นครศรีธรรมราช (Nakhon Si Thammarat)
 
Back    02/11/2020, 16:30    5,774  

หมวดหมู่

จังหวัด


ประวัติความเป็นมา


นครศรีธรรมราชเมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองค่า ชื่นฉ่ําธรรมชาติ
แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู

          นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดใหญ่อันดับ ๒ ของภาคใต้ เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย นครศรีธรรมราชเป็นเมืองโบราณที่มีความสําคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการศาสนามากที่สุดเมืองหนึ่งในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมาไม่น้อยกว่า ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่สืบค้นและยืนยันว่านครศรีธรรมราชมีกําเนิดมามาก่อนแล้ว ตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๗ สำหรับชื่อเมืองก่อนที่จะมีชื่อว่านครศรีธรรมราชนั้น เมืองนี้เคยมีชื่อเรียกกันต่าง ๆ หลายชื่อด้วยกัน เช่น ตามพรลิงค์ ตั้งมาหลิ่ง ละคอน ลิกอร์ โลแก๊ก ศิริธรรมราช และศรีธรรมราช เป็นต้น ชื่อเหล่านี้ พอจะสืบสาวประวัติและที่มาได้ดังนี้

๑. ตามพรลิงค์ เป็นชื่อที่สันนิษฐานเก่าแก่ที่สุดของเมืองนี้ เพราะปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของลังกาที่ชื่อคัมภีร์มหานิทเทสติสสเมตฺเตยฺยสุตต ซึ่งจารึกในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๗ นั้น ก็ย่อมแสดงว่าในสมัยนั้นได้เกิดมีเมืองตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราชขึ้นแล้ว คําว่าตามพรลิงศ์ผู้รู้บางท่านได้แปลว่านิมิต ทองแดง บางท่านก็แปลว่าไข่ทองแดงและบางท่านก็แปลว่าลึงค์ทองแดง
๒. ตั้งมาหลิ่ง เป็นชื่อที่ปรากฏในจดหมายเหตุของภิกษุชาวจีนที่เคยเดินทางมาพักอยู่ นอกจากนี้ในจดหมายเหตุที่ชาวจีนคนอื่น ๆ บันทึกไว้ก็อ่านออกเสียงเช่นนี้ จึงพอจะคาดคะเนได้ว่าจีนออกเสียงเพียนไปจากคําตามพรลิงค์นั้นเอง
๓. ละคอน เป็นชื่อเรียกของนครศรีธรรมราชอีกชื่อหนึ่ง ซึ่งปรากฏในหลักฐานบันทึกจดหมายเหตุและพงศาวดารของไทยทางภาคกลาง เข้าใจว่าคงจะเรียกกันในชั้นหลังคือหลังจากเมืองนี้ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นนครศรีธรรมราชแล้ว
๔. ลิกอร์ เป็นชื่อที่ปรากฏในหลักฐานของฝรั่งชาติโปรตุเกสที่มาค้าขายกับนครศรีธรรมราช ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ชาวโปรตุเกสเรียกชื่อเมืองนี้สั้น ๆ ว่านครแต่ออกเสียงตัว น (นะ) เพี้ยน เป็น ล (ละ) ตามลักษณะการออกเสียงของชาวโปรตุเกส จึงกลายเป็นลิกอร์ไปในที่สุด
6. โลแก็ก เป็นชื่อที่มาร์โคโปโลนักเดินเรือชาวตะวันตกใช้เรียก
6. ศิริธรรมราช เป็นชื่อที่ปรากฏในหนังสือจามเทวีวงศ์ ซึ่งพระโพธิรังสีชาวเชียงใหม่แต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ และปรากฏอยู่ในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งแต่งในปี พ.ศ. ๒๐๖๐
๗. ศรีธรรมราช เป็นชื่อที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ ๒๔ ซึ่งได้จากวัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

           นอกจากชื่อดังกล่าวทั้ง ๗ นั้นแล้ว นครศรีธรรมราชมีชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อ แต่ชื่อเหล่านี้อาจจะไม่เป็นที่รู้จักคุ้นหนัก ได้แก่ เมืองพระเวียง เมืองกระหม่อมโคก เมืองนครดอนพระ เมืองปาฏลีบุตร เซี๊ยะโห้และโฮลิง (ไข่แดง) เป็นต้น ชื่อที่เรียกกันคล่องปากที่สุด และเป็นที่เข้าใจกันมากที่สุดในเวลานี้คือ “นคร" อันที่จริงในประเทศไทยมีหลายจังหวัดที่มีคำว่า “นคร” นําหน้า เช่น นครปฐม นครพนม นครสวรรค์นครราชสีมา เป็นต้น แต่จังหวัดเหล่านั้นผู้คนก็มักจะเรียกชื่อเต็ม ๆ ไม่มีจังหวัดใดที่มีผู้คนจะเรียกเฉพาะคํานครเหมือนกับนครศรีธรรมราช ฉะนั้นคํา “นคร” จึงหมายถึงนครศรีธรรมราชไปโดยปริยาย และเมื่อเวลาเขียนก็ระบุคําว่า “ศรี" ลงไปท้ายคํา “นคร” จนกลายเป็น “นครศรีฯ” จนถึงปัจจุบัน
           ความว่า "นครศรีธรรมราช" มาจากคำว่านครแห่งพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เมื่อเอาคำว่า นคร+ศรี+ ธรรม+ราช ก็จะเป็นคำใหม่ว่านครศรีธรรมราช คำนี้มีเค้ามาจากคำเรียกของแคว้นสุโขทัยที่เรียกยกย่องนครศรีธรรมราชว่าเป็น “นคร” ของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชและเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ช่วงหนึ่ง ในสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช แห่งราชวงศ์ปทุมวงศ์ พระองค์ทรงสถาปนาเมืองหลวงแห่งใหม่ จากเดิมคือกรุงตามพรลิงค์ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ปกครองโดยราชวงศ์อื่น นับถือศาสนาพรามหณ์ออกมาทางทิศเหนือ ชื่อว่า “นครศรีธรรมราชมหานคร” หรือ “กรุงศรีธรรมราชมหานคร” เป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรนครศรีธรรมราช ที่ประกาศตนเป็นเจ้าแห่งคาบสมุทรมลายู อาณาเขตตั้งแต่อำเภอบางสะพานถึงสิงคโปร์ คําว่า "นครศรีธรรมราช" ซึ่งเป็นคําสมาสนั้นแปลความได้ว่า "นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" นับเป็นชื่อเมืองที่ผูกพันอยู่กับองค์ ๓ คือชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์อยู่ไม่น้อย เพราะคำว่า ”นคร” หมายถึงชุมชนและประชาชน ซึ่งหมายถึงชาติ คำว่า “ธรรม” หมายถึงคําสอนแห่งศาสนา และคำว่า “ราช” หมายถึงพระมหากษัตริย์นั้นเอง


ภาพจากคุณณัฐ เหลืองนฤมิตรชัย ; https://www.youtube.com/watch?v=SXnq7V4DUO0

             กําเนิดเมือง
        ถ้าจะเริ่มต้นนับจุดกําเนิดของเมืองนครศรีธรรมราช โดยไม่นับสมัยที่ดินแดนแถบนี้ยังเป็นทะเล ผู้คนต้องอาศัยอยู่ริมเชิงเขาในเขตอําเภอลานสกาปัจจุบันนี้แล้ว ก็ถือว่าบริเวณบ้านท่าเรือ (ปัจจุบันเป็นเขตตําบลท่าเรือ อําเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช) เป็นเมืองยุคแรกของนครศรีธรรมราช เมืองในยุคแรกที่บ้านท่าเรือคงจะมีลักษณะเป็นชุมชนย่อมมาก่อน ต่อมาก็ค่อยขยายตัวเป็นเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. ๖๐๑ เป็นอย่างน้อย ชื่อเมืองในระยะแรกอาจจะเรียกเซียะโห้ เพราะในหลักฐานจีนในช่วง พ.ศ ๑๐๐๐-๑๑๕๐ เรียกเมืองนี้ว่าเซียะโห้ ในช่วง พ.ศ. ๑๑๕๐-๑๔๕๐ เรียกเมืองนี้ว่าโอลิงหรือโพลิง และหลังปี พ.ศ. ๑๔๕๑ เป็นต้นไปจึงได้เรียกเมืองนี้ว่าตามพรลิงค์ (ภาษาสันสกฤต) หรือตั้งมาหลิ่ง นครศรีธรรมราชเป็นเมืองโบราณที่มีความสําคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และศาสนามากที่สุดเมืองหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นครศรีธรรมราชมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมาไม่น้อยกว่า ๑๘๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานทางเอกสารที่ปรากฏในขณะนี้ยืนยันได้ว่านครศรีธรรมราช มีกําเนิดมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๗ เป็นอย่างน้อย จากประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งนครศรีธรรมราช สามารถประมวลได้ว่า "นครศรีธรรมราช" ได้ปรากฏชื่อในที่ต่าง ๆ หลายชื่อตามความรู้ความเข้าใจที่สืบทอดกันมา และสําเนียงภาษาของชนชาติต่าง ๆ ที่เคยเดินทางผ่าน ในระยะเวลาที่ต่างกัน เช่น ตามพลิงคม ตามพรลิงค์ มัทธาลิงคม ตามพลิงเกศวร โฮลิง โพลิง เชียะโท้ว โลแค็ก (Locae) สิริธรรมนคร ศรีธรรมราช ลิกอร์ (Ligor) ละคอน คิวตูตอน สุวรรณปุระ ปาฏลีบุตร (Pataliputra) และเมือง นคร เป็นต้น
           คำว่า "นครศรีธรรมราช" น่าจะมาจากสร้อยพระนามของปฐมกษัตริย์ ผู้ครองนครศรีธรรมราช คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชคํานี้ แปลความได้ว่า "นครอันงานสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" และธรรมของราชาแห่งนครนี้ก็คือธรรมแห่งพระพุทธศาสนา ถ้าจะลําดับความเป็นมาของนครศรีธรรมราชจากหลักฐานโบราณคดีและ ประวัติศาสตร์ที่สืบค้นได้ในขณะนี้ พบว่ามีภูมิหลังอันยาวนานนับตั้งแตยุคหินกลางราว ๆ  ๘,๓๕๐-๑๑ ,๐๐๐ ปีที่ล่วงมา จากหลักฐานมีการพบเครื่องหินที่มีตัวขวานยาวใหญ่ (บางคนเรียกว่าระนาดหิน ) ที่อําเภอท่าศาลา ในยุคโลหะ ได้พบหลักฐานทางโบราณคดี คือกลองมโหระทึกสําริด ๒ ใบ ที่บ้านเกตุกาย ตําบลท่าเรือ อําเภอเมือง และที่คลองคุดด้วน อําเภอฉวาง นอกจากนี้ในบริเวณพื้นที่อําเภอสิชลปัจจุบันยังมีร่องรอยโบราณสถาน และโบราณวัตถุเกี่ยวเนื่องในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดในนครศรีธรรมราช เช่น พระพุทธรูปสําริด ศิลปแบบอมราวดีของอินเดีย และเศียรพระพุทธรูปศิลปแบบคุปตะอินเดีย เป็นต้น จากหลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าในช่วงนี้นครศรีธรรมราชได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมมาจากอินเดียอย่างมากมาย ทั้งในด้านศาสนา ความเชื่อ อักษร ภาษา ประเพณีและการปกครอง จนกลายเป็นพื้นฐานวัฒนธรรม นครศรีธรรมราชมาถึงปัจจุบันนี้  
       ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๙ เป็นช่วงที่นครศรีธรรมราชมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ปัจจัยสําคัญที่ก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองน่าจะเนื่องมากจากการเป็นสถานีการค้าสําคัญของคาบสมุทรไทย ซึ่งเป็นจุดพักถ่ายซื้อสินค้าระหว่างตะวันออกกับตะวันตกที่ดีที่สุดในเวลานั้น ประกอบกับบริเวณหาดทรายแก้วอันเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ความศรัทธาและ ความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา จึงเป็นปัจจัยชักนําให้ผู้คน จากทุกสารทิศในภาคใต้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในนครศรีธรรมราชอย่างหนาแน่น ในราวปี พ.ศ. ๑๗๐๐ เศษ ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชได้จัดการปกครองหัวเมืองรายรอบ ได้สําเร็จถึง ๑๒ เมือง เรียกกันว่าเมืองสิบสองนักษัตร ประกอบด้วย

๑. เมืองสายบุรี    ตราหนู
๒. เมืองปัตตานี    ตราวัว
๓. เมืองกลันตัน    ตราเสือ
๔. เมืองปาหัง    ตรากระต่าย
๕. เมืองไทรบุรี    ตรางูใหญ่
๖. เมืองพัทลุง    ตรางูเล็ก
๗. เมืองตรัง    ตราม้า
๘. เมืองชุมพร    ตราแพะ
๙. เมืองปันทายสมอ (กระบี่)    ตราลิง
๑๐. เมืองสระอุเลา (สงขลา)    ตราไก่
๑๑. เมืองตะกั่วป่า ถลาง    ตราหมา
๑๒. เมืองกระบุรี    ตราหมู

       ลำดับยุคแห่งความรุ่งเรือง
  
ด้วยเหตุที่นครศรีธรรมราชมีประวัติอันยาวนานและเจริญรุ่งเรืองมาก่อนกรุงสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นราชธานีแรกของไทยที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ซึ่งพิจารณาได้จากประติมากรรม สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ช่างฝีมือพื้นบ้าน การละเล่น และขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งชาวเมืองนครฯ ยึดถือปฏิบัติกันสืบกันมาจนถึงปัจจุบัน นครศรีธรรมราชเป็นเมืองโบราณมีความสําคัญทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง การ ปกครอง และการศาสนามากที่สุดเมืองหนึ่งในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑,๘๐๐ ปี ในชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามศัพท์สําเนียงและความรู้ความเข้าใจของผู้คนชนชาติต่าง ๆ ที่เคยเดินทางผ่านไปมาในระยะเวลาที่ต่างกัน เช่น ตามพลิงคม ตั้งมาหลิ่ง ตัน-มา-ลิง ตาม พรลิงค์ ตมะลิงคม กรุงศรีธรรมาโศก ปาฏลีบุตร ละคร ลิกอร์ และนครศรีธรรมราช ร่องรอยทางโบราณคดีที่แสดงความเก่าแก่ของเมือง ทําให้พอคะเนได้ว่าดินแคนนี้เป็นแหล่งอารยธรรมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในยุคต้นของประวัติศาสตร์ ชาติไทยอย่างแน่นอนในที่นี้จะกล่าวถึงภูมิหลังด้านอารยธรรมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ และวิวัฒนาการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของนครศรีธรรมราชโดยสังเขป ดังนี้              ยุคหินกลาง (ปากน้ําสิชล)
     
จากหลักฐานทางด้านโบราณคดีที่ได้จากการสํารวจภาคสนามทางโบราณคดีของกรมศิลปากรในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้พบเครื่องมือหินที่เก่าแก่ (จากการเปรียบเทียบโดยถือตามลักษณะเครื่องมือ) จัดเป็นเครื่องมือยุคไพลสโตซีนตอนปลายที่ถ้ําตาหมื่นยม อำเภอช้างกลาง เครื่องมือหินดังกล่าวนี้มีลักษณะกะเทาะหน้าเดียว รูปไข่ คมรอบ ปลายแหลม ด้านบนคล้ายรอยโดนตัดคล้ายกับลักษณะของขวานกําปั้นที่พบที่บ้านไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และจัดว่าเป็นเครื่องมือหินยุคกลาง (อายุราว ๑๑,๐๐๐-๘,๓๕๐ ปี) 
หรือมีลักษณะเหมือนเครื่องมือหินวัฒนธรรมโฮบินเนียน ดังนั้นจึงอาจจะกล่าวได้ว่าในจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มีมนุษย์เข้ามาอาศัยอยู่ตั้งแต่ยุคหินกลางเป็นอย่างน้อย เป็นต้นมา
           ยุคหินใหม่
    
ยุคหินใหม่ (อายุราว ๓,๙๐๐-๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว) ได้พบเครื่องมือเครื่องใช้และภาชนะดินเผาในยุคนี้กระจัดกระจาย โดยทั่วไปทั้งที่บริเวณถ้ําและที่ราบของจังหวัด นครศรีธรรมราช เช่น พบเครื่องหินที่มีป่าตัวขวานยาวใหญ่ (บางท่านเรียกว่า “ระนาดหิน”) ที่อําเภอท่าศาลา นอกจากนี้ได้พบขวานหินแบบจะงอยปากนก มีดหิน สิวหิน และหม้อสามขา เป็นต้น ในหลายบริเวณของจังหวัดนครศรีธรรมราชแสดงว่าในยุคนี้ได้เกิดมีชุมชนขึ้นแล้วและชุมชนกระจัดกระจายโดยทั่วไป ซึ่งอาจจะตีความได้ว่าชุมชนในยุคนี้เองที่ได้พัฒนามาเป็นบ้านเมืองและมีอารยธรรมที่สูงส่งในระยะต่อมายุคโลหะ
            ยุคโลหะ
         ยุคโลหะ (อายุราว ๒,๕๐๐-๒,๒๐๐ ปีมาแล้ว) พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สําคัญของยุคนี้ คือกลองมโหระทึกสําริดในนครศรีธรรมราชถึง ๓ ใบ คือที่บ้านเกตุกาย ตําบลท่าเรือ อําเภอเมือง ที่คลองอุดด้วน อําเภอฉวาง และที่อําเภอสิชล กลองมโหระทึกดังกล่าวนี้จัดอยู่ในวัฒนธรรมดองซอน 
ดังนั้นย่อมเป็นการยืนยันได้ว่าในยุคนี้ ชุมชนในนครศรีธรรมราชได้มีการติดต่อหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชุมชนอื่น ๆ แล้ว การติดต่อดังกล่าวอาจจะโดยการเดินเรือแสดงให้เห็นว่าสังคมหรือชุมชนในนครศรีธรรมราช เริ่มย่างเข้าสู่สังคมเมือง ซึ่งระยะที่กล่าวนี้อาจจะเป็นต้นคริสต์ศักราชหรือพุทธศตวรรษที่ ๕ -๘ ในคัมภีร์มหานิทเทศซึ่งแต่งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๗ ได้กล่าวถึงเมืองท่าที่สําคัญในอินเดีย ลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้หลายเมือง ในจํานวนเมืองเหล่านี้ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงนครศรีธรรมราชไว้ด้วย ดังความตอนหนึ่งที่ว่า... ไปชวา ไปกะมะลิง (ตะมะลิง) ไปวังกะ (หรือวังคะ)...  นอกจากนี้ยังปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหาซึ่งแต่งขึ้นในระยะเดียวกันกับคัมภีร์มหานิทเทศด้วยคําว่า “กะมะลิง” หรือ “ตะมะลิง” หรือ “กะมะลี” หรือ “ตะมะลี” จีนเรียกว่า “ตั้งมาหลิ่ง” เจาชกัวเรียก “ตัน-มาลิง” ในศิลาจารึกเรียก “ตามพรลิงค์” คือเมืองนครศรีธรรมราชโบราณ แสดงว่าในระยะนี้เมืองนครศรีธรรมราชโบราณเป็นเมืองที่มีความเจริญทางด้านการค้าหรือเป็นตลาดการค้าที่สําคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักเดินเรือและพ่อค้าชาวอินเดีย อาหรับ และจีน ในพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๐ นอกจากเอกสารของต่างชาติจะกล่าวถึงนครศรีธรรมราชในระยะนี้แล้ว ได้มีการค้นพบพระวิษณุศิลาอันเป็นเทวรูปของศาสนาพราหมณ์กลุ่มที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จํานวน ๓ องค์ในภาคใต้ พระวิษณุในกลุ่มนี้จํานวน ๒ องค์ ค้นพบในจังหวัดนครศรีธรรมราช คือองค์แรกค้นพบที่หอพระนารายณ์ อําเภอเมือง ต่อมาย้ายไปประดิษฐาน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช องค์ที่ ๒ ค้นพบที่วัดพระเพรง ตําบลนาสาร อําเภอเมือง และปัจจุบันนี้จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช เทวรูปกลุ่มนี้มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๐ เพราะเหตุว่าแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะอินเดียสมัยมถุราและอมราวดี ตอนปลาย (พุทธศตวรรษที่ ๙-๑๐) นอกจากนี้ในชุมชนโบราณสิชลซึ่งตั้งอยู่บนแนวสันทรายที่ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ โดยเป็นแนวตั้งแต่เขตอําเภอขนอม ผ่านลงมายังอําเภอสิชล อําเภอท่าศาลา และอําเภอเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งยาวประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากชายฝั่งอ่าวไทยไปประมาณ ๕-๑๐ กิโลเมตร ได้ค้นพบโบราณวัตถุและโบราณสถานที่ได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มากมาย ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้ออํานวยต่อการพัฒนาทางอารยธรรมและการตั้งถิ่นฐานของมนุษยชาติ เพราะที่ราบชายฝั่งทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาลเหมาะแก่การกสิกรรม มีอ่าวและแม่น้ําหลายสายที่เหมาะแก่การจอดเรือและคมนาคม มีแหล่งน้ําสําหรับการบริโภค และตั้งอยู่ในทําเลที่เป็นชายฝั่งทะเลเปิดอันเหมาะแก่การเป็นสถานการค้าและแวะพักสินค้ามาแต่โบราณ ทําให้ชุมชนโบราณแห่งนี้มีพัฒนาการสูงส่งมาแต่อดีตเหมือนกับชุมชนอื่น ๆ บนคาบสมุทรไทยอันเป็นศูนย์กลางหรือจุดนัดพบระหว่างอารยธรรมและการค้าของพ่อค้าวานิช ในทะเลจีนใต้แห่งมหาสมุทรแปซิฟิกกับทะเลอันดามันแห่งมหาสมุทรอิมเดีย หรืออีกนัยหนึ่งคือ “จุดนัดพบระหว่าง ตะวันออกกับตะวันตก” หากแต่เพราะสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกว่าทําให้ชุมชนโบราณ สิชลพัฒนาการได้อย่างรวดเร็วและกว้างใหญ่ไพศาลมาก ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิศาสตร์โบราณคดีที่เอื้ออํานวยต่อการตั้งถิ่นฐานเช่นนี้ ย่อมเหมาะสําหรับการพัฒนาอารยธรรมของมนุษย์โบราณในแหล่งโบราณคดีชายฝั่งทะเลมาก โดยเฉพาะในยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบในภาคใต้ ปรากฏว่าลักษณะภูมิศาสตร์โบราณคดีมีอิทธิพลต่อการตั้งหลักแหล่งมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์แล้วได้วิวัฒนาการมาตามลําดับ ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนในการตั้งหลักแหล่งชุมชนที่เป็นบ้านเป็นเมืองของประชาชนในภาคใต้มาตั้งแต่โบราณ กล่าวคือบริเวณที่มีความเจริญสูงขั้นเป็นสังคมเมืองอยู่ทางฝั่งตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ ส่วนทางฝั่งตะวันตกประชาชนที่ตั้งหลักแหล่งมี ๒ พวก ซึ่งมีวัฒนธรรมแตกต่างกันคือพวกแรกได้แก่คนพื้นเมืองที่มีความเป็นอยู่ล้าหลัง มีอาชีพประมงหรือล่าสัตว์ และทําไร่เลื่อนลอยอยู่กันเป็นชุมชนเล็ก ไม่สามารถขยายตัวเป็นเมืองใหญ่ได้ ส่วนพวกที่สองเจริญสูงกว่าแต่มักจะเป็นชาวต่างชาติ เช่น พ่อค้าหรือนักแสวงโชคที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งพักสินค้าหรือขุดแร่ธาตุเป็นสินค้า ชุมชนพวกหลังนี้อาจจะขยายตัวเป็นเมืองได้ จากการศึกษาทางโบราณคดีที่ผ่านมากล่าวได้ว่าได้ค้นพบชุมชนโบราณที่เก่าแก่ในคาบสมุทรไทยในช่วงต่อเนื่องของยุคสําริดกับยุคเริ่มแรกของการเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
       ยุคอาณาจักรศรีวิชัย
       
อาณาจักรศรีวิชัยหรืออาณาจักรศรีโพธิ์ ก่อตั้งโดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในช่วงที่อาณาจักรฟูนันล่มสลาย มีอาณาเขตครอบคลุมมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีของประเทศไทยในปัจจุบัน พื้นที่อาณาจักรแบ่งได้สามส่วน คือส่วนคาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา และเกาะชวา โดยส่วนของชวาได้แยกตัวออกไปตั้งเป็นอาณาจักรมัชปาหิต ต่อมาเมื่ออาณาจักรศรีวิชัยอ่อนแอลง อาณาจักรมัชปาหิตได้ยกทัพเข้ามาตีศรีวิชัย ได้ดินแดนสุมาตราและบางส่วนของคาบสมุทรมลายูไป และทำให้ศรีวิชัยล่มสลายไปในที่สุด ส่วนพื้นที่คาบสมุทรที่เหลือ ต่อมาเชื้อพระวงศ์จากอาณาจักรเพชรบุรี ได้เสด็จมาฟื้นฟูและตั้งเป็นอาณาจักรนครศรีธรรมราช ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ได้ระบุว่าศรีวิชัยสถาปนาในช่วงเวลาก่อนปี พ.ศ. ๑๒๒๕ เล็กน้อย มีการพบศิลาจารึกภาษามลายูโบราณเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยทั้งที่สุมาตรา และที่วัดเสมาเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราชและพบศิลาจารึกภาษาสันสกฤต เมืองไชยา ระบุว่าศรีวิชัยเป็นเมืองท่าค้าพริก ดีปลี และพริกไทยเม็ด โดยมีต้นหมากและต้นมะพร้าวจำนวนมาก หลวงจีนอี้จิงเคยเดินทางจากเมืองกวางตุ้ง ประเทศจีนโดยเรือของพวกอาหรับ ผ่านฟูนันมาพักที่อาณาจักรศรีวิชัยในเดือน ๑๑ พ.ศ. ๑๒๑๔ เป็นเวลา ๒ เดือน ก่อนที่จะเดินทางต่อผ่านเมืองไทรบุรี ผ่านหมู่เกาะคนเปลือยนิโคบาร์ ถึงเมืองท่าตามพรลิงก์ที่อินเดียเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา หลวงจีนอี้จิงบันทึกไว้ว่าพุทธศาสนาแบบมหายานเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักรศรีวิชัย ประชาชนทางแหลมมลายูเดิมส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา แต่ก็ได้ติดต่อกับพ่อค้าอาหรับมุสลิมที่เดินทางผ่านเพื่อไปยังประเทศจีน ดังนั้นในเวลาต่อมาศาสนาอิสลามจึงได้เผยแพร่ไปยังมะละกา กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และปัตตานี จนกลายเป็นรัฐอิสลามไป ต่อมาในปี พ.ศ. ๑๕๖๘ อาณาจักรศรีวิชัยได้ตกอยู่ใต้อำนาจและกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมัชปาหิตของชวาในปี พ.ศ. ๑๙๔๐ แต่มีหลักฐานจากตำนานเมืองเพชรบุรีว่าอาณาจักรศรีวิชัยได้ล่มสลายไปก่อนหน้านี้แล้ว เพราะตำนานฯ ระบุว่าก่อนพระพนมวังจะได้สถาปนาอาณาจักรนครศรีธรรมราชในปี พ.ศ. ๑๘๓๐ นครศรีธรรมราชมีสภาพเป็นเมืองร้างมาก่อน การปกครองของอาณาจักรศรีวิชัย แคว้นพาลี้ (ศุกโฃทัย) เป็นเมืองบกในปกครองของราชอาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยาเหมือนกับเมืองอู่ทอง กาฬสินธุ์ อุบล และละโว้ (ลพบุรี) เมืองออกเมืองขึ้นที่อยู่บนบกจะขึ้นกับ “นายก” ซึ่งเป็นรองมหาราชศรีวิชัยอันดับที่ ๑ ส่วนเมืองชายทะเลของศรีวิชัยจะขึ้นสังกัดกับรองมหาราชศรีวิชัยองค์ที่ ๒ เรียกชื่อตำแหน่งว่า “มหาอุปจักรพรรดิ์” จะใช้กองทัพม้าที่อยู่ในกองทัพเรือในการไปตรวจราชการและทำศึกสงครามปราบขบถ ส่วนเมืองชั้นในจะขึ้นตรงกับมหาราชแห่งศรีวิชัย คำว่า "ศรีวิชัย" เป็นฉายาของอาณาจักร “ศรีโพธิ์” ที่ไชยา และอาณาบริเวณใกล้เคียงนับถือศาสนาพุทธมหายาน หรือฮินดู-พุทธ โดย “ศรี” หมายถึงพราหมณ์ และ “โพธิ์” หมายถึงพระพุทธเจ้า อาณาจักรศรีโพธิ์ที่ไชยาจะมีอายุอยู่ระหว่างปี พ.ศ. ๑๒๐๒-๑๗๕๙ หรือ พ.ศ. ๑๒๐๐-๑๘๐๐ ต้นตอของศรีวิชัย กษัตริย์องค์แรกของศรีโพธิ์ คือหะนิมิตเป็นมหาราช มีฉายาเป็นเทพเจ้าว่า “พระอินทร์” ผู้สร้างธาตุไชยเมื่อปี พ.ศ. ๑๒๓๑ และสร้างพระแก้วมรกตเมื่อปี พ.ศ. ๑๒๓๓ มีโอรสองค์เอกชื่อเป็นเทพเจ้าว่าพระวิษณุที่ ๑ มาปกครองเมืองพระเวียงนครศรีธรรมราช แล้วเลยไปปกครองศรีวิชัยที่ชวา (อินโดนีเซีย) ในปี พ.ศ. ๑๒๙๐ และเป็นผู้เริ่มต้นสร้างบรมพุทโธ ศาสนสถานแบบฮินดู-พุทธ มีโอรสองค์เอกชื่อเป็นเทพเจ้าว่าพระเจ้าวิษณุที่ ๒ เข้ามายึดครองนครศรีธรรมราชได้ในปี พ.ศ. ๑๓๑๐ แล้วรวบรวมศรีโพธิ์ทั้ง ๓ อาณาจักรเป็นหนึ่งเดียวเรียกว่า "สัมโพธิ์" แปลว่ารวมโพธิ์ราชาหรือโพธิ์ตรัสรู้ ๓ แห่งเข้าด้วยกัน จึงเรียกว่าสัมฮุดชี แปลว่ารวมพระเจ้า ๓ องค์เข้าด้วยกัน ( ๓ แห่ง) คำว่า "ศรีวิชัย" ศาสตราจารย์ ยอร์ซ เซเดส์ ผู้เชี่ยวชาญโบราณคีและประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้มาขุดค้นวัดเสมาชัยกับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาประวัติศาสตร์ไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ พบศิลาจารึกหลักที่ ๒๓ ที่จารึกเมื่อปี พ.ศ. ๑๒๑๘ มีชื่อ “ศรีวิชัย” อยู่มากมาย ท่านเลยอนุมานเอาว่าอาณาจักรนี้น่าจะชื่อว่าศรีวิชัย พร้อมกับพระพุทธรูปยืนองค์หนึ่งที่แสดงอภินิหารมากมาย ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ใต้วิหารโพธิลังกาวัดพระธาตุ ส่วนพระมหากษัตริย์พระเจ้าวิษณุที่ ๒ ศิลาจารึกหลักนี้เรียกว่า “พระเจ้าศรีวิชเยนทรราชา”
            ยุคเมือง  ๑๒ นักษัตร
       
หลักการปกครองของอินเดียโบราณตั้งแต่สมัยอาณาจักรไอราวดีในลุ่มน้ำสินธุเป็นต้นมา มักจะมีเมืองบริวารทั้ง ๑๐ หมายถึง ๑๐ ทิศ คือทิศทั้ง ๘ หรือเมืองทั้ง ๘ และเมืองบนสวรรค์และเมืองใต้ดิน หรือเมืองสวรรค์และเมืองบาดาล แต่ในความเป็นจริงเป็นไปไม่ได้ แต่ก็ต้องมีเมืองที่ ๙ และเมืองที่ ๑๐ ให้ครบตามลัทธิความเชื่อเพราะเหตุเมือง ๒ เมืองนี้ จึงมักจะอยู่ในแนวเหนือใต้ของเมืองเอกมากที่สุด ในสมัยศรีวิชัยยุคแรกประมาณปี พ.ศ. ๑๒๐๐-๑๓๐๐ ก็มีเมืองนครทั้ง ๑๐ เป็นเมืองบริวาร เมื่อพระเจ้าศรีวิชเยนทรราชยึดครองนครศรีธรรมราชแล้ว จึงมีพระราชดำริสร้างเมืองบริวารขึ้นเองโดยสนับสนุนเมืองขึ้น ยกกองทัพไปปราบหรือดำเนินการด้านการฑูตหรือเมืองเหล่านั้นมาร่วมเป็นเครือข่ายจนได้เมืองบริวารถึง ๕ เมือง และสามารถดึงนครทั้ง ๑๐ ของศรีวิชัยลงมาร่วมด้วยเป็นนครทั้ง ๑๕ ราว ๆ ปี พ.ศ. ๑๓๒๕ พร้อมกับการเฉลิมฉลองพระธาตสร้างใหม่ทรงศรีวิชัย และมีการสมโภชพระธาตุด้วยการนำการเล่นเงาแบบฉายานาฏกะของพราหมณ์ เข้ามาใช้จนเป็นต้นตอของการเล่นหนังตะลุง ในยุคต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๑๔๔๐ อาณาจักรศรีวิชัยที่ชวาอินโดนีเซีย ก็เริ่มเสื่อมอำนาจลง ทำให้ศรีวิชัยที่นครศรีธรรมราชโดดเด่นยิ่งขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยทั้ง ๓ ได้โดยไม่ยากนัก ต่อมาในปี พ.ศ. ๑๗๗๓ พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมาโศกราชประกาศอิสรภาพ (ตามที่ศิลาจารึกหลักที่ ๒๔ วัดเสมาเมืองจารึกไว้ว่า) ได้ยกกองทัพเรืออันเกรียงไกรข้ามมหาสมุทรอินเดียไปตีลังกา ครั้งที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๑๗๙๐ ได้พระพุทธสิหิงค์มาโดยนางพญาเลือดขาว พระแม่เจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปรับแทนประมาณ พ.ศ. ๑๗๙๑ พร้อมช้างพระที่นั่งเอกตัวแทนพระเจ้าจันทรภาณุ ต่อมา พ.ศ. ๑๘๑๓ ทรงยกทัพเรือไปตีลังกาครั้งที่ ๒ โดยหวังจะได้บาตรของพระพุทธเจ้า แต่ ชวากะหรือศรีวิชัยที่ไชยากับพวกโจฬะอินเดียเป็นไส้ศึกจึงทรงแพ้ศึกครั้งนี้และสวรรคต ทรงสร้างพระธาตุเจดีย์รูปทรงลังกาดังที่เห็นปัจจุบัน ใน พ.ศ. ๑๗๙๐ และพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้มีเมืองบริวารเป็นนครทั้ง ๑๒Ž โดยใช้รหัสกลุ่มดาวเป็นรหัสเมืองออกเมืองขึ้นทั้ง ๑๒ เมือง เรียกว่าเมือง ๑๒ นักษัตร 
         ลำดับเรื่องราวการก่อเกิดของนครศรีธรรมราช สามารถสรุปได้ดังนี้

- พ.ศ. ๒๗๕ เริ่มจากพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งเมารียวงศ์แห่งอินเดียทรงครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๑๕-๒๗๕ มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากพระองค์ได้ทรงให้ความอุปถัมภ์โดยทรงจัดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๖ ณ วัดอโศการาม นครปาฏลีบุตร แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ เมืองหลวงของรัฐพิหาร) ทรงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน หลังจากสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยเสร็จสิ้นแล้ว พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้จัดคณะพระธรรมทูตออกเป็น ๙ คณะแล้วส่งไปประกาศพระพุทธศาสนาในดินแดนต่าง ๆ ในปี พ.ศ. ๒๓๔ จัดส่งธรรมฑูตจำนวน ๙ คณะออกไป ๙ เส้น ๑ ใน ๙ คณะนั้น นำโดยพระโสภณเถระและพระอุตตระเถระมาถึงนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๙๓ เจ้าชายสุมิตรโอรสพระเจ้าอโศกซึ่งได้บวชเป็นพระภิกษุ ได้อัญเชิญต้นศรีมหาโพธิ์มาปลูกที่สุวรรณปุระหรือไชยา การเดินเรือจากอ่าวเบงกอลออกอ่าวไทยในสมัยโบราณมีเส้นทางแม่น้ำลำคลอง ๖ เส้นทางข้ามภาคใต้ไม่ต้องไปอ้อมปลายแหลมมลายูหรือช่องแคบมะละกา
พ.ศ. ๓๐๐ ศาสนาพุทธจากนครศรีธรรมราชและชาไป้เผยแผ่ไปถึงศรีสุรรณะต่อมาจึงมีชื่อใหม่ว่านครปฐม ดังนั้นนครปฐมจึงเป็นเมืองแรกของภาคกลางที่ศาสนาพุทธเผยแผ่มาถึงไม่ใช่แห่งแรกในประเทศไทย เมื่อศาสนาพุทธประดิษฐานอย่างมั่นคงแล้วในลังกา เมืองสะเทิมในพม่าที่ชื่อว่าศิริธัมมนครก็ได้รับศาสนาพุทธตรงจากลังกาผ่านสะเทิมเข้าสู่อาณาจักรมอญ (พวกมุณฑ์จากอินเดีย) อาณาจักรยะไข่ อาณาจักรพุกามและเข้ามาสู่ อาณาจักรทวารวดีในภาคกลางของไทย อาณาจักรทวารวดีจะมีอายุอยู่ระหว่างปี พ.ศ. ๑๓๐๐-๑๗๐๐ ก่อนหน้านั้นเคยเจริญมาก่อนแล้วสมัยหนึ่งประมาณปี พ.ศ. ๘๔๓-๑๒๐๐
พ.ศ. ๖๙๒ เมืองมลราชที่ลานสกาปรากฎตัวขึ้นในเอกสารโบราณที่นักประวัติศาสตร์ภาคกลางอ้างถึง ซึ่งแน่ละต้องนับถือทั้งศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธควบคู่กันส่วนศาสนาดั้งเดิมที่นับถืออิทธิฤทธิ์ของธรรมชาติก็ยังมีอยู่และสอดรับกันได้ดีกับศาสนาพราหมณ์ ที่ทำธรรมชาติเหล่านั้นให้เป็นตัวตนเทพเจ้า เช่น พระพิรุณเจ้าแห่งฝน พระอัคคี เทพแห่งไฟ พระอาทิตย์เทพแห่งแสงสว่าง เป็นต้น
พ.ศ. ๗๐๐ เกิดอาณาจักรพนมที่กระบี่กับสุราษฎร์ธานี พราหมณ์จากอินเดียได้อพยพเข้ามาตามแม่น้ำคลองแสง คลองสก คลองพุ่มดวง คลองสินปุน คลองสังข์ มาตั้งกรุงหยันที่อำเภอทุ่งใหญ่ และกรุงชิงที่ท่าศาลา รวมทั้งพราหมณ์โกณฑัญญะได้เดินทางจากอาณาจักรพนม (กระบี่+สุราษฎร์ธานี) ไปสร้างอาณาจักรฟูนันในเวียดนาม (พนม ฟูนัน แปลว่าภูเขา) ปี พ.ศ. ๘๕๔ นางเหมชาลาและทนตกุมารนำเสด็จพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าหนีศัตรูมาฝังไว้ที่เมืองนคร สร้างตึกดินครอบพระธาตุไว้โดยการช่วยเหลือของกษัตริย์ลังกาปี พ.ศ. ๘๕๖ นับว่าเป็นการสร้างพระธาตุเจดีย์ครั้งที่ ๑ ปี พ.ศ. ๑๐๖๑ พราหมณ์มาลีกับพราหมณ์มาลาจากอินเดีย อพยพมาสู่เมืองนครตั้งเมืองเขาวังและขุดพระบรมสารีริกธาตุซึ่งได้ลงอาคมเป็นกากำกับไว้ ๔ ฝูง เพื่อให้รักษาพระธาตุออกมาจิกตีทหาร จนพราหมณ์มาลาหลอกล่อไปแล้วฆ่าด้วยธนูไชยศรศิลป์ที่ลงอาคมชั้นสูงของพระนารายณ์ (ที่มาของชื่ออำเภอลานต่อกา (ลานสกา)) ชาวบ้านเชื่อว่าศรนี้เปลี่ยนรูปเป็นหินปรากฎอยู่บนถ้ำแก้วสุรกานต์ ทางไปอำเภอช้างกลาง กาอาคมทั้ง ๔ ฝูง นี้มีชื่อเฉพาะตนว่ากาแก้ว กาเดิม กาชาด การาม ซึ่งเป้นชื่อต้นแบบของพระครูชั้นราชาคณะคอยป้องกันพระธาตุเจดีย์ทั้ง ๔ ทิศในเวลาต่อมา ปัจจุบันลดชั้นลงเหลือเพียงเทียบสมณศักดิ์คือพระครู ต่อมาภายหลังก็ขาดตำแหน่งเหล่านี้ไป ต่อมาตำแหน่งพระราชาคณะทั้ง ๔ นี้ได้นำไปใช้กับพระธาตุวัดเขียนบางแกวที่พัทลุงและพระธาตุไชยา 
- พ.ศ. ๑๑๙๑ นครโฮลิงที่จีนเรียก ซึ่งแปลว่า “ไข่แดง”โดยภาพรวมคือนครศรีธรรมราช แต่ในความเป็นจริงอาจจะเป็นเมืองมลราชที่ลานสกาก็ได้ ได้ส่งฑูตไปจีนครั้งแรกและหลายครั้งต่อมาทำให้จีนทราบว่านครศรีธรรมราช เป็นเมืองศาสนาพุทธมหายานและหินยาน และศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายรวมกันเจริญรุ่งเรืองควบคู่กันมาโดยมีการค้าขายทางเรือกับนานาชาติที่เมืองท่าเรือและแม่น้ำทุกสายในภาคใต้ พระภิกษุจีนจึงมักแวะผ่านนครศรีธรรมราชก่อนเดินทางไปไชยา ลังกาและอินเดียทางเรือด้วยลมมรสุมอยู่เสมอ
พ.ศ. ๑๑๙๓ เจ้าชายโมคคัลลานะหนีราชภัยมาจากลังกาสร้างที่ท่าศาลาโดยการช่วยเหลือของกษัตริย์ตามพรลิงค์ โมคลานเป็นเมืองศูนย์กลางตรงเส้นทางการค้าระหว่างอาณาจักรฟูนันในเวียตนามกับลังกา
พ.ศ. ๑๒๐๒ กำเนิดอาณาจักรศรีโพธิ์ โดยพระเจ้าหะนิมิตโอรสอาณาจักรอู่งตั้งตนเป็นมหาราชฉายาชื่อ “พระอินทร์” โอรสมีฉายาว่าพระเจ้าวิษณุที่ ๑ ผู้กครองชวา (อินโดนีเซีย) ดังกล่าวมาแล้ว
พ.ศ. ๑๓๑๐ พระเจ้าวิษณุที่ ๒ โอรสวิษณุที่ ๑ ยกกองเรือมายึดครองนครศรีธรรมราชก่อนลังกาและไชยาจะเข้ายึดครองตั้งวัดเสมาชัยสร้างวัดคูหาภิมุขยะลา
พ.ศ. ๑๔๔๔ นครศรีธรรมราช เป็นศูนย์กลางของศรีวิชัยที่ไชยาและศรีวิชัยที่ชวา โดยนครศรีธรรมราชขณะนั้นจะมีเมืองออกเมืองขึ้นเป็นเมืองสำคัญทางการค้าถึง ๑๕ เมือง และในสมัยนี้ก็น่าจะสร้างปราสาทอิฐ ๓ หลัง
พ.ศ. ๑๕๑๔ พระเจ้าสุชิตราช จากนครศรีธรรมราช ยกกองทัพพล ๑๗ หมื่นไปตีละโว้ (ลพบุรี) ในขณะที่กษัตริย์ละโว้ออกไปทำศึกนอกเมืองกับกษัตริย์ลำพูน ซึ่งทั้งกษัตริย์ลำพูนและละโว้ ต่างก็เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกับพระนางจามเทวี พระแม่เจ้าอยู่หัวแห่งหริภุญไชยลำพูน เมื่อปี พ.ศ. ๑๒๒๓ และพระนางจามเทวีก็เป็นเจ้าหญิงจากศรีวิชัยที่ไชยาพระเจ้าสุชิตราชให้โอรสองค์ใหญ่ไปปกครอง “เมืองราม” แล้วเจริญเติบโตเป็นแคว้นอโยธยาให้โอรสองค์ที่ ๒ ไปครองแคว้นศรีจนาศะ (พิมาย) ในนามพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ 
-  พ.ศ. ๑๕๓๕ สร้างวัดเสมาเมือง ลงข้างวัดเสมาชัยที่มีอายุห่างกันถึง ๒๒๕ ปี และ ในปีเดียวกันนี้กษัตริย์เมืองนครก็ได้สร้างวัดเสมาทอง (วัดมเหยงคณ์) ให้เป้นวัดรองของวัดเสมาเมือง
- พ.ศ. ๑๕๖๐ ท้าวโคตรคิรีเศรษฐีมอญและน้องชายอพยพทางเรือเข้าเมืองนครมาตั้งรกรากและมีสัมพันธ์กับกษัตริย์เมืองนครทำให้คำว่า “ศิริธัมมนคร” ของเมืองสะเทิมมาเป็นฉายาของนครศรีธรรมราชด้วย ดังนั้นคำว่า “ศรีธัมมราช”ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหงอาจจะเป็นสะเทิมในพม่าก็ได้เพราะคำว่า "จรดฝั่งสมุทรเป็นที่แล้ว” เหมือนกันข้อนี้น่าคิดสองสามตลบ วัฒนธรรมศาสนาแบบมอญจึงปรากฎขึ้นในเมืองนครศรีธรรมราช
- พ.ศ. ๑๕๖๘ พระเจ้าราเชนทร์โจฬะที่ ๑ อินเดียใต้ยกกองทัพมาตีศรีวิชัย (นครศรีธรรมราช) ครอบครองได้ไม่นานก็ถอยกลับไป เพราะศรีวิชัยไชยาและศรีวิชัยศรีธรรมราชกำลังรวบรวมกองทัพเรือนอกอาณาจักรเข้ามาตีกลับ
พ.ศ. ๑๕๘๐ กรมการเมืองนครถวายเจ้าหญิงจันทวดี พระธิดาอดีตกษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์ไปเป็นมเหสีของพระเจ้าอู่ทองแห่งแคว้นอโยธยา มีพระโอรสองค์หนึ่งไปครองเมืองธานยปุระ (เมืองอู่ข้าว) หรือนครสวรรค์สืบเชื้อสาย “ศรีธรรมาโศก” ฝ่ายแม่ ส่วนน้องชายเจ้าชายสุวรรณคูตา พระเจ้าอู่ทองสนับสนุนให้เป็นกษัตริย์เมืองนครในนามพระเจ้าสุวรรณคูตาศรีธรรมาโศกราชในปีเดียวกันนี้ ”ศุกโขไฑ” ก็มีกษัตริย์ที่เข้มแข็งมีอำนาจขึ้น พระเจ้าสุวรรณคูตาทรงบูรณะวัดเสมาทอง (มเหยงคณ์) ให้เป็นวัดมีเสนาสนะเพียบพร้อมเพื่อเป็นวัดรองจากวัดท่าช้างที่เป็นวัดสมเด็จสังฆราช “เจ้าโพธิกุมาร” หลานตาของพระเจ้าสุวรรณคูตา วัดท่าช้างนี้จึงน่าจะเป็นวัดท่าช้างที่บ้านมะม่วงสองต้น ไม่ใช่วัดท่าช้างที่ตลาดแขกที่กรมศิลปากรยกที่ดินให้แขกไทรบุรีสร้างมัสยิดซอลาฮุดดินทับไว้ และในปี พ.ศ. ๑๕๘๐ นี้สุโขทัยก็มีผู้ปกครองที่เข้มแข็งกำลังสร้างแว่นแคว้นของตนเองตามการจดบันทึกของพงศาวดารเหนือ
พ.ศ. ๑๖๑๐ นครศรีธรรมราชเป็นศูนย์รวมของศรีวิชัยทั้ง ๓ ทั้งไชยาและชวา ผู้สำเร็จราชการเมืองนครไปสร้างห้องเก็บพระบรมราชโองการให้พระเจ้ากรุงจีน สร้างหอสมุดหลวง สร้างโบสถ์ใหญ่ที่กวางตุ้ง ซื้อที่นา ๔๐๐,๐๐๐ ตำลึง ถวายวัดนี้ พระเจ้ากรุงจีนพอใจมากตั้งให้เป็นจอมพลผู้ปกป้องความเชื่อและการก่อสร้างโปรดให้เข้าเฝ้าได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องมีขุนนางเบิกตัวเข้าเฝ้า 
พ.ศ. ๑๖๔๕ พระภัทรสถวีระภิกขุแห่งไชยา แต่งตำนานศรีวิชัยโบราณบอกถึงความเกี่ยวเนื่องในเชิงลึกของไชยา-นครศรีธรรมราช-ชวา และลังกา เพราะ ๔ เมืองนี้คือขั้วอำนาจของอาณาจักรศรีวิชัยตัวจริงตลอดมา
พ.ศ. ๑๗๑๐ ศรีวิชัยที่ไชยาได้ไปทำการสังคายนาศาสนาพทุธให้บริสุทธิ์ที่ลังกาแล้วช่วยกันเผยแผ่ไปสู่ไชยา–นครศรีธรรมราช ชวา ละโว้ ศรีสุวรรณะ(นครปฐม) อโยธยา หริภุญไชยและธานนยปุระ(นครสวรรค์)
พ.ศ. ๑๗๒๒ ท้าวพิไชยเทพเชียงแสน พระบิดาท้าวอู่ทอง (องค์หนึ่ง) แห่งอโยธยา (ศรีรามเทพนคร) ได้อาสายกกองมาปราบศรีวิชัยนครศรีธรรมราช ที่บังอาจปลูกต้นมหาโพธิ์แสดงความเป็น “โพธิราชา” เพื่อดึงเมืองออกเมืองขึ้นเข้ามาสู่ร่มโพธิสมภารพร้อมกับริเริ่มการก่อสร้างเจดีย์ขนาดใหญ่อันเป็นสัญลักษณ์ของการประกาศอิสรภาพแสดงว่า แคว้นอโยธยากำลังเจริญรุ่งเรืองเป็นผู้นำทางด้านการเมืองการปกครอง และไม่อยากให้นครศรีธรรมราช ขึ้นมาตีเสมอแม้ว่าจะโด่งดังในนามศูนย์กลางของศรีวิชัย มาก่อนนี้ไม่นานและเป็นเพราะกำลังเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ด้วยกษัตริย์องค์ก่อนเพิ่งสวรรคต
พ.ศ. ๑๗๒๓ นางพญาเลือดขาว พระแม่เจ้าอยู่หัวและพระยากุมารแห่งอาณาจักรสะทิงพระ เสด็จมาเยี่ยมนครศรีธรรมราช (สะทิงพระเป็น ๑ ใน ๑๐ นครของศรีวิชัย)
พ.ศ. ๑๗๕๘ เจ้าชายมาฆะโอรสพระเจ้าไตรโลกยราชได้ไปช่วยกษัตริย์ลังกาทำสงครามจนชนะ ได้รับบำเหน็จให้เป็นกษัตริย์ครองเมืองโปโลนนรุวะ ทำให้ศิลปการก่อสร้างทางพระพุทธศาสนาแบบไชยา-ลังกา-นครศรีธรรมราช-สุโขทัย-อยุธยา เป็นรูปแบบเดียวกันและสืบทอดตกถึงกันในเวลาต่อมารวมทั้งเมืองบริวารทั้งหลายของเมืองเหล่านี้
พ.ศ. ๑๗๖๐ พระเจ้าไตรโลกยราชส่งเจ้าชายจันทรภาณุที่ ๑ โอรสเจ้าชายมาฆะมาปกครองศรีวิชัย-นครศรีธรรมราช ขึ้นกับไชยา
พ.ศ. ๑๗๖๙ โจฬะเขมรที่เป็นเชื้อสายของโจฬะราเชนทร์ที่ ๑ แห่งอินเดียใต้เข้ายึดครองกรุงละโว้ พระเจ้าไตรโลกยราช โปรดให้ส่งเจ้าชายพระยาร่วง โอรสมเหสีรอง(แม่เป็นละโว้) ไปปราบโจฬะเขมรที่ละโว้แล้วปกครองละโว้ต่อมา พระยาร่วงองค์นี้น่าจะเป็นพระร่วงส่วยน้ำที่สั่งให้น้ำอยู่ในชะลอมส่งไปขอมแสดงว่าว่าทั้งนครศรีธรรมราชและละโว้ต่างก็สงส่วยน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปให้กษัตริย์ขอมอาบทุกปี กษัตริย์ขอมเป็นเชื้อสายศรีวิชัยแน่นอนมาตั้งแต่โกณทัญญะแห่งฟูนันจากอาณาจักรพนม พระเจ้าไชยวรมันที่ ๗
พ.ศ. ๑๗๗๐ พระเจ้าไตรโลกยราชที่ศรีวิชัย-ไชยา สวรรคตพระเจ้าจันทรภาณุจากนครศรีธรรมราชกลับไปครองไชยา แล้วให้น้องชายพงษาสุระมาปกครองนครศรีธรรมราชในพระนามพระเจ้าจันทรภาณุที่ ๒
พ.ศ. ๑๗๗๓ พระเจ้าจันทรภาณุที่ ๒ นครศรีธรรมราชประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับศรีวิชัย-ไชยา และไม่ขึ้นกับขอม เพราะพระเจ้าไชยวรมันที่ ๗ ผู้อยู่เบื้องหลังกษัตริย์ไชยาได้สวรรคตแล้วและไม่ต้องส่งส่วยน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๗ บ่อในเมืองนครไปให้ขอมอีกดังจารึกหลักที่ ๒๔ วัดเสมาเมืองที่จารึกไว้ในปีนี้ทำให้อำนาจขอมหมดไปจากอาณาจักรศรีวิชัยไปด้วยในตัว ตั้งแต่ปีนี้ตามพรลิงค์ นครศรีธรรมราชมีเมือง ๑๒ นักษัตรเข้ามาเป็นเมืองบริวาร
พ.ศ. ๑๗๙๐ พระเจ้าจันทรภาณุ ผู้ประกาศอิสรภาพ ได้ก่อสร้างพระธาตุเจดีย์ทรงลังกาครอบทรงศรีวิชัยไว้ภายในนับว่าเป็นการสร้างพระธาตุเจดีย์ครั้งใหญ่สุดเป็นครั้งที่  ๔
- พ.ศ. ๑๗๙๘ พระเจ้ามาฆะทรงชราภาพมากแล้วเลยเสด็จกลับศรีวิชัย-ไชยา และได้อุปสมบทจนสวรรคตที่ไชยา ส่วนพระพุทธสิงหิงค์ นางพญาเลือดขาวนำมาไว้ที่นครศรีธรรมราช และในปีนี้พระเจ้าจันทรภาณุก็โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าสามจอมจากกัมพูชา(ขอม) นางพญาจัณฑี (จันดี) จากเมืองขวาง เมืองสระ (อาณาจักรเวียงสระ) และนางพญาเลือดขาว จากอาณาจักรสะทิงพระที่อาณาจักรของตนล่มไปช่วยก่อนสร้างวัดควนสูงอที่อำเภอฉวางอโดยฝังทองคำแท่ง ๑๕๐ สำเภาเรือไว้ที่นั่น เจ้าสามจอมได้สร้างวิหารสามจอม ไว้บูชาพระธาตุต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวิหารศรีธรรมาโศกราช นางพญาจัณฑีได้สร้างพระยายแอดหรือพระกัจจายานะ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่แม่นางแอดแห่งเมืองขวาง เมืองสระ แม่ของพระนางพระองค์นี้จึงเรียกแบบชาวบ้านว่า “พระยาแอด” ส่วนนางพญาเลือดขาวได้บูรณะวัดท้าวโคตรเป็นครั้งที่ ๕ สร้างวัดนางตรา วัดถ้ำทองทุ่งสง พระพทุธไสยาสน์-กันตัง และวัดพระนางสร้างที่ภูเก็ต เมืองเก่า และที่อำเภอช้างกลาง
- พ.ศ. ๑๗๙๙ พระร่วงอรุณโรจนราชจากสุโขทัยเสด็จนครศรีธรรมราช เพื่อร่วมเฉลิมฉลองพระธาตุเจดีย์คู่กับพระพุทธสิงหิงค์พร้อมด้วย “ราชา” จากนครทั้ง ๑๒ ซึ่งแน่ละแขกคนสำคัญต้องเป็น “พระร่วง” น้องชายต่างมารดาที่กำลังจะเป็น “ราชาธิราช”แห่งแคว้นสุโขทัยไม่ใช่กษัตริย์ต่างเมือง ๑๒ นักษัตร 
- พ.ศ. ๑๘๐๐ คณะสงฆ์จากลังกา นักปราชญ์ ราชบัณฑิต สัปบุรุษ อุบาสก อุบาสิกา ชื่นชมยินดีกับความเป็นเมืองพุทธศาสนาอันยิ่งใหญ่ของเมืองนครจึงอพยพเข้ามาเป็นระลอกๆ ช่วยกันสร้างวัดมากมาย เช่น สร้างรูปเคารพทางขึ้นองค์พระธาตุ สร้างวัดเสมาเงินเพิ่มเติม สร้างวัดแจ้ง วัดชะเมา วัดใหม่ อ.ทุ่งใหญ่ วัดท่าเรือ วัดพระพรหมพระเพรง เพิ่มเติมให้เป็นวัดพุทธซึ่งก่อนนี้เป็นวัดในศาสนาพราหมณ์และในปีเดียวกันนี้ สุโขทัยก็ประกาศอิสรภาพเป็นทางการ 
- พ.ศ. ๑๘๑๓ พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมาโศกราชแห่งตามพรลิงค์ผู้เกรียงไกรได้ยกกองทัพเรือสมุทรยาตรา ไปตีลังกาอีกครั้งหนึ่งเพื่อยึดเมืองโปโลนนรุวะของเจ้าชายมาฆะ และหวังจะได้บาตรของพระพุทธเจ้า มาประดิษฐานครู่กับพระบรมธาตุเจดีย์ที่สร้างเสร็จใหม่ ๆ เพื่อยกฐานะของพระองค์ให้สูงส่งดัง “มหาราช”แห่งศรีวิชัยองค์ก่อน ๆ ให้ได้ แต่ลังกาไม่ยอมเสียเมืองในครั้งนี้จึงร่วมมือกับพวกราเชนทร์โจฬะและศรีวิชัยไชยา หรือ “ชวากะ” ให้ช่วยกันหักหลังการทำศึกครั้งนี้ โดยร่วมมือกับลังกาเป็นไส้ศึก สงครามครั้งนี้พระเจ้าจันทราภาณุแห่งศรีวิชัย-นครศรีธรรมราช จึงพ่ายแพ้อย่างยับเยินอย่างไม่คาดคิดและเชื่อกันว่าพระองค์สวรรคตในสนามรบ

      จากหลักฐานตํานานเมืองนครศรีธรรมราช ตํานานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ตลอดถึงวรรณกรรมเรื่องพระนิพพานสูตรทุกสํานวนต่างยืนยันให้เห็นอย่างชัดเจน ถึงความรุ่งเรืองไพศาลของนครศรีธรรมราช ในยุคดังกล่าวและสามารถควบคุมหัวเมืองอื่น ๆ ได้ทั่วถึงคาบสมุทร มีแสนยานุภาพเกรียงไกรถึงขนาดกรีธาทัพไปตีลังกาถึง ๒ ครั้ง เหนือสิ่งอื่นใดราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ได้สถาปนาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ขึ้นอย่างมั่นคงในนครศรีธรรมราช มีการบูรณะพระเจดีย์เดิมให้เป็นทรงระฆังคว่ำ อันเป็นศิลปะลังกา จนนครศรีธรรมราชกลายเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม เป็นเมืองแม่แห่งวัฒนธรรมที่ได้ถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมไปยังหัวเมืองอื่น ๆ รวมทั้งสุโขทัย ซึ่งในเวลานั้นเพิ่งเริ่มก่อตัวขึ้นเป็นราช ธานีทางภาคเหนือตอนล่างใหม่ ๆ ในช่วงแรกของการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี คือสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้แต่งตั้งอุปราช (พัฒน์) บุตรเขยของพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) ขึ้นเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช เจ้าพระยานครนครศรีธรรมราช (พัฒน์) รับราชการมาจนถึงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) จึงได้กราบทูลลาออกจากตําแหน่งด้วยเห็นว่าชราภาพมากแล้ว พระองค์จึงได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระบริรักษ์ภูเบศร ผู้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชต่อมา ต่อมาได้กระทำความดีความชอบในราชการจนได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชคนทั่วไปรู้จักในนามเจ้าพระยานครน้อย เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ) ตามหลักฐานทางราชการกล่าวว่าเป็นบุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) แต่คนทั่วไปทราบกันว่าเป็นโอรสพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยานครศรีธรรมราชผู้นี้มีความสามารถ ได้ปราบปรามหัวเมืองมลายูได้สงบราบคาบเป็นนักการทูตที่สําคัญคนหนึ่ง โดยเฉพาะการเจรจากับอังกฤษในช่วงสมัยของรัชกาลที่ ๒-๓ ทําให้เมืองนครศรีธรรมราชมีอิทธิพลต่อหัวเมืองมลายู เป็นที่น่านับถือยําเกรงแก่บริษัทอังกฤษซึ่งกําลังแผ่อิทธิพลทางการค้าขายและทางการเมือง ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ) ยังเป็นผู้มีฝีมือในทางช่างหลายอย่างเช่นฝีมือในทางการต่อเรือจนได้รับสมญาว่าเป็น "นาวีสถาปนิก" และในสมัยรัชกาลที่ 4 เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ก็ได้ถวายพระแท่นถมตะทองและพระราชยานถมอีกด้วย ภายหลังที่เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ) ถึงแก่อสัญกรรม เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชคนถัดมาคือเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง) ผู้บุตรไม่เข็มแข็งเท่าที่ควรเป็นเหตุให้หัวเมือง กระด่างกระเดื่อง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้ทรงแก้ไขจัดการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ โดยให้มีการปกครองเป็นมณฑลนครศรีธรรมราชจึงเป็นมณฑลหนึ่งของประเทศไทย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้นสุขุม ) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. ๒๔๓๙  เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ รวมเมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา และเมืองพัทลุง ตั้งเป็นมณฑลนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยเมืองเหล่านี้คือ           
            เมืองนครศรีธรรมราช มี ๙ อำเภอ ประกอบด้วย

๑. อําเภอเมือง ตั้งที่ว่าการกลางเมือง นครศรีธรรมราช
๒. อําเภอเบี้ยซัด ตั้งที่ว่าการที่แม่น้ำปากพนัง
๓. อําเภอร่อนพิบูลย์ ตั้งที่ว่าการร่อนพิบูลย์
๔. อําเภอกลาย ตั้งที่ว่าการปากน้ำท่าสูง
๕. อําเภอสิชล ตั้งที่ว่าการบ้านไชยกราบ
๖. อําเภอลําพูน ตั้งที่ว่าการที่บ้านนา
๗. อําเภอฉวาง ตั้งที่ว่าการบ้านคลองตาล
๘. อําเภอทุ่งสง ตั้งที่ว่าการบ้านโคกแซะ
๙. อําเภอเขาพังไกร ตั้งที่ว่าการที่เขาพังไกร (ต่อแดนเมืองพัทลุง เมืองสงขลา)

            เมืองสงขลา มี ๕ อําเภอ ประกอบด้วย

๑. อําเภอกลางเมือง ตั้งที่ว่าการกลางเมืองสงขลา
๒. อําเภอปละท่า ตั้งที่ว่าการบ้านจทิงพระ (ต่อแดนเมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง)
๓. อําเภอฝ่ายเหนือ ตั้งที่ว่าการที่ท่าหาดใหญ่
๔. อําเภอจนะ ตั้งที่ว่าการบ้านนาทวี
๕. อําเภอเมืองเทพา

            เมืองพัทลุง แบ่งเป็น ๓ อําเภอ ประกอบด้วย

๑. อําเภอกลางเมือง ตั้งที่ว่าการกลางเมืองพัทลุง
๒. อำเภออุดร  ตั้งที่ว่าการที่บ้านควนขนุน
๓. อำเภอทักษิณ ตั้งที่ว่าการที่บ้านปากพะยูน

        ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ได้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการแผ่นดินด้านการปกครองหัวเมือง ได้โปรดฯ ให้มีการแต่งตั้งตําแหน่งอุปราชปักษ์ใต้ขึ้นเพื่อปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ทั้งหมด ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรี ราเมศวร์ดํารงตําแหน่ง อุปราชปักษ์ใต้ จนกระทั่งได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงได้ยุบมณฑลนครศรีธรรมราชลงเป็นจังหวัดหนึ่งของราชอาณาจักรไทย และดํารงฐานะดังกล่าวเรื่อยมาจนปัจจุบัน
          

          ชื่อบ้านนามเมือง
          ๑. อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช
           นครศรีธรรมราช หมายถึงเมืองที่มีราชาทรงธรรมซึ่งเป็นศรีสง่า จากหลักฐานศิลาจารึกและเอกสารโบราณเรียกนครศรีธรรมราชในอดีตไว้หลายชื่อประกอบด้วย

๑. ตามพรลิงค์ ชื่อนี้ปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ ๒๔ พ.ศ. ๑๗๗๓ อักษรปัลลวะส่วนที่เป็นภาษาสันสกฤตพบที่หัวเวียง อําเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามพรลิงค์ แปลว่าลึงค์ทองแดง หมายถึงดินแดนที่นับถือศิวลึงค์ ตามความเชื่อศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายที่ยกย่องบูชาพระศิวะ แสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมอินเดียมีอิทธิพลในดินแดนภาคใต้ของไทยมาช้านานมาก นอกจากนี้ในศิลาจารึกนี้ยังปรากฏชื่อธรรมาโศกราชจันทรภาณุ แห่งปัทมวงศ์และศรีธรรมราช ด้วยพระเจ้าจันทรภาณุเป็นกษัตริย์ที่มีชื่อเสียงมากในยุคที่นครศรีธรรมราชยังใช้ชื่อว่าตามพรลิงค์ ชื่อตามพรลิงค์ยังปรากฏอยู่ในศิลาจารึกและเอกสารต่าง ๆ เช่น คัมภีร์พุทธศาสนาภาษาบาลี ชื่อมหานิทเทสติสสเมตุเตยสูตร” ซึ่งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๗-๘ ปรากฎชื่อเมืองตมฺพลิงคมฺ” (Tambalingarm) ในศิลาจารึกภาษาทมิฬ พ.ศ. ๑๕๖๘ ของพระเจ้าราเชนทรโจฬะแห่งคธารัมอินเดียใต้ บันทึกไว้ว่าชื่อ “เมืองมัธมาลิงคัม” (Madamalingam) รวมทั้งจดหมายเหตุจีนบันทึกโดยเฉาจูกัวและวังตาหยวน ปี พ.ศ. ๑๗๖๙ ปรากฎชื่อ “เมืองตันมาลิง” หรือ “ตั้งมาหลิ่ง
๒. ศรีธรรมราช ชื่อนี้ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ ๒๔ และปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ หรือศิลาจารึกพ่อขุนรามคําแหง พ.ศ. ๑๘๓๕ ดังข้อความที่ว่า "สังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตรหลวกกว่าปู่ครูในเมืองนี้ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา” 
๓. ศรีธรรมาโศกราชหรือกรุงศรีธรรมาโศก เนื่องจากนครศรีธรรมราชมีความเจริญรุ่งเรืองสูง มีพระมหาอัตริย์ทรงอิสริยยศสูงดังพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย จึงได้ชื่อว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช (ศรี+ธรรม+อโศก+ราช) ในเอกสารเก่าบางเล่มเขียนเป็นศรีธรรมาโศกก็มี เมืองศรีธรรมาโศกราชนี้มีเมืองขึ้นสิบสองเมืองเรียกว่า “เมืองสิบสองนักษัตร” ซึ่งปัจจุบันได้มีการนําตราสิบสองนักษัตรมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ในศิลาจารึกหลักที่ ๓๕ อักษรขอมภาษาบาลี ซึ่งพบที่เมืองโบราณดงแม่นางเมือง อําเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ มีข้อความเกี่ยวกับพระเจ้ากรุงศรีธรรมาโศก ไว้ตอนหนึ่งความว่า… สิ่งสักการที่มหาราชาผู้มีพระนามว่ากรุงศรีธรรมาโศกถวายพระสรีธาตุซึ่งมีพระนามว่า "กมรเตงชคตศรีธรรมาโศก... ชื่อมหาราชาดังกล่าวแม้ไม่ได้ระบุสถานที่ชัดเจนนัก แต่ก็สอดคล้องกับศรีธรรมาโศกราช ในเอกสารโบราณของนครศรีธรรมราช เช่น วรรณกรรมลายลักษณ์เรื่องนิพพานโสตร
๔. สิริธรรมนคร หมายถึงนครศรีธรรมราช เป็นชื่อปรากฏในหนังสือบาลีเรื่องจามเทวีวงศ์ แต่งโดยพระโพธิรังสี พระเถระชาวเชียงใหม่ ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ และปรากฏในชินกาลมาลีปกรณ์ แต่งโดยท่านรัตนปัญญา พระเถระชาวเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๐ 
๕. ละคร ละกอร์ ลิกอร์ เป็นคําที่ออกเสียงเพี้ยนมาจากคําว่า นคร (ศรีธรรมราช) โดยเฉพาะพ่อค้าชาวยุโรป เช่น พ่อค้าชาวโปรตุเกส ซึ่งเข้ามาค้าขายในสมัยอยุธยาตอนต้น ราวปี พ.ศ. ๒๐๖๑ เรียกนครศรีธรรมราชว่า “ลิกอร์” (Ligor) 
๖. ปาฏลีบุตร ในเอกสารโบราณของศรีลังกามีรายงานของข้าราชการชาวสิงหล บันทึกเอาไว้ว่าสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ชาวสิงหล เรียกนครศรีธรรมราชว่า “ปาฏลีบุตร” ซึ่งตรงกับโคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีของนายสวนมหาดเล็ก ที่เรียกนครศรีธรรมราชว่า “ปาตลีบุตร” เช่นกัน ดังความตอนหนึ่ง…ปางปาตลีบุตรเจ้านคราแจ้งพระยศเดชา ปิ่นเกล้า ทระนงศักดิ์อหังการ์ เกกเก่ง อยู่แฮ ยังไม่ประณตเข้า สู่เงื้อมบทมาลย์
๗.   ท่าซัก เป็นชื่อคลองและตำบลในท้องที่อำเภอเมือง ที่เริ่มจากคลองทุ่งปรังทางทิศตะวันตกบริเวณนอกโคก หน้าสถานีรถไฟนครศรีธรรมราช หักเลี้ยวสู่ทิศตะวันออกที่หลังวัดศรีทวี (วัดท่ามอญ) ผ่านชุมชนท่าวังลอดสะพานราเมศวร์สู่ชุมชนท่าโพธิ์แล้วผ่านท่าหนอน ออกจากเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช สู่พื้นที่ตำบลท่าซัก ผ่านวัดนาวง วัดคงคาเลียบ ลงสู่ทะเลอ่าวไทยที่อ่าวนคร-ปากพนัง สำหรับความหมายและความเป็นมาไม่เป็นที่ชัดเจนว่าหมายถึงท่าหรือสถานที่ “ซัก” คำนี้ไม่แน่ว่าคืออะไรจะเป็นซักถามหรือซักผ้า ความเป็นมาที่วัดคงคาเลียบ เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๕๗ มีป้ายของชุมชนท้องถิ่นระบุว่า ณ สถานที่แห่งนั้นเคยเป็นท่าที่เรือแวะจอด เมื่อมาถึงหรือก่อนจะออกจากเมืองนครจึงเป็นที่แวะพัก ชำระล้าง รวมทั้ง “ซักผ้า” โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบุว่า เมื่อครั้งศึกเจ้าตากตีก๊กพระยานครหลังเสียกรุงศรีอยุธยานั้น ทรงมาขึ้นท่าที่นี่และทรงสรงสนานและซักพระภูษา ณ บริเวณนี้ จึงเรียกสืบกันมาว่า “ท่าซัก (ผ้าของเจ้าตาก)” นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าเมื่อหลวงพ่อทวดมายังเมืองนครหรือจะไปอยุธยา ก็ใช้ท่าที่วัดคงคาเลียบนี้ด้วย
๘. ท่าหนอนอยู่บนลำคลองท่าซัก บริเวณชายขอบเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราชด้านตะวันออกกับตำบลท่าซัก จนถึงบริเวณหลังวัดท่าโพธิ์ ท่าหนอนมีความหมายและความเป็นมา คือเป็นคำกร่อนมาจาก “ท่าขนอน” ด้วยมีการตั้งด่านขนอนเป็นท่าเพื่อกักกันการเดินทางผ่านเพื่อตรวจสินค้า สรรพาวุธและเก็บค่าธรรมเนียมภาษีฤชากรการค้าต่าง ๆ ในสมัยที่ลำคลองนี้ยังเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์และการค้าสำคัญของเมืองนคร แต่ทุกวันนี้หมดบทบาทหน้าที่จึงเหลือเพียงชื่อที่กร่อนคำจนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนเป็น “หนอน” อื่น ๆ จนกระทั้ง “ตัวขี้หนอน” ก็เป็นได้ 
๙. ท่าโพธิ์ บริเวณโค้งอ้อมชุมชนและวัดท่าโพธิ์ของคลองท่าซักมาลอดสะพานถนนตากสิน อ้อมผ่านท่าหน้าวัดท่าโพธิ์ไปบริเวณหน้าโรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ ความหมายและความเป็นมาของท่าโพธิ์ จากหลายเอกสารบอกเล่าและบันทึกระบุว่า บริเวณดังกล่าวเคยเป็นวังของพระปลัดพัฒน์ ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้านครในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน หลังสิ้นเจ้าพระยานครหนูคืนเมือง แล้วเจ้าพัฒน์ยกวังสร้างเป็นวัดถวายพระพุทธศาสนา ได้ชื่อว่าวัดท่าโพธิ์ ซึ่งในเอกสารแผนที่เมืองนครโบราณที่เก็บรักษาต้นฉบับที่หอสมุดแห่งสหราชอาณาจักร (British Library) วาดไว้เมื่อครั้งร้อยเอกเจมส์ โลว์ ที่ถูกส่งมาสำรวจและทาบทามหยั่งเชิงเจ้าพระยานครน้อย เข้าร่วมรบรุกบุกพม่าเมื่อประมาณสมัยรัชกาลที่ ๒-๓ แสดงภาพวาดให้เห็นมีต้นโพธิ์ใหญ่บริเวณริมคลอง ณ โค้งคลองบริเวณดังกล่าว อาจเป็นที่มาของชื่อท่าน้ำบริเวณนี้ที่มีต้นโพธิ์ใหญ่ยืนต้นอยู่
 ๑๐. ท่าวัง บริเวณที่ลำคลองท่าซักไหลตรงตัดผ่านสันดอนหาดทรายเมืองนครจากหน้าโรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ ลอดสะพานราเมศวร์ถึงสะพานหลังชุมชนป่าโล่ง-มุมวัดศรีทวี ทุกวันนี้มีการขยายตัวเรียกชื่อถนนเลียบคลองฝั่งทิศใต้ของคลองฟากตะวันตกว่าถนนท่าวัง และเรียกย่านตลาดจากเชิงสะพานราเมศวร์ไปตามทิศใต้ถึงสี่แยกหน้าสถานีรถไฟนครศรีธรรมราชว่าตลาดท่าวัง รวมทั้งสี่แยกท่าวังอีกด้วยถือเป็นย่านพาณิชยกรรม ธุรกิจการเงินการธนาคารตลอดจนร้านทองของชาวนครที่รุ่งเรืองที่สุดในรอบศตวรรษที่ผ่านมา ความหมายและความเป็นมาของคำว่าท่าวัง จากหลายเอกสารหนังสือเท่าที่พบมีบันทึกรายงานเผยแพร่ล้วนระบุว่า “ท่าวัง” หมายถึงท่าน้ำหรือท่าเรือของวังเมืองนคร จึงได้ชื่อว่า “ท่าวัง” ดังที่มีวัดวังและเส้นทางเข้าสู่ตัวเมืองนครและวังเจ้าเมือง ซึ่งทุกวันนี้เป็นศาลากลางจังหวัดนั่นเอง นอกจากนี้ครั้งหนึ่งสะพานราเมศวร์ เคยได้รับการตั้งชื่อว่า “สะพานท่าวังวรสินธู” อันหมายถึงสะพานท่าวังที่มีน้ำดีอีกด้วย แต่จากเอกสารหนังสือบุดขาวโบราณที่พระครูเหมเจติยาภิบาล สืบค้นจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ชื่อแผนที่เมืองนครศรีธรรมราช ได้วาดแสดงพร้อมระบุชื่อบริเวณนี้ว่า “วังจระเข้” ซึ่งนำมาสู่อีกข้อสันนิษฐานถึงที่มาของชื่อ “ท่าวัง” ว่าอาจจะหมายถึง “ท่าที่วังจระเข้” หรือ “ท่า ณ ตำแหน่งวังน้ำที่มีจระเข้” ก็เป็นได้
๑๑. ท่าตีน ฝั่งตรงข้ามคลองท่าซักด้านทิศเหนือของอาณาบริเวณท่าวัง โดยเฉพาะบริเวณเชิงสะพานราเมศวร์ ความหมายและความเป็นมาเนื่องเป็นท่าน้ำทางฝั่งทิศเหนือของตลาดและตัวเมือง และชาวเมืองนิยมนอนหันศรีษะไปทางทิศใต้อันเป็นทิศที่ประดิษฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช และเรียกฝั่งทิศใต้ว่า “หัวนอน” เรียกทิศเหนือว่า “ปลายตีน” ท่าเรือทางฝั่งเหนือบริเวณนี้จึงได้ชื่อว่า “ท่าตีน” 
๑๒. ท่ามอญ โค้งสุดท้ายของคลองท่าซักที่ถือเป็นส่วนของต้นน้ำต่อเนื่องจากคลองท้ายวัง ทุ่งปรังที่เลียบฝั่งตะวันตกของตัวเมืองผ่านนอกโคกที่หน้าสถานีรถไฟนครศรีธรรมราชแล้วหักเลี้ยวผ่านสันดอนหาดทรายที่ตั้งตัวเมือง ณ ตำแหน่งที่เป็นที่ตั้งวัดศรีทวีในปัจจุบัน ก่อนจะลอดสะพานที่ชุมชนป่าโล่งแล้วตรงสู่ทิศตะวันออกอันเป็นเขต “ท่าวัง-ท่าตีน” ต่อเนื่องถึง “ท่าโพธิ์” “ท่าขนอน” และ “ท่าซัก” ตามลำดับ กล่าวกันว่าบริเวณวัดศรีทวีปัจจุบันคือบริเวณที่เรียกว่า “ท่ามอญ-วัดท่ามอญ” ถนนท่าวังในปัจจุบัน คือ “ตรอกท่ามอญ” ในสมัยก่อน อนึ่ง วัดท่ามอญถูกเปลี่ยนเป็นชื่อ วัดศรีทวี เพื่อระลึกถึงอดีตเจ้าอาวาส ๒ รูปที่ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูศรี ฯ ทวิ–ศรี เป็นศรีทวี ความหมายและความเป็นมากล่าวกันว่าอาณาบริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของย่านเมืองนครเขตนี้ที่เป็น “นอกไร่” ทุ่งนากว้างนี้มีแหล่งดินเหนียวคุณภาพสูง และมีชุมชน “เตาหม้อ” ตั้งอยู่สืบเนื่องมาเนิ่นนาน พบอิฐก้อนจำนวนหนึ่งมีตีตราว่า “โพบาย” และ “โพมอญ” ซึ่งสันนิษฐานว่าคือชื่อของเตาเผาอิฐหรือวัดที่อาจมีต้นโพธิ์ด้วย เหล่านี้นำมาซึ่งข้อสันนิษฐานว่า “ท่ามอญ” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณนี้อาจเกี่ยวเนื่องกับชาวมอญตามชื่อ เนื่องจากชาวมอญมีความเชี่ยวชาญในการปั้นเผาหม้อและเครื่องปั้นดินเผาตลอดจนการมีต้นโพธิ์เป็นสัญลักษณ์หลักของชาวมอญที่นับถือพระพุทธศาสนา

          ๒. อำเภอขนอม
               ขนอม บางตำนานกล่าวว่าชื่ออําเภอนี้มาจากชื่อเมืองตระนอม ที่ปรากฏในตํานานเมืองนครศรีธรรมราช บ้างตำราก็ว่ามาจากชื่อบ้านเขาล้อมแล้วเปลี่ยนเสียงเป็น “ขนอม” อำเภอขนอมเคยเป็นตําบลหนึ่งของอําเภอสิชลมาก่อน ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นอําเภอ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒
​​​​​​          ๓. อำเภอจุฬาภรณ์
              จุฬาภรณ์ชื่ออําเภอนี้ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระนามสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยตั้งเป็นอําเภอเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ อําเภอจุฬาภรณ์ เคยเป็นตําบลหนึ่งของอําเภอร่อนพิบูลย์ เรียกว่าตําบลสามตําบล ซึ่งชาวบ้านหมายถึงสามวัง คือวังไส วังฆ้อง และ วังนาหมอบุญ ซึ่งเรืองเล่าว่า...วังทั้ง ๓ นี้เคยเป็นที่ประทับของขุนนางสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งเสียกรุงฯ แก่พม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ต่อมายกฐานะบ้านสามวังเป็นตําบลชื่อสามตําบล ซึ่งยู่ในเขตอําเภอชะอวด ต่อมารวมกับบางตําบลในเขตอําเภอร่อนพิบูลย์ แล้วจัดตั้งเป็นอําเภอจุฬาภรณ์
         ๔. อำเภอฉวาง
              คําว่า “ฉวาง” มาจากเมืองขวาง ปรากฏในทําเนียบขุนนางเมือง
นครศรีธรรมราชว่า “ขุนราชเมืองขวาง” การเรียกชื่อเมืองนี้มักเรียกคู่กับเมืองสระ จึงมีชื่อในเอกสารโบราณว่า “เมืองขวางเมืองสระ”ชุมชนตามฝั่งแม่น้ำตาปีข้ามฝั่งจากตะวันตกไปยังฝั่งตะวันออก โดยมีภูเขาขวางเป็นเครื่องหมายสําคัญ จึงเรียกชุมชนที่นี้ว่า “เมืองขวาง” ต่อมาเพี้ยนเสียงกลายเป็นฉวาง ต่อมาฉวางได้ยกฐานะเป็นอําเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓
         ๕. 
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
              อำเภอเฉลิมพระเกียรติ เกิดจากการรวมตําบลเชียรเขา ตําบลดอนตรง และตําบลสวนหลวง ซึ่งอยู่ในเขตของอําเภอเชียรใหญ่ ผนวกกับตําบลทางพูน ของอําเภอร่อนพิบูลย์ จัดตั้งเป็นอําเภอเฉลิมพระเกียรติขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ชื่ออําเภอนี้แสดงถึงพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งราษฎรชาวนครศรีธรรมราชล้วนยกย่องเทิดทูน
         ๖. อำเภอชะอวด
              ชะอวดนี้มาจากคําว่า “เชือกอวด” หรือ “ย่านอวด” (ย่านหมายถึงเถาวัลย์) ย่านอวดเป็นชื่อเถาวัลย์ชนิดหนึ่ง โดยบริเวณนี้มีพันธุ์เถาไม้ประเภทนี้มาก ชาวบ้านนิยมนํามาผูกมัดสิ่งของแทนเชือกหวาย เพราะมีความเหนียวแน่นและคงทน ต่อมาคําว่า “เชือกอวด” เสียงหน้ากร่อนเป็น “ชะอวด” ชะอวดจัดตั้งเป็นอําเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ อำเภอชะอวดเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัด นครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด นครศรีธรรมราช มีสภาพพื้นที่บริเวณด้านตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มและป่าพรุ ส่วนบริเวณด้านตะวันตกเป็นที่ราบเชิงเขาและเทือกเขา ส่วนใหญ่เป็นป่าสงวนแห่งชาติสภาพพื้นที่ของอำเภอชะอวดแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ประกอบด้วย
             ๑. บริเวณที่ราบใช้เป็นที่อยู่อาศัย ทำนา ทำสวนยางพารา และสวนผลไม้ ได้แก่ตำบลขอนหาด ตำบลท่าเสม็ด และตำเกาะขันธ์
             ๒. บริเวณที่ราบลุ่มเนินทรายและพรุ มีการปลูกมะม่วงทิมพานต์ มะพร้าว และทำนา ได้แก่ตำบลชะอวด บ้านตูล และตำบลเคร็ง
             ๓. บริเวณที่ราบภูเขา มีการทำนา ทำสวน ทำสวนยางพารา มีป่าไม้ แร่พลวงเงิน แร่พลวงทอง ได้แก่ตำบลวังอ่าง ตำบลเขาพระทอง และตำบลควนหนองหงษ์ 
             แหล่งท่องเที่ยว
           
 - ถํ้าวังนายพุฒ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัด นครศรีธรรมราช เป็นถํ้าที่มีความสวยงามวิจิตรตระการตาด้วยหินงอก หินย้อย ประดับประดา มีความกว้างประมาณ 10 เมตร ความยาว 200 เมตร และมี ทางลอดทะลุไปอีกด้านหนึ่งได้ และมีลักษณะพิเศษคือ มีถํ้าขนาดเล็กๆ ชอก หลีบถํ้าอีกเป็นจำนวนมาก เป็นที่อาศัยของค้างคาวจำนวนนับพันๆตัว สภาพป่า รอบบริเวณถํ้าก็ยังอุดมสมบูรณ์ปากทางเข้าถํ้าก็เป็นลานหินกว้างรูปร่างแปลกตา
          - ถํ้าคนธรรพ์ อยู่ไม่ไกลจากถํ้าวังนายพุฒนัก เป็นถํ้าขนาดใหญ่ความ ตึกประมาณ 12,000 เมตร เป็นที่อาศัยของค้างคาวจำนวนมากประกอบด้วย หินที่มืสีสันแปลกตา พื้นถํ้าบางช่วงเป็นดินเหนียว นอกจากนี้ยังพบร่องรอบของ ธารนํ้า ใบไม้และรอยเท้าประหลาดที่ชาวบ้านเชี่อกันว่าเป็นรอยเท้าคนธรรท้ ด้านในสุดของถํ้าเป็นนํ้าตกไหลลงสู่ธารนํ้าด้านล่างของถํ้าแทนที่จะไหลมาตาม พื้นถํ้าชึ่งเป็นสิงที่น่าแปลกอีกอย่างหนึ่งเช่นกัน
           - นํ้าตกหน้าโตน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงาม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลเขาพระทอง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช มี ๒ แห่ง คือนํ้าตกหน้าโตนเล็ก ยังคงเป็นธรรมชาติ มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ชุ่มชื้นตลอดปี และนํ้าตกหน้าโตนใหญ่ เป็นนํ้าตกที่ตกลงสู่แอ่งนํ้ากว้าง นํ้าใสสะอาดมาก นํ้าตกทั้ง ๒ แห่งนี้เป็นแหล่งธรรมชาติสวยงาม ที่ยังคงความบริสุทธิ์ปราศจากการรบกวนด้วยเทคโนโลยีที่เกิดจากมนุษย์ เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจได้เป็นอย่างดี
        - นํ้าตกหนานสวรรค์ เป็นธารนํ้าตกที่ไหล่ผ่านแนวชั้นหินปูนก่อให้เกิดแอ่งนํ้าน้อยใหญ่ลดหลั่นกันไป ไหลลงสู่อ่างเก็บนํ้าห้วยนํ้าใสท่ามกลางความร่มรื่นของแมกไม้ น้อยใหญ่กับแสงแดดที่ส่องถึงธารนํ้าในวันฟ้าใส ส่งผลให้ธารนี้าตกใสจนสามารถมองเห็นพื้นหินใต้นํ้าได้อย่างชัดเจน
        - อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส เป็นหนึ่งในโครงการจัดหานํ้าช่วยเหลือราษฎรบ้านควนมีชัย (อันเนื่องมาจากพระดำริ) ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๖ ตำบลอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัด นครศรีธรรมราช และหมู่ที่ ๓ ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ ๓๕,๕๐๐ ไร่ โครงการนี้ก่อสร้างชื้นมาเพื่อเป็นแหล่งนํ้าสำหรับอุปโภค-บริโภคของประชาชนในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มนํ้าปากพนังในเขตอำเภอชะอวด ซึ่งเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จได้กลายเป็นอ่างเก็บนํ้าขนาดใหญ่ ที่มีทิวทัศน์สวยงามจนเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของประชาชนในพื้นที่และใกล้เคียงอีกแหล่งหนึ่ง

         ๗. อำเภอช้างกลาง
               
ช้างกลางเดิมเป็นตําบลหนึ่งของอําเภอฉวาง ต่อมาทางราชการเห็นว่าตําบลนี้อยู่ห่างไกลจากอําเภอ จึงรวมเอาตําบลช้างกลาง ตําบลหลักช้าง และตําบลสวนขัน เข้าด้วยกันเพื่อจัดตั้งเป็นกิ่งอําเภอช้างกลางในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ต่อมาได้รับจัดตั้งเป็นอําเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ คําว่า “ช้างกลาง คือแหล่งที่เตรียมจัดช้างให้แก่กองทัพยามศึกสงคราม ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ กรม คือกรมช้างกลาง กรมช้างขวา และกรมช้างซ้าย ที่ตั้งของกรมช้างกลางของมณฑลนครศรีธรรมราชอยู่อำเภอช้างกลาง ส่วนที่ตั้งกรมช้างขวาอยู่ที่บ้านช้างขวา อําเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และกรมช้างซ้ายอยู่ที่บ้านช้างซ้าย อําเภอพระพรหม จังหวัด นครศรีธรรมราช
          ๘. 
อำเภอเชียรใหญ่
              
เชียรใหญ่ คำนี้มีที่มาจากคําว่า “ต้นเคียนใหญ่” หรือ “ตะเคียนใหญ่" ซึ่งอยู่ที่บ้านหม่อมราม ตําบลบ้านกลาง ภายหลังกลายเป็นชื่อ“บ้านตะเคียนใหญ่ นอกจากนี้ยังสันนิษฐานกันว่าบ้านหม่อมรามเป็นที่ตั้งของเมืองพิเชียร จึงเรียกรวมกับบ้านตะเคียนใหญ่กลายเป็น “บ้านพิเซียรตะเคียนใหญ่” ต่อมาเรียกสั้น ๆ ว่า “เชียรใหญ่” เชียรใหญ่ได้ยกฐานะเป็นกิ่งอําเภอในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ และยกฐานะ ขึ้นเป็นอําเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐
          ๙. 
อำเภอถ้ำพรรณรา
               
ถ้ำพรรณราเป็นชื่อถ้ำแห่งหนึ่ง สันนิษฐานว่าน่าจะกร่อนเสียงมาจากคําว่า “ถ้ำทองพรรณราย” ซึ่งแปลว่าถ้ำมีทองคําเป็นประกายแพรวพราวสวยงาม ถ้ำพรรณราเดิมมีฐานะเป็นตําบลหนึ่งในอําเภอฉวาง ต่อมาจัดตั้งเป็นกิ่งอําเภอในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ และยกฐานะเป็นอําเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘
        ๑๐. 
อำเภอท่าศาลา
               
อำเภอท่าศาลาเดิมชื่อ “อําเภอกลาย” เป็นอําเภอเก่าแก่มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๑ อดีตมที่ว่าการอําเภออยู่บริเวณชายทะเลคือบริเวณปากน้ำท่าสูงที่วัดเตาหม้อ และที่หมู่บ้านท่าศาลาตามลําดับ เหตุที่มีชื่อท่าศาลา เพราะมีริมคลองเล็ก ๆ สายหนึ่ง ซึ่งแยกจากคลองท่าสูงผ่าน ชาวบ้านจึงได้สร้างศาลาท่าน้ำขึ้นมาสําหรับพักร้อนและเป็นที่จอดเรือ ต่อมาจึงเรียกที่ตรงนั้นว่าท่าศาลาหรือเรียกภาษาถิ่นใต้ว่าท่าหลา
        ๑๒. 
อำเภอทุ่งสง
                
จากเอกสารโบราณของภาคใต้บางฉบับเขียนทุ่งสงเป็นทุ่งสรง แต่โดยทั่วไปจะเข้าใจว่าทุ่งสงมาจากทุ่งส่งของ (คําว่าส่งชาวใต้ออกเสียงเป็นสง) เพราะบริเวณนั้นมีคลองและท่าน้ำสําหรับให้เรือส่งสินค้าไปยังตัวเมืองนครศรีธรรมราชด้านตะวันออก รวมทั้งหัวเมืองฝั่งตะวันตก เช่น ตรัง กระบี่ ทุ่งสงถูกยกฐานะขึ้นเป็นอําเภอตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ 
        ๑๓. 
อำเภอทุ่งใหญ่
                ทุ่งใหญ่เดิมมีฐานะเป็นกิ่งอําเภอชื่อกิ่งอำเภอกุแหระขึ้นกับอําเภอทุ่งสง ต่อมาได้ย้ายที่ว่าการกิ่งอําเภอไปอยู่ที่ตําบลท่ายาง จึงเปลี่ยนเป็นกิ่งอําเภอท่ายาง ภายหลังทางราชการเห็นว่าชื่อนี้ไปพ้องกับอําเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จึงเปลี่ยนเป็นกิ่งอําเภอทุ่งใหญ่ ด้วยเหตุพื้นที่เป็นท้องทุ่งกว้างใหญ่ ต่อมายกฐานะเป็นอําเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔
       ๑๔. 
อำเภอนาบอน
               
คำว่านาบอนนี้ปรากฏในทําเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราชมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เรียกกันว่า “ที่นาบอน” ต่อมาที่นาบอนยกฐานะเป็นตําบลและขึ้นกับอําเภอทุ่งสง ต่อมาทางราชการได้รวมพื้นที่ตําบลนาบอนและตําบลทุ่งสงเข้าด้วยกัน แล้วยกฐานะเป็นกิ่งอําเภอและเป็น อําเภอนาบอนตามลําดับ คําว่านาบอน หมายถึงบริเวณที่นาที่เต็มไปด้วยต้นบอน ซึ่งชาวบ้านที่มาตั้งถิ่นฐานเห็นพรรณไม้นี้เป็นที่เด่นชัด จึงเรียกท้องที่นั้นว่านาบอน นาบอนได้ยกฐานะเป็นอําเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔
        ๑๕. 
อำเภอนบพิตำ
               นบพิตำเดิมเป็นชื่อหมู่บ้านและตําบลริมเทือกเขาหลวงหรือเทือกเขานครศรีธรรมราช ต่อมาได้รวมตําบลนบพิตํา ตําบลกรุงชิง ตําบลกะหรอ และ ตําบลนาเหรง ของเขตอําเภอท่าศาลา ขึ้นเป็นกิ่งอําเภอนบพิตํา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ จึงยกฐานะเป็นอําเภอนบพิตํา คําว่านบพิตํา หมายถึงทํานบกั้นน้ำอยู่ในที่ต่ำ แต่บางท่านอธิบายว่านบพิตํา มาจากภาษาทมิฬว่าทํานบติ โดยคําว่า “ทํานบ” หมายถึงที่กั้นน้ำ ส่วนคําว่า “ติรำ” หมายถึงฝั่งน้ำ
         ๑๖. 
อำเภอบางขัน
                 บางขันเดิมเป็นชื่อตําบลของอําเภอทุ่งสง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ มีการจัดตั้งกิ่งอําเภอบางขัน โดยการรวมเข้ากับตําบลบางขัน ตําบลลํานาว และตําบลวังหิน และยกฐานะขึ้นเป็นอําเภอบางขันในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ คําว่า “บางขัน” เป็นชื่อลําห้วยสายหนึ่งที่ไหลผ่านหมู่บ้านและมีต้นขันขึ้นชุกชุมในบริเวณนั้น
        ๑๗. 
อำเภอปากพนัง
                ปากพนัง คำนี้มาจาก “พนัง" ซึ่งเป็นชื่อแม่น้ำสายคือแม่น้ำพนัง มีชุมชนตั้งอยู่ที่ปากน้ำจึงเรียกว่าปากพนังหรือปากน้ำพนัง
เดิมอําเภอปากพนังมีชื่อว่า “เบี้ยซัด” เพราะตั้งอยู่บนฝั่งปากน้ำพนัง คําว่า "เบี้ยซัด" หมายถึงสถานที่ที่คลื่นซัดเอาเปลือกหอยหรือเบี้ยหอยจากท้องทะเลขึ้นสู่หาด เบี้ยหอยสมัยโบราณใช้เป็นเงินตราแลกเปลี่ยน ที่ฝั่งเบี้ยชัดนี้มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลเก็บเบี้ยหอยส่งเมืองหลวง โดยมีนายที่เบี้ยซัด ถือศักดินา ๘๐๐ เป็นหัวหน้าควบคุม ต่อใสอําเภอเบี้ยชัดได้รวมแขวงหรือหัวเมืองสี่แห่งเข้าด้วยกันคือเมืองพนัง เมืองพิเชียร ที่เบี้ยชัด และที่ตรง แล้วยกฐานะขึ้นเป็นอําเภอในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอําเภอปากพนัง เพื่อให้ตรงกับชื่อที่ตั้งตัวอําเภอ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ อำเภอปากพนังมีแหลมตะลุมพุกซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป คําว่า “ตะลุมพุก” เป็นชื่อปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่ง ซึ่งชอบวางไข่ในน้ำจืด ชาวประมงเรียกว่าปลาหลุมพุก และเนื่องจากบริเวณแหลมแห่งนี้มีปลาตะลุมพุกมากชาวบ้านจึงเรียกแหลมนี้ว่าแหลมชุมพุก
         ๑๘. 
อำเภอพรหมคีรี
                 อำเภอพรหมคีรี เกิดขึ้นจากการรวมเอาตำบล ๓ ตําบลทางทิศตะวันตกของอําเภอเมืองนครศรีธรรมราชเข้าด้วยกัน คือตําบลพรหมโลก ตําบลอินคีรี และตําบลเกาะ เป็นกิ่งอําเภอพรหมคีรี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ยกฐานะเป็นอําเภอพรหมคีรี  คำว่าพรหมคีรีมาจากคําแรกของชื่อตําบลพรหมโลก รวมกับคําสุดท้ายของชื่อตําบลอินคีรี เป็นพรหมคีรี ซึ่งหมายถึงภูเขาในแดนพรหม หรือภูเขาสูงจดแดนพรหม
         ๑๙. 
อำเภอพระพรหม
                พระพรหมเดิมเป็นตําบลหนึ่งทางทิศใต้ของอําเภอเมืองนครศรีธรรมราช  ต่อมาได้รวมตําบลนาพรุ ตําบลนาสาร ตําบลท้ายสําเภา และตําบลช้างซ้ายเข้าด้วยกัน แล้วยกฐานะเป็น กิ่งอําเภอพระพรหม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๔๐ จึงยกฐานะเป็นอําเภอ คำว่าพระพรหมนี้เป็นชื่อวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีอายุมากกว่า ๕๐๐ ปี โดยภายในวัดมีโบราณวัตถุที่เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ ที่สําคัญคือเทวรูปพระพรหม ซึ่งชาวบ้านมีความศรัทธาและรู้สึกภูมิใจจึงนํามาเป็นชื่อวัดและเป็นชื่ออําเภอ
          ๒๐. 
อำเภอพิปูน
                  พิปูนนี้เคยเป็นหัวเมืองที่สำคัญหัวเมืองหนึ่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เรียกกันว่าหัวเมืองพิปูน ต่อมาได้ถูกปรับเป็นตําบลในเขตการปกครองของอําเภอฉวาง จากนั้นมีการรวมตําบลพิปูนและตําบลกะทูนเข้าด้วยกัน แล้วยกฐานะขึ้นเป็นอําเภอพิปูนในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ คําว่า "พิปูน" มาจากทุ่งปูนหรือที่ปูน หมายถึงทุ่งที่ทําปูนขาว โดยการนําหินปูนมาเผาให้สุก เมื่อเย็นลงก็ได้ปูนขาวมาใช้ในการก่อสร้าง ส่วนชื่อกะทูนนั้นมีเรื่องเล่ากันมาว่า…สมัยก่อนชาวบ้านตําบลนี้นิยมทูนของไว้บนศีรษะ ต่อมาเติมค่าว่า “กะ” นําหน้า เป็น “กะทูน จากนั้นต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ พระยาสุขุมนัยวินิต ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ได้ออกคําสั่งไว้ในรายงานสํามะโนครัวราษฎรนครศรีธรรมราชว่า ห้ามชาวกะทูนทูนของเข้าไปในบริเวณชุมชน เพราะบางคนทําสิ่งของที่ทนอยู่บนศีรษะตกหล่นทําให้พื้นถนนสกปรก ชาวกะทูนจึงเลิกและไม่นิยมทูนของไว้บนศีรษะตั้งแต่บัดนั้น

         ๒๑. อำเภอร่อนพิบูลย์
                
ร่อนพิบูลย์เดิมมีฐานะเป็นหมู่บ้านชื่อว่า “บ้านร่อน” หมายถึงชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพร่อนแร่ สินแร่สําคัญคือดีบุก วุลแฟรม และพลวง เป็นต้น ต่อมาได้ยกเป็นตําบลชื่อตำบลที่ร่อน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ยกฐานะเป็นอําเภอ คำว่าร่อนพิบูลย์ หมายถึงท้องถิ่นที่มีการร่อนแร่ได้ผลอุดมสมบูรณ์
         ๒๒. 
อำเภอลานสกา
                 
อำเภอลานสกา เกิดจากการรวมตําบลลานสกา ตําบลขุนทะเล ตําบลท่าดี และตําบลเขาแก้วเข้าด้วยกัน แล้วจัดตั้งเป็นกิ่งอําเภอเขาแก้ว ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้ยุบตําบลเขาแก้วรวมกับตําบลลานสกาเข้าด้วยกัน และได้เปลี่ยนชื่อเป็นกิ่งอําเภอลานสกา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ยกฐานะเป็นอําเภอลานสกา คําว่าลานสกาหมายถึง ลานที่มีฝูงกามารวมพวกกันเป็นประจํา มีเรื่องเล่ากันว่าในสมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช สร้างเมืองที่หาดทรายแก้วในช่วงนั้นเกิดโรคห่า ทําให้มีผู้คนอพยพมาตั้งเมืองชั่วคราวในเขตลานสกา และตรงบริเวณใกล้เคียงกันนั้นมีฝูงกาบินมากินศพที่เกิดจากโรคห่าที่ตรงนั้นจึงเรียกว่าลานกา ต่อมาเพี้ยนเสียงกลายเป็นลานสกาในที่สุด
          ๒๓. อำเภอสิชล
                 ในตํานานนครศรีธรรมราชได้กล่าวถึงพระพนมวัง มาเป็นเจ้าเมือง นครศรีธรรมราช พร้อมกับรับสั่งให้หลานชายชื่อเชียงแสน ออกถางป่าให้เป็นทุ่งนาและเรียกตรงนั้นว่า “นาตระชล” และ “นากลาง” เพื่อเป็นที่สะสมเสบียงแก่กองทัพนครศรีธรรมราช ต่อมาทุ่งนาดังกล่าวกลายเป็นชุมชนจึงเรียกรวมกันว่า “ที่สิชล” จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้เปลี่ยนเป็นอําเภอสิชล บางตำรากล่าวว่า “สิชล” น่าจะมาจากคําว่า “ศรีชล” หมายถึงน้ำใสสะอาด เพราะเป็นน้ำที่มาจากพื้นทราย
         ๒๔. อำเภอหัวไทร
                 หัวไทรเดิมมีฐานะเป็นตําบลชื่อที่เขาพังไกร ต่อมายกฐานะเป็นอําเภอเขาพังไกร ภายหลังย้ายที่ว่าการอําเภอมาอยู่ที่ตําบลหัวไทรและเปลี่ยนชื่อเป็นอําเภอหัวไทรในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ต่อมาถูกลดฐานะลงเป็นกิ่งอําเภอ โดยไปขึ้นกับอําเภอปากพนัง จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้ยกฐานะเป็นอําเภออีกครั้ง คําว่า “หัวไทร” หมายถึงบริเวณต้นน้ำหรือเหนือท่าน้ำซึ่งมีต้นไทรใหญ่เป็นที่หมายสําคัญ อำเภอหัวไทรตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่อำเภอหัวไทร โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มแม่นํ้าและที่ราบลุ่มริมส่งทะเล มีแม่นํ้าสายหลักเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของอำเภอหัวไทร คือคลองหัวไทร ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของแม่นํ้าปากพนัง ต้นนํ้าเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ในเขตตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด โดยมีมรดกคลองสาขา คือคลองลาไม เกิดจากห้วยต่าง  ๆ ที่ไหลมารวมกันเป็นคลองลาไม ไหลผ่านตำบลวังอ่าง ตำบลเขาพระทอง ตำบลท่าประจะ ลงสู่คลองชะอวด อีกสาขาหนึ่งเกิดจากห้วยบริเวณควนหนองหงส์ เกิดเป็นคลองบางกลม ไหลผ่านตำบลบ้านตูล อำเภอชะอวดลงสู่คลองชะอวด ไหลผ่านอำเภอชะอวด เรียกว่าคลองชะอวดหรือคลองท่าเสม็ด ไหลผ่านอำเภอเชียรใหญ่เรียกว่าคลองเชียร ถึงบ้านปากแพรกแล้วแยกเป็นสองสาย สายหนึ่งไหลผ่านไปทางเหนือไปออกทะเลที่อ่าวปากพนัง อำเภอปากพนัง เรียกแม่น้ำปากพนัง อีกสายหนึ่งไหลค่อนข้างขนาบลงทะเลไปทางใต้ผ่านอำเภอหัวไทรเรียกว่าคลองหัวไทร แล้วไปลงทะเลสาบสงขลาที่ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลาระยะทางประมาณ ๖๓ กิโลเมตร
                 แหล่งท่องเที่ยว
               
 - หาดแพรกเมือง ชายหาดริมส่งอ่าวไทยตรงปากคลองชะอวด-แพรกเมือง บ้านแพรกเมือง ตำบลหน้าสตน อำเภอหัวไทร หาดทรายสีขาวตัดกับท้องฟิาสีสดใสในวันที่อากาศปลอดโปร่ง ในยามอัสดงภาพเรือประมงที่ลอยลำอยู่ ในทะเล และเหล่าบรรดาพรานเป็ดที่ตกปลาบริเวณสันเขื่อนเป็นภาพที่ชินมาก สำหรับชายหาดที่เงียบสงบแห่งนี้ นอกจากนี้แล้วนักท่องเที่ยวยังสามารถหาชื้ออาหารทะเลสด ๆ จากชาวประมงพื้นบ้านในหมู่บ้านชาวประมงริมชายหาดได้อีกด้วย
                - ป่าพรุยวนนก/ปาพรุควนทะเลมอง เป็นป่าพรุในพื้นที่หมู่ที่ ๕ บ้านควนทะเลมอง ตำบลชะลิก อำเภอหัวไทร เป็นพื้นที่ราบลุ่มพืชส่วนใหญ่ที่ขึ้นเป็นพวกต้นเสม็ด ต้นแสม กระจูด ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในสภาพเป็นป่าพรุ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกหลากชนิด อาทิ นกกระยาง นกกระสา นกแฝก นกกานํ้า นกพริก นกอีโกง นกเป็ดนํ้า และนกอพยพ อาทิ นกกระยางปากขอ นกกาบบัว เป็นต้น


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
นครศรีธรรมราช (Nakhon Si Thammarat)
ที่อยู่
จังหวัด
นครศรีธรรมราช


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช 18-24 มิถุนายน 2529. (2529). นครศรีธรรมราช : ม.ป.พ.
ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2551). ชื่อบ้านนามเมืองภาคใต้ จังหวัด อำเภอ และสถานที่ บุคคลบางชื่อ. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024