ภาพจาก http://www.runwaythailand.com/ |
วัดเวียง เป็นวัดโบราณอีกวัดหนึ่งของชุมชนไชยา ตั้งอยู่บนสันทรายขนาดใหญ่เรียกว่าสันทรายไชยา บริเวณนี้เชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของเมือง มีวังที่ประทับของกษัตริย์สมัยศรีวิชัย โดยมีวัดเวียงเป็นวัดประจำเมือง ที่นี่มีโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่น พระพุทธรูปปางนาคปรกสำริด ปางมารวิชัย และพระพุทธรูปศิลาทรายแดงสมัยอยุธยาและยังมีสิ่งก่อสร้างสำคัญ ๆ เช่น อุโบสถ วิหาร สร้างตั้งแต่สมัยพระอธิการลือ อดีตเจ้าอาวาส นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านให้ได้ศึกษากันอีกด้วย วัดเวียงเป็นวัดโบราณเก่าแก่มากที่สุดวัดหนึ่ง มีเนื้อที่ ๑๕ ไร่ ๓ งาน ๙๐ ตารางวา ตั้งอยู่บนสันทรายขนาดใหญ่ เรียกว่า “สันทรายไชยา” มีความยาวจากทิศเหนือไปทางทิศใต้ประมาณ ๔ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๕๐๐ เมตร แนวสันทรายทางทิศเหนือ เป็นที่ตั้งของชุมชนบ้านเวียง ถัดลงไปทางใต้เป็นที่ตั้งของชุมชนบ้านวัดหลง บ้านวัดแก้ว และบ้านวัดนบ ไปจรดเขาน้ำร้อนอันเป็นภูเขาหินปูนขนาดเล็ก บริเวณที่ตั้งวัดเวียงเชื่อกันว่าน่าจะเป็นศูนย์กลางของเมืองหรือเป็นวังที่ประทับของกษัตริย์ศรีวิชัย โดยมีวัดเวียงเป็นวัดประจำเมือง มีพระพุทธรูปศิลาทรายแดง ๗ องค์ เป็นศิลปะช่างอยุธยา (แต่ปั้นโดยช่างสกุลไชยา) โดยระบุว่าในปี พ.ศ. ๑๗๒๖ กล่าวถึงกษัตริย์พระนามว่ากมรเตงอัญมหาราช มีพระบรมราชโองการให้มหาเสนาบดีคลาไนเจ้าเมืองครหิ สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นมา |
ปัจจุบันโบราณสถานของวัดเวียง (ในส่วนของวัดเวียงที่มีภิกษุจำพรรษา) โบราณสถานวัดเวียงในปัจจุบันบางส่วนมีการก่อสร้างวิหารครอบทับตัวโบราณสถานเดิม ทำให้ไม่เห็นร่องรอยเดิมของโบราณสถาน แต่สามารถพบโบราณวัตถุทั่วไปตามพื้น เช่น ชิ้นส่วนทางสถาปัตยกรรม กรอบประตู เป็นต้น และภายในวัดมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไชยาจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านและโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่พบในวัดเวียง โบราณสถานที่ได้บูรณะขื้นใหม่ประกอบด้วย
อุโบสถ
อุโบสถที่สร้างใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุดบนสถานที่เดิม โดยเริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ มีขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๖ เมตร รูปแบบเป็นอาคารทรงไทย โครงสร้าง ค.ส.ล. ทั้งหลัง หลังคา ๓ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบ มีช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์ ผนังก่ออิฐฉาบปูน พื้นหินขัดด้านหน้าและด้านหลัง มีกำแพงแก้วล้อมรอบอุโบสถ เขตพัทธสีมากว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร |
วิหาร
วิหารสร้างมาแต่เดิมโดยพระอธิการลือ อดีตเจ้าอาวาส แต่สร้างขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏ เป็นอาคารไม้ยกพื้นสูงขนาดกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๑๘.๕ เมตร หลังคาลาดลง ๓ ชั้น แบบทรงไทยครึ่งปั้นหยาครึ่งมนิลา มีช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์ หน้าบันไม้แกะสลักลวดลายไทยปิดทองและประดับกระจก ได้ทำการบูรณะซ่อมแซมบางส่วน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ โดยเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาจากระเบื้องซีเมนซ์ เป็นกระเบื้องสีลอนเล็ก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้บูรณะซ่อมแซมอีกครั้ง โดยก่อผนังติดตั้งบานประตูหน้าต่างถมพื้นให้สูงขึ้นและลาดพื้นซีเมนต์ใหม่ทั้งหลัง รวมทั้งทำบันไดทางด้านหน้า |
กุฏิอดีตเจ้าอาวาส
กุฏิอดีตเจ้าอาวาสสร้างมาแต่ครั้งไหนไม่ปรากฏหลักฐาน มีขนาดกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๒๐ เมตร เป็นอาคารไม้เนื้อแข็งทั้งหลัง รูปแบบเป็นทรงไทยปั้นหยา หลังคาลาดลง ๓ ชั้น ยกพื้นใต้ถุนสูง ลักษณะเสาเหมือนช้างยืนถ่างขา พื้นปูด้วยไม้เนื้อแข็ง ยกพื้นเป็นเกย ทั้งสองด้าน มีชานผ่ากลางตลอดทั้งหลัง ปัจจุบัน ปรับปรุงเป็นศูนย์บูรณาการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน |
ศาลาการเปรียญ
ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารสร้างใหม่ ชื่อ “ศาลากาญจนาภิเษก” สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วยเงินบริจาคของพลเอกวิมล วงศ์วานิช อดีตผู้บัญชาการกองทัพบก และประชาชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันบริจาคเงินสมทบ รูปแบบเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ เป็นอาคาร ค.ส.ล. ทั้งหลัง กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๕ เมตร ห |
ภาพจาก http://www.runwaythailand.com/ |
พระพุทธรูปนาคปรก สำริด สูง ๑๖๐ เซนติเมตร อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ลักษณะทั่วไปคล้ายพระพุทธรูปนาคปรกในศิลปะขอม แต่มีลักษณะท้องถิ่นอยู่มาก พระพุทธรูปแสดงปางมารวิชัยซึ่งต่างกับพระพุทธรูปนาคปรกศิลปะขอมที่มักแสดง ปางสมาธิ พระวรกายผอม พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระขนงโค้งติดต่อกัน พระเนตรเหลือบมองลงต่ำ พระโอษฐ์หนาอมยิ้ม เม็ดพระศกเป็นก้นหอยขนาดใหญ่ อุษณีษะทรงกลมเรียบมีใบโพธิ์อยู่ด้านหน้า ประทับบนฐานบัวประดับด้วยลายประจำยามทางด้านหน้าและด้านข้าง อยู่บนขนดนาค ๓ ชั้น นาคมีเจ็ดเศียร ที่ฐานพระพุทธรูปมีจารึกอักษรขอมภาษาเขมร กล่าวถึงกษัตริย์ทรงพระนามว่า กมรเตงอัญมหาราชศรีมาตไตรโลกยราชา เมาลิภูษนวรรมเทวะ มีพระบรมราชโองการให้มหาเสนาบดี ตลาไน เจ้าเมืองครหิ สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นมา |
พระพุทธรูปศิลาทรายแดง ศิลปะสมัยอยุธยา สกุลช่างไชยา เดิมอยู่บนวิหารมีทั้งหมด๗ องค์ ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา มี๕ ศิลาจารึก ห่างจากวัดเวียงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว ๔๐ เมตร บริเวณเดียวกับฐานรากศาลพระหมอ พบศิลาจารึก ๒ หลัก ได้แก่ ๒ ศิลาจารึกหลักที่ ๒๔เป็นศิลาแท่งใหญ่ ลักษณะเป็นรูปใบเสมา ทำจากหินชนวน จารึกอักษรขอม ภาษาสันสกฤต๒ ศิลาจารึกหลักที่ ๒๔ สลักบนหินชนวนรูปสี่เหลี่ยม สภาพชำรุด จารึกอักษร ๑ ด้าน มี ๑๕ บรรทัด จารึกอักษรขอม ภาษาบาลี กำหนดอายุจากรูปอักษรราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ |
วัดเวียง. ๒๕๖๒ . สืบค้นเมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๒. จาก http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/chaiya/index.php/th/ |
|