วิวัฒนาการการฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรียของหอสมุดคุณหญิงหลงฯ ในช่วงโควิด-19
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่เพิ่งค้นพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 ส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และหายจากโรคนี้ได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษาพิเศษ การแพร่ระบาดของโรค ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 จะแพร่กระจายผ่านฝอยละอองเป็นหลัก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ติดเชื้อไอ จาม หรือหายใจออก ฝอยละอองเหล่านี้มีน้ำหนักมากเกินกว่า จะลอยอยู่ในอากาศ และจะตกลงบนพื้นหรือพื้นผิวอย่างรวดเร็วคุณอาจติดเชื้อได้จากการหายใจเอาไวรัสเข้าสู่ร่างกายเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 หรือโดยการสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสแล้วสัมผัสตา จมูก หรือปากของตนเอง ทางหอสมุดคุณหญิงหลงฯเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จึงได้มีมาตรการการฆ่าเชื้อโรคบนหนังสือซึ่งในระยะแรกทางหอสมุด ยังไม่มีเครื่องมือในการฆ่าเชื้อโรค จึงใช้วิธีทางธรรมชาติ โดยการนำหนังสือมาตากแดดร้อนๆ เป็นเวลา 3 ชั่วโมง แล้วนำมาขึ้นชั้นปกติ แต่วิธีนี้ก็ไม่แน่นอนว่าเชื้อโรคจะตายหมดหรือเปล่า ช่วงต่อมา คุณสมพงศ์ หุตะจูฑะ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ของสำนักฯ ได้ทำการประดิษฐ์เครื่อง UVC เพื่อใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคได้ภายใน 30 วินาที ซึ่งใช้ UVC ชนิดหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาด 6 วัตต์ ไฟ 220 โวลท์ แต่ห้ามมองตรงแสงของหลอดโดยเด็ดขาดเพราะจะเป็นอันตรายต่อสายตาได้ เครื่องนี้สามารถใช้ได้กับหนังสือที่มีขนาดไม่เกินเอ 4 เท่านั้น […]