อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
 
Back    29/04/2025, 14:49    43  

หมวดหมู่

จังหวัด


ประวัติความเป็นมา


ภาพจาก : https://link.psu.th/CyQtv8

           อำเภอยะหริ่ง เป็นหนึ่งใน ๑๒ อำเภอของจังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดปัตตานึ ทิศเหนือมีอาญาเขตติดกับทะเลหลวงและอ่าวไทย ทิศใต้ ติดกับอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ทิศตะวันออกติดกับอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ทิศตะวันตกติดกับอำเภอเมืองปัดตานี และอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีเนื้อที่ประมาณ ๒๑๓ ตารางกิโลเมตร มีประชากร ณ  เดือนมกราคม ๒๕๖๘ ทั้งหมด ๙๓,๓๒๓ คน อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดปัตตานีไปประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ ๒๐ นาที
         "ยะหริ่ง" เดิมมาจากคำว่า ยือริง เป็นชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยายามูตอนบน อยู่ในเขตการปกครองของปาตานี ดารุสสลาม เล่ากันว่าสมัยก่อนในหมู่บ้านแห่งนี้มีมีต้นยือริง (ต้นเนียง) ขนาดใหญ่เป็นที่เล่าขานกันว่าความใหญ่ของลำต้นเท่ากับสามารถนั่งรับประทานข้าวได้ถึง ๗ โต๊ะ เปลือกลูกยือริง (เปลือกลูกเนียง) สามารถทำเป็นจานข้าวได้ ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่ายือริง ครั้งเมื่อปัตตานีอยู่ภายใต้เมืองขึ้นของสยามในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต้องการลดอำนาจและเขตเมืองให้เล็กลงเพื่อง่ายต่อการปกครอง จึงตั้งตั้งเมืองขึ้นต่างหาก โดยเมืองปัตตานีได้รับโปรดเกล้าฯ ให้แยกออกเป็น ๗ หัวเมือง ด้วยสภาพของภูมิศาสตร์ของเมืองยือริงที่ติดคลองตันหยงน้ำไหลผ่านสู่ทะเลด้านชายฝั่งของปัตตานี ทำให้สามารถสัญจรไปมาได้สะดวก เหมาะแก่การติดต่อกับเมืองอื่น ๆ และเป็นเส้นทางค้าขายกับต่างชาติ ยือริงจึงได้เป็นหัวเมืองหนึ่งใน ๗ หัวเมืองของปัตตานี (เมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองยะลา เมืองรามันห์ เมืองยือริง เมืองสายบุรี และเมืองระแงะ) ซึ่งเมืองยือริงหรือต่อมาเรียกว่ายะหริ่ง เจ้าเมืองมีราชทินนามว่าพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม เจ้าเมืองคนแรกคือพระยายะหรึ่ง (พ่าย) ต่อมาพระยาเมืองยะหริ่ง (พ่าย) ได้ย้ายที่ว่าราชการจากบ้านยือริงมาอยู่ที่บ้านยามู สมัยนั้นพื้นที่บ้านยามูเป็นป่ารกเต็มไปด้วยต้นชมพู่ขึ้นอยู่มากมาย ซึ่งภาษามลายูเรียกว่า "ยามู" ลักษณะเด่นของพื้นที่นี้คือมีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากร และมีแม่น้ำล้อมรอบตัวเมืองเหมาะแก่การสัญจร เมื่อพระยายะหริ่ง ( พ่าย) ถึงแก่กรรมลงแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้หลวงสัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าเมืองยะลามารักษาราชการแทน ครั้นหลวงสัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ถึงแก่กรรม โปรดเกล้าฯ ให้นายนิยูโซ๊ะหรือโต๊ะกี เป็นพระยายะหริ่งแทน ตั้งบ้านเรือนอยู่ตำบลยามู ที่ทำการเมืองตั้งอยู่ที่ว่าการอำนภอยามูในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙  ทางการได้ยุบหัวเมือง ๗ หัวเมือง เหลือเพียง ๔ หัวเมือง ได้แก่ ปัตตานี รวมเมืองปัตตานี หนองจิกและยะหริ่ง ยะลา รวมเมืองยะลา รามันห์ นราธิวาส รวมเมืองระแงะ และบางนรา สายบุรี ให้คงอยู่ตามเดิม (ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ให้ยุบสายบุรี เป็นอำเภอตะลุบัน  ขึ้นอยู่กับจังหวัดปัตตานี) ต้น ร.ศ. ๑๒๕ (พ.ศ. ๒๔๔๙) เป็นสมัยมณฑลเทศาภิบาล ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยุบเมืองยะหริ่งแล้วตั้งเป็นอำเภอเรียกว่า "อำเภอยามู" โดยถือเอาชื่อหมู่บ้าน/ลำคลองท้องที่ที่ตั้งอำเภอเป็นหลักขนานนามเป็นชื่ออำเภอ ให้ขึ้นกับเมืองปัตตานี จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ทางราชการได้เปลี่ยนชื่ออำเภอใหม่เป็น "อำเภอยะหริ่ง" อยู่ในการปกครองของจังหวัดปัตตานี จนถึงปัจจุบัน
           พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองยะหริ่ง จากเอกสารทางวิชาการและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทำให้ทราบว่ายะหริ่งในอดีต เป็นหนึ่งใน ๗ หัวเมือง ในช่วงปัตตานีอยู่ภายใต้การปกครองของสยามในฐานะเมืองประเทศราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้นายนิยูโซ๊ะ เป็นพระยายะหริ่ง ตั้งบ้านเรือนอยู่ตำบลยามู มีหน้าที่ดูแลเมืองยะหริ่งจนชาวบ้านบางคนเชื่อว่าเมื่อประมาณกว่า ๒๐๐ ปีที่แล้ว คนกลุ่มแรกที่มาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านนี้คือโต๊ะกูโช๊ะ เปาะกูเฮง หรือต้นตระกูลพระยาพิพิธภักดี ก่อนที่จะตั้งเป็นหมู่บ้านยามู สำหรับต้นตระกูลของการสืบเชื้อสายภายในวังยะหริ่ง เริ่มจากนิยูโซ๊ะ (โต๊ะกียูโซ๊ะ) ซึ่งเป็นพระยายะหริ่งคนที่แรกมีประวัติเล่าต่อกันมาว่าเมื่อเกิดกบฏที่เมืองปัตตานีนั้น นิยูโซ๊ะมีอายุเพียง ๖ ขวบ ได้เข้าไปวิ่งเล่นชุกชนตามประสาเด็กในค่ายของทหารไทยที่มาตั้งเพื่อปราบกบฎ จึงรู้สึกติดอกติดใจ เมื่อสามารถปราบกบฎได้เรียบร้อย กองทัพหลวงของไทยได้เดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ นิยูโซ๊ะจึงแอบติดตามไป กว่าบรรดาทหารจะรู้ ระยะทางนั้นก็ไกลจากเมืองปัตตานีมากแล้ว เมื่อถึงกรุงเทพฯ มีทหารไทยคนหนึ่งพาไปเลี้ยงดู และให้นับถือศาสนาพุทธ จนได้บวชเป็นสามเณร และบวชเป็นพระภิกษุอยู่หลายพรรษา สอบนักธรรมได้เป็นพระใบฎีกา เมื่อสึกจากพระ จึงเข้ารับราชการในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสืบทราบว่านิยูโต๊ะ มีเชื้อสายของพระยาเมืองปัตตานี ขณะนั้นหัวเมืองปักษ์ได้กำลังวุ่นวาย ทางส่วนกลางจึงแต่งตั้งให้รับสัญญาบัตรเป็น "พระยะหริ่ง" เมื่อมาปกครองเมือง ได้พยายามจัดระเบียบในการปกครองให้เป็นแบบไทย เช่น คดีถ้อยความที่ต้องตัดสินหรือปรับไหม โดยให้สอดคล้องตามคัมภีร์อัลกุรอ่านให้ใช้ตามพระราชกำหนดกฎหมายไทย เป็นเหตุให้ทางปัตตานีและรามันห์เอาแบบอย่างและถือปฏิบัติกันสืบมา นิยูโซ๊ะได้คำนึงถึงว่าโดยส่วนตัวนั้นมีบรรพบุรุษนับถือศาสนาอิสลาม แต่เนื่องจากเหตุการณ์บังคับทำให้ต้องนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อมาถึงตอนนี้ตนได้มาปกครองเมืองยะหรั่งประชาชนในปกครองส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ถ้าท่านยังนับถือศาสนาพุทธจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการปกครองดังที่ปรากฏมาแล้วในประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ประชาชนจึงให้การยอมรับก่อให้เกิดความสงบสุขขึ้นในบ้านเมืองนิยูโซ๊ะ มีบุตรธิดารวม ๗ คน ปัจจุบันกูโบร์อยู่ที่ตำบลตันหยงลูโละ บริเวณฝั่งตรงข้ามกับมัสยิดกรือเซะ พระยายะหริ่งคนต่อมาคือนิเมาะ เป็นบุตรคนที่ ๒ ของนิยูโซ๊ะ ได้รับพระราชทินนามเป็นพระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี และเป็นต้นตระกูลอับดุลบุตร มีบุตรธิดารวม ๑๔ คน เมื่อพระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี ถึงแก่อสัญกรรม บุตรคนที่ ๒ ชื่อนิโวะ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระยายะหริ่งคนต่อมา มีราชทินนามว่า "พระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม" ซึ่งเป็นผู้สร้างวังยะหริ่งหลังปัจจุบัน ตำแหน่งพระยาเมืองยะหรั่ง เมื่อถึงสมัยการปฏิรูปแบบบณฑลเทศาภิบาล ทำให้การปกครองแบบหัวเมืองต้องสิ้นสุดลง ตำแหน่งพระยาเมืองยะหริ่ง ที่สืบตระกูลมาต้องสิ้นสุดลงเช่นกัน พระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม มีบุตรธิดารวม ๖ คน พระพิพิธภักดี (ตวนกูมุกดา อับดุลบุตร) ตวนกูไซนับ (หญิง) ตวนกูบือเซาะ (หญิง) ตวนกูบราเฮม (นายบันเทิง อับดุลบุตร) ตวนกูมะหะหมัด (นายพยงค์ อับคุลบุตร) ตวนกูเยาะ (หญิง) แม้ว่าหลังจากที่มีการปฏิรูปการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล ทางส่วนกลางได้ส่งข้าหลวงเทศาภิบาลมาบริหารราชการแทนพระยาเมือง แต่ในวังยะหริ่งยังคงมีการสืบทอดอำนาจทางการเมืองดังในสมัยพระพิพิธภักดี บุตรคนโตของพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ต่อมาได้ลาออกจากราชการแล้วเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี ผลปรากฏว่าพระพิพิธภักดีได้รับเลือกถึง ๔ สมัย ต่อมาได้ล้มป่วยเป็นอัมพาต จึงให้ตวนกูบราเฮมเข้ารับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตน พระพิพิธภักดี มีบุตรธิดาทั้งหมด ๖ คน ตวนกูอิสมาแอล ตวนกูอับดุลนิยูโซ๊ฮามิด (นายมานพ พิพิธภักดี) ตวนกูนูรดิน (นายวัยโรจน์ พิพิธภักดี) ตวนกูราซีดะห์ (นางวัลภา สมุทรโคจร) ตวนกูซาบีดะห์ (คุณหญิงรุจิรา เด่นอุดม) ตวนกูอาซีซะห์ (นางวัฒนาวีไล อับดุลบุตร) พระพิพิธภักดีถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ส่วนตวนกูบราเฮม หรือนายบันเทิง อับดุลบุตร บุตรคนที่ ๔ ของพระพิพิธเสนามาตมาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม ได้เป็นผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี ต่อจากพระพิพิธภักดีหลายสมัย มีบุตรธิดาทั้งหมด ๗ คน มาถึงรุ่นปัจจุบัน ในเชื้อสายพระยาเมืองยะหริ่ง ยังคงมีการสืบทอดอำนาจทางการเมืองคือนายวัยโรจน์ พิพิธภักดี บุตรคนที่ ๓ ของพระพิพิธภักดี และนายทวีศักดิ์ อับดุลบุตร ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย)
เชื้อสายของพระยาเมืองยะหริ่ง ยังคงมีการสืบทอดอำนาจทางการเมืองมาโดยตลอด แสดงให้เห็นว่าวังยะหริ่งที่เคยเป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองของเมืองยะหรึ่งในสมัยก่อนก็คงเป็นอยู่ในปัจจุบัน
         
ยะหริ่งแต่เดิมเป็นพื้นที่ป่ารกมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาแน่น พื้นที่ชายฝั่งเป็นดินเหนียวปนทราย เนื่องด้วยสภาพภูมิศาสตร์ของยะหรึ่งมีความเหมาะสมเพราะทำเลที่ตั้งติดทะเล และมีอ่าวที่สามารถบังคลื่นลมได้ตลอดถึงเป็นที่พักจอดเรือเพื่อค้าขายหรือซ่อมแซม มีเส้นทางบกและทางแม่น้ำที่สามารถสัญจรได้สะดวก ประกอบกับยะหรึ่งมีความสมบูรณ์ทรัพยากรทางทะเล มีพืชพันธุ์ธัญญาหารจึงมีกลุ่มชนหลากหลายชาติพันธุ์ เข้ามาตั้งถิ่นฐานกันอย่างหนาแน่น ที่สังเกตได้ชัดมี ๒ กลุ่ม คือกลุ่มชาวไทยมุมุสลิมซึ่งมีอยู่จำนวนมาก และกลุ่มชาวไทยพุทธ ปัจจุบันกลุ่มชุมชนทั้ง ๒ กลุ่ม นี้อาศัยอยู่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป อำเภอยะหริ่งแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น ๑๘ ตำบล ๘๑ หมู่บ้าน ประกอบด้วย

๑. ตำบลยามู เป็นที่ตั้งของวังยะหรึ่ง และที่ว่าการอำเภอ คำว่า "ยามู" มาจากภาษามลายูท้องถิ่นคือชมพู่ ก่อนจะตั้งถิ่นฐานในบริเวณแห่งนี้อุดมไปด้วยต้นชมพู่ ชาวบ้านเลยตั้งเป็นชื่อชุมชน ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของเข้าเมืองเป็นที่ตั้งของวังยะหริ่ง ปัจจุบันประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนนี้ส่วนใหญ่เป็นญาติ หรือคนที่อยู่รับใช้ในวัง
๒. ตำบลตะโละกาโปร์ ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่อพยพมาจากชุมชนยามู เข้ามาขยายถิ่นฐานเพื่อสะควกในการประกอบอาชีพ เพราะตำบลตะโละกาโปร์มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางทะเล มีหมู่บ้าน ๕ หมู่บ้าน ประชากรเกือบทั้งตำบลประกอบอาชีพประมง
๓. ตำบลแหลมโพธิ์ เดิมมีชื่อว่าหมู่บ้านบูดี ซึ่งแปลเป็นภาษามลายูท้องถิ่นว่าต้นโพธิ์ทะเล ซึ่งมีความหนาแน่นในทะเลด้านในของหมู่บ้าน แต่ก่อนหมู่บ้านบูดีขึ้นอยู่กับตำบลตะโละกาโปร์ ต่อมาเมื่อมีประชากรมากขึ้นจึงได้มีการตั้งตำบลขึ้นมาใหม่มีชื่อว่าตำบลแหลมโพธิ์ ซึ่งมีสภาพภูมิประเทศเป็นแหลมขนานกับทะเลอ่าวไทย ทำให้มีพื้นที่น้ำ ๒ ด้าน ต่อมาได้ยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล อาชีพหลักของประชากรส่วนใหญ่ทำการประมง และค้าขาย
๔. ตำบลตาแกะ เป็นตำบลที่มีทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม อาศัยอยู่ร่วมกันตั้งแต่สมัยปัดตานีเป็นประเทศราชของสยาม ประกอบด้วย ๔ หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรมไร่นาสวนผสมและเลี้ยงสัตว์ ทำน้ำตาลแว่น เย็บหมวกกะปีเยาะ รวมทั้งรับจ้างและค้าขาย
๕. ตำบลหนองแรต เดิมพื้นที่แห่งนี้มีประชากรไม่มากนักเพราะมีหนอง บึงอยู่กลางหมู่บ้านจำนวนหลายแห่ง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มตลอดทั้งตำบล มีคลองยามูและคลองตันหยงไหลผ่าน ดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย เหมาะแก่การเพาะปลูก ชาวบ้านจึงเข้ามาจับจองที่และอยู่อาศัยจวบจนปัจจุบัน
๖.  ตำบลปิยามุมัง  ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนนี้มีทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่ร่วมกัน โดยชาวไทยมุสลิมเป็นชาวบ้านทื่อพยพมาจากชุมชนยามู บางครอบครัว มีเชื้อสายเจ้าเมืองยะหริ่ง โดยสังเกตได้จากชื่อนำหน้านามคือต่วนกู วัฒนธรรมประเพณีบางอย่างยังคงยึดถือปฏิบัติเหมือนชาววัง ส่วนชาวไทยพุทธเข้ามาอาศัยตั้งแต่สมัยปัตตานีเป็นเมืองขึ้นของสยาม ชื่อตำบลมาจากคำว่า ปิยา+บูแม หมายถึงต้นปลงและต้นมะม่วง เพราะบริเวณนี้เต็มไปด้วยต้นไม้ ๒ ชนิดนี้จนชาวบ้านเรียกเป็นชื่อสถานที่ ปัจจุบันแยกออกเป็น ๒ ฝั่ง คือฝั่งหนึ่งเรียกว่าบ้านปิยา ส่วนอีกฝั่งหนึ่งเรียกว่าบ้านบ่อม่วง ประกอบด้วย ๕ หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ทำไร่ ทำนา
๗. ตำบลจะรัง อดีตพื้นที่หมู่บ้านนี้มีป้าไม้ขึ้นอยู่ทั่วไปหนาแน่นสภาพเป็นป่าทึบรก ปัจจุบันนี้ก็ยังมีเค้าเดิมอยู่บ้าง เช่น ต้นตะเคียน ต้นยางพื้นเมือง สภาพทั่วไปของตำบลเป็นที่ราบลุ่ม เป็นดินทรายซึ่งมีลำคลองล้อมรอบทุกหมู่บ้าน เหมาะในการประกอบอาชีพด้านประมง เลี้ยงปลา ตำบลจะรังอยู่ห่างจากตัวอำเภอยะหริ่งไปประมาณ ๑๓ กิโลเมตร ประชากรมีอาชีพทำนา อาชีพเสริมทำน้ำตาลโตนด รับจ้าง เพาะเลิ้ยงปลา เลี้ยงนกกระทา และปลูกพืชระยะสั้น
๘. ตำบลตอหลัง ที่มาของชื่อตำบลมาจากชื่อต้นไม้ต้นหนึ่งชื่อเตาลัน ตามภาษามลายูถิ่น ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่  มีกิ่งใบร่มเย็น แต่ละปีมีผึ้งจำนวนมากมาพักเป็นระยะเวลานาน ๆ ตลอดถึงสัตว์อื่น ๆ รวมทั้งผู้คนมาพักผ่อนอยู่เสมอ ซึ่งสถาพที่ร่มเย็นเลยตั้งชื่อว่าเตาลัน ซึ่งแปลว่าเป็นที่พักผ่อนหรือเป็นที่นัดพบของคนหรือสัตว์ต่าง ๆ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อจากคำว่า "เตาลัน" เป็น "ตอหลัง" จนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย ๓หมู่บ้าน คือบ้านตอหลัง บ้านดุซงปาแซตะวันตก บ้านดุซงปาแซตะวันออก ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอบอาชีพทำนาและรับจ้างแรงงานทั่วไป 
๙. ตำบลตะโละ อยู่ห่างจากตัวอำเภอไปประมาณ ๗ กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดปัตตานีประมาณ ๑๙ กิโลเมตร เป็นพื้นที่ราบประกอบด้วย ๕ หมู่บ้าน คือตะโละ เปาะกูแม ป่าศรีลุวง และตะโละแอเราะ ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำนาทำสวน ทำไร่ เป็นอาชีพหลัก 
๑๐ ตำบลตันหยงจึงงา มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเป็นดินทรายมีลำคลองล้อมรอบทุกหมู่บ้าน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก เลี้ยงปลา ปลูกพืชสวนครัวเป็นอาชีพรอง ตำบลตันหยงจึงงาอยู่ห่างจากตัวอำเภอยะหริ่งประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ประกอบด้วย ๒ หมู่บ้าน คือบ้านโต๊ะตีเต และบ้านต้นหยงจึงงา สำหรับชื่อหมู่บ้านนี้มีความเป็นมาคือในอดีตมีต้นพิกุล (ตันหยง) และต้นตะเคียน เป็นจำนวนมาก ที่สำคัญต้นพิกุลกับต้นตะเคียน อยู่ใกล้กันไขว้เป็นเครื่องหมายคูณ ชาวบ้านเลยเรียกหมู่บ้านนี้ว่า ตันหยงจึงงา คำว่า "ตันหยง" เป็นคำภาษามลายูถิ่น แปลว่าต้นพิกุล "จึงงา" เป็นคำภายามลายูถิ่น แปลว่าต้นตะเคียนคน คนกลุ่มแรกที่ก่อตั้งหมู่บ้านเป็นชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง โดยได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามลักษณะต้นไม้ที่มีจำนวนมากในหมู่บ้าน
๑๑. ตำบลตันหยงดาลอ ตามคำบอกเล่าของชาวบ้านในอดีตตันหยงดาลอมีชื่อเสียงในเรื่องของปอเนาะ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตโต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม มีลูกศิษย์มากมายในสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่มาเล่ารียนด้านการศาสนาที่ปอเนาะแห่งนี้ ศิษย์บางคนเรียนจบไม่ได้กลับบ้านก็ปักหลักสร้างถิ่นฐานอยู่ที่นี้จนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย ๕ หมู่บ้านคือ บ้านสะตือเงาะ บ้านตือระ บ้านตำมะสู บ้านยือริง และบ้านจาบังโต๊ะกู คำว่า "ตันหยงดาลอ" เป็นชื่อเรียกของตำบลนี้มีที่มาจากคำ "ต้นหยง" และ "ดาลอ" ซึ่งต้นหยง แปลว่า แหลม "ดาลอ" แปลว่าต้นไม้ ต่อมามีชายสองพี่น้องเข้าไปตัดต้นไม้ต้นนั้นแต่ตัดเท่าไรก็ไม่ขาด ชายคนพี่จึงอธิษฐานว่าถ้าต้นไม้ต้นนี้ขาด ก็จะสร้างมัสยิดให้แห่งหนึ่งในที่สุดก็สามารถตัดได้ จึงได้สร้างมัสยิด ให้ชื่อว่า "มัสยิสสุไหงยาลอ" แต่คนในแถบนี้จะพูดผิดผิดไปเป็นตันหยงดาลอ จนได้เรียกชื่อหมู่บ้านนี้จนติดปากจนถึงปัจจุบันและใช้หมู่บ้านนี้เป็นชื่อเรียกของตำบลว่า "ตำบลตันหยงดาลอ"
๑๒. ตำบลตาลีอายร์ มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเป็นเนินดินปนทรายดินเหนียว ชาวบ้านประกอบอาชีพทำนาและทำสวน ประกอบด้วย ๔ หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านตาลีอายร์ บ้านบากง บ้านสีปาย และบ้านใหม่
๑๓. ตำบลบาโลย ลักษณะของพื้นที่เป็นที่ราบกว้างและยาวมีดินทรายปนดินเหนียวเป็นส่วนมาก และเป็นพื้นที่ทำนากับทุ่งนาเป็นส่วนใหญ่ คำว่า "บาโลย" มาจากคำว่าว่าบาโระ แปลว่าบ้านแนวยาว ซึ่งมีลักษณะเป็นพื้นพื้นที่แนวยาวและกว้าง และเป็นพื้นที่ยาวและกว้างเหมาะสำหรับการเพาะปลูก ประกอบด้วย ๔ หมู่บ้าน คือบ้านปาโฮะแง บ้านโต๊ะตีเต บ้านบาโลย และบ้านกูวิง 
๑๔. ตำบลปุลากง คำว่า "ปุลากง" ชาวบ้านเรียกเพี้ยนมาจากการได้ยินเสียงการตีฆ้อง ซึ่งดังปูลา โก้ง ๆๆ ๆ ซึ่งตามตำนานเล่าว่า เดิมหมู่บ้านตำบลนี้มีฆ้องใหญ่ ๑ ใบ ตีมีเสียงดังมาก ชาวบ้านจึงเรียกชื่อตำบลตามเสียงฆ้องที่ได้ยินว่าปูลากงจนถึงปัจจุบัน บริเวณแห่งนี้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เป็นดินทรายและบนเนิน ชาวบ้านประกอบอาชีพทำนาทำสวนเป็นอาชีพหลัก
๑๕. ตำบลมะนังยง แต่เดิมพื้นที่เป็นป่าและที่ราบเป็นส่วนใหญ่ มีแม่น้ำไหลผ่าน ๑ สาย คือแม่น้ำตันหยง ตามคำบอกเล่ากันมาเป็นทอด ๆ ว่ามีชนกลุ่มหนึ่งมาจากไหนไม่ปรากฏ โดยสารเรือเป็นพาหนะ แต่บังเอิญเรือมาเกยตื้นในพื้นที่นา และชนกลุ่มนั้นได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นั่นและตั้งชื่อตำบลว่าตำบลมะนังยงหรือบือแนยง ซึ่งแปลว่าเรือเกยตื้นในที่นา และตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านเรียกตำบลนี้ว่าตำบล "มะนังยง" สภาพทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนา มีลำคลองไหลผ่าน ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนา ประกอบด้วย ๕ หมู่บ้าน คือบ้านขาว บ้านมูหลง บ้านพังกับ บ้านยามูเฉลิม บ้านกลาขอ
๑๖. ตำบลสาบัน ได้มีการเล่าว่าหมู่บ้านแห่งนี้ได้เกิดโรคป่าระบาด และเมื่อโรคร้ายได้หายแล้วชาวบ้านได้รวมกันเป็นก๊กเป็นเหล่าเป็นโจรเที่ยวปล้นชาวบ้าน จนเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว เมื่อเหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น พระยารายซึ่งเปืนผู้ปกครองหัวมืองชายแดนภาคใต้ ได้ยกกำลังมาปราบปรามจับหัวหน้าโจรประหารชีวิต ส่วนที่เหลือก็ให้กุมขังไว้และฝึกอาชีพ ต่อมาให้กลับภูมิลำเนาเดิมแต่ก่อนจะปล่อยตัวได้ทำพิธีร่วมน้ำสาบานว่าถ้าหมู่บ้านนี้มีโจรก็กต่าง ๆ ขึ้นมาอีกจะจับประหารชีวิตให้หมด ชาวบ้านจึงได้เรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า "บ้านสาบาน ต่อมาเพี้ยนว่า "สาแบ" หรือ "สาบัน" พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีลำคลองส่งน้ำชลประทานเหมาะแก่การประกอบอาชีพด้านการเกษตร
๑๗. บางปู 
๑๘. ราตาปันยัง  

           ประชากร        
          ประชากรส่วนมากของอำเภอยะหริ่้งเป็นชาวไทยมุสลิม ชาวไทยพุทธส่วนน้อยอาศัยอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่ต่าง ๆ ของอำเภอยะหริ่ง สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษน่าจะเป็นข้าราชการหรือนายทหารที่ถูกส่งมาปฏิบัติหน้าที่สมัยปาตานีถูกแบ่งแยกการปกครองเป็น ๗ หัวเมือง เมื่อพ้นจากหน้าที่บางกลุ่มไม่ได้กลับบ้านตกลงปักหลักตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกับกลุ่มชนชาวไทยมุสลิม ภายใต้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมแต่สามารถอยู่ร่วมกันได้จนถึงปัจจุบันนี้
             
ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม     
      นับตั้งแต่ปัตตานีถูกแบ่งออกเป็น ๗ หัวเมือง ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ เมืองยะหริ่งภายใต้การปกครองของเจ้าเมืองได้สร้างสั่งสมความมั่นคงทั้งทางด้านการเมือง ซึ่งวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีบางส่วนได้รับอิทธิพลมาจากชนพื้นเมืองตั้งเดิมมลายู ดังปรากฏในประเพณีการเกิด การแต่งงาน และประเพณีสุหนัด ตลอดถึงศิลปะการแสดง เช่น มะโย่ง ซีละ วายังกูเละ จากบรรพบุรุษของคนในอำเภอยะหริ่ง ซึ่งในอดีตเคยเป็นที่อยู่อาศัยของคนพื้นเมืองตั้งเดิมเผ่านิกริโต จากนั้นคนเชื้อสายมลายู ไทย จีน และอินเดีย ได้อพยพเข้ามาอยู่ คนในพื้นที่นี้ได้รับวัฒนธรรมประเพณีหลายรูปแบบทั้งจากอินเดีย อาหรับ ไทย และจีน จากศาสนาฮินดู พุทธ อิสลาม และอื่น ๆ อิทธิพลของวัฒนธรรมเหล่านี้ได้ตกทอดมา และผสมผสานกันจนกลายเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่มีลักษณะพิเศษเห็นเด่นชัดว่าแตกต่างไปจากท้องถิ่นอื่น ๆ ดังนั้นวัฒนธรรม ประเพณี ของชาวอำเภอยะหริ่งจึงเป็นที่กล่าวขานว่ามีลักษณะเด่น ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากวังยะหริ่ง ที่สืบทอดจากชนมลายูอีกทอดหนึ่ง สมัยก่อนวังยะหริ่ง นอกจากเป็นศูนย์กลางด้านการปกครองแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางด้านขนบธรรมเนียมประเพณี มีประเพณีบางอย่างก็จัดกันเฉพาะในวังเจ้าเมืองเท่านั้น บางอย่างจัดขึ้นอย่างใหญ่ตามประเพณีที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เช่น ประเพณีเข้าสุหนัด ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากวังยะหริ่ง ที่สืบทอดจากชนมลายูอีกทอดหนึ่ง สมัยก่อนวังยะหริ่งนอกจากเป็นศูนย์กลางด้านการปกครองแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางด้านขนบธรรมเนียมประเพณี จากโครงสร้างที่ตั้งของวังยะหริ่งที่อยู่ใจกลางรายล้อมด้วยบ้านของชาวบ้าน ทำให้คนในวังมีความใกล้ชิดผูกพันกับชาวบ้าน เมื่อคนในวังจะจัดงานหรือพิธีกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง มักจะเชิญชวนชาวบ้านให้เข้าร่วมงานด้วย ส่วนชาวบ้านจะให้เกียรติให้ความนับถือกับคนในวัง หากทรามข่าวว่าจะมีการจัดงานขึ้นในวังต่างอาสาให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ บางคนนำสิ่งของที่มีอยู่แล้วที่บ้านเอาไปให้ในวัง เช่น ข้าวสาร ผัก และผลไม้ บางคนช่วยด้วยแรงงานโดยไม่รับค่าจ้าง เช่น งานประเพณีเข้าสุหนัตของบุตรหลานเจ้าเมืองยะหริ่ง กูสะรี (นายบพิตร อับดุลบุตร) จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔4 ชาวบ้านที่เข้าร่วมประเพณีเข้าสุหนัต ในวันนั้นต่างเล่าเป็นเสียงเดียวกันว่า เมื่อในวังตัดสินใจจะจัดพิธีเข้าสุหนัตให้กับกูสะรีซึ่งเป็นบุตรคนสุดท้องของตวนกูฮิบราเฮง และเป็นหลานปู่ของพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม (พระยายะหริ่งคนที่ ๓) จึงประกาศให้ทราบกับทั่วกันว่าในวังจะมีการจัดงานประเพณีเข้าสุหนัดอย่างมโหฬารตามแบบประเพณี โบราณที่สืบทอดของชาววังยะหริ่ง พร้อมทั้งเชื้อเชิญบุตรหลานของบรรดาญาติมิตร และบุตรหลานของชาวชาวบ้านที่มีอายุไล่เลี่ยกันร่วมเข้าสุหนัตในครั้งนี้ด้วย ฝ่ายชาวบ้านเมื่อทราบข่าวต่างรู้สึกตื่นเต้นดีใจที่จะได้เห็นพิธีเข้าสุหนัด และยินดีให้บุตรหลานที่ถึงวัยอันสมควรให้เข้าสุหนัตด้วย เพื่อเป็น สิริมงคลแก่วงศ์ตระกูล ครั้งหนึ่งในชีวิตของลูกผู้ชายที่จะได้เข้าพิธีสุหนัตพร้อมกับบุตรหลานเจ้าเมืองยะหริ่งก่อนถึงวันงานเจ้าภาพและชาวบ้านต่างช่วยกันจัดตกแต่งสถานที่ สำหรับใช้ในการประกอบพิธีต่าง ๆ ได้แก่สถานที่สำหรับประกอบอาหาร สถานจัดเลี้ยงแขก ก็จะปูเสื้อสำหรับนั่งรับประทานข้าว สมัยก่อนชาวไทยมูสลิมนิยมนั่งรับประทานข้าวล้อมวงเป็นอีแด และรับประทานข้าวด้วยมือเปล่า สถานที่หรือเวทีแสดงสำหรับการแสดงมหรสพอย่าง ดิเกร์ฮูลู สิละ มะโย่ง สถานที่ประกอบพิธีกินสมางัต สมางีน (กินข้าวเหนียว) ชาวไทยมุสลิมเรียกว่า "ฆาฌอแง" บัลลังก์ตกแต่งประดับประดาด้วยดอกไม้เพชรนิลจินดา และไฟหลากสีฮส่องประกายระยิบระยับอย่างสวยงาม เปรียบเหมือนบัลลังก์ของพระมหากษัตริย์ กระยอแงนี้เป็นสถานที่สำหรับทำพิธีกิน "สมางัต " และ "สมางีน " หรือข้าวเหนียวและขนมหวาน เพื่อความเป็นสิริมงคล นอกจากนั้นยังมีการจัดอุปกรณ์สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในขบวนแห่อาเนาะตูนอ เช่น บุหงาซีเระ สมางัดข้าวเหนียว สมางีนขนม และเรือจำลอง สำหรับให้อาเนาะตูนอขึ้นไปนั่งตอนแห่ขบวน ครั้งถึงวันงานขั้นตอนเริ่มต้นตั้งแต่เช้าเป็นพิธีแห่อาเนาะตูนอ (แห่เด็กที่จะเข้าสุหนัต) โดยขบวนแห่อาเนาะตูนอ จัดเป็นขบวนแห่มโหฬาร ประกอบด้วยขบวนบายศรีพลูหรือบุหราซีเระ จำนวน ๙ พาน แต่ละพานถูกทูลอยู่เหนือศีรษะของสตรีผู้แต่งกายสวยงามด้วยเสื้อบานง นุ่งผ้าโสร่งปาเต๊ะ ผ้าซอแกะ (ฝ้ายกดิ้นเงินดิ้นทอง ) ตามแบบฉบับสตรีมลายู นอกจากนั้นยังมีพานสมางัด (พานข้าวเหนียว) พานสมางีน และพานขนมหวานนานาชนิด ๆ พานสมางัต เป็นพานข้าวเหนียวนึ่งสามสี สีแดง สีเหลือง และสีขาว จัดเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมเหมือนพุ่มดอกไม้ พานสมางีน เป็นพานขนมดอดอ ขนมลา ขนมโก๋ ขนมเจาะหู ขนมกวน ขนมไข่ ข้าวพอง มาจัดวางเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม ส่วนพานขนมหวานนานาชนิดเป็นขนมโบราณ เช่น ขนมน้ำตาลไหม้ ขนมฮัวลูวอ ข้าวเหนียวใบพ้อ ขนมฆอเดาะ ขนมนาซีมานีส ขนมบือลีแมง เป็นต้น ถัดมาเป็นขบวนสตรี เป็นขบวนฝ้ายชายคือขบวนเรือจำลอง ที่มีอาเนาะตูนออยู่ด้านบน และขบวนนักดนตรีที่ประโคมดังกระหึ่มทั่วขบวนแห่ เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองแขก โม่ง ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ ปีชวา สุดท้ายตามหลังด้วยขบวนช้างหลายเชือก ครั้งพอขบวนแห่อาเนาะตูนอผ่านหมู่บ้านใดทั้งสองข้างทาง ก็จะมีชาวบ้านคอยให้การต้อนรับอย่างล้นหลาม เมื่อขบวนแห่มาถึงหน้าวังก็จะมีการแสดงสิละร่ายรำต้อนรับอาเนาะตูนอ หลังจากจบการแสดงสิละอาเนาะตูนอก็จะถูกเชิญไปนั่งที่ฆาฌอแง (บัลลังก์) เพื่อประกอบพิธีกินสมางัต สมางีน (กินข้าวเหนียวและขนมหวาน) เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ เป็นสิริมงคลแก่เด็ก หลังจากเสร็จพิธีกินสมางัด สมางีน เจ้าภาพ แขกที่ได้รับเชิญ และอาเนาะตูนอ ร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน ขณะรับประทานอาหารก็มีการแสดงมหรสพอย่าง ดิเกร์ฮูลู สิละ มะโย่ง และวายังกูเละ สร้างบรรยากาศครึกครื้นในงานพิธี ส่วนพิธีขริบหนังหุ้มปลาขอวัยวะเพศชายจะกระทำในวันถัดไป โดยจะให้โต๊ะมูเด็งเป็นผู้ขริบให้ ปัจจุบันแม้ช่วงเวลาล่วงเลยมายาวนาน แต่สภาพสังคมและวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่ประเพณีเข้าสุหนัตรูปแบบตั้งเดิมของอำเภอยะหริ่งก็ยังคงมีให้เห็นในบางพื้นเท่านั้น


โบราณสถาน/โบราณวัตถุ

วังยะหรี่ง

             วังยะหริ่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตดานี ในอดีตเมืองยะหริ่งเป็น ๑ ใน ๗ เมือง ประเทศราชของไทย ที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ให้แก่สยาม ๓ ปี สำหรับวังยะหริ่งของพระยาพิพิธเสนาบดีสงคราม เจ้าเมืองยะหริ่งคนที่ ๓ ท่านได้มอบหมายช่างเชื้อสายจีนที่มาจากกรุงเทพ เป็นผู้สร้างวัง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ใช้เวลาในการสร้างถึง ๕ ปี จึงเสร็จสมบูรณ์ ตัววัสร้างด้วยไม้ตะเคียนทองทั้งหลัง แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นปูน ชั้นบนเป็นไม้ ชั้นบนจะเป็นที่ทำการของเจ้าเมืองไว้ตัดสินคดีความและรับแขกบ้านแขกเมือง โดยเจ้าเมืองกับลูกหลในปัจจุบันอยู่ในการดูแลของ ตวนดูอาชีจะห์ (นางวัฒนาวิไล อับดุลบุตร) ซึ่งเป็นบุตรคนสุดท้องของพระพิพิธภักดี วังยะหริ่งสร้างขึ้นในสมัยของพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม ในปี พ.ศ.  ๒๔๓๘  ลักษณะรูปทรงของวังเป็นอาคาร ๒ ชั้น ครึ่งปูนครึ่งไม้ แบบเรือนไทยมุสลิม ผสมกับแบบบ้านแถบยุโรป ตัววังเป็นรูปตัวยู (U ) ชั้นบนภายในอาคารจัดเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ด้านข้างของตัวอาคารทั้ง ๒ ด้านเป็นห้องสำหรับพักผ่อนของเจ้าเมืองและบุตรธิดา ข้างละ ๔ ห้อง ชั้นล่างเป็นลานโล่งแบบใต้ถุนบ้าน ลักษณะเด่นของบ้านคือบันไดโค้งแบบยุโรป ช่องแสงประดับด้วยกระจกสีเขียว แดง และน้ำเงิน ช่องระบายอากาศและหน้าจั่วทำด้วยไม้ ฉลุเป็นลวดลายพรรณพฤกษา ตามแบศิลปะชวาและศิลปะแบบตะวันตก ทำให้ตัววังสง่างามมาก ในปัจจุบันวังยะหรึ่งได้รับการดูแลจากเจ้าของวังเป็นอย่างดี โดยมีการบูรณะครั้งหลังสุดเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๑  ปัจจุบันมีสภาพสมบูรณ์


ปูชนียบุคคล

พระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม (นิโวะ อับดุลละบุตร) พระยายะหริ่งคนที่ ๓

             พระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสงคราม (นิโวะ อับดุลละบุตร) เจ้าเมืองยะหริ่งคนที่ ๓ และเป็นเจ้าเมืองยะหริ่งคนสุดท้าย ก่อนมีการปฏิรูปการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล และเป็นต้นตระกูล "อับดุลละบุตร" โดยได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านเป็นบุตรของพระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี (นิเมาะ) กับนางนิมายอ เมื่อพระยายะหริ่ง (นิเมาะ) ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าแต่งตั้งท่านเป็นพระยายะหริ่ง ภายหลังจากการปฏิรูปการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล เมืองยะหริ่งมีฐานะเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดปัตตานี พระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสงคราม (นิโวะ) ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสายบุรี จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๗๔ จังหวัดสายบุรีได้ถูกยุบลงเป็นอำเภอสายบุรี ขึ้นกับจังหวัดปัตตานี ท่านจึงได้พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสายบุรี และได้กลับมาอยู่ที่วังยะหริ่ง และถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ที่อยู่
จังหวัด
ปัตตานี


วีดิทัศน์

รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2025