วัดภูผาเบิก (Wat Phu Pha Berk)
 
Back    30/04/2018, 11:05    16  

หมวดหมู่

สถานที่ทางศาสนา


ประวัติความเป็นมา


ภาพจาก : https://link.psu.th/sqKS9

            วัดภูผาเบิก เป็นวัดลำดับสุดท้ายของจตุอารามที่สร้างเรียงรายอยู่บริเวณเชิงเขาฝั่งแหลมสน (ประกอบด้วย วัดสุวรรณคีรี ที่ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกสุด ถัดมาทางทิศตะวันตกเป็นวัดบ่อทรัพย์ วัดศิริวรรณาวาส และวัดภูผาเบิกตามลำดับ) ในใบแจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมมณฑล รศ. ๑๒๕ ( พ.ศ. ๒๔๔๐) บันทึกไว้ว่า พระครูนวนวัดภูผาเบิกเป็นเจ้าคณะแขวงในอำเภอเมืองและเป็นหนึ่งในห้าวัดที่มีการเล่าเรียนภาษามคร และเมื่อครั้งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจการณ์คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับวัดภูผาเบิกไว้ว่า วัดภูผาเบิกมีพระช่วย เป็นเจ้าอาวาส ชาวบ้านเรียกวันนี้ว่า "วัดตก" จากหลักฐานสันษิฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๐ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดภูผาเบิก (ในขณะที่กรมศิลปากรระบุปีที่สร้างเป็น ปี พ.ศ. ๒๔๐๐ เนื่องจากเป็นปีที่ได้รับพระราชทานเขตวิสุงคามสีมา) เป็นวัดลําดับสุดท้ายของจตุอารามที่มีอาณาเขตติดกับวัดศิริวรรณาวาส  อย่างไรก็ตามศิลปกรรมที่อยู่ในวัด เช่น ช่อฟ้า ที่มีลักษณะ เป็นรูปหน้าคน รูปปั้นเทพที่อยู่ด้านนอกโบสถ์ ทําให้นักโบราณคดี เช่น ปัญญา พูนสิน สันนิษฐานว่าวัดภูผาเบิกน่าจะมีความเก่าแก่กว่านั้นซึ่งอาจจะอยู่ช่วงราชวงศ์หมิงของจีน เหตุเพราะศิลปกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏในวัดได้สะท้อนถึงสิ่งเหล่านี้ เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นมาของวัดวัดภูผาเบิกนี้ไว้ว่า.. เป็นวัดที่สร้างขึ้นให้กับสมาชิกตระกูล ณ สงขลา ท่านหนึ่งที่บวชเป็นภิกษุ โดยมีการแผ่วถางยอดควน (เนินดิน) จนเกิดทัศนียภาพที่สวยงามแปลกตา สถาปัตยกรรมของวัดแห่งนี้มีความเป็นเอกลักษณ์และสวยงาม เช่น โบสถ์แบบก่ออิฐถือปูนและมีหลังคาสูง โดยตัวโบสถ์วางอยู่บนยอดสุดของเนินเขา ทําให้มองเห็นได้จากทะเลสาบสงขลาอย่างชัดเจน ก่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงามแปลกตาอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีหอระฆังที่สวยงามด้วยรูปลักษณ์สูงเด่น น่าจะเป็นรูปแบบเดียวกันกับที่วัดศิริวรรณาวาสที่ทรุดโทรมผุพังไปแล้ว นอกจากนี้สถาปัตยกรรมของกุฏิเจ้าอาวาส ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ยังสวยงามและโดดเด่นในอัตลักษณ์การเป็นจีนเศรษฐี กล่าวคือตัวเรือนนั้นเป็นสถาปัตยกรรมแบบท้องถิ่นภาคใต้ แต่การแบ่งห้องหับต่าง ๆ แบบที่คหบดีชาวจีนที่ร่ํารวย นิยมกัน ในส่วนของลายฉลุบนหน้าจั่วและหลังคา มีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและศิลปะโคโลเนียล ซึ่งเป็นที่นิยมในช่วงรัชกาลที่ ๖ จึงนับได้ว่าสถาปัตยกรรมของกุฎิเจ้าอาวาสเป็นสิ่งที่โดดเด่นและสะท้อนสภาพบ้านเรือนสมัยนิยมในช่วงที่ก่อสร้างได้ดียิ่ง

 

ในส่วนข้างหน้าของศาลาการเปรียญ
ภาพจาก :
link.psu.th/UknR1fl3C
 


เสมาเพียงอันเดียวที่ยังคงหลงเหลืออยู่

ภาพจาก : link.psu.th/UknR1fl3C

           กรมศิลปากรประกาศเป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานบริเวณเมืองสงขลาเก่า ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดภูผาเบิก ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๑๕ วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๕ หน้า ๑๐๑๙๐ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๒,๔๖๐ ไร่


โบราณสถาน/โบราณวัตถุ

อุโบสถ

             อุโบสถของวัดภูผาเบิก เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานศิลปะพื้นถิ่นภาคใต้และศิลปะชิโนโปรตุกีส มีขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๔ เมตร มีบันไดทางขึ้นด้านหน้า ๒ ทาง ด้านหลัง ๒ ทาง จากรูปแบบศิลปกรรมน่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รอบ ๆ อุโบสถเหลือเสมาโบราณอยู่อันเดียว 


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
วัดภูผาเบิก (Wat Phu Pha Berk)
ที่อยู่
หมู่ที่ ๓ ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
จังหวัด
สงขลา
ละติจูด
7.192189
ลองจิจูด
100.573087



วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

เที่ยวชมประติมากรรมโบราณสถาน วัดภูผาเบิกสงขลา. (2562). สืบค้นวันที่ 29 ก.ค. 64. จาก https://www.hatyaifocus.com/บทความ/1259-
         เรื่องราวหาดใหญ่-สิงหนคร%2B%7C%2Bเที่ยวชมประติมากรรมโบราณสถาน%2Bวัดภูผาเบิกสงขลา/
เพจ@วัดภูผาเบิก. (2567). Facebook. https://link.psu.th/EMCFK

วัดภูผาเบิก. (ม.ป.ป.) สืบค้น 30 พ.ค. 67, จาก https://link.psu.th/sqKS9
HATYAIFOCUS. (2562). เที่ยวชมประติมากรรมโบราณสถาน วัดภูผาเบิกสงขลา. สืบค้น 30 พ.ค. 67, จาก link.psu.th/UknR1fl3C

 

 


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024