วัฒนธรรมด้านสถาปัตยกรรม
 
Back    03/05/2024, 15:10    53  

หมวดหมู่

ความเชื่อ


ประวัติความเป็นมา

           วัฒนธรรมด้านสถาปัตยกรรม เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งปลูกสร้างหรือถาวรวัตถุ ที่สามารถสะท้อนถึงรูปแบบวิถีชีวิตและระบบความคิดของชุมชนภาคใต้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จากงานวิจัยของ อาจารย์ประสิทธิ์ บัวงาม (๒๕๔๕) พบว่าวัฒนธรรมด้านสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรกรรม มีหลายรูปแบบด้วยกัน ประกอบด้วย

๑. เรินข้าว หรือเรือนข้าว หมายถึงโรงเรือนที่สร้างไว้สำหรับเก็บข้าวเลียงโดยเฉพาะ ซึ่งจะยกพื้นสูงมีเสาค้ำยันอย่างแน่นหนามั่นคง เรินข้าวบางหลังอาจสร้างแบบไม่มีฝากั้น ทำให้ระบายความร้อนได้ดี แต่ต้องมีตาข่ายกั้นนก และหนู และในฤดูฝนต้องทำฝากั้นเพื่อกันฝนสาดเรินข้าว สำหรับบางครอบครัวที่มีนาไม่มากนัก อาจเป็นหลังเดียวกันกับเรือนครัว โดยแบ่งเป็นคนละห้อง แต่ถ้าครอบครัวใจมีนามาก กฌมักปลูกเรินข้าวแยกเป็นอีกหลังหนึ่งต่างหาก เรินข้าวแต่ละห้องมักจัดลอมข้าวเพียงลอมเดียว ให้ขนาดลอมเต็มเนื้อที่ ลอมข้าวจึงมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามพื้นห้อง สำหรับหลังคาของเรินข้าวชาวบ้านนิยมนำจากหรือใบลานมาเย็บเพื่อมุงหลังคา
๒. โรงซัง เป็นโรงเรือนสำหรับเก็บชังข้าว สร้างขึ้นอย่างง่าย ๆ ใช้วัสดุในพื้นที่นำมาสร้าง ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดของโรงชังขึ้นอยู่กับปริมาณของชังข้าวหรือฟางที่จะเก็บ หลังคามีลักษณะเป็นเพิงหมาแหงนหรือหน้าจั่ว มุงด้วยจาก ใบลาน หรือใบตาลโดนคมาเย็บเป็นรูปปีกยิ่ว (คล้ายปีกนกเหยี่ยว) ส่วนไม้ที่นำมาทำเป็นเสาอาจใช้ไม้เสม็ดหรือไม้เนื้อแข็งที่สามารถหาได้ในพื้นที่ สำหรับเสาโรงชังจะขึ้นเสาสี่เสา พื้นยกสูงระดับเข่าหรือสะเอว เรียบด้วยฟากไม้กลมหรือไม้ไผ่ผ่าซีก ใช้ไม้ผูกกั้นฝาไว้ห่าง ๆ ชาวบ้านมักสร้างโรงซังไว้บริเวณหัวนา เพื่อเก็บซังข้าวไว้ให้วัวกินในช่วงหน้าฝนซึ่งหาหญ้าได้ยาก
๓. ขนำ หรือหนำ สร้างไว้เพื่อเป็นเพิงพักในบริเวณทุ่งนา รูปแบบของขนำจะสร้างอย่างง่าย ๆ โดยหลังคาใช้ตับจาก (ทำมาจากใบตาลหรือสาคู) นำมามุง เสาของขนำจะใช้ไม้เสม็ด ฝาคั้นมักนิยมใช้ไม้ไผ่นำมาสานเป็นแผงกั้น หรือใช้จากที่เย็บเป็นแผง ส่วนใหญ่จะสร้างแบบยกพื้น โดยใช้ฟากไม้ไผ่ สำหรับฝากั้นเพียง ๓ ด้าน ด้านหน้าจะไม่กั้นมักจะเปิดให้โล่ง จุดประสงค์ของการสร้างขนำเพื่อไว้พักผ่อนหลบแดดผ่นของชาวนา และเป็นที่สำหรับรับประทานอาหารเช้าหรือเที่ยงในช่วงของการทำนา
๔. คอกเลี้ยงสัตว์ ชาวบ้านที่มีอาชีพเกษตรกรรมส่วนใหญ่จะเลี้ยงสัตว์เกือบกันทุกครัวเรือน โดยเฉพาะการเลี้ยงปิด ไก่ ว้ว ควาย สุกร แพะ ฯลฯ สัตว์ที่เลี้ยงไว้ส่วนใหญ่จะเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ ไม่ได้เลี้ยงเพื่อขายอย่างจริงจัง หรือเป็นอาชีพหลัก การสร้างคอกสัตว์จึงสร้างอย่างง่าย ๆ ใกล้กับที่อยู่อาศัย เพื่อความสะดวกในการเลี้ยงดูรักษา และใช้วัสดุที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นนำมาก่อสร้างคอกเลี้ยงสัตว์ รูปแบบที่สะท้อนวัฒนธรรมด้านสถาปัตยกรรมของคอกเลี้ยงสัตว์ ขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ด้วยว่าเป็นสัตว์ชนิดใด หากเป็นสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ จะสร้างคอกแบบง่าย ๆ มีหลังคาพอกันฝนเท่านั้น

ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
วัฒนธรรมด้านสถาปัตยกรรม
ที่อยู่
จังหวัด
ภาคใต้


บรรณานุกรม

ประสิทธิ์ บัวงาม. (2545). รายงานการวิจัยเรื่องวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมของชาวบ้าน ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง. 
                สงขลา : คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.


 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024