วัดควนใน
 
Back    30/11/2021, 16:04    685  

หมวดหมู่

สถานที่ทางศาสนา


ประวัติความเป็นมา


ภาพจาก : https://kyl.psu.th/ceTAG            

           วัดควนในเป็นวัดโบราณแห่งหนึ่งของอําเภอปะนาเระ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลควน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ตั้งวัดเป็นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๘๙ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๐๐ วัดควนในเดิมชื่อว่าวัดควน ต่อมามีการสร้างวัดควนนอกขึ้นซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กัน จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดควนใน ชาวบ้านชุมชนวัดควนสันนิษฐานว่าคนที่นี่น่าจะสืบเชื้อสายมาจากทหารสุโขทัย ที่เดินทางมาทำสงครามทางภาคใต้ตั้งแต่ครั้งสมัยพ่อขุนรามคำแหงแล้วตั้งบ้านเรือนอยู่ที่นี่ สันนิษฐานจากภาษาพูดที่คล้ายคลึงภาษาไทยกลางมาก และส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ วัดควนในมีโบราณสถานที่สำคัญภายในวัดที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเป็นศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงรัชกาลที่ ๖ จึงสันนิษฐานว่าวัดควนในแห่งนี้คงเป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔ และเป็นวัดที่สําคัญและมีความเจริญรุ่งเรืองสืบมา ปัจจุบันภายในวัดยังปรากฏหลักฐานโบราณสถานคืออาคารกุฏิไม้ประดับตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝีมือช่างท้องถิ่นปะนาเระที่งดงาม กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดควนใน ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๑๗ง วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ หน้า ๗ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๑ ไร่ ๒ งาน ๘๖ ตารางวา


ภาพจาก : https://kyl.psu.th/ceTAG        


โบราณสถาน/โบราณวัตถุ

               วัดควนใน ตั้งอยู่ที่อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี เดิมชื่อว่าวัดควน ประวัติการก่อสร้างวัดควนในไม่ปรากฏปีการสร้างที่ชัดเจน ส่วนโบราณสถานภายในวัดที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันล้วนแต่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์แถบทั้งสิ้น ประกอบด้วย 

               
๑. กุฏิไม้แบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้


ภาพจาก : สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

                 กุฏิไม้วัดควนใน เป็นสถาปัตยกรรมอาคารเรือนไม้ทรงไทยแฝด ยกใต้ถุนสูง มีชานด้านหน้าและบันไดทางขึ้น หลังคาเป็นหลังคาจั่วชนกัน มุงด้วยกระเบื้องดินเผา พื้นที่ภายในกุฏิแบ่งออกเป็นห้องนอน ๑ ห้อง และห้องโถง ๒ ห้อง หน้าจั่วตกแต่งด้วยภาพเขียนสีสวยงาม สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ และได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมจากสมาคมสถาปนิกสยามเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ จุดเด่นของกุฏิคือการตกแต่งอาคารได้รับอิทธิพลจากจีนและมาเลเซีย อันเป็นแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์ของ ๓ จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย โดยบริเวณฝ้าเพดานมีภาพจิตกรรมเป็นภาพพระอาทิตย์ พระจันทร์ และเทพมีวงกลมล้อมรอบ ส่วนคอสองมีภาพเรื่ององคุลีมาลรวมทั้งหมด ๘ ตอน ตั้งแต่ตอนที่อหิงกะเกิดไปจนถึงตอนบรรลุนิพพานเป็นพระอรหันต์ ส่วนบริเวณฝาผนังห้องเป็นภาพพระพุทธเจ้า นอกจากภาพจิตกรรมแล้ว ยังมีงานแกะสลักไม้ตามริมกรอบประตูช่องลมและฝาผนัง ที่บานประตูลูกฟักไม้แกะสลัก เขียนสีสวยงาม กุฏิไม้วัดควนในได้รับการบูรณะใหม่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖-๒๕๔๗ ดำเนินการโดยกรมศิลปากร มีการซ่อมแซมส่วนที่ชำรุด ซ่อมหลังคา ป้องกันน้ำฝนรั่ว และอนุรักษ์ภาพเขียนสี สามารถรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไว้ได้เป็นอย่างดี


ภาพจาก : สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

                
ภาพจาก : สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์


ภาพจาก : สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์


ภาพจาก : https://ww/w.facebook.com/buddhisttreasure/posts/747188802141316


ภาพจาก : https://ww/w.facebook.com/buddhisttreasure/posts/747188802141316

ภาพจาก : https://ww/w.facebook.com/buddhisttreasure/posts/747188802141316


ภาพจาก : https://ww/w.facebook.com/buddhisttreasure/posts/747188802141316


ภาพจาก : https://ww/w.facebook.com/buddhisttreasure/posts/747188802141316


ภาพจาก : https://ww/w.facebook.com/buddhisttreasure/posts/747188802141316


ภาพจาก : https://ww/w.facebook.com/buddhisttreasure/posts/747188802141316


ภาพจาก : https://ww/w.facebook.com/buddhisttreasure/posts/747188802141316


ภาพจาก : สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

                ๒. อุโบสถ


               อุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สร้างไว้บนยอดเนินเขา เดิมน่าจะเป็นอาคารขนาด ๔ ห้อง และมีชานปีกนกรอบ ผนังชานทําเป็นซุ้มวงโค้ง ด้านหน้าและหลังมี ๔ ซุ้ม ด้านข้างมีด้านละ ๖ ซุ้ม ต่อมาภายหลังการบูรณะโบสถ์ได้ขยายและยกระดับพื้นโบสถ์ขึ้นสูงประมาณ ๐.๖๐ เมตร มีประตูด้านหน้า ๒ ช่อง หน้าต่างด้านละ ๔ ช่อง ภายในมีเสารอบด้าน ด้านข้างด้านละ ๕ ต้น ด้านหน้าและหลังด้านละ ๓ ต้น และก่อผนังขึ้นรับเชิงชายปีกนกเต็มโดยเป็นผนังทึบตลอด ประดับตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมเขียนที่ฝาผนัง เสาและเพดานเขียนเล่าเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติและทศชาติชาดก ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานปูนปั้นบนฐานชุกชีปูนซีเมนต์ มีพระพุทธรูปองค์เล็กอยู่เบื้องหน้าอีกข้างละ ๑ องค์ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังคาดว่าเขียนขึ้นราวสมัยรัชกาลที่ ๗-๘ ของกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเรื่องราวพระเวสสันดรครบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ เป็นส่วนใหญ่โดยมีพุทธประวัติอยู่ด้วยส่วนหนึ่งและมีภาพทศชาติชาดกและพุทธประวัติตามที่ปรากฏในพระพุทธชัยมงคลคาถา ภาพมนุษย์ในทวีปต่าง ๆ ตามคติไตรภูมิทั้ง ๔ ทวีป ภาพฉากนรก


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
วัดควนใน
ที่อยู่
ตําบลควนใน อําเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
จังหวัด
ปัตตานี
ละติจูด
6.7603729
ลองจิจูด
101.4874095



บรรณานุกรม

กุฎิไม้วัดควนใน. (2559) สืบค้น 15 ธ.ค. 66, จาก https://kyl.psu.th/qkSjr
พรทิพย์ พันธุโกวิท, ศิริพร สัง์หิรัญ และธนิสรา พุ่มผะกา. (2555). ทำเนียบนามแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม ในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
                (โบราณสถานจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล) . 
กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์.
เพจคลังพุทธศาสนา. 2560. https://www.facebook.com/buddhisttreasure/posts/747188802141316/


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024