไม้) ต่อมาย้ายที่ทําการกิ่งอําเภอมาตั้งที่ตําบลรือเสาะ เรียกว่ากิ่งอําเภอรือเสาะ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๘๒ ทางการจึงได้ยกฐานะเป็นอําเภอรือเสาะมา จนทุกวันนี้
- อำเภอจะแนะ
คำว่า “จะแนะ” เป็นคํามลายูมีความหมายว่าที่น้ําตื้น หรือมาจากคําว่า "ชื่อแนะ" (Sene) หมายถึง ต้นคราม และบ้างก็ว่า จะแนะ หมายถึง ต้นอ้อ นก ซึ่งเป็นไม้ล้มลุก ขึ้นเป็นกอในที่ชื้นแฉะ มีลําต้นแข็งเป็นปล้องแต่ข้างในกลวง นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าเป็นทํานองนิทานว่า.....มีชาวบ้านคนหนึ่งกําลังไถนาจนกระทั่งเย็นค่ําเขาก็ไม่กลับบ้าน และหายสาบสูญไปอย่างลึกลับ ชาวบ้านพยายามตามหาปรากฏว่าพบแต่หอย (คํามลายูว่ากอแน) ซึ่งมีเสียงร้องอย่างประหลาดว่า “จือแน่ๆ” จากคําว่า จือแน นี้เองต่อมากลายเสียงเป็นจะแนะและกลายเป็นชื่อหมู่บ้านจะแนะมาจนทุกวันนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ทางการได้ยกฐานะเป็นอําเภอจะแนะ
- อำเภอเจาะไอร้อง
เจาะไอร้องเป็นคำที่เพี้ยนจากคํามลายูว่า "เจาะ" หรือ "จาเราะ" หมายถึงลําธารหรือสระน้ำ ไอรองหรือไอร้อง หมายถึงไม่เสมอ เว้า ๆ แหว่ง ๆ รวมความแล้วหมายถึงลําธารคดเคี้ยวเว้าแหว่ง อําเภอนี้เพิ่งแยกออกจากอําเภอระแงะ และจัดตั้งเป็นอําเภอเจาะไอร้อง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ “เจาะไอร้อง” เป็นคํามลายู “เจาะ” หรือ “จาเราะ” หมายถึงลําธาร หรือสระน้ําที่มีฝั่งคดเคี้ยวเว้าแหว่ง ซึ่งมีบางท่านอธิบายว่า เจาะ” หรือ “จาเราะ" หมายถึงลําธาร “ไอ” มาจากคําว่า อาย-เอ หมายถึงน้ํา ส่วนคําว่า “ร้อง” หรือ “รอง” กลายเสียงมาจากคําว่าอลอ (Alou) หมายถึงร่องน้ํา ดังนั้นภาษาเขียน “เจาะไอร้อง” จึงเขียนตามเสียงคําไทยมากกว่าเสียงคำมลายู
- อำเภอยิ่งอ
ยิ่งอ เป็นคํามลายูว่า “เย้อเงา” หรือ “เย้อเงอ” (Jeringau) หมายถึงพืชคล้ายต้นแฝก มีหัวเอามาใช้ทํายา แต่บางคนก็เรียกว่าว่านน้ํา เพราะมักขึ้นตามริมฝั่งแม่น้ําเดิมยี่งอเป็นแขวงขึ้นกับเมืองสายบุรี ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ สายบุรีขึ้นกับเมืองบางนราหรือเมืองนราธิวาส ยิ่งอจึงขึ้นกับเมืองบางนราด้วย ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ทางการยกฐานะเป็นอําเภอยี่งอ และขึ้นกับนราธิวาสมาจนทุกวันนี้
- อำเภอศรีสาคร
ศรีสาครเดิมเรียกบ้านซากอ ซึ่งเป็นคํามลายู “ซากอ” หมายถึงต้นมะกล่ํา ต่อมาทางการเปลี่ยนเป็นคําบาลีสันสกฤตว่า “ศรีสาคร” โดยมีเค้าเสียงคําเดิมอยู่บ้าง “ศรีสาคร” หมายถึงท้องถิ่นที่มีแม่น้ําหรือทะเลเป็นศรีสง่า ต่อมาทางการได้ยกฐานะเป็นอําเภอศรีสาครเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒
- อำเภอสุไหงปาดี
สุไหงปาดี หมายถึงแม่น้ําที่ใช้ลําเลียงข้าวเปลือก คําว่า “สุไหง” แปลว่าแม่น้ําหรือลําคลอง ส่วนคําว่า “ปาดี” แปลว่าข้าวเปลือก มีเรื่องเล่ากันว่า....สมัยนั้นสองฝั่งแม่น้ําของสุไหงปาดีเป็นแหล่งปลูกข้าวข้าวเปลือกไปขายยังท้องถิ่นอื่น ๆ ได้ด้วยการใช้เรือ สุไหงปาดีได้ยกฐานะขึ้นเป็นอําเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ขึ้นกับเมืองระแงะ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ขึ้นกับจังหวัดนราธิวาส
ภาสกร สุพรรณพันธุ์ ... และคนอื่น ๆ . (2543). นราธิวาส : NARATHIWAT Thailand. นราธิวาส : สำนักงานจังหวัดนราธิวาส.
ศิรินทร์ รอมาลี. (2557). จังหวัดนราธิวาส. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 63 จาก, https://sites.google.com//site/changwatnarthwas/canghwad-na-ra-thi-was/home