อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
 
Back    27/01/2022, 11:02    5,644  

หมวดหมู่

จังหวัด


ประวัติความเป็นมา

 

ภาพจากหนังสือ ซิงกอร่า สิงหนคร, 2561 : 153 

        สิงหนคร อําเภอที่ตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวสงขลา ณ ปลายแหลมของคาบสมุทรสทิงพระ ตรงสุดเขตทะเลสาบฃสงขลา นับเป็นดินแดนสามน้ํานั่น คือน้ําจืดในทะเลสาบ สงขลา น้ําเค็มในอ่าวไทย และน้ํากร่อยที่เกิดจากน้ําจืดผสมกับน้ําเค็ม ส่งผลให้พื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีความสําคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในด้านทรัพยากรประมง จากหลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีทั่วอาณาบริเวณบ่งบอกว่าเมืองสิงหนครเคยมีชุมชนโบราณอยู่อาศัย โดยแหล่งขุดคันทางโบราณคดีที่ “คลองปะโอ” และ “แหล่งสีหยัง” ชี้ให้เห็นว่าเคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาชั้นดีที่ใช้ในพิธีกรรม และชีวิตประจําวันของชาวฮินดู-พราหมณ์ ขณะที่เจดีย์บนวัดเขาน้อย แสดงถึงอารยธรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธนิกายมหายาน ซึ่งนับอายุย้อนกลับไปราว ๆ ๖๐๐-๘๐๐ ปีก่อน จนกระทั่งเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปีที่ผ่านมา ที่นี่กลายเป็นรัฐลต่านซึ่งยืนยันได้จากร่องรอยป้อมปราการและกําแพงเมืองในพื้นที่บ้านบนเมือง ตําบลหัวเขา อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา และในครั้งนั้นเองที่คําว่า “ชิงกอร่า” (Singora) ได้ปรากฏอยู่ในแผนที่เดินเรือ และตัวเมืองได้ถูกบันทึกแผนผังเอาไว้ด้วย วิศวกรชาวฝรั่งเศสนามว่ามองซิเออร์ เดอ ลามาค และลูกหลานของสุลต่านก็ได้กลายมาเป็นผู้สืบทอดสายเลือดสกุล "ณ พัทลุง” ในเวลาต่อมาต่อมา ในช่วงเวลา ๒๐๐ กว่าปีก่อนนั้นได้พบเอกสารใบบอกทางราชการได้กล่าวถึงเมืองชื่อ “สงขลา” ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่แหลมสน (ปัจจุบันคือพื้นที่บ้านแหลมสนในตําบลหัวเขา) เมืองนี้มีผู้ปกครองเป็นชนเชื้อสายจีน ที่รับราชการดูแลปกครองบ้านเมืองต่างพระเนตรพระกรรณพระมหากษัตริย์ ในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์กว่า ๘ รุ่น และเป็นต้นกําเนิดของสายสกุล ณ สงขลา” ในปัจจุบัน
         
สภาพภูมิศาสตร์
       อำเภอสิงหนคร ตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินเส้นทางหมายเลข ๔๐๘ ถนนสงขลา-ระโนด หมู่ที่ ๕ ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนดร จังทวัดสงขลา ทางด้นทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดสงขลา ฝั่งตะวันตกของอ่าวไทยและฝั่งตะวันออกชองทะเลสาบสงขลา ห่างจากกรุงเทพฯ ๙๗๔ กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดสงขลาจากทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔๐๘ ประมาณ ๒๖.๖ กิโลมตร เส้นทางท่แพนานยนต์ ระยะทาง ๖ กิโลเมตร มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้นประมาณ ๒๒๔ ตารางกิโลมตร แบ่งเป็นพื้นดิน ๑๙๕,๑๓๓ ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ ๓๓ ตารางก็โลมตร พื้นที่เขตเทศบาลเมืองสิงหนคร ๓๓.๔ ตารางกิโลเมตร หรือ ๒๑,๑๘๗ ไร่ พื้นที่นอกเขตเทศบาล ๑๐๐,๗๗๑ ไร่ เป็นพื้นที่ราบ ๕๘,๖๘๕ ไร่ (ร้อยละ ๔๘.๑๒) นอกนั้นเป็นภูเขาและพื้นน้ำ ๖๓,๒๗๓ ไร่ (ร้อยละ ๕๑.๘๘) อาณาเขตด้านทิศเหนือติดต่อกับตำบลวัดจันทร์ และตำบลท่าหิน อำเภอสหิงพระ จังหวัดสงขลา ด้านทิศใต้ติดต่อกับทะเลสาบสงขลา ตามแนวร่องน้ำลึก ด้านทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทย ตามแนวร่องลึก ทิศตะวันตกของเกาะหนูและเกาะแมว และด้านทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลสาบสงขลา ตามแนวร่องน้ำลึก อำเภอดวนเนียง จังหวัดสงชลา และอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบสุ่มและที่ราบซายฝั่งทะเล พื้นที่ลาดต่ำตามแนวชายฝั่งอ่าวไทย ด้านตะวันออกและตามแนวชายฝั่งทะเลสาบสงขลาด้านตะวันตก ส่วนทางด้านทิตใต้พื้นที่เป็นภูเขาสูงลาดต่ำลงสู่ทะเลสาบสงขลาตอนใน ลักษณะยาวเรียวเป็นแหลมยื่นลงสู่ทะเลสาบสงขลา มีภูเขาที่สำคัญคือ เขาเชียว และเขาแดง แม่น้ำลำคลองที่สำคัญ คือ ดลองสะทิ้งม้อ คลองสายยู และดลองพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก (คลองขุุด)
          ปัจจุบันสิงหนครยังคงมีสถานะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สําคัญ เนื่องด้วยเป็นพื้นที่ตั้งของคลังปิโตรเลียมและบริษัทที่ทํางานสนับสนุนด้านการขุดเจาะน้ํามันในอ่าวไทยเป็นจํานวนมาก รวมถึงถูกเลือกให้เป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ําลึก จากสภาพทางภูมิศาสตร์อันโดดเด่นจึงเป็นดั่งประตูและชุมทางการค้าทางทะเลมาตั้งแต่อดีต ส่วนผู้คนก็เป็นภาพสะท้อนสังคมในแบบพหุวัฒนธรรมที่ต่างคนต่างสามารถดํารงอัตลักษณ์ทางศาสนาและวัฒนธรรมของตัวเองอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ ร่วมกันได้อย่างเป็นปกติสุข ทั้งชาวพุทธและมุสลิม ในขณะ เดียวกันก็ดํารงวิถีชีวิตที่ทั้งแอบอิงกับฐานทรัพยากรที่สําคัญอย่างการประมง ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศและพร้อมกันนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์ในธุรกิจต่าง ๆ ที่มาตั้งอยู่ในพื้นที่แห่งนี้

ป้อมเมืองสิงขระหรือเมืองสงขลาในสมัยอยุธยา (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอสิงหนคร)


ความสำคัญ

                 ปัจจุบันสิงหนครยังคงมีสถานะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญของสงขลา เพราะเป็นพื้นที่ตั้งของคลังปิโตรเลียมและบริษัทที่ทำงานสนับสนุนด้านการขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยเป็นจำนวนมาก รวมถึงถูกเลือกให้เป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกเนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์อันโดดเด่น จึงเป็นดั่งประตูและชุมทางการค้าทางทะเลมาตั้งแต่อดีต ส่วนผู้คนก็เป็นภาพสะท้อนสังคมในแบบพหุวัฒนธรรมที่ต่างคนต่างสามารถดำรงอัตลักษณ์ทางศาสนาและวัฒนธรรมของตัวเองอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ ร่วมกันได้อย่างเป็นปกติสุข ทั้งชาวพุทธและมุสลิม ในขณะเดียวกันก็ดำรงวิถีชีวิตที่ทั้งแอบอิงกับฐานทรัพยากรที่สำคัญอย่างการประมงที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ และพร้อมกันนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์ในธุรกิจต่าง ๆ ที่มาตั้งอยู่ในพื้นที่แห่งนี้


โบราณสถาน/โบราณวัตถุ

บ้านนายช่างแดง

ภาพจากหนังสือ ซิงกอร่า สิงหนคร,2561,212

      เป็นบ้านไม้ที่แสดงให้เห็นถึงฝีมือทางสถาปัตยกรรมของผู้สร้างนายช่างแดง นั้นเป็นพ่อค้าที่มีความสามารถในการก่อสร้างและรวบรวมวัตถุดิบต่าง ๆ ทั้งดินเหนียว ปูน ทราย ไม้ จากพื้นที่ต่าง ๆ ในลุ่มน้ําทะเลสาบสงขลาไปส่งขายในที่ต่าง ๆ และมีฝีมือเชิงช่างในการควบคุมดูแลงานสร้างอาคารอีกด้วย  เมื่อ ๘๐ ปีที่แล้ว บ้านหลังนี้ถูกปล้นครั้งใหญ่ทองที่เก็บไว้ถูกปล้นไปจนเกือบหมด ทําให้เจ้าของบ้านไม่ประสงค์จะอยู่บ้านหลังนี้อีก จึงทิ้งบ้านหลังนี้ให้ร้างจนถึงปัจจุบัน แม้เป็นบ้านที่ไม่ได้รับการดูแลตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แต่บ้านหลังนี้ก็ยังคงสภาพบ้านตามสมควร ทําให้เราได้เห็นร่องรอยฝีมือของนายช่างแคงที่อยู่ในบ้านหลังนี้ ทั้งในแง่งานไม้และงานปูน รวมถึงวิธีการใช้กระเบื้องดินเผา ประกอบเป็นเสารับน้ําหนักที่หาได้ยากอีกด้วย

 

วัดโลการาม

ภาพจากหนังสือ ซิงกอร่า สิงหนคร, 2561, 213

         เป็นวัดที่อยู่คู่กับชุมชนทําหม้อมายาวนาน มีตํานานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับวัดและชุมชนไม่ว่าจะเป็นทวดคง” (ตาหลวงรอง) “ด้านอาคารสถาปัตยกรรมของวัดก็มีลักษณะเด่น เช่น อุโบสถที่มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของภาคใต้ที่มีการเสริมแต่งค่อนข้างน้อยมีหลังคาทรงปั้นหยาและเสาล้อมรอบ โดยไม่มีผนังกั้น เสมาหินบนฐานบัว เป็นต้น แต่เดิมนั้นมีเรื่องเล่าว่าที่วัดโลการาม จะมีต้นหลาโอนใหญ่มาก จนคนที่ล่องเรือในทะเลสาบ ไกลสุดถึงปากรอและหัวเขาสามารถใช้เป็นจุดหมายตาในการเดินทางมาสู่คลองสทิงหม้อได้  น่าสังเกตว่าประตูทางเข้าวัดนั้นอยู่กันคนละทิศกับถนนที่ตัดมาสู่วัดในปัจจุบัน เหตุเพราะแต่เดิมนั้นไม่มีถนนการเดินทางสู่วัดต้องผ่านท่านที่ชุมชนทําหม้อแล้วเดินผ่านชุมชนมายังประตูหน้าวัด ปัจจุบันถนนจะเข้าคํานหลังของวัดที่มีเมรุฌาปนกิจตั้งไว้ แต่เดิมตรงนั้นเป็นพื้นที่เผาศพในลักษณะเชิงตะกอน อยู่ตรงส่วนที่เป็นเขตสังฆาวาสและมักหลีกเลี่ยงจากชุมชน การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาที่ทําให้ พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เปลี่ยนไปได้เช่นกัน อีกสิ่งหนึ่งคือบ่อน้ํารอบบริเวณวัดซึ่งมีอยู่เป็นจํานวนมาก หากนับทั้งอาณาบริเวณจะมีกว่า ๗ บ่อ ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการใช้น้ําของชุมชนแห่งนี้ที่มีอยู่มาก ในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ําที่หล่อเลี้ยงชุมชนแห่งนี้ใน อดีตที่ผ่านมา

เจดีย์องค์ขาว เจดีย์องค์ดำ 

ภาพจากหนังสือ ซิงกอร่า สิงหนคร,2561, 156     

        เจดีย์องค์ดำหรือเจดีย์องค์พี่ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ เมื่อครั้งพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) ผู้ที่นําทัพมาชุมนุมเชิงเขาบริเวณบ้านบนเมือง กาลเวลาที่ผันผ่านทําให้เนื้อปูนที่ฉาบเจดีย์หลุดร่อนจนเห็นเนื้ออิฐคร่ําคร่าสีดําคล้ําจึงเรียกกันว่า “เจดีย์องค์ดำ”  ส่วนเจดีย์องค์ขาวหรือเจดีย์องค์น้อง สร้างเมื่อพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัด บุนนาค) ผู้น้องนําทัพมายังบริเวณเดียวกันนี้ในปี พ.ศ. ๒๓๘๒ มีการฉาบปูนปิดโครงสร้างเนื้อในของเจดีย์ไว้อย่างสมบูรณ์ ทําให้เจดีย์มีสีขาวยวงจึงเรียก "เจดีย์องค์ขาว" เจดีย์สองพี่น้องนับเป็นจุดหมายสําคัญของการเที่ยวชมป้อมปราการ ด้วยความที่ตั้งอยู่บนยอดสูงสุดของเขาค่ายม่วง ซึ่งอยู่บนทิวเขาแดงอันเป็นปราการธรรมชาติของรัฐชิงกอร่า สามารถมองเห็นทัศนียภาพของเมืองสิงหนครและเมืองสงขลาได้รอบทิศ ๓๖๐ องศา ซึ่งในอดีตบริเวณนี้เป็นจุดเฝ้าระวังศัตรูและตรวจตรา ความเคลื่อนไหวของเรือพาณิชย์ของจีน ญี่ปุ่น อันนัม ปัตตาเวีย อินเดีย อาหรับ และยุโรปที่ผ่านเข้ามาในน่านนํ้า


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ที่อยู่
จังหวัด
สงขลา


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

 ซิงกอร่า : สิงหนคร เรื่องราวชุมชนในขุนเขา -บทเมือง-แหลมสน-หัวเขา-สทิงหม้อ. (2561). กรุงเทพฯ : สมาคมเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน.
 


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024