Page 41 - รายงานประจำปี ๒๕๕๘ ศูนย์องค์รวมเพื่อการศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์
P. 41
41
ื
การพัฒนาเพ่อรักษามะเร็งผิวหนังเมลา
โนมามีความก้าวหน้าอย่างมาก ไม่ได้มีเพียงยา
เคมีบำาบัดที่มีอัตราการตอบสนองต่อโรคต่ำา แต่
ี
ปัจจุบันยังมีการรักษาด้วยยาท่ออกฤทธ์จำาเพาะ
ิ
เจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง และยาที่กระตุ้นการตอบ
สนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อเซลล์มะเร็งอีกด้วย
เป้าหมายการรักษามะเร็งผิวหนังเมลาโนมาในระยะ
แพร่กระจาย มุ่งหวังการควบคุมโรคให้ก้อนมะเร็ง
ไม่โตและไม่ลุกลามมากขึ้น ช่วยบรรเทาอาการให้ผู้ พญ. จิรวดี สถิตเรืองศักดิ์
ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพิ่มอัตราการรอด อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยาบรรยายในหัวข้อ
ชีวิตของผู้ป่วย “วิทยาการก้าวหน้าในการรักษามะเร็งผิวหนังเมลาโนมาด้วยยา”
ยาเคมีบำาบัด มะเร็งผิวหนังเมลาโนมามีการตอบสนองต่อยาเคมีบำาบัดน้อย โดยมีอัตราการ
ตอบสนองเพียงแค่ร้อยละ 5-10 และมีอัตราการรอดชีวิตในปีแรก เพียงร้อยละ 30-35 เท่านั้น โดย
ยาเคมีบำาบัดที่มีใช้ ได้แก่ Dacarbazine, Temozolomide เป็นต้น อีกทั้งยาเคมีบำาบัดยังมีผลข้าง
เคียงมาก ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บปาก เจ็บคอ ผมร่วง เพิ่ม
ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากผลของการกดการทำางานของไขกระดูกอีกด้วย
การรักษาด้วยยาที่ออกฤทธิ์จำาเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง เนื่องจากในปัจจุบันพบว่ามีการ
กลายพันธ์ของรหัสพันธุกรรมที่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา เช่น BRAF, NRAS,
C-KIT เป็นต้น จึงมีการพัฒนายากลุ่มใหม่ที่ออกฤทธิ์จำาเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งทำาให้ก้อน
มะเร็งเมลาโนมาที่กระจายอยู่ในอวัยวะต่างๆของร่างกายเล็กลงได้ มีการบริหารจัดการยาง่ายขึ้น
เนื่องจากเป็นยาชนิดรับประทาน มีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาเคมีบำาบัด ทั้งนี้ผลข้างเคียงที่อาจเกิด
ขึ้นได้ เช่น ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่น ผมร่วง ผมสีเปลี่ยน ผิวหนังไวต่อแสงมากขึ้น เพิ่มโอกาสในการ
เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดสเควมัสเซลล์ เป็นต้น แต่การรักษาด้วยยาออกฤทธิ์จำาเพาะเจาะจงต่อเซลล์
มะเร็งจะต้องส่งตรวจการกลายพันธุ์ของสารพันธุกรรมก่อนพิจารณาให้ยา
ยาที่กระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อเซลล์มะเร็ง ปัจจุบันมีการพัฒนายากลุ่ม
ใหม่อีกกลุ่มที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการทำางานของภูมิคุ้มกันร่างกายให้ทำาลายเซลล์มะเร็ง เช่น เพิ่ม
การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่จุดตรวจสอบ การใช้วัคซีนกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำาลาย
เซลล์มะเร็ง การใช้ไวรัสดัดแปลงเข้าไปทำาลายเซลล์มะเร็ง หรือการดัดแปลงพันธุกรรมของเซลล์
ภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ยาในกลุ่มนี้มีการตอบสนองประมาณร้อยละ 10 แต่ในผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังเมลา
โนมาที่ตอบสนองกับการรักษานี้ มีโอกาสหายขาดได้ ทั้งนี้ผลข้างเคียงจากการรักษา ได้แก่ อวัยวะ
ต่างๆ อักเสบ เช่น ลำาไส้อักเสบ ปอดอักเสบ หรือตับอักเสบ มีอาการอ่อนเพลีย ปวดข้อ เป็นต้น แต่
การรักษาด้วยวิธีการนี้มีราคาสูงและปัจจุบันยานี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ในทุกประเทศ รวมถึงใน
ประเทศไทย