ทำไม? มหาลัยสงขลานครินทร์ ใช้ชื่อย่อ ม.อ.
เขาว่ากันว่าคนที่พูดถึงความหลัง พูดถึงอดีตคือคนแก่หรือเริ่มแก่ ก็คงจะมีส่วนจริงอยู่ครับ เพราะสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นตัวบีบบังคับให้ต้องพูดถึงความหลัง จากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนเองประชาคม ม.อ. ส่วนหนึ่งในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาหรือบุคลากร ของมหาวิทยาลัยเองไม่รู้ ไม่เข้าใจ ความเป็นมาหรือประวัติของมหาวิทยาลัย คำถามที่พวกเราพบบ่อย ๆ ก็คือ “เอ๊ะ ม.อ. นี่ย่อมาจากอะไร ม. คงเป็นมหาวิทยาลัย แต่ อ. อ่าง นี่อะไรนะ… คนจำนวนมากไม่ทราบ ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเขาเรียกมหาวิทยาลัยว่า “มหาวิทยาลัยอ่างน้ำ” อ่างเก็บน้ำสร้างเสร็จก่อนอย่างอื่น ต่อมาเมื่อมีตราของมหาวิทยาลัยปรากฎต่อสายตาชาวบ้านมากขึ้น คำถามต่อมาคือ “ม.อ.” ย่อมาจากอะไรก็มีมากขึ้น บางคนถึงพูดว่า “คงเป็นเสียงร้องของวัวมั้ง” เพราะตอนนั้นชาวบ้านนำวัวมาเลี้ยงกันในมหาวิทยาลัยอย่างสะดวกสบาย แต่ในความจริงแล้ว (ซึ่งคนส่วนหนึ่งใน ม.อ. ก็ไม่ทราบ) ว่า ม.อ. คืออักษรย่อของพระนามเดิมของสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้า “มหิดลอดุลยเดช” มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้ แห่งที่ 3 ในส่วนภูมิภาคและแห่งที่ 9 ของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา สู่ดินแดนภาคใต้เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาของท้องถิ่นและเพื่อการสนับสนุนการพัฒนาภูมิภาค และนอกจากนี้ยังมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นมหาวิทยาลัยหลายวิทยาเขตในภาคใต้ เพื่อขยายโอกาสการศึกษาได้อย่างทั่วถึงในทุก ๆ […]
ความทรงจำในการบริจาคที่ดิน ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
ประมาณกลางปี พ.ศ. 2510 ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ซึ่งมีความสนิทสนมกับครอบครัวคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร เป็นอย่างดี ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดำเนินการก่อตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ ให้เป็นผู้จัดหาที่ดินเพื่อสร้างมหาวิทยาลัย หลังจากได้ไปดูมาหลายแห่งท่านถูกใจที่สวนยางที่ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเดิมเป็นของพระยาอรรถกระวีสุนทร เมื่อท่านถึงแก่อนิจกรรมไปในปี พ.ศ. 2500 จึงตกเป็นของคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร เมื่อศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ ทราบจึงได้มาติดต่อจะขอซื้อและให้ทราบถึงนใยบายของรัฐบาล ที่จะพัฒนาความเจริญไปสู่จังหวัดภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ภาคใต้ และยกระดับมาตรฐานการศึกษาสู่ท้องถิ่น คุณหญิงหลงฯ ได้นำเรื่องมาปรึกษากับลูก ๆ ซึ่งทุกคนก็เห็นว่าเป็นโอกาสอันดีที่ท่านจะได้ตอบแทนคุณแผ่นดิน สมตามความปรารถนาของท่านที่มีมานานแล้ว จึงได้ตอบให้ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ ทราบว่าท่านยินดีที่จะบริจาคเพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ในการนี้ในชีวิตของคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร วันที่ท่านมีความปลื้มปิติมากที่สุด คือวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2510 เวลา 11.00 น. ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พันเอกถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานกรรมการดำเนินงานก่อตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ นำคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร และบุตรธิดาสามคน เข้าผ้าทูลละอองธุลีพระบาท […]
รอยพระบาทยาตรา ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
“ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้เข้ามาเยี่ยมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และขอแสดงความยินดีที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้นมาเป็นผลสำเร็จ และมีนักศึกษาได้สำเร็จการศึกษามาแล้วแสดงว่าเป็นผลที่สมบูรณ์แล้ว การที่มหาวิทยาลัยได้ตั้งขึ้นมา ก็ต้องพิจารณาดูว่าต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่างที่เป็นสำนักศึกษา สถานศึกษาใด ๆ เราก็ต้องมาคิดดูว่าต้องมีสถานที่คือ อาคาร ห้องเรียน เครื่องมือสำหรับสอนสำหรับเรียนก็มีอยู่แล้ว โดยได้ตั้งขึ้นมาถึงสองแห่งที่หาดใหญ่และที่ปัตตานี การสร้างก็นับว่าสร้างขึ้นมาใช้ได้แล้ว และเข้าใจว่าจะต้องสร้างต่อไปอีกเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ…” นี่เป็นส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาท ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๑๓ และ ๒๕๑๔ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๑๕ ณ วิทยาเขตปัตตานี โดยในครั้งนั้น ศาสตราจารย์ ดร. บัวเรศ คำทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่พระองค์ท่าน และนั่นเป็นครั้งแรกที่เสด็จฯ สู่รั้วมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทรงเป็นมิ่งขวัญให้ชาวมทาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และประชาชนในละแวกใกล้เคียงได้ชื่นชมพระบารมี โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตร ณ วิทยาเขตปัตตานี และวิทยาเขตหาดใหญ่ จำนวนถึง ๑๖ […]
ม.อ. เปิดงาน “คุณค่าสงขลานครินทร์ ประจำปี 2567” ร่วมรำลึกถึงวันสถาปนา พร้อมเชิดชูผู้สร้างชื่อเสียงแก่มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน “คุณค่าสงขลานครินทร์ ประจําปี 2567” (PRIDE OF PSU 2024) ซึ่งเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 13 เดือนมีนาคม ของทุกปี เพื่อเป็นการยกย่องและสดุดีอาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ได้ช่วยกันสร้างผลงานจนเป็นที่ประจักษ์ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดย ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน รศ. ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคลและกิจการพิเศษ กล่าวรายงาน พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และนักศึกษา เข้าร่วมงาน ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 67 ที่ผ่านมา ผศ. ดร. นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า… วันที่ 13 […]
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดการประชุมวิชาการ STT49
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดการประชุมวิชาการ STT49 วันนี้ (23 มกราคม 2567) เวลา 14.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานทรงเปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 49 The 49th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT49) ในหัวข้อ “SDGs FOR THE BENEFIT OF MANKIND” ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมี รองศาสตราจารย์ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศาสตราจารย์ ดร.อัญชนา ประเทพ […]