ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ป.ช., ป.ม., ท.จ.
ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข เกิดเมื่อ พ.ศ. 2462 ที่จังหวัดจันทบุรี บิดาชื่อนายแจ้ง มงคลสุข มารดาชื่อนางไน้ มงคลสุข มีพี่ชาย 1 คน ชื่อนายแสตมป์ มงคลสุข จากคำบอกเล่าของบุคคลใกล้ชิดได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนที่ “อาจารย์สตางค์” เกิดนั้นมีฝนตกลงมาอย่างหนักและเสียงฟ้าร้องดังกึกก้องไปทั่ว ช่อฟ้าหน้าโบสถ์ที่วัดใกล้บ้านได้หักลงมา ท่านสมภารได้เดินทางมาเยี่ยมถึงที่บ้านและผูกดวงให้พร้อมกับตั้งชื่อให้ว่า “สตางค์” หมายถึง “หนึ่งในร้อย” อีกทั้งยังกำชับบิดา มารดาให้เลี้ยงดูเด็กชายสตางค์ให้ดี “อาจารย์สตางค์” เป็นเด็กที่เรียนดี เฉลียวฉลาด แต่เมื่อจบชั้นมัธยมต้น บิดาของท่านจะไม่ให้เรียนต่อ เนื่องจากขัดสนเรื่องรายได้ จนคุณครูและท่านสมภารต้องมาเกลี้ยกล่อมถึงที่บ้านให้ส่งเสียให้เรียนต่อ ท่านสมภารถึงกับเอ่ยปากว่าหากมีปัญหาอะไรให้ช่วยท่านก็ยินดีจะช่วย และจะยินดีมากหากจะได้มีส่วนส่งเสียให้ได้เล่าเรียนต่อชั้นสูง ๆ แต่ถ้าไม่รับปากท่านสมภารจะนั่งอยู่อย่างนั้นไม่ยอมกลับวัด บิดาของท่านจึงยอมให้เรียนต่อ แต่จะไม่ยอมรบกวนท่านสมภารเด็ดขาดและจะส่งเสียให้เล่าเรียนด้วยตัวของท่านเองท่านได้เข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตและปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อท่านได้รับปริญญาโทแล้ว ก็ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์แผนกเคมี ในปี พ.ศ. 2488 ได้รับเงินเดือน เดือนละ 140 บาท ในขณะนั้นท่านนับเป็นอาจารย์หนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง […]
อธิการบดี “บุญสม ศิริบำรุงสุข” กับ 37 ปี ที่สงขลานครินทร์
“สงขลานครินทร์ อยู่ในพื้นที่ที่มีสถานการณ์เป็นตัวฉุดในการพัฒนา ดังนั้น การบริหารมหาวิทยาลัยแห่งนี้ จะต้องตั้งความฝันให้แรง ว่าจะนำมหาวิทยาลัยไปสู่จุดสูงสุดได้อย่างไร ในฝันนั้นคือ คน ม.อ.ต้องทำงานหนัก ต้องมีความสามัคคี ความฝันเหล่านี้จะเป็นจริงได้ ก็ต้องทำให้คน ม.อ. รัก ม.อ. ก่อน แล้วจะทำอย่างไรให้คน ม.อ.ทั้ง 5 วิทยาเขตรักกันเพื่อความเป็นปึกแผ่นของ ม.อ.เอง” รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งจะครบวาระการดำรงตำแหน่งอธิการบดีในวาระที่ 2 ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 เปิดใจถึงแนวคิดการบริหารมหาวิทยาลัยแห่งนี้ในระหว่างการดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นเวลาถึง 6 ปี และเป็นช่วงเวลาที่เหตุการณ์ในภาคใต้ เริ่มปะทุอย่างรุนแรงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ทำให้มีความยากลำบากมากขึ้นในการประคับประคองมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ไม่ให้ถูกลืมไปจากความทรงจำของคนทั้งประเทศ เหมือนกับที่คนไทยกำลังจะลืมสถานที่สำคัญหลายแห่งในภาคใต้ เช่น ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว หรือวัดช้างไห้ รวมทั้งเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ ช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อพลิกฟื้นสถานการณ์ให้ดีขึ้น แม้จะใช้เวลานานสักเพียงใดก็ตาม “อาจารย์บุญสม” เป็นคนจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความมุ่งหวังจะเป็นอาจารย์ตั้งแต่จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2518 ซึ่งเมื่อไปยื่นใบสมัครไว้ 2 […]