การถือศีลอด
 
Back    11/07/2024, 14:33    177  

หมวดหมู่

วัฒนธรรม


ประวัติความเป็นมา

                  การถือศีลอดเป็นศาสนบัญญัติข้อหนึ่งที่นับว่ามีความสำคัญมาก ซึ่งมุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะทุกคนต้องต้องปฏิบัติ โดยจะต้องละเว้นการกิน การดื่มเป็นเวลา ๓๐ วัน ในเดือนรอมฏอน การถือศีลอดนี้ห้ามรับประทานอาหารทุกชนิด ห้ามร่วมประเวผี ละเว้นการกระทำชั่วทั้งกาย วาจา ใจ ในระหว่างเวลาตั้งแต่แสงอรุณขึ้น จนกระทั้งพระอาทิตย์ตก การถือศีลอดไม่ใช่เฉพาะการอดอาหาร อดน้ำเท่านั้น แต่ต้องถึงพร้อมด้วยการอดกลั้นต่อกิเลสทั้งหลายทั้งปวงด้วย เช่น ต้องละเว้นการพูดจาหยาบคาบ ต้องเสงี่ยมเจียมตัวและต้องพยายามทำความดีมากเป็นพิเศษ สำหรับวัตถุประสงค์ของการถือศีลอดนั้นคือการฝึกฝนคนให้เกิดความสำนึก ในความยากลำบากอดทนในความทุกข์ยาก รักความเป็นระเบียบวินัย และมั่นคงในศีลธรรม ซึ่งจะช่วยพัฒนาจิตใจมนุษย์ให้สูงส่ง การถือศีลอดในเดือนรอมฏอนเริ่มขึ้นด้วยการดูดวงจันทร์ในวันที่ ๒๙ ของเดือนชะอ์บาน ซึ่งหากปรากฎว่ามีดวงจันทร์ให้ถือว่าวันถัดไปเป็นวันเริ่มต้นการถือศีลอด และในกรณีไม่ปรากฏว่าเห็นดวงจันทร์ในวันที่ ๒๙ ของเดือนดังกล่าว ก็ให้ถือเอาวันถัดต่อไปอีกวันหนึ่งเป็นวันเริ่มต้นของการถือศีลอด  หลักของการถือศีลอดนั้นไม่ใช่ว่าจะบังคับให้ทุกคนที่เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติตาม แต่ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติได้แก่

๑. ต้องเป็นมุสลิม
๒ ต้องอยู่ในเกณฑ์ศาสนภาวะถือปฏิบัติศาสนกิจได้แล้ว
๓. เป็นผู้มีความสามารถในการถือศีลอด

                   ผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้จึงจะเป็นผู้ที่ถือศิลอดได้ สำหรับผู้ที่ไม่มีความสามารถในการถือศีลอดจึงได้รับการยกเว้น เช่น ผู้ที่เดินทางไกล ผู้ป่วยที่แพทย์ห้าม หญิงมีครรภ์ หญิงแม่นม หญิงที่มีประจำเดือน ผู้ชราภาพ คนวิกลจริต เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามผู้ได้รับการยกเว้นก็ต้องชดใช้ในเวลาอื่นหรือเดือนอื่นหากมีความสามารถจะถือศีลอดได้ ในระหว่างที่ถือศีลอดมุสลิมจะต้องสำรวมกาย วาจา ใจ เพื่อเอาชนะกิเลสทั้งปวง ถ้าปฏิบัติผิดหลักการหลายข้อที่ศาสนาถือว่าเป็นตัวการกระทำให้การถือศีลอดสูญเปล่า ผู้นั้นย่อมตกอยู่ในเกณฑ์โมฆะหลายประการซึ่งทำให้การถือศีลอดสูญเปล่า ประกอบด้วย

๑. โดยเจตนาเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดเข้าช่องว่างทวารทั้งปวง เช่น รูหู รูจมูก เป็นต้น
๒. ร่วมประเวณีในตอนกลางวันโดยเจตนา
๓. เกิดเสียจริตขึ้น
๔. มีเลือดระดูสำหรับหญิง
๕. มีเลือดเสียอื่น (นิฟาส) สำหรับหญิง
๖. มีน้ำอสุจิออกมาไม่ว่าจะโดยวิธีใด
๗. อาเจียนโดยเจตนา
๘. เอาสิ่งหนึ่งสิ่งใคเข้าไปในทวารหนักหรือหวารเบา
๙.ขาดสภาพความเป็นมุสลิม

              ทั้ง ๙ ประการดังกล่าวข้างต้นผู้ใดผิดข้อกำหนดแม้เพียงข้อเดียว ก็ถือว่าการถือศีลอดของเขาสูญเปล่า คือเท่ากับผู้นั้นยังมิได้ปฏิบัติการถือศีลอดในวันนั้น จะต้องปฏิบัติตนถือศีลอดชดใช้ดังนี้ คือ

๑. ชดใช้วันต่อวัน ถ้าการถือศีลอดสูญเปล่า เฉพาะข้อใดข้อหนึ่งจาก ๑, ๒, ๓. ๔, ๕. ๖, ๗, ๘ และ ๙
๒. ชดใช้ ๒ เดือนติด ๆ กัน ถ้าการถือศีลอดของผู้นั้นสูญเปล่าเฉพาะข้อ ๒ คือร่วมประเวณีในตอนกลางวันโดยเจตนา

                  ศาสนาอิสลามไม่เพียงแต่กำหนดเรื่องการถือศีลอดไว้ประเภทเดียว ที่เรียกว่าภารกิจเท่านั้น แต่ยังได้กำหนดเป็นประเภทอื่น ๆ อีก คือ

๑. ประเภทอดิเรกกิจ ประเภทนี้มีมากมายหลายชนิด อาทิ เช่น การถือศีลอดในวันจันทร์ และวันพฤหัสบดี การถือศีลอดในวันที่ ๑๐ ของเดือนมุฮัรรอม และเดือนร่อญับ การถือศีลอดวันเว้นวัน และวันเว้นสองวัน การถือศีลอดในวันที่ไม่มีอาหารจะบริโภค
๒. ประเภทวัชชกิจ ได้แก่การถือศีลอดของผู้เจ็บป้วย การถือศีลอดของคนเดินทางไกล การถือศีลอดของหญิงมีครรภ์ การถือศีลอดของแม่นม การถือศีลอดของคนชรา
๓. ประเภทโทษกิจ ได้แก่การถือศีลอดในวันตรุษอีด อัล-พิตร์ และอีด อัล-อัฏฮา การถือศีลอดของหญิงมีระดู และหญิงมีเลือดเสีย

                บุคคลที่มิได้นับถือศาสนาอิสถาม อาจจะรู้สึกว่าการถือศีลอดเป็นการทรมานร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง ประ โยชน์ที่ได้ก็มองไม่เห็นแต่ความเป็นจริงแล้วการถือศีลอดจะยังประโชชน์ให้แก่ผู้ปฏิบัติอย่างล้ำลึก โดยการฝึกจิตใจให้รู้จักเผชิญกับภาวะแห่งการอดกลั้น และได้ลิ้มรสอันแท้จริงของความอัตคัด ความยากแค้นซึ่งจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อและทุกคน ระหว่างถือศีลอดจะเกิดความหิวกระหาย ทำให้คนประเมินค่่าตัวเองได้ถูกต้องว่าความทุกข์ทรมานนั้นเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วจะไม่มีความสุข ไม่ว่าจะเป็นคนยากจนหรือคนมั่งมี การให้มุสลิมต้องถือศีลอดทุกคนไม่มีเว้นสำหรับคนจนคนรวย ผู้หญิงผู้ชาย ผู้มีอำนาจในแผ่นดิน ก็ต้องถือปฏิบัติทุกคนการที่ได้อดอยากร่วมกัน จะเป็นหนทางนำไปสู่ความเมตตาอารี ความเห็นอกเห็นใจต่อกันต่อมวลมนุษย์ทั่วโลก (วสันต์ ซีวะสาธน์, ๒๕๔๔ , ๑๘ อ้างถึงใน อุทัย หิรัญโต , ๑๙๒-๑๙๗)


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
การถือศีลอด
ที่อยู่
จังหวัด
ภาคใต้


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

วสันต์ ชีวะสาธน์. (2544). รายงานการวิจัยสถาปัตยกรรมทางศาสนาของชุมชนชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา
            มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024