พิธีไหว้เจ้าที่ควาย
 
Back    02/05/2023, 16:45    24  

หมวดหมู่

ความเชื่อ


ประวัติความเป็นมา

            ไหว้เจ้าที่ควายเป็นพิธีกรรมที่เกิดจากปัญหาของชาวบ้าน เช่น โจรผู้ร้ายขโมยควาย บางทีก็ต้อนไปหมดทั้งฝูง หรือไม่ก็ประสบกับปัญหาโรคระบาดและภัยอย่างอื่น ๆ เช่น สัตว์ร้ายจำพวกเสือ เจ้าของควายจึงหันไปพึ่งเจ้าที่ให้ช่วยคุ้มครองปกปักรักษา โดยกระทำพิธีไหว้เจ้าที่เพื่อขอความคุ้มครองให้ฝูงควายของตน ทั้งนี้เนื่องจากสมัยก่อนในภาคใต้โดยเฉพาะจังหวัดกระบี่ ควายเป็นปัจจัยหนึ่งในการดำรงชีวิตให้มีความมั่นคง ควายเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตทางเกษตรกรรม หรือจะพูดให้ชัดคือชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีก็ย่อมขึ้นอยู่กับวัวควาย ด้วยสมัยก่อนจังหวัดกระบี่เลี้ยงควายมาก ถึงกับส่งเป็นสินค้าออกไปขายต่างประเทศ จะเห็นได้จากบริเวณหน้าเมืองในปัจจุบันเดิมเป็น "สะพานควาย" การเลี้ยงควายในสมัยก่อนนั้นมักปล่อยเป็นฝูงให้หากินเองในทุ่งเลี้ยงสัตว์ เมื่อถึงฤดูการทำนาชาวนาก็ต้อนฝูงควายให้ลงเหยียบย่ำในนาจนเป็นดินโคลนพร้อมที่จะปักดำได้ มูล (ขี้) ของควายที่ย้ายคอกไปตามแหล่งทุ่งนาก็กลายเป็นปัจจัยย่างดีกับผลผลิต แต่ปัญหาที่ชาวบ้านประสบอย่างหนึ่ง ก็คือเรื่องโจร ผู้ร้ายที่ขโมควาย บางทีก็ต้อนไปหมดทั้งฝูงหรือไม่ก็ประสบกับปัญหาโรคระบาด และภัยจากอื่น ๆ เช่น สัตว์ร้ายจำพวกเสือ เจ้าของควายจึงหันไปพึ่งเจ้าที่ให้ช่วยปกรักษา คือจะทำพิธีไหว้เจ้าที่ เพื่อขอความคุ้มครองให้ฝูงควายของตน ช่วงเวลาการทำพิธีไหว้เจ้าที่ควายปกติจะประกอบพิธีกรรมปีละ ๒ ครั้ง คือตอนลงนาและตอนจากนา การประกอบพิธีกรรมในหมู่บ้านหนึ่ง ๆ จะมีหมอเช่นไหว้เจ้าที่อยู่ ๒-๓ คน และจะมีการสืบทอดต่อกันไปเรื่อยจากรุ่นสู่รุ่น หรือจากบรรพบุรุษมาถึงลูกหลาน เล่ากันว่าหมอรุ่นก่อนที่ตายไปแล้ววิญญาณจะกลายเป็น "นายหมรูนหรือนายหมูน" มีหน้าที่รับใช้เจ้าที่ชั้นสูงขึ้นไป (ภาษาถิ่นเรียกเจ้าที่ชั้นสูงขึ้นว่าพ่อตา) ในพิธีกรรมไหว้เจ้าที่ควายนั้นชาวบ้านจะจัดทำร้านกำมะลอสูงจากพื้นดินประมาณ ๑ ฟุต ขนาดกว้างยาวประมาณ ๓ ฟุต บนร้านปูใบตอง ตั้งเครื่องเช่น เช่น ไก่ต้ม เหล้า ข้าว น้ำ หมาก พลู บุหรี่ มีบันได เล็ก ๆ พาดลงจากร้าน บนพื้นดินหน้าร้านปูใบตองจัดวางเครื่องเช่น เช่นกัน วางไส้ไก่ เลือด ขน พร้อม ข้าวสุก ไว้สำหรับผีหรือเจ้าที่ ที่ไม่สามารถขึ้นกินบนร้านได้ หมอจะเริ่มพิธีที่ริมคอกควาย อ่านคำสัสดีเชิญครูข้อความว่า...
        "อัญเชิญครูต้น เสด็จมาอย่าพ้น มานั่งป็นประธาน วันนี้มีการ ธุระโดยจงมานั่งในวง มณฑลโสภา แม้นข้าพลั้งพลาด อย่ามีโทษา ขอเชิญท่านมา คุ้มโพยกันภัย เสนียดจังไหร กันภัยทุกประการ โอม..สฤษดิ์ชันตุ ปริชุญชันตุ สวาหาย" เสร็จแล้วหมอจะพูดทำนองบอกเจ้าที่ว่า "พรรคพวกครูบาอาจารย์ วันนี้ข้าจะทำการไหว้เจ้าที่ควาย ขอเชิญท่านมารักษาป้องกันอย่าให้มีอุบาทว์จังไหร" เสร็จแล้วออกชื่อบรรดาครูหมอต่าง ๆ ตามสายของตน อาทิ
              "พรานทุ่งเดินดง พรานดงเดินป่า พรานไกรอาสา ตาน้อยตาหยา นงบาทธานีเฒ่าธานีหนุ่ม ตาด้วง ตาวร ตาสก ตาสาม ตาราม ตาปาน พรรคพวกเฒ่าแก่นายหมรูน มาช่วยลำดับสับสานให้พ่อตาเขากินไก่" เสร็จแล้วก็จะเชิญเจ้าที่ชั้นผู้ใหญ่ (พ่อตา) ต่อไปว่า
         "พญายอดน้ำ เฒ่า-บ่าว เขาเฒ่าเฒ่าพญาลาว สมเด็จเจ็ดหม้อ หยิกพันโตนหินชนนกแล ขานางร้านไก่ หมรัยเจ้า ฝ่าเท้าฝ้าตื่น สำหนักสำเกรียบ กรวบเกรียบชำนาญ มอบรมพรมอ่อน โองราโพ ยอดพระหัตถ์ โบงโหยง โยงทัน บางหยดกดมา กันหลา อาพาธ โพระกะหลี นางศรีขวัญทอง เจ้าที่สิบสอง ปากน้ำแพรก โตรมอิปัน ไม้เกลี้ยง ไม้งาม สอยดาวหลาวทอง ชักขวนกันมากิน มาก่อนนั่งหน้า มาข้านั่งหลัง กินคออย่าราก กินปากอย่าลาย กินให้อิ่มหนำสำราญ กินแล้วช่วยกันคุ้มกันวัวควาย อย่าให้มีอันตราย" หมอจะเซ่นโดยออกชื่อเจ้าที่เหล่านี้ ๓ จบ พร้อมจุ่มน้ำเหล้าไปชะโลมตัวไก่ต้มเสร็จแล้วหยุด เว้นระยะนั่งเฝ้าดู กะว่าเจ้าที่กินเสร็จจึงว่าต่อ
              "กินแล้วบ้วนปากล้างมือ ขอเดนขอซาน ขอล่ำขอลา กินหมากกินพลู ชมธูปชมเทียน ให้แคล้วคลาดขาดหาย อย่าให้เป็นเหลยปากเหลยคอ" เมื่อเช่นไหว้เจ้าที่จบแล้วก็ไม่ลืมที่จะเช่นไหว้พวกผีชั้นต่ำให้มากินเครื่องเช่นต่อไป ดังข้อความว่า
            "พวกเหยกเยกง่อย ขึ้นหลาพาไลไม่รอดกินใต้ถุนหลา กินแล้วช่วยกันรักษาวัวควาย อย่าให้ง่อยให้เพลีย ตาปลัดชมผี แม่นางกลางเมือง ทั้งพรรค ทั้งพวก ทั้งหมู่ทั้งชา ชักชวนกันมา กินเลือดฝาก ไส้กว้าตับปอด ขี้ขนพร้อมทุกสิ่ง" เสร็จแล้วหมอจะทำพิธีส่งเจ้าที่ผีทั้งหลายความว่า
            "ครั้นท่านเสวยแล้ว ยุรยาตรคลาดแคล้วไปสู่สถานเหลือแต่รอยเดน เหลือแต่รอยชาน เหล่าพวกบริวาร กินสำราญใจ ถือกล้องคล้องน้ำ เมามามายฝิ่นใฝ่ ที่อยู่ก็อยู่ ที่ไปก็ไป ที่ยังอยู่ใช้รักษาวัวควาย โอม... สฤษดิ์ชันตุ ปริชุญชันตุ สวาหาย" ขั้นตอนการไหว้เจ้าที่ควายก็เสร็จสิ้นลง เจ้าของควายคงสบายใจขึ้นกว่าเดิมว่าปีนี้คงจะไม่มี อุปสรรคอันใด เพราะได้ไหว้เจ้าที่เพื่อขอความคุ้มครองแล้ว ปัจจุบันพิธีไหว้เจ้าที่ควายหาดูยากมาก เมื่อเราเปลี่ยนควายเนื้อมาเป็นควายเหล็กในการทำนา
            
การไหว้เจ้าที่วัวควาย เป็นพิธีที่ชาวนาจัดทําขึ้นตามความเชื่อที่ว่าวัวควายมีอํานาจเร้นลับ หรือมีเทวดาอารักษ์คอยปกปักรักษาวัวควายให้ปลอดภัยจากเหตุร้ายต่าง ๆ ทั้งยังเชื่อว่าถ้าทําแล้วจะทําให้วัวควายมีลูกมากร่างกายอ้วนท้วนแข็งแรงไม่เพริดหรือสะดุ้งตกใจกลัว
           
พิธีกรรม
            
ไหว้เจ้าที่ควายนิยมทํากันในเดือน ๕ หรือเดือน ๙ วันเสาร์หรือวันอังคาร อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบพิธี มีแผงไม้ไผ่สี่เหลี่ยมขนาด ๒ x ๒ ฟุต ปูด้วยใบตอง สําหรับวางเครื่องเช่น บัตรพลีทําด้วยใบเตยหรือใบตองเย็บเป็นรูปกลม ๆ สําหรับใส่เครื่อง เช่น ๗ ใบ เครื่องเซ่นมี ข้าวเหนียว ข้าวสุก ปลามีหัวมีหาง ขนมโค กล้วย อ้อย ถั่ว งา สุรา และน้ํา ๑ ขัน เมื่อถึงเวลาประกอบพิธี หมอจะนําแผงไม้ไผ่วางลงกลางคอกวัวหรือควายหรือไม่ก็ทําเป็นร้านเล็ก ๆ สําหรับวางแผงอีกที่หนึ่ง แบ่งเครื่องเซ่นทุกชนิด (ยกเว้นสุราและน้ํา) ใส่บัตรพลีทุกใบ วางบัตรพลีกระจายให้ทั่วแผง แล้วจุดเทียน ตั้งนะโมบูชาพระรัตนตรัย ชุมนุมเทวดา แล้วจึงสวดบูชาเจ้าที่วัวควาย เมื่อสวดบูชาจบจะร้องประกาศให้พระภูมิรับเครื่องเซ่น แล้วรินน้ําล้างมือล้างปากพระภูมิ แยกบัตรพลีวางตรงประตูคอก กลางคอกและตามเสาต่าง ๆ แต่ละจุดให้รินเหล้าลงบัตรพลี เพื่อเซ่นอีกครั้งหนึ่ง หมอบางคนจะมีด้ายสายสิญจน์เป็นเครื่องประกอบพิธีด้วย ถ้าพิธีจัดขึ้นก่อนลงนา เสร็จพิธีแล้วแบ่งด้ายผูกที่โคนขาและเขาข้างขวาของวัวควาย อีกทั้งผูกที่ประตูคอกข้างขวา แต่ถ้าทําพิธีหลังจากลงนาให้ผูกไว้ข้างซ้ายในตําแหน่งเดียวกัน แม้ในปัจจุบันสังคมจะเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น แต่ชาวนาส่วนหนึ่งก็ยังมีความ เชื่อถือในสิ่งเร้นลับว่าสามารถช่วยเหลือเขาได้ ดังนั้นชาวนาบางคนยังคงจัดให้มีพิธีไหว้เจ้าที่วัวควายกันอยู่ แต่มีความมุ่งหวังแคบลงเป็นการกระทําพิธีเพียงเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่วัวควาย และเพื่อความสบายใจของเจ้าของผู้จัดทําพิธีเอง
          การเตรียมของเซ่นไหว้
               การเตรียมของเซ่นไหว้เจ้าที่ควาย มีขั้นตอนดังนี้
              ๑. เจ้าของควาย และหมอพิธี เดินทางไปยังที่ตั้งของคอกควาย เพื่อเตรียมความพร้อมของสถานที่คือการทำหลา (ศาลา) โดยสร้างให้มีบันได ๓ ขั้น 
              ๒. เตรียมของใช้ทำพิธีหน้าครู ประกอบด้วย
                   - หมาก ๕ คำ
                   - ตางค์ (เงิน) ๑๒ บาท
                   - เทียน ๑ เล่ม
                   - ดอกไม้ ๓ สี
              ๓. 
เครื่องเช่นไหว้ตั้งบนหลาเพื่อเซ่นไหว้เทวดา  ประกอบด้วย
                   - ไก้ต้ม ๑ ตัว 
                   - เทียนแดง ๙ เล่ม
                   - ข้าวเหลือง/ขาว ๙ กอง
                   - หมากยน
                    - น้ำ/เหล้าขาว
               ๔. 
เครื่องเซ่นไหว้ใต้ร้าน/ใต้หลา เพื่อไหว้เจ้าของควาย/พี่เลี้ยงควาย ประกอบด้วย
                    - ข้าวเหลือง/ขาว ๓ กอง
                    - เทียนแดง ๓ เล่มการกล่าวบทเซ่นไหว้

            ขั้นตอนการไหว้              
              เริ่มด้วยการกล่าวอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เช่น เจ้าแม่ธรณี เจ้าแม่คงคา เจ้าที่เจ้าป่า หลักเมือง สืบเมือง พื้นที่อำเภอเขาพนมก็จะกล่าวถึงพญายอดน้ำเขาพนม ให้มารับของเช่นไหว้และให้รักษาควายให้สมบูรณ์แข็งแรง ให้รักษาเขตแดน อย่าให้มีสัตว์ร้ายมาทำร้ายควาย และเจ้าของหมอพิธีดโดยกล่าวว่าหากการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายนั้น ให้มารับของเช่นไหว้ที่ตั้งไว้บนหลา แต่หากเป็นฝีป่า ผีเขา ให้ให้มารับของที่ตั้งเช่นไหว้ใต้หลาการทำบวงเขตหมอพิธีจะทำบวงเขต ทั้ง ๔ ทิศ เพื่อเป็นกำหนดบริเวณทั้ง ๔ ด้าน ไม่ให้มีสิ่งที่ชั่วร้ายทั้งหลาย เข้ามาทำร้ายควาย และเมื่อเสร็จพิธีก็ให้ยกบันไดที่พาดกับหลานั้นออก


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
พิธีไหว้เจ้าที่ควาย
ที่อยู่
จังหวัด
กระบี่


บรรณานุกรม

พิธีไหว้เจ้าที่ควาย. (2551). สืบค้น 2 พ.ค. 68, จาก https://link.psu.th/FRvh5z


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2025