ปัตตานี (Pattani)
 
Back    30/11/2020, 10:05    8,293  

หมวดหมู่

จังหวัด


ประวัติความเป็นมา

คําขวัญจังหวัดปัตตานี
บูดูสะอาด หาดทรายสวย รวยนํ้าตก นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด

          ชื่อปัตตานีนี้นักวิชาการหลายท่านสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชื่อเมืองเดียวกันที่เคยตั้งอยู่ในรัฐเคดะห์ ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซียในสมัยโบราณ เพราะจากบันทึกเล่าว่าเมืองปัตตานีนี้พัฒนาขึ้นมาจากเมืองที่ชื่อลังกาสุกะ และตรงกันกับตำนานเมืองไทรบุรีที่กล่าวว่าราชามะโรงมหาวงค์ ทรงสร้างลังกาสุกะบนฝั่งตะวันตกที่เคดะห์และพระราชนัดดาของพระองค์ได้มาสร้างลังกาสุกะที่ปัตตานี ชาวพื้นเมืองปัตตานีเรียกบริเวณแถบนี้ว่าลังกาสุกะมาจนกระทั่งแม่น้ำปัตตานีเปลี่ยนทางเดินทำให้ชุมชนลังกาสุกะเริ่มเสื่อมลงไป เนื่องจากข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์และศาสนาวัฒธรรมของชาวเมืองได้เปลี่ยนแปลงไป นักวิชาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเชื่อว่า ปัตตานีเป็นแหล่งแวะพักจอดเรือ เพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าระหว่างพ่อค้าชาวอินเดียทางตะวันตกกับพ่อค้าชาวจีนทางตะวันออก ตลอดถึงชนพื้นเมืองบนแผ่นดินและตามหมู่เกาะใกล้เคียงต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเชื่อมั่นอีกด้วยว่าปัตตานีเดิมเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ ตามที่ปรากฎในเอกสารโบราณที่กล่าวมา จากหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงร่องรอยของอารยธรรม ในอดีตของปัตตานีที่บริเวณอำเภอยะรังเป็นหลักฐานของเมืองโบราณขนาดใหญ่ที่ซ้อนทับกันถึง ๓ เมือง มีซากเป็นโบราณสถานปรากฏอยู่ไม่น้อยกว่า ๔๐ แห่ง ซากเนินโบราณสถานบางแห่งได้รับการขุดแต่งและอนุรักษ์ไว้ เช่น โบราณสถานบ้านจาเละ ๓ แห่ง ซึ่งเป็นซากอาคารศาสนสถานก่ออิฐที่มีการขัดแต่งประดับฐานชั้นล่าง ๆ และยังค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่น สถูปจำลองดินเผ่า พระพิมพ์ดินดิบ และดินเผาบางชิ้นมีตัวอักษรซึ่งนักภาษาโบราณอ่านและแปลว่าเป็นอักษรปัลลวะ (อินเดียใต้) ภาษาสันสกฤตเขียนเป็นคาถาเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน พระโพธิสัตว์สัมฤทธิ์และเศษภาชนะดินเผาประเภทต่าง ๆ โบราณวัตถุเหล่านี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ นอกจากนั้นหลักฐานที่ได้ขุดค้นพบยังแสดงให้เห็นด้วยว่าบริเวณที่เป็นที่ตั้งอำเภอยะรังในปัจจุบัน เป็นชุมชนที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาพุทธที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียโดยตรง ซึ่งสอดคล้องกับดินแดนใกล้เคียง เช่น บริเวณภาคกลางของประเทศไทย และบริเวณคาบสมุทรอินโดจีนด้วย และคงจะเป็นชุมชนที่มีกิจกรรมสืบต่อเรื่อยมาจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ก่อนที่อาณาจักรศรีวิชัยจะมีอำนาจรุ่งเรืองครอบคลุมคาบสมุทรมลายูไปในที่สุด 
      พงศาวดารปัตตานี้ที่สุจิตต์ วงษ์เทศ นักโราณคดีกล่าวว่า... ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อจุลศักราช ๑๑๔๗ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จยกกองทัพออกไปปราบปรามศึกพม่าถึงหัวเมืองฝ่ายตะวันตก ครั้นกองทัพออกไปถึงเมืองสงขลา มีข่าวเข้ามาว่าเมืองปัตตานีก่อการกําเริบขึ้นมาก โปรดเกล้าฯ จัดให้พระยากระลาโหม พระยาเสน่หาภูธร (ทองอิน) พระยาพัทลุง (ทองขาว) หลวงสุวรรณคีรี (บุ่นฮุ้ย) ผู้ว่าราชการเมืองสงขลา ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) เป็นทัพหน้ายกออกไปที่เมืองปัตตานี ได้สู้รบกันกับระตูปะก่าลันที่ตําบลบ้านยิริง ระตูปะกาลัน สู้รบทนกองทัพมิได้ ก็อพยพแตกหนีขึ้นไปทางเมืองรามันห์ พระยากระลาโหมแม่ทัพเห็นว่าปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) เป็นผู้รู้จักทางก็แต่งกองรวม คนพัทลุงสงขลาให้ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) เป็นหัวหน้าตีตามระตูปะก่าลันไป ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) ตามระตูปะกาลันไปทันที่ปลายน้ำเมืองรามันห์ริมแดนเมืองแประ ได้สู้รบกันในตําบลนั้นระตูปะก่าลันถูกกระสุนปืนตาย ในระหว่างนั้นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จยกทัพเรือไปตั้งอยู่ที่ปากอ่าวเมืองปัตตานี ครั้นพระยากระลาโหม กองทัพหน้าตีระตูปะก่าลันแตก และได้ศีรษะระตูปะก่าลันมาแล้ว พระยากระลาโหม พระยาเสน่หาภูธร (ทองอิน) พระยาพัทลุง (ทองขาว) หลวงสุวรรณคีรี (บุ่นอุ้ย) ผู้ว่าราชการเมืองสงขลา ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) พร้อมกันลงไปเฝ้าในเรือพระที่นั่งหน้าเมืองปัตตานี ทูลแจ้งราชการ รับสั่งให้นําปืนใหญ่สองกระบอกที่เก็บได้ลงมาเรือจะเอาเข้ามากรุงเทพฯ ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) ได้จัดแจงเรือบรรทุกปืนนําลงไปถวายปืนกระบอกที่หนึ่งชื่อนางปัตตานีนั้นออกไปถึงเรือหลวงก่อน ได้ยกปืนขึ้นบนเรือหลวงเสร็จแล้ว เรือที่บรรทุกปืนกระบอกที่ ๒ ซึ่งชื่อศรีนัครีตกอยู่ข้างหลัง เกิดพายุเรือที่บรรทุกปืนกระบอกที่สองชื่อศรีนัครีล่มลงปืนก็จมน้ำสูญหายไปด้วย กรมพระราชวังบวรสถานมงคลโปรดเกล้าฯ ให้ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) เป็นผู้ว่าราชการเมืองปัตตานี ยกคนไทยเลขส่วยดีบุกเมืองสงขลา เมืองพัทลุง เมืองจะนะ ซึ่งเป็นญาติพี่น้องหรือพรรคพวกปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) ให้อยู่เป็นกําลังรักษาราชการเมืองปัตตานี ๕๐๐ ครัวเศษ ครั้นทรงจัดการเมืองปัตตานีเสร็จแล้วเสด็จกลับกรุงเทพฯ หลวงสุวรรณคีรี (บุ่นฮุ้ย) ผู้ว่าราชการเมืองสงขลาก็ตามเสด็จเข้ามากรุงเทพฯ ด้วยโปรดเกล้าฯ ให้หลวงสุวรรณคีรี (ปูนฮุย) เป็นพระยาสงขลา โปรดเกล้าฯ พระราชทานตราตั้งให้พระยาสงขลา (บุ่นฮุ้ย) เชิญออกไปพระราชทานให้ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) เป็นพระยาปัตตานี และโปรดเกล้าฯ ให้เมืองสงขลา เป็นเมืองตรีขึ้นกับกรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ ให้เมืองจะนะ เมืองเทพา เมืองปัตตานี อยู่ในความกํากับดูแลของเมืองสงขลา ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) ครั้นได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นพระยาปัตตานีแล้ว ได้ตั้งบ้านเรือนว่าราชการอยู่ใน ตำบลบ้านมะนา ในปากอ่าวลําน้ำ เมืองปัตตานีฝ่ายทิศตะวันออก ในที่ตําบลนั้นสมัยนี้พลเมืองเมืองปัตตานีเรียกกันว่า “อ่าวนาเกลือ” ในระหว่างพระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ว่าราชการเมืองปัตตานีอยู่นั้น บ้านเมืองก็เป็นการปรกติเรียบร้อย ครั้นพระยาสงขลา (บุ่นฮุ้ย) ถึงแก่อนิจกรรมลง โปรดเกล้าฯ ตั้งให้หลวงนายฤทธิ์ (เถี้ยนจ๋อง) หลานซึ่งรับราชการอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นพระยาสงขลา ในระหว่างพระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) ว่าราชการเมืองสงขลาอยู่นั้น พระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ถึงแก่กรรมลง โปรดเกล้าฯ ตั้งให้นายพ่าย น้องร่วมบิดามารดาแต่พระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) เป็นพระยาปัตตานี ตั้งให้นายยิ้มซ้ายบุตรพระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) เป็นหลวงสวัสดิภักดี ผู้ช่วยราชการเมืองปัตตานี ครั้นพระยาปัตตานี (พ่าย) ได้ว่าราชการเมืองปัตตานีนั้นหาได้ว่าราชการอยู่ที่บ้านพระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ได้เลื่อนไปตั้งว่าราชการอยู่ที่บ้านย้ามู ฝ่ายทิศตะวันออกแต่บ้านพระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ห่างออกไปทางเดินเท้าประมาณสามชั่วโมงเศษ ในระหว่างพระยาปัตตานี (พ่าย) ไปว่าราชการอยู่ที่บ้านย้ามูนั้น พวกสาเหยดหนึ่งพวกรัตนาวงหนึ่ง เป็นคนชาติมลายูคบคิดกันเป็นโจรเข้าตีปล้นบ้านพระยาปัตตานี (พ่าย) บ้าง บ้านหลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ผู้ช่วยราชการบ้าง พระยาปัตตานี (พ่าย) หลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ได้สู้รบพวกสาเหยดพวกรัตนาวง พวกสาเหยดพวกรัตนาวงสู้พระยาปัตตานี (พ่าย) หลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) มิได้แตกหนีขึ้นไปซ่อนอยู่ที่ตําบลบ้านกะลาภอ ที่เป็นหัวหน้าหรือตัวนายก็เข้าไปเมืองสงขลาลุกะโทษต่อพระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) พระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) ก็ยกโทษให้พวกสาเหยด พวกรัตนาวงเป็นภาคทัณฑ์ไว้และจัดแยกให้พวกสาเหยดพวกรัตนาวง เป็นกองส่งชันส่งหวายขึ้นอยู่กับเมืองสงขลา คนประมาณ ร้อยครัวเศษ และให้อยู่ที่ ตำบลบ้านกะลาภอเป็นแขวงหนึ่ง ตัวนายหรือหัวหน้านั้นตั้งให้เป็นแม่กองคุมเลขในกองพวกนี้ ด้วยเห็นว่าถ้าจะบังคับให้พวกสาเหยดพวกรัตนาวงไปอยู่ในบังคับพระยาปัตตานี (พ่าย) อีกกลัวจะไม่สิ้นความพยาบาท จะเกิดวิวาทรบกวนไม่รู้แล้ว จึงได้จัดพวกนี้ให้แยกขึ้นเสียกับเมืองสงขลากองหนึ่ง พวกสาเหยดพวกรัตนาวงซึ่งแยกเป็นกองส่งหวายส่งชันขึ้นกับเมืองสงขลาแล้ว ก็เรี่ยรายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในแขวงบ้านหนองจิก บ้างยิริงบ้าง เหตุด้วยในแขวงตําบลที่กะลาภอไม่มีที่จะทํานา หัวหน้าที่เป็นแม่กองคมอยู่นั้น ครั้นถึงกําหนดจะส่งหวายส่งชันกับเมืองสงขลาแล้วก็เที่ยวเรียกไปตามบาญชี เรียกชั้นเรียกหวายส่งกับเมืองสงขลาตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ ในระหว่างพระยาปัตตานี (พ่าย) ว่าราชการเมืองอยู่ในอาณาเขตเมืองปัตตานีในปี พ.ศ. ๒๓๕๑-๒๔๔๔ เกิดโจรผู้ร้ายเที่ยวดีปล้นบ้านเรือนชุกชุม พระยาปัตตานี (พ่าย) ปราบปรามไม่สงบลง ได้ก็บอกหนังสือแจ้งราชการเข้ามาเมืองสงขลา พระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) ก็นําหนังสือบอกเข้ามากรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ ให้พระยาอภัยสงครามกับพระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) ออกไปแยกเมืองปัตตานีเป็น ๗ เมือง พระยาอภัยสงคราม พระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) ครั้นออกไปถึงเมืองปัตตานีแล้ว ก็แยกออกเป็นเมืองปัตตานีหนึ่ง เป็นเมืองยิริงหนึ่ง เป็นเมืองสายบุรีหนึ่ง เป็นเมืองหนองจิกหนึ่ง เป็นเมืองรามันห์หนึ่ง เป็นเมืองระแงะหนึ่ง เป็นเมืองยะลาหนึ่ง โดยแต่ละเมืองมีฐานะเป็นเมืองระดับสาม ซึ่งต้องขึ้นกับเมืองสงขลา เจ้าเมืองแต่ละเมืองเหล่านี้ต้องได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากรัฐบาลสยามที่กรุงเทพฯ เมืองใดที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธก็ส่งเจ้าเมืองที่นับถือพุทธศาสนาไปปกครองและเมืองที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็น มุสลิมก็ใช้ผู้ปกครองที่เป็นมุสลิม ในสมัยนี้ฝ่ายสยามได้เริ่มย้ายชาวไทยพุทธเข้าไปอยู่ใน ๗ เมืองเหล่านี้ ทั้งนี้เพื่อสร้างความสมดุลแห่งอํานาจและป้องกันการคุกคามจากชาวพื้นเมืองซึ่งไม่พอใจรัฐบาล ความขัดแย้งระหว่างประชาชน ๗ หัวเมืองกับรัฐบาลสยามเกิดขึ้นบ่อย เจ้าเมืองบางคนแอบสะสมอาวุธและผู้คนไว้ต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล ระยะทางอันห่างไกลจากเมืองหลวงมีส่วน ช่วยอย่างมากในการเปิดโอกาสให้เมืองเหล่านี้มีอิสระในการปกครองตัวเอง และคงสะดวก ในการทําการอื่นด้วย ดังนั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเกิดสงครามเพื่อกอบกู้เอกราชปัตตานีอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๔-๒๓๗๕ สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของเจ้าเมืองทั้งเจ็ตและสุลต่าน อัมหมัดตาฌุดดีน (Sultan Ahmad Tajuddin) แห่งเคดาห์ (ไทรบุรี) โดยได้รับการสนับสนุนทางด้านกําลังทหารจากเมืองกลันตันและตรังกานู ในฐานะที่เมืองเหล่านี้มีความสัมพันธ์ต่อกันโดยทางเครือญาติ และเป็นความร่วมมือในลักษณะแผนซ้อนแผนทําให้สงขลาไม่มีกําลังเพียงพอที่จะปราบปรามลงได้ ในที่สุดทางกรุงเทพฯ ต้องส่งกําลังทหารมาสนับสนุน โดยมีเจ้าพระคลัง ว่าที่สมุหกลาโหม (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่ทัพและปราบได้สําเร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๕ หลังจากสงครามครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงใช้นโยบาย “แบ่งแยกแล้วปกครอง” ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๓๘๒ พระองค์ทรงบัญชาให้แบ่งไทรบุรี (เคตาห์) ออกเป็น ๔ เขต ได้แก่เมืองเปอร์ลิส สตูล ไทรบุรี และกูบังปาสู โดยให้ขึ้นต่อนครศรีธรรมราชกษัตริย์ทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองทุกคน การปกครองปัตตนีทั้ง ๗ เมือง
         ใน
ปี พ.ศ. ๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกวิธีการปกครองบ้านเมืองแบบจตุสดมภ์ (เวียง วัง คลัง นา) มาเป็นการปกครองเป็นแบบ ๑๒ กระทรวง มีกระทรวงมหาดไทยเป็นกระทรวงการแผ่นดิน โดยให้จัดการปกครองเป็นระบบเทศาภิบาล ทรงใช้นโยบายประนีประนอมและทรงดำเนินการทีละขั้นตอนโดยไม่ก่อ่ให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อการปกครองของเจ้าเมือง ทั้ง ๗ หัวเมือง ทรงโปรดฯ ให้จัดแบ่งเป็น ๔ มณฑล ได้แก่                

๑. มณฑลภูเก็ต จัดตั้งในปี พ.ศ. ๒๔๓๗
๒. มณฑลชุมพร จัดตั้งในปี พ.ศ. ๒๔๓๙
๓. มณฑลนครศรีธรรมราช จัดตั้งในปี พ.ศ. ๒๔๓๙
๔. มณฑลไทรบุรี จัดตั้งในปี พ.ศ. ๒๔๔๐


พระแสงประจำจังหวัด

          ใน ปี พ.ศ. ๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) โปรดให้ปัตตานีทั้ง ๗ เมืองขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช สำหรับมณฑลนครศรีธรรมราช รวมเอา ๗ หัวเมืองเข้าไว้ด้วยคือ เมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ตานี ยะหริ่ง สายบุรี หนองจิก ยะลา ระแงะ และรามันห์ มีผู้ว่าราชการเมืองดูแลอยู่ในการปกครองของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑล ประกอบด้วย

๑. นครศรีธรรมราช
๒. พัทลุง 
๓. สงขลา 
๔. ปัตตานี ต่วนสุหลง เป็นเจ้าเมือง
. ยะลา ต่วนยาลอร์ เป็นเจ้าเมือง
๖. ยะหริ่ง นายพ่าย เป็นเจ้าเมือง
๗. ระแงะ นิดะห์ เป็นเจ้าเมือง
๘. รามันห์ ต่วนมันโซร์ เป็นเจ้าเมือง
๙. สายบุรี นิเดะห์ เป็นเจ้าเมือง
๑๐. หนองจิก ต่วนนิ เป็นเจ้าเมือง

           ครั้นปีต่อมาคือปี พ.ศ. ๒๔๔๐ โปรดให้เมืองสตูลขึ้นมณฑลไทรบุรี มณฑลไทรบุรี เป็นหัวเมืองไทยปนมลายูฝ่ายตะวันตก และเป็นประเทศราช มี ๓ เมือง คือ

๑. ไทรบุรี
๒. ปลิส
๓. สตูล 

           ในสมัยต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการปกครองแบบเก่าที่ให้เจ้าเมืองมีอํานาจเด็ดขาดในการปกครองมาเป็นการปกครอง แบบ “มณฑลเทศาภิบาล” แต่ยังทรงแต่งตั้ง “ราฌา” หรือ “สุลต่าน” ที่เคยมีอํานาจ กครองเมืองต่าง ๆ ทางแหลมมลายเหล่านั้นให้ปกครองต่อไป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุตรเจ้าเมืองรับราชการอยู่เป็นเจ้าเมืองต่อไปคล้ายกับเป็นการสืบสกุลวงศ์ ในระยะแรก ๆ บริเวณเจ็ดหัวเมืองขึ้นต่อข้าหลวงใหญ่มณฑล นครศรีธรรมราช ในเวลาต่อมาเนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวกและห่างไกล กระทรวงมหาดไทย ได้ตราข้อบังคับสําหรับการปกครองดินแดนส่วนนี้ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔)  ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ออกระเบียบหรือที่เรียกว่า “กฏข้อบังคับสําหรับปกครองบริเวณหัวเมืองทั้งเจ็ด” ให้แต่ละเมืองมีหน่วยบริหารราชการบังคับบัญชาเป็นของตนเองและให้หัวเมืองทั้ง ๗ มารวมกันเป็นเขตการปกครองอีกชั้นหนึ่งเรียกว่า “บริเวณ” มีข้าหลวงประจําบริเวณเป็นหัวหน้าส่วนราชการ มีหน้าที่จัดราชการให้เป็นไปตามข้อบังคับหรือตามท้องตราจากกรุงเทพฯ หรือตามคําสั่งของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ในการประกาศใช้ข้อบังคับดังกล่าวมีอุปสรรคอยู่หลายประการ เช่น การไม่ให้ความร่วมมือจากเจ้าเมืองต่าง ๆ ตลอดจนบรรดาข้าราชการในเมืองนั้น ๆ เพราะระบบใหม่ได้บีบบังคับ ให้บรรดาเจ้าเมืองเหล่านั้นซึ่งแต่ก่อนเคยดูแลเมืองในนามของกษัตริย์เท่านั้น แต่ต้องเปลี่ยนมาทําตามคําสั่งของกษัตริย์และกฎหมายที่ออกมาจากเมืองหลวง ทําให้ขาดเสรีภาพและถูกลดอํานาจด้านการปกครองตนเอง ประจวบกับสยามเองต้องเสียดินแดนบางส่วนให้กับอังกฤษตามสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๔๕ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) โปรดเกลล้าฯ ให้ตั้งมณฑลปัตตานีโดยแยกออกจากมณฑลนครศรีธรรมราช  โดยปรับ ๗ หัวเมืองให้เหลือเพียง ๔ เมือง คือ 

๑. เมืองปัตตานี (รวมหนองจิกและยะหริ่งเดิม)
๒. เมืองยะลา (รวมยะลาและรามัน)
๓. เมืองสายบุรี
๔. เมืองระแงะ

      เมืองทั้ง ๔ นี้จัดอยู่ในมณฑลโดยมีศูนย์บัญญาการอยู่ที่เมืองหลัก ต่อมาได้ย้ายที่ว่าการเมืองระแงะไปอยู่ที่อำบางนรา และตั้งระแงะเป็นอำเมืองระแงะ และได้เปลี่ยนชื่อเมืองหลักเป็นเมืองบางนรา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ เปลี่ยนชื่อเมืองบางนราเป็นจังหวัดนราธิวาส ส่วนอำเภอสายบุรียุบเป็นอำเภอตะลุบัน (เพราะที่ว่าการอําเภอตั้งอยู่ที่ตะลุบัน) ให้ไปขึ้นกับจังหวัดปัตตานีในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ในปีเดียวกันนั้นสยามได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตยการปกครองของสยามที่มีต่อผู้คนในมณฑลปัตตานีมีลักษณะพิเศษมาก ซึ่งดูได้จากการใช้หลักรัฐประศาสโนบายสําหรับ ปฏิบัติราชการในมณฑลปัตตานี โดยพระราชหัตถเลขา ที่ ๓๗๘ ลงวันที่ ๖ กรกฎาคม  ๒๔๖๕ ดังต่อไปนี้
            
“...ข้าราชการที่จะแต่งตั้งออกไปประจําตําแหน่งในมณฑลปัตตานี จึงเลือกเฟ้นแต่คนที่มีนิสัยซื่อสัตย์ สุจริต สงบเสงี่ยม เยือกเย็น ไม่ใช่สักแต่ว่าส่งไปบรรจุให้เต็มตําแหน่งหรือส่งไปเป็นการลงโทษเพราะเลว.
           
“...การกดขี่บีบคั้นแต่เจ้าพนักงานของรัฐ เนื่องแต่การใช้อํานาจในทางที่ผิดมิเป็นธรรมก็ดี เนื่องแต่การหมิ่นหลู่ดูแคลนพลเมืองก็ดี เนื่องแต่การหน่วงเหนี่ยวชักช้าในกิจกรรมตามหน้าที่ เป็นสาเหตุให้ราษฎรเสียความสะดวกในทางหาเลี้ยงชีพก็ดี จึงต้องแก้ไขและระมัดระวังมิให้มีขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องให้ทําผิดรองรับผลตามความผิดโดยยุติธรรม ไม่ใช่สักแต่ว่าจัดการกลบเกลื่อนให้เงียบไปเสีย เพื่อจะไว้หน้าสงวนศักดิ์ของข้าราชการ 
       


แผนที่ปัตตานีสมัยโบราณ

กองสิ่งของที่รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อพระราชทานราษฎรเมืองปัตตานี ในงานฉลองศาลาวัดตานีสโมสร เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๔๘
(ภาพจากหนังสือพระกฐินพระราชทานประจำปี ๒๕๖๐ ณ พระอารามหลวง ๔ แห่ง ใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศลในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมราชบพิตร)        

 


ศาลาการเปรียญที่รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างไว้ที่วัดตานีสโมสร เมืองปัตตานี ถ่ายเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๔๘
 (
ภาพจากหนังสือพระกฐินพระราชทานประจำปี ๒๕๖๐ ณ พระอารามหลวง ๔ แห่ง ใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศลในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมราชบพิตร)

    จังหวัดปัตตานียังแยกท้องที่อำเภอหนองจิก โดยยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมืองเก่า ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอมะกรูดและอำเภอโคกโพธิ์ตามลำดับ เมืองปัตตานีเดิมเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอปะกาฮะรังและจัดตั้งอำเภอขึ้นใหม่อีก ๒ อำเภอ คืออำเภอยะรัง และอำเภอปะนาเระ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗)  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เกิดภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ ภายหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ รัฐบาลจึงต้องตัดทอนรายจ่ายให้น้อยลงเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ จึงยุบเลิกมณฑลปัตตานีคงสภาพเป็นแค่จังหวัด ยุบจังหวัดสายบุรีเป็นอำเภอตะลุบันและแบ่งพื้นที่บางส่วนของสายบุรี คือระแงะ และบาเจาะ ไปขึ้นกับจังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็นต้นมา จังหวัดปัตตานีมีการปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัด พระยารัตนภัคดี (แจ้ง สุวรรณจินดา) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีคนแรก ภายใต้การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๕  และใช้บริหารราชการแผ่นดินมาจนทุกวันนี้           


ขบวนเรือรับเสด็จครั้งรัชกาลที่ ๕ เสด็จมณฑลปัตตานี เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๔๘
 (ภาพจากหนังสือพระกฐินพระราชทานประจำปี ๒๕๖๐ ณ พระอารามหลวง ๔ แห่ง ใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศลในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมราชบพิตร)


ข้าราชการมณฑลปัตตานีรอรับเสด็จรัชกาลที่ ๕ ที่ว่าการศาลมณฑลปัตตานี เมื่อวัน ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๔๘
 (ภาพจากหนังสือพระกฐินพระราชทานประจำปี ๒๕๖๐ ณ พระอารามหลวง ๔ แห่ง ใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศลในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมราชบพิตร)

การแบ่งเขตการปกครองในปัจจุบัน

        ปัตตานี มีเนิ้อที่ประมาณ ๑,๙๔๐.๓๕ ตร.กม. หรือประมาณ ๑,๒๑๒,๗๒๓ ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ทิศเหนือ  ติดกับอ่าวไทย
ทิศใต้  ติดกับเขตอำเภอเมืองยะลา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และเขตอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดกับเขตอำเภอเทพาและอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

        การปกครองแบ่งออกเป็น ๑๒ อำเภอ ปรกอบด้วย

๑. เมืองปัตตานี
๒. ยะรัง
๓. หนองจิก
๔. โคกโพธิ์
๕. ยะหริ่ง
๖. ปะนาเระ
๗. มายอ
๘. สายบุรี
๙. ไม้แก่น
๑๐. ทุ่งยางแดง
๑๑. กะพ้อ
๑๒. แม่ลาน 

 

   สืบค้นจาก : http://www.pattani2018.pattani.go.th/content/map


ภาพจากคุณณัฐ เหลืองนฤมิตรชัย ; https://www.youtube.com/watch?v=SXnq7V4DUO0

        ชื่อบ้านนามเมือง
   
   หลักฐานเอกสารโบราณปรากฏนามเมือง "ปัตตานี" ซึ่งออกเสียงตามสําเนียงในแต่ละภาษา เช่น หลังยาซูว หลังยาซีเจีย ภาษาจีน) ลังคาโศกะ อิลังคาโศกะ (ภาษาสันสกฤต ภาษาทมิฬ) เล็งกะสุกะ (ภาษาชวา) ลังคะตุกา (ภาษา อาหรับ) ลังกะสุกะ สังกาสุกะ (ภาษามลายู) จากการศึกษาค้นคว้าของอาจารย์ประพนธ์ เรืองณรงค์ ชื่อบ้านนามเมืองในจังหวัดปัตตานี มีรายละเอียดดังนี้

- ปัตตานี มาจากคํามลายูว่าเปอตานี (Pertaini) หมายถึงชาวนาหรือชาวสวน ตานี (Tani) หมายถึงทํานาหรือทําสวน ปัตตานีคงเป็นแหล่งกสิกรรมมาตั้งแต่อดีต
ยะหริ่ง มาจากคําว่ายือริง หมายถึงต้นเนียง ภาคกลางเรียกพะเนียง หรือชะเนียง บ้างว่ายะหริ่ง หมายถึงอวนชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านใช้จับปลา (ยุคมณฑลปัตตานี เมืองยะหริ่งถูกยุบเป็นอำยามู คํายามูหมายถึงต้นฝรั่ง ชาวใต้ทั่วไปเรียกฝรั่งว่าชมพู่ บางถิ่นเรียกชมพู่ยามูหรือชมพู่ย่าหมู)
ยะรัง มาจากคําว่ายือลีมอ หมายถึงผลทับทิม
ปะนาเระ หมายถึงชักลาก ยุคนั้นตรงท่าน้ำปะนาเระคงมีน้ำตื้น เรือไม่สามารถเข้าเทียบทําได้สะดวก ชาวบ้านจึงชักลากเรือเพื่อเทียบท่าตามต้องการ
สายบุรี มีอีกชื่อหนึ่งว่าตะลุบัน เป็นค่ามลายูคือ ลูบัน หมายถึงหลุม หรือช่อง เดิมเรียกกันว่าเมืองสาย ตั้งเมืองเข้าไปตามลำน้ำสายบุรี และย้ายมาตั้งเมืองใหม่ที่บริเวณภูเขาสะลินดงมายู (สะลินดงที่กําบัง, บายู=พายุ)
มายอ คํามลายูหมายถึงต้นมะตูม
หนองจิก หมายถึงต้นจิกเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ (รัชกาลที่ ๕) ประพาสเมืองหนองจิกทรงตั้งชื่อวัดที่หนองจิกหรือวัดตุยงว่า "วัดมุจลินทวาปีวิหาร"
 - โคกโพธิ์ หมายถึงบริเวณเนินสูงมีต้นโพธิ์มองเห็นเด่นแต่ไกล เนินเขาที่ตั้งอําเภอนี้ชื่อควนบู หมายถึงเนินดินเป็นที่หลบภัยหรือค่ายรบแม่ลาน หมายถึงลานต้นใหญ่
ทุ่งยางแดง หมายถึงบริเวณมีต้นยางแดงหรือยางนา
กะพ้อ หมายถึงต้นกะพ้อ เป็นพืชตระกูลปาล์มมาจากหมู่บ้านชื่อเจาะกะพ้อ เจาะหรือจอเราะ คำมลายูหมายถึงห้วยหรือลําธาร
ไม้แก่น ตั้งชื่อตามตํานานเล่าถึงต้นหว้าใหญ่หรือต้นกรือแย

       - อําเภอเมืองปัตตานี     
         
อำเภอเ
มืองปัตตานีเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่ง มีความเป็นมาสืบทอด มาจากสมัยลังกาสุกะ (ประมาณ ปี พ.ศ. ๗๐๐) ซึ่งมีการย้ายที่ตั้งตัวเมืองมา หลายแห่งหลายที่ จุดสุดท้ายก่อนจะมาตั้งอยู่ที่อําเภอเมืองนั้นได้แก่ ชุมชนบ้านกรือเซะ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองปัจจุบันเพียง ๗ กิโลเมตร สาเหตุของการโยกย้ายเมืองก็เนื่องจากการค้าขายเป็นสําคัญในอดีตเมืองตานีเป็นท่าเรือพาณิชย์ที่สําคัญในย่านทะเลจีนตอนใต้ มีเรือสินค้า ต่างประเทศหลายเชื้อชาติเข้ามาติดต่อค้าขาย เมืองตานีในอดีตจึงเป็นเมืองท่าที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจมาระยะหนึ่งจากความหมายของคําว่าปัตตานี (ภาษาทมิฬ) ตามที่นักวิชาการทางโบราณคดีแปลว่าคือชาวนา การที่ได้ชื่อเช่นนี้เนื่องจากว่าปัตตานีเดิมนั้นชาวเมืองมีอาชีพเป็นเกษตรกร นอกจากการทําไร่ทํานาบันทึกของจีนยังกล่าวไว้ว่าสยามมีพิมเสนมาก แต่พิมเสนที่ดีที่สุดคือพิมเสนของปัตตานี นอกจากนี้ยังมีตํานานเกี่ยวกับเมืองปัตตานีเล่าสืบกันมาว่า เจ้าเมืองไทรบุรีมีโอรสและธิดาหลายองค์ พระองค์ทรงมีรับสั่งให้โอรส และธิดาแต่ละองค์ไปหาที่ตั้งเมืองใหม่ พระธิดาองค์หนึ่งพร้อมด้วยข้าราชบริพารได้ทําการเสี่ยงทายหาที่ตั้งเมือง พระนางได้ออกเดินหางไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มาถึงชายทะเลแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ในท้องที่ตันหยงลุโละจึงได้หยุดพักไพร่พล ตกกลางคืนพระธิดาได้ทรงนิมิตเห็นกระจงเผือกปรากฏที่ชายหาด เมื่อตื่นบรรทมได้ทรงเล่าเรื่องให้ข้าทาสบริวารฟัง ซึ่งทั้งหมดก็เห็นพ้องต้องกันและกราบทูลพระธิดาว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรตั้งเมืองใหม่ ณ สถานที่นั้น และให้ชื่อเมืองว่า “ปาตาอินี” ซึ่งแปลว่า “หาดแห่งนี้” ต่อมาคํา ๆ นี้ ค่อย ๆ เลือนไปกลายเป็น “ปัตตานี”
       แหล่งท่องเที่ยว
       
แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเมืองปัตตานี ที่สำคัญ อาทิ

๑. มัสยิดกลาง ตั้งอยู่ ณ ถนนยะรัง อําเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นมัสยิดที่สวยที่สุดในประเทศไทย มีลักษณะการก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมตะวันออกกลาง สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ สมัยฯพณฯ จอมพลสฤษฎ์ ธนรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยใช้งบประมาณ การก่อสร้าง ๕ ล้านบาท

๒. มัสยิดกรือเซะ ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านกรือเซะ ตําบลบานา อําเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นมัสยิดที่สร้างค้างคามาตั้งแต่สมัยอยุธยา ราว พ.ศ. ๒๒๖๕ เล่ากันว่านายช่างผู้สร้างเป็นชาวจีนชื่อลิ้มโต๊ะเคี่ยม คนเดียวกับที่หล่อปืนใหญ่พญาตานี ลิ่มโต๊ะเคี่ยมได้ภรรยาเป็นชาวปัตตานีนับถือศาสนาอิสลาม และเข้ารีตเป็นมุสลิมด้วย ภายหลังลิ้มกอเหนี่ยวน้องสาวเดินทางมาจากเมืองจีน อ้อนวอนให้พี่ชายเดินทางกลับตามความประสงค์ของญาติพี่น้อง แต่ลิ้มโต๊ะเคี่ยมกลับปฏิเสธ ในที่สุดน้องสาวมีความโศกเศร้าและผูกคอตาย ณ ต้นมะม่วงหิมพานต์ใกล้กับมัสยิดของพี่ชาย บางตํานานเล่าว่าเจ้าแม่ถูกทหารฝ่ายกบฏเป็นผู้ฆ่า จากวาจาสิทธิของเจ้าแม่ ที่สาบแช่งไว้ว่าถ้าสร้างหลังคามัสยิดครั้งใดจะถูกฟ้าผ่าทลายหลังคาครั้งนั้นจนมัสยิดกรือเซะ ก็กลายเป็นมัสยิดร้างมาจนทุกวันนี้

๓. อวงซุ้ยเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ตั้งอยู่ใกล้มัสยิดกรือเซะ ชาวบ้านทั้งชาวไทยพุทธและ มุสลิมเชื้อสายจีนให้ความนับถือมาก เพราะเชื่อในวาจาสิทธิ์ของเจ้าแม่เมื่อครั้งมีชีวิต
๔. ที่หล่อปืนใหญ่พญาตานี ตั้งอยู่ในหมู่บ้านกรือเซะ ปัจจุบันเป็นลานดิน เนื่องจากต้องใช้ความร้อนอย่างสูง เพื่อใช้ทองแดงหล่อปืนใหญ่ เป็นเหตุให้ต้นหญ้าและต้นไม้ไม่ขึ้น ณ บริเวณดังกล่าวจนตราบเท่าทุกวันนี้
๕. กูโบตันหยงลุโละ ตั้งอยู่ที่ตําบลตันหยงลุโละใกล้กับมัสยิดกรือเซะ เป็นที่ฝังศพ เจ้าเมืองหรือเชื้อพระวงศ์ปัตตานีสมัยปัตตานีตั้งบ้านเมืองอยู่ ณ บ้านกรือเซะซึ่งตรงกับสมัย อยุธยา
๖. ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เดิมชื่อศาลเจ้าเล่งจูเกียง ตั้งอยู่ ณ ถนนอะเนาะรู เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ มีนายอําเภอจีนชื่อพระจีนคณารักษ์ (จูไล่ ตันธนาวัฒน์) ได้อัญเชิญรูปแกะสลักเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว (สลักจากไม้มะม่วงหิมพานต์) มาประดิษฐาน ณ ศาลเจ้าดังกล่าวมีประชาชนทั้งจังหวัดปัตตานีมานมัสการเป็นประจํา ทุกวันเพ็ญเดือนสาม จะมีงานสมโภชเจ้าแม่อย่างมโหฬารนับเป็นงานมหกรรมของจังหวัดปัตตานี
๗. บ้านชาวจีนที่ถนนอาเนาะรู ตั้งอยู่ใกล้กับศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มีอาคารตึกแถว แบบสถาปัตยกรรมของจีน เข้าใจว่าเป็นชาวจีนที่มาตั้งบ้านเรือนในปัตตานียุคต้นรัตนโกสินทร์
๘. วังจะบังติกอ เป็นวังของเจ้าเมืองปัตตานี ตั้งอยู่ ณ ถนนหน้าวัง ริมฝั่งแม่น้ำปัตตานี สร้างเป็นที่ประทับของเจ้าเมืองปัตตานี และเป็นสถานที่รับแขกเมือง ผู้ที่สร้างวังนี้คือสุลต่านมูฮัมหมัด (เต็งกูบือซาร์) ซึ่งรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าให้เป็นเจ้ามืองปัตตานี และสืบเชื้อพระวงศ์เป็นพระยาตานี ต่อมาอีก ๔ องค์ จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดเกล้าให้รวม ๗ หัวเมืองเป็นมณฑลปัตตานี ตําแหน่งพระยาตานีที่สืบทอดจากราชวงศ์กลันตัน โดยประทับ ณ วังจะบังติกอก็สิ้นสุดลงในสมัยนี้
๙ กูโบจะบังติกอ กูโบหมายถึง สุสานหรือที่ฝังศพของมุสลิม กูโบจะบังติกอ ตั้งอยู่ใกล้กับวังจะบังติกอ และมัสยิดจะบังติกอ นับเป็นกโนเก่าแก่และเป็นที่ฝังศพพระยาปัตตานี ด้วย
๑๐. ศาลหลักเมือง ตั้งอยู่บริเวณสนามศักดิ์เสนีย์ริมฝั่งแม่น้ำปัตตานี ตำบลสะบารัง สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔ คือเป็นหลักชัยของเมืองปัตตานี

      ชื่อและประวัติศาสตร์ของชุมชนในพื้นที่ริมแม่น้ำปัตตานี
         - 
ชุมชนยูโยบูแม : ดินแดนแห่งเหงือกปลาหมอและต้นลําพู
         ชุมชนยูโยบูแมเป็นชื่อชุมชนที่มาจากภาษามลายูถิ่น คือยุโย คือต้นเหงือกปลาหมอ บูแมคือต้นลําพู เมื่อนําทั้ง ๒ คํามารวมกัน มีความหมายโดยรวมว่าชุมชนแห่งนี้ ในอดีตเป็นดินแดนแห่งต้นเหงือกปลาหมอและต้นลําพู เนื่องจากชุมชนนี้มีที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตานี เดิมชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน สภาพทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ บางช่วงระยะเวลาของปีมีน้ำกร่อย ซึ่งเป็นน้ำทะเลจากบริเวณปากแม่น้ำตานี เข้ามาผสมกับน้ำจืดบริเวณแม่น้ำตานี ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเติบโตของต้นเหงือกปลาหมอและต้นลําพู ผู้คนในยุคนั้นสังเกตเห็นสิ่งโดดเด่นที่มีอยู่ในชุมชนจึงได้นําสิ่งดังกล่าวมาตั้งเป็นชื่อชุมชน 
        - ชุมชนปากน้ำยูโยปะชีหรือยูโยด่านภาษี : ความทรงจําเกี่ยวกับกัวลามือเก๊าะฮ์
       ชุมชนปากน้ำยูโยปะชี เป็นชื่อของชุมชนมาจากคํา ๒ คํา คือยูโย อันหมายถึงต้นเหงือกปลาหมอและปะชี เป็นคําที่มาเพิ่มเติมในยุคหลังโดยเพี้ยนมาจากภาษาไทยว่าด่านภาษีหรือด่านศุลกากร เนื่องจากระยะต่อมามีการตั้งสํานักงานด่านศุลกากรในพื้นที่ชุมชนแห่งนี้ จึงเป็นที่มาในการผสมกับคําที่เป็นชื่อหมู่บ้านเดิมในภาษามลายูถิ่น ดังนั้นคําว่ายูโยปะชีมีความหมายโดยรวม คือหมู่บ้านที่อุดมไปด้วยต้นเหงือกปลาหมอและเป็นที่ตั้งของด่านศุลกากร ชุมชนยูโยปะซี ตั้งอยู่ติดกับชุมชนบือติงวอก๊ะห์ และถือเป็นหมู่บ้านสุดท้ายที่ตั้งอยู่ในบริเวณเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ตรงกันข้ามชุมชนเป็นชุมชนยูโยบูแมและสะพานปลา แหล่งซื้อขายผลผลิตทางการประมงของชาวบ้านในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นแหล่งรวมของโรงงานอุตสาหกรรมด้านการประมง ในพื้นที่อันเป็นแหล่งรองรับเข้าสู่การทํางานในระบบโรงงานอุตสาหกรรมของชาวบ้านในพื้นที่แถบนี้ชาวบ้านในอดีตของชุมชนยูโยปะชีมีอาชีพการประมงพื้นบ้าน เช่น ปะซ่อมอวนในการประมงพื้นบ้าน รวมทั้งการทํางานรับจ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ภายในตัวเมือง เช่น ถีบรถสามล้อไว้รับส่งผู้คนในพื้นที่เขตเมืองปัตตานี ในช่วงยุคสมัยหนึ่งประมาณ ๔๐-๕๐ ปีมาแล้วชุมชนยูโยปะซีในฐานะเป็นท่าน้ำหรือท่าเรือในการรับส่งผู้คนที่จะไปประกอบพิธีฮัจย์ และเป็นด่านศุลกากรปัตตานีซึ่งที่ทําการเก่าตั้งอยู่ ณ บริเวณอาคาร กองร้อยควบคุมฝูงชน หน้าซอยด้านภาษี ตําบลสะบารัง อําเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จากการเล่าขานของรอฮานี ดาโอ๊ะ ซึ่งได้ฟังจากผู้รู้ซึ่งเป็นชาวบ้านในชุมชนปากน้ำปัตตานี ที่ได้มีโอกาสสัมผัสห้วงเวลาแห่งความประทับใจ ดังกล่าวในวัยเด็กได้กล่าวว่า “ยังจําได้ว่าเมื่อก่อนตอนเป็นเด็กได้มีโอกาสเห็นภาพผู้คนรับส่งญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง เพื่อเดินทางไปยังนครมักกะฮ์ ณ บริเวณหน้าด่านศุลกากรเก่าปัตตานี ซึ่งในอดีตคลองแถบนี้มีพื้นที่กว้างเข้ามาถึงบริเวณถนนในปัจจุบัน ครั้งนั้นจะมีบริษัทตานีเบย์ ทําหน้าที่ในการรับส่งผู้โดยสารที่จะไปประกอบพิธีฮัจย์ ต้องขึ้นเรือเล็กเพื่อรับส่งผู้โดยสารตั้งแต่แถวสะบารังจนถึงบริเวณปากน้ำปัตตานี ในการส่งผู้โดยสารไปขึ้นเรือลําใหญ่เพื่อเดินทางต่อไปยังมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบียต่อไป” ปัจจุบันชุมชนยูโยด่านภาษี มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาที่ผันผ่านโดยเฉพาะโครงสร้างทางกายภาพของชุมชน เช่น ด่านศุลกากรปัตตานีได้ย้ายที่ทําการไปตั้งบริเวณริมแม่น้ำตานี เลยที่ทําการสถานีดับเพลิงแห่งใหม่ประมาณ ๑ กิโลเมตร สะพานที่เป็นสถานที่รับส่งผู้คน เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ในครั้งนั้นไม่มีร่องรอยหลงเหลือ นอกเหนือจากร่องรอยความทรงจําของคนเฒ่าคนแก่ที่ได้มีโอกาสสัมผัส

       -  ชุมชนปากน้ำบือติงหะยีแม บือติงวอกะฮ์ หรือมือติงสือลากี (Telagi) : ชุมชนแห่งปราชญ์ ริมแม่น้ําตานี
           
ชุมชนปากน้ํามือถึงหะยีแม บือติงวอกะฮ์ มือติงตือลากี หมู่บ้านที่มีหลายชื่อตามลักษณะสภาพแวดล้อมของชุมชน สถานที่ และบุคคลที่สําคัญในชุมชนกล่าวคือหากเรียกชื่อ “มือติงหะยีแม” ผู้คนในรุ่นก่อนที่มีอายุประมาณ ๔๐ กว่าปีขึ้นไป ย่อมจะนึกถึงหะยีแม ผู้เป็นปราชญ์หรือผู้รู้ด้านศาสนาในพื้นที่แถบบริเวณปากน้ำปัตตานี หรือพื้นที่บริเวณเขตอําเภอเมืองปัตตานี ซึ่งปราชญ์ผู้นี้นอกเหนือจากจะเป็นผู้นําศาสนาหรืออิหม่ามในชุมชนแล้ว ยังเป็นผู้ก่อตั้งปอเนาะในหมู่บ้าน และมีลูกศิษย์ลูกหาเป็นเยาวชนชาวบ้านที่อยู่บริเวณ เขตตัวเมืองปัตตานี้โดยเฉพาะบริเวณถนนปากน้ำปัตตานี รวมทั้งจากชุมชนดาโต๊ะ และอําเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีอีกด้วย ในส่วนของชื่อบือติงวอก๊ะห์นั้น เป็นหมู่บ้านเดียวกันกับบือติงหะยีแม บือติง มีความหมายว่าสันทรายยาวใหญ่ที่งอกหรือโผล่ขึ้นมาบริเวณอ่าวแม่น้ำหรือทะเล (สันนิษฐานว่าน่าจะบ่งบอกถึงลักษณะที่ตั้งของชุมชน ที่ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำตานี จําเป็นต้องตั้งให้สูงกว่าระดับของแม่น้ำตานี) คําว่าวอกะฮ์ เป็นภาษามลายูถิ่นหมายถึง ศาลา โดยในอดีตบริเวณหน้าหมู่บ้านแห่งนี้ มีศาลาตั้งอยู่อันเป็นที่พักของชาวบ้านที่สัญจรไปมา และสามารถใช้เป็นที่พักคลายเหนื่อยจากการเดินทาง และในปัจจุบันศาลาแห่งนี้ยังคงตั้งอยู่แต่มีการปรับปรุงซ่อมแซมให้สามารถใช้งานได้ และเลื่อนตําแหน่งที่ตั้งจากเดิมอยู่บริเวณกลางถนนหน้าหมู่บ้าน สู่บริเวณริมทางเนื่องมาจากการขยายถนนในเวลาต่อมา ส่วนคำว่า “บือติงตือลากี” นั้น มีที่มาคือเช่นเดียวกันกับบือติง คือสันทรายยาวใหญ่ที่งอกหรือโผล่ขึ้นมาบริเวณอ่าวแม่น้ำหรือทะเล ส่วนลากีเป็นภาษามลายูท้องถิ่น มีความหมายว่าต้นมะขาม ผู้สูงอายุที่ได้รับการบอกเล่าเรื่องราวจากคนรุ่นปู่รุ่นย่าที่ได้มีโอกาสเห็นต้นมะขามดังกล่าวได้เล่าว่า เนื่องจากในอดีตประมาณเกือบร้อยปีที่ผ่านมา ที่บริเวณหน้าชุมชนมีต้นมะขามใหญ่ต้นหนึ่ง มีอายุเป็นร้อยปี แต่ต่อมาได้ถูกโค่นทิ้ง ด้วยเหตุดังกล่าวคนในอดีตจึงได้เรียกชื่อชุมชนตามลักษณะที่โดดเด่นของหมู่บ้าน แต่อย่างไรก็ตามหากเราได้พูดคุยกับคนที่มีอายุ ๔๐ กว่าปีขึ้นไปในบริเวณเขตพื้นที่เมืองปัตตานี พวกเค้าพูดถึงชื่อของชุมชนทั้ง ๓ นี้ว่าคือหมู่บ้านเดียวกัน แต่ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่มีน้อยคนนักที่จะรู้ชื่อที่หลากหลายและที่มาที่ไปของชื่อเหล่านี้  หากเอ่ยชื่อชุมชนบือติงวอก๊ะห์ ผู้คนในรุ่นก่อนที่มีอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป ย่อมจะรู้กันดีว่าชุมชนแห่งนี้ เป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้ด้านศาสนาและมีผู้รู้ด้านศาสนาหลายท่าน ที่ทําหน้าที่ในการเพาะบ่มปลูกฝังในเรื่องศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ในอดีตแรกเริ่มของการก่อตั้งชุมชนครอบครัวหะยีแมถือเป็นผู้บุกเบิกในยุคแรก ๆ ของชุมชนบือติงแห่งนี้ ด้วยความเป็นผู้รู้ด้านศาสนาและมีแนวคิดในการเผยแพร่ศาสนา คุณธรรม จริยธรรม จึงได้ก่อตั้งสถาบันการศึกษาด้านศาสนา คือปอเนาะหะยีแมขึ้นมาในชุมชน ทําการสอนแก่เยาวชน และชาวบ้านที่สนใจศึกษาหาความรู้ด้านศาสนาในบริเวณชุมชนใกล้ ๆ และบางส่วนเดินทางมาจากพื้นที่อําเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีก็มี ต่อมาเมื่อท่านเสียชีวิตปอเนาะได้ปิดตัวลง เนื่องจากขาดผู้สืบทอดดูแลปอเนาะ แต่ลูกหลานของท่านส่วนหนึ่งก็ยังคงทําการสอนคัมภีร์อัลกุรอานแก่ชาวบ้านในชุมชนต่อไป เหลือไว้เพียงเรื่องราวความทรงจําเกี่ยวกับปอเนาะที่สนองตอบความต้องการความรู้ด้านศาสนาที่ยังคงตราตรึงอยู่ต่อไป
        - ชุมชนปากน้ำบือติงตายง : ดินแดนแห่งสันดอนทราย
        ชุมชนปากน้ำบือติงตายง เป็นชุมชนปากน้ำบือติงตันหยง ตั้งอยู่บนถนนเส้นเดียวกันของเขตพื้นที่ถนนปากน้ำปัตตานี ถนนที่มีความหลากหลายของชื่อ อันบ่งบอกถึงที่มาของความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น  คำว่า ”ตายง” เป็นภาษามลายูถิ่น หมายถึงสันดอนทราย มีความหมายโดยรวมคือชุมชนที่มีสันดอนทราย ตาม สถานที่ตั้งของหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำตานี เพราะในช่วงน้ำลดจะมีสันดอนทรายโผล่ขึ้นตรงบริเวณแม่น้ำตานีด้านหลังหมู่บ้าน
         - 
ชุมชนบือติงม่วง บือติงกําปังกู : หมู่บ้านของฉัน
    ชุมชนบือติงม่วงหรือบือติงกําปงกู นั้นชื่อชุมชนบ่งบอกถึงที่มาของประวัติความเป็นมาชุมชนว่าเป็นเช่นไร บือติงม่วงนั้นมาจากคําว่า บือติง อันมีความหมายว่ สันทรายยาวใหญ่ที่งอกหรือโผล่ขึ้นมาบริเวณอ่าวแม่น้ำหรือทะเล เช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ หมู่บ้านในเขตถนนปากน้ำ ส่วนคําว่าม่วง นั้นมาจากชื่อบุคคลที่เป็นชาวไทยพุทธในพื้นที่ ๆ มีบทบาทด้านการเมืองท้องถิ่น ซึ่งชาวบ้านเรียกชื่อเต็มว่า “โต๊ะนาม่วง” แต่จากการพูดคุยกับชาวบ้านผู้สูงอายุในชุมชนใกล้เคียงว่า ชื่อเดิมของชุมชนคือบือติงกําปงกู ที่เป็นภาษามลายูถิ่น มีความหมายแปลตรงตัวว่าหมู่บ้านของฉัน ชื่อหมู่บ้านกําปงกูได้มีการหยุดใช้ไประยะหนึ่ง โดยเปลี่ยนไปใช้ชื่อบือติงม่วง จากนั้นจึงกลับมาใช้ชื่อเดิมคือ บือติงกําปงกูอีกครั้งจนถึงปัจจุบัน
        - 
ชุมชนสะบารัง : ดินแดนแห่งสองฟากฝั่งแม่น้ำตานี
          สะบารังชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำตานี รอยต่อระหว่างชุมชนบือติงม่วงและหัวสะพานเดชาและชุมชนโรงอ่างในปัจจุบัน “สะบารัง” เป็นคําภาษามลายูถิ่นมีความหมายว่าฝั่งตรงข้าม จากข้อเขียนของรอฮานี ดาโอ๊ะ ได้กล่าวว่าที่มาของชื่อชุมชนกล่าวสันนิษฐานว่า ชื่อนี้น่าจะมาจากเหตุที่ในอดีตชุมชนริมแม่น้ำตานีมีหลายชุมชน 
หมู่บ้านหรือชุมชนที่อยู่ตรงข้ามกับสะบารัง ได้แก่ชุมชนอาเนาะซูงา ชุมชนคลองช้าง มีการไปมาหาสู่กันเป็นประจํา จะด้วยเหตุของการการไปเยี่ยมเยียนญาติมิตร เพื่อนฝูง หรือแม้กระทั่งการเดินทางไปค้าขาย ซื้อของยังฝั่งชุมชนสะบารัง ดังนั้นผู้ที่อยู่หมู่บ้านฝั่งตรงข้ามกับหมู่บ้านสะบารัง จึงเรียกชื่อว่าสะบารังอันมีความหมายว่า ฝั่งตรงข้ามนั่นเอง ทั้งนี้เนื่องจากส่วนหนึ่งของพื้นที่สะบารังในอดีตเป็นตลาดแลกเปลี่ยนซื้อขายผลิตผลและผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรต่าง ๆ โดยเฉพาะมะพร้าว ในสมัยก่อนผู้คนจึงมักจะได้ยินชื่อชุมชนอีกชื่อหนึ่งว่า “กือตาอาเนาะยอ" อันมีความหมายว่าตลาดขายหน่อมะพร้าว คนที่จะขายของหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมัก จะนิยมมาขายของที่ตลาดกือตาเนาะยอ (คือบริเวณก่อนถึงมัสยิดจนถึงแยกโรงเรียนเบญจมราชูทิศในปัจจุบัน) นอกจากนี้ยังมีผู้คนอีกมากที่ไม่ทราบว่าหมู่บ้านสะบารังในอดีตยังมีอีกชื่อ คือกำปงกอและหรือหมู่บ้านกอและ มีข้อมูลที่เล่าเรื่องนี้ไว้ว่า เดิมในพื้นที่ชุมชนสะบารั้งนั้นมีอีกพื้นที่ที่แยกส่วนออกมาเป็นอีกหนึ่งหมู่บ้าน คือบริเวณด้านหลังชุมชนสะบารังในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ติดกับคลองสะบารังเส้นในใกล้บริเวณสะพานโรงเรียนบ้านสะบารัง ในอดีตชาวบ้านส่วนใหญ่ในหมู่บ้านกอและประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน โดยใช้เรือกอและเป็นหลัก หมู่บ้านแห่งนี้จึงมีเรือกอและเป็นจํานวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านกอและ ต่อมาเมื่อมีการแบ่งเขตการปกครองจึงได้รวมหมู่บ้านเข้าด้วยกันภายใต้ชื่อหมู่บ้านสะบารัง
        - ชุมชนโรงอ่าง : ถิ่นหัตถศิลป์จากดินเหนียว
         ชุมชนโรงอ่างในที่นี้มีความคาบเกี่ยวระหว่าง ๒ ชุมชน คือบริเวณชุมชนหัวสะพาน ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่โรงอ่าง แต่แยกออกมาเป็นอีกชุมชนหนึ่ง ชุมชนนี้ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างหมู่บ้านสะบารัง และชุมชนโรงอ่าง (ตรงหัวสะพานเดชานุชิต) กับชุมชนโรงอ่าง นอกจากนี้ชื่อของชุมชนหัวสะพานนั้น ตั้งขึ้นมาตามลักษณะที่ตั้งซึ่งอยู่ตรงบริเวณหัวสะพานเดชานุชิต ส่วนชุมชนโรงอ่างนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าในอดีต พื้นที่แห่งนี้เป็นโรงงานผลิตอ่าง เพื่อป้อนขายให้กับคนทั้งในและนอกพื้นที่ แต่ปัจจุบันจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการขาดผู้สืบต่อกิจการด้านการทําอ่าง จึงทําให้มีการปิดตัวโรงอ่างไปเหลือเพียงอยู่โรงเดียวเท่านั้น ที่พอจะเป็นแหล่งให้ศึกษาเรียนรู้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นแห่งนี้ ชุมชนโรงอ่าง เป็นที่ตราตรึงอยู่ในความทรงจําของผู้คนในเรื่องโรงผลิตอ่าง ซึ่งในอดีตมีโรงอ่างจํานวนหลายโรงในพื้นที่ โดยการผลิตอ่างเพื่อป้อนให้แก่ผู้บริโภคที่อยู่ทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ ต่อมากาลเวลาผ่านไปความต้องการใช้สอยของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ผลิตภัณฑ์ต้านหัตถศิลป์ถูกแทนที่ด้วยสินค้าจําพวก พลาสติก ด้วยความที่มีหลากหลายรูปแบบและหลากสีสัน ราคาประหยัดและน้ำหนักเบา เมื่อลูกค้าลดน้อยลงส่งผลให้ผู้ผลิตจําเป็นต้องปิดตัวกิจการลง ปัจจุบันเหลือโรงอ่างเพียงโรงเดียวที่เป็นตัวแทนบอกเล่าเรื่องราวความหลังทางประวัติศาสตร์ความเรืองรองทางหัตถศิลป์ของโรงอ่าง ไม่เพียงแค่โรงอ่างที่เป็นความทรงจําอันงดงามของผู้คนในพื้นที่แถบนี้เท่านั้น ชุมชนโรงอ่างบริเวณหัวสะพานเดชา ยังมีผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีเรื่องเล่าและความทรงจําเกี่ยวกับเหตุการณ์ยุคสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ ๒ สมัยครั้งเมื่อทหารญี่ปุ่นบุกไทยและได้มีการส่งทหารจํานวนหนึ่งเดินทางผ่านพื้นที่จังหวัดปัตตานี เพื่อเดินทางเข้าสู่เขตมลายูอันเป็นเขตการปกครองของอังกฤษ


ภาพจาก : https://www.facebook.com/113080623777456/posts/159580789127439/

            อําเภอยะรัง
          
ยะรังกลายเสียงมาจากจฆัรหรือยือแฆ (Cegar) ซึ่งแปลว่าไหลเชี่ยวหรือระมัดระวัง หมายถึงช่วงแม่น้ําปัตตานีผ่านชุมชนยะรัง ปรากฏว่าสายน้ําไหลเชี่ยวจึงต้องระมัดระวัง เพราะมีแก่งขวางกั้นบ้าง บ้างก็ว่ามาจากคําว่ายือลีมอ หมายถึงผลทับทิม อําเภอยะรังเป็นที่ตั้งเมืองเก่าของปัตตานี สันนิษฐานกันว่าคือลังกาสุกะ ซึ่งเป็นยุคชาวพุทธ ฮินดูจากอินเดีย เข้ามามีอํานาจก่อนชาวมุสลิมจากชวา จึงปรากฏคํา สันสกฤตผสมผสานอยู่ในชื่อบ้านนามเมืองถิ่นนี้เช่น บ้านประแว หมายถึงบ้านพระวัง บ้านปิตูบูดี หมายถึงบ้านประตูโพธิ์สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงปรับปรุง 7 หัวเมือง แบ่งเป็นเขตตําบล อําเภอและ จังหวัด ปรากฏว่ายะรังเป็นอําเภอหนึ่งขึ้นกับจังหวัดปัตตานีมาจนทุกวันนี้ อําเภอยะรัง เป็นอําเภอที่มีความเจริญรุ่งเรื่องมาแต่สมัยโบราณ เป็นที่ตั้งของเมืองตานีเก่า ในช่วงสมัยลังกาสุกะมีชื่อเรียกกันว่า เมืองประแว ปัจจุบันในบริเวณเมืองเก่าแห่งนี้ ยังมีแนวกําแพงดินล้อมรอบอยู่ ๓ ชั้น มีคูเมือง สระ และบ่อน้ำโบราณ นอกจากนี้ยังมีซากปรักหักพังของศาสนาสถาน สถูป เจดีย์อยู่เป็นจํานวนมาก ในบริเวณตําบลวัด ตําบลยะรัง ตําบลระแว้ง วัตถุโบราณที่ค้นพบได้แก่ พระพุทธรูปสมัยทวาราวดี ศิลาธรรมจักร ศิวลึงค์ฯ ซึ่งเป็นหลักฐานว่าประชาชนในเมืองประแว นับถือเลื่อมใสในพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ เมืองประแวมาเสื่อมลงในระยะที่พวกเจนละ มีอำนาจยกมาตีเมืองศรีวิชัยได้ และมีอํานาจครอบคลุมไปทั่วคาบสมุทร ซึ่งแน่นอนที่สุดว่าเมืองประแวก็ไม่รอดพ้นจากเงื้อมมือของพวกเจนละ ต่อมาเพื่อความเหมาะสมทางการค้าขายจึงได้ย้าย จึงได้ย้ายไปตั้งที่บ้านกรือเซะ ในเขตอําเภอเมืองปัตตานีปัจจุบัน
           
ต่อมาใน ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ (ร.ศ. ๑๑๙) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ร.ศ. ๑๑๖ ขึ้นโปรดให้ เจ้าพระยายมราช (ปั้นสุขุม) ดํารงตําแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ว่าราชการเมืองสงขลา ได้พิจารณาจัดแบ่งเขตหมู่บ้าน ตําบล อําเภอ ซึ่งได้พิจารณาจัดตั้งอําเภอยะรัง โดยมาตั้งที่ว่าการอําเภอที่บ้านยะรัง ตําบลปิตูมุดี เรียกว่าอําเภอยะรัง ในเวลานั้นการคมนาคมติดต่อระหว่างอําเภอมีทางเรือทางเดียว ดังนั้นเมื่อข้าราชการผู้ใหญ่ซึ่งประจําอยู่ที่บริเวณ ๗ หัวเมือง การจะเดินทางมาปัตตานีเพื่อไปตรวจราชการที่จังหวัดยะลาจำเป็นต้องใช้เรือเป็นพาหนะแล่นตามลําน้ำปัตตานี และเดินทางมาถึงบ้านอาเนาะลูโละ ซึ่งเป็นปากคลองของพระยาเมืองปัตตานีขุดใหม่ เป็นเส้นทางตรงน้ำลึกและไหลเชี่ยวมากการจะใช้ท่อและแจวนั้นลําบากมาก ครั้นจะไปตามคลองเดิมก็เสียเวลาเพราะลําคลองคดเคี้ยวมาก ดังนั้นเพื่อความรวดเร็วจึงต้องเกณฑ์ราษฎรให้ช่วยลากจูงเรือ เพราะคนเรือไม่ค่อยรู้จักสถานที่ตั้งของที่ว่าการอําเภอและบ้านอาเนาะบูโละก็อยู่ห่างจากที่ว่าการอําเภอมา บางครั้งจะต้องพักแรมอยู่ที่ปากคลองขุดใหม่นี้ เป็นการเสียเวลาหากมีราชการฉุกเฉิน ก็ไม่ทันการณ์ ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ทางราชการจึงได้พิจารณาย้ายที่ตั้งของอําเภอยะรังจากบ้านยะรังตําบลปิตูมุดี ไปตั้งที่บ้านอาเนาะบูโละ ตําบลยะรังตรงปากคลองขุดใหม่ เพื่อความสะดวกในการติดต่อราชการ ในปีต่อมาทางราชการได้ตัดถนนจากจังหวัดปัตตานี ไปยังจังหวัดยะลา ถนนสายนี้ตัดผ่านที่ที่ว่าการอําเภอใหม่นี้ ทําให้การคมนาคมสะดวกขึ้นเพราะได้ใช้เกวียน และม้าเป็นพาหนะในการเดินทางและติดต่อราชการ ต่อมาภายหลังได้โอนถนนสายนี้ไปขึ้นกับทางหลวงแผ่นดิน ถนนสายนี้จึงได้การปรับปรุงซ่อมแซมให้ดีขึ้น แต่ทางกรมทางหลวงได้พิจารณาเห็น ว่าถนนสายนี้ตัดขนานไปกับแม่น้ำและอยู่ใกล้แม่น้ำมากเกรงว่าน้ำจะเซาะถนนเสียหายเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ จึงได้ตัดถนนใหม่ โดยเริ่มจากกิโลเมตรที่ ๙ บ้านบราโอ ตําบลประจัน ตัดผ่านหมู่บ้าน และตำบลประจัน ตําบลยะรัง ตําบลปิตูมุดี ไปบรรจบกับถนนเดิมที่กิโลเมตรที่ ๒๑ ในหมู่บ้านปรีดี ตําบลกระโด แต่ส่วนที่ว่าการอําเภอยะรังนี้อยู่ห่างจากถนนใหม่มาก ไม่เป็นการสะดวกแก่ราษฎรที่จะต่อต่อกับอําเภอ จึงตัดถนนจากที่ว่าการอําเภอมาบรรจบกับถนนสายใหม่ตรงกิโลเมตรที่ ๑๕ ของทางหลวงสายปัตตานี-ยะลา ที่บ้านบินยลิมอ ตําบลยะรัง ระยะทางยาว ๓ กิโลเมตร ภายหลังได้ตัดถนนต่อไปอีก ๑๕ กิโลเมตร เชื่อมอําเภอมายอ และได้ยกฐานะเป็นถนนทางหลวงจังหวัด จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๗ จึงได้โอนถนนสายนี้ไปให้ทางหลวงแผ่นดินดําเนินการซ่อมแซมต่อไป ส่วนที่ตั้งที่ว่าการอำเภอที่บ้านอาเนาะบูโละก็ได้ชํารุดทรุดโทรมและถูกน้ำท่วมเสมอมาจึงได่ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอําเภอมาอยู่ที่บ้านบินยาลิมอ ในเขตตำบลยะรังตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอําเภอตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
      แหล่งท่องเที่ยว
     
แหล่งท่องเที่ยวในอําเภอยะรัง ที่สำคัญคือ
ชุมชนโบราณร่วมสมัยศรีวิชัย ณ หมู่บ้านประแว และตําบลวัด ริมเขื่อนโครงการชลประทานปัตตานี   

     - อําเภอโคกโพธิ์      
      โคกโพธิ์ หมายถึงบริเวณเนินสูงมีต้นโพธิ์มองเห็นเด่นแต่ไกล อําเภอนี้เดิมชื่ออําเภอเมืองเก่า ขึ้นกับเมืองหนองจิก เมื่อยุบเมืองหนองจิกไปขึ้นกับปัตตานี อําเภอเมืองเก่าจึงย้ายไป ตั้งใหม่ที่ตําบลมะกรูดจึงเรียกอําเภอมะกรูด และเมื่อย้ายไปตั้งใหม่อีกครั้งที่ตําบลโคกโพธิ์ เลยเรียกอําเภอโคกโพธิ์ เนินเขาที่ตั้งอําเภอนี้ชื่อควนบู หมายถึงเนินดินเป็นที่หลบภัยหรือเป็นค่ายรบ ในปี ร.ศ. ๑๒๐ ปัตตานีได้แบ่งการปกครองเป็น ๗ หัวเมือง ประกอบด้วยเมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองยะหริ่ง เมืองสายบุรี เมืองยะลา เมืองระแงะ และเมืองรามันห์ สำหรับอําเภอโคกโพธิ์ในขณะนั้นขึ้นกับเมืองหนองจิก ต่อมาในปี ร.ศ. ๑๒๕ ได้จัดให้มีแบ่งการปกครองแบบมณฑล จึงได้ตั้งเป็นมณฑลปัตตานี อําเภอโคกโพธิ์จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นอําเภอ โดยแยกจากอําเภอหนองจิกมาตั้งเป็นอําเภอใหม่ เรียกว่า อําเภอเมืองเก่า ตั้งที่ว่าการอําเภออยู่ที่บ้านนาเกตุ หมู่ที่ ๑ ตําบลมะกรูด ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนบ้านนาเกตุในปัจจุบันนี้ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอําเภอมะกรูด ตามชื่อของตําบล ในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ เกิดสุริยุปราคาขึ้นในประเทศไทย และบริเวณที่สามารถเห็นปรากฏการณ์ได้เด่นชัดที่สุดคือที่ตําบลโคกโพธิ์หรืออําเภอมะกรูด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) ได้เสด็จฯ มาทอดพระเนตร พร้อมด้วยข้าราชบริพารและชาวต่างประเทศจำนวนมาก โดยนํากล้องมาติดตั้งเพื่อดูสุริยุปราคา ทางจังหวัดและอำเภอในสมัยนั้นจึงได้พิจารณาจัดหาสถานที่สําหรับใช้เป็นที่ประทับและติดตั้งกล้องดูดาว เห็นว่าบริเวณด้านหลังสถานีรถไฟโคกโพธิ์ (ที่ตั้งที่ว่าการอําเภอโคกโพธิ์ปัจจุบัน) เหมาะสมเพราะเป็นป่ารกมีบ้านผู้คน มีเนินสูง (ควนบู) สําหรับติดตั้งกล้องไว้ อีกทั้งยังอยู่ใกล้สถานีรถไฟสะดวกในการเสด็จฯ จึงได้ถางป่าปลูกสร้าง พลับพลาที่ประทับ และที่พักสําหรับเจ้าหน้าที่และชาวต่างประเทศขึ้นหลายหลัง เมื่อเสด็จจากการรับเสด็จฯ ในครั้งนั้นแล้ว ทางอําเภอเห็นว่าอาคารต่าง ๆ ที่ก่อสร้างไว้นั้นมีหลายหลัง สามารถทําเป็นที่ว่าการอําเภอ และบ้านพักข้าราชการได้จํานวนมาก ประกอบกับมีพื้นที่กว้างขวาง เหมาะสมและอยู่ใกล้สถานีรถไฟด้วย จึงได้ย้ายที่ว่าการอําเภอมาอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้ จวบจนปัจจุบัน และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้เปลี่ยนชื่ออําเภอใหม่ จากอําเภอมะกรูดเป็นอําเภอโคกโพธิ์ตามชื่อตําบล
     แหล่งท่องเที่ยว
     
แหล่งท่องเที่ยวในอําเภอโคกโพธิ์คือพลับพลาที่ประทับของรัชกาลที่ ๗ เมื่อครั้งเสด็จมาทอดพระเนตรสุริยุปราคา 
วัดช้างให้ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด น้ำตกทรายขาว น้ำตกโผงโผง


ภาพจาก : ปัตตานีวันนี้ : บรรยายสรุปจังหวัดปัตตานี, 2558, 24

      - อําเภอหนองจิก
        
ชื่ออําเภอนี้เป็นคําไทยหมายถึงต้นจิกริมหนองน้ํา ต้นจิกเป็นไม้ลําต้นขนาดกลาง ชอบขึ้นในที่น้ําท่วมถึง อําเภอนี้เดิมชื่ออําเภอตุยงเป็นคํามลายู หมายถึงปลายแหลมริมฝั่งน้ํา โดยเรียกตามทําเลที่ตั้ง อําเภอหนองจิกเดิมเรียกว่าเมืองหนองจิก เป็น ๑ ใน ๗ หัวเมือง ตั้งอยู่ที่บ้านหนองจิก (ปัจจุบันเป็นตําบลคลองใหม่ อยู่ในท้องที่อําเภอยะรัง) ต่อมาได้ย้ายเมืองหนองจิกมาอยู่ในท้องที่ตําบลตุยง ซึ่งเป็นตําบลที่ตั้งอําเภอหนองจิกในปัจจุบัน เหตุที่ย้ายเมืองหนองจิกมาตั้งอยู่ในตําบลตุยงในปัจจุบันนี้ เพราะทางราชการในสมัยนั้นเห็นว่าการคมนาทางน้ำมีความสะดวกสบายกว่าทางบก จึงย้ายมาที่ตําบลตุยง ซึ่งอยู่ใกล้ทะเลและมีคลองตุยงไหลผ่านออกสู่ทะเลได้ ซึ่งทําให้มีความสะดวกในการติดต่อค้าขายกับหัวเมืองอื่น ๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้เปลี่ยนกลับเป็นอําเภอหนองจิกมาจนทุกวันนี้
      แหล่งท่องเที่ยว
      
แหล่งท่องเที่ยวในอําเภอหนองจิกคือ วังเจ้าเมืองหนองจิก วัดมุจลินทวาปีวิหาร หาดรัชดาภิเษก

      - อําเภอสายบุรี
     สายบุรีเดิมมักเรียกเมืองสาย ซึ่งไม่ทราบความหมายชัดเจน สายบุรีเคยเป็นหนึ่งในหัวเมืองสิบสองนักษัตรของนครศรีธรรมราช ถือตราหนู (ชวด) เป็นตราประจําเมือง สายบุรีเดิมทั้งเมือง เข้าไปตามลําน้ําสายบุรี แล้วย้ายมาตั้งเมืองใหม่ที่บริเวณภูเขาสะลินดงบายู (สะลินดง=ที่กําบัง บาย=พายุ) สายบุรีมีอีกชื่อหนึ่งว่าตะลุบันชื่อนี้เป็นคํามลายูคือตะลูบันหมายถึงหลุมหรือช่อง ส่วนคําไทยลากไปหาตะลุ่มพันหมายถึงตะลุ่มจํานวนพัน ตะลุ่มคือภาชนะมีเชิงคล้ายพานใส่ของตํานานเล่าว่าคนธรรพ์เจ้าที่รักษาข้าวของในถ้ําภูเขา สะลินดงบายูมีความเมตตามักให้ชาวบ้านยืมข้าวของไปใช้ แต่ภายหลังคนธรรพ์โกรธมากเพราะชาวบ้านหลายคนไม่ส่งคืนข้าวของตามกําหนด คนธรรพ์เลยนําข้าวของบรรจุตะลุ่มนับพัน ๆ ใบโยนลงทะเลจนหมดเกลี้ยง ที่สายบุรีมีชื่อหมู่บ้านบ่งบอกความเป็นมาน่าสนใจ เช่น บ้านปะเสยาวอ หมายถึงหาดทรายชาวชวา (ปะเส=หาดทราย ยาวอ=ชวา) เข้าใจว่าหมู่บ้านแห่งนี้ ชาวมุสลิมชวาเดินทางมาตั้งหลักปักฐานเป็นครั้งแรก พร้อมทั้งนําศาสนาอิสลามมาเผยแผ่ตั้งแต่บัดนั้นสายบุรียุคต้นรัตนโกสินทร์เคยเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองของไทยและเป็นหัวเมืองหนึ่งของมณฑลปัตตานี ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ทางการยุบเมืองสายบุรีเป็นอําเภอตะลุบัน จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๘๑ เปลี่ยนเป็นอําเภอสายบุรีมาจนทุกวันนี้
       แหล่งท่องเที่ยว
       
แหล่งท่องเที่ยวในอําเภอสายบุรีคือวังเจ้าเมืองสายบุรี วัดสุทธิกาวาส (วัดกรักชี) หาดปาตาติมอ หาดวาสุกรี


หาดวาสุกรี

       - อําเภอมายอ
       
มายอ เป็นคํามลายูหมายถึงต้นมะตูม คํามลายูกลางว่ามายา (Maja) ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก ศิลปกรรมพิเศษ) มายอจากคํามลายูอาจกลายเสียงจากคําไทยว่า “เมืองยอน” ปัจจุบันเมืองยอนเป็นชื่อหมู่บ้านครั้งอดีตเป็นชุมชนใหญ่จึงเรียกว่าเมืองยอน คําว่ายอนเกี่ยวข้องกับนิทานการติดตามช้างเชือกสําคัญ ผู้ติดตามช้างคือนายยังหรือโต๊ะหยังพร้อมด้วยน้อง ๔ คน ชาวบ้านมักเรียกนายยังว่าพี่เณร ภายหลังพี่เณรกลายเสียงเป็นพิเทน ต่อมาคือชื่อตําบลพิเทนที่เกี่ยวกับเรื่องเล่าโต๊ะหยังติดตามช้างจนเหน็ดเหนื่อย จึงไปนั่งยอนหมากหรือยนหมาก หมายถึงตะบันหมากสําหรับกิน ที่ตรงนั้นภายหลังเรียกว่าเมืองยอน ชุมชนมายอเคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองยะหริ่ง ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๔๓ จัดตั้งเป็นอําเภอราเกาะ คําว่าราเกาะเป็นชื่อคลองที่ไหลผ่านชุมชน ชาวบ้านออกเสียงว่าแลเกาะ แปลว่าคดเคี้ยว ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๔๔ เปลี่ยนเป็นอําเภอมายอตามชื่อตําบลที่ ตั้งอําเภอมาจนปัจจุบัน   ในสมัยการปกครองบริเวณ ๗ หัวเมือง อําเภอมายอขึ้นอยู่ในความปกครองของเมืองยะหริ่ง (อําเภอยะหริ่งปัจจุบัน) ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้ยกฐานะขึ้นเป็นอําเภอโดยมีหลวงเมือง (เนตร) เป็นนายอําเภอคนแรก ที่ว่าการอําเภอตั้งอยู่ที่บ้านราเกาะ หมู่ที่ ๒ ตําบลเกาะจัน เรียกชื่อว่าอําเภอราเกาะ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้มาย้ายที่ว่าการอําเภอมาอยู่ที่หมู่ที่ ๑ ตําบลมายอ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นอําเภอมายอ จนถึงปัจจุบันนี้

       แหล่งท่องเที่ยว
       
แหล่งท่องเที่ยวในอําเภอมายอคือเขาฤาษี

       - อําเภอยะหริ่ง
       
ยะหริ่งเคยเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมือง ยะหริ่งซึ่งเป็นคํามลายูกลายเสียงมาจากยือริง หมายถึงต้นเนียง ภาคกลางเรียกพะเนียงหรือชะเนียง บ้างว่ายะหริ่งหมายถึงอวนชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านใช้จับปลา ยุคมณฑลปัตตานีเมืองยะหริ่งถูกยุบเป็นอําเภอยามู ตัวอําเภอตั้งอยู่ที่หมู่บ้านยามู (ยามูหมายถึงต้นฝรั่ง ชาวใต้ทั่วไปเรียกฝรั่งว่าชมพู่ ถิ่นเรียกชมพู่ยามูหรือชมพู่ย่าหมู ทางการยกฐานะ เป็นอําเภอยะหริ่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑ อําเภอยะหริ่ง เดิมเป็นชื่อหมู่บ้านตั้งอยู่ที่บ้านยือริง ตําบลตันหยงดาลอ ติดกับลําน้ำยะหริ่งตอนบน อยู่ในการปกครองของเมืองปัตตานี และอยู่ในบังคับบัญชาของผู้สําเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช เป็นราชอาณาเขตไทยมาแต่โบราณ ในระหว่างปีระกา เอกศก จุลศักราช ๑๑๕๓ (ร.ศ. ๑๐) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชดําริเห็นความสําคัญในอันจะต้องจัดแบ่งเขตในท้องที่เมืองปัตตานี ออกเป็นหัวเมืองย่อย ดังนั้นจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้แยกเมืองปัตตานีออกเป็น ๗ หัวเมือง รวมเรียกว่า “บริเวณ ๗ หัวเมือง” เจ้าเมืองที่ปกครอ มีทั้งชาวไทยที่นับถือพุทธศาสนาและชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะเมืองยือริงหรือยะหริ่ง มีเจ้าเมืองคนแรกคือพระยายิริง (พ่าย) ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้แยกการบังคับบัญชาจากเมืองนครศรีธรรมราช มาขึ้นอยู่ในการบังคับบัญชาของเจ้าพระยาอินทรคีรีศรีสงครามภักดีอภัยพิรยะกรมพาหุ (บุญฮุย ณ สงขลา) ผู้สําเร็จราชการเมืองสงขสา วิธีการปกครองในสมัยนั้นพระยาเมืองเป็นประธาน มีศีรตะวันเป็นกรรมการที่ปรึกษา โปรดเกล้าฯ พระราชทานผลประโยชน์รายและรายจ่ายให้อยู่ในความรับผิดชอบของพระยาเมืองและศรีตะวันกรรมการทั้งสิ้น แต่ให้มีการถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทอง เป็นราชบรรณาการ ๓ ปี/ครั้ง ในช่วงนี้ขนบธรรมเนียมบางอย่างของเมืองยะหริ่งใช้ปฏิบัติตามแบบอย่างของเมืองสงขลา พระยายิริง (พ่าย) ตั้งบ้านเรือนและบัญชาการอยู่ที่บ้านยามู ริมลําน้ำยะหริ่งฝั่งใต้ เมื่อพระยายิริง (พ่าย) ถึงแก่กรรมลงแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้หลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) เจ้าเมืองยะลา มารักษาราชการแทน ครั้นหลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ถึงแก่กรรมลงจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาจางวางเป็นพระยายะหริ่ง และนายนิหวัน ยูโซะ หรือโต๊ะกี เป็นพระยายะหริ่ง ตามลําดับ และตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านยามูตามเดิม ส่วนกองบัญชาการตั้งอยู่ที่ว่าการอําเภอปัจจุบัน พระยายะหริ่งหรือโต๊ะกี มีบุตรชายหญิงรวม ๗ คน บุตรคนที่ ๒ ชื่อนิเมาะ ได้รับพระราชทานราชทินนามเป็นพระยาพิบูล รนานุกิจ มีบุตรชายหญิงรวม ๑๔ คน บุตรคนที่  ๒ คือได้เป็นพระยาพิพิธเสนามาตย์ (นิโวะ) ได้รับราชการเป็นผู้ว่าราชการเมืองยะหริ่ง ในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ (ร.ศ. ๑๒๐) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระยายมราช (ปั้น สุขุม) ครั้งเป็นพระยาสุขุมนัยวินิจ ออกเป็นหลวงเทศาภิบาลสําเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช เมืองยะหริ่ง ยังคงเป็นบริเวณ ๗ หัวเมืองตามเดิม แต่โปรดเกล้าฯ ให้ใช้วิธีบริหารราชการแผ่นดินโดยมีข้าหลวงบริเวณเป็นประธาน ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองปัตตานี และโปรดเกล้าฯ ให้ระงับการถวายไม้เงินต้นไม้ทอง เปลี่ยนเป็นการเก็บส่วยอากร พระราชทานเป็นผลประโยชน์รายได้ของพระยาเมืองเรียกว่า “เงินส่วนแบ่งพระยาเมือง” ตามส่วนที่เคยได้รับมา ส่วนที่เหลือให้นําส่งเป็นเงินผลวิธีการปกครองเมืองยะหริ่งช่วงนี้โปรดเกล้าฯ ให้ตราข้อบังคับบริเวณ ๗ หัวเมือง ฉบับ ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) ซึ่งประกาศใช้ ณ วันที่ ๑๐0 ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ ขึ้นเป็นพิเศษฉบับหนึ่ง โดยบัญญัติให้ใช้ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) ตามแบบหัวเมืองอื่นทุกมาตรา ต่อมาต้น ร.ศ. ๑๒๕ (พ.ศ. ๒๔๔๙) เป็นสมัยมณฑลเทศาภิบาล โปรดเกล้าฯ ให้ยุบเมืองยะหริ่งเป็นอําเภอ เรียกว่า “อําเภอยามู” โดยถือเอาชื่อท้องที่ที่ตั้งที่ว่าการอําเภอเป็นหลักขนานนามอําเภอและให้ขึ้นกับเมืองปัตตานี จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ทางราชการได้เปลี่ยนชื่ออําเภอใหม่เป็นอําเภอยะหริ่งอยู่ในการปกครองของจังหวัดปัตตานี
       แหล่งท่องเที่ยว
       
แหล่งท่องเที่ยวในอําเภอยะหรี่งคือวังเจ้าเมืองยะหริ่ง สุสานโต๊ะบันยัง ป่าชายเลนบริเวณอ่าวบางปู หาดตะโละกาโปร์ แหลมโพธิ์


หาดตะโละกาโปร์

           - อําเภอปะนาเระ
      
ปะนาเระ ในคํามลายูหมายถึงชักลาก เพราะในยุคนั้นตรงท่าน้ําปะนาเระคงมีน้ําตื้น เรือไม่สามารถเข้าเทียบท่าได้สะดวก ชาวบ้านจึงชักลากเรือเพื่อเทียบท่าตามต้องการ บ้างว่าปะนาเระมาจากปาตา หมายถึงชายหาด ตาเระ หมายถึงตากอวน รวมความแล้วหมายถึงชายหาดเป็นที่ตากอวนหาปลาปะนาเระเคยขึ้นกับเมืองยะหริ่ง พ.ศ.2444 จัดตั้งอําเภอปะนาเระขึ้นกับเมืองปัตตานีมาตั้งแต่บัดนั้นการปกครองปัตตานีแบบมณฑลโดยแบ่งออกเป็นหัวเมือง ประกอบด้วยเมืองปัตตานี เมืองยะลา เมืองหนองจิก เมืองรามัน เมืองยะหริง เมืองสายบุรี เมืองระแงะ ซึ่งขณะนั้นปะนาเระขึ้นอยู่กับเมืองยะหริ่ง เมื่อการปกครองหัวเมือง ได้ยกเลิกไป และได้ยกปะนาเระมีฐานะเป็นอําเภอขึ้นอยู่กับจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๗ เป็นต้นมา 
คําว่า “ปะนาเระ” มาจากภาษามลายูท้องถิ่นหรือภาษายาวีเพราะราษฎรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม โดยเพี้ยนมาจากคําว่า “ปาตาตาเระ” ปาตาแปลว่าชายหาด ตาเระ แปลว่าอวนลากปลา เมื่อทั้ง ๒ คํามารวมกันจะมีความหมายว่า “ชายหาดที่ตากอวน” ทั้งนี้เนื่องจากมีชาวบ้านซึ่งมีอาชีพประมงนําอวนขึ้นมาตากบริเวณชายหาดเป็นประจํา จนดูเหมือนว่าทั้งชายหาดเต็มไปด้วยอวน
           แหล่งท่องเที่ยว
           
แหล่งท่องเที่ยวในอําเภอปานาเระคือวัดบ้านกลาง วัดหงษาราม วัดควนใน หาดชลาลัย หาดราชรักษ์ หาดแฆแฆ


หาดแฆแฆ

       - อําเภอกะพ้อ
       
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ อําเภอสายบุรีได้เสนอเรื่องขอตั้งกิ่งเภอกะพ้อ แต่ไม่ได้รับพิจารณาเนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ อําเภอสายบุรี  ก็เสนอเรื่องขอตั้งกิ่งอําเภอกะพ้อขึ้นไปอีกครั้งหนึ่ง โดยกําหนดอาณาเขตการปกครองประกอบด้วยตําบลปล่องหอย อําเภอสายบุรี ในหมู่ที่ ๓, ๔ ตําบลปะลุกาสาเมาะ อําเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ตําบลเกะรอ ตําบลรามัน จังหวัดยะลา ตําบลจะกั๊ว อําเภอรามัน จังหวัดยะลา ซึ่งในครั้งนี้สภาจังหวัดได้ให้ความเห็นชอบจากสภาจังหวัด และเสนอเรื่องการจัดตั้งกิ่งอําเภอกะพ้อไปยังกระทรวงมหาดไทยและได้รับอนุมัติ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ โดยมีเขตปกครอง ๒ ตําบล คือตําบลปล่องหอย และตําบลกะรุบี ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งเขตท้องที่ตําบลกะรุบี ตั้งเป็น ตําบลตะโละดือรามันอีกตําบลหนึ่ง ฉะนั้นเขตการปกครองของกิ่งอําเภอกะพ้อจึงประกอบด้วย ๓ ตําบล คือตําบลปล่องหอม ตําบลกะรุบี และตําบลตะโละดือรามัน 
     
         แหล่งท่องเที่ยว
         
แหล่งท่องเที่ยวในอําเภอกะพ้อคือน้ํำตกห้วยมือแนบุรี 

      - อําเภอไม้แก่น
         
เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๖ กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศแบ่งท้องที่อําเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จัดตั้งกิ่งอําเภอไม้แก่นขึ้น โดยได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๒ ตําบล คือตําบลไทรทองและตําบลไม้แก่น มี ๑๓ หมู่บ้าน  มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับอำเภอไม้แก่นว่า มีต้นไม้ใหญ่อยู่ต้นหนึ่งเรียกว่าต้นหว้า คนไทยมุสลิมเรียกว่า “ต้นกรือแย” ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ด้วยธรรมชาติของต้นหว้า เป็นต้นไม้ไม่มีแก่น ซึ่งเมื่อต้นหว้าโตลําต้นจะเป็นโพรงและข้างใน กลวง แต่ต้นหว้าต้นนี้ประหลาดมีแก่นทั้งต้น ชาวบ้านจึงได้นําชิ้นส่วน บานหว้านี้ไปถวายพระยาเจ้าเมืองในสมัยนั้น ปรากฏว่าแก่นไม้ที่นําไปถวายกลายเป็นแก่นไม้ทอง ต้นหว้าต้นนั้นชาวบ้านจึงถือว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ต้นหว้าขึ้นนั้นต่อมาได้สร้างวัดขึ้นมีชื่อว่า “วัดไม้แก่น”  มาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาจึงตั้งชื่อตําบลว่า “ ตำบลไม้แก่น” แต่คนไทยมุสลิมเรียกว่าตําบลกรือแยหรือมูเกงกรือแย ซึ่งแปลว่า ต้นหว้าหรือแก่นหว้า
        แหล่งท่องเที่ยว
        
แหล่งท่องเที่ยวในอําเภอไม้แก่นคือหาดทรายชายบึงบ้านละเวง กูโบปะราโหม 

       -  อําเภอทุ่งยางแดง       
         ทุ่งยางแดง ชื่ออําเภอนี้หมายถึงท้องทุ่งมองเห็นต้นยาง แดงเด่นชัดแต่ไกล ไม้ยางมีหลายชนิด ชนิดใบอ่อน สีคล้ําเรียกยางดํา ชนิดใบอ่อนสีแดงเรียกยางแดง หรือยางนา ทางการจัดตั้งอําเภอทุ่งยางแดง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ แต่เดิมท้องที่อําเภอทุ่งยางแดง ขึ้นอยู่กับอําเภอมายอ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ตามแผนป้องกันและปราบปรามโจรผู้ก่อการร้ายในภาคใต้ ของกระทรวงมหาดไทย จึงได้จัดให้มีการประชุมกองบังคับการตํารวจภูธร เขต ๙ จังหวัดสงขลา โดยนายสมาส อมาตยกุล ผู้ตรวจการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้อํานวยการกันและปราบปรามโจรผู้ร้ายพิเศษภาคใต้ เป็นประธานในที่ประชุม ได้มีมติในที่ประชุมให้จัดตั้งกิ่งอําเภอโดยแบ่งพื้นที่อําเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ทั้งนี้มีความมุ่งหมายและเหตุผลสําคัญ ๆ ๓ ประการ คือ

๑. เพื่อป้องกันและปราบปรามขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.) หรือขบวนการแบ่งแยกดินแดน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งขบวนการนี้มีผกค.จคม. สนับสนุนเชื่อมโยงอยู่เบื้องหลัง ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ทางการเมือง สังคมและวัฒนธรรม ที่ต้องดําเนินการแก้ไขเหตุการณ์ร้ายให้กลายเป็นดีโดยเร่งด่วน
๒. เพื่อพัฒนาท้องที่โดยเหตุที่อําเภอมายอ เป็นป่าและภูเขา การคมนาคมไม่สะดวก ทําให้ราษฎรในท้องที่กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในสมัยนั้นขาดความใกล้ชิดซึ่งกันและกัน
๓. เพื่อเข้าถึงประชาชนก่อนฝ่ายตรงข้าม เนื่องด้วยประชาชนในท้องที่อําเภอมายเป็นคนไทยมุสลิม ประมาณ ๙๐% ส่วนใหญ่พูดและเขียนภาษาไทยไม่ได้ จึงมีปัญหาเรื่องภาษาพูด ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม แตกต่างกับคนไทยที่นับถือพุทธศาสนา ประกอบกับขบวนการโจรก่อการร้ายหรือขบวนการแบ่งแยกดินแดน ดําเนินการแทรกซึมบ่อนทําลาย     

    กิ่งอําเภอที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้มีชื่อว่า “กิ่งอําเภอทุ่งยางแดง เนื่องจากเป็นชื่อทุ่งหญ้าที่มีต้นยางแดง (พันธุ์ไม้พื้นเมืองชนิดหนี้และด้วยเหตุผลดังกล่าวกระทรวงมหาดไทย จึงได้ออกประกาศท้องที่อําเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ตั้งเป็นกิ่งอําเภอทุ่งยางแดง ตั้ง วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๐
       แหล่งท่องเที่ยว
       
แหล่งท่องเที่ยวในอําเภอทุ่งยางแดงคือพรุน้ำดำ ทะเลสาบบึงชะมา

     - อําเภอแม่ลาน
       
ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) มีการปกครองมณฑลปัตตานีเป็นหัวเมืองต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นที่มาแม่ลาน เหตุที่ชื่อแม่ลานเพราะเป็นพื้นที่กว้างใหญ่มีน้ำขังตลอดปีโดยประชาชนในสมัยนั้นได้ตั้งชื่อแหล่งน้ำว่าแม่ลาน ซึ่งต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ มีการปกครองเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ตรงจุดนี้จึงได้ตั้งชื่อเป็นตำบลแม่ลานขึ้นต่ออำเภอโคกโพธิ์ ต่อมาได้ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่ลานโดยแยกออกจากอำเภอโคกโพธิ์ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ มีเขตปกครอง ๓ ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่ลาน ตำบลป่าไร่ และตำบลม่วงเตี้ย มี ๙ หมู่บ้าน ต่อมาจึงได้มีพระราชกฤษฎีกาแต่งตั้งกิ่งอำเภอแม่ลานเป็น อำเภอแม่ลาน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๒ ตอนที่ ๓๒ ก ลงวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘

          แหล่งท่องเที่ยว
          
แหล่งท่องเที่ยวในอําเภอแม่ลานมีเขานางแก้ว น้ำตกอรัญ เป็นต้น

แผนที่แหล่งท่องเที่ยว 


ความสำคัญ

     อำเภอยะรังซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งของปัตตานี นักภูมิศาสตร์เชื่อว่าเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่และมีความสำคัญมาก แต่ด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการ หนึ่งในนั้นคือการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลช่วงระยะเวลา ๑,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา โดยลดลงไประดับหนึ่งมีผลทำให้ชายฝั่งทะเลถอยห่างออกไปจากเดิม ดังนั้นที่ตั้งของชุมชนจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นทำเลของการเป็นเมืองท่าค้าขายอีกต่อไป และนำมาซึ่งการย้ายที่ตั้งของเมืองในระยะเวลาต่อมา ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถระบุระยะเวลากำเนิดของเมืองปัตตานีได้อย่างแน่ชัด แต่เมืองปัตตานีก็ได้ปรากฏชื่อและเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเป็นลำดับมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ปัตตานีได้ชื่อว่าเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ปลายแหลมมาลายู มีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๑) และอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา ในปี พ.ศ. ๒๐๕๔ โปรตุเกสสามารถยึดครองมะละกาได้สำเร็จ และพยายามขยายอิทธิพลทางการค้าขึ้นมาทางตอนเหนือของคาบสมุทรมาลายู ประกอบกับพระราชาธิบดีที่ ๒ ของกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๐๗๒) ทรงยินยอมให้โปรตุเกสเข้ามาตั้งสถานีการค้าในเมืองชายฝั่งทะเล เช่น นครศรีธรรมราช มะริด ตะนาวศรี รวมทั้งปัตตานีด้วย ทำให้ปัตตานีกลายเป็นเมืองท่าหลักเมืองหนึ่ง เป็นที่ตั้งของสถานีการค้าของพ่อค้าทั้งชาวตะวันตกและชาวตะวันออก ทั้งชาวอินเดีย จีน และญี่ปุ่น สินค้าที่สำคัญของเมืองปัตตานียุคนั้นได้แก่ ไม้กฤษณา ไม้ฝาง เครื่องเทศ ของป่า งาช้าง และนอแรด นอกจากนี้ปัตตานียังเป็นจุดรับส่งสินค้าของนานาชาติ เช่น เครื่องถ้วยชาม อาวุธ ดินปืน ดีบุก และผ้าไหม แม้ว่าปัตตานีจะเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาก็ตาม แต่ด้วยเหตุที่ปัตตานีมีความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง ทำให้เจ้าเมืองปัตตานีต้องการแยกตัวเป็นอิสละหลาย ๆ ครั้ง เช่น ในปี พ.ศ. ๒๐๙๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิของกรุงศรีอยุธยา กองทัพพม่าได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา พระยาตานีศรีสุลต่านได้นำกองทัพเรือประกอบด้วยเรือหย่าหยับจำนวน ๒๐๐ ลำ ไปช่วยราชการสงคราม แต่เมื่อเห็นว่ากองทัพกรุงศรีอยุธยาเสียทีพม่า จึงถือโอกาสทำการขบถยกกำลังบุกเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิหนีข้ามฝากไปประทับบนเกาะมหาพราหมณ์ จนเมื่อกองทัพไทยรวบรวมกำลังได้แล้ว จึงยกกองทัพเข้าโอบล้อมตีกองทหารเมืองตานีจนแตกพ่ายไป ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๑๔๖ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีรับสั่งให้ออกญาเดโชยกทัพไปตีเมืองปัตตานี เพื่อยึดเข้าไว้ในพระราชอำนาจ แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากปัตตานีได้รับการช่วยเหลือจากพ่อค้าชาวยุโรป ทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ เช่น ปืนใหญ่ ต่อมาในสมัยพระเพทราชา (พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๒๔๕) เมืองปัตตานีไม่พอใจในการขึ้นครองราชย์ของของกษัตริย์พระองค์ใหม่แห่งกรุงศรีอยุธยา ประกาศไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง จึงทำให้ปัตตานีเป็นอิสระต่อเนื่องเรื่อยมา จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๓๐๑ กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่า ปัตตานีก็เป็นอิสระตลอดมาจนสิ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี
         ปัตตานีเป็นจงหวัดที่มีประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งก่อนหน้านั้นจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบที่เมืองโบราณยะรังแสดงว่าประชาชนโดยทั่วไปก่อนหน้านั้นนับถือศาสนาพุทธและพราหมณ์ และได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม หลังจากที่อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง อิทธิพลของศาสนาอิสลามจากราชวงค์มัชปาหิตในชวาได้แผ่อำนาจเข้ามาสู่แหลมมลายูก่อตัวขึ้นเป็นอาณาจักรมะละกาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และได้แผ่อิทธิพลไปสู่เมืองต่าง ๆ ทำให้เจ้าเมืองหลายเมืองได้เปลี่ยนมานับนับถือศาสนาทั้งหมด ซึ่งทำให้เกิดความร่วมมือด้านการเมืองและการเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคนี้อย่างเข้มแข็ง ศาสนาอิสลามได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นควบคู่ไปกับการค้า มีการก่อสร้างมัสยิดขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ มัสยิดที่สำคัญคือมัสยิดกรือเซะ ซึ่งเป็นมัสยิดใหญ่ประจำเมืองและมัสยิดบ้านดาโต๊ะ บริเวณที่เป็นท่าเรือทางตอนเหนือของอ่าวปัตตานี นอกจากนั้นยังมีมัสยิดและสุเหร่าในเขตชุมชนอิสลามถูกสร้างขึ้นอีกหลายแห่ง


โบราณสถาน/โบราณวัตถุ

ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว


สืบค้าจาก : https://mgronline.com/travel/detail/9610000082961

      ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวหรือที่มีชื่อเรียกทางการว่าศาสเจ้าเล่งจูเกียง เป็นศาลเก่าแก่คู่บ้านคู่บ้านของจังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ที่ ถนนอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เดิมศาลเจ้านี้มีชื่อเรียกว่า "ศาลเจ้าซูก๋ง" ตามหลักฐานที่จารึกอยู่ในศาลเจ้าปรากฏว่า ตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๑๑๗ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหารรมราชา 

วังเก่าจะบังติกอ

 

สืบค้นจาก : http://www.pattanicity.go.th/travel/detail/4

        วังเก่าจะบังติกอ เป็นวังโบราณของเจ้าเมืองปัตตานี ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำปัตตานีตรงสามแยกจะบังติกอบนเส้นทางถนนหน้าวัง ซึ่งเป็นถนนลาดยางเลียบแม่น้ำปัตตานีถนนนี้เชื่อมระหว่างตัวเมือง ซึ่งตั้งต้นจากที่ตั้งของที่ทำการไปรษณีย์ปัตตานี เลียบแม่น้ำปัตตานีไปต่อกับถนนยะรัง เป็นเส้นทางรถยนต์เชื่อมระหว่างปัตตานีกับจังหวัดยะลา ตั้งอยู่ที่ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี สร้างโดยสถาปนิกชาวจีนในสมัยตนกูมูฮัมหมัดหรือตนกูบือซา พ.ศ. ๒๓๘๘-๒๓๙๙ เชื้อสายราชวงศ์กลันตัน (กำปงลาว์หรือบ้านทะเล) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองปัตตานี ตัววังล้อมด้วยกำแพงทึบก่ออิฐถือปูน รูปทรงของวังเป็นบ้านชั้นเดียวขนาดใหญ่ หลังคาทรงปั้นหยา หรือแบบลีมะ ตัวอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ๑ เมตร สร้างด้วยไม้ ภายในอาคารมีห้องโถงขนาดใหญ่ใช้เป็นที่ทำงานของเจ้าเมือง ส่วนด้านหลังของห้องโถงจะเป็นที่อยู่อาศัยของภรรยาและบริวาร วังจะบังติกอได้ใช้เป็นศูนย์กลางการปกครองในท้องถิ่นและเป็นที่อยู่อาศัยของเจ้าเมืองปัตตานี จนกระทั่งถึงสมัยตนกูอับดุลกอร์เดร์ เจ้าเมืองคนสุดท้าย ได้มีการยุบเมืองรวมเป็นมณฑลปัตตานี ทำให้วังซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองก็เปลี่ยนสภาพไปกลายเป็นเพียงที่อยู่อาศัยของบุตรหลานสืบต่อมาถึงปัจจุบัน

มัสยิดรายา

สืบค้นจาก : https://pattaniheritagecity.psu.ac.th/pattanistory

         มัสยิดรายาหรือมัสยิดเจ้าเมืองสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘ เป็นมัสยิดหลังแรกของเมืองสายบุรี โดยมีตัวอาคารเป็นรูปทรงปั้นหยาโดยจะแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ ส่วนดังนี้

ส่วนที่ 1 ด้านหน้าอาคารมัสยิด
ส่วนที่ 2 ที่อาบน้ำละหมาด
ส่วนที่ 3 ตัวอาคารละหมาด

       ด้านบนของมัสยิดจะมีโดมและมีลูกแก้วอยู่ด้านบนเพื่อเพิ่มแสงสว่างเปรียบเสมือนมีดวงจันทร์อยู่บนหลังคามัสยิด ช่างที่สร้างมัสยิดรายานี้มาจากชวาและมีลูกมือในการสร้างเป็นคนในพื้นที่ ใช้เวลาในการสร้าง ๑ ปีจึงแล้วเสร็จ มัสยิดรายามีการต่อเติมจากเดิมไปมากจากการบูรณะของกรมศิลปากร สมัยก่อนมัสยิดรายาทำการฉาบปูนด้วยเปลือกหอยและพื้นทำด้วยอิฐแดงตัวอาคารมัสยิดรายามีสถาปัตยกรรมมาจากชาวชวาทั้งหมด เป็นมัสยิดที่เจ้าเมืองสร้างไว้เพื่อทำศาสนกิจของชาวบ้านบริเวณนี้ เพราะว่าในพื้นที่สายบุรีเป็นพื้นที่ของเจ้าเมือง มีทั้งบ้านของสนมและแม่ครัวจะอยู่ในบริเวณนี้ทั้งหมดจึงสร้างมัสยิดนี้เพื่อทำศาสนกิจและให้ชาวบ้านในละแวกนี้มาทำพิธีละหมาดและเป็นที่สอนอัลกุรอ่านทั้งลูกหลานเจ้าเมืองและนางสนมโดยเจ้าเมืองจะเชิญโต๊ะครูที่บ้านกลาพอมาสอนอัลกุรอ่าน

วังพิพิธภักดี

สืบค้นจาก : http://pattaniheritagecity.psu.ac.th/pattanistory

      วังพิพิธภักดี เป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอสายบุรี เป็นสถานที่อยู่ของพระพิพิทธภักดี (ตนกูมุกดา อับดุลบุตร) บุตรชายคนโตของเจ้าเมืองยะหริ่ง (พระพิพิธเสนามาตย์) กับตนกูกูซง หลานสาวของเจ้าเมืองสายบุรี (พระยาสุริยะสุนทรบวรภักดี) กล่าวกันว่าในอดีตเมื่อพระพิพิธภักดีไปรักใคร่ชอบพอกับตนกูซง ฝ่ายพระยาพิพิธเสนามาตย์ เจ้าเมืองยะหริ่งไม่เห็นด้วยเนื่องจากขณะนั้นทางเมืองยะหริ่งกับเมืองสายบุรีไม่ถูกกัน แต่พระพิพิธภักดีก็สามารถแต่งงานกับกูซงจนได้และสร้างวังพิพิธภักดีขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับวังพระยาสายบุรี ในปัจจุบันมีถนนสุริยะตัดผ่านหน้าวังจึงทำให้วังพิพิธภักดีตั้งอยู่ตรงข้างวังพระยาสุริยสุนทรบวรภักดีวังพิพิธภักดีสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญทางด้านต่าง ๆ ของอำเภอสายบุรีในอดีตได้เป็นอย่างดีกล่าว คือสถาปัตยกรรมของวัง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตก ย่อมสะท้อนให้เห็นว่าเมืองสายบุรีในอดีตเป็นเมืองท่าค้าขายกับพ่อค้าชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวยุโรปด้วยเหตุนี้สถาปัตยกรรมของชาวตะวันตกจึงถูกนำมาผสมผสานกัสถาปัตยกรรมของท้องถิ่นได้อย่างกลมกลืนสวยงาม

ปืนใหญ่พญาตานี

ที่มาของภาพ : https://nokngampho.wordpress.com/ประวัติความเป็นมา/ปืนพยาตานีเข้ากรุงเทพฯ/

       ปืนใหญ่พญาตานี มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในบรรดาปืนใหญ่ที่ตั้งไว้หน้ากระทรวงกลาโหม  กระบอกปืนจารึกว่า    "พญาตานี" ดินบรรจุหนัก ๑๕ ชั่ง ตามหลักฐานเก่าแก่  ลำกล้องกว้าง ๑๑ นิ้ว ยาว ๓ วาศอกคืบ ๒ นิ้วกึ่ง กระสุน ๑๑ นิ้ว ที่สำรวจใหม่วัดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องได้ ๒๔ เซนติเมตร ยาวตลอด ๖.๘๒ เมตร ขอบปากลำกล้องหนา ๑๐ เซนติเมตร ปืนพญาตานีนี้มีอายุประมาณ ๔๐๐ ปี หล่อขึ้นที่จังหวัดปัตตานี นับเป็นมรดกล้ำค่าคู่บ้านคู่เมืองของชาวปัตตานีมาแต่สมัยโบราณ (โดยปัจจุบันกำหนดเป็นตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดปัตตานี)  ประวัติกล่าวว่าปี พ.ศ. ๒๓๒๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (วังหน้า)  เป็นแม่ทัพเสด็จยกทัพไปปราบศึกพม่าซึ่งยกมาตีหัวเมืองภาคใต้ของไทย ครั้นทรงชนะศึกแล้วได้ทรงปราบปรามหัวเมืองภาคใต้  ซึ่งมักกระด้างกระเดื่องคอยเอาใจออกห่างจากไทยไปเป็นอื่น  จึงโปรดให้ยกทัพไปปราบปรามจนมีชัยชนะ ได้ปืนใหญ่จากเมืองปัตตานีกลับมาถวายสมเด็จพระเชษฐาธิราช โปรดเกล้าฯ ให้จารึกนามว่า "พญาตานี"
       ประวัติความเป็นมาของปืนใหญ่พญาตานี มีผู้เขียนไว้หลายฉบับ อาทิ หนังสือสยาเราะห์เมืองตานี ของนายหะยีหวันหะซัน กล่าวว่าปืนพญาตานีหล่อในสมัยรายาอินทิราเจ้าเมืองปัตตานี เหตุที่หล่อขึ้นเนื่องจากมีพ่อค้าชาวจีนได้นำปืนและกระสุนปืนมาถวาย ทำให้เจ้าเมืองเกิดความละอายที่ไม่มีอาวุธปืนไว้สำหรับป้องกันบ้านเมืองเลย หลังจากนั้นจึงเรียกมุขมนตรีให้จัดหาช่างและทองเหลืองมาหล่อปืนให้ได้ภายในระยะเวลา ๓ ปี เมื่อได้ทองเหลืองพอที่จะหล่อปืนแล้ว รายาอินทิราได้ให้นายช่างชาวโรมันชื่ออับดุลซามัค มาหล่อปืน เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๓ ค่ำ เดือนรอมดอน ปีชวดนักษัตร์ ฮิจยาเราะห์ ๗๘ (ตัวเลขในต้นฉบับชำรุด) ได้ปืนใหญ่รวม ๓ กระบอก  คือสีรีนัครี โต๊ะโบะ และนางเลียว ส่วนหนังสือประชุมพงศาวดารภาคพงศาวดารเมืองตานี ซึ่งเรียบเรียงโดยพระยาวิเชียรคิรี (ชม ณ สงขลา) กล่าวว่านางพญาปัตตานี ได้สั่งให้หล่อปืนทองเหลืองขึ้นมา ๓ กระบอก ช่างผู้หล่อปืนเป็นชาวจีน แซ่หลิม ชื่อเคี่ยม มีภรรยาเป็นชาวปัตตานีจึงเข้ารีตนับถือศาสนาอิสลาม ชาวเมืองจึงเรียกว่าหลิมโต๊ะเคี่ยม ตามพงศาวดารเล่าว่า การหล่อปืน ๒ กระบอกแรกผ่านไปได้ด้วยดี แต่ปืนกระบอกที่ ๓ เมื่อเร่งไฟสุมทองเหลืองแล้วกลับเทไม่ลงเบ้า หลิมโต๊ะเคี่ยมจึงตั้งพิธีบวงสรวงเทพยดาขอเอาร่างตนเป็นเครื่องเซ่นสังเวย ในที่สุดหลิมโต๊ะเคี่ยมก็เททองเหลืองหล่อปืนใหญ่ได้สำเร็จ จึงอุทิศชีวิตของตนด้วยการเข้าไปยืนตรงปากกระบอกปืนดังกล่าวแล้ว สั่งให้คนยิงแรงระเบิดหอบเอาร่างหลิมโต๊ะเคี่ยมสูญหายไป ส่วนหนังสือสยาเราะห์กรียาอันมลายูปัตตานี ซึ่งนายอิบรอฮิม ชุกรี ชาวกลันตันเป็นผู้เขียนความว่า รายาบีรูหรือนางพญาบีรูเจ้าเมืองปัตตานีได้ปรึกษากับเสนาบดีผู้ใหญ่ เพื่อหาอาวุธไว้สำหรับปกป้องบ้านเมืองในที่สุดรายาบีรูเห็นว่าควรหล่อปืน เพราะปืนที่เคยซื้อจากชาวยุโรปได้ย้ายสถานีการค้าออกไปจากปัตตานีทำให้หาซื้ออาวุธปืนใหญ่ได้ยาก จากนั้นมีนายช่างหล่อปืนเป็นชาวจีนชื่อหลิมโต๊ะเคี่ยมรับอาสาหล่อปืนใหญ่

ภาพวาดปืนใหญ่พญาตานีขณะลักขึ้นไปกรุงเทพฯ โดยเหม เวชกร


ปูชนียบุคคล

พระธรรมโมลี (พระเทพญาณโมลี) วัดตานีนรสโมสร

สืบค้นจาก : https://th-th.facebook.com/putthakom/photos

          พระธรรมโมลี (เกตุ ติสฺสโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดตานีนรสโมสร พระอารามหลวง จังหวัดปัตตานี ท่านได้จัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยเป็นแห่งแรกในจังหวัดปัตตานี เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กไทยมุสลิมได้เรียนหนังสือไทย และได้จัดตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เพื่อให้เด็กไทยพุทธและคนไทยพุทธทั่วไปศึกษาพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกในจังหวัดปัตตานี พระธรรมโมลี (เกตุ ติสฺสโร) เป็นพระเถระที่ไม่เก็บสะสมวัตถุปัจจัยเมื่อมีผู้มาถวายปัจจัยต่าง ๆ ท่านก็จะมอบต่อให้ส่วนราชการหรือองค์กรการกุศลต่าง ๆ ให้เกิสาธารณประโยชน์

พนมเทียน (ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ) ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.  ๒๕๔๐


สืบค้นจาก : https://www.sator4u.com/paper/68

         พนมเทียน เป็นนามปากกาของ ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ เกิดเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่จังหวัดปัตตานี แต่ไปเติบโตและเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ และได้สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดปัตตานีในฐานะผู้สร้างผลงานสาขาวรรณศิลป์ จนได้เป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ผลงานการประพันธ์ของท่านทั้ง ๓๘ เรื่องล้วนประสบความสำเร็จเป็นที่ชื่นชอบของผู้อ่าน และได้มีการนำมาสร้างเป็นละครและภาพยนตร์มากมาย อาทิ เพชรพระอุมา (ใช้เวลาเขียนนานที่สุดเกือบ ๒๖ ปี), ศิวาราตรี, จุฬาตรีคูณ, ละอองดาว, สกาวเดือน, แววมยุรา, รัตติกาลยอดรัก เป็นต้น

พระพิพิธภักดี (ตนกูมุกดา อับดุลบุตร)


สืบค้นจาก : https://th.wikipedia.org/wiki

      พระพิพิธภักดี เดิมมีนามว่า ตนกูมุกดา อับดุลบุตร เป็นบุตรคนโตของพระยาพิพิธเสนามาตย์ เป็นอดีตผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานีหลายสมัย นับได้ว่าตระกูลอับดุลบุตรและตระกูลพิพิธภักดี ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองยะหริ่ง ยังคงมีบทบาททางด้านการเมืองการปกครองของจังหวัดปัตตานีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ปัตตานี
ที่อยู่
จังหวัด
ปัตตานี


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

ตำนานลังกาสุกะ. (ม.ป.ป.). สืบค้นวันที่ 30 พ.ค. 63, จาก http://www.pattani.go.th/data/main_menu/pattani.htm
ปัตตานี ๓๐. (2530). ​​​ปัตตานี : โรงพิมพ์มิตรสยาม.
ปืนพญาตานี. (2552). สืบค้นวันที่ 1 ธ.ค. 63, จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/5141020029/2009/08/14/entry-1
ไปเที่ยวกัน. (2561). ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว. สืบค้นวันที่ 30 พ.ค. 63, จาก https://www.paiduaykan.com/travelain_menu/pattani.htm
มาฆีตานิง. (2561). มัสยิดรายา. สืบค้นวันที่ 30 พ.ค. 63, จาก https://pattaniheritagecity.psu.ac.th/pattanistory


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024