Page 86 - สงขลา
P. 86
บุคคลที่ส าคัญของหาดใหญ่ 86
เจียกีซี จีระนคร
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา-ประชาธิปก มีพระบรม
ราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ การวางผัง
นี้ขุนนิพัทธ์ฯ ได้ความคิดจากเมืองสุไหงปัตตานี ประเทศมลายู
เนื่องจากสภาพเมืองสุไหงปัตตานี มีลักษณะคล้ายกับสภาพพื้นที่ที่ได้จับ
จองไว้ ห้องแถวห้าห้องแรกของขุนนิพัทธ์ฯ สร้างด้วยเสาไม้กลม ตัว
บ้านฝาขัดแตะ หลังคามุงจาก ห้องแถวหลังแรกและหลังที่สอง เพื่อน
ของขุนนิพัทธ์ฯ ได้เช่าท าโรงแรมมีชื่อว่า “โรงแรมเคี่ยนไท้” และ
“โรงแรมยี่กี่” ส่วนสามห้องสุดท้ายนั้น ขุนนิพัทธ์ฯ ใช้เป็นที่พักอาศัย
ร้านขายของช า และ “โรงแรมซีฟัด” หลังสุดท้ายนี้สร้างไว้ตรงหัวมุมสี่
แยกถนนธรรมนูญวิถีตัดกับถนนนิพัทธ์อุทิศ ๑ (ที่ตั้งของธนาคารนคร
หลวงไทยในปัจจุบัน) ในระหว่างที่ขุนนิพัทธ์ฯ และครอบครัวพร้อมทั้ง
เพื่อนบ้าน ได้ย้ายมาอยู่ที่ห้องแถวสร้างใหม่นั้น ขุนนิพัทธ์ฯ ยังคงมีการ
ติดต่อกับชาวมลายูเสมอ แต่บริเวณที่ตนพักอาศัยนี้เคยเป็นป่าต้นเสม็ด
ไม่มีชื่อเรียกเป็นทางการ เพื่อเป็นการสะดวกในการติดต่อจดหมายกับ
ชาวต่างประเทศ ขุนนิพัทธ์ฯ จึงได้ใช้ชื่อว่า “บ้านหาดใหญ่” ซึ่งเป็นชื่อ
ละแวกบ้านใกล้เคียงเป็นสถานที่ติดต่อส่งจดหมายมายังจุดหมาย
ปลายทาง ที่ปรากฏว่าลงได้ถูกต้อง หลังจากที่ทางการได้ซื้อที่ดินจาก
ขุนนิพัทธ์ฯ ไว้บริเวณย่านรถไฟแล้ว อีก ๓ ปีต่อมา (ประมาณ ปี
พ.ศ. ๒๔๖๐ - ๒๔๖๑) ได้มีการเปลี่ยนป้ายสถานีโคกเสม็ดชุน มาเป็น
สถานีรถไฟหาดใหญ่
S O N G K H L A