ตลาดใต้โหนด (Tai Nod Marke)
 
Back    05/04/2019, 15:45    5,863  

หมวดหมู่

จังหวัด


ประวัติความเป็นมา

ภาพจาก : https://pantip.com/topic/35438472

        ตลาดใต้โหนดเป็นตลาดท้องถิ่นจัดขึ้นในพื้นที่ของบ้านนักเขียนกวีซีไรต์  ณ บ้านเกิดของคุณกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ แนวคิดของการจัดตลาดนี้เกิดเพราะมีพื้นที่ว่างในบริเวณใกล้กับบ้านนักเขียน จึงเกิดแนวคิดที่จักทำตลาดขึ้น  ซึ่งช่วงแรก ๆ ก็จะเป็นการจ้างแม่ค้า ให้เก็บผักข้างบ้านมาขายและให้ค่าน้ำมันแม่ค้า ช่วงแรก ๆ ไม่มีใครกล้าที่จะลงทุนมาขายของในตลาดเพราะเป็นตลาดเพิ่งเปิด แต่เวลาผ่านไปไม่นาน  ก็ได้ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านให้เชิญกลุ่มแม่บ้านในชุมชน เข้ามาดูงาน ที่ตลาดว่าเป็นอย่างไร สามารถขายของได้หรือไม่  หลังจากนั้นการดูงานของกลุ่มแม่บ้านเสร็จ  ตลอดถึงการนำเอาวิถีวัฒนธรรมพื้นบ้านของจังหวัดพัทลุงมาแสดงด้วยความโดดเด่นของตลาดใต้โหนดคือผู้ผลิตถึงผู้บริโภคโดยตรง ภาชนะที่ใช้ในตลาดส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุธรรมชาติ มีการฝึกมัคุเทศน์น้อยเพื่อคอยเล่าเรื่องราวในท้องถิ่นในคนที่มาเยือนได้รู้จัก มีกิจกรรมการแสดงจากเด็ก ๆ เปิดเวที เปิดโอกาสในแสดงออก มีทั้งเล่นดนตรีเปิดหมวก การแสดงมโนราห์ มีร้านกาแฟใต้โหนด ร้านที่เป็นที่นั่งเล่น เสวนา อ่านหนัง และเรื่องราวของกนกพงศ์ สงสมพันธ์ นักเขียนซีไรต์ผู้ล่วงลับ หลาดใต้โหนดตลาดพื้นบ้านสุดฮิตของจังหวัดพัทลุง ที่สามารถเที่ยวได้ทุกวัย ได้ทั้งเสพงานศิลป์ ท่องโลกแห่งตัวหนังสือ จิบกาแฟรสเข้มข้น ชิมอาหารพื้นเมืองหลากหลาย พร้อมทั้งเลือกซื้อสินค้าแฮนด์เมดของคนท้องถิ่น

ก่อเกิดตลาดใต้โหนด 

       หลังจากที่กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ (นักเขียนรางวัลซีไรท์ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙) เสียชีวิตลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ เหลือเพียงผลงานเขียนที่ให้คนรุ่นหลังได้ระลึก ได้อ่านและได้ศึกษากลวิธีการเขียนจากเขา จากการไปของนกพงศ์ไม่นานนักญาติพี่น้องพ้องเพื่อนและสมาคมนักเขียน ได้สร้างบ้านนักเขียน โรงเรียนศิลปะตลอดถึงจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่บ้านของเขาในอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง บ้านหลังนี้จะเปิดทุกวัน ให้นักอ่านและผู้สัญจรได้แวะเข้าเยี่ยม  สัมผัสกลิ่นไอดิน และ อาบแสงแดดในสวน เพราะ บ้านหลังนี้ ตั้งอยู่ใกล้สวนถูกตกแต่งให้สบายใจเวลานั่ง และอบอุ่นใจเมื่อได้หลับตา ซึ่งภายในร้านมีการจำหน่ายเครื่องดื่ม หนังสือ และยังมีมุมศิลปะให้เดินชมได้อีกด้วย ก่อนบ้านนักเขียนแห่งนี้จะเป็นที่รู้จักของคนในพื้นที่และคนนอกพื้นที่จนถึงทุกวันนี้  บ้านหลังนี้เคยเป็นสถานที่ที่ชาวบ้านไม่กล้าเข้ามา เพราะเป็นสถานที่รวมตัวของผู้ชายไว้ผมยาว และเป็นนักดนตรี นับเป็นอุปสรรคแรกที่พวกเขาต้องเจอในการที่จะดึงชาวบ้านให้เข้ามาร่วมกิจกรรมด้วยกัน แต่พวกเขาได้พลิกกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมกิจกรรมคือพวกเขาได้ดึงเด็กเข้ามาร่วมกิจกรรมที่บ้านไม่ว่าจะเป็นการเรียนศิลปะ หรือการเขียนถือเป็นจุดเล็ก ๆ จากเด็ก ๆ ที่ทำให้ผู้ปกครองเข้ามาสนใจทีละคน สองคนจนทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง  และเป็นที่เชื่อใจของคนในพื้นที่มากขึ้น หลังจากนั้น จึงทำให้เกิดกิจกรรมในชุมชนไม่ว่าจะเป็นการจัดนิทรรศการจัดบูธ เป็นต้น  

บ้านนักเขียนโรงเรียนศิลปะ (ภาพจาก : https://www.facebook.com/Tainodgreenmarket)

      แนวคิดของการจัดตลาดนี้เกิดเพราะ มีพื้นที่ว่างในบริเวณใกล้กับบ้านนักเขียน จึงเกิดแนวคิดที่จักทำตลาดขึ้น  ซึ่งช่วงแรก ๆ ก็จะเป็นการจ้างแม่ค้า ให้เก็บผักข้างบ้านมาขายและให้ค่าน้ำมันแม่ค้า  ในช่วงแรก ๆ ไม่มีใครกล้าที่จะลงทุนมาขายของในตลาดเพราะเป็นตลาดเพิ่งเปิด แต่เวลาผ่านไปไม่นาน  ก็ได้ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านให้เชิญกลุ่มแม่บ้านในชุมชน เข้ามาดูงาน ที่ตลาดว่าเป็นอย่างไร สามารถขายของได้หรือไม่  หลังจากนั้นการดูงานของกลุ่มแม่บ้านเสร็จ ทำให้เกิดการจองร้านเพื่อจะขายสินค้าในตลาดทีละร้านสองร้าน  จนทำให้ปัจจุบันมีตลาดประมาณ หนึ่งร้อยกว่าร้าน และจะเปิดทุกวันอาทิตย์ตอนเช้าจนถึงช่วงบ่ายสอง ตลาดใต้ต้นตาลโตนด หรือที่คนพื้นถิ่นเรียกว่า “หลาดใต้โหนด” ตลาดใต้โหนดเป็นตลาดท้องถิ่น จัดขึ้นในพื้นที่ของบ้านนักเขียนกวีซีไรต์ ตลาดใต้โหนดก่อเกิดขึ้น ณ บ้านเกิดของ คุณกนกพงศ์ สงสม ตลาดใต้โหนดตลาดแห่งนี้เป็นที่รวมตัวกันของชุมชน คนท้องถิ่นที่นำเอาผลิตผล วัฒนธรรม อาหารการกิน มาค้าขายกัน เป็นตลาดสีเขียวที่พยายามไม่ใช่โฟมหรือถุงพลาสติก มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากให้ความสนใจเข้ามาเยี่ยมชมและซื้อผลผลิตในท้องถิ่นกลับไป 

       ตลาดใต้โหนดเริ่มต้นเมื่อ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๘ เปิดเฉพาะวันอาทิตย์ เวลา ๐๘.๐๐-๑๕.๐๐ น. (ส่วนใหญ่ของหมดตลาดก็เริ่มวายแล้ว) คำว่าใต้โหนด เป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึง ตาลโตนด โดยชาวบ้านจะร่วมกันดูแลและเป็นเจ้าของตลาด ซึ่งบริเวณตลาดเป็นที่ตั้งของบ้านกนกพงษ์เปิดพื้นที่ให้เป็นสาธารณะเพื่อชุมชน ร้านที่เข้ามาขายในตลาดมีประมาณ​ ๑๐๐ ร้าน (ข้อมูลในปี พ.ศ. ๒๕๕๙) ทั้งหมดเป็นคนในพื้นที่ สินค้าที่นำมาขายในตลาด เช่น พืชผักท้องถิ่น อาหารท้องถิ่น ฯลฯ ตลอดถึงการนำเอาวิถีวัฒนธรรมพื้นบ้านของจังหวัดพัทลุงมาแสดงด้วยความโดดเด่นของตลาดใต้โหนดคือผู้ผลิตถึงผู้บริโภคโดยตรง ภาชนะที่ใช้ในตลาดส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุธรรมชาติ มีการฝึกมัคุเทศน์น้อยเพื่อคอยเล่าเรื่องราวในท้องถิ่นในคนที่มาเยือนได้รู้จัก มีกิจกรรมการแสดงจากเด็ก ๆ เปิดเวที เปิดโอกาสในแสดงออก มีทั้งเล่นดนตรีเปิดหมวก การแสดงมโนราห์ มีร้านกาแฟใต้โหนด ร้านที่เป็นที่นั่งเล่น เสวนา อ่านหนัง และเรื่องราวของกนกพงศ์ สงสมพันธ์ นักเขียนซีไรต์ผู้ล่วงลับ หลาดใต้โหนดตลาดพื้นบ้านสุดฮิตของจังหวัดพัทลุง ที่สามารถเที่ยวได้ทุกวัย ได้ทั้งเสพงานศิลป์ ท่องโลกแห่งตัวหนังสือ จิบกาแฟรสเข้มข้น ชิมอาหารพื้นเมืองหลากหลาย พร้อมทั้งเลือกซื้อสินค้าแฮนด์เมดของคนท้องถิ่น

       แรกเริ่มนั้นมีร้านค้าเพียงแค่ไม่กี่สิบร้าน แต่ปัจจุบันมีร้านค้าเกือบร้อยร้าน โดยมีทั้งผักสด ผลไม้สด อาหารพื้นเมืองและขนมพื้นเมืองที่หาทานได้ยาก รวมทั้งสินค้าแฮนด์เมดอันเป็นเอกลักษณ์ โดยอยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ กินดี มีสุข ซึ่งจะสอดคล้องไปกับวิถีชีวิตของชาวใต้อย่างป่า นา เล ได้อย่างสมบูรณ์ สิ่งที่ทำให้ตลาดใต้โหนดแตกต่างจากตลาดชุมชนที่อื่น ๆ ก็คือการตกแต่งร้านและพื้นที่ของตลาด ที่เน้นใช้วัสดุธรรมชาติมาดัดแปลงออกแบบให้มีความทันสมัย พร้อมทั้งยังให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการคิดค้นภาชนะใส่สินค้า โดยจะต้องนำวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นที่มีอยู่มารังสรรค์ให้กลายเป็นภาชนะสุดเก๋ ลดใช้โฟมและพลาสติก

ผู้เขียนคราครั้งไปเยืิอนหลาดใต้โหนด


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ตลาดใต้โหนด (Tai Nod Marke)
ที่อยู่
เลขที่ ๑๒๗ บ้านจันนา ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
จังหวัด
พัทลุง
ละติจูด
7.735474
ลองจิจูด
99.95755



วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

ตลาดใต้โหนด พัทลุง. 2560. สืบค้นวันที่ 4 เมษายน 2562, จาก http://2017.sadoodta.com/info/ตลาดใต้โหนด-พัทลุง

ตลาดใต้โหนด พัทลุง ตลาดสีเขียวที่เลี้ยวเข้ามาเมื่อไรก็มีแต่สุข. 2559. สืบค้นวันที่ 4 เมษายน 2562, จาก https://travel.kapook.com/view148947.html


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024