ประเพณีการแต่งงานของชาวมุสลิม
 
Back    03/07/2023, 10:17    16,533  

หมวดหมู่

วัฒนธรรม


ประวัติความเป็นมา


ภาพจาก : https://traditionofthailand.blogspot.com/2012/11/blog-post_15.html

              ประเพณีการแต่งงาน ตามบัญญัติทางศาสนาอิสลามมุสลิมจะต้องแต่งงานกับมุสลิมด้วยกัน ถ้ามีความจำเป็นจะต้องแต่งงานกันคนต่างศาสนา ต้องมีข้อตกลงให้มายอมรับศาสนาอิสลามเสียก่อน ข้อห้ามอีกอย่างหนึ่งคือห้ามไม่ให้มุสลิมแต่งงานกับเครือญาติใกลชิด ๗ ตำแหน่ง ได้แก่บิดาหรือมารดา บุตรหรือธิดา พี่หรือน้องผู้ร่วมมารดา บุตรหรือธิดาของพี่หรือน้องชาย บุตรหรือบิดาพี่หรือน้องหญิง ผู้มีความสัมพันธ์ทางดื่มนํ้านมร่วมกันมี ๒ ตำแหน่ง คือแม่นมและพี่ หรือน้องที่ร่วมดื่มน้ำนมจากแม่นมคนเดียวกัน สำหรับขั้นตอนของประเพณีการแต่งงานของชาวมุสลิมมีดังนื้ คือ

 ๑. การสู่ขอ ผู้ไปสู่ขอคือมารดาหรือญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายชาย จะไปในลักษณะทาบทามและสู่ขอ โดยจะมีของฝากไปด้วย อาทิ ขนมหรือผลไม้ไปมอบให้ฝ่ายหญิง ซึ่งฝ่ายหญิงจะไม่ตอบตกลงในทันที แต่จะขอให้รอคำตอบประมาณ ๗ วัน ถ้าตกลงฝ่ายหญิงจะส่งผู้ใหญ่ไปบอกฝ่ายชายเอง ถ้าไม่ตกลงจะนิ่งเฉยเสียให้เป็นที่รู้เอาเอง เมื่อฝ่ายหญิงตกลงแล้วผู้ใหญ่ฝ่ายชายจะส่งผู้ใหญ่ ไปบ้านฝ่ายหญิงอีกครั้งหนึ่ง เพื่อกำหนดนัดหมายวันแต่งงาน สินสอด ของหมั้น (มะฮัร) โดยทั้งสองฝ่ายจะเอาวันเดือนปีเกิดไปให์โต๊ะครูหรือโต๊ะอิหม่ามดูฤกษ์หาวันแต่งงาน
๒. การหมั้น เมื่อถึงวันหมั้น ฝ่ายชายจะจัดขบวนขันหมากไปบ้านฝ่ายหญิงผู้เป็นเจ้าบ่าวไม่ได้ไปด้วย ขันหมากประกอบด้วยพานหมากพลู พานข้าวเหนียวเหลือง และพานขนมอาจจะมีพานใส่ขนมอื่น ๆ อีกก็ได้ พานหมากพลูจะใส่เงินสินสอดเอาไว้เงินนื้เรียกว่า “เงินรองพลู” ทุกพานจะคลุมด้วยผ้าหลากสีสวยงาม เมื่อขบวนขันหมากไปถึงบ้านฝ่ายหญิง ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะให้การต้อนรับ ผู้ใหญ่ฝ่ายชายจะบอกว่าได้นำของมาหมั้นฝ่ายหญิงเป็น เงินขันหมากจำนวนเท่าใด ฝ่ายหญิงจะตอบตามจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้ การถาม-ตอบเป็นการยืนยันจำนวนเงินตามที่ตกลงไว้อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นก็จะปรึกษากันถึงวันแต่งงานและการกินเลี้ยง ก่อนที่ผู้ใหญ่ฝ่ายชายจะเดินทางกลับ ฝ่ายหญิงจะนำผ้าโสร่งหรือผ้าดอก และขนมใส่พานหมากและพานขนมเป็นของตอบแทน
๓. พิธีแต่งงาน (นิกะหั) หรือพิธิสมรส เมื่อถึงวันแต่งงานฝ่ายชายจะจัดขบวนขันหมากไปบ้านฝ่ายหญิง ในขบวนจะประกอบด้วยเจ้าบ่าว เพื่อนเจ้าบ่าว และญาติผู้ใหญ่ประมาณ ๕-๖ คน เงินหัวขันหมาก (จะต้องเป็นจำนวนเลขคี่) ใส่ในพานหรือขันทองเหลืองใบเล็ก ๆ ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าให้เจ้าบ่าวถือไป พร้อมด้วยกล้วยพันธุดี เช่น กล้วยหอมหรือกลัวยนํ้าว้า ๒-๓ หวี ซึ่งจะต้องเดินทางไปถึงบ้านเจ้าสาวให้ทันฤกษ์กำหนดนิกะห้ การนิกะห์ คือการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง เพื่อเป็นสามีภรรยากัน โดยพิธีสมรสตามหลักของศาสนาอิสลามกล่าวโดยสรุปมีได้ดังนี้คือ
๑. เจ้าบ่าวและเจ้าสาวโดยผ่านการเจรจาตกลงที่จะนิกะห์ และกำหนดมะมะฮัรกันแล้ว
๒. วะสีหรือผู้ปกครอง หมายถึงผู้ชายฝ่ายเจ้าสาวและเจ้าบ่าวที่มีสิทธิให้ความยินยอมในการทำนิกะหั ตามที่ศาสนาอิสลามบัญญัติไว้ เช่น บิดา ปู่  พี่ชาย ฯลฯ ส่วนผู้หญิง ไม่มีสิทธิ
๓. พยานในการนิกะห์ มีอย่างน้อย ๒ คน
๔. ผู้กล่าวกุฎษะห์ คือผู้ที่มีความรู้ทางศาสนากล่าวอบรมหรือให้ข้อคิดแก่เจ้าบ่าวและเจ้าสาว
๕. สินสอด ซึ่งเป็นเงินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิง
๖. การกล่าวเสนอและต้อนรับนิกะห์ คือผู้ทำพิธีนิกะห์จะกล่าวกับเจ้าบ่าวโดยเรียกชื่อ เจ้าบ่าวว่า “ฉัน ฃอนืกะส์ห่านกับนางสาว................. บุตรีของนาย.........................นาง..............................ด้วยสินสอด ..............................(และอาจจะกล่าวเป็นจำนวนเงินหรือทองตามที่ตกลงกัน) สำหรับเจ้าบ่าวผู้รับนิกะห์จะตอบว่า “ข้าพเจ้าขอรับนิกะห้กับนางสาว............................. ด้วยสินสอดดังกล่าว”
     หลังจากเสร็จสิ้นพิธีแต่งงานแล้วจะมีงานเลี้ยงกินข้าวเหนียว (มาแกปูโละ) การจัดเลี้ยงจะเริ่มตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึงเที่ยงคืน ช่วงกลางคืนเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะนั่งบน แท่นบัลลังก์ เรียกว่า “ปงายาวัน” เพื่อนเจ้าบ่าวจะยืนทางขวาคอยโบกพัดช้าๆ จะมีหญิงอาวุโส ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือออกมาป้อน “ซือมางัด” คือ ข้าวเหนียวสีเหลือง แดง ขาว แก่คู่บ่าวสาว จากนั้นญาติมิตรฝ่ายชายจะมาทำพิธี “มางานา” คือมารู้จักกัน และมอบของขวัญให้แก่ คู่บ่าวสาว ขณะเดียวกันคู่บ่าวสาวจะแจกชองที่ระลึกแก่แขกเหรื่อ และลงจากบัลลังก์มาร่วม รับประทานอาหาร เสร็จพิธีแล้วเจ้าบ่าวจะนอนค้างคืนที่บ้านเจ้าสาว ๓ คืน แล้วจะมีพิธีส่งตัวเจ้าสาวไปที่บ้านเจ้าบ่าว ฝ่ายเจ้าบ่าวจะจัดอาหารเลี้ยงต้อนรับผู้ไปร่วมพิธีด้วย
๔. การหย่าร้างและการคืนดี การหย่าของสามีภรรยาย่อมจะเกิดขึ้นได้ แต่ผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายจะต้องพยายามระงับมิให้เกิดการหย่า หากจำเป็นต้องหย่าร้าง ก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติกล่าวคือการหย่าจะหย่าได้เมื่อผู้หญิงนั้นไม่ได้กำลังมีระดู และทั้งคู่ไม่ได้อยู่ในอารมณ์โกรธ และจะต้องมีพยาน ๒ คน การหย่าจะสมบูรณ์ คือให้ผู้หญิงแต่งงานใหม่ก็เมื่อครบ “อิดตะฮฺ” คือหลังจากมีประจำเดือน ๓ เดือน และให้คืนดีกันได้ ๒ ครั้ง ถ้าคืนดีก่อนครบ *อิดตะฮฺ ไม่ต้องแต่งงานใหม่ แต่ต้องมีพยานและเรียกได้ว่าเคยหย่ากัน ๑ ครั้งแล้ว ถ้าครบอีตตะฮฺแต่ต้องการคืนดี ต้องแต่งงานใหม่ให้ของหมั้นใหม่ ในการหย่าแต่ละครั้งถึงจะพูดว่า “ฉันหย่าเธอ ๓ ครั้ง” ก็ยังถือว่าเป็นการหย่าครั้งนั้นครั้งเดียว ถ้าหย่าครบ ๓ ครั้งแล้วจะแต่งงานกับสามีเดิมไม่ได้ จะต้องมีสามีใหม่แล้วเกิดหย่าสามีใหม่จะต้องรอจนครบอิดตะฮฺแล้ว จึงหวนมาแต่งงานกับสามีเดิมได้อีกถ้าต้องการ  


               
               
               
               
               
           
    


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ประเพณีการแต่งงานของชาวมุสลิม
ที่อยู่
จังหวัด
ภาคใต้


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

ปรุงศรี วัลลิโภดม...[และคณะ], บรรณาธิการ. (2545). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสงขลา.
             กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024