แผนที่จังหวัดนราธิวาส
ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นพื้นที่เก่าแก่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและเป็นจุดเริ่มต้นของอำเภอตากใบ พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในยุคต้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ เช่น ป้อมค่าย คูเมือง เครื่องถ้วยชาม เครื่องปั้นดินเผาจํานวนมาก และทางทิศเหนือของวัดพระพุทธที่เป็นฌาปนสถาน พบว่ามีชาก เจดีย์เก่าอยู่ ๒ องค์ ในอดีตวัดพระพุทธ (พร่อน) เดิมเรียกว่าวัดใต้ตีน เป็นชุมชนโบราณสมัยเดียวกับบ้านพร่อนและโคกอิฐ สำหรับชื่อพร่อนนั้นมีที่มาโดยเริ่มจากผู้คนได้มาตั้งถิ่นฐานเมื่อก่อนปี พ.ศ. ๒๓๒๐ ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากประวัติศาสตร์เล่าว่าเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงกอบกู้เอกราชได้สําเร็จแล้า ก็แผ่อํานาจไปทางภาคใต้ไปจรดชวา โดยมีกลุ่มคนจํานวนมากล่องเรือมาตามลําน้ําปูยู เมื่อมาถึงปากบางพร่อน เรือวิ่งต่อไปไม่ได้ จึงต้องจอดและอพยพผู้คนขึ้นมาบนบก พร้อมอัญเชิญพระพุทธรูป ๒ องค์ ขึ้นมาประดิษฐาน ณ ปากคลอง ตามตํานานเล่าว่าพระพุทธรูปองค์พี่ได้แสดงปฏิหาริย์ลอยขึ้นบนท้องฟ้าแล้วหมุนวนอยู่ในอากาศและหายไป ชาวบ้านจึงเรียกเป็นชื่อตําบลพระร่อน ต่อมาได้ออกเสียงเพี้ยนไปเป็นพร่อน จึงกลายมาเป็น “ตําบลพร่อน” จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระพุทธรูปองค์น้องนั้นมีชื่อว่า “พ่อท่านพระพุทธ” ชาวบ้านเกรงว่าจะหายไปอีก จึงทําพิธีตัดเล็บมือเล็บเท้า เพราะเชื่อว่าจะทําให้ไม่ได้ขนาด ในการแสดงปฏิหาริย์หายไปและได้ล่ามโซ่เอาไว้ ปัจจุบันพ่อท่านพระพุทธเป็นประธานในพระอุโบสถวัดพระพุทธ เมื่อถึงวันแรม ๑ ค่ํา เดือน ๕ ของทุกปี (ในสมัยอดีตเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทย) ชาวบ้านร่วมกันนิมนต์พ่อท่านพระพุทธออกมาสรงน้ํา เพื่อขอพรให้เป็นสิริมงคล นิมนต์พระภิกษุสวดบังสุกุลบัว เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ และทําบุญเลี้ยงพระพร้อมรับประทานอาหารร่วมกันจนเป็นประเพณีสืบต่อกันมา
ตําบลพร่อนมีเขตการปกคอง ประกอบด้วย ๒ ตําบล คือ ตําบลพร่อน โดยมีอาณาเขต ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับอ่าวไทย |
- ทิศใต้ ติดกับตําบลโฆษิตและอําเภอสุไหงปาดี |
- ทิศตะวันออก ติดกับตําบลโฆษิต ตําบลเกาะสะท้อนและเทศบาลเมืองตากใบ |
- ทิศตะวันตก ติดกับตําบลบางขุนทองและตําบลศาลาใหม่ |
ตําบลพร่อนมีศาสนสถาน ประกอบด้วย
๑. วัดจำนวน ๕ วัด คือ
๑. วัดฉัททันต์สนาน (บ้านปลักช้าง) หมู่ที่ ๑ |
๒. วัดพระพุทธ (บ้านใหญ่) หมู่ที่ ๓ |
๓. วัดโคกมะม่วง (บ้านโคกมะม่วง) หมู่ที่ ๔ |
๔. วัดสิทธิสารประดิษฐ์ (บ้านโคกยาง) หมู่ที่ ๕ |
๕. วัดนภาราม (บ้านวัดใหม่) หมู่ที่ ๖ |
๒. มัสยิด/บาราเซาะห์ จํานวน ๘ แห่ง
๑. มัสยิดนูรุษฮีดายะห์ (บ้านทุ่งนาหว่าน) หมู่ที่ ๕ |
๒. มัสยิดอิบาดะห์ (บ้านโคกกูแว) หมู่ที่ ๕ |
๓. มัสยิดอิซาน (โคกกูแว) หมู่ที่ ๕ |
๔. บาราเซาะห์โคกกูแว หมู่ที่ ๕ |
๕. บาราเซาะห์บ้านทุ่งนาหว่าน หมู่ที่ ๕ |
๖. บาราเซาะห์โคกสมัคร หมู่ที่ ๕ |
๗. บาราเซาะห์ปอเนาะ หมู่ที่ ๕ |
๘. บาราเซาะห์ซอมาดียะห์ (บ้านโคกกูแว) หมู่ที่ ๕ |
ภาษาของชาวตำบลพร่อน (ภาษาถิ่น)
ภาษาถิ่นของชาวตําบลพร่อนที่ใช้สื่อสารกัน จะใช้ภาษายาวีและภาษาเจ๊ะเห เป็นภาษาพื้นบ้านสําหรับใช้ในการสื่อสาร โดยเฉพาะภาษาเจ๊ะเห มีความไพเราะแตกต่างจากภาษาถิ่นใต้ทั่วไป และเป็นเอกลักษณ์ของชาวตากใบและจังหวัดนราธิวาส
ประเพณีและงานประจําปี
ประเพณัีและงานประจำปี ประกอบด้วย
- ประเพณีชิงเปรต
การชิงเปรตเป็นประเพณีเนื่องในเทศกาลเดือนสิบของชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ โดยจัดในวัดทุกวัด ในวัน แรม ๑๔ ค่ํา หรือ ๑๕ ค่ํา เดือน ๑๐ โดยทําร้านจัดสํารับอาหารคาวหวาน ไปวางเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้เปรตชน (ปู่ ย่า ตา ยาย และบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว) ร้านที่วางอาหารเรียกว่าร้านเปรต โดยสร้างไว้กลางวัด ยกเสาสูง ๔ เสา และจัดทําร้านเปรตแบบ ๒ ร้าน โดยแบ่งออกเป็นร้านเสาสูง สําหรับคนหนุ่มที่มีกําลังวังชาในการปีนป่าย ส่วนอีกร้านเป็นเสาเตี้ยสูงประมาณสะเอว สําหรับให้เด็กและผู้หญิง ได้แย่งชิงเพื่อความสนุกสนาน บนร้านเปรตจะมีสายสิญจน์วงล้อมไว้รอบ และต่อยาวไปจนถึงที่พระสงฆ์นั่งประกอบพิธีกรรม เมื่อทําพิธีเสร็จแล้ว จะมีผู้ตีระฆังให้สัญญาณ บรรดาผู้มาร่วมทําบุญ (ลูกหลานเปรต) ก็จะเข้าไปรุมแย่งสิ่งของอาหารคาวหวานที่อยู่บนร้านเปรตอย่างสนุกสนาน ซึ่งเรียกกันว่าชิงเปรต
-ประเพณีบังสุกุลบัว (ที่บรรจุอัฐิ)
การบังกุลบัว คือการทําบุญระลึกถึงญาติที่ล่วงลับไปแล้ว และนํากระดูกมาบรรจุไว้ในบั ว(ที่บรรจุอัฐิ) ประจํา หมู่บ้าน ในแต่ละวัดหรือบัวประจําตระกูล มีขึ้นระหว่างแรม ๑ ค่ํา เดือน ๕ ของทุกปี และถือเป็นการชุมนุมญาติของแต่ละหมู่บ้าน ตําบล โดยเมื่อถึงวันบังสุกุลบัว ญาติพี่น้องลูกหลาน ที่ไปประกอบอาชีพหรือไปอยู่ต่างถิ่น ก็จะพร้อมใจกันกลับบ้านเพื่อทําบุญในวันนี้ โดยจะมีการทําความสะอาดตกแต่งบัว บางที่เรียกประเพณีนี้ว่าทําบุญรดน้ําบัว
- ประเพณีลาซัง
ลาซังเป็นประเพณีประจําปีของชาวไทยพุทธ ในแถบอําเภอตากใบจะเรียกว่าล้มซัง กินขนมจีน ประเพณีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากความเชื่อเรื่องที่นาและแม่โพสพ โดยเชื่อว่าถ้าจัดทําพิธีนี้แล้วจะทําให้นาข้าวปีต่อไปนั้นงอกงามให้ผลผลิตสูง เพราะชาวนารู้คุณที่นาและแม่โพสพ หลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ผู้นําชุมชนก็จะกําหนดวันล้มซัง พร้อมนิมนต์พระจากวัดใกล้ๆ ๓-๕ รูป เพื่อทําพิธีทางศาสนา หลังเสร็จพิธีแล้วชาวบ้านจะนําขนมจีนมาถวายพระ เมื่อพระฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้มาร่วมงานก็จะร่วมรับประทานอาหารคือขนมจีนร่วมกัน ในภาคบ่ายจะมีกิจกรรมจะมีการละเล่นต่าง ๆ เป็นการสนุกสนาน เช่น แข่งว่าว ชักคะเย่อ แย้ชิงรู ชนวัว ตีไก่ เล่นไพ่ เล่นลูก กอเจาะ (ลูกเต๋) เล่นโป ในบางตําบลของอําเภอตากใบ เช่น พร่อน เกาะสะท้อน โฆษิต จะจัดเป็นเทศกาลประจําปี มีภาพยนตร์ หนังตะลุง และการแสดงอื่น ๆ ในภาคกลางคืนด้วย
- ประเพณีสวดนา
สวดนาเป็นการทําบุญให้กับแปลงนาเพื่อให้ข้าวปราศจากสิ่งรบกวนได้ผลผลิตเต็มที่ โดยมีพระสงฆ์สวดทําพิธีในต้นฤดูทํานาปีหลังจากปักดําแล้วในเดือนพฤศจิกายน
- การเข้าสุหนัต
การเข้าสุหนัตเป็นหลักการของศาสนาอิสลาม อันเกี่ยวเนื่องกับเรื่องความสะอาด คือการขลิบผิวหนังหุ้มส่วนปลายอวัยวะเพศชายหรือเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “มาโซะยาวี” ซึ่งจะทําแก่เด็กชายที่มีอายุระหว่าง ๒-๑๐ ปี ส่วนการจัดเลี้ยงอาหารในวันเข้าสุหนัตถือว่าเป็นประเพณีอย่างหนึ่ง
- วันอาซูรอ
อาซูรอเป็นภาษาอาหรับ หมายถึงวันที่ ๑๐ ของเดือนมุฮัรรอน ซึ่งเป็นเดือนทางศักราชอิสลาม จากประวัติกล่าวว่าในสมัยท่านนบีนุฮ์ ได้เกิดน้ําท่วมใหญ่และเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินไร่นาของประชาชนทั่วไป ทําให้เกิดการขาดอาหารบริโภค จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของที่เหลือพอจะรับประทานได้ให้เอามากองรวมกัน เนื่องจากต่างคนต่างมีของคนละอย่างไม่เหมือนกัน ท่านนบีมุฮ์ ให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกัน สาวกของท่านก็ได้รับประทานอาหารโดยทั่วกันและเหมือนกัน ในสมัยท่าน นบีมูฮัมหมัด (ศ็อล) ได้เกิดเหตุการณ์ทํานองเดียวกันขณะที่กองทหารของท่านกลับจากการรบที่บาดัร ปรากฏว่าทหารมีอาหารไม่พอกิน ท่านนบีมูฮัมหมัด(ศ็อล) จึงใช้วิธีการของท่านนบีนุหฮ์ โดยให้ทุกคนเอาข้าวของที่รับประทานได้มากวนเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งกันรับประทานในหมู่ทหาร