พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับการพัฒนาจังหวัดสงขลา
 
Back    04/07/2023, 13:25    518  

หมวดหมู่

จังหวัด


ประวัติความเป็นมา


              พระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่มีต่อจังหวัดสงขลา มีมากพ้นเกินที่จะพรรณนาได้ มีมากทั้งที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้วยพระองค์เอง และที่ทรงมอบหมายให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพาร ปฏิบัติราชการแทนพระองค์ มีทั้งที่เป็นพระราชประสงค์ พระราชดำริ พระบรมราโชวาท โครงการตามพระราชประสงค์ โครงการหลวง โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ และโครงการตามพระราชดำริ มีทั้งส่วนที่เป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อราษฎร องค์กร ชุมชน และราชการ จึงขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมนำมากล่าวโดยสังเขป ดังนี้
             ๑. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประกอบพระราชกรณียกิจที่จังหวัดสงขลาในการเสด็จเยี่ยมราชฎร วัด และมัสยิด และหน่วยงานต่าง ๆ  ในปี พ.ศ ๒๕๐๒           
             - ระหว่างวันนี้ ๑๗ - ๑๙ และ ๒๑ - ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในคราวเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรภาคใต้ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรที่จังหวัดสงขลา ประทับแรม ณ ตำหนักเขาน้อย ทรงเยี่ยมราษฎรอำเภอรัตภูมิ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอเมืองสงขลา อำเภอ สะเดา อำเภอนาทวี เสด็จพระราชดำเนิน ใปศาลจังหวัดสงขลา ประทับฟังการ พิจารณาคดีบนบัลลังก์ เสด็จฯ ไปยังวัด มัชฌิมาวาสวรวิหาร ทรงประกอบพระราช พิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระราชบิดากรมหลวงสงขลานครินทร์ เสด็จฯ ไปยังท่าเรือเทศบาลเมืองสงขลา เสด็จฯ ลงประทับเรือยนต์พัทลุง ทอดพระเนตรการแข่งเรือประมงในทะเลสาบสงขลา ทอดพระเนตรภูมิประเทศของทะเลสาบสงขลา ทอดพระเนตรกิจการยางที่สถานียางคอหงส์ เสด็จฯ ไปเยี่ยมค่ายเสนาณรงค์ทอดพระเนตรกีฬาชนโค และการแสดงโนราของโรงเรียนสตรีประจำจังหวัด ทรงถ่ายภาพยนตร์การแสดงโนราแบบต่าง ๆ ของจังหวัดสงขลา เป็นต้น โดยมีเรือนับร้อยลอยลำในทะเลสาบสงขลา ห้อมล้อมเรือพระที่นั่ง “พัทลุง” ในวันเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคทอดพระเนตรทะเลสาบสงขลา ชาวประมงตำบลบ้านหัวเขาแต่งซุ้มถวายกลางทะเลติดพระบรมนามาภิไธย “ภ.ป.ร.” และ “ส.ก.” ระหว่างตัวอักษร “จงทรงพระเจริญ” ข้างล่างมี เครื่องหมายศาสนา ๒ ศาสนา คือพระพุทธศาสนาและศาสนาอิสลามไร้ข้างละด้าน
                      ประพาสทะเลสาบ
               เมื่อเวลา ๙ น. เศษ วันที่ ๑๙ มีนาคม พระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จลงเรือพระที่นั่งชื่อ “พัทลุง” ประพาสทะเลสาบสงขลาจากท่าเรือ ตลาดสด อัอมไปทางเกาะยอ มีพสกนิกรชาวสงขลาไปคอยเฝ้าชมพระบารมี อยู่ทั้งบนฝั่งและลอยเรืออยู่ในทะเลแน่นขนัด เฉพาะเรือมีร่วมร้อยลำซึ่งดูเหมือนจะมากันหมดทะเลสาบสงขลา มีทั้งเรือเก๋ง เรือแท็กซี่ เรือจับปลา และเรือใบ ทำให้ทะเลสาบสงขลาในวันนั้นน่าดูยิ่งนัก และพอเรือพระที่นั่งออกจากท่าแล่นไปในทะเลสาบ เรือเหล่านั้นบางลำก็พากันตามเสด็จไปเป็นทิวแถวบ้างก็พากันไปออจะชมพระบารมีอยู่ที่ซุ้มกลางทะเล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบันทึกภาพประชาชนตลอดเวลา ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนั้น ทรงแย้มพระสรวลและทรงโบกพระหัตถ์ให้ขณะที่เสด็จผ่านซุ้ม มีพระสงฆ์และผู้ใหญ่ทางฝ่ายอิสลามไปคอยเสาสวดชยันโตและสวดมนต์อยู่ในเรือสองข้างซุ้ม จากนั้นได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรการแข่งเรือซึ่งจัดขึ้นหน้าตลาด
                 บำเพ็ญพระราชกุศล
                อนึ่ง เมื่อเวลา ๑๖ น. เศษ วันที่ ๑๘ มีนาคม เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าและสมเด็จพระราชบิดาเจ้าพ็าฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ ณ วัดมัชฌิมาวาส ณ ที่นั้นมีราษฎรไปคอยเสาทูลละอองธุลีพระบาท แน่นขนัดตามเคย ในโอกาสนี้ราษฎรชาวสงขลา ที่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระราชบิดาได้ทูลเกล้าฯ ถวายไตรรวม ๑๓๒ ไตร เท่าพระชนมายุของสมเด็จพันวัสสาอัยยิกาเจ้าและสมเด็จพระราชบิดาเป็นการโดยเสด็จพระราชกุศล


                     เยี่ยมราษฎร
                เวลา ๑๗ น. เศษ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ ศาลากลางจังหวัด ราษฎรไปเฝ้าประมาณแสนเศษ นายประพันธ์ ณ พัทลุง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้กราบบังคมทูลถึงความชินชมยินดีของราษฎรในการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยี่ยมจังหวัดสงขลา ซึ่งถือว่าเป็นข้าโดยตรงของสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ และประวัติความเป็นมาของขังหวัดสงขลาและการทำมาหากินของพลเมืองและความชื่นชม ในการเสด็จประทับแรมอยู่นานวัน และต่อมาได้ถวายสังข์อยู่บนพานทองราคา ๑๕,๐๐๐ บาท ซึ่งราษฎรและพ่อค้าได้ออกเงินกันจัดชื้อถวาย


                  พระราชดำรัส
               พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสตอบ มีใจความทรงแสดงความ ชื่นชมในการไต้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยี่ยมราษฎร จังหวัดสงขลา ซึ่งนับว่าเป็นจังหวัดที่มีความผูกพันเป็นส่วนพระองค์และทรงชื่นชม ในการที่ราษฎรได้สามัคคีกันขัดการรับเสด็จพระราชดำเนิน เมื่อวันเสด็จถึงรับสั่งว่าความสามัคคีเป็นสิ่งสำคัญชองส่วนรวม หมายถึงการไม่ทำให้การแตกต่างในศาสนาทำให้เสียไป การต้อนรับเสด็จเมื่อวันเสด็จถึงเป็นการแสดงออก ซึ่งความสามัคคีเป็นอย่างดีและความสามัคคีนี้แหละจะนำความเจริญมาสู่ นอกนั้นทรงขอให้ชาวสงขลาประกอบการงานด้วยความพากเพียรและสุจริต เพื่อความเจริญของตนเองและส่วนรวม ทรงจบกระแสพระราชดำรัสด้วยทรงอวยพรให้ทุกคนมีความสุข จากนั้นได้เสด็จฯ ไป ทรงรับของถวายและมีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรที่ไปเฝืาทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ ณ ที่นั้น ในการนี้ราษฎรได้นำของไปทูลเกล้าถวายเป็นจำนวนมากส่วนมากมีผลไม้ สิ่งที่ควรกล่าวคือแก่นมะปริงอายุ ๑๒๐ กว่าปี ซึ่งมีลักษณะต่าง ๆ กันตามธรรมชาติ มีการต่อเติมบ้างเล็กน้อย เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษซึ่งเป็นช่างแกะสลักของนายเป็ด พฤกษ์พงศ์ อายุ ๗๔ ปี ในโอกาสนี้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร และ ม.ร.ว.กิดินัดดา กิดิยากร ซึ่งประสูติและเกิดที่จังหวัดสงขลา ถือว่าเป็นชาวสงขลาโดยกำเนิดได้ทูลเกล้าฯ ถวายของพื้นเมือง เช่น กุ้งไม้ ข้าวเกรียบ ลูกหยี ต้มย่าง นํ้าบูดู  เป็นต้น
                 คอยฝน
        อนึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรที่หาดใหญ่เมื่อเย็นวันที่ ๑๙ นี้ ราษฎรผู้หนึ่งได้ทูลถวายกะรอกดงฝากถึงเจ้าฟ้าชาย ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับราษฎร ถึงเรื่องการทำมาหากินขออย่าให้ท้อถอย ราษฎรผู้หนึ่งทูลถวายส้มและกราบทูลว่า ส้มสุกลูกไม่ดกเพราะฝนแล้ง ในหลวงรับสั่งว่า “คอยฝนก็แล้วกันนะ” ปรากฏว่าตกตอนกลางคืนฝนก็กระหน่ำลงมาเป็นที่อัศจรรย์
                ถวายลูกชาย
                นอกจากราษฎรจะได้ถวายสิ่งของต่าง ๆ แล้ว ยังมีการถวายลูกชาย ซึ่งทรงรับไว้และขอให้เลี้ยงไว้ก่อน ต้องการเมื่อใดจะเรียก ผู้ถวายลูกชายคือนายวินัย และนางสมทรง จิรังกูร สำหรับสัตว์เลี้ยงมีถวายชมดเผือก นกกระตั้ว และนกอย่างอื่นอีกมาก เมื่อเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรชาวหาดใหญ่แล้วในวันรุ่งขึ้นเสด็จฯ ต่อไปยังจังหวัดสตูลมีราษฎรข้าวอิสลาม ข้าวไทย และมลายา มาเสาชมพระบารมีอย่างคับคั่งเช่นเดียวกับแห่งอื่น ๆ

               - วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๐๒ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังอาคารที่ว่าการอำเภอนาทวี ซึ่งปัจจุบันได้ใช้เป็นอาคารสำนักงานเทศบาลตำบลนาทวี 

     


                

                 - วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ 


   


              ๒. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประกอบพระราชกรณียกิจที่จังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ  ๒๕๑๒
              - วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ เสด็จฯ พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ไปทรงเยี่ยมชมกองกำลังทางอากาศเฉพาะกิจและทอดพระเนตรการฝึกทักษิณ ๑๒ ของกองทัพเรือ ณ จังหวัดสงขลา และจังหวัดนราธิวาส


               - วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๙ เสด็จฯ ไปทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระพุทธมงคลบพิตร ณ วิหารพระพุทธมหามงคลบพิตร วัดมหัตตมังคลาราม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา
           - ระหว่างวันนี้ ๒๓-๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙ เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส เพื่อทรงเยี่ยมราษฎร ทรงหาข้อมูลเพื่อช่วยเหลือสงเคราะห์ราษฎร ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลร่วมกับราษฎรทรงติดตามโครงการตามพระราชดำริในจังหวัดนราธิวาส สงขลา ปัตตานี ยะลา นครศรีธรรมราช และจังหวัดสตูล
           - วันที่๒๒ สิงหาคม - ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๐ เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประหับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เพื่อทรงปฏิบัติพระราชภารกิจ เยี่ยมเยียนและสงเคราะห์ ประชาชนในจังหวัด นราธิวาส ยะลา ปัตตานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และจังหวัดตรัง
            - วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐ เสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธียกช่อฟ้าอุโบสถวัดโคกสมานคุณ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
          - วันที่ ๑๙ สิงหาคม - ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เพื่อทรงเยี่ยมเยียนราษฎรและปฏิบัติพระราชกรณียกิจ สงเคราะห์ประชาชนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และสงขลา
           - วันที่ ๑๘ สิงหาคม - ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประหับแรม ณ ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์เพื่อทรงเยี่ยมราษฎร ทอดพระเนตรโครงการตามพระราชดำริ ทรงเยี่ยมวัด มัสยิด และทรงร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนในจังหวัดนราธิวาส สงขลา ยะลา และจังหวัดปัตตานี
        -  วันที่ ๑๙ สิงหาคม - ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เพื่อทรงเยี่ยมเยียนราษฎรและทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ สงเคราะห์ประชาชนในจังหวัดนราธิวาส สงขลา และปัตตานี โดยในวันที่ ๒๔ สิงหาคม เสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธียกช่อฟ้าและทรงตัดลูกนิมิตอุโบสถวัดปลักชายนา ตำบลกลาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
      - วันที่ ๓ กันยายน - ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เพื่อเสด็จทอดพระเนตรโครงการต่าง ๆ ทรงเยี่ยมเยียนราษฎร วัด มัสยิด ในพื้นที่อำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนราธิวาส และสงขลา
           ๓. การเสด็จฯ ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา ดังนี้
           - ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๕-พ.ศ. ๒๕๓๑ เสด็จฯ ไปพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวม ๑๖ ครั้ง (เสด็จทุกปีเว้นปีแต่ พ.ศ. ๒๕๒๕ เพียงปีเดียว) และได้เสด็จฯ ไปพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ จนถึง พ.ศ. ๒๕๓๑ รวม ๑๐ ครั้ง ถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๗, ๒๕๑๘, ๒๕๑๙, ๒๕๒๐, ๒๕๒๑, ๒๕๒๒, ๒๕๒๓, ๒๕๒๔, ๒๕๓๐, และ ๒๕๓๑ การเสด็จพระราชทานดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาเกือบทุกครั้งจะอยู่ในช่วงที่เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เพื่อทรงเยี่ยมราษฎรและทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจสงเคราะห์ประชาชนและทรงติดตาม โครงการตามพระราชดำริในจังหวัดใกล้เคียงอันเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งอนึ่งในการเสด็จพระราชตำ เนินไปพระราชทานปริญญาบัตรทุกครั้ง ทรงพระราชทาน พระบรมราโชวาทแก่ผู้ที่เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร และบางครั้งทรงพระราชทาน พระบรมราโชวาทเป็นพิเศษแก่ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันนั้น ๆ ด้วย พระบรมราโชวาทเหล่านั้นล้วนเป็นพระมหาธึคุณต่อพสกนิกรทั่วไปด้วย จากพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา รวม ๒๖ ครั้ง ดังได้กล่าวมาแล้ว ล้วนมีสารัตถะอันเป็นคุณูปการต่อการทำงานของบัณฑิตและพสกนิกรทั้งมวล เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาสังคมและประเทศ ทรงตอกยํ้าและเสริมพระราชปณิธานและพระราชประสงค์ ที่จะให้ทุกคนปฏิบัติตนตามพระบรมราโชวาทที่ว่า “รู้รักสามัคคี” กล่าวคือให้มีความรอบรู้ เข้าใจงานที่กระทำ ให้มีความรักความศรัทธาต่องานที่กระทำ และให้ยึดความสามัคคีปรองดองในการกระทำผนวกด้วยความชื่อสัตย์ สุจริต และความเป็นผู้มีคุณธรรมเป็นหลักสำคัญ นอกจากนี้บางพระบรมราโชวาทยังเป็นเสมือนบันทึกทางประวัติศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษานั้น ๆ โดยปริยาย เช่น พระบรมราโชวาท นพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๑๕ ที่ว่า....
             “บัดนี้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีบัณฑิตสำเร็จ การศึกษาแล้วเป็นรุ่นแรก นับว่าเป็นความสำเร็จที่สำคัญและมีความหมายอย่างยิ่งสำหรับ ประชาข้นคนทุกคน เพราะทำให้เห็นว่าความพยายามของเราที่จะขยายการศึกษาขั้นอุดมศึกษา ไปให้ถึงจังหวัดภาคใตํได้บรรลุผลและผลนั้น ย่อมคาดหมายได้ว่าจะมีมาถึงการพัฒนาประเทศ ในส่วนรวมต่อไปอย่างแน่นอน” 

                พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๗.....
             “ข้าพเจ้าและพระบรมราชินีมีความยินดีที่ได้มาเยี่ยมมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา เป็นครั้งแรกพร้อมกับมามอบปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยในโอกาสเดียวกัน อันการทำงานนั้นกล่าวโดยสรุปขึ้นอยู่กับความสามารถสองอย่างเป็นสำคัญ ถึงความสามารถในการใช่วิชาการอย่างหนึ่ง กับความสามารถในการสัมพันธ์ติดต่อและประสานงานกับผู้อื่นไม่ว่าในวงงานเดียวกัน หรือต่างวงงานกันอีกอย่างหนึ่ง ทั้งสองประการนี้ย่อมดำเนินควบคู่ไปด้วยกัน และจำเป็นที่จะต้องกระทำด้วยจิตใจที่ใสสะอาดปราศจากอคติ ต้องกระทำด้วยความคิดความเห็นที่อิสระเป็นกลาง ถูกต้องตามหลักเหตุผลจึงจะมีความกระจ่างแจ้งเกิดขึ้น...”
              พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรชองมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๘....
                “ข้าพเจ้าได้พูดกับบัณฑิตให้นำเอาความรู้ ความสามารถ ที่มีอยู่ออกไปใช้ปฏิบัติงานด้านการศึกษาให้เกิดประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองจริง ๆ ด้วยความจุดประสงค์ที่จะสั่งสอนก่ายทอดความรู้ความฉลาดในทางที่ถูกที่สร้างสรรค์แก่เยาวชน ให้อนุชนรุ่นหลังสามารถสร้างตนสร้างส่วนรวมให้มั่นคง และตั้งตัวได้ด้วยความเจริญและก้าวหน้า คราวนี้ขอพูดเรื่องนี้เพิ่มเติมอีกเพียงเล็กน้อยว่า ถ้าเห็นและยอมรับว่าข้อความที่ขีดเส้นใต้เป็นความปรารถนาแท้และตกลงใจจะทำตามแน่นอนแล้ว ก็ขอให้ทำไปไม่ต้องรั้งรอลังเล เพราะท่านมีความรู้ความชัดเจนพร้อมอยู่แล้ว....” 
              พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรซองมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙...

                    “งานใหญ่ ๆ ระดับชาตินั้นไม่ว่าจะเป็นด้านใดสาขาใด ย่อมจะเกี่ยวโยงถึงกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเกี่ยวพันถึงเศรษฺฐกิจด้วยทุกสาขา ผู้ทำงานอย่างนี้ นอกจากจะต้องมีหลักวิชาเทคนิคและความชำนิชำนาญในการลงมือปฏิบัติเป็นพื้นฐานแล้ว ยังต้องมีความรอบรู้ในวิชาการทั่วไป ต้องมีความสามารถในทางมนุษยสัมพันธ์ และต้องมีความเฉลียวฉลาดในหลักการและระบบวิธีปฏิบัติงาน เป็นส่วนประกอบอุดหนุนด้วย จึงจะสามารถนำหลักวิชา ความรอบรู้ และความสามารถในด้านต่าง ๆ มาประกอบกันและใช้ให้สอดคล้องพอเหมาะพอดีกันให้เป็นผลดีได้"
.            พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙ ...
                  “การปล่อยให้ครูเป็นฝ่ายสอนและให้เด็กเป็นฝ่ายเรียนรู้จากครูอย่างที่เคยปฏิบัติกันมาแต่ก่อนนั้น อาจทำให้เด็กขาดความคิดอิสระหรือความคิดริเริ่มไป ควรหัดให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองจะได้ผลมากกว่า”
            พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑...
               “ชาตินั้นเปรียบได้กับชีวิตคนกล่าวตามหลักความจริง คนเราประกอบด้วยร่างกายส่วนหนึ่ง จิตใจส่วนหนึ่ง ทั้งสองส่วนคุมกันอยู่บริบูรณ์ชีวิตต้องอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งทำลายไปชีวิตก็แตกดับ เพราะอีกส่วนหนึ่งจะต้องแตกทำลายไปด้วย ชาติชองเรานั้นมีผืนแผ่นดินและประชากร อันรวมกันอยู่เป็นส่วนร่างกาย มีศิลปวิทยา มีธรรมเนียมประเพณี มีความเชื่อถือและความคิดจิตใจที่จะสามัคคีกันอยู่เป็นปึกแผ่น จึงรวมเรียกว่า “ความเป็นไทย” เป็นส่วนจิตใจชาติไทยเราดำรงมั่นคงอยู่ก็เพราะยังมีทั้งบ้านเมืองและความเป็นไทยพร้อมบริบูรณ์ แต่สำความเป็นไทยของเรามีอันต้องเสื่อมสลายไปด้วยประการใดแล้วชาติก็ต้องสิ้นสูญ"
          พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายนพ.ศ. ๒๕๒๒...
        “การให้การศึกษานั้นกล่าวสั้นถึงความหมาย รวบยอดได้แก่การช่วยให้บุคคลค้นพบวิธีดำเนินชีวิต โดยทางที่ชอบไปสู่ความเจริญสุขตามอัตภาพของตน ๆ ผู้สอนมีหน้าที่ที่จะหาความรู้และวิธีการครองชีวิตที่ดีมาให้ศิษย์ เพื่อให้ศิษย์สามารถเรียนรู้ได้ก้าวหน้าและดำเนินธีริตต่อไปได้ด้วยดีตามทำนองคลองธรรมจนบรรลุจุดหมาย และในการนี้ผู้สอนจะต้องลีวิธีการอันแยบคายทั้งในด้านให้วิชาการและในด้านอบรม ความประพฤติปฏิบัติทุกขั้นตอนโดยลำดับ จึงจะสามารถปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและมีผลสมบูรณ์ กล่าวถึงสามารถให้การศึกษาแก่ศิษย์ได้ครบทุกส่วน” 
                 อนึ่งในวันเดียวกันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิตึ๋ฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เปิดอาคารศูนย์ส่งเสริมภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้ (ต่อมาได้พัฒนาเป็นสถาบันทักษิณคดีศึกษา ณ มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ สงขลา) ด้วยทรงสนพระทัยเป็นพิเศษและมีกระแสรับสั่ง เรื่องเทคโนโลยีพื้นบ้านเกี่ยวกับภูมิปัญญาการใช้แรงอัดของกระบอกขนมจีนชนิดที่ทำด้วยไม้และที่ทำด้วยทองเหลือง ทรงแนะนำ เรื่องการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาชาวบ้าน และมีรับสั่งถามถึงนายฉิ้น อรมุตร นายหนังตะลุงที่ทรงโปรดฯ เป็นต้น ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถมีพระราชเสาวนีย์เรื่องการอนุรักษ์และส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น การแกะรูปหนังของนายประเสริฐ จันทน์วรรณ ผ้าทอพื้นเมือง เครื่องถม หัตถกรรม ย่านลิเภา เป็นต้น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งและเป็นคุณูปการต่อการทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรมพื้นบ้านของสถาบันแห่งนี้


พระราชทานปริญญาแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


พระราชทานปริญญาแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา


           ๔. พระบรมราชานุเคราะห์
         - พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร       มีพระบรมราชานุเคราะห์ต่อพสกนิกร บริบูรณ์ด้วยทศพิธราชธรรม พระองค์ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ พระราชทานข้อแนะนำ ให้เอกชนและหน่วยราชการไปดำเนินการตามกำลังเงิน กำลังปัญญา และกำลังแรงงาน เช่น พระบรมราชานุเคราะห์ โครงการหลวง โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ และโครงการตามพระราชดำริ มีทั้งส่วนที่เพื่อประโยชน์สุขชองพสกนิกรทั้งมวล และแก่ ประชาราษฎร์ชาวจังหวัดสงขลา โดยเฉพาะ เช่น โครงการฝนหลวง โครงการหน่วยแพทย์ เคลื่อนที่ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนา โครงการทฤษฎีใหม่ มูลนิธิทุนการศึกษา โรงเรียน ราชประชานุเคราะห์ เป็นต้น
               เมื่อวันที่ ๒๕-๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ภาคใต้ทั้ง ๑๔ จังหวัด เกิดภัยพิบัติ อันเนื่องจากพายุโซนร้อนพัดผ่าน ยังความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน ของชาวภาคใต้เป็นจำนวนมาก โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ขึ้นโดยใช้กองทุนที่ได้จากการบริจาคของประชาชน และจากการพระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์ไปสงเคราะห์ผู้ประสบภัย และต่อมาได้นำดอกผลจากกองทุนของมูลนิธิสร้างโรงเรียนประถมขึ้น ๑๘ แห่งพระราชทานนามโรงเรียนว่า “โรงเรียนราชประชานุเคราะห์” ในจังหวัดสงขลา มีโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ (โรงเรียนคลองเป็ดเดิม) อยู่ในอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา สร้างเป็นอาคารเรียน ๒ ชั้น ๘ ห้อง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๒๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเปิดโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เมื่อทรงทราบว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ทางโรงพยาบาล ไม่สามารถจะรับไว้เป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลได้ จึงก่อให้เกิดปัญหาด้านที่พักอาศัยของผู้ป่วย และญาติชองผู้ป่วยที่มีฐานะยากจนและมีภูมิลำเนาห่างไกลจากอำเภอหาดใหญ่ มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับทุกฝ่ายหาทุนก่อสร้างอาคารผู้ป่วยและญาติขึ้นในสำนักสงฆํโคกนาว แต่ยังไม่สามารถให้บริการได้เพียงพอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน ๓ แสนบาท เป็นทุนในการก่อสร้างอาคารที่พักผู้ป่วยและญาติเพิ่มเติม ต่อมาได้มีผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลในโอกาสต่าง ๆ รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๒1๘๑๖,๕๗๐ บาท ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีมติให้ใช่ชื่ออาคารหลังใหม่ ซึ่งสามารถรับผู้ป่วยและญาติได้ไม่พ้อยกว่า ๑๔๐ คนว่า “อาคารเย็นคีระ” เพื่อเป็นสิริมงคลและเป็นการแสดงถึงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ซึ่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ขณะทรงพระยศเป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารเย็นคิระ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๑ นอกจากนี้กองทุนดังกล่าวยังเหลืออยู่เป็นจำนวนเงิน ๑,๐๒๖,๐๕๐ บาท คณะกรรมการมีมติให้จัดตั้งเป็น “กองทุนอาคารเย็นศิระ” เพื่อใชในการช่อมแชมและบำรุงรักษาต่อไป ทั้งนี้ด้วยเดชะพระบารมีและพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
         ๕. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
           - หลังจาก
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ครองราชสมบัติในระยะแรก ๆ ได้เสด็จพระราชดำเนินเพื่อเยี่ยมเยียนราษฎรในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วทุกจังหวัดในปี พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๕๐๒ ทรงพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังอัตดัตขาดแคลนในทุกด้าน ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่วงใยในทุกข์ของอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างล้นพ้น การได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนพสกนิกรโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทยากจนห่างไกลและทุรกันดารทั่วทุกภูมิภาค ในการศึกษานอกพระราชฐานและจากการที่เสด็จพระราชดำเนินไปคลุกคลีกับประชาชนอย่างใกล้ชิด ทำให้ทรงรับรู้และได้ทรงสร้างสม “พระคลังข้อมูลด้านการพัฒนา” ด้วยพระองค์เองและทรงมีพระปณิธานที่ทรงจำ ต้องพระราชทานความช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นการด่วน จึงทรงสนพระราชหฤทัยด้านการพัฒนาที่ดิน การส่งนํ้าและการพัฒนาการเกษตร ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้คนในชนบทสามารถช่วยตนเองให้พออยู่พอกิน สามารถพึ่งตนเองและมีฐานะมั่นคง พระมหากรุณาธิคุณ จึงเริ่มต้นจากโครงการตามพระราชประสงค์ ได้แก่โครงการที่ทรงศึกษาทดลอง ปฏิบัติเป็นการส่วนพระองค์ ตลอดจนทรงปรึกษาหารือกับผู้ชำนาญการเฉพาะด้านนั้น ๆ ทรงดัดแปลงแก้ไขวิธีการต่าง ๆ ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการทดลองดำเนินงานจนกระทั่งทรงแน่พระราชหฤทัยแล้วว่าจะเกิดประโยชน์แก่ประชาชน จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นโครงการตามพระราชดำริ
         - โครงการตามพระราชดำริ หมายถึงโครงการที่ทรงวางแผนพัฒนา และทรงเสนอแนะ ให้ทางรัฐบาลเช้าร่วมตำ เนินงานตามพระราชดำริ โดยมีหน่วยงานของรัฐ ทั้งด้านพลเรือน ตำรวจ หรือทหารเข้าร่วมดำเนินงานตามแนวพระราชดำริด้วยพระวิริยะอุตสาหะที่ทรงอุทิศเวลาเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรตาม ห้องถิ่นทุรกันดารทั่วทั้งประเทศประมาณปีละ ๒๐๐ วัน เมื่อทรงพบปัญหาทุกข์ยากของประชาชนเรื่องใด ก็พระราชทานพระราชดำริให้ฝ่ายราชการรับไปพิจารณาอย่างรอบคอบ หากเห็นว่าเหมาะสมจึงดำเนินการตามพระราชดำริได้พระองค์มีพระราชดำรัสอยู่เสมอว่า "พระราชดำริของพระองค์เป็นเพียงข้อเสนอแนะเท่านั้น เมื่อฝ่ายรัฐบาลได้ทราบแล้วก็ควรศึกษาวิเคราะห์ พิจารณากลั่นกรองเสียก่อนตามหลักวิชาการ เมื่อมีความเป็นไปได้สูงและเกิดประโยชน์คุ้มค่าและเห็นสมควรทำประการใดก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาตัดสินใจเอง หากวิเคราะห์แล้วเห็นว่าไม่เหมาะสมก็ลัมเลิกได้"
           โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ สำหรับในจังหวัดสงขลา เริ่มมีโครงการในเขตพื้นที่โดยเฉพาะตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๑ มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในจังหวัดสงขลา เช่น

๑. โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวนาขั้นบันไดในนิคมฯ อำเภอหาดใหญ่ ปีดำเนินการ ๒๕๒๕ (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
๒. โครงการสำรวจดินในโครงการคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง ปีดำเนินการ ๒๕๒๕ (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
๓. โครงการพัฒนาลุ่มนํ้าคลองหอยโข่งและคลองจำ ไหร ปีดำเนินการ ๒๕๒๖ - ๒๕๒๘ (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
๔. โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้าม้นปาลม้ขนาดเล็ก ปีดำเนินการ ๒๕๒๗ (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
๕. โครงการอ่างเก็บนํ้าค่ายเสนาณรงค์ อำเภอหาดใหญ่ ปีดำเนินการ ๒๕๒๘ (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
๖. โครงการอ่างเก็บนำ คลองหลาและคลองหอยโข่ง ปีดำเนินการ ๒๕๒๘-๒๕๔๐ (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
๗. โครงการก่อสร้างสะพานข้ามคลองอู่ตะเภา ปีดำเนินการ ๒๕๒๙ (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
๘. โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของโรงงานหีบนี้ามันปาล์ม ปีดำเนินการ ๒๕๒๘-๒๕๓๐ (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
๙. โครงการปรับปรุงสนามยิงปีนและถนนบริเวณค่ายเสณาณรงค์ ปีดำเนินการ ๒๕๓๐- ๒๕๓๑ (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
๑๐. โครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่ ปีดำเนินการ ๒๕๓๒-๒๕๔๒ (โครงการต่อเนื่อง)
๑๑. โครงการศึกษาทดลองการใช้นํ้ามันปาล์มดิบ อำเภอเทพา ปีดำเนินการ ๒๕๓๓ (ดำเนินการแล้ว)
๑๒. โครงการสวนป่าพระนามาภิไธยสิริกิติ้ (สวนป่าสิริกิตี้) ปีดำเนินการ ๒๕๓๔ (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
๑๓. โครงการใช้นํ้ามันปาล์มดิบและไขสบู่เพี่อเตรียมสารฯ ปีดำเนินการ ๒๕๓๔ (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
๑๓. โครงการใช้นํ้ามันปาล์มดิบและไขสบู่เพี่อเตรียมสารฯ ปีดำเนินการ ๒๕๓๔ (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
๑๔. โครงการฝายคลองกลอยใหญ่ ปีดำเนินการ ๒๕๔๑ (กำลังดำเนินการ)
๑๕. โครงการส่งเสริมการเกษตรในเขตพื้นที่ลุ่มนํ้าปากพนัง ปีดำเนินการ ๒๕๔๑ (โครงการต่อเนื่อง)

     


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับการพัฒนาจังหวัดสงขลา
ที่อยู่
จังหวัด
สงขลา


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

ปรุงศรี วัลลิโภดม...[และคณะ], บรรณาธิการ. (2545). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสงขลา.
             กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024