Page 40 - รายงานประจำปี ๒๕๕๘ ศูนย์องค์รวมเพื่อการศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์
P. 40

40



              วิธีการป้องกันมะเร็งผิวหนัง


              1. ตรวจผิวหนังด้วยตนเอง โดยการดูลักษณะของไฝ ผื่นผิวหนัง หรือแผลที่ผิดปกติ โดยเฉพาะ
              ตำาแหน่งที่โดนแสงแดด ใบหน้า หน้าอก  แขน

              2. ป้องกันและหลีกเลี่ยงแสงแดดช่วงเวลา 10.00 -14.00 น. ของวัน หากต้องสัมผัสแสงแดดในช่วง

              เวลาดังกล่าว ควรสวมใส่หมวกปีกกว้าง ใช้ร่มกันยูวี แว่นตากันแดด การติดกระจกรถยนต์กันยูวี
              และการใช้ครีมกันแดด

              3. ปริมาณครีมกันแดดที่เหมาะสมในการทาแต่ละครั้ง เท่ากับ 1 ช้อนชาหรือ 2 ข้อนิ้วมือสำาหรับทา

              หน้าและคอ ให้ทาซ้ำาทุก 2 ชั่วโมง กรณีที่มีเหงื่อออกมากหรือว่ายน้ำา ควรเลือกใช้ครีมกันแดดที่มี
              คุณสมบัติกันน้ำาด้วย

                    การผ่าตัดเป็นการรักษามะเร็งผิวหนังเมลาโนมาที่มีประสิทธิภาพที่สุด  ทั้งนี้เนื่องจากมะเร็ง
              ชนิดนี้  ค่อนข้างดื้อกับต่อยาเคมีบำาบัดและรังสีรักษา  การผ่าตัดเอามะเร็งผิวหนังเมลาโนมาออก

              เรียกว่า “wide excision” ให้ห่างจากขอบที่เห็น (Gross
              margin)  เพราะมะเร็งชนิดนี้สามารถลุกลามไปได้ไกล

              มากกว่าที่เห็นได้ ระยะ surgical margin ขึ้นกับความ
              ลึกของมะเร็ง  ถ้ามะเร็งอยู่เฉพาะในชั้นผิวหนังส่วนบน
              ให้ตัดห่างจากขอบที่เห็นเพียง 5 มม. กรณีลึกมากกว่า
              นี้แต่น้อยกว่า  2  มม.  ให้ตัดห่างออกมา  1  ซม.  ถ้าลึก
              มากกว่า 2 มม. ควรตัดห่างจากขอบที่เห็นมา 2 ซม. แต่
                                                                                       นพ. นิติ ถาวรานุรักษ์
              ถ้าเป็นมะเร็งในบริเวณศีรษะ คอ มือ และเท้า  ควรตัดให้          แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่ง บรรยายในหัวข้อ
              ห่างมากกว่านี้                                                “วิทยาการก้าวหน้าในการรักษามะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
                                                                                         ด้วยการผ่าตัด”
                    การทำา Elective lymph node dissection  ไม่แนะนำาให้ทำาในกรณีที่ก้อนมะเร็งมีความหนา
              น้อยกว่า 1 มม. เนื่องจากอัตราการรอดชีวิตใน 5 ปี ดีถึงร้อยละ 96 – 99 ถึงแม้ทำาแค่ตัดก้อนมะเร็ง

              ออกเท่านั้น และไม่แนะนำาให้ทำาในกรณีที่ความหนาของก้อนมะเร็งมากกว่า 4 มม. ด้วย เนื่องจาก
              โอกาสการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆสูงอยู่แล้ว           จึงไม่ได้ประโยชน์จากการทำาผ่าตัดต่อมน้ำา
              เหลืองนี้  แต่ในรายที่มะเร็งมีความหนาของก้อนปานกลาง 1 – 4 มม. ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่ เนื่องจาก
              การผ่าตัดนี้มีผลข้างเคียง เช่น แผลผ่าตัดติดเชื้อ การเกิด lymphedema หรือการทำาลายของเส้น
              ประสาท เป็นต้น จึงมีการทำา Sentinel lymph node biopsy แทนเพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียดังกล่าว

              ซึ่งถ้ามาพบว่ามีการกระจายไปยังต่อมน้ำาเหลือง sentinel node ก็แสดงว่าร้อยละ 98 ของผู้ป่วย
              ไม่น่าจะมีการแพร่กระจายในต่อมน้ำาเหลืองบริเวณนั้น จึงไม่จำาเป็นต้องทำาการตัดต่อมน้ำาเหลืองใน
              บริเวณดังกล่าวออก ซึ่งจะช่วยลดผลเสียที่อาจเกิดขึ้นลงได้ แม้ว่าการทำา Sentinel lymph node

              biopsy จะแพร่หลายมากขึ้น แต่ยังมีราคาสูงและต้องอาศัยผู้ชำานาญในการทำาอยู่
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45