Blog

PSU 5G Showcase

       วันนี้ได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรม PSU 5G Showcase ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ร่วมกับบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสาธิตนวัตกรรมล้ำสมัย ตลอดถึงแสดงศักยภาพด้านความเร็วของระบบเครือข่าย 5G ที่สามารถใช้งานได้จริง จากการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนของท่านรศ. ดร. ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ได้ร่วมมือกับบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในการนำเทคโนโลยี 5G รวมทั้งเทคโนโลยีอนาคตมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาด้านการศึกษา นวัตกรรม การวิจัย การทดสอบ และเทคโนโลยีให้มีความเป็นเลิศ รวมทั้งสามารถนำผลการวิจัย และผลการทดสอบมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ภาคอุตสาหกรรม และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งระบบที่ได้นำเทคโนโลยี 5G มาใช้ ได้แก่ระบบรักษาความมั่นคง ระบบสาธารณสุขทางไกล ระบบสนับสนุนทางการแพทย์ ระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ระบบขนส่ง และจราจรอัจฉริยะ สิ่งแวดล้อม พลังงาน เกษตรกรรม และเทคโนโลยีใหม่ที่มีความสนใจร่วมกัน […]

แปลงไฟล์ภาพเป็นข้อความ (OCR)

     เมื่อวันพุธที่ 4 ธันวาคม 62 ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในหัวข้อ “แค่ถ่ายรูปก็ได้เรื่อง ด้วย LINE และ Google Docs” ทั้งนี้เพื่อการประยุกต์เทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ที่เราใช้กันอยู่ชีวิตประจำวันมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ประเด็นที่ว่าแค่ถ่ายรูปก็ได้เรื่องด้วย LINE และ Google Doc ก็คือเทคนิคการแปลงไฟล์ภาพเป็นข้อความที่เรียกว่า OCR ซึ่งย่อมาจาก Optical Character Recognition เป็นกระบวนการที่ใช้ในการแปลงสื่อสิ่งพิมพ์ที่อยูในรูปแบบของกระดาษ ให้กลายเป็นข้อความซึ่งสามารถทำการบันทึกเป็นไฟล์ข้อมูล และนำไปใช้ร่วมกับโปรแกรมอื่น ๆ ในคอมพิวเตอร์ได้ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ เป็นต้น หลักการทำงานของ OCR นั้นจะทำงานเหมือนกับเครื่องสแกนเนอร์ ซึ่งทำงานโดยใช้แสงและเลนส์ หรือที่เรียกกันว่า Optical Scanner ทำการสแกนข้อความบนหน้ากระดาษ แล้วแตกข้อมูลตัวอักษรมาสู่อนุกรมแบบจุด ซึ่งเรียกว่า Bitmap แล้วแปลไปเป็นข้อความคอมพิวเตอร์(แปลตรง ๆ ได้ว่าเครื่องอ่านอักขระด้วยแสง) หมายถึง ความสามารถของคอมพิวเตอร์ และการใช้โปรแกรมทำให้แสงผ่านตัวอักขระหรือภาพ แล้วสามารถรับรู้ นำเข้าไปเก็บในหน่วยความจำและนำไปประมวลผลได้ ซึ่งจะทำให้ทุ่นเวลากว่าการส่งข้อมูลเข้าด้วยแป้นพิมพ์ได้มาก OCR เป็นโปรแกรมแปลงไฟล์ภาพที่มีนามสกุล […]

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ”การจัดการความรู้แบบบทเรียนประเด็นเดียว (One Point Lesson (OPL)) เพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานขององค์กรเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน

       เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 ทางคณะกรรมการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้แบบบทเรียนประเด็นเดียว (One Point Lesson (OPL)) เพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานขององค์กรเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน ให้กับบุคลากรของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกรวีสุนทร  ซึ่งโครงการนี้คณะกรรมการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ได้รับอนุมัติงบประมาณเงินรายได้จากสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร จำนวน 19,000 บาท โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 39 คน โดยวิทยากรผู้มากความรู้และประสบการณ์คือ ผศ. ดร. เธียรชัย พันธ์คง จากมหาวิทยาลัยหาดใหญ่       สำหรับการอบรมในวันนั้นประเด็นหรือโจทย์หลักก็คือ One Point Lesson (OPL) หรือบทเรียนหนึ่งประเด็น และการพัฒนางานด้วยไคเซน (Kaizen) ซึ่งในความตั้งใจของคณะกรรมการ KM ที่ได้จัดอบรมในครั้งนี้คือต้องการให้ผู้เข้าอบรมได้ความรู้ไปพัฒนางานของตนเอง โดยผมจะสรุปบรรยากาศการอบรมในวันนั้นมาเล่ากันฟังพอเป็นสังเขป ช่วงเช้าวิทยากรได้พูดถึงประเภทของบทเรียนไว้ว่ามีหลายประเภทไม่เฉพาะแต่ OPL อย่างเดียวเท่านั้น อาทิ              • […]

การคิดวิเคราะห์

     ความหมายของการคิดวิเคราะห์ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของคำว่า “คิด” หมายความว่าทำให้ปรากฏเป็นรูป หรือประกอบให้เป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง คาดคะเน คำนวณ มุ่ง จงใจ ตั้งใจ ส่วนคำว่า “วิเคราะห์” มีความหมายว่าใคร่ครวญ แยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อศึกษาให้ถ่องแท้ดังนั้นคำว่า “คิดวิเคราะห์” จึงมีความหมายว่าทำให้ปรากฏเป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ โดยการใคร่ครวญ ไตร่ตรอง โดยการแยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อศึกษาให้ถ่องแท้              จากการศึกษาความหมายของการคิดวิเคราะห์ สรุปได้ว่าการคิดวิเคราะห์เป็นกระบวนการทางปัญญา เป็นการคิดอย่างรอบคอบตามหลักของการประเมิน และมีหลักฐานอ้างอิง เพื่อหาข้อสรุปที่น่าเป็นไปได้เป็นการคิดแบบตรึกตรองและมีเหตุผล เป็นความสามารถในการคิดแยกแยะส่วนย่อยออกจากองค์ประกอบ โดยการใคร่ครวญ ไตร่ตรอง คิดอย่างรอบคอบว่าประกอบไปด้วยสิ่งใด มีความสำคัญอย่างไร และสามารถบอกได้ว่า เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นอย่างไร มีแนวโน้มไปในทางใด เพื่อประกอบการตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล            […]

“ALIST OPAC” Application แอพดีบอกต่อ

หอสมุดคุณหญิงหลงใช้ระบบห้องสมุดอัติโนมัติด้วยระบบ ALIST ที่พัฒนาโดยศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการกับผู้ใช้บริการ ที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เสมือนเข้าใช้บริการหอสมุดได้ผ่าน ALIST OPAC Application นี้เอง

OAR Smart Office

     เมื่อวันพุธที่ 9 ตุลาคม 2562 เวลา 10.00-11.00 น. ได้มีการบรรยายเกี่ยวกับการใช้  OAR Smart Office โดยน้องขิม ประวีณ ถาวรจิตร ที่ห้องอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 3 สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ซึ่งนับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการนำเทคโนโลยีมาบริหารจัดการองค์กรในยุค 4G OAR Smart Office คืออะไรOAR Smart Office คือระบบสำนักงานอัตโนมัติที่สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้พัฒนาขึ้นและนำมาใช้มาใช้ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ โดยเฉพาะงานพัสดุ ได้แก่งานด้านการจัดซื้อจัดจ้าง งานคลังวัสดุ งานทะเบียนสินทรัพย์ ซึ่งภารกิจเหล่านี้จะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลด้านการใช้จ่ายเงินงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ ซึ่งทางฝ่ายสนับสนุนการบริหาร สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ได้นำมาใช้เพื่อการบริหารจัดการองค์กรที่สะดวกและรวดเร็ว ที่สำคัญสามารถตอบสนองความต้องการของบุคลากรระบบได้เป็นอย่างดี…. สำหรับเส้นทางการเข้าใช้งานให้เข้าไปที่ OAR Smart Office ได้เลยครับ

เทคนิคการประชุมระดมความคิดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก

     ความรู้หลักที่เป็นเป้าหมายของการจัดการความรู้คือความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่จับต้องยากหรือไม่ได้เลย แลกเปลี่ยนยากในบางครั้งแม้เจ้าตัวก็ไม่รู้ว่าตนมีความรู้นั้น จึงต้องมีวิธีการแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึกนี้ในตลาดนัดความรู้ และในการประชุมระดมความคิด      วิธีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ฝังลึกซึ่งผูกพันอยู่กับประสบการณ์หรือการปฏิบัติ วิธีที่ดีที่สุดคือทำให้ดู หรือฝึกหัดทำด้วยกัน วิธีนี้เหมาะกับความรู้ที่เป็นทักษะด้านการลงมือทำ แต่ในกรณีของการปฏิบัติที่ไม่ใช่การใช้มือหรือร่างกาย แต่เป็นการดำเนินการผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน โดยคนหลายคน วิธีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฝังลึกที่ใช้กันมากในปัจจุบันคือการเล่าเรื่อง (storytelling) ซึ่งถือเป็นเทคนิคหนึ่งของการจัดการความรู้ เทคนิคการประชุมโดยใช้การเล่าเรื่อง (storytelling)      เป้าหมายสำคัญที่สุดของการเล่าเรื่องคือให้ผู้มีความรู้จากการปฏิบัติ ปลดปล่อยความรู้ที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของหัวใจ (ความเชื่อ), ในส่วนลึกของสมอง (ความคิด), และในส่วนลึกของร่างกาย (การปฏิบัติ) ออกมาเป็นคำพูด และหน้าตาท่าทาง (non-verbal communication) การปล่อยความรู้จากการปฏิบัตินี้ ผู้ปล่อยจะอยู่ในสภาพที่มีทั้งจิตใต้สำนึก และจิตสำนึก (subconscious & conscious) ย้ำว่าเรามีเป้าหมายให้เกิดการสื่อสารทั้งโดยใช้จิตสำนึก และจิตใต้สำนึก ดังนั้นถ้าฝึกปฏิบัติจนมีความชำนาญ การเล่าเรื่องจะปลดปล่อยความรู้ออกมาอย่างทรงพลังอย่างไม่น่าเชื่อ      วิธีการและขั้นตอนของการเล่าเรื่องมีดังต่อไปนี้    กำหนด “หัวปลา” ให้ชัด ซึ่งหมายถึงเป้าหมายของการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังตัวอย่างการประชุมในตลาดนัดความรู้ของชาวนา […]

สรุปขั้นตอนสำคัญในการนำ KM ไปใช้ในองค์กร (ตอนที่ 3)

โดย สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส. หรือ KMI)     เราอาจจะมองว่าขั้นตอนแรกนั้นเป็นการทำความเข้าใจในระดับผู้บริหารเป็นการสร้างความตระหนักสร้างการมีส่วนสร้าง Ownership และ Commitment ในเรื่อง KM จากกลุ่มผู้บริหาร ส่วนขั้นตอนที่สองเป็นการพัฒนาผู้ที่จะมาเป็นแขนเป็นขาให้ผู้บริหาร จะเรียกคนเหล่านั้นว่า “คุณอำนวย” หรือบางแห่งอาจใช้คำว่า “KM FA”, “Change Agent” ก็ได้ ลำพังชื่อที่ใช้เรียกคงไม่ใช่ประเด็นใหญ่อะไร สิ่งที่สำคัญคือเรื่องใจของคนเหล่านั้นว่าเขาเห็นความสำคัญของบทบาทนี้หรือไม่ว่าเขาคือกำลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้นั่นเอง       เมื่อ “คุณเอื้อ” มีความพร้อม “คุณอำนวย” มีความพร้อมและองค์กรมี Roadmap (จากขั้นตอนแรก) แล้วว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ความรู้เรื่องอะไรเป็นเรื่องหลักที่จะต้องจัดการ ที่จะทำการ “ต่อยอด” ต่อไป  ขั้นตอนที่สาม ก็คือการทำให้ “คุณกิจ” (คนทำงาน ผู้ที่ประสบการณ์ด้านนั้นๆ) ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) กัน การ ลปรร. นี้มีหลายรูปแบบด้วยกัน ที่เป็นธรรมชาติมากที่สุดก็คือการทำให้ “เนียน” ไปกับงานที่ทำอยู่ บางที่มีการประชุมอยู่แล้วก็สอดแทรกวิธีการ […]

สรุปขั้นตอนสำคัญในการนำ KM ไปใช้ในองค์กร (ตอนที่ 2)

โดยสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส. หรือ KMI)      ก่อนที่จะพูดถึงขั้นตอนต่อไป ผม (ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช) ขอใช้เวลาสั้น ๆ ทบทวนขั้นตอนที่ผ่านมาก (ขั้นตอนแรก) ก่อนว่า “Executive Overview” Session  ที่กล่าวไว้ในขั้นตอนแรกนั้น บางองค์กรก็จัดขึ้นมาเพียงสั้นๆ ใช้เวลาแค่ไม่กี่ชั่วโมง (เพราะผู้บริหารระดับสูงไม่ค่อยมีเวลา) แล้วจึงไปจัดเพิ่มในลักษณะ Workshop ที่ใช้เวลา 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับว่าต้องการจะได้อะไร ถ้าต้องการเพียงแค่ Knowledge Map ก็อาจจะใช้เพียง 2 วัน แต่หากต้องการวางแผนร่วมกัน (KM Planning) ต้องการจะได้ KM Roadmap ก็อาจจะต้องใช้เวลา 3 วันก็ได้     สำหรับขั้นตอนต่อไป เราจะมุ่งความสนใจมาที่เรื่อง “การพัฒนา Knowledge Facilitator” หรือที่ สคส. เรียกกันว่า […]

สรุปขั้นตอนสำคัญในการนำ KM ไปใช้ในองค์กร (ตอนที่ 1)

โดย สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส. หรือ KMI)      แม้ว่า สคส. จะทำงานด้านนี้มาเป็นเวลากว่าสิบปีแล้วก็ตาม แต่บทความที่เขียนอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการนำ KM ไปใช้ในองค์กรอย่างเป็นขั้นเป็นตอนนั้นถือว่ามีน้อยมาก งานเขียนหรือบันทึก (บล๊อก) ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปของการเล่าประสบการณ์เป็นงานๆ ไป ภายใต้ความเชื่อที่ว่าการนำ KM ไปใช้นั้นไม่สามารถลอกเลียนกันได้ เพราะในแต่ละองค์กรนั้นล้วนมีบริบทที่แตกต่างกันไป บางทีการเขียนสรุปออกมาเป็นขั้นตอนที่ตายตัวเพื่อให้นำไปใช้อาจก่อผลร้ายมากกว่าผลดีก็ได้    เนื่องในโอกาสที่ สคส. essay preis. เปิดตัวเว๊ปไซด์ใหม่และต้องการให้คนใน สคส. เขียนบทความมากขึ้น ผม (ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช) เองก็คิดว่าคงจะถึงเวลาแล้วที่จะต้องสรุปประสบการณ์ต่าง ๆ ออกมาเป็นบทความบ้าง จึงขอประเดิมด้วยการ “ตกผลึก” คำแนะนำต่าง ๆ ที่เคยให้กับองค์กรต่าง ๆ ไว้ในบทความนี้ โดยจะทยอยเขียนออกมาเป็นตอน ๆ เพื่อสะท้อนให้เห็นเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการนำ KM ไปใช้ในองค์กรว่ามีขั้นตอนอะไร และปัจจัยที่สำคัญในแต่ละขั้นตอนนั้นเป็นอย่างไร โดยได้แบ่งเนื้อหาออกมาเป็นบทความหลายตอน ทั้งนี้เพื่อที่บทความแต่ละตอนจะได้ไม่ให้ยาวจนเกินไป สำหรับในตอนแรกนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก หากไม่ได้ทำหรือข้ามขั้นตอนนี้ไป […]

Back To Top
Chinese (Simplified)EnglishFrenchGermanItalianSpanishThai