วัดเจดีย์งามหรือวัดพระเจดีย์งาม ตั้งอยู่ในคาบสมุทรสทิงพระ สร้างมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๓ ร่วมสมัยกับอาณาจักรศรีวิชัย ตามปรากฏในแผนที่ภาพกัลปนาวัดหัวเมืองพัทลุงในสมัยอยุธยาเรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่า "วัดพระไจดีงาม" เป็นวัดที่ขึ้นกับวัดเขียนบางแก้วเมืองพัทลุง แต่เมื่อพิจารณาจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฎภายในวัดแล้ว พบว่ามีการพัฒนาต่อเนื่องกันมาเรื่อยมาจนถึงสมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์ วัดเจดีย์งามหรือวัดพระเจดีย์งาม น่าจะสร้างขึ้นในสมัยใดยังไม่ปรากฎแน่ชัดแต่จากหลักฐานที่ปรากฎทางโบราณคดีสันนิษฐานได้ว่าสร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรื่อง อันเนื่องจากลักษณะของสถาปัตยกรรมคือองค์เจดีย์ น่าจะสร้างมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ต่อมาได้บูรณะและปฏิสังขรณ์เปลี่ยนแปลงให้เป็นแบบทรงลังกา ซึ่งเป็นไปตามแบบแผนรูปแบบการสร้างเจดีย์ที่พระอโนมทัสสีนำมาจากลังกาทวีป และจากหลักฐานที่ปรากฎในตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ภายใต้การปกครองของ "ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช" หรือ "ราชวงศ์ปทุมวงศ์" (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช หรือราชวงศ์ปทุมวงศ์มีที่มาจากกษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรศรีธรรมราชเป็นราชวงศ์หนึ่งของสยาม ที่เคยมีอำนาจปกครองอาณาจักรศรีธรรมาราช ซึ่งปกครองเมืองใหญ่ในคาบสมุทรมลายูจำนวน ๑๒ เมือง เรียกว่าเมือง ๑๒ นักษัตร เมื่ออาณาจักรสุโขทัยเรืองอำนาจและสถาปนาอาณาจักรไทยขึ้นด้านทางภาคเหนือและภาคกลาง ส่วนอาณาจักรศรีธรรมาราช มีอำนาจรุ่งเรืองทางภาคใต้โดยทั้งสองอาณาจักรได้เจริญสัมพันธไมตรีต่อกัน มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมโดยเฉพาะด้านศาสนามีการส่งพระสงฆ์ไปยังอาณาจักรสุโขทัย เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา และจากหลักฐานที่ปรากฎว่าอาณาจักรศรีธรรมาโศกราช ยอมที่เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัยในรัชสมัยของราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ.๑๗๙๒-๑๙๘๑) อาณาจักรศรีธรรมาราชราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชโดยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เริ่มสถาปนาประมาณปี พ.ศ. ๑๘๓๐) พระมหากษัตริย์แห่งปัทมวงศ์ ได้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นใหม่หลังจากที่เสื่อมถอยด้วยอิทธิพล และในเวลาต่อมาก็ได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จึงได้เกิดวัดวาอาราม พระสถูป เจดีย์ ขึ้นทั่วไปตามบ้านเมืองที่ตั้งอยู่สันทราย ศิลปกรรมที่เกิดขึ้นในยุคนี้เป็นการปรับปรุงลักษณะศิลปกรรมของท้องถิ่นภาคใต้ แต่เดิมให้เข้ากับลัทธิและคติทางหินยานที่รับมาจากลังกา จากหลักฐานและนักโบราณคดีได้กล่าวถึงเมืองสทิงพระหรือสทิงปุระไว้ว่าเป็นชุมชนโบราณของภาคใต้รองจากเมืองตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) เป็นเมืองระดับรองเดียวกับเมืองไชยา อาณาเขตของเมืองสทิงพระประกอบด้วยบริเวณโดยรอบทะเลสาบสงขลา โดยที่ทิศตะวันออกกับตะวันตกของทะเลสาบ (ปัจจุบันนี้คืออำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา กับท้องที่อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงคือวัดเขียนบางแก้ว) บริเวณที่เป็นชุมชนโบราณเก่าแก่ที่สุดได้แก่ที่เรียกว่าแผ่นดินบก คือบริเวณตั้งแต่หัวเขาแดงบนฝั่งตรงข้าม กับตัวเมืองจังหวัดสงขลาเรื่อยไปทางเหนือ ผ่านเขตอำเภอสทิงพระ ไปจนสุดเขตอำเภอระโนดเป็นบริเวณที่เป็นเกาะอันเกิดจากการทับถมของซากปะการัง มีลักษณะเป็นสันยาวทอดขึ้นไปทางเหนือ ขนาบด้วยทะเลในปะการัง มีลักษณะเป็นสันยาวทอดขึ้นไปทางเหนือ ขนาบด้วยทะเลในอ่าวไทยทางด้านตะวันออก และทะเลสาบสงขลาทางด้านตะวันตก ผิวดินของเกาะนี้ประกอบด้วยที่สูงและต่ำสลับกันไปที่สูง คือสันทรายหลายสายทอดยาวขนาบไปตามความยาวของเกาะบริเวณสันทรายเหล่านี้เป็นที่ตั้งของแหล่งชุมชนที่เป็นบ้านเป็นเมือง เหตุที่ชาวบ้านเรียกแผ่นดินบกก็เพราะขนาบด้วยน้ำทั้งสองข้างและเคยเป็นบ้านเมืองมาช้านาน
นอกจากนี้แล้วอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ยังได้ให้ความเห็นไว้ว่าชาวเมืองสทิงพระนับถือศาสนาพราหมณ์เป็นหลักมาก่อน สมัยต่อมาจึงเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาแบบมหายานเป็นสำคัญ มีการสร้างเจดีย์ทรงกลมตั้งอยู่บนฐานทักษิณสี่เหลี่ยมและมีเจดีย์ทิศ เช่น เจดีย์ที่วัดเขาน้อย (หัวเขาแดง) วัดสทิงพระ และวัดพระเจดีย์งาม เป็นต้น วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างพระสถูปเหล่านี้ส่วนมากเป็นหินปะการังที่ขุดมาจากใต้ดินย่านแผ่นดินบก ตำบลบ้านเมืองและวัดวาอารามในเขตนี้ มีระบุชื่อในแผนที่แสดงเขตการปกครองสงฆ์ครั้งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีอยู่ในหอสมุดวชิรญาณในการสอบค้นครั้งนี้ พบว่าตำบลบ้านและเมืองยังมีร่องรอยและมีชื่อเรียกตามเดิมจนทุกวันนี้เช่น เมืองสงขลาที่เขาหัวแดง เมืองสทิงพระ เมืองพังยาง ส่วนวัดนั้นประมาณร้อยละ ๖๐ สูญหายไป คงเหลือแต่วัดสำคัญ ๆ ที่ยังคงสภาพมาปัจจุบัน เช่น วัดเขาน้อย วัดเสื้อเมือง วัดสทิงพระ วัดสีหยัง วัดพะโค และวัดพระเจดีย์งาม เป็นต้น วัดและบ้านเมืองตั้งเรียงรายไปบนสันทรายโดยเฉลี่ยมีวัดและสระน้ำจืด ซึ่งขุดใช้มาแต่สมัยโบราณประมาณครึ่งกิโลเมตรโบราณวัตถุโบราณสถาน ที่พบในแผ่นดินบกขณะนี้มีอายุตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ขึ้นไปจนถึงสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖) แสดงให้เห็นว่าเป็นบ้านเมืองอยู่สืบกันมาช้านาน และเมื่อพิจารณาจากลักษณะที่ตั้งที่อยู่ชายทะเล ซึ่งมีอ่าวและทางน้ำที่เรือดินทะเลเข้ามาจอดค้าขายได้ รวมทั้งพบโบราณวัตถุที่เป็นของมาจากต่างประเทศแล้ว ก็กล่าวได้ว่าแผ่นดินบกเป็นย่านค้าขาย ที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย มาแต่สมัยทวารวดี วัฒนธรรมของบ้านเมืองในระยะแรก ๆ ได้รับอารยธรรมอินเดียมีการนับถือศาสนาพุทธ และฮินดูปนกันในทางพุทธมีการสร้างพระเจดีย์ด้วยหินปะการังเป็นรูปทรงกลมตั้งอยู่บ้านฐานสี่เหลี่ยม ซึ่งยังเหลือร่องรอยให้เห็นที่พระเจดีย์ประธานในวัดสทิงพระ วัดพระเจดีย์งาม และวัดเขาน้อย โดยเฉพาะที่วัดเขาน้อยพบรูปยักษ์ปูนปั้นประดับฐานเจดีย์ มีลักษณะคล้ายศิลปะแบบละโว้-หริภุญชัย ที่พบที่ลพบุรีและลำพูนในทางศาสนาฮินดูพบเทวรูปพระนารายณ์สวมหมวกแขกและเศียรเทวรูป ซึ่งเป็นแบบอย่างคล้ายกับแบบทวารวดีในสมัยต่อมาแผ่นดินบก มีวัฒนธรรมเป็นแบบเดียวกันกับวัฒนธรรมศรีวิชัย มีการนับถือพุทธและพราหมณ์ปนกันไป มีขุดพบพระพุทธรูปและเทวรูปแบบศรีวิชัยมากมาย มีการเคารพเทพเจ้าในคติความเชื่อตรีมูรติ อาทิ การขุดสระน้ำใหญ่ เพื่อทำพิธีทางศาสนามีการเจาะสกัดเขาเพื่อทำถ้ำและเทวสถานและตั้งแท่นเทวรูปขึ้นเคารพบูชา ในระยะนี้ศูนย์กลางความเจริญของแผ่นดินบกอยู่ที่เมืองสทิงพระเป็นเมืองท่าที่มีการค้าขายติดต่อกับพวก จีน จาม ญวน และช่าวต่างประเทศอื่น ๆ วัดเจดีย์งามตั้งอยู่ริมถนนทางหลวงสงขลา-นครศรีธรรมราชบ้านเจดีย์งาม หมู่ที่ ๒ ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินที่ตั้งวัด ๖๒ ไร่ ๓ งาน ๙๙ ตารางวา เป็นพื้นที่ราบมีที่สวนและนาล้อมรอบ วัดเจดีย์งามได้ขอเติมชื่อ “พระ” เข้าตามเดิมแล้ว โดยได้รับอนุมัติจากระทรวงมหาดไทยตามหนังสือที่ มท ๐๒๐๘.๒/๒-๓๙๙๘ ลงวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๐ นอกจากนี้วัดพระเจดีย์งามทางราชการยังได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ โดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ เป็นการขึ้นทะเบียนคลุมเขตวัดทั้งหมด แต่ภายหลังได้ลดอาณาเขตเหลือเฉพาะบริเวณโบราณสถาน
วัดเจดีย์งามหรือวัดพระเจดีย์งามเป็นวัดที่มีสำคัญกับชุมชนบ้านเจดีย์และชุมชนใกล้เคียง กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดเจดีย์งาม ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ หน้า ๓๗๑๕ เรื่องประกาศขอบเขตโบราณสถานวัดเจดีย์งาม (เพิ่มเติม) ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๓๑ วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๒๘ หน้า ๑๒๐๘ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๓ งาน ๒๒ ตารางวา มีข้อความไว้ดังนี้คือปี พ.ศ. ๒๔๗๘ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน (วัดเจดีย์งาม) ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ กรมศิลปากรประกาศขอบเขตโบราณสถานเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๓ กรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะเจดีย์ตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งประวัติศาสตร์ และโบราณคดีลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
พระเจดีย์มหาธาตุ
โบราณวัตถุโบราณสถานที่พบในแผ่นดินบกหรือคาบสมุทรสทิงพระซึ่งอยู่ในยุคสมัยรัตนโกสินทร์ขึ้นไปจนถึงสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖) แสดงให้เห็นว่าชุมชนแถบนี้ได้ก่อกำเนิดถิ่นฐานบ้านเรือนและดำรงอยู่สืบมาช้านาน และเมื่อพิจารณาจากลักษณะที่ตั้งที่อยู่ชายทะเลซึ่งมีอ่าวและทางน้ำที่เรือดินทะเลเข้ามาจอดค้าขายได้ รวมทั้งพบโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบบางส่วนก็เป็นของที่มาจากต่างประเทศด้วย จึงกล่าวได้ว่าแผ่นดินบกแห่งนี้เป็นย่านค้าขายที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคใต้ มาตั้งแต่สมัยทวารวดีประเพณีและวัฒนธรรมของบ้านเมืองในระยะแรก ๆ ได้รับอารยธรรมของอินเดีย ผู้คนนับถือศาสนาพุทธและพราหมณ์ฮินดูปนเปกันไป ในทางพุทธศาสนามีการสร้างพระเจดีย์ด้วยหินปะการังเป็นรูปทรงกลมตั้งอยู่บ้านฐานสี่เหลี่ยม ซึ่งยังเหลือร่องรอยให้เห็นที่พระเจดีย์ประธานในวัดสทิงพระ วัดพระเจดีย์งาม และวัดเขาน้อย โดยเฉพาะที่วัดเขาน้อยพบรูปยักษ์ปูนปั้นประดับฐานเจดีย์มีลักษณะกับคล้ายศิลปะแบบละโว้-หริภุญชัย ที่พบที่ลพบุรีและลำพูน และอีกหลาย ๆ ที่ ส่วนในทางศาสนาพราหมณ์ฮินดูฮินดูพบเทวรูปพระนารายณ์สวมหมวกแขกและเศียรเทวรูป ซึ่งเป็นแบบอย่างคล้ายกับแบบทวารวดีในสมัยต่อมาแผ่นดินบกมีวัฒนธรรม ที่เป็นแบบเดียวกันกับวัฒนธรรมศรีวิชัย มีการนับถือพุทธและพราหมณ์ปะปนกันจะเห็นได้จากการขุดพบพระพุทธรูปและเทวรูปแบบศรีวิชัยมากมาย อันเนื่องจากการเคารพเทพเจ้าในคติตรีมูรติของศาสนาพราหมณ์ เช่น มีสระน้ำขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมหรือการเจาะสกัดเขาเพื่อทำถ้ำเพื่อเป็นเทวสถาน มีการตั้งแท่นเทวรูปขึ้นเคารพบูชา ในระยะนี้ศูนย์กลางความเจริญของแผ่นดินบกตั้งอยู่ที่เมืองสทิงพระ เพราะเป็นเมืองท่าที่มีสำคัญมีการติดต่อค้าขายกับจีน จาม ญวน และประเทศอื่น ๆ ตามหลักฐานในทางตำนานประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เป็นต้นมา แผ่นดินบกกลายเป็นบริเวณที่สำคัญแห่งหนึ่งของแคว้นนครศรีธรรมราช ภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์แห่งปัทมวงศ์ หรือศรีธรรมาโศกราช ซึ่งได้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและในเวลาต่อมาก็ได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามา ทำให้เกิดวัดวาอาราม สิ่งปลูกสร้าง เช่น สถูป เจดีย์ ขึ้นทั่วไปตามบ้านเมืองที่ตั้งอยู่สันทราย ศิลปกรรมที่เกิดขึ้นในยุคนี้ เป็นการปรับปรุงลักษณะศิลปกรรมของท้องถิ่นดั่งเดิมให้เข้ากับลัทธิและคติของพุทธศาสนานิกายหินยานที่รับมาจากลังกา สิ่งที่เห็นเป็นเชิงประจักษ์ที่เด่นชัดคือ
๑. ลักษณะพระเจดีย์ รูปทรงยังคงรักษาของเดิมคือเป็นทรงกลมที่ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมก่อสร้างด้วยอิฐ เช่น พระเจดีย์ที่วัดสีหยัง พระเจดีย์เล็กในวัดสทิงพระ พระเจดีย์วัดพังยาง ตลอดถึงรอบ ๆ พระเจดีย์มีพระพุทธรูปรอบฐานพระเจดีย์ เช่น บนเขาพระโคะ โดยเฉพาะฐานพระเจดีย์มีซุ้มและมีช้างอยู่ข้างใน คติการมีช้างประดับฐานได้แบบอย่างมาจากลังกาแต่ว่าลักษณะของซุ้มเป็นแบบศิลปะศรีวิชัย ซึ่งเป็นของในท้องถิ่นแต่เดิม
๒. ลักษณะพระพุทธรูป รับคติพุทธศาสนานิกายหินยานจากลังกาเข้ามา ทำให้มีการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้นเคารพบูชาเป็นแบบอย่างของท้องถิ่น โดยเฉพาะพระพุทธรูปที่พบส่วนมากเป็นปางมารวิชัยพระพักตร์ดุ พระวารกายกระด้างตรง และพระหัตถ์ขวาหักเป็นแบบอย่างของการสร้างพระพุทธรูปในภาคใต้ที่ทำสืบต่อมาจนทุกวันนี้ พระพุทธรูปที่พบในแผ่นดินบกตามวัดต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ที่วัดชะแม วัดเขาน้อย วัดพระเจดีย์งาม เป็นต้น
เจดีย์พระมหาธาตุเป็นเจดีย์ที่ก่อด้วยอิฐปะการัง ทั้งองค์ตั้งแต่ฐานถึงยอดมีปล้องไฉนซึ่งสกัดจากหินปะการัง ทำเป็นวงกลมวางซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้น ๆ จำนวน ๕๙ ปล้อง องค์เจดีย์ฉาบพื้นภายนอกด้วยปูนหอยผสมน้ำผิ้ง (น้ำตาล) การสร้างใช้วิธีการเรียงอิฐแบบไม่สอปูน และไม่มีกรอบซึ่งเทคนิคดังกล่าวเป็นเทคนิคของช่างเฉพาะสมัยศรีวิชัยเท่านั้นส่วนฐานเจดีย์แผนผังเป็นรูปสี่เหลียมผืนผ้า กว้าง ๘.๒๐ เมตร ยาว ๑๒.๒๐ เมตร สูง ๒๐ เมตร มีบันไดขึ้นทางทิศใต้ขึ้นไปถึงชานเวียนรอบองค์เจดีย์ขอบชานมีเจดีย์เล็กทั้ง ๔ มุม ลักษณะพระเจดีย์รูปทรงเป็นทรงกลมที่ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมก่อสร้างด้วยอิฐ ด้านบนเจดีย์มีพระพุทธรูปก่อล้อมรอบเจดีย์ จะพิจารณาได้ว่านอกจากเจดีย์ที่ปรากฎในวัดพระเจดีย์งามแล้ว ยังมีวัดบริเวณใกล้เคียงกัน เช่น พระเจดีย์ที่วัดสีหยัง พระเจดีย์เล็กในวัดสทิงพระ พระเจดีย์วัดพังยาง พระเจดีย์เดิมวัดเขาน้อย ส่วนฐานเจดีย์มีซุ้มและมีช้างปูนปั้นอยู่ข้างใน ซึ่งเป็นไปตามคติความเชื่อของการมีช้างประดับฐานซึ่งได้แบบอย่างมาจากลังกาแต่ในส่วนลักษณะของซุ้มเป็นแบบศิลปะศรีวิชัยและเป็นของในท้องถิ่นแต่เดิม ๆ เพราะฉะนั้นลักษณะของการสร้างเจดีย์ที่มีลักษณะและรูปแบบคล้ายกันนี้ เป็นที่นิยมกันในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ นอกจากนี้เจดีย์วัดพระเจดีย์งามนั้น ศาสตราจารย์ บวสเชอลี เย่ นักโบราณคดียืนยันว่ามีเทคนิคการก่อสร้างแบบศรีวิชัยคล้ายพระบรมธาตุไชยา ยอดเจดีย์ประกอบด้วยปลอกทองเหลือง ๕ ท่อน มีขนาดเล็ก-ใหญ่ตามลำดับ ภายหลังถูกฟ้าผ่าตกลงมา (ขณะนี้เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สงขลา) การสร้างเจดีย์องค์ เจดีย์พระมหาธาตุ เป็นเจดีย์ที่ก่อด้วยอิฐปะการังทั้งองค์ เรียงอิฐแบบไม่สอปูน และไม่มีกรอบซึ่งเทคนิคดังกล่าวเป็นเทคนิคของช่างศรีวิชัย ฐานเจดีย์แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเจดีย์พระมหาธาตุ มีหลักฐานปรากฏว่ามีองค์พระเจดีย์องค์ใหญ่เป็นโบราณสถานที่สำคัญคู่กับวัดและจากลักษณะของศิลปะ และสถาปัตยกรรมขององค์พระเจดีย์ น่าจะสร้างขึ้นราว ๆ พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ครั้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ตรงกับสมัยของสมเด็จพระนเรศวร มีการสร้างเดีย์บริวารล้อมรอบเจดีย์องค์ใหญ่ ตามคติพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ส่วนรอบเจดีย์องค์ใหญ่มีเจดีย์ทิศรูปทางระฆังคว่ำก่อด้วยอิฐปะการังจำนวน ๘ องค์ แทนมรรค ๘ และเจดีย์ทิศบนฐานทักษิณาวรรต ๔ องค์ หมายถึงอริยสัจ ๔ องค์เจดีย์เดิมสันนิษฐานว่าเป็นแบบศรีวิชัยอย่างพระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีและเปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบลังกา คือแบบโอคว่ำหรือโป่งขามอย่างเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช แต่ยังมีอิทธิพลศิลปะศรีวิชัยให้เห็นคือการก่อสร้างเจดีย์บริวารล้อมรอบเจดีย์องค์ใหญ่ ฐานเจดีย์มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๘.๒๐ เมตร ยาว ๑๒.๒๐ เมตร สูง ๒๐ เมตร มีบันไดทางขึ้นทางทิศใต้ เจดีย์องค์ใหญ่มีพระพุทธรูปก่อล้อมรอบเจดีย์ เจดีย์ก่อด้วยอิฐถือปูนสูง ตั้งแต่พื้นดินตลอดยาวประมาณ ๑๘ วา ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ ๗ วา องค์พระเจดีย์ก่อสร้างด้วยหินปะการังล้วนทั้งองค์ ตั้งแต่ฐานถึงยอดปล้องไฉนก็สกัดหินปะการังเป็นวงกลมวางซ้อนกันขึ้นไป มีปล้องไฉนจำนวน ๕๙ ปล้องที่ยอดพระเจดีย์ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ และวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้บูรณะในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยสำนักศิลปกรที่ ๑๓ สงขลา กระทรวงวัฒนธรรม
ขอกล่าวถึงการสร้างพระบรมธาตุที่เป็นพระสถูปขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะทรงกลมและตั้งอยู่บนฐานทักษิณที่มีซุ้มช้างประดับล้อมรอบนั้นว่ากันตามธรรมเนียมแล้วในการสร้างพระบรมธาตุ ที่ปรากฎในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระและบริเวณใกล้เคียงนั้นเป็นอิทธิพลศิลปกรรมที่ได้มาจากเมืองลังกาซึ่งต่อมาเป็นที่นิยมแพร่หลายไปสร้างกันตามท้องถิ่นแถบคาบสมุทรสทิงพระอย่างเช่นในเขตเมืองสทิงพระ ซึ่งขณะนั้นอยู่บนเกาะใหญ่ที่ต่อมาเกิดการทับถมต่อเนื่อง จนเป็นคาบสมุทรปิดกั้นทะเลสาบสงขลาตามแนวสันทรายขอบเขตเมืองนี้ ปรากฎพบพระสูปทรงกลมสี่เหลี่ยมลอกเลียนแบบจากพระธาตุนครศรีธรรมราชหลายองค์ เช่น ที่วัดพระเจดีย์งาม วัดสทิงพระ วัดสีหยัง วัดพะโค เป็นต้นมีการเปลี่ยนแปลงองค์เจดีย์เป็นแบบลังกาคือแบบโอคว่ำ สำหรับพระเจดีย์พระมหาธาตุ วัดพระเจดีย์งาม ก็ได้เปลี่ยนแปลงอย่างเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช แต่ยังสามารถมองเห็นถึงอิทธิพลศิลปะศรีวิชัย คือการก่อสร้างเจดีย์บริเวณล้อมรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่ ซึ่งเป็นคติพุทธศานาลัทธิมหายานรอบเจดีย์องค์ใหญ่ มีเจดีย์ทิศรูปทรงระฆังคว่ำก่อด้วยอิฐจำนวน ๘ องค์ เจดีย์เหล่านี้ชาวภาคใต้ได้สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาหลักพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง จึงได้มีผู้สันนิฐานความหมายไว้ว่าเจดีย์บริวาร ๘ องค์ หมายถึง มรรค ๘ เจดีย์ทิศบนฐานทักษิณาวรรต ๔ องค์ หมายถึงอริยสัจ ๔ เจดีย์องค์ใหญ่ยอดกลางหมายถึงนิพพาน ซึ่งมีความหมายรวมว่าเมื่อเข้าถึงมรรค ๘ รู้อริสัจ ๔ แล้วจึงเข้าถึงนิพพาน ภายหลังเกิดการชำรุดไปตามกาลทางวัดได้ขออนุญาตกรมศิลปากร ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้กะเทาะปูนฉาบของเก่าออกหมด เพราะเสื่อมสภาพจึงทำให้เห็นว่า พระเจดีย์งามองค์ใหญ่ก่อสร้างด้วยหินปะการังทั้งองค์เรียงอิฐไม่สอปูนแบบไม่มีระบบ เป็นเทคนิคของช่างศรีวิชัย อย่างเดียวกับที่พระบรมธาตุไชยา ยิ่งกว่านั้นผนังเจดีย์ทางด้านตะวันออก ยังปรากฏมีรอยประตูที่ก่ออิฐปิดไว้เล่ากันว่า เมื่อก่อนมีประตูเปิดเข้าไปเอาของใช้ให้ชาวบ้านยืมแต่เมื่อยืมไปแล้วทำเสียหายบ้างไม่ส่งคืนบ้าง จึงมีการปิดตายประตูนั้นเข้าใจว่าใต้ฐานพระเจดีย์ยังมีของใช้หรือของมีค่าเก็บรักษาอยู่จนถึงเวลานี้ ในการบูรณะครั้งนั้นมีการซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดอันเนื่องมาจากการงอกของต้นไม้ (ต้นข่อย) เป็นพุ่มใหญ่แล้วมีการฉาบปูนซีเมนต์หุ้มทั้งองค์ เว้นทำรูปใบโพธิ์ที่ผนังทางทิศใต้ ด้านขวามือของบันไดทางขึ้นเพื่อ เปิดให้เห็นแผ่นหินปะการังและวิธีการก่ออิฐไม่มีปูสอ คือไม่ถือปูนที่ยอดพระเจดีย์ประกอบด้วยปลอกทองเหลือง ๕ ท่อนใหญ่เล็กตามลำดับ ภายหลังถูกฟ้าผ่าตกลงมาขณะนี้ปลอกทางเหลือง ๕ ทอนนั้นนำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สงขลา รวมทั้งทางระบายน้ำจากเจดีย์ สกัดจากหินปะการังเป็นรูปเหงือกปลา การบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ซึ่งถือว่าเป็นการบูรณะครั้งยิ่งใหญ่ที่ได้รับความร่วมมือของพุทธศาสนิกชนทั่วไปโดยเฉพาะชาวบ้านเจดีย์งามสะท้อน ให้เห็นความพร้อมเพรียงในการบำรุงรักษาพระศาสนาได้เป็นอย่างดีนั้น คือแนวคิดของพ่อท่านเผือก คนฺธโร เจ้าอาวาสวัดเจดีย์งามในขณะนั้น โดยท่านมีความคิดว่าหากไม่บูรณะพระเจดีย์เสียแล้ว ก็อาจจะชำรุดทรุดโทรมมากยิ่งขึ้น จนอาจเห็นร่องรอยและเสียรูปแบบของสถาปัตยกรรมศรีวิชัย ดังนั้นท่านจึงนัดชาวบ้านเพื่อแจ้งข่าวการบูรณะพระเจดีย์ ท่านตีโพนเป็นเสียงสัญญาณสำหรับเรียกประชุมพระและชาวบ้าน (ซึ่งธรรมเนียมของการตีโพนของวัดเจดีย์งามนั้นจะตีด้วยเหตุผล ๒ ประการคือประการที่ ๑ พระในวัดมรณภาพ ประการที่ ๒ ต้องการแจ้งข่าวหรือประสงค์สิ่งใดสิ่งหนึ่งมิฉะนั้นจะไม่ตี) เมื่อพ่อท่านเผือก คนฺธโร ได้ประชุมชาวบ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านก็เริ่มช่วยกันขนทรายจากหาดบ่อตรุ โดยการส่งยืนส่งต่อกันเป็นถอด ๆ ซึ่งมีระยะมทางกว่า ๑ กิโลเมตร ส่วนชาวบ้านที่มีรถก็นำรถมาขน โดยนำทรายที่ได้มากองไว้หน้าอุโบสถ ท่านได้ตั้งทรายไว้ ประมาณ ๒–๓ ปี เพื่อให้น้ำฝนชะทรายน้ำเค็มให้จืดเสียก่อนจึงจะเริ่มบูรณะพระเจดีย์ได้ มิฉะนั้นอาจทำให้เป็นต้นเหตุน้ำเค็มกัดเป็นสนิมได้ นอกเหนือจากให้ชาวบ้านร่วมขนทรายแล้ว ก็ได้ชักชวนกันบริจาคปัจจัยเพื่อใช้ในการบูรณะองค์เจดีย์ โดยการสมัครสมาชิกครอบครัวละ ๑ บาท หรือ ๒ บาทต่อเดือน ซึ่งรายนามผู้ที่บริจาคก็ยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้ ต่อมาเงินเหลือบางส่วนเหลือจากบูรณะกรรมการวัดได้ลงมติว่าน่าจะบูรณะโรงธรรม โดยการขยายให้ใหญ่กว่าเดิมเพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนทั่วไปท่าทำบุญทั้งเดือน ๕ และเดือน ๑๐ พ่อท่านเผือกก็อนุญาตตามมตินับว่าแนวคิดการบูรณะพระเจดีย์ครั้งนั้นมีประโยชน์มหาศาลต่อการพัฒนาวัด จนกระทั่งปี ๒๕๑๓–๒๕๑๗ วัดเจดีย์งาม ได้รับการยกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
เจดีย์ล้อม ๘ องค์
นอกจากจะมีเจดีย์พระมหาธาตุแล้ว ยังมีพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเรียงรายล้อม ๘ องค์ แต่จะสร้างสมัยใดนั้นยังไม่ปรากฏแน่ชัด แต่เมื่อได้มีการบูรณะเจดีย์พระมหาธาตุแล้วก็เลยบูรณะใหม่ทั้งหมดในคราวเดียวกันเพราะอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมเหมือนกัน ปรากฎว่าพระเจดีย์ทั้ง ๘ องค์ ก่อด้วยอิฐดินเผาไม่ถือปูนไม่มีปูนสอเหมือนกับพระเจดีย์องค์ใหญ่ แถวพระเจดีย์ทางด้านตะวันตกมี ๔ องค์ มีองค์สำคัญที่สุด ๑ องค์ ได้แก่องค์ที่ ๒ นับจากทิศเหนือคงเป็นเจดีย์ที่บรรจุอิฐอดีตเจ้าอาวาส ชาวบ้านเรียกพระเจดีย์องค์นี้ว่า “พ่อท่านเจ้าวัด” หรือ “เจดีย์พ่อท่านเจ้าวัด” เป็นที่เคารพนับถือบูชาของชาวเจดีย์งามทั่วไป มีการบนบานศาลกล่าวขอพรหรือขอความช่วยเหลือตามประสงค์ ก็ปรากฏว่ามีการผลตามที่ต้องการจึงมีการแก้บนกันเป็นประจำ ปรากฏว่ามีผู้ได้รับประโยชน์จากการบนบานจำนวนมากมาย การมาแก้บนด้วยวิธีจุดธูปเทียนและปิดทองกันเกือบทุกวัน ยิ่งวันพฤหัสบดีบางคนเอาผ้าไปพันขึ้นองค์เจดีย์จนเต็มไปหมด ตามตำนานที่เล่าสืบกันมีว่า “พ่อท่านเจ้าวัด” เดิมชื่อว่า “ช่วย” ประวัติของท่านว่าเป็นบุตรของใครไม่มีใครทราบ เพียงแต่ว่าเมื่อท่านได้อุปสมบทแล้วก็อยู่จำพรรษาวัดเจดีย์งามตลอดมา ท่านนั้นเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่องคาถาอาคม ไสยศาสตร์ต่าง ๆ จนเป็นที่ร่ำลือไปทั่ว เล่ากันว่าครั้งสมัยโจรสลัดมลายูคือพวกอุยงตะนะ (อุยงตะนะคือกลุ่มโจรสลัดมาเลย์จากเมืองยะโฮร์ที่ตั้งอยู่ปลายแหลมมลายู) ที่มาจากคาบสมุทรและหมู่เกาะในเขตประเทศมาเลเซียได้ยกเข้ามาปล้นสะดมทรัพย์สิน ตลอดถึงเผาวัดวาอาราม และบ้านเมืองอยู่บ่อย ๆ ทำให้ผู้คนส่วนหนึ่งได้อพยพหลบหนีไปอยู่ที่อื่นเสียก็มาก ส่วนหนึ่งพวกยังอยู่ก็ได้เข้าพึ่งบุญหลวงปู่ช่วยที่วัดพระเจดีย์งาม หลวงปู่ช่วยได้นำคนหนุ่มใจกล้าไปจำนวนหนึ่ง พร้อมด้วยหม้อปูนสีขาวที่ใช้กินกับหมากพลูไปด้วยแล้วท่านก็ทำการสะกดพวกโจรให้หลับแล้วเอาปูน “ลังคอ” หรือ “ทาคอ” ที่หัวหน้าโจรสลัดและลูกน้อง ครั้นเมื่อโจรสลัดตื่นขึ้นมาเห็นปูนสีขาวติดอยู่ที่คอก็รู้ว่าข้าศึกมาถึงตัวได้แล้วแต่ไม่ทำร้าย ทำให้พวกโจรจึงเกิดความหวาดกลัวจึงได้ก็ยกพวกหนีกลับไปหลวงปู่จึงได้นามเรียกขานต่อมาว่า “หลวงปู่ช่วยทุกขราษฎร์” เพื่อชื่อเดิมของท่านชาวบ้านเรียก “พ่อหลวงช่วย” บ้าง “ปู่หลวงช่วย” บ้างเป็นการเรียกตามภาษาถิ่น ถ้าเรียกโดยภาษากลางก็เรียกว่า “หลวงปู่ช่วยทุกขราษฎร์” เมื่อท่านได้มรณภาพลงก็ได้นำอัฐิของท่านมาบรรจุไว้ที่ภายในเจดีย์องค์ที่ ๒ ชาวบ้านเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เจดีย์พ่อท่านเจ้าวัด” เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ท่านพระครูเผือก คนฺธโร เป็นเจ้าอาวาสวัดเจดีย์งาม ได้จัดสร้างพระพิมพ์เนื้อว่านรูปเหมือนท่าน และทำการปลุกเสกอัญเชิญบารมีของ “หลวงปู่ช่วยทุกขราษฎร์” ปรากฏว่ามีความศักดิ์สิทธิ์และปาฏิหาร์ย์มากมาย ล่วงกาลต่อมาก็เป็นที่นิยมและต้องการของบุคคลทั่วไป การสร้างพระพิมพ์หลวงปู่ช่วย พ่อท่านเผือกท่านได้แสวงหาจำนวนว่าน ๑๐๘ ชนิด
พระอุโบสถ
พระอุโบสถหลังนี้ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบทรงไทย มีใบระกา ช่อฟ้า หางหงส์ มีพาไลหน้า–หลัง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสูงชั้นเดียว โครงสร้างหลังคาเป็นไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผาเคลือบสี
หน้าบันพระอุโบสถเป็นรูปเทวด
พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตร
พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเจดีย์พระมหาธาตุฐานเดิมก่อด้วยอิฐดินเผาและอิฐปะการัง ไม่สอปูน ขนาดกว้าง ๗.๘๐ เมตร ยาว ๑๔.๒๐ เมตร ภายในวิหารพระโพธิสัตว์ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิชาวบ้านเรียกกันว่า “พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย” พระโพธิสัตว์ตามคติความเชื่อทางพุทธศาสนามหายานในสมัยอาณาจักรศรีวิชัยมีการนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายานยกย่องพระโพธิสัตว์เป็นสิ่งสำคัญ เช่น ที่ไชยามีการสร้างรูปพระโพธิสัตว์ “อวโลกิเตศวร” ส่วนที่วัดพระเจดีย์งามสร้างเป็นพระโพธิสัตว์ “ศรีอริยเมตไตรย” นั่งขัดสมาธิ หน้าตักหว้าว ๑.๙๕ เมตร สูง ๒.๕๐ เมตร มีลักษณะเป็นพระทรงเครื่องคล้ายมโนราห์ มีเทริด ทั้บ ทรวง ปั้นเหน่ง เป็นต้น จุดมุ่งหมายก็เพื่อเป็นการเตรียมต้อนรับโลกของ “พระศรีอาริย์” หรือพระศรีอริยเมตไตรย ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป นอกจากจะมีพระศรีอริย์แล้ว บริเวณวัดยังขุดพบเทวรูปของศาสนาพราหมณ์ และพระโพธิสัตว์ของพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานหลายองค์ โดยเฉพาะพบเศียรและส่วนองค์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๒ กร สำริดสูง ๙.๕ เซนติเมตร อายุประมาณครึ่งแรกของพุทธศตวรรณที่ ๑๔ ลักษณะพระวรกายผอมบางปั้นพระองค์สูง พระพักตร์กลมทรงเกล้าพระเกศาเป็นรูปชฎากุฎมีพระพุทธเจ้าอมิตาภะประทับอยู่ด้านหน้าทรงกะบังหน้า ที่มีลายรูปสามเหลี่ยมตกแต่งอยู่ที่กลางพระนลาฎและเหนือพระกรรณทั้ง ๒ ข้าง พร้อมกับทรงสวมกรองศอ และกุณฑลเป็นเครื่องประทับพระวรกาย ปัจจุบันเก็บพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
องค์พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรก่อสร้างด้วยหินปะการังห่ออิฐดินเผาไม่ถือปูนตาม ปรากฎว่าได้มีการบูรณะอย่างน้อย ๒ ครั้ง ครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยารัชสมัยพระเจ้าเอกทศรถ โดยพระมหาเถรเทพได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระวิหารกับพระโพธิสัตว์ ณ วัพระเจดีย์งาม ทำให้พระพักตร์เปลี่ยนไปเป็นแบบอยุธยา คือหน้าอูมเต็ม ครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้มีการบูรณะพร้อมกับพระเจดีย์ ช่างได้แกะขูดปูนเก่าที่ชำรุดออกพบพระพักตร์ที่ซ่อมอยู่ข้างในเป็นรูปหน้านางตามแบบสมัยศรีวิชัย ฉะนั้นในการบูรณะครั้งนี้ช่างจึงถือเอาลักษณะเดิมของศรีวิชัยเป็นหลัก แม้ไม่เหมือนเดิม ก็ดูออกว่าเป็นหน้านางคือคล้ายผู้หญิง เพราะนอกจากคติความเชื่อของการสร้างพระเจดีย์นั้นแล้ว ก็ยังมีการสร้างพระพุทธรูปกับพระโพธิสัตว์ขึ้นควบคู่ วัดพระเจดีย์งามก็เช่นกันได้มีการสร้างทั้งพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ไว้แต่เนื่องจากว่าพระพุทธรูปหรือเรียกว่าหลวงพ่อเดิมนั้นได้ประดิษฐานที่วัดเอก (เชิงแสเหนือ)
เศียรองค์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
เศียรขององค์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเทวรูปของศาสนาพราหมณ์ ที่มีเข้ามามีอิทธิพลในพุทธศาสนาลัทธิมหายานส่วนที่พบมี ๒ กร สร้างด้วยสำริด สูง ๙.๕ เซนติเมตร อายุประมาณครึ่งแรกของพุทธศตวรรณที่ ๑๔ ลักษณะพระวรกายผอมบางปั้นพระองค์สูงพระพักตร์กลม ทรงเกล้าพระเกศาเป็นรูปชฎากุฎ มีพระพุทธเจ้าอมิตาภะประทับอยู่ด้านหน้า ทรงกะบังหน้าที่มีลายรูปสามเหลี่ยมตกแต่งอยู่ที่กลางพระนลาฎ และเหนือพระกรรณทั้ง ๒ ข้าง พร้อมกับทรงสวมกรองศอและกุณฑลเป็นเครื่องประทับพระวรกาย
รูปจำลองพระมหาเถรลังกาเดิม
ตามหนังสือกัลปนาวัดหัวเมืองพัทลุงสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถแห่งกรุงศรีอยุธยาระบุว่าพระมหาเถระได้สร้างวิหารขึ้นที่เรียกว่าวัดเจดีย์งาม ภายในวิหารพระโพธิสัตว์ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ ชาวบ้านเรียกว่า “พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย” ลักษณะพระพุทธรูปการรับคติหินยานจากลังกาเข้ามาทำให้มีการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้นเคารพบูชาเป็นแบบอย่างของท้องถิ่น โดยเฉพาะ พระพุทธรูปส่วนมากเป็นปางมารวิชัยพระพักตร์ดุ พระวารกายกระด้างตรงและพระหัตถ์ขวาหักเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปในภาคใต้ที่ทำสืบต่อมาจนทุกวันนี้ ในวัดพระเจดีย์งามก็มีพระพุทธรูปเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ที่ก่อสร้างด้วยหินปะการังห่ออิฐดินเผาไม่ถือปูน ตามประวัติได้มีการบูรณะอย่างน้อย ๒ ครั้ง ครั้งที่ ๑ ในสมัยกรุงศรีอยุธยารัชสมัยพระเจ้าเอกทศรถ โดยท่านพระมหาเถรเทพได้ทำการบูรณะพระวิหารกับพระโพธิสัตว์ ณ วัดพระเจดีย์งาม ทำให้พระพักตร์เปลี่ยนไปเป็นแบบอยุธยา คือหน้าอูมเต็ม บูรณะครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้มีการบูรณะพร้อมกับพระเจดีย์ ช่างได้แกะขูดปูนเก่าที่ชำรุดออก พบพระพักตร์ที่ซ่อมอยู่ข้างในเป็นรูปหน้านาง รูปพระโพธิสัตย์วัดพระเจดีย์งามตามแบบสมัยศรีวิชัย ฉะนั้นในการบูรณะครั้งนี้ช่างจึงถือเอาลักษณะเดิมของศรีวิชัยเป็นหลัก แม้ไม่เหมือนเดิมก็ดูออกว่าเป็นหน้านางคือคล้ายผู้หญิง ตามประวัติการสร้างพระโพธิสัตว์นั้น ได้มีการสร้างทั้งพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ไว้ด้วยกันแต่เนื่องจากว่าพระพุทธรูป หรือเรียกว่าหลวงพ่อเดิมนั้น ได้ถูกนำไปประดิษฐานที่วัดเชิงเหนือ (วัดเอกเชียงแสน) อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา "องค์พระเดิม" นั้นหรือหลวงพ่อเดิมเป็นพระพุทธรูปทำด้วยหินปะการัง ตามตำนานบันทึกเรื่องราวไว้ว่าวัดเจดีย์งามหรือวัดพระเจดีย์งามตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดเชิงแสเหนือ(วัดเอกเชียงแสน) ในยุคสมัยที่เมืองสทิงพระเป็นที่ตั้งเมืองพัทลุงได้มีสมณศักดิ์เป็นพระมหาเถรลังกาเดิมรองจากพระราชคณะเมืองพัทลุงซึ่งเป็นคณะลังกาแก้ว ซึ่งท่านพระมหาเถรลังกาเดิมเป็นผู้ที่มี ศีล สมาธิ ปัญญาเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน ท่านมีความเชี่ยวชาญ ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ คามวิธีแพทย์แผนโบราณ และเป็นผู้สร้างเจดีย์ ๙ องค์ ที่วัดเจดีย์งาม จนเมื่อท่านมรณภาพศิษยานุศิษย์จึงนำอัฐิของท่าน บรรจุไว้ในพระพุทธรูปหินปะการังที่ท่านได้สร้างไว้ ต่อมาที่บ้านเจดีย์งาม มีเหตุจำเป็นให้ผู้คน ประชาชน ต้องอพยพ ไปหาที่ตั้งหลักแหล่งใหม่ทางทิศตะวันตกคือที่บ้านใกล้วัดเอกแล้วได้นิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นศิษย์เอกของพระมหาเถรลังกาเดิม (หลวงพ่อเดิม) ให้ไปเป็นเจ้าอาวาสท่านจึงได้นำพระพุทธรูป พระมหาเถรลังกาเดิม (หลวงพ่อเดิม) ไปประดิษฐาน ณ วัดเอกด้วยจนต่อมาท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระเอกอุดม และด้วยเหตุนี้วัดดังกล่าวจึงปรากฎในแผนที่ภาพวัดสมัยกรุงศรีอยุธยาว่าวัดพระครูเอกอุดมชาวบ้านเรียกกันสั้น ๆ ว่า “วัดเอก“
พ่อท่านเจ้าวัด
ปูชนียบุคคลของวัดเจดีย์งามหรือวัดพระเจดีย์งามจะขอกล่าวถึงอดีตเจ้าอาวาสเพียงบางรูปที่ได้สร้างคุณูปการให้กับวัดและชุมชน คือพ่อท่านเจ้าวัด (ช่วย) พ่อท่านเจ้าวัด (พ่อท่านช่วย) ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า “พ่อท่านเจ้าวัด” เดิมชื่อว่า “ช่วย” สำหรับประวัติของท่านนั้นไม่มีปรากฎว่าบิดามารดาชื่ออะไรเพียงแต่ทราบว่าเมื่อท่านได้อุปสมบทแล้ว ก็มาอยู่จำพรรษาที่วัดเจดีย์งามตลอดมาจนมรณภาพที่วัดพระเจดีย์งาม ท่านนั้นเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่องของพระคาถาอาคมไสยศาสตร์ต่าง ๆ จนเป็นที่ร่ำลือไปทั่ว ตามประวัติที่เล่าต่อกันมาเมื่อครั้งที่คาบสมุทรสทิงพระถูกโจรสลัดมลายูที่มาจากคาบสมุทรและหมู่เกาะในเขตประเทศมาเลเซีย คือพวกอุยงตะนะได้เข้ามาปล้นทรัพย์สินประชาชน ตลอดถึงเผาผลาญวัดวาอารามเสียหายย่อยยับ ในขณะเดียวกันชุมชนบ้านเจดีย์งามและใกล้เคียงก็เกิดชุมนุมโจรขึ้นอีก มีการปล้นสะดมอยู่บ่อยครั้ง จนชาวบ้านพากันอพยพหลบหนีไปจากบ้านจากถิ่นบ้านตน ชาวบ้านบางส่วนก็มาขอพึ่งบารมีหลวงปู่ช่วยที่วัดพระเจดีย์งาม ท่านจึงได้นำคนหนุ่มใจกล้าจำนวนหนึ่งพร้อมด้วยหม้อปูนสีขาว ที่ใช้กินกับหมากพลูติดตัวไปด้วย เมื่อไปถึงชุมนุมโจรท่านทำการสะกดพวกโจรให้หลับแล้วเอาปูนขาวไปทาที่คอของหัวหน้าโจรสลัด และลูกน้อง ครั้งเมื่อพวกโจรตื่นขึ้นมาเมื่อเห็นปูนสีขาวติดอยู่ที่คอก็รู้ได้ทันที่ว่า ข้าศึกมาถึงตัวแล้วแต่เขาไม่ทำร้ายเราจึงเกิดความหวาดกลัวก็ยกพวกกลับไปหลวงปู่จึงได้นามเรียกขานต่อกันมาว่า “หลวงปู่ช่วยทุกขราษฎร์” ซึ่งมาจากชื่อเดิมของท่านที่ชาวบ้านเรียกว่า “พ่อหลวงช่วย” บ้าง “ปู่หลวงช่วย” บ้างเป็นการเรียกตามภาษาถิ่นถ้าเรียกโดยภาษากลางก็เรียกว่า “หลวงปู่ช่วยทุกขราษฎร์” ครั้งเมื่อท่านได้มรณภาพลงก็ได้นำอัฐิของท่านมาบรรจุไว้ที่ภายในเจดีย์ที่ชาวบ้านเรียกว่า “เจดีย์พ่อท่านเจ้าวัด” นอกจากนี้ “เจดีย์พ่อท่านเจ้าวัด” ในอดีตเป็นที่เคารพนับถือบูชาของชาวเจดีย์งาม และคนทั่วไป มีการบนบานศาลกล่าวให้มีการช่วยเหลือตามประสงค์ ปรากฏว่ามีการได้ผลตามที่ต้องการจึงมีการแก้บนกันเป็นประจำส่วนมากแล้วผู้ที่สมหวัง หรือผู้ได้รับประโยชน์จากการบนบาน ต่างมาแก้บนด้วยวิธีจุดธูปเทียน และปิดทองวันที่คนในอดีตนิยมมาแก้บนกันคือวันวันพฤหัสบดี ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๙ พระครูเผือก คนฺธโร เป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้นได้จัดทำพระพิมพ์เนื้อว่านทำการปลุกเสกอัญเชิญบารมีของ “หลวงปู่ช่วยทุกขราษฎร์” ปรากฏว่ามีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่นิยมต้องการของบุคคลทั่วไป การสร้างพระพิมพ์หลวงปู่ช่วย พระครูเผือกท่านได้แสวงหาว่าน ๑๐๘ ชนิด โดยการเก็บสะสมทีละเล็กทีละน้อย จากนั้นตาหลวงเผือกท่านได้ออกแบบและเป็นผู้เกาะพิมพ์รูปหลวงปู่ช่วยด้วยตัวท่านเอง แล้วกดพิมพ์ทำสะสมเก็บไว้ทีละเล็กละน้อยจากนั้นจึงปลุกเสกด้วยตนเอง
พระครูเผือก คนฺธโร
พระครูเผือก คนฺธโร (วาจาสิทธิ์ ) หรือตาหลวงเผือก เจ้าอาวาสรูปต่อมาท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีวาจาสิทธิ์พูดคำไหนเป็นคำนั้น ท่านได้ดำริในการบูรณะพระเจดีย์และเสนาสนะอื่น ๆ ของวัดเจดีย์งาม ซึ่งอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมากโดยท่านนัดชาวบ้านเพื่อแจ้งประสงค์ว่าจะบูรณะพระเจดีย์และวัด โดยใช้วิธีตีโพนเป็นเสียงส่งสัญญาณสำหรับเรียกประชุมชาวบ้าน ซึ่งในสมัยนั้นถ้าหากมีเหตุปรากฎการณ์หรือเหตุการณ์ใดก็ตามที่ทางวัดประสงค์ให้เรียกประชุมชาวบ้านนั้นก็จะต้องมีเหตุ ๒ อย่าง คือพระมรณภาพหรือต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่งมิฉะนั้นจะไม่ตี เมื่อชาวบ้านมารวมกันตาหลวงเผือก ก็ได้บอกกับชาวบ้านว่าจะซ่อมแซม บูรณะวัดพระเจดีย์งามและเจดีย์และได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่มีชาวบ้านร่วมยืนส่งทรายจากริมทะเลบ้านบ่อตรุ ระยะ ๑ กิโลเมตร ยืนต่อกันเพื่อจะส่งทรายจนถึงวัดเป็นจำนวนมากและชาวบ้านอีกส่วนก็นำรถขนต่างหาก ตาหลวงเผือกได้นำทรายมากองไว้หน้าอุโบสถจำนวนมากและตากฝนและแดดไว้เป็นเวลา ๓ ปี เพื่อให้น้ำฝนชะล้างน้ำเค็มที่อยู่ในทรายให้จืดเสียก่อนจึงจะเริ่มสร้างนอกเหนือจากให้ชาวบ้านร่วมขนทรายแล้วชาวบ้านก็ยังชักชวนกันให้ชาวบ้าน ร่วมสมัครเป็นสมาชิกในการให้การช่วยบูรณะครอบครัวละ ๑ บาท หรือ ๒ บาทต่อเดือน จนกระทั้งเจดีย์ทุกองค์ก็ได้รับการบูรณะในคราวเดียวกันทั้งเจดีย์องค์ใหญ่ และเจดีย์รายล้อม องค์จนเสร็จสิ้นและเงินที่ได้รับการบริจาคจากชาวบ้านที่เป็นสมาชิกรายเดือนและเงินบริจาคทั่วไป ยังคงเหลืออยู่ก็นำมาบูรณะอุโบสถจนเสร็จและยังมีเงินเหลือบางส่วน พระครูเผือก คนฺธโร ซึ่งได้ร่วมกับพระลูกวัดและประชาชนที่ได้ช่วยการรสร้างอาคารเรียนหลังแรกขึ้นในบริเวณวัด โดยใช้งบประมาณของทางวัดเอง จึงเป็นอาคารเรียนหลังแรกในย่านบ้านเจดีย์งาม ปัจจุบันถูกรื้อถอนแล้วเพราะมีสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม หรือการสร้างโรงธรรมโดยการขยายให้ใหญ่โตขึ้นกว่าเดิมเพื่อใช้รองรับงานบุญต่าง ๆ ของวัดและประชาชนจนกระทั่งวัดได้รับการพัฒนาให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
วัดเจดีย์งามหรือวัดพระเจดีย์งาม มีความสำคัญกับสังคมและชุมชนมาก ในสมัยก่อนไม่มีโรงเรียนชาวบ้านจะนำบุตรหลานไปฝากไว้กับพระที่วัดเพื่อได้ศึกษาหาความรู้ซึ่งใช้ศาลาการเปรียญ และศาลาบาตรของวัดเป็นที่ร่ำเรียน วัดเจดีย์งามจึงเป็นศูนย์กลางชุมชนในด้านการศึกษา เมื่อมีนักเรียนมากขึ้นพระครูเผือก คนฺธโร อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเจดีย์งาม พระมหาเจริญศักดิ์ พระลูกวัดและชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียนหลังแรกขึ้น โดยใช้งบประมาณของทางวัดเอง จึงเป็นอาคารเรียนหลังแรกในย่านบ้านเจดีย์งาม ปัจจุบันถูกรื้อถอนแล้ว (รื้อถอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ เพราะชำรุดทรุดโทรม) สมัยก่อนชุมชนบ้านเจดีย์งามไม่มีน้ำประปาใช้และแหล่งน้ำดื่มหายาก ชาวบ้านได้ใช้น้ำในบ่อวัดพระเจดีย์งามนำไปในชีวิตประจำวัน พระอาจารย์เฉลิม ชุติวณฺโณ ท่านเป็นพระนักพฒนา เป็นผู้ริเริ่มสร้างประปาหมู่บ้านขึ้นมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ ทำให้ชาวบ้านมีน้ำสะอาดไว้ใช้
เจดีย์พระมาหาธาตุ วัดเจดีย์งาม อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. (2558). สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 59, จาก http://www.bloggertrip.com
เจดีย์พระมาหาธาตุ วัดเจดีย์งาม อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. (2556). สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 59, จาก http://www.bloggertrip.com/chedingamtemple/
พรทิพย์ พันธุโกวิท, ศิริพร สังข์หิรัญ และธนิสรา พุ่มผะกา. (2555). ทำเนียบนามแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (โบราณสถานในจังหวัด
สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล). พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส.
วัดพระเจดีย์งาม. (2557). สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 60, จาก http://prawatprajdeeham.blogspot.com/
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2554). บันทึกเดินทางรอบ ‘ทะเลสาบสงขลา’ กับ ‘ศรีศักร วัลลิโภดม’. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 60, จาก http://lek-prapai.org/home/view.php?id=718