Page 111 - ศิษย์เก่าดีเด่น ปี ๖๐
P. 111

110


          เรียนรู้จากผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเรื้อรัง และมักเข้าออกโรงพยาบาลบ่อยๆ ข้าพเจ้าจะ
          คอยสอบถามว่าเกิดอะไรขึ้น ท�าไมกลับมานอนโรงพยาบาลอีก ตอนอยู่ที่บ้านดูแลอย่างไรบ้าง ค�าตอบ
          ของผู้ป่วยไม่ได้มีในบทเรียน ในหน้าหนังสือที่สามารถหาอ่านได้ แต่เป็นการประยุกต์ความรู้ที่ได้รับใน
          ขณะอยู่โรงพยาบาลไปปรับใช้ให้เหมาะกับวิถีชีวิตของแต่ละคน  จากการได้เรียนรู้จากผู้ป่วยและมอง

          เห็นความยากล�าบากในการดูแลผู้ป่วยในขณะอยู่ที่บ้าน  ท�าให้ข้าพเจ้าเริ่มออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในวัน
          หยุด บางครั้งไปกับน้องๆ ที่ท�างาน บางครั้งไปกับครอบครัว หรือหากผู้ป่วยอยู่ไกลเกินไปก็จะให้เบอร์
          โทรศัพท์ให้โทรมาปรึกษาได้ตลอดเวลา มีผู้ป่วยรายหนึ่งที่จ�าได้ไม่ลืม
                  วันหนึ่งในขณะที่ข้าพเจ้าลงเวรบ่ายและเพิ่งล้มตัวนอนตอนก่อนตี 2 หลังจากนั้นประมาณ
          ตี 3 ได้ยินเสียงโทรศัพท์ แต่ด้วยความที่ลุกไม่ขึ้น เสียงโทรศัพท์ดังอยู่นาน สามีมารับโทรศัพท์ ข้าพเจ้า
          ได้ยินเสียงอู้อี้ๆ  แต่รู้ว่าเป็นผู้ป่วยโทรมา  เท่านั้นแหละข้าพเจ้ารู้สึกตื่นตัวทันที  คว้าโทรศัพท์มาสอบ
          ถามว่าเกิดอะไรขึ้น  ปลายสายบอกว่าเครื่องช่วยหายใจที่ผู้ป่วยใช้อยู่ที่บ้านไม่ท�างาน  ข้าพเจ้าแนะน�า
          ให้ตรวจสอบดูทีละขั้นตอน  จนพบว่าสาเหตุ  และแนะน�าการแก้ปัญหา  เครื่องช่วยหายใจจึงกลับมา
          ท�างานเป็นปกติ ตอนนั้นความรู้สึกง่วงนอนหายไปเป็นปลิดทิ้ง สิ่งส�าคัญคือได้ช่วยชีวิตผู้ป่วยไว้ได้

                  โครงการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยมะเร็งโรคเลือด  การได้รับบทบาทเป็นหัวหน้าหอผู้
          ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือด ซึ่งเป็นหอผู้ป่วยที่เปิดใหม่ นับเป็นโอกาสให้ได้เรียนรู้ความทุกข์ ความต้องการ
          ปัญหา  อุปสรรคของผู้ป่วย  ได้พยายามพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่มารับยาเคมีบ�าบัด  โดย
          ใช้แนวทาง  lean  และการผสมผสานมิติจิตปัญญาให้การดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม  โดยค�านึงถึง
          มาตรฐานวิชาชีพ  ความปลอดภัยและสิทธิของผู้ป่วยเป็นพื้นฐานส�าคัญในการออกแบบกิจกรรมการ
          ดูแลจนสามารถลดกิจกรรมที่ไม่จ�าเป็น ปรับกระบวนการใหม่ รวมทั้งการควบคุมคุณภาพการพยาบาล
          จนสามารถลดอัตราการติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิต้านทานต�่า  ลดระยะเวลารอคอยการตรวจวินิจฉัย  การรอ
          ยาเคมีบ�าบัด  ท�าให้ระยะเวลาเฉลี่ยในการนอนโรงพยาบาลสั้นลง  ส่งผลให้การเข้าถึงบริการของผู้ป่วย
          เพิ่มขึ้นและได้รับการคัดเลือกผลงานน�าเสนอในงาน HA National Forum อย่างต่อเนื่อง และได้น�า
                                                          ื
                          ี
          ความรู้ไปร่วมแลกเปล่ยนกับเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโลหิตวิทยาเพ่อให้มีแนวทางการดูแลเป็นไปใน
          ทิศทางเดียวกัน เพื่อผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และได้รับรางวัลชนะเลิศ โครงการ 5 มหานิยม
          ด้านจิตส�านึกความเสี่ยงความปลอดภัย ในปี 2558
                  โครงการครัวฮีมาโต  (Hematology)  ปัญหาการรับประทานอาหารได้น้อยของผู้ป่วยที่มา
          รับยาเคมีบ�าบัด  เป็นปัญหาที่สร้างความทุกข์ทรมานอย่างมากแก่ผู้ป่วยที่มารับยาเคมีบ�าบัด  จึงได้มี
          ความพยายามหาวิธีการต่างๆ  เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น  โครงการครัวฮี
          มาโตเป็นกิจกรรมเล็กๆ  ที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุขได้บ้างในท่ามกลางความทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็ง
          โดยจัดให้มีการท�าอาหารส�าหรับผู้ป่วย  เริ่มต้นจากการมีเจ้าหน้าที่บางคนท�าอาหารที่ถูกหลักส�าหรับ
          ผู้ป่วยภูมิต้านทานต�่ามาให้ผู้ป่วยรับประทาน  ซึ่งพบว่าสามารถช่วยให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้มาก
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116