How to Return Books ???
คำถามนี้เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ทางบรรณารักษ์จะได้พบเจอบ่อย ๆ เนื่องจากสถานการณ์ของโคโรน่าไวรัสนั้น ผู้ใช้บริการหลายท่านจึงไม่สะดวกที่จะนำมาคืนในเวลาทำการ และเพื่อเป็นการเลี่ยงการพบเจอผู้คน ลดการไปที่แออัด จึงได้รับคำถามที่ว่า จะสามารถคืนหนังสือได้อย่างไร กรณีที่ไม่สะดวกมาคืนในเวลา ซึ่งบรรณารักษ์อ้อแอ้ ขอมาตอบคำถามนี้กันค่ะ สำหรับคำตอบแรกคือ คืนผ่านทางตู้รับคืนหนังสือ (Book Drop) ที่จุดบริการชั้น 1 และชั้น 3 ผู้ใช้สามารถคืนได้ตลอด 24 ชั่วโมง เรียกว่าสะดวกมาคืนตอนไหนก็ได้ค่ะ หย่อนแล้วกลับเลย ไม่พบเจอเจ้าหน้าที่หรือผู้คนแออัดแน่นอนค่ะ คืนผ่านไปรษณีย์ ในกรณีนี้ เพื่ออำนวยประโยชน์ให้กับนักศึกษาที่เรียนออนไลน์ หรือผู้ใช้ที่อยู่ต่างจังหวัด ไม่สามารถเดินทางเพื่อนำหนังสือมาคืนได้ วิธีนี้ก็จะช่วยได้ค่ะ โดยส่งมาตามที่อยู่ด้านล่างนี้เลยค่ะที่อยู่ 15 สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ต. คอหงส์ อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา 901100-7428-2352 ได้รับคำตอบไปแล้วนะคะ สำหรับการคืนหนังสือนอกเวลาที่หอสมุดทำการ และบรรณารักษ์ขอแนะนำอีกเรื่องสำหรับกรณีคืนหนังสือช้า กว่ากำหนดส่ง แล้วเกิดค่าปรับ ก็สามารถทำการชำระค่าปรับย้อนหลังได้ ผ่าน QR Payment ง่าย ๆ จากที่บ้านหรือหอพักได้ เพียงสอบถามค่าปรับและวิธีการชำระค่าปรับได้จากเพจเฟซบุ๊ก […]
อยากรู้ไหม? วารสารใดบ้างอยู่ ฐานข้อมูล Web Of Science
5 เว็บไซต์ลอยกระทงออนไลน์ในยุค 4.0
“วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำก็นองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริงวันลอยกระทง…” ลอยกระทงทุกปี เปลี่ยนไอเดียในการลอยกระทงแบบรักษ์โลกหน่อยเป็นไง ยิ่งถ้าคุณไม่สะดวกเดินทาง กลัวคนเยอะ เลี่ยงพื้นที่แออัด ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แถมยังอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และไม่เพิ่มขยะอีกด้วย วันนี้หน่องมาแนะ 5 แหล่งเว็บไซต์ “ลอยกระทงออนไลน์” จะลอยผ่านสมาร์ตโฟน iPad คอมพิวเตอร์ ที่บ้าน หอพัก บนทางด่วน ไม่ว่าที่ใดก็ทำได้ ตามยุค 4.0 จ้า E-card design animation Kapook.com Longdo MThai.com Sanook.com
5 เว็บไซต์แหล่ง Templates PowerPoint Free!
การตกแต่งสไลด์นำเสนอให้สวยงาม ดูดีนั้น เป็นเรื่องหนึ่งที่ผู้นำเสนอต้องให้ความสำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นตัวเรียกความสนใจจากผู้ฟังได้แล้ว ยังเป็นที่น่าติดตาตรึงใจอีกด้วย ว่าพี่คนนี้นำเสนอดีแล้ว ไอเดียการตกแต่งสไลด์ก็สวย น่าสนใจตลอดการนำเสนอ เป็นที่น่าประทับใจ อะไร ๆ ก็ดูดี แต่การออกแบบสไลด์ให้น่าสนใจก็ต้องใช้เวลาในเรียนรู้อีก ใช้เวลาในการออกแบบนานแน่ ๆ !! หมดกังวลค่ะ เพราะวันนี้หน่องมาแนะนำ 5 แหล่งเทมเพลต PowerPoint Free 1. Canva 2. PPTMON 3. Slidesgo 4. Powerpointhub 5. ALLPTT.com ยังไงก็ลองดาวน์โหลดไปใช้งานดูนะคะ หากเทมเพลตไหนมีลิขสิทธิ์ก็อย่าลืมให้เครดิต และถ้าชอบบทความนี้ก็อย่าลืมแชร์ไปให้เพื่อน ๆ กันน้า ^^
PSUKB ตอนที่ 1 การติดตั้งแม่ข่าย
แม่ข่าย หรือ Server คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ พร้อมที่จะติดตั้งระบบบริการอื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์ ระบบปฏิบัติการที่ใช้อาจจะเป็นระบบปฏิบัติการในค่าย Linux หรือค่าย MS Windows ก็ได้ ส่วนแม่ข่ายอาจจะเป็นแม่ข่ายที่เป็น Hardware (Physical server) หรือ VM (Virtual Machine) ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น Physical server หรือ VM ก็ต้องกำหนดว่า จะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะในระดับใด เช่น CPU แบบใด จำนวนกี่ Core มีหน่วยความจำกี่ GB ฮาร์ดดิสก์สำหรับระบบ และข้อมูลต้องมีความจุเท่าไร เป็นต้น ระบบคลังปัญญามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นแรกที่ถือกำเนิดเมื่อปี 2552 สำนักฯ เลือกใช้ Physical […]
การติดตั้ง/ดูแล DSpace สำหรับ PSU Knowledge Bank
ขอวางโครงการเขียนไว้ก่อน ดังนี้ การติดตั้งแม่ข่าย การติดตั้ง Database Server — PostgreSQL การติดตั้ง Web Server — Nginx การติดตั้ง Java Application Server — Tomcat การติดตั้ง DSpace — กรณีติดตั้งใหม่เลย การอัพเกรด DSpace การสำรองข้อมูลของ PSU Knowledge Bank จิปาถะ
สร้างรายได้ ด้วยแอป Blockdit
ในปัจจุบันสื่อมีอิทธิพลมากต่อการเสพข่าวสารต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งสื่อที่มาจากโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แต่ช่องทางหลักๆ ที่คนปัจจุบันใช้เสพข่าวนั่นก็คือ ช่องทาง Social Media นั่นเองค่ะ ไม่ว่าจะเป็นทาง Facebook Twitter หรือ Line เมื่อเราเปิดแอปพลิเคชัน ก็ได้พบเจอกับข่าวสารมากมาย แต่หลายครั้งข่าวสารที่เราอ่านอาจจะไม่ใช่ข่าวสารที่เป็นข้อมูลจริงทั้งหมดก็ได้ กล่าวคืออาจจะถูกบิดเบือนโดยผู้เขียนข่าวนั่นเอง ทว่าเมื่อเราได้เสพข่าวไปแล้ว และไม่รู้ว่าข่าวนั้นถูกบิดเบือน เมื่อมีการบอกต่อ อาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้ค่ะ นั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดแอปพลิเคชัน ชื่อว่า Blockdit (บล็อกดิต) เป็นแอปพลิเคชันที่มีการนำเสนอข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงในรูปแบบของ block หรือ “กล่องข้อความ” ให้สามารถอ่านได้ง่าย สะดวกในการใช้งาน นอกจากนี้ทางแอปยังเปิดช่องทางให้บุคคลทั่วไปเข้ามาสมัครเขียนสร้างคอนเทนต์ให้กับคนอื่นๆ ได้อ่านอีกด้วย บอกเลยว่าเอาใจคนชอบเขียน ชอบแชร์ข้อมูล สร้างรายได้เลยทีเดียวค่ะ รู้หมือไร่ เอ้ยรู้หรือไม่คะว่าแอปพลิเคชัน Blockdit มีที่มาจากคำว่า Block ที่สื่อถึงการนำเสนอในรูปแบบกล่องข้อความ และคำว่า Edit ที่แปลว่าเรียบเรียงเลยรวมกันกลายเป็นคำว่า Blockdit […]
การสแกนสารบัญวารสารใหม่
บริการสารบัญวารสารใหม่ทันใจ คือ บริการสแกนสารบัญวารสารที่มาใหม่ในห้องสมุดส่งให้ผู้ใช้บริการผ่านทางอีเมล์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ทราบถึงรายละเอียดว่าวารสารฉบับนั้น ๆ มีบทความที่ตนเองสนใจหรือไม่ เกี่ยวกับอะไรบ้าง และเพื่อลดการเสียเวลาในการค้นหาวารสารบนชั้นหนังสืออีกด้วย ขั้นตอนการสแกนสารบัญวารสาร 1. คัดแยกวารสารที่ต้องทำการสแกนตามรายชื่อที่ผู้ใช้บริการต้องการสารบัญ 2. เปิดโปรแกรม Canon MP Navigator EX เพื่อสแกน >> คลิกเลือก PDF 3. นำวารสารที่ต้องการสแกนวางบนเครื่องสแกน 4. หลังจากเลือก PDF แล้ว […]
เทคนิคการร่างหนังสือราชการอย่างง่าย
สวัสดีค่ะทุกท่าน กลับมาพับกบเอ้ย ! พบกลับสาระดีดีเช่นเคยนะคะ สำหรับวันนี้ผู้เขียนจะขอเล่าเทคนิคการร่างหนังสืออย่างง่าย เชื่อว่าหลายๆท่านที่ทำงานในหน่วยงานของรัฐหรือทำงานเอกชนเองก็ตาม ต่างก็คงเคยเห็นหนังสือราชการ อันที่จริงแล้วตามระเบียบงานสารบรรณเองก็จะแบ่งประเภทของหนังสือราชการ เป็น 6 ประเภท ได้แก่ หนังสือภายใน หนังสือภายนอกหนังสือสั่งการ หนังสือประทับตรา หนังสือประชาสัมพันธ์และหนังสือที่เจ้าหน้าที่ทําขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ ซึ่งหนังสือทุกประเภทล้วนก็มีความสำคัญและใช้ตามบริบทที่ต่างกันออกไป ด้วยตัวผู้เขียนเองปฏิบัติหน้าที่งานสารบรรณ สังกัดฝ่ายสนับสนุนงานบริหาร ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ วันนี้ก็จะขอรวบรวมเทคนิคการร่างหนังสือราชการอย่างง่าย สำหรับทุกท่านที่ทำงานในหน่วยงานของรัฐซึ่งต้องติดต่อกันไปมาระหว่างหน่วยงานทั้งในม.อ. หรือหน่วยงานอื่นๆ ก็ดี ในบล็อกนี้จะไม่ขอลงรายละเอียดลึก แต่จะขอเล่าถึงส่วนประกอบที่สำคัญและเทคนิคดีดีของการร่างหนังสือราชการนะคะ มาดูกันเลยค่ะ 1. การเขียนหัวเรื่อง คือหัวเรื่องที่เราต้องการจะสื่อ เน้นใจความย่อสั้นที่สุด กระชับ โดยเราจะต้องคำนึงถึงสองส่วน ได้แก่ให้พอรู้ใจความของหนังสือ และให้สะดวกแก่การเก็บค้นอ้างอิง เพราะฉนั้นเรื่องที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้ค่ะ – ย่อสั้นที่สุด ไม่ควรเกิน 2 บรรทัด – สื่อใจความหลักของสาร ดูแล้วรู้ว่าผู้ส่งสารต้องการอะไรจากเรื่องนี้ เน้นเป็นประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำกริยา เช่น ขอความอนุเคราะห์/ขอส่งข้อมูล/ตรวจสอบหนี้สิน/ขอความร่วมมือ – แยกความแตกต่างจากเรื่องอื่นได้ เพื่อความสะดวกในการค้นหาและใช้อ้างอิง […]
การลงทะเบียนวารสาร
การลงทะเบียนวารสารเป็นการบันทึกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับวารสารทุกฉบับที่ห้องสมุดได้รับ วารสารที่ได้ผ่านกระบวนการจัดหามาหรือได้รับบริจาคมาแล้ว จะถูกนำมาลงทะเบียนวารสารใหม่ โดยการคัดเลือกของผู้รับผิดชอบงานวารสารว่าวารสารที่นำมาลงทะเบียนตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานลงทะเบียนวารสาร 1. ตรวจสอบวารสารว่ามีใบเสร็จ ใบแทรก ใบตอบรับหรือเอกสารสำคัญอื่นๆ อีกหรือไม่ เพื่อใช้เป็นหลักฐานหรือจะดำเนินการอย่างอื่นต่อไป 2. ตรวจความเรียบร้อยของตัวเล่ม ว่ามีส่วนใดชำรุดเสียหายไปบ้างหรือไม่ เพื่อที่จะได้ส่งกลับสำนักพิมพ์เพื่อเปลี่ยนเป็นฉบับใหม่แทน 3. ค้นหาวารสารในระบบ ALIST 4. วารสารที่ไม่มีรายการระเบียนบรรณานุกรม ให้ส่งบรรณารักษ์เพื่อพิจารณาสร้างระเบียนบรรณานุกรม(Create Record)สร้างรูปแบบการพิมพ์วารสาร (MARC holding record) และสร้างรายการบัตรลงทะเบียน (Serial Check-in Card) 5. วารสารที่มีระเบียนบรรณานุกรมแล้ว ให้ตรวจสอบฉบับที่ เดือน ปี ของวารสารก่อนลงทะเบียนวารสารในบัตรลงทะเบียน (Check-in Card) 6. จากนั้นติดเลขหมู่(Local Call) บาร์โค้ด(Barcode) สถานะให้ยืมได้ และสติ๊กเกอร์วารสารใหม่เพื่อบอกผู้ใช้บริการ 7. ประทับตรามหาวิทยาลัยตรงหน้าปกใน สันทั้ง 3 ด้าน และประทับวันที่ให้เรียบร้อย 8. หากมีการจัดทำสารบัญวารสารใหม่ส่งผู้ใช้บริการหรือทำดรรชนีให้โน้ตไว้แล้วทำตามขั้นตอนดังนี้ […]