Category: งานห้องสมุด

How to Return Books ???

คำถามนี้เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ทางบรรณารักษ์จะได้พบเจอบ่อย ๆ เนื่องจากสถานการณ์ของโคโรน่าไวรัสนั้น ผู้ใช้บริการหลายท่านจึงไม่สะดวกที่จะนำมาคืนในเวลาทำการ และเพื่อเป็นการเลี่ยงการพบเจอผู้คน ลดการไปที่แออัด จึงได้รับคำถามที่ว่า จะสามารถคืนหนังสือได้อย่างไร กรณีที่ไม่สะดวกมาคืนในเวลา ซึ่งบรรณารักษ์อ้อแอ้ ขอมาตอบคำถามนี้กันค่ะ สำหรับคำตอบแรกคือ คืนผ่านทางตู้รับคืนหนังสือ (Book Drop) ที่จุดบริการชั้น 1 และชั้น 3 ผู้ใช้สามารถคืนได้ตลอด 24 ชั่วโมง เรียกว่าสะดวกมาคืนตอนไหนก็ได้ค่ะ หย่อนแล้วกลับเลย ไม่พบเจอเจ้าหน้าที่หรือผู้คนแออัดแน่นอนค่ะ คืนผ่านไปรษณีย์ ในกรณีนี้ เพื่ออำนวยประโยชน์ให้กับนักศึกษาที่เรียนออนไลน์ หรือผู้ใช้ที่อยู่ต่างจังหวัด ไม่สามารถเดินทางเพื่อนำหนังสือมาคืนได้ วิธีนี้ก็จะช่วยได้ค่ะ โดยส่งมาตามที่อยู่ด้านล่างนี้เลยค่ะที่อยู่ 15 สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ต. คอหงส์ อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา 901100-7428-2352 ได้รับคำตอบไปแล้วนะคะ สำหรับการคืนหนังสือนอกเวลาที่หอสมุดทำการ และบรรณารักษ์ขอแนะนำอีกเรื่องสำหรับกรณีคืนหนังสือช้า กว่ากำหนดส่ง แล้วเกิดค่าปรับ ก็สามารถทำการชำระค่าปรับย้อนหลังได้ ผ่าน QR Payment ง่าย ๆ จากที่บ้านหรือหอพักได้ เพียงสอบถามค่าปรับและวิธีการชำระค่าปรับได้จากเพจเฟซบุ๊ก […]

การสแกนสารบัญวารสารใหม่

        บริการสารบัญวารสารใหม่ทันใจ คือ บริการสแกนสารบัญวารสารที่มาใหม่ในห้องสมุดส่งให้ผู้ใช้บริการผ่านทางอีเมล์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ทราบถึงรายละเอียดว่าวารสารฉบับนั้น ๆ มีบทความที่ตนเองสนใจหรือไม่ เกี่ยวกับอะไรบ้าง และเพื่อลดการเสียเวลาในการค้นหาวารสารบนชั้นหนังสืออีกด้วย           ขั้นตอนการสแกนสารบัญวารสาร           1. คัดแยกวารสารที่ต้องทำการสแกนตามรายชื่อที่ผู้ใช้บริการต้องการสารบัญ           2. เปิดโปรแกรม Canon MP Navigator EX เพื่อสแกน >> คลิกเลือก PDF            3. นำวารสารที่ต้องการสแกนวางบนเครื่องสแกน          4. หลังจากเลือก PDF แล้ว […]

เทคนิคการร่างหนังสือราชการอย่างง่าย

         สวัสดีค่ะทุกท่าน กลับมาพับกบเอ้ย ! พบกลับสาระดีดีเช่นเคยนะคะ สำหรับวันนี้ผู้เขียนจะขอเล่าเทคนิคการร่างหนังสืออย่างง่าย เชื่อว่าหลายๆท่านที่ทำงานในหน่วยงานของรัฐหรือทำงานเอกชนเองก็ตาม ต่างก็คงเคยเห็นหนังสือราชการ อันที่จริงแล้วตามระเบียบงานสารบรรณเองก็จะแบ่งประเภทของหนังสือราชการ เป็น 6 ประเภท ได้แก่ หนังสือภายใน หนังสือภายนอกหนังสือสั่งการ หนังสือประทับตรา หนังสือประชาสัมพันธ์และหนังสือที่เจ้าหน้าที่ทําขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ ซึ่งหนังสือทุกประเภทล้วนก็มีความสำคัญและใช้ตามบริบทที่ต่างกันออกไป    ด้วยตัวผู้เขียนเองปฏิบัติหน้าที่งานสารบรรณ สังกัดฝ่ายสนับสนุนงานบริหาร ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ วันนี้ก็จะขอรวบรวมเทคนิคการร่างหนังสือราชการอย่างง่าย สำหรับทุกท่านที่ทำงานในหน่วยงานของรัฐซึ่งต้องติดต่อกันไปมาระหว่างหน่วยงานทั้งในม.อ. หรือหน่วยงานอื่นๆ ก็ดี  ในบล็อกนี้จะไม่ขอลงรายละเอียดลึก แต่จะขอเล่าถึงส่วนประกอบที่สำคัญและเทคนิคดีดีของการร่างหนังสือราชการนะคะ มาดูกันเลยค่ะ 1. การเขียนหัวเรื่อง คือหัวเรื่องที่เราต้องการจะสื่อ เน้นใจความย่อสั้นที่สุด กระชับ โดยเราจะต้องคำนึงถึงสองส่วน ได้แก่ให้พอรู้ใจความของหนังสือ และให้สะดวกแก่การเก็บค้นอ้างอิง เพราะฉนั้นเรื่องที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้ค่ะ – ย่อสั้นที่สุด ไม่ควรเกิน 2 บรรทัด – สื่อใจความหลักของสาร ดูแล้วรู้ว่าผู้ส่งสารต้องการอะไรจากเรื่องนี้ เน้นเป็นประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำกริยา เช่น ขอความอนุเคราะห์/ขอส่งข้อมูล/ตรวจสอบหนี้สิน/ขอความร่วมมือ – แยกความแตกต่างจากเรื่องอื่นได้ เพื่อความสะดวกในการค้นหาและใช้อ้างอิง […]

Back To Top