เกาะยอ จังหวัดสงขลา
 
Back    21/02/2020, 09:44    1,871  

หมวดหมู่

จังหวัด


ประวัติความเป็นมา

         

            อันที่จริงในลุ่มทะเลสาบสงขลามีเกาะสำคัญอยู่หลายเกาะ แต่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตแดนการปกครองของจังหวัดพัทลุง มีเกาะสำคัญเพียงบางเกาะเท่านั้นที่อยู่ในเขตจังหวัดสงขลา และเกาะที่สำคัญที่สุดและอยู่ในส่วนที่เรียกได้ว่าเป็นทะเลสาบสงขลา ก็คือเกาะยอ เกาะยอตั้งอยู่ในทะเลสาบสงขลาตอนนอก มีชื่อปรากฏมานานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากเอกสารบันทึกของวิศวกรชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาทำแผนที่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๓๐ กล่าวถึงเกาะในทะเลสาบสงขลาที่ชื่อเกาะยอ (สะกดว่า "Jot" ออกเสียงตามภาษาฝรั่งเศสว่า "ยอต์") ว่าเป็นเกาะที่สามารถปลูกพริกไทยได้ดีมีพริกไทยปลูกอยู่ถึง ๒ หมื่นต้น เกาะยอในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ไดชื่อว่าเป็นแหล่งทำกระเบื้องดินเผาที่ใชัดินเหนียวจากลุ่มทะเลสาบ มาข้นเผาแล้วได้กระเบื้องที่มีลวดลายในเนี้อคล้ายลายน้ำไหล ใช้เป็นกระเบื้องมุงหลังคาและปูพื้นวัดวาอาราม บ้านเรือนทั่วไป ซึ่งเป็นที่นิยมในภาคใต้และหัวเมืองต่าง ๆ รวมถึงในกรุงเทพมหานครด้วย นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งหัตถกรรมทอผ้าที่เรียกว่าผ้าทอเกาะยอ ที่มีลักษณะและลวดลายเป็นเอกลักษณ์จนทำให้สงขลามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วไป
            ปัจจุบันเกาะยอ มีลักษณะพิเศษอีกอย่างคือเป็นเกาะที่มีน้ำล้อมรอบอยู่ก็จริง แต่ไม่ต้องไปมาหาสู่เกาะโดยใช้เรือเหมือนที่อื่น แต่เป็นเกาะที่มีสะพานเชื่อมโยงกับแผ่นดินถึง ๒ ฟากส่งเหมือนมีแขนอยู่ ๒ ข้าง เกาะกับแผ่นดินใหญ่ ๒ ด้าน ด้านหนึ่งคือส่งอำเภอเมืองสงขลา อีกด้านหนึ่งคืออำเภอสิงหนคร บนคาบสมุทรสทิงพระ สะพานที่ว่านี้คือสะพานดิณสูลานนท์ ซึ่งด้านที่เชื่อมกับอำเภอเมือง สงขลามีความยาว ๙๔๐ เมตร ด้านที่เชื่อมกับอำเภอสิงหนครยาว ๑.๗ กิโลเมตร รวมเป็นสะพาน ยาว ๒.๖๔ กิโลเมตร สภาพธรรมชาติที่เป็นอยู่ในทะเลสาบสงขลาทำ ให้เกาะยอเป็นแหล่งที่มีปลากะพงรสดี และเป็นแหล่งเลี้ยงปลากระพงที่สำคัญ เวลานั่งรถข้ามสะพานจะมองเห็นภาพหนำหรือกระกระท่อม (พิงพักเฝ้ากระชัง) ซึ่งชาวประมงที่เลี้ยงกะพงสร้างไว้
เรียงรายอยู่รอบ ๆ เกาะ ตลอดถึงปลาน้อยใหญ่ตามธรรมชาติอีกมากมาย จึงเป็นแหล่งประมงพื้นบ้านที่สำคัญ ทั้งนี้เพราะเกาะยอมีอากาศที่ดีทำให้มีพืชพันธุ ์และผลไม้หลายชนิดมีรสชาดดี เช่น ละมุด (ชาวสงขลาเรียกว่าสะหวา) ขนุนจำปาดะ มีอาหารพื้นบ้านปักษ์ใต้คือข้าวยำและขนมจีนแบบพื้นเมืองสงขลา นอกจากนี้เกาะยอยังมีวัดท้ายยอ วัดแหลมพ้อ เจดีย์บนเขากุฏิ เจดีย์บนเขาเพหาร ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สำคัญ เกาะยอเป็นที่ตั้งของสถาบันทักษิณคดีศึกษาและพิพิธภัณฑ์คดีชนวิทยา ซึ่งเป็นที่จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของภาคใต้ที่โดดเด่นที่สุด เกาะยอจึงไม่เพียงเป็นเอกลักษณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่งของสงขลา แต่ยังได้รับการเสริมแต่งด้วยมรดกทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย


สะพานเปรม ติณสูลานนท์


               เกาะยอ เป็นเกาะที่ตั้งอยู่บน ทะเลสาบสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา พื้นที่เป็นแผ่นดินกว่า ๙,๒๗๕ ไร่ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพื้นที่ของภูเขาสลับกับเนินสูง ผู้คนที่อาศัยส่วนใหญ่จะมีเชื้อสายจีนทำอาชีพเกษตรกรรมและประมง เกาะยอปรากฏหลักฐานการมีอยู่ครั้งแรกจากแผนภาพการกัลปนาวัดพะโคะที่เขียนขึ้นช่วงปี พ.ศ. ๒๒๒๓-๒๒๔๒ ระบุชื่อว่า "เข้าก้อะญอ" ปรากฏอยู่ปลายสุดของแผนที่เป็นภาพเขาเกาะยอที่มีพรรณไม้บนภูเขา แต่ไม่ปรากฏรูปสัตว์ป่าและปรากฏอีกครั้งในแผนที่เมืองสงขลาที่เขียนขึ้นในปี พ.ศ. ๒๒๓๐ โดยมองเดียร์ เดอลามาร์ วิศวกรชาวฝรั่งเศส ในแผนที่นี้ปรากฏชุมชนบนเกาะ ๙ แห่งบริเวณที่ราบเชิงเขารอบเกาะ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของบ้านนาถิน บ้านท้ายเสาะ บ้านท่าไทร บ้านสวนทุเรียน และบ้านนอก เกาะยอเป็นเกาะที่ตั้งอยู่กลางทะเลสาบสงขลาตอนล่าง มีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองสงขลาไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้โดยทางบกประมาณ ๒๐ กิโลเมตร และโดยทางน้ำหรือทางทะเลประมาณ ๖ กิโลเมตร ที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร์ เกาะเอตั้งอยู่บริเวณเส้นรุ้งที่ ๖ องศา ๑๗ ลิปดา ถึง ๗ องศา ๕๖ ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ ๑๐๐ องศา ๑ ลิปดา ถึงเส้นแวงที่ ๑๐๑ องศา ๖ ลิปดา ตะวันออก  
              
สภาพทั่วไป เกาะยอ มี ๙ หมู่บ้าน เนื้อที่ ๑๕  ตารางกิโลเมตร มีสภาพทางกายภาพเป็นเกาะ มีน้ำล้อมรอบกลางทะเลสาบสงขลา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและนินเขาสูงประมาณ ๑๐-๑๕๑ เมตร โดยทิศเหนือสุดของเกาะเป็น "เขาบ่อ" หรือ "เขาแคะ" มีภูเขาและนินขาเล็กติดกับโรงเรียนวัดเขาบ่อ เรียกว่า "เขาหัวแดง" จากเขาบ่อเชื่อมต่อไปทางทิศใต้เรียก "เขากุฏิ" ซึ่งสูงที่สุดประมาณ ๑๕๑ เมตร ยาวพุ่งไปทางทิศใต้เชื่อมต่อกับเขาสวนใหม่ เขากลางหรือเขาในบ้านเขาสวนเตย และทางทิศใต้สุดเป็นเขาหัวหรัง เขาเกาะแกง นอกจากนี้ยังมีภูเขาและเนินเขาเล็ก ๆ พื้นที่ราบพบน้อยมากส่วนใหญ่เป็นที่ราบระหว่าง เนินขาและริมฝั่งอ่าวรอบเกาะยอที่สำคัญมีหลายแห่ง เกาะยอมีแหล่งน้ำธรรมชาติน้อย ส่วนมากเป็นแหล่งน้ำที่ขุดขึ้นมาใช้ประโยชน์ ภูมิอากาศ มี ๒ ฤดู คือฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษกาคม และฤดูฝน มี ๒ ช่วง เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษกาคมถึงเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ฝนตกไม่มากนัก ช่วงที่ ๒ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม เป็นช่วงที่ฝนตกมากกว่าช่วงแรก
              อาณาเขต
              - ทิศเหนือ ติดกับอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
              - ทิศใต้ ติดกับอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
              - ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
              - ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา


ความสำคัญ

              เกาะยอเป็นเกาะเล็ก ๆ ในทะเลสาบสงขลา เดินทางโดยข้ามสะพานดิณสูลานนท์ เกาะยอมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๙,๒๗๕ ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นไหล่เขา และที่ราบตามเชิงเขาเหมาะแก่การเกษตรกรรม บนเกาะยอมีการทำสวนผลไม้แบบสมรม หมายถึงผลไม้จะผลัดกันให้ผลผลิตตลอดปี เช่น ส้มโอ มะพร้าว ขนุน ผลไม้ที่มีชื่อของเกาะยอ คือจำปาดะ ลักษณะคล้ายขนุนแต่ลูกเล็กกว่า สามารถนำไปทอดเหมือนกล้วยแขกหรือจะกินสดก็ได้ และผ้าทอเกาะยอเป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงและได้รับความ นิยมจากผู้นิยมสวมใส่ผ้าไทย มีลายที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ลาย ราชวัติ ดอกพิกุล ดอกพะยอม เนื้อผ้าดูแลรักษาง่าย นอกจากนั้นเกาะยอเป็นแหล่งเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังในทะเลสาบ สงขลาอีกด้วย บริเวณโดยรอบของตำบลเกาะยอมีแหล่งท่อง เที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่งด้วยกัน


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
เกาะยอ จังหวัดสงขลาEpVVSDrj20g
ที่อยู่
จังหวัด
สงขลา


วีดิทัศน์

รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2025