28th March 2024

ปี พ.ศ ๒๕๐๔
      รัฐบาลที่มีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีความเห็นว่าการจะพัฒนาภาคใต้ให้เจริญรวดเร็วนั้น จําเป็นต้องเร่งรัดพัฒนาทางด้านการศึกษา ซึ่งพิจารณาเห็นว่า เยาวชนในภาคใต้ที่สําเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาแล้วก็ต้องไปศึกษาที่กรุงเทพฯ หรือไม่ก็เดินทางไปศึกษาต่อที่มาเลเซีย ปีนังหรือสิงคโปร ซึ่งเป็นการสูญเสียเงินตราของประเทศ นอกจากนี้เนื่องจากในขณะนั้นสถานการณ์ในสี่จังหวัดภาคใต้ กําลังอยู่ในขั้นรุนแรงมาก อิทธิพลของโจรก่อการร้ายและขบวนการแยกดินแดนของกลุ่มต่าง ๆ และเพื่อเป็นการผอ่นคลายสถานการณ์ รัฐบาลจึงดําริที่จะจัดสร้างสถาบันการศึกษาชั้นสูงขึ้นในภาคใต้ 

       กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยได้รับมอบหมายจากรัฐบาล โดยผ่านทางรัฐมนตรีมหาดไทย ให้เป็นผู้จัดทําโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ โดยในขั้นแรกจะจัดเพียงขั้นวิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (College of Arts and Sciences) แล้วต่อไปจึงจะขยายใหเป็นมหาวิทยาลัย คณะกรรมการจัดตั้งได้ดําเนินการสํารวจพื้นที่ที่จะจัดสร้างที่บริเวณทุ่งนเรนทร์ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยจะดําเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ด้วยงบประมาณเพียง ๕ แสนบาทในระยะเริ่มแรก แต่โครงการดังกล่าวก็ต้องชงัก เพราะไม่ได้รับอนุมัติงบประมาณ

วันที่ ๔ เม.ย. ๒๕๐๕
       เปลี่ยนรัฐบาลใหม่เป็นจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลใหม่จึงแต่งตั้งให้พันเอก ถนัด คอมันตร์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาภาคใต้ เป็นประธานกรรมการจัดทําโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้

ปี พ.ศ. ๒๕๐๘
       คณะกรรมการพัฒนาภาคใต้ชุดใหม่นี้ ได้ดําเนินการจัดทําโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ต่อไป จนกระทั่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี โดยมีหลักการใหญ่ ๒ ข้อ คือ
๑. ให้มีมหาวิทยาลัยภาคใต้โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นก่อน ต่อไปจะจัดตั้งคณะครุศาสตร์ และคณะรัฐศาสตร์
ที่ ตำบลเขาตูม จังหวัดยะลา และคณะแพทยศาสตร์ ที่ตำบลเขาลูกช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ส่วนที่อำเภอหาดใหญ่จะมีคณะพาณิชยศาสตรและการบัญชี
๒. ในปี ๒๕๐๙ จะอนุมัติงบประมาณอีก ๓๐ ล้านบาท
         

        ๙ ธ.ค. ๒๕๐๘
        กรมโยธาเทศบาลในฐานะผู้รับผิดชอบในด้านการออกเบบอาคารต่าง ๆ จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปสํารวจคุณสมบัติของดิน ณ บริเวณที่จะก่อสราง

มี.ค. ๒๕๐๙
        เริ่มงานก่อสร้างที่ตําบลรูสะมิแล

 

พ.ย. ๒๕๐๙
       บุคคลสําคัญยิ่งสําหรับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ได้เข้าร่วมงานจัดตั้งมหาวิทยาลัยอย่างไม่เป็นทางการ ท่านผู้นี้คือศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข

วันที่ ๑๕ ก.พ. ๒๕๑๐
       ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการดําเนินการก่อตั้ง 

มี.ค. ๒๕๑๐
        จัดตั้งสํานักงานชั่วคราวที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถานที่แห่งนี้เวลาต่อมาชาวม.อ. ในรุ่นเก่า ๆ จะเรียกว่า “วิทยาเขตหน้าอํานวยศิลป” เพราะอยู่ตรงข้ามโรงเรียน
อํานวยศิลป์พระนครและโรงเรียนดังกล่าวดังจนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
อย่างไรก็ตามคําว่า “ชั่วคราว” ก็ใช้ เวลานานถึง ๕ ปี เพราะในเดือนเมษายน ๒๕๑๕ ชาว ม.อ.ได้โอนย้ายไปยังหาดใหญ่

เม.ย. ๒๕๑๐
        สภาการศึกษาแห่งชาติประกาศรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคใต้ รุ่นแรกจำนวน ๕๐ คน โดยที่ขณะนั้นมหาวิทยาลัยไม่มีอาจารย์ แม้แต่คนเดียว ดังนั้นในการสอบสัมภาษณ์นักเรียนก็ใช่อาจารยของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล สําหรับสถานที่เรียนในขณะนั้นได้อาศัยสํานักงานชั่วคราวเป็นที่เรียน และใช้โรงเรียนช่างฝีมือทหารเป็นห้องปฏิบัติการ จากนักศึกษารุนแรก ๕๐ คน ปรากฎว่าจบเป็นบัณฑิตรุ่นแรกได้เพียง ๑๓ คน โดยทั้ง ๑๓ คนนี้ยังเรียนที่สํานักงานชั่วคราวตลอดจนจบการศึกษา ในการนี้พันเอก ถนัด คอมันตร์ ได้รับตำแหน่งเป็นอธิการบดีคนแรก โดยมี ดร. สตางค์ มงคลสุข รักษาการคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์

ปี พ.ศ. ๒๕๑๐
       จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์เพื่อสอนวิชาพื้นฐานให้นิสิตวิศวกรรมศาสตร์ (สมัยนั้นใช้คําว่านิสิตจนกระทั่งถึงปี ๒๕๑๖ จึงเปลี่ยนเป็นนักศึกษาด้วยเหตุผลที่ไม่ทราบแนชัด) 

มิ.ย. ๒๕๑๐
      ดร. สตางค์ มงคลสุข  ดร. ประดิษฐ เชยจิตร ดร. ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ดร. นาท ตัณหวิรุฬห์ อาจารย์เย็นใจ เลาหวณิชย์ และนายนิพนธ์ มาศะวิสุทธิ์ ได้เดินทางมาตรวจที่ตั้งของมหาวิทยาลัยภาคใต้ ที่ตําบลรูสะมิแล จังหวัดปัตตานี ซึ่งขณะนั้นได้ เริ่มดําเนินการก่อสร้างไปแล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๐๙ โดยคณะสํารวจพิจารณาเห็นว่าที่ดินดังกล่าวไม่เหมาะสมทจะตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ เนื่องจากตั้งอยู่บนพื้นที่ชายเลนริมทะเลและชั้นเลนหนาประมาณ ๘ เมตร

มิ.ย. ๒๕๑๐
    ดร. สตางค์ มงคลสุข พร้อมด้วยนายแพทย์สวัสดิ์ สกุลไทย ได้นั่งรถผ่านสวนยางซึ่งเป็นที่ตั้งของวิทยาเขตหาดใหญ่ในปัจจุบัน ในขณะนั้นท่านเกิดความพอใจ จึงได้เจรจาขอซื้อแต่ได้รับการบริจาคโดยมิได้คิดมูลคาแต่ประการใดจากเจ้าของคือคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ซึ่งที่ดินดังกล่าวมีเนื้อที่ถึง ๖๙๐ ไร่ เดิมทีเดียวเราเคยเรียกศูนย์ศึกษาที่หาดใหญ่ว่าศูนย์อรรถกระวีสุนทรและเรียกศูนย์ปัตตานีว่าศูนย์รูสะมิแล ต่อมาในปี ๒๕๑๗ สมัยนายแพทย์สวัสดิ์ สกุลไทย เป็นอธิการบดีได้นําคำว่าวิทยาเขตมาใช้เป็นครั้งแรก แล้วเปลี่ยนชื่อศูนย์อรรถกระวีสุนทรเป็นวิทยาเขตหาดใหญ่ ศูนย์รูสะมิแลเป็นวิทยาเขตปัตตานี

ในปี ๒๕๒๐ มหาวิทยาลัยได้ตั้งชื่อหอสมุดกลางวิทยาเขตหาดใหญ่ว่า “หอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร” เพื่อเป็นการระลึกความดีของท่าน

๑๒ มี.ค. ๒๕๑๑
        คณะกรรมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ ได้พิจารณาเห็นว่าเพื่อให้สถาบันการศึกษาแห่งนี้เป็น ศูนย์รวมในด้านจิตใจของประชาชนชาวไทยจึงได้ขอพระราชทานชื่อว่า “มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” (Prince of Songkla University) และได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๘๕ ตอน ๒๔
โดยเรียกว่า
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๑๑ ดังนั้นเราจึงถือว่าวันที่ ๑๓ มีนาคม ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย

มิ.ย. ๒๕๑๑
      รับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์รุ่นแรก ๓๐ คน โดยในระยะแรกได้ฝากเรียนที่สํานักงานชั่วคราวเช่นเดียวกัน ต่อมาได้ยายไปศูนย์รูสะมิแล เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๑ นับเป็นการเริ่มต้นของคณะศึกษาศาสตร์ที่ปัตตานี  และด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันที่  ๙ พฤศจิกายน ของทุกปีจะมีงาน “วันรูสะมิแล” 

๒๗ มี.ค. ๒๕๑๒
       ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข เป็นอธิการบดีท่านที่ ๒ ท่านดํารงตําแหน่งนี้ จนถึงวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๑๔ (ดำรงตำแหน่งอธิการ ๒ สมัย)

มิ.ย. ๒๕๑๒
       รับนิสิตคณะวิทยาศาสตร์รุ่นแรก ๕๔ คน

๕ ก.ค. ๒๕๑๔
       นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ปีที่ ๒, ๓, ๔ จำนวน ๒๐๐ คน ย้ายมาประจําที่ศูนย์อรรถกระวีสุนทร 

๖ ก.ค. ๒๕๑๔
         ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ถึงแก่กรรม ซึ่งถือเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่มากของมหาวิทยาลัย แม้ว่าขณะนั้นเรายังไม่มีอะไรมากที่จะสูญเสีย เพราะเราเป็นมหาวิทยาลัยใหม่และยังไม่มีใครรู้จัก แต่เราได้สูญเสียอนาคตที่ทุกคนฝากความหวังไว้กับท่าน อย่างไรก็ตามการในการที่ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ถึงแก่กรรมหนังสือพิมพ์ทุกฉบับได้ลงข่าวนี้อยู่หลายวัน ทําให้สังคมเริ่มรู้จักคําว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มากขึ้น

มี.ค. ๒๕๑๕
      ศาสตราจารย์ ดร.บัวเรศ คําทอง เป็นอธิการบดีคนที่ ๓

ต.ค. ๒๕๑๕
      สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงมติเห็นชอบให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นคณะที่ตั้งขึ้น เนื่องจากปัญหาทางด้านสาธารณสุขของภาคใต้และความขาดแคลนบุคลากรทางด้าน การแพทย์ และสาธารณสุขของประเทศ รวมทั้งเพื่อให้การดําเนินการเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 คณะแพทยศาสตร์จึงได้รับ การจัดตั้งขึ้นเป็นคณะลําดับที่4 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สภามหาวิทยลัยสงขลานครินทร์ได้เล็งเห็นความจําเป็นและมีมติเห็นควร ให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2511 และดําเนินการ ขอจัดตั้งตามขั้นตอนของระบบราชการ จนกระทั่งถึงวันที่17 สิงหาคม พ.ศ. 2514 สภาการศึกษาแห่งชาติได้อนุมัติให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์เป็นคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัย ในวันที่27 ธันวาคม 2514 สภาปฏิวัติ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ โดยมีปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะกรรมการ ชุดนี้ได้แต่งตั้ง อนุกรรมการ วางแผนรวม (MasterPlanning Subcommittee ) เพื่อวางแผนการดําเนินงานของคณะแพทยศาสตร์ในระยะต้น โดยมี รองศาสตราจารย์นายแพทย์เกษม ลิ่มวงศ์ เป็นประธาน นายแพทย์ปราโมทย์ วีรานุวัตติ์ เป็นเลขานุการ จนลุล่วงถึงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2515 จึงได้มีประกาศ ราชกิจจานุเบกษา ให้คณะแพทยศาสตร์ เป็นหน่วยงานระดับคณะของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2515 และได้รับ ความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ให้ใช้สถานที่ของคณะเภสัชศาสตร์ เป็นสํานักงานชั่วคราว สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีมติให้ตั้ง คณะแพทยศาสตร์ ณ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ประกอบด้วยภาควิชา เริ่มแรก 11 ภาควิชา กับ 2 หน่วยงาน คณะแพทยศาสตร์สามารถรับนักศึกษารุ่นแรกได้ จํานวน 35 คน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยใช้สถานที่ของคณะวิทยาศาสตร์เป็นที่เรียนภาคทฤษฎี และระยะแรกใช้โรงพยาบาลหาดใหญ่ และโรงพยาบาลสงขลา เป็นที่เรียนภาคปฏิบัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดําเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2519 เพื่อให้เป็นสถาบันทางด้านการศึกษาวิจัย การรักษาพยาบาลและฝึกงานของบุคลากร ทางด้านการแพทย์ทุกแขนง และได้พระราชทานนามของโรงพยาบาลในภายหลังว่า “โรงพยาบาลสงขลานครินทร์” ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2520 คณะแพทยศาสตรก็ไดยายสํานักงาน คณบดีชั่วคราวจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลลงมาตั้งชั่วคราว ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และในช่วง 2 ปี ต่อมา คือ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 คณะแพทยศาสตร์ก็ได้บัณฑิตที่จบ การศึกษารุ่นแรกจํานวน 31 คน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ใช้ในการเรียนการสอน และการรักษาพยาบาลของคณะ สามารถเปิดบริการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนทั่วไปอย่างเป็นทางการจํานวน 100 เตียงแรก ได้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 ทําให้ประชาชนผู้ป่วยไข้ ได้รับบริการทางการแพทย์จาก สถานบริการ ที่มีคุณภาพเพิ่ม ขึ้นอีกแห่งหนึ่งในภาคใต้

พ.ศ. ๒๕๑๕
      นักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ทั้งหมดได้ย้ายมาอยู่ที่หาดใหญ่ ในขณะนี้คณะวิทยาศาสตร์มีเพียงตึกเคมีเพียงครึ่งหลัง ที่สร้างเสร็จแล้วอีกครึ่งหนึ่งกําลังกอสร้าง ตึกพักทองกําลังก่อสร้างเกือบแล้วเสร็จ ส่วนอาคารอื่น ๆ ที่ศูนย์หาดใหญ่นี้ ในขณะนั้นก็มีตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ หอพักนิสิตชาย ๒ ปีก หอหญิงปีกเดียว โรงอาหาร (คาเฟต) และบ้านพักอาจารย์อีกไม่กี่หลัง นอกจากนี้ก็มีอางเก็บน้ําซึ่งเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ (ซึ่งชาวบ้านทั่ว ๆ ไปจะเรียกมหาวิทยาลัยว่า “มหาวิทยาลัยอ่างนํา” เพราะเราสร้างอ่างเก็บน้ําเสร็จก่อนอย่างอื่น) ต่อมาเมื่อตราของมหาวิทยาลัยปรากฎต่อสายตาชาวบ้านมากขึ้นก็จะมีคําถามว่า “ม.อ.” ย่อมาจากอะไรซึ่งบางคนก็เข้าใจว่าคงเป็นเสียงร้องของวัว เพราะตอนนั้นชาวบานนวัวมาเลี้ยงกันในมหาวิทยาลัยจำนวนมาก แต่ในความจริงแล้วคำว่า “ม.อ.” เป็นอักษรย่อของพระนามเดิมของสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ามหิคลอดุลยเดช

มิ.ย. ๒๕๑๖
      เปิดรับนิสิตแพทย์รุนแรกจำนวน ๓๖ คน โดยวิธีการคัดเลือกจากนิสิตวิทยาศาสตร์ปีที่ ๑ จํานวน ๘๐ คน และในปีเดียวกันนี้มหาวิทยาลัยได้เปิดรับนิสิตพยาบาลอนุปริญญารุ่นแรก โดยการฝากเรียนที่วิทยาลัยพยาบาลสงขลา ต่อมานิสิตรุ่นนี้ได้รับการศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรีที่คณะศึกษาศาสตร์ วิชาเอกสุขศึกษา

ก.ค. ๒๕๑๖
      ศาสตราจารย์นายแพทย์ สวัสดิ์ สกุลไทย เป็นอธิการบดีคนที่ ๔ ท่านได้นําคําว่า “วิทยาเขต” แทนคําว่า “Campus” เป็นครั้งแรกของประเทศไทย

๒๓ เม.ย. ๒๕๑๖
       ทบวงมหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเปิดรับนักศึกษาเป็นรุ่นแรกในปีการศึกษา ๒๕๑๘ จํานวน ๗๕ คน

        และในวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๑๗ คณะวิทยาการจัดการได้รับอนุมัติให้จัดตั้งขึ้นอีกคณะหนึ่งและเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในเดือนมิถุนายน ๒๕๑๙ จํานวน ๔๘ คน

        ในปีเดียวกันนี้ได้เปิดโรงเรียนพยาบาลฐานะเทียบเท่าภาควิชาหนึ่งในคณะแพทย์ศาสตร์

         โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ทองใบ บุณยานันต์ เป็นผู้ริเริ่มดําเนินการจัดตั้งขึ้น และยกเลิกหลักสูตรอนุปริญญา เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาพยาบาล และประกาศนียบัตรผดุงครรภ์

ปี พ.ศ. ๒๕๑๘
       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข กุลลวณิชย์ เป็นอธิการบดีคนที่ ๕ โดยที่ท่านได้เป็นอธิการบดีอีกสมัยหนึ่งจนถึงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๒๒

 

ปี พ.ศ. ๒๕๑๙
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย ให้จัดตั้งขึ้นและในปีการศึกษา ๒๕๒๐ และได้รับนักศึกษาเป็นรุ่นแรก จํานวน ๖๐ คน

 

ปี พ.ศ. ๒๕๒๐
      จัดตั้งวิทยาเขตภูเก็ตและจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต ได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในหลักสูตรธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว

๑๘ ก.ค. ๒๕๒๓
        รองศาสตราจารย์นายแพทย์ทองจันทร หงศ์ลดารมภ์ เป็นอธิการบดีคนที่ ๖
                 

มิ.ย. ๒๕๒๒
        คณะเภสัชศาสตร์เปิดรับนักศึกษาเป็นรุ่นแรก จํานวน ๑๙ คน

ปี พ.ศ. ๒๕๒๓
        ยกฐานะโรงเรียนพยาบาลเป็นคณะพยาบาลศาสตร์ 

        และเปิดคณะบัณฑิตวิทยาลัย ได้รับนักศึกษารุนแรกสาขาเคมีศึกษา จํานวน 10 คน โดยมี รศ. ดร. พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา คณบดีคนแรก

ปี พ.ศ. ๒๕๒๖
       เปิดรับนักศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์รุ่นแรก จํานวน ๑๗ คน