Page 84 - สงขลา
P. 84
บุคคลที่ส าคัญของหาดใหญ่ 84
เจียกีซี จีระนคร
หลังจากนั้นแล้ว จึงเข้าควบคุมเส้นทางสายรถไฟสายฉวาง-
ทุ่งสงต่อไปอีก ๒ ปี เมื่อเสร็จจากงานรับเหมาช่วงฉวาง-ทุ่งสงแล้ว ก็
ได้รับเหมาทางรถไฟสายใต้ช่วงต่อไปอีก งานรับเหงาได้มาสิ้นสุดลงท ี่
สถานีอู่ตะเภาซึ่งตั้งอยู่แถบคลองอู่ตะเภา ห่างจากที่ว่าการอ าเภอ
หาดใหญ่ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ชุมทางสถานีอู่ตะเภาเป็นเส้นทาง
รถไฟ สายหาดใหญ่ในสมัยนั้นปัจจุบันใช้เป็นเพียงที่หยุดรถไฟ ระหว่าง
นี้ ชีวิตขุนนิพัทธ์ฯได้หันเหไปมาก เมื่ออาศัยช่วงเวลาว่างเข้าส ารวจแหล่ง
แร่ดีบุก และวุลแฟรม ที่ต่อมาได้กลายเป็นธุรกิจหลักอีกสายหนึ่ง
ก่อนที่จะหักร้างถางพงเมืองหาดใหญ่ จากนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ขุน
นิพัทธ์ฯ ได้มาพักอาศัยอยู่ที่ริมคลองอู่ตะเภา ข้างที่ว่าการอ าเภอหาดใหญ่
แถบสถานีรถไฟอู่ตะเภานี้มีสภาพเป็นลุ่มน้ าท่วมเป็นประจ า ขุนนิพัทธ์ฯ
รู้สึกว่าไม่เหมาะกับการตั้งสถานีและบ้านเรือนจึงได้ออกส ารวจหาแหล่ง
พื้นที่ที่เหมาะสม ส าหรับการปลูกบ้านเรือนอยู่อย่างถาวรต่อไป ซึ่งก็พบ
ป่าเสม็ดแห่งหนึ่งมีผู้อาศัยอยู่บ้างประปราย “บ้านโคกเสม็ดชุน” อยู่ห่าง
จากที่ตั้งสถานีรถไฟอู่ตะเภาประมาณ ๓ กิโลเมตร ขุนนิพัทธ์ฯ จึงได้
เริ่มซื้อขายต้นเสม็ดรายแรกเป็นจ านวน ๕๐ ไร่ เป็นเงิน ๑๗๕ บาท
จากชาวบ้านผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณนั้น โดยผ่านนายหน้าช่วยติดต่อ
ซื้อขาย คือ ผู้ใหญ่บ้านหนูเปียก จันทร์ประทีป และผู้ใหญ่บ้านพรหม
แก้ว คชรัตน์
S O N G K H L A