Page 39 - รายงานประจำปี ๒๕๕๘ ศูนย์องค์รวมเพื่อการศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์
P. 39
39
ในการบรรยายครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นพ. กัมพล เอี่ยมพนากิจ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา อาจารย์แพทย์ประจำาภาควิชาอายุรศาสตร์, นพ. นิติ ถาวรานุรักษ์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่ง อาจารย์แพทย์ประจำาภาควิชาศัลยศาสตร์ และ พญ.
จิรวดี สถิตเรืองศักดิ์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา อาจารย์แพทย์ประจำาภาควิชา
อายุรศาสตร์ เป็นวิทยากรในการให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้
มะเร็งผิวหนัง มี 2 ชนิด คือ มะเร็งชนิดไม่ใช่เมลาโนมา (Non-
melanoma) และมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมาหรือ เอ็มเอ็ม
(Malignant Melanoma, MM)
1. มะเร็งชนิดไม่ใช่เมลาโนมา (Non-melanoma) แบ่งออก
เป็น 2 ชนิด ได้แก่
1.1 Basal cell carcinoma พบได้บ่อยที่สุด ร้อยละ
นพ. กัมพล เอี่ยมพนากิจ 70-80 มักพบบริเวณจมูกและใบหน้า มีลักษณะโตช้า
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านตจวิทยา บรรยายในหัวข้อ มีขอบม้วน ไม่พบว่ามีอาการเจ็บหรือคัน หรือมีสีดำา
“สัญญาณอันตรายจากมะเร็งผิวหนังและการป้องกัน”
1.2 Squamous cell carcinoma พบได้น้อยกว่ามะเร็งผิวหนังชนิด Basal cell carcinoma
ถึง 4 เท่า มักพบในบริเวณที่ถูกแสงแดดบ่อยๆ มีลักษณะเป็นผื่นแดง ขอบเขตชัด ไม่มีอาการ
เจ็บหรือคัน และเกิดแผลได้บ่อย
2. มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมาหรือ เอ็มเอ็ม (Malignant Melanoma, MM) พบได้น้อยที่สุด แต่
มีความรุนแรงมากที่สุด มักพบในประชากรอายุน้อย และพบได้ตรงบริเวณที่สัมผัสแสงแดดเป็น
ประจำา สำาหรับชาวเอเชีย ตำาแหน่งที่พบมักเป็นตำาแหน่งมือและเท้า สามารถกระจายไปยังอวัยวะอื่น
เช่น ต่อมน้ำาเหลือง ตับ และปอด เป็นต้น
สัญญ�ณอันตร�ยที่สำ�คัญของมะเร็งผิวหนัง
1. ลักษณะผิวหนังที่เริ่มก่อมะเร็ง
1.1 รอยโรคผิวหนังที่หนา มีสีแดง เป็นขุย มักไม่มีอาการคันหรือเจ็บ
1.2 ไฝที่เริ่มกลายรูปร่างจากเดิม
2. ตำาแหน่งผิวหนัง
2.1 มักพบในตำาแหน่งที่สัมผัสแสงแดด โดยเฉพาะใบหน้า แขน
2.2 ในผู้ที่ได้รับสารหนูที่ปนเปื้อนมาในสิ่งแวดล้อม สามารถเกิดได้ทั่วบริเวณร่างกาย
แม้ไม่โดนแสงแดด
2.3 ในชาวเอเชีย มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมามักพบที่บริเวณปลายมือปลายเท้า