Page 189 - รายงานประจําปี ๒๕๔๘-๕๒ ผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา
P. 189

2.  ข้อกำหนดในการรับผู้ประกอบการเข้ารับบริการต่างๆ มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก ทำให้ขาดความสะดวกและ

                ความยืดหยุ่นในการให้บริการในพื้นที่
                        3.  ตัวชี้วัด โครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เป็นตัวชี้วัดที่มีการกำหนดล่วงหน้า โดยได้ประเมินความต้องการในขณะนั้น
                ต่อมาเมื่อสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนไปทำให้มีผลกระทบต่อการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

                        4.  ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ในช่วงต้นของโครงการจึงเป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างบุคลากรที่มีความรู้
                ความเข้าใจงานด้านนี้
                        5.  ขาดองค์กรที่รับผิดชอบบริหารจัดการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค


                        แนวทางการแก้ไข

                        1.  ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคให้แก่หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ
                ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกหน่วยงานเครือข่ายสามารถดำเนินในระยะที่ 1 ได้อย่างราบรื่นและเหมาะสมกับความต้องการในแต่ละภูมิภาค
                โดยจัดให้มีการประชุมเพื่อพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และรับรู้ปัญหา อุปสรรคต่างๆ เพื่อกำหนดแนวทางในการทำงาน

                ร่วมกัน อาทิ การจัดประชุมคณะอนุกรรมการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (รายไตรมาส) การจัดประชุมโต๊ะกลมโครงการ
                อุทยานวิทยาศาสตร์อย่างสม่ำเสมอ และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญของอุทยานวิทยาศาสตร์ให้กับ
                ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                        2.  จัดทำข้อเสนอโครงการระยะที่ 2 ให้ตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย
                        3.  จัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากรของหน่วยบ่มเพาะของมหาวิทยาลัยเครือข่ายร่วมกัน และควรมี

                การกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากรในอุทยานวิทยาศาสตร์โดยร่วมกับสมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ และ  183
                อุทยานวิทยาศาสตร์ไทย
                        4.  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควรมีการจัดตั้งหน่วยงานที่กำกับดูแลอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค



                5. ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


                        ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ เป็นศูนย์รวมในการเสริมสร้างโอกาสและศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจของท้องถิ่นภาคใต้

                และยกระดับสู่ธุรกิจสากล โดยเน้นวิสาหกิจที่ใช้ฐานความรู้สมัยใหม่ และเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบและดูแลด้านการจัดการ
                ทรัพย์สินทางปัญญาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันการศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย
                เครือข่ายในภาคใต้

                        ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2548 โดยมีวัตถุประสงค์
                เพื่อส่งเสริม ผลักดันและสนับสนุนให้นักศึกษา บัณฑิต ศิษย์เก่า และบุคลากรในมหาวิทยาลัยเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ โดย
                เน้นธุรกิจที่ใช้ความรู้เป็นฐาน พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุน ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการนวัตกรรมและผลงานสร้างสรรค์
                ให้มีศักยภาพและมีการดำเนินการเชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรม ธุรกิจใหม่และผู้ประกอบการรายใหม่
                ในภาคธุรกิจ



                วิสาหกิจ/ธุรกิจเป้าหมาย
                        1.  ยางและผลิตภัณฑ์ยาง

                        2.  เครื่องสำอาง และเภสัชภัณฑ์
                        3.  ผลิตภัณฑ์อาหาร
                        4.  ไบโอดีเซล (Biodiesel) และพลังงานทดแทนอื่นๆ
                        5.  เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และอุปกรณ์
                        6.  ผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมัน
   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194