อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
 
Back    07/05/2024, 15:13    375  

หมวดหมู่

จังหวัด


ประวัติความเป็นมา

คําขวัญประจําอําเภอปากพะยูน

          ทะเลสาบงาม เมืองสามแผ่นดิน ถิ่นรังนกนางแอ่น แท่นพระนอนยอดเขา ภูมิลําเนาสัตว์น้ํากร่อย

                    ปากพะยูน เป็นอำเภอ ๑ ใน ๑๑ อำเภอของจังหวัดพัทลุง เดิมชื่ออำเภอทักษิณ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่ออำเภอปากพะยูนตามชื่อที่ราษฎรในท้องที่เรียกขานกัน (คำว่า "ปากพะยูน" สันนิฐานว่ามาจากคำว่า "ปลาพะยูน" ซึ่งเป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายกับปลาโลมาเลี้ยงลูกด้วยนม สมัยก่อนปลานี้มีอยู่มากในทะเลสาบตอนใต้) พื้นที่อาณาเขตเดิมของอำเภอปากพะยูน ครอบคลุมพื้นที่ของ ๖ อำเภอในปัจจุบัน คืออำเภอเขาชัยสน อำเภอตะโหมด อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง รวมไปถึงเขตอำเภอรัตภูมิ และอำเภอควนเนียง ของจังหวัดสงขลา ซึ่งได้แบ่งแยกเขตการปกครองออกเรื่อยมา
                   คำว่า 
"ปากพะยูน" หรือที่เรียกกันติดปากว่า "ปากยูน" เป็นอำเภอเก่าแก่ ที่ตั้งขึ้นในยุคแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครองเดิมมีประชากรอาศัยอยู่น้อย ต่อมาประชาชนที่เข้ามาอาศัย ได้ทำประมงจับสัตว์น้ํา ได้รับผลประโยชน์มากประชาชนจากถิ่นต่าง ๆ ก็เริ่มอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนตามริมฝังทะเลสาบมากขึ้น เจ้าเมืองพัทลุงจึงตั้งหัวหน้าคอยควบคุมดูแลเรียกว่า “หัวเมือง” มีหน้าที่ปกครองระงับทุกข์บํารุงสุขแก่ประชาชนในเขตนี้ ทั้งมีหน้าที่เป็นนายด่านตรวจคนเข้าออกระหว่างเมืองพัทลุงกับเมืองสงขลา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้ทรงตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้นประกอบด้วย เมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา เมืองพัทลุง และหัวเมืองแขก ๗ หัวเมือง เมืองพัทลุงได้แบ่งการปกครองออกเป็น ๓ อําเภอ คืออําเภอกลางเมือง อําเภออุดร และอําเภอทักษิณ ต่อมาอําเภอทักษิณได้เปลี่ยนชื่อเป็นอําเภอปากพะยูน เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ เมื่อเริ่มก่อตั้งอําเภอปากพะยูน มีอาณาเขตกว้างขวางมาก คือมีตําบลในการปกครองถึง ๑๗ ตําบล ได้แก่ตําบลปากพะยูน ตําบลเกาะหมาก ตําบลเกาะนางคํา ตําบลฝาละมี ตําบลโคกทราย ตําบลป่าบอนเหนือ ตําบลป่าบอนต่ํา ตําบลท่ามะเดื่อ ตําบลนาปะขอ ตําบลตะโหมด ตําบลจองถนน ตําบลเขาชัยสน ตําบลคูหาใต้ ตําบลกําแพงเพชร ตําบลยางทอง ตําบลท่าชะมวง และตําบลห้วยลึก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้โอนตําบลท่าชะมวง ตําบลคูหาใต้ และตําบลกําแพงเพชร ไปขึ้นกับอําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา และเมื่อมีการตั้งอําเภอเขาชัยสนในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ จึงได้โอนตําบลจองถนน ตําบลนาปะขอ ตําบลท่ามะเดื่อ ตําบลตะโหมด และตําบลเขาชัยสน ไปขึ้นกับอําเภอเขาชัยสน ส่วนตําบลยางทองได้โอนไปขึ้นกับจังหวัดสงขลา (ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นปีใด) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้แยกตําบลป่าบอนเหนือ ตําบลป่าบอนต่ํา และตําบลโคกทราย ไปตั้งเป็นกิ่งอําเภอป่าบอน และ ยกฐานะเป็นอําเภอป่าบอนในเวลาต่อมา
     
        สำหรับคําว่า “ปากพะยูน” นั้นสันนิษฐานว่ามาจากคําว่า “ปลาพะยูน” ซึ่งเป็นสัตว์น้ําที่เลี้ยงลูกด้วยนม มีลักษณะคล้ายกับปลาวาฬ เพราะเชื่อกันว่าสมัยก่อนมีพะยูนอยู่มากในทะเลสาบส่วนนี้ แต่บางหลักฐานก็ว่ามาจากคําว่า “ปากพูน” ซึ่งแปลว่า “ปากน้ํา  เพราะถ้าพิจารณาโดยสภาพของอําเภอปากพะยูน อาจเหมือนกับอําเภอในชนบททั่ว ๆ ไป แต่หากได้พิจารณาอย่างถ่องแท้ไม่ว่าจะเป็นชัยภูมิ ที่ตั้ง ชื่อหมู่บ้าน ตําบล และชื่อเกาะต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวพันกับตํานานหรือนิทานปรําปราของชาวพื้นบ้านแทบทั้งสิ้น เช่น ตํานานเรื่องนางเลือดขาว เจ้าฟ้าคอลาย บ้านค่ายท่าทิศครู วัดทุ่งขุนหลวง เกาะบรรทม เป็นต้น ในประวัติศาสตร์ของเมืองพัทลุง ได้บันทึกไว้ว่า...พระยากุมารกับพระนางเลือดขาวได้ตั้งเมืองพัทลุงขึ้นครั้งแรกที่ “บ้านพระเกิด” (ซึ่งเป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งของตําบลฝาละมี อําเภอปากพะยูน) เมื่อราว ปี พ.ศ. ๑๘๓๒ ในสมัยกรุงสุโขทัย ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่อําเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ในสมัยรัตนโกสินทร์ศก ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้เสด็จประพาสปากพะยูน โดยประทับแรมพลับพลาที่หมู่เกาะรังนก ชื่อ“เกาะสี่เกาะห้า” ดังปรากฏรอยจารึกพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ๑๐๘ ที่หน้าผาเทวดา เกาะสี่เกาะห้า และข้อความในหลักฐาน จดหมายเหตุเสด็จประพาสแหลมมลายู ร.ศ. 108 ความว่า “ได้จารึกอักษร จ.ป.ร. และศักราช ๑๐๘ ไว้ที่หน้าเพิงศาลเทวดาแห่งหนึ่งเป็นศิลาปูนเราะง่าย แล้วลงเรือไปเขาชัน เป็นเกาะใหญ่ของเมืองพัทลุง อยู่ หลังเกาะสี่เกาะห้า ระยะทางชั่วโมงหนึ่ง ตั้งข่ายไล่กระจง ในที่ที่ไล่นั้นเป็นป่าคอแหลมกว้างสักสี่สิบวา เท่านั้น ขึงข่ายสกัดได้เกือบตลอด”
            อําเภอปากพะยูนเป็นอําเภอเก่าแก่ ที่ตั้งขึ้นในยุคแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบจตุสดมภ์หรือระบบกินเมือง เป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล มีเหตุการณ์สําคัญทางประวัติศาสตร์ของอําเภอปากพะยูน สามารถสรุปได์ ดังนี้ 

- สมัยกรุงศรีอยุธยา เกิดชุมชนบ้านพระเกิด ตําบลฝาละมี ชุมชนบ้านทุ่งขุนหลวงตําบลหารเทา
- ปี พ.ศ. ๒๓๗๕  เมืองคชราชา (บ้านพระเกิด) ขึ้นกับเมืองพัทลุง
- ปี พ.ศ. ๒๔๓๒  เมืองคชราชา (บ้านพระเกิด) ขึ้นกับเมืองสงขลา
- วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเกาะสี่เกาะห้า
- ปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ยกบ้านพระเกิด ขึ้นกับแขวงปากพะยูน
- ปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ตั้งแขวงปากพะยูน เป็นอําเภอทักษิณ
- วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๒ พระศิริธรรมมุณี (ม่วง) วัดท่าโพธิ์ ผู้อํานวยการจัดการศึกษามณฑลนครศรีธรรมราช จัดการศึกษาครั้งแรกที่อําเภอทักษิณ
- วันที่ ๕ มีนาคม ๒๔๔๕ อําเภอทักษิณ เปลี่ยนชื่อเป็นอําเภอปากพะยูน
 - วันที่ ๙-๑๐ มิถุนายน ๒๔๔๕ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จตรวจราชการที่เกาะสี่เกาะห้า และอําเภอปากพะยูน
- วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๔๕๐ รับเสด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ ที่เกาะสี่เกาะห้า และอําเภอปากพะยูน
-  มิถุนายน ๒๔๕๐ รับเสด็จพระองค์เจ้านิพันธ์ และ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนคีรีรัชสังกาศ ที่เกาะสี่เกาะห้า และอําเภอปากพะยูน
- กันยายน ๒๔๕๐ รับเสด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ ที่เกาะสี่เกาะห้า
- กรกฎาคม ๒๔๕๕ สมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจราชการคณะสงฆ์วัดบ่อหมาแป๋ะ (วัดรัตนาราม)
- ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ โอนตําบลท่าชะมวง ตําบลคูหาใต้ ตําบลกําแพงเพชร ไปขึ้นกับอําเภอรัตภูมิจังหวัดสงขลา
- ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ โอนตําบลจองถนน ตําบลนาปะขอ ตําบลท่ามะเดื่อ ตําบลตะโหมด ไปขึ้นกับตําบลเขาชัยสน
- พฤษภาคม ๒๕๒๖ แยกตําบลโคกทราย ตําบลหนองธง ตําบลป่าบอน ตั้งเป็นกิ่งอําเภอป่าบอน
- มิถุนายน ๒๕๒๙ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานเปิดโรงพยาบาลปากพะยูน
- กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จเยี่ยมโรงเรียน ต.ช.ด.บ้านควนนกหว้า หมู่ที่ 5 ตําบลหารเทา อําเภอปากพะยูน
- มิถุนายน ๒๕๓๖ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เปิดที่ว่าการอําเภอหลังใหม่

 


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ที่อยู่
จังหวัด
พัทลุง
ละติจูด
7.341667
ลองจิจูด
100.316667



วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. (2566). อำเภอปากพะยูน. สืบค้น 7 พ.ค. 67, จาก https://link.psu.th/wH87c
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง. (2563). อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง. สืบค้น 7 พ.ค. 67, จาก
              https://district.cdd.go.th/pakphayun2021/services/story/


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024