Page 184 - รายงานประจําปี ๒๕๔๘-๕๒ ผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา
P. 184
3. เครือข่ายวิชาการวิจัยและข้อมูลด้านสารเสพติดภาคใต้
เครือข่ายวิชาการ วิจัยและข้อมูลด้านสารเสพติดในภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหน่วยงานหลักที่เป็น
แกนนำในการสร้างผลงานวิชาการ งานวิจัยเกี่ยวกับสารเสพติดในภาคใต้ สร้างเครือข่ายทางวิชาการ วิจัยและข้อมูลด้าน
สารเสพติดในภาคใต้ ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้นและกลายเป็นชุมชนวิชาการและการวิจัย เพื่อเป็นขุมปัญญาของคนภาคใต้
และสังคม รวมทั้งตอบสนองนโยบายหลักของประเทศในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งต้องการองค์ความรู้และการแก้ปัญหา
ในระยะยาว
พันธกิจ
เป็นหน่วยงานจัดการงานวิจัยและความรู้ในเรื่องของสารเสพติด เพื่อให้ผู้มีส่วนร่วมในพื้นที่สร้างฐานองค์ความรู้
ร่วมจัดการองค์ความรู้ ซึ่งจะทำให้เกิดสังคมความรู้ โดยใช้ปัญหาของพื้นที่เป็นตัวตั้ง ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้าน
สารเสพติดในพื้นที่ภาคใต้
วัตถุประสงค์
1. ดำเนินการวิจัยพัฒนาวิชาการสารเสพติด จัดทำระบบข้อมูลและให้คำปรึกษาด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องแก่องค์กร
วิชาการด้านสารเสพติดในภาคใต้
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากรที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับสารเสพติดในภาคใต้
3. พัฒนาศักยภาพเครือข่ายวิชาการเพื่อให้ได้ผลงานคุณภาพและยั่งยืน
178 4. เผยแพร่ผลงานวิชาการด้านสารเสพติดในภาคใต้
5. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านสารเสพติดกับองค์กรวิชาการในภาคใต้และภูมิภาคอื่นๆ
6. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการวิจัย และการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในภาคใต้
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย
ยุทธศาสตร์หลักของเครือข่ายฯ
1. ใช้กระบวนการทางวิชาการและงานวิจัย เพื่อศึกษาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ในเรื่องสารเสพติด โดยจัดทำ
เป็นระบบข้อมูล การให้คำปรึกษาด้านวิชาการ รวมทั้งทำการเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านสารเสพติดในภาคใต้ให้องค์ความรู้
เกี่ยวกับยาเสพติดและผลงานวิชาการด้านสารเสพติดในภาคใต้เป็นที่แพร่หลายและสามารถใช้ในการอ้างอิงในการวิจัยหรือใน
การทำงานส่วนอื่นๆ ได้
2. ใช้การทำงานแบบเครือข่าย มีการระดมสมองจากกลุ่มนักวิชาการหลายสาขา หลายกลุ่มและหลายหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง ทั้งองค์กรวิชาการในพื้นที่และองค์กรวิชาการในภูมิภาคอื่นๆ สร้างเป็นเครือข่ายทำงานและศึกษาประเด็นองค์
ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติด โดยเฉพาะองค์ความรู้ในส่วนของภาคใต้ เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ
3. ใช้กระบวนการบริหารจัดการความรู้ สร้างองค์กรและสังคมแห่งการเรียนรู้โดยวิธีการจัดการองค์ความรู้ให้
เกิดขึ้นในเครือข่ายฯ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากรที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับสารเสพติดในภาคใต้
เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเป็นพลังในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสารเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง สามารถทำงานต่างๆ ได้
อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี สร้างและพัฒนาระบบสารสนเทศให้ทันสมัย รวดเร็วเพื่อให้การสืบค้นข้อมูล
การทำงานต่างๆ เช่น งานวิจัย การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ